Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Journal

2015

Keyword

Articles 1 - 30 of 37

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, วันดี สุทธรังษี, วิลาวรรณ คริสต์รักษา Sep 2015

การปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, วันดี สุทธรังษี, วิลาวรรณ คริสต์รักษา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปรับตัวในการเผชิญภาวะวิกฤตจากอุทกภัยของผู้ประสบอุทกภัย\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ประสบอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2554 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ประสบอุทกภัย และแบบสอบถามการปรับตัวในภาวะวิกฤตของผู้ประสบอุทกภัย ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน\n \nผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.46, SD = 0.44) โดยมีการปรับตัวรายด้าน ทั้ง 2 ด้าน คือ การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่และการปรับตัวด้านการพึ่งพาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.53, SD = 0.49; M = 3.40, SD = 0.53)\n \nสรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะวิกฤตสุขภาพจิตของผู้ประสบอุทกภัยให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและบริบทพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต่อไป\n


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, จรวยพร วงศ์ขจิต, รุ้งระวี นาวีเจริญ Sep 2015

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, จรวยพร วงศ์ขจิต, รุ้งระวี นาวีเจริญ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมีการปรับตัวด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ปี จำนวน 121 คน ที่มารับการรักษาที่คลินิกอายุรกรรมประสาท หน่วยผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการกลืนทางคลินิก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการพึ่งพาตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, 0.94, .94, .97 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄ = 102.47, SD = 3.30) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า หมวดไขมัน อยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 24.64, SD = 4.81) หมวดข้าว-แป้ง-น้ำตาล หมวดเนื้อสัตว์ หมวดผักผลไม้ และหมวดเครื่องปรุงรส อยู่ในระดับดี (x̄ = 14.95, SD = 3.55 , x̄ = 23.70, SD = 4.22 , x̄ = 25.24 , SD = 5.33 และ x̄ = 10.94 , SD = 2.57 ตามลำดับ) และหมวดเครื่องดื่มอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.00 , SD …


อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, สุขุมาล หอมวิเศษวงศา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ Sep 2015

อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถ ในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยา ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, สุขุมาล หอมวิเศษวงศา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: ศึกษาอำนาจการทำนายของตัวแปรทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 78 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินทัศนคติ แบบประเมินการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และแบบประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .74, .93, .89 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Binary logistic regression\n\nผลการวิจัย: ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม สามารถร่วมกันทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ร้อยละ 17 (Nagelkerke R2 = .170) โดยความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมสามารถทำนายความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.199, p = .032)\n \nสรุป: พยาบาลควรมีการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อนำข้อมูลไปใช้วางแผนส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาให้มากขึ้น \n


บริการส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย, ดาริกา เยือกเย็น, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Sep 2015

บริการส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย, ดาริกา เยือกเย็น, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบริการส่งเสริมสุขภาพซึ่งโรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพำนักระยะยาวในประเทศไทย\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิค EDFR\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน รวบรวมความคิดเห็นที่สอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะบริการส่งเสริมสุขภาพซึ่งโรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่พำนักระยะยาวในประเทศไทย นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์และจัดกลุ่มเนื้อหาตามสาระเพื่อนำมาสร้างแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลรอบที่ 2 รอบที่ 2 ใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ระดับความสำคัญของรายการบริการส่งเสริมสุขภาพโดยคำนวณหาค่ามัธยฐาน วิเคราะห์ความคิดเห็นที่สอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญโดยคำนวณค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกรายการบริการส่งเสริมสุขภาพโดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานระดับมากขึ้นไป และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ (Md ≥3.50, IR ≤1.50) รอบที่ 3 ให้ผู้เชี่ยวชาญทบทวนความคิดเห็นของตนเองเพื่อยืนยันคำตอบหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบตามที่ได้ระบุระดับความสำคัญของรายการบริการส่งเสริมสุขภาพในรอบที่ 2 คัดเลือกบริการส่งเสริมสุขภาพโดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานระดับมากขึ้นไป และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ (Md ≥3.50, IR ≤1.50)\n\nผลการวิจัย: บริการส่งเสริมสุขภาพซึ่งโรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการแก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพำนักระยะยาวในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) บริการส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย 2) บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ 3) บริการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม 4) บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตวิญญาณ 5) บริการส่งเสริมสุขภาพที่มีความปลอดภัย\n\nสรุป: โรงพยาบาลเอกชนควรจัดบริการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic health care) ที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่เน้นความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพำนักระยะยาวในประเทศไทย \n


ผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม, ปุณยนุช คงเสน่ห์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 2015

ผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม, ปุณยนุช คงเสน่ห์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเจริญสติต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม\n \nรูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจำนวน 70 คน ที่เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน จับคู่ในด้าน อายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกาย ชนิดของยาแก้ปวด ความถี่ของยาแก้ปวดที่ได้รับ และประสบการณ์ในการเจริญสติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเจริญสติเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม 5 ครั้ง และกิจกรรมรายบุคคล 3 ครั้ง รวม 8 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับอาการปวดชนิดตัวเลข (Numeric Rating Scale: NSR) และแบบประเมินภาวะข้อจำกัดจากอาการปวดเข่า (Western Ontario Mcmaster Universities Osteoarthritis Index: WOMAC Scale) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และมีความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .78 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: 1) อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ภายหลังได้รับโปรแกรมการเจริญสติต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเจริญสติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเจริญสติต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01\n\nสรุป: โปรแกรมการเจริญสติส่งผลให้อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมลดลงและต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ \n


ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาด ในห้องผ่าตัดศัลยกรรม ต่อประสิทธิผลของงาน, รุ้งสวรรค์ สุวัฒโน, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2015

ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาด ในห้องผ่าตัดศัลยกรรม ต่อประสิทธิผลของงาน, รุ้งสวรรค์ สุวัฒโน, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของงาน ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรม\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบก่อนการทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรม ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 มีองค์ประกอบของโปรแกรม 4 องค์ประกอบ และส่วนที่ 2 เป็นขั้นตอนการทำงานเป็นทีมของพยาบาลผ่าตัด มี 4 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประสิทธิผลของงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .88 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที\n\nผลการวิจัย: หลังใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรม ประสิทธิผลของงานทั้งโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01\n\nสรุป: โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดศัลยกรรมส่งผลให้ประสิทธิผลของงานเพิ่มขึ้น\n


สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล, ศิรประภา ฤๅชัย, ยุพิน อังสุโรจน์ Sep 2015

สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพ โรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล, ศิรประภา ฤๅชัย, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโรงพยาบาลระดับสากล ด้านการบริหารการพยาบาล และด้านการศึกษาพยาบาล จำนวน 17 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร เพื่อนำสาระที่ได้มาบูรณาการกำหนดเป็นกรอบในการสร้างคำถามสัมภาษณ์ และทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับสมรรถนะที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม นำมาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อรายการสมรรถนะในแต่ละด้าน ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: สมรรถนะของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล ผู้เชี่ยวชาญให้ระดับความสำคัญของสมรรถนะสอดคล้องกันทุกข้อ ประกอบด้วยสมรรถนะ 10 ด้าน รวม 81 ข้อ ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านการจัดการวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ 7 ข้อ 2) สมรรถนะด้านการจัดการงบประมาณ 9 ข้อ 3) สมรรถนะด้านความฉลาดทางอารมณ์ 10 ข้อ 4) สมรรถนะด้านการจัดการคุณภาพผลลัพธ์ทางการพยาบาล 9 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการบริหารเชิงธุรกิจและการตลาด 10 ข้อ 6) สมรรถนะด้านการบริหารโดยยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล 9 ข้อ 7) สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศสมัยใหม่ 7 ข้อ 8) สมรรถนะด้านการนำสู่การเปลี่ยนแปลง 7 ข้อ 9) สมรรถนะด้านการจัดการงานที่ท้าทาย 7 ข้อ และ 10) สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม 6 ข้อ\n\nสรุป: ผลการวิจัยนี้ผู้บริหารระดับสูงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสรรหา วางแผน และพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล และเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหัวหน้าพยาบาล\n


การศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก, พิมพ์ชนก จามะรี, กัญญดา ประจุศิลป Sep 2015

การศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก, พิมพ์ชนก จามะรี, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มอาจารย์พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญในองค์กรวิชาชีพ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเกี่ยวกับระดับความน่าจะเป็นของวัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก และขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 17 คน มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการยืนยันมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: วัฒนธรรมองค์การพยาบาล เครือโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มภาคตะวันออก ประกอบด้วย 2 ด้าน จำนวน 40 ข้อรายการ ได้แก่ 1) วัฒนธรรมองค์การด้านบุคลากรพยาบาล และ 2) วัฒนธรรมองค์การด้านผู้รับบริการ\n\nสรุป: ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบาย กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมขององค์การพยาบาล\n


ผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานต่อการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์ Sep 2015

ผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานต่อการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานต่อการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาที่ 1 ถึง 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล จำนวน 400 คน ในปีการศึกษา 2556 โดยจับคู่โรงเรียนให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้าน ประเภทของโรงเรียน ขนาด และความชุกของการสูบบุหรี่ โดยแบ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง 1 โรงเรียน และโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ 2 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 200 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนเกี่ยวกับสุขภาพตามมาตรฐานของหลักสูตร กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมที่มีทฤษฎีเป็นฐานและเน้นการดำเนินกิจกรรมแบบหลายระดับขั้น (Multi-level intervention) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความชุกของการสูบบุหรี่ การรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคมต่อคนสูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ความตั้งใจในการสูบบุหรี่ และการทดลองสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติไค-สแควร์ และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ\n \nผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และระยะติดตามสามเดือน นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความชุกของการสูบบุหรี่ และความตั้งใจในการสูบบุหรี่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 5.981, p<.01; F= 5.62, p<.01 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม การรับรู้ความสามารถของตนในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการรับรู้ภาพลักษณ์ทางสังคมเชิงบวกต่อคนสูบบุหรี่ พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน เมื่อติดตามไปสามเดือนหลังสิ้นสุดการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีสัดส่วนการทดลองสูบหรือสูบไม่ประจำต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (15.5% และ 31 %, x2 = 17.717, p< .05) \n \nสรุป: ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรมแบบหลายระดับ (Multi-level intervention) มีผลต่อการยับยั้งการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น\n


ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน, ธัญจิรา พิลาศรี, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ Sep 2015

ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาวะโภชนาการในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน, ธัญจิรา พิลาศรี, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะโภชนาการของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และภาวะโภชนาการระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงในชุมชน 2 แห่งของจังหวัดสุรินทร์ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 ราย และกลุ่มทดลอง 35 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย ขั้นตอนการสร้างความตระหนักของชุมชนในปัญหาโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรวมพลัง และติดตามประเมินภาวะโภชนาการ โปรแกรมได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีค่าความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .90 แบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติที และสถิติแมนวิทนีย์-ยู\n \nผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p<.001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลอง ดีกว่าก่อนทดลอง (p<.001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p=.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ภาวะโภชนาการ ได้แก่ เส้นรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนทดลอง (p<.001) และดีกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\n\nสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อพยาบาล เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ และเครือข่ายชุมชนในการติดตามภาวะเสี่ยงของโรคอ้วนลงพุงและส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลสุขภาพ ทั้งการบริโภคอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้สามารถควบคุมภาวะเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ\n


ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัว และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต, พรพิมล วดีศิริศักดิ์, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิวิชัย, อรวมน ศรียุกตศุทธ Sep 2015

ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัว และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต, พรพิมล วดีศิริศักดิ์, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิวิชัย, อรวมน ศรียุกตศุทธ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า กลวิธีการจัดการกับอาการ การสนับสนุนจากครอบครัว และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต จำนวน 126 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้า 3)แบบประเมินกลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้า และผลจากการจัดการกับอาการอ่อนล้า 4) แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามที่ 2, 4, 5 เท่ากับ .87, .97 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าโดยรวมของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไตอยู่ในระดับปานกลาง (= 4.11, SD = 1.69) กลวิธีการจัดการกับอาการอ่อนล้าที่ผู้ป่วยปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การนอนหลับ ซึ่งมีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.38, SD = 0.56) คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (= 98.94 , SD = 8.39) ประสบการณ์การมีอาการอ่อนล้าด้านพฤติกรรมหรือความรุนแรง และด้านความหมายเชิงอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ การสนับสนุนจากครอบครัวโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01\n\nสรุป: สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อป้องกันและจัดการกับอาการอ่อนล้าตามบริบทของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


บทบรรณาธิการ, รัตน์ศิริ ทาโต Sep 2015

บทบรรณาธิการ, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาแบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน, จารุวรรณ ธานี, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Sep 2015

การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาแบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน, จารุวรรณ ธานี, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน และตรวจสอบความตตรงและความเที่ยงของแบบประเมิน\n\nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: ประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสมรรถนะผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน และขั้นที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบแบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการพยาบาล จำนวน 330 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาล ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก 7 ด้าน และ 63 สมรรถนะย่อย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน CVI .88 ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาครายด้านมีค่าระหว่าง .51-.79 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับ .98 วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก และหมุนแกนแบบแวริแมกซ์ \nกลุ่มตัวย่างที่ศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงการประเมินระหว่างผู้ประเมิน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล ผู้จัดการพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ขนาดตัวอย่างกลุ่มละ 15 คน โดยให้ผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพ ประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาล และให้ผู้จัดการพยาบาลประเมินสมรรถนะของตนเอง วิเคราะห์ค่าความเที่ยงการประเมิน โดยใช้สถิติ Intraclass Correlation Coefficient\n \nผลการวิจัย: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า แบบประเมินสมรรถนะของผู้จัดการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน ประกอบด้วย 6 สมรรถนะหลัก ได้แก่ 1) การจัดการเชิงกลยุทธ์ 2) ความฉลาดทางอารมณ์ 3) การติดต่อสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 4) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5) การพัฒนาบุคลากรพยาบาลที่มีศักยภาพสูง 6) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีรายการสมรรถนะรวมทั้งสิ้น 46 รายการ เป็นแบบประเมินที่มีความตรงตามเนื้อหา มีความตรงเชิงโครงสร้าง มีความเที่ยงทั้งฉบับ .98 และมีความเที่ยงการประเมินระหว่างผู้ประเมินเฉลี่ย .89\n\nสรุป: ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานตำแหน่งผู้จัดการให้มีประสิทธิภาพ และใช้ประเมินสมรรถนะผู้จัดการพยาบาล\n


ความเข้าใจด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทีมสุขภาพ: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย, พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์, ปัญจมาพร สาตจีนพงษ์, ธัญญพัทธ์ สุนทรานุรักษ์ May 2015

ความเข้าใจด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทีมสุขภาพ: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย, พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์, ปัญจมาพร สาตจีนพงษ์, ธัญญพัทธ์ สุนทรานุรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาแนวคิดที่รู้จำและข้อบ่งชี้ขององค์ประกอบใหม่เกี่ยวกับความเข้าใจด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และทีมสุขภาพ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลในการจัดการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 3 กลุ่มๆ 10 คน และกลุ่มทีมสุขภาพ มี 1 กลุ่มจำนวน 4 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 34 คน\n\nผลการวิจัย: สาระ (Theme) จากกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีมี 7 ข้อ คือ 1) การติดเชื้อเอชไอวี 2) การยอมรับของบุคคลใกล้ชิด 3) อาการนำและอาการทรุด 4) ผลการตรวจ CD4 5) การรักษา 6) การรับประทานยาต้านไวรัส และ 7) การดูแลตนเอง ส่วนสาระจากกลุ่มทีมสุขภาพ มี 8 ข้อ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2) ยาคือชีวิต 3) การสร้างสัมพันธภาพ 4) วางแผนให้ความรู้ก่อนจะเริ่มยา 5) สภาพแวดล้อมผู้ป่วยนอก 6) ให้ความรู้และคำปรึกษา 7) ความหวังของผู้ป่วย และ 8) จิตอาสา\n\nสรุป: โดยสรุปผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีข้อมูล มีความรู้ มีความเข้าใจด้านการกินยาต้านไวรัสเอชไอวี และนำสู่การดูแลรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง แต่ด้านจิตใจรู้สึกว่ายังคงถูกตีตราทางสังคม\n


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมต่อ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและอัตราการเลี้ยงบุตร ด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด, อุษณีย์ จินตะเวช, นภัสนันท์ สุขเกษม, เทียมศร ทองสวัสดิ์ May 2015

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมต่อ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและอัตราการเลี้ยงบุตร ด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด, อุษณีย์ จินตะเวช, นภัสนันท์ สุขเกษม, เทียมศร ทองสวัสดิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมกับ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดจำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาตามแนวคิดของ Dennis และการสนับสนุนทางสังคมของ House รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .90 และแบบบันทึกการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ไคว์สแควร์ ทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบผสม\n \nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติทั้งวันที่จำหน่ายจากโรงพยาบาล หลังคลอด 6 สัปดาห์ และหลังคลอด 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05, p<.001 และ p<.001 ตามลำดับ) และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวที่หลังคลอด 6 เดือน สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)\n\nสรุป: โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและการสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิภาพใน การเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว\n


ประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์, กมลทิพย์ วัดโคก, สุชาดา รัชชุกูล May 2015

ประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์, กมลทิพย์ วัดโคก, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบก่อนทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น และหอผู้ป่วยศัลยกรรมของโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการอบรม แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด คู่มือการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที(Dependent t-test)\n\nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนประสิทธิภาพของแบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดตามการรับรู้ของพยาบาล หลังการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดสูงกว่าก่อนการใช้แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: แบบบันทึกการพยาบาลผ่าตัดที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบบันทึกที่มีประสิทธิภาพตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์\n


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติของนักเรียนชายอาชีวศึกษา จังหวัดชลบุรี, สลิลทิพย์ โกพลรัตน์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์ May 2015

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติของนักเรียนชายอาชีวศึกษา จังหวัดชลบุรี, สลิลทิพย์ โกพลรัตน์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติ และปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติของนักเรียนชายอาชีวศึกษา\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1-2 ที่กำลังศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งหมด 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความผูกพันกับครอบครัว แบบประเมินความเครียด แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามความคาดหวังผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแบบสอบถามการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติ มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .80, .80, .79, .92, .75 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Binary logistic regression\n\nผลการวิจัย: ความชุกในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติของนักเรียนชายอาชีวศึกษา คิดเป็น\n ร้อยละ 44.7 โดยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติของนักเรียนชายอาชีวศึกษา ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (AOR = 4.77, 95% CI = 2.81-8.10) ความเครียด (AOR = 2.35, 95% CI = 1.22-4.54) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 2.21, 95% CI = 1.35-3.60) ความคาดหวังผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 1.65, 95% CI = 1.01-2.71) และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเพื่อนสนิท (AOR = 2.08, 95% CI = 1.18-3.69) ส่วนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความผูกพันกับครอบครัว และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติ\n\nสรุป: ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบผิดปกติหรือดื่มในปริมาณที่มากกว่าระดับที่ปลอดภัยในนักเรียนชายอาชีวศึกษา\n


ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร, ปิยะรัตน์ พุ่มวิเศษ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี May 2015

ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร, ปิยะรัตน์ พุ่มวิเศษ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ในความสามารถตนเอง การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ความเครียดในงาน กับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ และปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยาย\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล และมีประสบการณ์ทำงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 300 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถตนเอง แบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ แบบสอบถามความเครียดในงาน และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างสรรค์ แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงได้เท่ากับ .83, .93, .85 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับดี (x̄ = 3.57, SD = .58)\n 2) การรับรู้ในความสามารถตนเอง และการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .20 และ r =.327) แต่ความเครียดในงานไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร (r = -.07, p > .05)\n 3) ตัวแปรที่พยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ โดยพยากรณ์ได้ ร้อยละ 10.7 (R2 = .107)\n\nสรุป: ผู้บริหารทางการพยาบาลควรเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจให้กับพยาบาลวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีพฤติกรรมสร้างสรรค์อันจะสามารถปฏิบัติงานพยาบาลที่เป็นเลิศต่อไป\n


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลขนาด 30 - 90 เตียง สังกัดกองทัพบก, อรอุมา ศิริวัฒนา, กัญญดา ประจุศิลป May 2015

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลขนาด 30 - 90 เตียง สังกัดกองทัพบก, อรอุมา ศิริวัฒนา, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลขนาด 30 - 90 เตียง สังกัดกองทัพบก\n \nรูปแบบการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือ\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมแพทย์ทหารบก ผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาล ผู้บริหารหลักสูตรทางการศึกษาการพยาบาล และพยาบาลประจำการ จำนวน 11 คน ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จากการศึกษาแนวคิด และการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารทางการพยาบาล และพยาบาลประจำการ จำนวน 6 คน 2) สร้างข้อคำถามตามคำนิยามเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย สมรรถนะ 8 ด้าน จำนวน 76 ข้อ และให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ให้คะแนนความสำคัญของข้อรายการพฤติกรรมสมรรถนะ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) สร้างแบบประเมินสมรรถนะ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน\n \nผลการวิจัย: แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลประจำการ ในโรงพยาบาลขนาด 30-90 เตียง สังกัดกองทัพบก ประกอบด้วย สมรรถนะ 8 ด้าน จำนวนทั้งหมด 76 ข้อ โดยข้อรายการพฤติกรรมสมรรถนะทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด ดังนี้ 1) สมรรถนะทั่วไป จำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1.1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 12 ข้อ (x̄ = 4.80, SD = .37) 1.2) ด้านภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ จำนวน 12 ข้อ (x̄ = 4.81, SD = .34) 1.3) ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย จำนวน 12 ข้อ (x̄ = …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี, จิราภรณ์ จันทร์แก้ว, พรนภา หอมสินธุ์ May 2015

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดปทุมธานี, จิราภรณ์ จันทร์แก้ว, พรนภา หอมสินธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการทดลองสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4จังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งหมด 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความเครียด แบบสอบถามทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และแบบ สอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .80, .80 และ.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและ Binary logistic regression\n\nผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.7 มีความชุกในการทดลองสูบบุหรี่ โดยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ (AOR = 2.41, 95% CI = 1.02 - 5.70) ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ (AOR = 2.62, 95% CI = 1.10 - 6.31) และการถูกเพื่อนชักชวนให้สูบบุหรี่ (AOR = 8.46, 95% CI = 3.46 - 20.68) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเครียด การสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง การสูบบุหรี่ของพี่น้อง การยอมรับการสูบบุหรี่ของผู้ปกครอง การสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิท การเข้าถึงบุหรี่ การเข้าถึงสื่อเกี่ยวกับบุหรี่ และการคาดการณ์การสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่\n\nสรุป: ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันการทดลองสูบบุหรี่ในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและกลุ่มวัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป\n


ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, พร้อมพรรณ สัชชานนท์, ประนอม รอดคำดี May 2015

ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, พร้อมพรรณ สัชชานนท์, ประนอม รอดคำดี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดก่อนและหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอายุ 7-12 ปี แบ่งกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: 1) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)\n \nสรุป: การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นและดีกว่าการดูแลตามปกติ \n


ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง, อุทุมพร ขำคม, นันทิยา วัฒายุ, ดวงใจ รัตนธัญญา May 2015

ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง, อุทุมพร ขำคม, นันทิยา วัฒายุ, ดวงใจ รัตนธัญญา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ และปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง จากปัจจัยเฉพาะบุคคล ปัจจัยด้านการทำหน้าที่ทางชีวภาพ และปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง\n\nรูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนาย\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่องที่มารับบริการคลินิกโรคไต จำนวน 78 ราย ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยเฉพาะบุคคล ปัจจัยด้านการทำหน้าที่ทางชีวภาพ และปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยเชิงพหุ\n \nผลการวิจัย:1) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง พบว่า มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง 2) อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.461, p < .01) อาชีพ ค่าอัตราการกรองของไต ค่าฮีมาโตคริต และค่าอัลบูมินในเลือดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .379, r = .732, r = .601, และ r = .662, ตามลำดับ p< .01) 3) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง พบว่า มีตัวแปร 3 ตัว ได้แก่ อายุ (β = -.420) ค่าอัตราการกรองของไต (β = .387) และค่าฮีมาโตคริต (β = .225) ที่ร่วมกันทำนายความผันแปรของคุณภาพชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ร้อยละ 70.2 (R2 = .702)\n \nสรุป: บุคลากรทางสุขภาพ รวมทั้งพยาบาลเวชปฏิบัติสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนการส่งเสริมล่วงหน้าและสนับสนุนให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่องให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น\n


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา, บุปผา นันมา, รุ้งระวี นาวีเจริญ May 2015

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา, บุปผา นันมา, รุ้งระวี นาวีเจริญ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา\n \nรูปแบบการวิจัย: วิจัยแบบบรรยายเชิงสหสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งศีรษะและคอและมีแผนการรักษาด้วยรังสีรักษาตั้งแต่ 3,000 เซนติเกรย์ขึ้นไป อายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 121 คน ที่มารับบริการแผนกรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการรักษา และแบบประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ของ Cramer's n, Eta สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา ร้อยละ 47.9 มีภาวะโภชนาการด้านการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวโดยมีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 ในขณะที่ ร้อยละ 57.9 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีมาก อาการที่พบมากที่สุด คือ ร้อยละ 94.2 มีอาการเจ็บปาก/แผลในปากและสูญเสียการรับรสชาติอาหาร มีการสะสมของไขมันและมวลกล้ามเนื้อลดลงในระดับปานกลางทั้งเพศชายและหญิง 2) ระยะของโรคมะเร็งไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการด้านการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว พฤติกรรมการบริโภคอาหาร กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้อง และการสะสมของไขมันและมวลกล้ามเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา 3) ปริมาณรังสีที่ได้รับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะโภชนาการด้านการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .47; r= .57 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะโภชนาการด้านการสะสมของไขมันและมวลกล้ามเนื้อของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - .27; r = - .31 ตามลำดับ)\n\nสรุป: ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาทุกรายมีภาวะโภชนาเปลี่ยนแปลง จึงควรได้รับการประเมินภาวะโภชนาการตั้งแต่ระยะเริ่มการรักษา ระหว่างรักษา และสิ้นสุดการรักษาทุกราย\n


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, บุศรา ชัยทัศน์, นรลักขณ์ เอื้อกิจ May 2015

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, บุศรา ชัยทัศน์, นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การสนับสนุนทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ กับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\n \nรูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยเรียนอายุ 6-10 ปี จำนวน 213 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมป้องกันการจมน้ำ ความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การสนับสนุนทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้เท่ากับ1.00,.70, .88, .77, .76 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1. เด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 34.67, SD = 3.09) 2. ความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การสนับสนุนทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำในเด็กวัยเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .22, .23, .40 และ .18 ตามลำดับ)\n\nสรุป: โรงเรียนและหน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการจมน้ำของเด็กวัยเรียน อันจะส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กวัยเรียนต่อไป\n


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, พัชรวรรณ แก้วศรีงาม, มยุรี นิรัตธราดร, ชดช้อย วัฒนะ May 2015

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, พัชรวรรณ แก้วศรีงาม, มยุรี นิรัตธราดร, ชดช้อย วัฒนะ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 140 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ คัดเลือกด้วยการสุ่มตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 7 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 3) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 5) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 6) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2, 7) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .84, .90, .87, .88, .94 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Enter\n\nผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 29.97, SD = 2.68) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ได้ร้อยละ 49 ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2(β = .30, p < .001) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (β = .27, p < .001)การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (β = .18, p < .05) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (β = .25, p < .001)\n\nสรุป: ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานให้กับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน\n


ปัจจัยทำนายการปรับตัวในชีวิตสมรสของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น, รุ่งทิพย์ กาศักดิ์, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล Jan 2015

ปัจจัยทำนายการปรับตัวในชีวิตสมรสของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น, รุ่งทิพย์ กาศักดิ์, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายการปรับตัวในชีวิตสมรสของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ครรภ์แรก อายุระหว่าง 10-19 ปี ที่อาศัยอยู่กับสามี มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 145 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการปรับตัวในชีวิตสมรส ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งสามด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .76, .82 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติอีต้า สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีการปรับตัวในชีวิตสมรสอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 64.86, SD = 13.36) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวในชีวิตสมรสในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r = .357) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (r = .349) และความเพียงพอของรายได้ครอบครัว (η = .303) ทั้งนี้ อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในชีวิตสมรส (r = .036 , r = .012 และ η = .005 ตามลำดับ) 3) ปัจจัยทำนายการปรับตัวในชีวิตสมรสในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ( β = .275) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม ( β = .264) และความเพียงพอของรายได้ครอบครัว (β = .254) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวในชีวิตสมรสในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ร้อยละ 26.8 (R2 =.268) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05\n\nสรุป: ปัจจัยทำนายการปรับตัวในชีวิตสมรสในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น คือ …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, มลฤดี ชาตรีเวโรจน์, รุ้งระวี นาวีเจริญ Jan 2015

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, มลฤดี ชาตรีเวโรจน์, รุ้งระวี นาวีเจริญ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อายุ 20-59 ปี จำนวน 140 คน ซึ่งมารับการรักษาที่คลินิกจอประสาทตา โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความวิตกกังวล และแบบสอบถามการจัดการตนเองของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .90, .90, .90 และ .71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอีต้า สเปียร์แมน และเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1. คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 3.52, SD = 0.71) 2. เพศและอายุไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (p > .05) 3. การมีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(η = .52) 4. ระดับการมองเห็น ระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ρ = -.44, ρ = -.37 และ r = -.79 ตามลำดับ) 5. การสนับสนุนทางสังคมและการจัดการตนเองที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(r = 0.72 และ r = 0.53 ตามลำดับ)\n\nสรุป: พยาบาลควรคำนึงถึงปัจจัยด้าน ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังโรคเบาหวาน ระดับการมองเห็น ระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และการจัดการตนเองที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ในการวางแผนจัดกิจกรรมการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยต่อไป\n


ปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร, สุธีราพร อ่วมคร้าม, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 2015

ปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร, สุธีราพร อ่วมคร้าม, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร\n \nรูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบบรรยาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้รับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 200 คน และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 200 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามเหตุผลที่มาเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน กรุงเทพมหานคร ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) ด้วยวิธีขั้นตอน (Stepwise method) และวิธี Enter\n\nผลการวิจัย: พบว่า มี 2 ตัวแปร ที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาล ได้แก่ มีการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ และการแนะนำของบุคคลใกล้ชิด ส่วนตัวแปรจำนวน 6 ตัวแปร ที่สามารถจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ คุณภาพการรักษาของแพทย์ มีระบบการให้บริการที่ดี พฤติกรรมบริการของพยาบาล มีการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลผ่านตามสื่อต่างๆ ราคาค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับบริการที่ได้รับ และสถานที่ให้บริการ โดยตัวแปรทั้ง 8 ตัวแปร สามารถร่วมกันเป็นปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนได้ร้อยละ 99.25\n\nสรุป: ผู้บริหารการพยาบาลทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อดึงดูดผู้รับบริการให้มาใช้บริการ\n


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด, ขวัญจิรา ถนอมจิตต์, สุรีพร ธนศิลป์ Jan 2015

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด, ขวัญจิรา ถนอมจิตต์, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความปวด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด และปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งปอด จำนวน193 คน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบากแบบประเมินอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าแบบประเมินความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .89, .92, .71, .83, .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด อยู่ในระดับสูง (x̄ = 73.01, SD = 15.44) 2) ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แต่ความปวดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด 3) ภาวะซึมเศร้า (β = -.52) อาการหายใจลำบาก (β = -.28) ความเหนื่อยล้า(β = -.30) และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน (β = -.14)เป็นปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยของมะเร็งปอด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 43 (R2 = .43)\n \nสรุป: องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย สามารถนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมุ่งเน้นการดูแลเพื่อจัดการกับกลุ่มอาการและตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น \n


บทบาทพยาบาลกับการดูแลภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด, รุ่งทิพย์ กาศักดิ์ Jan 2015

บทบาทพยาบาลกับการดูแลภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด, รุ่งทิพย์ กาศักดิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งส่งผลกระทบที่รุนแรงทั้งต่อตัวมารดา ทารก และครอบครัว โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างมารดาทารก พยาบาลจึงเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือมารดาหลังคลอด โดยมีบทบาทในการดูแลดังต่อไปนี้ 1)ทำการคัดกรองโรคอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และต่อเนื่องทุกระยะหลังคลอด 2)ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเมื่อต้องรักษาด้วยการรับประทานยาต้านเศร้า หรือการรักษาด้วยไฟฟ้า 3) ดูแลด้านจิตสังคมด้วยการให้การปรึกษาโดยใช้เทคนิคที่มีประสิทธิภาพ และ 4)ให้การส่งต่ออย่างเหมาะสมเมื่อมีภาวะซึมเศร้า และการส่งต่อกลับสู่ชุมชน ดังนั้น พยาบาลที่ให้การดูแลมารดาหลังคลอดทุกคนจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อจะได้ให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้มารดาหลังคลอดกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สามารถดำรงบทบาทการเป็นมารดาและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมีคุณภาพ