Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Fibronectin

Publication Year

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์กระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ May 1998

การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์กระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินในเซลล์เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน โดยในส่วนแรกทําขึ้นเพื่อศึกษาว่าการเพิ่มขึ้นของการสร้างไฟโบรเนกทิน โดยเซลล์เพาะเลี้ยงจากเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ในสภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ จําเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์กับไฮดรอกซีอาปาไทต์หรือไม่ และในส่วนที่สอง เราทําการศึกษาถึงผลของการเพิ่มของแคลเซียมไอออน ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีต่อการสร้างไฟโบรเนกทิน วัสดุและวิธีการ เราได้ทําการเลี้ยงเซลล์ในสภาวะต่าง ๆ คือ 1 สภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ 2 เลี้ยงในอาหาร เลี้ยงเซลล์ที่แช่ไฮดรอกซีอาปาไทต์ และ 3 เติมสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 5 มิลลิโมลาร์ หรือ อีจี ทีเอ 1 มิลลิโมลาร์ หรือ ไอโอโนฟอร์ 500 นาโนโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วทําการวิเคราะห์ปริมาณไฟโบรเนกบินโดยเทคนิก เวสเทอร์นอนาไลซิส ผลการศึกษา เซลล์ที่เลี้ยงในสภาวะที่มีเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ หรือในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่แช่ไฮดรอกซีอาปาไทต์ จะสร้างไฟโบรเนกทินเพิ่มขึ้น 1.5 และ 1.9 เท่าตามลําดับ เซลล์ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่เติมสารละลายแคลเซียม คลอไรด์ จะสร้างไฟโบรเนกทินเพิ่มมากขึ้นประมาณ 1.5 เท่า เช่นเดียวกับเซลล์ที่เลี้ยงในแคลเซียมไอโอโนฟอร์ ใน ขณะที่สารละลายอีจีทีเอจะทําให้การสร้างไฟโบรเนกทินลดลง สรุป การตอบสนองของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ต่อเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์โดยการเพิ่มการสร้างไฟโบรเนกบินไม่จําเป็นต้องมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างเซลล์กับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ แต่เกิดจากสารที่ละลายออกจากไฮดรอกซีอาปาไทต์ นอกจากนี้ การสร้างไฟโบรเนกทินยังเพิ่มขึ้นในสภาวะที่มีแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์มากขึ้น ดังนั้นผล ของการกระตุ้นการสร้างไฟโบรเนกทินของไฮดรอกซีอาปาไทต์น่าจะเกิดจากการละลายของแคลเซียมไอออนจากไฮดรอกซีอาปาไทต์และทําให้ระดับของแคลเซียมไอออนในอาหารเลี้ยงเซลล์เพิ่มสูงขึ้น


ผลของเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ต่อเซลล์สร้าง เส้นใยจากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์ Sep 1997

ผลของเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ต่อเซลล์สร้าง เส้นใยจากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ, ประสิทธิ์ ภวสันต์

Chulalongkorn University Dental Journal

เราได้ศึกษาถึงผลของเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์ที่มีต่อเซลล์เพาะเลี้ยงจากเหงือกและจากเอ็นยึดปริทันต์ ผลจากการทดลองพบว่าเซลล์ทั้งสองชนิดสามารถตอบสนองต่อเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโปรตีนที่เซลล์สร้างขึ้น เมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอิเล็กโตรโฟเรซิส เซลล์ที่สัมผัสกับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์จะสร้างโปรตีนใหม่ที่มีน้ําหนักโมเลกุลราว 52 - 55 กิโลดาลตัน ซึ่งไม่พบในกลุ่มควบคุม และยังพบการสร้างโปรตีนที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่า 200 กิโลดาลตันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนด้วย เมื่อทําการศึกษาเพิ่มเติมด้วยเทคนิคเวสเทอร์นอนาไลซิสพบว่า หนึ่งในโปรตีนที่เซลล์สร้างเพิ่มขึ้นคือ ไฟโบรเนกทิน การเพิ่มขึ้นของโปรตีนทั้งสองชนิดนี้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านซึ่งแสดงว่าเซลล์ที่เลี้ยงบนเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์จะมีการสะสมของเมทริกซ์นอกเซลล์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าเซลล์เพาะเลี้ยงสามารถตอบรับต่อ สัญญาณจากไฮดรอกซีอาปาไทต์ และตอบสนองโดยการเพิ่มการสร้างไฟโบรเนกทินเพื่อช่วยในการยึดเกาะของเซลล์กับเกล็ดไฮดรอกซีอาปาไทต์