Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Caries Status

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม May 1992

อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาบริโภคนิสัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะโรคฟันของเด็กวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ซึ่งมาจากครอบครัวที่ระดับฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มอายุ 9 ปี และ 12 ปี จํานวนกลุ่มอายุละ 210 คน ชายและหญิงเท่า ๆ กัน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณสารอาหารที่บริโภคโดยเฉลี่ยต่อวันของเด็กชายและหญิงกลุ่มอายุ 9 ปี และ 12 ปีมีค่าเป็น 35.69, 32.50, 40.78 และ 37.47 กรัม -สําหรับสารอาหารโปรตีน มีค่าเป็น 27.16, 35.68, 40.89 และ 28.24 กรัม-สําหรับสารอาหารไขมัน และมีค่าเป็น 166.86, 155.64, 184.61 และ 174.64 กรัม -สําหรับสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ตามลําดับ ความถี่ของการบริโภคอาหารเฉลี่ย 6 ครั้งต่อวันเป็นการบริโภคอาหารในมื้อเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวันและบริโภคอาหารระหว่างมื้อเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวัน เด็กชายและเด็กหญิงกลุ่มอายุ 9 ปีและ 12 ปีมีคะแนนกิจกรรมการแปรงฟันเฉลี่ยเพียง 2.28, 2.83, 2.47 และ 3.1 ตามลําดับ จากคะแนนเต็ม 6 ซึ่งจากการทดสอบโดยใช้เอฟ-เทส พบว่าเด็กชายมีคะแนนเฉลี่ยต่ํากว่าเด็กหญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( α=0.05) อัตราความชุกของโรคฟันผุสูงร้อยละ 90 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่มอายุ มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 2.6 และ 4.0 ซี่ต่อคนในกลุ่มอายุ 9 ปีและ 12 ปีตามลําดับ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุเชิงเส้นตรง เพื่อหาลําดับความสําคัญของตัวแปร พบว่าความถี่ของการบริโภคอาหารระหว่างมื้อ สามารถใช้ทํานายความแปรปรวนของการปรากฏฟันผุถอนอุดได้ดีที่สุด ( α = 0.01)