Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 434

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรต่อหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเฉียบพลัน: การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, ธนธรณ์ พินธุโสภณ Jan 2017

ผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรต่อหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเฉียบพลัน: การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, ธนธรณ์ พินธุโสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลแบบทันทีของการรักษาด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่นผสม 808 และ 905 นาโนเมตรในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวแบบเฉียบพลันในเพศหญิงโดยใช้การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจำนวน 42 คน โดยสุ่มออกเป็น กลุ่มทดลอง 21 คนและกลุ่มควบคุม 21 คน ทำการวัดผลก่อนการรักษา หลังการรักษารวมทั้ง 1สัปดาห์หลังการรักษา วัดผลโดยมาตรวัดระดับความเจ็บปวดด้วยสายตา (VAS) ค่าแรงกดที่น้อยที่สุดที่ทำให้เริ่มรู้สึกเจ็บ (PPT) และระยะอ้าปากกว้างสุด (MMO) ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้การทดสอบสถิติแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบค่า VAS ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลัง และ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 54.00(41.75-70.50), 35.00(22.00-61.00) และ 9.00(2.00-31.00) กลุ่มควบคุม 61.00(43.50-74.00), 51.00(37.00-65.50) และ 26.50(13.00-49.00) ค่า PPT ของกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลัง และ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 55.00(35.25-75.50 กิโลปาสคาล), 62.50(43.25-78.00 กิโลปาสคาล) และ 64.00(49.00-84.00 กิโลปาสคาล) กลุ่มควบคุม 55.00(35.00-80.75 กิโลปาสคาล), 49.00(41.25-77.25 กิโลปาสคาล) และ 63.00 (51.50-82.50 กิโลปาสคาล) ค่า MMO ของกลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานก่อน,หลังและ 1 สัปดาห์หลังการรักษา ดังต่อไปนี้ 40.00(33.00-43.50 มิลลิเมตร), 40.00(35.00-43.50 มิลลิเมตร) และ 40.00(37.00-43.00 มิลลิเมตร) กลุ่มควบคุม 42.00(32.00-45.00 มิลลิเมตร), 42.00 (31.50-45.00 มิลลิเมตร) และ 42.00 (34.00-45.00 มิลลิเมตร) ผลพบว่า VAS,PPT และ MMO หลังการรักษาและ 1 สัปดาห์หลังการรักษาไม่แตกต่างกับก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.159, 0.070, 0.365, 0.930, 0.422 และ 0.278 …


การยึดอยู่ของสะพานฟันรูปแบบใหม่ที่กรอฟันน้อย ภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร, รุจิรา ภัทรทิวานนท์ Jan 2017

การยึดอยู่ของสะพานฟันรูปแบบใหม่ที่กรอฟันน้อย ภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร, รุจิรา ภัทรทิวานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซินชนิดกรอฟันน้อยในฟันหลังรูปแบบใหม่ โดยเปรียบเทียบการยึดอยู่ระหว่าง 3 รูปแบบที่แตกต่างกันภายหลังได้รับแรงกระทำแบบเป็นวัฏจักร โดยใช้ฟันมนุษย์ที่ได้รับการถอนจำนวน 60 ซี่ เป็นฟันกรามน้อย 30 ซี่ และฟันกรามแท้ 30 ซี่ นำฟันกรามน้อยและฟันกรามแท้อย่างละซี่ยึดเข้ากับอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยตัวเองที่ระยะห่าง 11 มิลลิเมตรเพื่อจำลองการสูญเสียฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง แบ่งบล็อกฟันออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 บล็อก ตามรูปแบบการออกแบบชิ้นงาน โดยกลุ่มที่ 1 ชิ้นงานเป็นส่วนพักนอกตัวฟันด้านบดเคี้ยวที่มีลักษณะเช่นเดียวกับออนเลย์ กลุ่มที่ 2 ชิ้นงานเป็นส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับข้อต่อขยับได้ และกลุ่มที่ 3 ชิ้นงานเป็นส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับข้อต่อขยับไม่ได้ ชิ้นงานทำด้วยโลหะผสมไร้สกุล ปรับสภาพพื้นผิวด้านในด้วยอะลูมินาขนาด 50 ไมโครเมตร และยึดด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี ทดสอบชิ้นตัวอย่างด้วยแรงกดในแนวตรงลงบนฟันหลักทั้ง 2 ซี่และฟันแขวน ด้วยแรงขนาด 50 – 800 นิวตัน ที่ความถี่ 4 รอบต่อวินาที จำนวน 2,500,000 รอบ ภายหลังทดสอบด้วยแรงกด ถ้าชิ้นงานไม่เกิดความล้มเหลวจะนำไปทดสอบด้วยแรงดึงขึ้นในแนวตรงจนกระทั่งเกิดความล้มเหลวของชิ้นงาน และประเมินความล้มเหลวที่เกิดขึ้นว่าเกิดที่ระดับใด ผลการทดสอบพบว่าชิ้นตัวอย่างของทุกกลุ่มอยู่รอดภายหลังทดสอบด้วยแรงกดแบบเป็นวัฏจักร เมื่อทดสอบด้วยแรงดึงพบว่าค่าเฉลี่ยแรงยึดของชิ้นงานทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มที่ 3 มีค่าแรงยึดสูงที่สุดโดยเฉลี่ย 529.9 ± 86.2 นิวตัน รองลงมาคือกลุ่มที่ 1 ที่มีค่า 396.7 ± 73.2 นิวตัน และกลุ่มที่ 2 มีค่าต่ำที่สุดโดยเฉลี่ย 228.3 ± 52.5 นิวตัน โดยรูปแบบความล้มเหลวของชิ้นงานจะเกิดการหลุดบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นงานและเรซินซีเมนต์และ/หรือภายในเรซินซีเมนต์เป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสะพานฟันหลังชนิดกรอฟันน้อยที่ชิ้นงานมีส่วนพักในตัวฟันด้านประชิดร่วมกับการใช้ข้อต่อขยับไม่ได้อาจส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นส่วนพักนอกตัวฟันด้านบดเคี้ยวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน


Effect Of 3-Methacryloxypropyltrimethoxysilane Modified Zinc Oxide Nanoparticles Incorporated In Polymethylmethacrylate Material On Antifungal, Optical And Mechanical Properties, Krid Kamonkhantikul Jan 2017

Effect Of 3-Methacryloxypropyltrimethoxysilane Modified Zinc Oxide Nanoparticles Incorporated In Polymethylmethacrylate Material On Antifungal, Optical And Mechanical Properties, Krid Kamonkhantikul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to evaluate 1) the characteristics of different amount of 3-methacryloxypropyltrimethoxysilane (MPS) deposited on zinc oxide nanoparticles (ZnOnps) by Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR) and thermogravimetric analysis (TGA) before and after tetrahydrofuran washing, 2) the effect of different MPS amount deposited on ZnOnps incorporated in PMMA material on mechanical properties, and 3) the effect of different ZnOnps amounts with or without MPS incorporated in PMMA material on antifungal, optical and mechanical properties. The FTIR and TGA results showed the success of silanization. The monolayered silane molecules were parallelly oriented on the ZnOnps surface. The different MPS amounts (0-14.4 …


Prevalence And Factors Associated With Sexual Activites Among High School Students In Kendal Regency, Indonesia, Ekha Rifki Fauzi Jan 2017

Prevalence And Factors Associated With Sexual Activites Among High School Students In Kendal Regency, Indonesia, Ekha Rifki Fauzi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: The risk of sexual activities among adolescents is high in globally. Unwanted pregnancy, sexual transmitted infections, and HIV are still the big problem in adolescents. This study was involved to exam the prevalence and factor associated with sexual activities among high school students. Methods: A cross-sectional study was conducted around 145 male students and 315 female students. The total populations was 460 students with multistage random sampling technique. A self-reported questionnaire was used including Illustrative Questionnaire for Interview-Surveys with Young People, Sexual Activity Scale and Sex Education Inventory. Descriptive statistics, Chi-square test, and multivariate logistic regression were used to …


Intelligent Pill Box To Improve Medical Adherence In Elderly With Hypertension : A Randomized Controlled Trial, Nanthakan Sungsuman Woodham Jan 2017

Intelligent Pill Box To Improve Medical Adherence In Elderly With Hypertension : A Randomized Controlled Trial, Nanthakan Sungsuman Woodham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Antihypertension medical adherence is important for controlling blood pressure in hypertension patients. Adherence to antihypertension medication among elderly Thai persons in the rural area is low, which contributes to uncontrolled blood pressure.
Objective: To examine whether an intreated education program and innovative pill box improves adherence to medications and to improve controlling blood pressure among Thai elderly persons with hypertension.
Methods: A randomized controlled trial. 200 elderly persons with hypertension who received at least one hypertension medication, at least once daily, were randomized into two groups. One group received the usual education program (control group) and the second group …


Effectiveness Of Integrated Health Literacy And Self-Management Model For Hypertension Control In Urban Community, Nakhonratchasima Province, Thailand, Sawitree Visanuyothin Jan 2017

Effectiveness Of Integrated Health Literacy And Self-Management Model For Hypertension Control In Urban Community, Nakhonratchasima Province, Thailand, Sawitree Visanuyothin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Hypertension (HT) response a half of death from heart disease and stroke due to poorly-controlled hypertension. Many strategies have been approached poorly-controlled HT. The integrated health literacy and self-management model led care on poorly-controlled HT in urban area were few on reviewing. This study aimed to determine effectiveness of integrated program for poorly-controlled HT in urban community, Nakhorn Ratchasima, Thailand in experimental group comparing with usual care. Methods: This was a quasi-experiment during January 2017- March 2018 of The catchment areas of two primary care unit (PCU) in urban area of Nakhorn Ratchasima, Thailand were selected to be one …


Monitoring Of Antibiogram And Resistance Gene Profiles Among Escherichia Coli In Pig Production System, Kittitat Lugsomya Jan 2017

Monitoring Of Antibiogram And Resistance Gene Profiles Among Escherichia Coli In Pig Production System, Kittitat Lugsomya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The antimicrobial resistant (AMR) bacteria in pig farms have been believed as an important source in food chain with public health concern. While some studies suggested transmission of AMR from pigs to humans may occur, but there was still needing to combine high resolution genomic data analysis with systematically collected epidemiological evidence to reconstruct patterns of AMR transmission between pigs and humans. The objectives of this study were to determine the occurrence and characterization the AMR phenotypes against 18 antimicrobials in pig producing system in both cross-sectional from fattening and longitudinal studies from newborn to slaughtering pigs and to evaluate …


ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อรกนก สังข์พระกร Jan 2017

ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อรกนก สังข์พระกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง วิธีการศึกษา ศึกษาในพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 115 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมองเบื้องต้น แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วงหนึ่งปี แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ ใช้โปรแกรม SPSS เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 115 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.6 มีอายุเฉลี่ย 68.8 ปี พบความชุกของภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 35.6 แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 33.0 และภาวะซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 2.6 โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศชาย มีอายุมากกว่า 66 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาชั้นมัธยม รายได้ปัจจุบันน้อยกว่าเท่ากับ 10,000 บาท/เดือน รายได้ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน จำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่าเท่ากับ 2 คน ปัจจัยด้านการทำงานที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ตำแหน่งงานก่อนเกษียณอายุระดับน้อยกว่าเท่ากับซี 6 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่าเท่ากับ 3 ล้านบาท รายได้ก่อนเกษียณอายุน้อยกว่าเท่ากับ 60,000 บาท/เดือน รายได้หลังเกษียณอายุน้อยกว่าเท่ากับ 10,000 บาท/เดือน ปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ มีโรคประจำตัวมากกว่า 2 โรค การเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคต่อมลูกมากโต ได้รับยารักษาโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคต่อมลูกมากโต และปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การมีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ และการมีส่วนร่วมในสังคมระดับต่ำ จากการวิเคราะห์พหุสัมพันธ์พบว่าที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุมากกว่า 66 ปี ขึ้นไป …


การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน, จีรวัชร์ เมธาภา Jan 2017

การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน, จีรวัชร์ เมธาภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน บทนำ การส่องกล้องทางเดินน้ำดี (ERCP) เป็นหัตถการที่นิยมในปัจจุบันในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วยท่อน้ำดีตีบตัน เนื่องมาจากสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อและเก็บเซลล์ภายใต้ฟลูโอโรสโครปี้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันเนื่องจากความไวในการวินิจฉัยค่อนข้างต่ำ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการส่องกล้องท่อน้ำดีชนิดใหม่ คือ กล้องสปายกลาส ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นลักษณะท่อน้ำดีที่ชัดเจนและสามารถบอกตำแหน่งของความผิดปกติได้ การศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการหาความไวและความจำเพาะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็ง โดยการตัดชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดจากมะเร็งจะได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (ERCP) ร่วมกับการส่องกล้องทำการตัดชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาส (Spybite) เก็บเซลล์วิทยา (brush cytology) จากนั้นนำชิ้นเนื้อและเซลล์ที่ได้ไปส่งพยาธิวิทยาและทำการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิช คือ การใช้ตัวตรวจจับ (probe) ที่เรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ไปจับกับโครโมโซมที่ตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง โดยตัวตรวจจับของโครโมโซมแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิช (PB probe) คือ โครโมโซม 1q21 (สีเหลือง), 7p12 (สีเขียว), 8q24 (สีฟ้า) และ 9p21 (สีแดง) โดยเซลล์มะเร็งสามารถตรวจพบการเพิ่มหรือลดของจำนวนโครโมโซมได้ การศึกษานี้เปรียบเทียบความไวและความจำเพาะการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช (Spybite FISH), การตรวจชิ้นเนื้อจากกล้องสปายกลาสด้วยพยาธิวิทยา (Spybite), การตรวจเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิชฟิช (FISH brushing) และการตรวจเซลล์โดยพยาธิวิทยา (cytology) ผลการวิจัย ผู้ป่วยมีภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งจำนวน 30 รายเข้าร่วมการวิจัย โดย 27 รายได้รับการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดจากมะเร็ง โดยสาเหตุเกิดจากมะเร็งท่อน้ำดีมากที่สุด (15 ราย, 55.6%), รองลงมาคือมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งท่อน้ำดีชนิด IPNB (3 ราย, 11.1%). ความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งด้วยการตรวจเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิชฟิช (FISH brushing) และการตรวจเซลล์โดยพยาธิวิทยา (cytology) คือ 33.3% และ 75% ตามลำดับ ความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งด้วยการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช (Spybite FISH) และการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสด้วยพยาธิวิทยา (Spybite) คือ 96.3% และ 62.9% ความจำเพาะเท่ากับ 33.3% and 100% ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม (Spybite FISH) สามารถเพิ่มความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายด้วยพยาธิวิทยา (Spybite) เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิชสามารถนำมาใช้วินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันทางคลินิก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งในการวางแผนรักษาต่อในอนาคต


Oral Fluid Samples Used For Prrs Diagnosis And Management, Yonlayong Woonwong Jan 2017

Oral Fluid Samples Used For Prrs Diagnosis And Management, Yonlayong Woonwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) is an economically significant swine disease having a negative impact to the swine industry worldwide. Appropriate management strategies and diagnostic tests are crucial to successfully control PRRS virus (PRRSV). However, the application for oral fluid-based diagnosis has not been evaluated in the Thai farms previously. In this study, pre-extraction methods of oral fluids were evaluated to improve the PCR product yielded. Moreover, the oral fluids utilization for PRRSV monitoring during the gilt acclimatization and farrowing to nursery period was investigated. The results demonstrated that increasing sample volume might be a suitable simple method for …


ประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ Jan 2017

ประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย, เพ็ญภพ พันธุ์เสือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงในกลุ่มผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย และปานกลาง จำนวน 66 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน โดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมออกกำลังกายแบบชี่กงเป็นครั้งละ 1 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 36 ครั้ง; 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย; และ 3) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังแบบชี่กง ส่วนในกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมดั้งเดิมตามปกติ คือ สวดมนต์ และร้องเพลง เริ่มดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการออกกำลังกายแบบชี่กงส่งผลให้ระดับภาวะซึมเศร้าลดลง ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเมื่อเทียบกับก่อนได้รับการฝึก (p < .001) และเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p < .001) โดยผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อคุณภาพการนอนหลับพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมชี่กง เทียบกับก่อนได้รับฝึกมี คุณภาพการนอนดีกว่าก่อนได้รับการฝึก (p < .001) และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p = .001) จากผลการครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังแบบชี่กงสามารถลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุที่เริ่มมีภาวะซึมเศร้า และเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น รวมถึงส่งผลทางบวกเมื่อเทียบกับกิจกรรมดั้งเดิมอีกด้วย


อาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ Jan 2017

อาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเชิงพรรณานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนและลักษณะอาการที่เด่นชัดในกลุ่มผู้มีอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครจำนวน 401 คนที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ.2560 มีอัตราการตอบกลับร้อยละ 100 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.8 อายุเฉลี่ย 40.1 ปี (SD=11.0) น้ำหนักตัวเฉลี่ย 67.9 กิโลกรัม (SD=11.4) ค่ามัธยฐานของจำนวนผู้โดยสารต่อวัน 48.0 คน [IQR=30.0,50.0] ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง 6 ปี [IQR=3.0,12.0] ร้อยละ 68.8 สวมถุงมือระหว่างการขับขี่ ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 49.1 ของกลุ่มตัวอย่างพบอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน ลักษณะอาการที่เด่นชัดมากที่สุด คือ อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ มือ แขน ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก (ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ นิ้วมือ ชา เสียว ซ่า ๆ แปลบ ๆ ต่อเนื่องเกิน 20 นาที (ร้อยละ 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ HAVs ได้แก่ สภาพถนนขรุขระมาก (ORadj=3.42, 95% CI=1.288-9.125) การสวมถุงมือ (ORadj=1.85, 95% CI=1.163-2.951) รถจักรยานยนต์เกียร์ธรรมดา (ORadj=0.62, 95% CI=0.394-0.992) อายุ (ORadj=1.02, 95% CI=1.009-1.050) และ จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน (ORadj=1.01, 95% CI=1.002-1.022) กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครแสดงลักษณะอาการของ HAVsเกือบร้อยละ 50 ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการดูแลตนเองและแนวทางการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ HAVsเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจาการทำงานให้กลุ่มอาชีพต่อไป


วิธีการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเคลือบด้วยถาดเคลือบ, กมลวรรณ ศรีวงษ์ชัย Jan 2017

วิธีการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเคลือบด้วยถาดเคลือบ, กมลวรรณ ศรีวงษ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางเลือกสำหรับการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่ ด้วยการเปรียบเทียบวิธีการทาบนตัวฟันด้วยพู่กัน (Paint on) กับวิธีถาดเคลือบ (tray) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยศึกษาประสิทธิภาพของปริมาณฟลูออไรด์ที่คงค้างอยู่ในน้ำลาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางคลินิกแบบไขว้ ใช้อาสาสมัครจำนวน 19 คนที่มีช่วงอายุ 12-15 ปี ทำการเก็บน้ำลายชนิดไม่กระตุ้นก่อนและหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจล ที่ 0, 5, 10, 20, 30 และ 60 นาที ระยะพัก (washout) 7 วัน วัดความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำลายด้วยฟลูออไรด์อิเลคโทรด ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณฟลูออไรด์เจลที่เหมาะสมในวิธีการทาบนตัวฟัน คือ ปริมาตร 0.4 มิลลิลิตรซึ่งน้อยกว่าวิธีถาดเคลือบถึง 12.5 เท่า ผลของฟลูออไรด์ในน้ำลายและฟลูออไรด์ในช่องปากจากวิธีการทาบนตัวฟันมีปริมาณมากกว่าวิธีถาดเคลือบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 113.458, p= .0001, t = 7.695, p= .0001 ตามลำดับ) อัตราการไหลของน้ำลายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=.121, p=.732 และค่าครึ่งชีวิต (t half-life) ของฟลูออไรด์ในน้ำลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 3.505, p= .003) แม้ว่าวิธีการทาจะมีค่าครึ่งชีวิตสั้นกว่าแต่ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำลายมีค่าสูงกว่าวิธีถาดเคลือบทุกช่วงเวลาที่วัด สรุปได้ว่าการเคลือบฟลูออไรด์เจลด้วยวิธีการทาบนตัวฟันโดยใช้พู่กัน เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุสูงและไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ นอกจากนี้ยังประหยัดทรัพยากร สะดวกในการบริหารจัดการ และอุปกรณ์หาได้ง่าย


ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร, พรพิมล โสฬสกุลางกูร Jan 2017

ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร, พรพิมล โสฬสกุลางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านตำรวจที่สามีทำงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 366 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากภรรยาข้าราชการตำรวจกองทะเบียนประวัติอาชญากร กองพิสูจน์หลักฐาน กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 สถาบันนิติเวชวิทยา และ กองบังคับการอำนวยการ โรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก 3) แบบสอบถามเจตคติต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค 6) แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของสามี และ 7) แบบสอบถามการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87, 1.00, .85, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .85, .89, .73 และ .81 ตามลำดับ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมีค่า KR-20 เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบไบนารี่โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า 1) แม่บ้านตำรวจมีอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็น ร้อยละ 45.6 2) ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจประกอบด้วย 4 ปัจจัยคือ เจตคติต่อการตรวจคัดกรอง (OR=3.92) การสนับสนุนทางสังคม (OR=3.49) และความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก (OR=2.33) และการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของสามี (OR=.524) โดยสามารถทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านอายุ การคุมกำเนิด และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่สามารถทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจได้


ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, วรันธร พรมสนธิ์ Jan 2017

ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, วรันธร พรมสนธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มารับบริการที่แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก ระบบโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 202 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 5 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความกลัว 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และ 5) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .83, 1.0, .86, และ .92 ตามลำดับ และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .89, .84, .85, และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 13.4 และมีภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีคะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ยเท่ากับ 90.79 (SD = 18.89) 2. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ประกอบด้วย 2 ตัวแปรได้แก่ ความกลัว (Beta = .617) และการสนับสนุนทางสังคม (Beta = -.294) สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ คิดเป็นร้อยละ 73.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรระดับการศึกษาและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยไม่สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้


การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อิสริยาภรณ์ แสงสวย Jan 2017

การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อิสริยาภรณ์ แสงสวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง อายุ เพศ รายได้ ระดับการศึกษา โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าไขมันในเลือด (LDL) และ ค่าไขมันในเลือด (HDL) กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภายหลังได้รับการปลูกถ่ายไต อายุระหว่าง 18-59 ปี ที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและค่าผลลัพธ์ทางคลินิค และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต ซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (2001) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือ มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน (Independent sample t - test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน(one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านพัฒนาการในระดับดีมากที่สุด (Mean=4.71,SD=0.53) 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ค่าไขมันในเลือด (LDL) และค่าไขมันในเลือด(HDL) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายไต จำแนกตาม อายุ รายได้ โรคร่วม ระยะเวลาหลังปลูกถ่ายไต ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) ค่าครีอะตินิน ค่าโคเลสเตอรอล ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ พบว่า ไม่แตกต่าง (p>.05)


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน, อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์ Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน, อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่เด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางจมูกจำนวน 213 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90, .88, .80, .87 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) พฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนโดยรวมถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับสูง (X̅ = 150.87, S.D.= 3.21) 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง,การรับรู้ประโยชน์, การสนับสนุนด้านอารมณ์, การสนับสนุนด้านการประเมินเปรียบเทียบและประเมินค่า, การสนับสนุนด้านวัตถุ สิ่งของ การเงิน และแรงงาน, รายได้ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .497, .403, .306, .279, .263, .237 และ .227 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.361) 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β= .351), การรับรู้ประโยชน์ (β= .311), รายได้ (β= .150) และ การรับรู้อุปสรรค (β= -.133) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลของพ่อแม่เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ทางจมูกในเด็กวัยเรียนได้ร้อยละ 36.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (R2 = .367)


การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย Jan 2017

การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย จากศูนย์ Cognitive Fitness Center แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ และการคัดกรองโดยเก็บข้อมูลแบบทดสอบ Thai Mental state Examination (TMSE) ที่คะแนน ≥ 24 คะแนน และThe Montreal Cognitive Assessment (MOCA) ฉบับภาษาไทย ที่คะแนน ≤ 24 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 20 คน เพื่อเข้าร่วมกลุ่มดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน จะได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทางการแพทย์แบบปกติเป็นระยะเวลา12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน จะได้รับการรักทางการดูแลแพทย์แบบปกติเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา12 สัปดาห์เท่ากัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบวัดความวิตกกังวลโดยแบบทดสอบ State-Trait Anxiety Inventory (STAI) ใช้สถิติเชิงพรรณา, Non-parametric Wilcoxon signed Ranks test และ Generalized Estimating Equation (GEE) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการทดลอง ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวลก่อนการทดลอง (ครั้งที่ 1) และหลังการทดลอง (ครั้งที่ 12) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และผลของเวลาในการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (State) ลดลงเท่ากับ 3.43 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) ส่วนจำนวนครั้งในการทดลองไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวล (p = 0.403) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (Trait) ลดลงเท่ากับ 3.47 คะแนน แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p …


การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์ Jan 2017

การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีหลายรูปแบบ รูปแบบของอาการมือสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันที่พบได้บ่อยคืออาการมือสั่นในขณะพัก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่ามีอาการมือสั่นขณะกำลังเดิน แต่ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในขณะเดิน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและบรรยายลักษณะของอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุนในการตรวจวัดจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยจำนวน 22 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่นและมีอาการมือสั่นในขณะเดิน โดยการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ติดตั้งบริเวณข้อมือในการวัดความเร่งและเซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุน (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) เพื่อศึกษาลักษณะจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น โดยมีการวัดเปรียบเทียบกับอาการมือสั่นรูปแบบอื่นได้แก่อาการมือสั่นขณะพัก อาการมือสั่นขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และวัดอาการมือสั่นในขณะที่ให้ผู้ป่วยเดินด้วยความผ่อนคลายในระยะเวลา 30 วินาที และมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย การตรวจร่างกายผู้ป่วยตามระบบของ UKPDS และนำข้อมูลทางจลนศาสตร์ได้แก่ค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุม ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของการสั่น และความถี่ของการสั่น มาทำการวิเคราะห์ต่อไป ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 ราย มีอายุเฉลี่ยที่ 68.18 ปี (SD=8.93) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคพาร์กินสัน 6.91 ปี (SD=5.5) ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษานี้มีอาการมือสั่นในขณะพัก โดยผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นในขณะพักในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด มีค่าความถี่เฉลี่ย 4.07 ครั้งต่อวินาที (SD=1.96) โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับอาการมือสั่นในขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเข้าได้กับอาการมือสั่นที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ส่วนอาการสั่นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเดิน ในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด พบว่ามีค่าความถี่ต่ำกว่าอาการสั่นในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความถี่ 1.67 ครั้งต่อวินาที (SD=1.77) (p=0.001) ลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการมือสั่นอื่นๆเช่นค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุมในการสั่น ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของอาการสั่น และค่า Q-value มีความแตกต่างกับอาการมือสั่นขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05 ในทุกลักษณะทางจลนศาสตร์) สรุป : จากผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการสั่นแตกต่างจากอาการสั่นที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน บ่งบอกว่าอาการมือสั่นในขณะเดินอาจจะเป็นอาการสั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการมือสั่นในขณะพัก ซึ่งในอนาคตต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการเกิดการมือสั่นในขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน


Bioactive Compounds From Dendrobium Infundibulum, Salinee Na Ranong Jan 2017

Bioactive Compounds From Dendrobium Infundibulum, Salinee Na Ranong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phytochemical study of the methanol extract from Dendrobium infundibulum (Orchidaceae) led to isolation of nine pure compounds including two new compounds (dendroinfundin A and dendroinfundin B) and seven known compounds (ephemeranthol A, moscatilin, aloifol I, batatasin III, 3,3'-dihydroxy-4,5-dimethoxybibenzyl, 3,4'-dihydroxy-3',4,5-trimethoxybibenzyl and dendrosinen B). Their structures were determined from their spectroscopic data. All compounds were then examined for their lipase and alpha-glucosidase inhibitory activities. Dendrosinen B (IC50 = 295.0±37.9 µM) showed moderate inhibitory activity against lipase when compared with orlistat (IC50 = 31.4±0.6 nM). Strong anti alpha-glucosidase agents were batatasin III (IC50 = 148.8±8.4 µM) and dendrosinen B (IC50 = 213.9±2.4 µM), …


ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน ต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมการตอบสนอง เนื่องจากระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และการขาดการกระตุ้นการสัมผัสจากมารดาที่ต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดแบบอนุกรมเวลาเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในมารดาครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เกิดจากมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการรักษาในแผนกทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน 2) แบบประเมินพลังอำนาจของมารดา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 3) แบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองทารก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-Way Repeated Measure ANOVA ) และเมื่อพิจารณาวิเคราะห์พฤติกรรมการตอบสนองเป็นรายด้าน คือ การหลับตื่น และการเคลื่อนไหว พบว่า 1. พฤติกรรมการหลับตื่นของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Quiet sleep, Drowsy, Awake alert, Active awake และ Crying และไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Active sleep อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Behavioral distress cues, No movement และ Smiles และไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Motor Activity อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05


การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, จิรณัฐ ชัยชนะ Jan 2017

การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, จิรณัฐ ชัยชนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ/เวชกรรมสังคมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นักวิชาการจากสำนักการพยาบาลและสภาการพยาบาล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว/การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป/การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน/อนามัยชุมชน พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลในทีมคลินิกหมอครอบครัว และพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง ด้านเวชปฏิบัติชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกี่ยวกับบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญแต่ละข้อรายการ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้งเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า บทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบ ด้วยบทบาท 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 15 บทบาทย่อย 2) บทบาทผู้สร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 บทบาทย่อย 3) บทบาทด้านผู้จัดการ และประสานงานสุขภาพชุมชน จำนวน 9 บทบาทย่อย 4) บทบาทด้านผู้พัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับปฐมภูมิ จำนวน 8 บทบาทย่อย


โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล Jan 2017

โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ตามแนวคิดการสอนแนะของ Parsloe และ Wray (2000) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 50 ราย ได้รับการจับคู่ให้มีอายุและประสบการณ์การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดคล้ายกัน แบ่งเป็นกลุ่มละ25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสอนแนะ 3 ครั้งในช่วง 3 วันก่อนการจำหน่ายและ โทรติดตาม เยี่ยมหลังการจำหน่าย 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลทารกก่อนกลับบ้าน 7 วันก่อนการจำหน่ายตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสอนแนะและคู่มือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารก และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารกและแบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารก กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม Jan 2017

ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, กาญจนา ผิวงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยศึกษา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิต และ ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ประชากรตัวอย่าง (Sample Population) คือ นักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.สวนดุสิต ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Descriptive Statistics, Chi-square test, T-Test และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตปกติในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลจากภาวะทางจิตใจ ร้อยละ 56 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 85.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านความวิตกกังวล ร้อยละ 86.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะทางจิต ร้อยละ 95.5 และมีสุขภาพจิตปกติในด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ร้อยละ 84 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลมาจากภาวะทางจิตใจ มี 6 ปัจจัย ด้านภาวะซึมเศร้า มี 7 ปัจจัย ด้านความวิตกกังวล มี 3 ปัจจัย ด้านภาวะทางจิต มี 4 ปัจจัย และด้านการทำหน้าที่ทางสังคม มี 1 ปัจจัย 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู พบว่านักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.99, S.D. = …


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ, ประกายมาศ เนตรจันทร์ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ, ประกายมาศ เนตรจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราภาครัฐ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อายุ เพศ โรคร่วม ภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเลือกตามสะดวกจากบ้านพักคนชราของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีทั้งเพศชายและเพศหญิง ทั้งหมด 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินภาวะเปราะบางซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงของแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .80, .83, .80 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินภาวะเปราะบางหาความเที่ยงด้วยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วม (Inter-rater method) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ โรคร่วม ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคมกับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติ Binary Logistic Regression ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีภาวะเปราะบาง ร้อยละ 58.7 2. อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี จะมีโอกาสเกิดภาวะเปราะบาง คิดเป็นร้อยละ 10 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้สูงอายุที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีโอกาสเกิดภาวะเปราะบางลดลงร้อยละ 5


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แผนกที่ปฏิบัติงาน การได้รับการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา และการทำงานเป็นทีม กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประชากร ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .96 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับสูง ( X = 3.64, SD = 0.65 ) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c2 = 9.821, C = .188) การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับ ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .557 และ .838 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกที่ปฏิบัติงานและระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม


สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้ Jan 2017

สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi tecnique) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มแพทย์ที่รักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy: HBOT) จำนวน 5 คน กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลด้าน HBOT จำนวน 6 คน กลุ่มอาจารย์พยาบาลด้าน HBOT จำนวน 3 คน และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้าน HBOT จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ ความดันบรรยากาศสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง จำนวน 14 สมรรถนะ 2) ด้านการให้ความรู้ และการสื่อสาร จำนวน 10 สมรรถนะ 3) ด้านการจัดการความเสี่ยง จำนวน 9 สมรรถนะ และ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 6 สมรรถนะ


ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, สุวลักษ์ ภูอาษา Jan 2017

ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, สุวลักษ์ ภูอาษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นในระยะก่อนและหลังการทดลอง 2) ความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดตราด ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 30 คน ได้รับการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่องอายุและเพศ และถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบสั้นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายฉบับภาษาไทย (SSI-Thai version 2014) และ 3) แบบประเมินความหวังของ Herth (1998) เครื่องมือชุดที่ 1 และ 3 ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบสั้นต่ำกว่าผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับสัญญาณจากเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, ปภัสสร บุญส่งเสริม Jan 2017

การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ได้รับสัญญาณจากเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่, ปภัสสร บุญส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยและยังทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงเสียชีวิตได้สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าสารพาราไครน์ที่หลั่งมาจากเซลล์มะเร็งเต้านมสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สภาวะเหนือพันธุกรรมในเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติได้ จึงนำมาสู่การศึกษาในโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยมีสมมติฐานที่ว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถหลั่งสารพาราไครน์ออกมาและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ได้เช่นกันผ่านเทคนิคการจำลองสภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างเซลล์มะเร็งและเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ของคนปกติ และเมื่อนำเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนซัยต์ที่ได้จากการทดลองมาตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลที่บริเวณไลน์วันพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลที่บริเวณไลน์วันทั้งแบบเพิ่มขึ้นและลดลงในเซลล์มะเร็งลำไส้แต่ละชนิด จนนำไปสู่การทดลองโดยใช้เทคนิคไมโครแอเรย์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลของยีนทั่วทั้งจีโนมจากการจำลองสภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างเซลล์นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในระดับการแสดงออกของยีนจากเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยโปรแกรม CU-DREAM และข้อมูลยีนที่ได้มาวิเคราะห์ต่อร่วมกับการแสดงออกในระดับโปรตีน จากการวิเคราะห์พบว่าที่ยีน MMP9 และยีน PLOD1 มีการเปลี่ยนแปลงระดับหมู่เมทิลเพิ่มขึ้นในตัวอย่างเลือดและมีการแสดงออกในระดับโปรตีนเพิ่มขึ้นในตัวอย่างชิ้นเนื้อและต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงสรุปได้ว่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถหลั่งสารพาราไครน์ออกมาได้และสารนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สภาวะเหนือพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงในระดับโปรตีนของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้อาจนำไปสู่งานวิจัยอื่นๆ เพื่อใช้ค้นหาตัวบ่งชี้มะเร็งและสามารถใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในอนาคต


ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ผู้วิจัยเลือกศึกษา 1. ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.96 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อการค่าถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อหาระดับความแตกต่างของการตัดสินใจ ผลการวิจัย พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05