Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

2004

Articles 1 - 23 of 23

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Comparison Of Ultimate Tensile Strength Between Torch Soldering Joints And Laser Welding Joints In Au-Pd, Ni-Cr, And Co-Cr Alloys, Pravej Serichetaphongse Sep 2004

Comparison Of Ultimate Tensile Strength Between Torch Soldering Joints And Laser Welding Joints In Au-Pd, Ni-Cr, And Co-Cr Alloys, Pravej Serichetaphongse

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To compare the ultimate tensile strength of the soldering joint from conventional torch technique and the welding joint from laser technology in three types of alloy, gold-palladium (Au-Pd) alloy, nickel-chrome (Ni-Cr) alloy and cobalt-chrome (Co-Cr) alloy using the ISO standard model. Materials and methods Fifty four specimens were prepared in accordance with ISO 6892 from three different alloys, Au-Pd alloy, Ni-Cr alloy and Co-Cr alloy. Six specimens of each alloy were cut and either soldered with gas propane-oxygen torch or welded with laser. The control group was six specimens without cutting (as cast specimens) of each alloy. All specimens …


ทันตกรรมบูรณะด้านความสวยงามเชิงอนุรักษ์ในฟันไมโครดอนเทียของผู้ป่วยวัยรุ่น: รายงานผู้ป่วย 1 ราย, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์ Sep 2004

ทันตกรรมบูรณะด้านความสวยงามเชิงอนุรักษ์ในฟันไมโครดอนเทียของผู้ป่วยวัยรุ่น: รายงานผู้ป่วย 1 ราย, มลิวรรณ วงศ์สิทธาจารย์

Chulalongkorn University Dental Journal

ฟันรูปหมุดเป็นความผิดปกติขนาดของฟัน โดยฟันมีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน ส่วนมากจะเกิดกับฟันหน้า ตัดบนข้างทําให้เกิดช่องห่างระหว่างฟันหน้าบน เป็นปัญหาต่อความสวยงามและการออกเสียง รายงานผู้ป่วยรายนี้ อธิบายถึงการวางแผนการรักษา การรักษาโดยบูรณะให้ผู้ป่วยที่มีฟันรูปหมุดได้มีฟันที่มีขนาดและสัดส่วนมาตรฐาน และปิดช่องห่างระหว่างฟัน นํามาซึ่งความสวยงามของใบหน้าและการมีบุคลิกภาพที่ดี ตลอดจนต้องทําการอธิบายสร้างความเข้าใจให้กับผู้ป่วยเพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของผู้ป่วย โดยคํานึงถึงการรักษาเชิงอนุรักษ์เป็นสําคัญ


เปรียบเทียบความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างโลหะผสมสองชนิดกับอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองภายหลังการปรับสภาพผิวโลหะผสมด้วยวิธีการต่างๆ, อรพินท์ แก้วปลั่ง, ปณิตา เชี่ยวชาญ, ผลิกา เหลืองเรืองรอง Sep 2004

เปรียบเทียบความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างโลหะผสมสองชนิดกับอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองภายหลังการปรับสภาพผิวโลหะผสมด้วยวิธีการต่างๆ, อรพินท์ แก้วปลั่ง, ปณิตา เชี่ยวชาญ, ผลิกา เหลืองเรืองรอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างโลหะผสม 2 ชนิด เมื่อทําการยึดติดกับอะคริลิก เรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองโดยใช้วิธีการปรับสภาพผิวโลหะผสมลักษณะต่าง ๆ เพื่อนําไปประยุกต์ในการซ่อมแซมฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะ วัสดุและวิธีการ นําโลหะผสมโครบอลต์-โครเมียม (Co-Cr) และโลหะผสมไททาเนียม (Ti-6A1-7Nb) มา เหวี่ยงเป็นชิ้นตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 มม. หนา 2.5 มม. แบ่งแต่ละชนิดออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง: ไม่ได้ทําการปรับสภาพผิว(C), กรดกัด(E), เป่าทราย(S), กรด+เป่าทราย(ES), กรด+เป่าทราย+alloy primer[ESA], เป่าทราย alloy primer [SA] และ เป่าทราย + alloy primer + Panavin FSAP) จากนั้น ยึดด้วยอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. สูง 3 มม. รอ 30 นาที จนอะคริลิก เรซินแข็งเต็มที่ นําขึ้นตัวอย่างทั้งหมดไปแช่น้ําที่อุณหภูมิ 37°C นาน 24 ชม. บันทึกค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน โดยใช้เครื่อง Lloyd@ Universal Testing ที่ความเร็วหัวทดสอบ 10 มม./นาที วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ One-way ANOVA us: Independent Samples T-Test ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงพันธะเฉือนสูงสุดในกลุ่มโลหะผสมโครบอลต์-ใครเมียมคือ กลุ่ม ESA (295.61 ±8.67N) และในกลุ่มโลหะผสม Ti-6A1-7Nb คือกลุ่ม SA (299.53 ± 5.14N) สรุป จากการ กษาแนะนําว่าวิธีที่เหมาะสมสําหรับการปรับสภาพผิวโลหะผสมก่อนทําการยึดกับอะครีลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตัวเองในการซ่อมแซมฟันปลอมบางส่วนถอดได้ชนิดโครงโลหะในโลหะผสม ใครบอลต์ โครเมียมคือ การ ใช้กรดกัด ร่วมกับการเป่าทรายและการทา alloy primer และในโลหะผสม …


การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคโพลีชัยฮีเมีย เวอร่า : รายงานผู้ป่วย, พรมิตร ส่งไพศาล, สุมาลี ส่งไพศาล Sep 2004

การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคโพลีชัยฮีเมีย เวอร่า : รายงานผู้ป่วย, พรมิตร ส่งไพศาล, สุมาลี ส่งไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

โรคโพลีชัยซีเมีย เวอร่า เป็นโรคหนึ่งในกลุ่มของโรคไขกระดูกชนิดที่มีการสร้างเซลล์เพิ่มมากขึ้น อย่างผิดปกติ ทําให้มีเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด เส้นเลือดอุดตัน ผู้ป่วยอาจได้รับยากันเลือดแข็งตัว การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรมจําเป็นต้องประเมินสภาวะ ของโรคก่อนทําการรักษา และวางแผนการรักษาร่วมกับปรึกษาแพทย์ทางโลหิตวิทยาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ แทรกซ้อน บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อรายงานการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคโพลีชัยซีเมีย เวอร่า โดยไม่เกิด ภาวะแทรกซ้อน


แนวทางการแก้ไขภาวะสบเปิดด้วยการจัดฟัน, ดวงกมล อัชทวีวรรณ, วัชระ เพชรคุปต์ Sep 2004

แนวทางการแก้ไขภาวะสบเปิดด้วยการจัดฟัน, ดวงกมล อัชทวีวรรณ, วัชระ เพชรคุปต์

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสูบเปิด ได้แก่ การปรับแต่งการเจริญเติบโตของขากรรไกรด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ไฮพูดเฮดเกียร์ เฝือกสบฟันบน ไบท์บล็อก เครื่องมือจัดฟันชนิดฟังชั่นนอล เวอร์ติคัลชิ้นแคป เป็นต้น การใช้เทคนิคต่าง ๆ ร่วมกับเครื่องมือทางทันตกรรม จัดฟันชนิดติดแน่น ได้แก่ เทคนิคเดียว และการใช้กระดูกเป็นหลักยึดในการกดฟันกราม รวมทั้งได้กล่าวถึงปัจจัย ที่มีผลต่อเสถียรภาพ และข้อแนะนําในการเพิ่มเสถียรภาพของการสบฟันภายหลังการรักษา


Measurement Of Scattered Radiation From Dental Implants In Dry Human Jaw During Radiotherapy, Pravej Serichetaphongse, Pimnara Sitthikhunkitt, Sunantha Srisubat-Ploysongsang Sep 2004

Measurement Of Scattered Radiation From Dental Implants In Dry Human Jaw During Radiotherapy, Pravej Serichetaphongse, Pimnara Sitthikhunkitt, Sunantha Srisubat-Ploysongsang

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To investigate the scattered radiation at bone-implant interfaces irradiated with a therapeutic radiation dose from three different dental implant surfaces in human bone model. Materials and methods Dry human mandible was used to measure the dose enhancement caused by scattered radiation from the three different implant surfaces [machined surface, titanium -coated (TiUnite) surface, hydroxyapatite (HA) -coated surface]. Radiation dose enhancement at distance of 0, 1, 2, and 3 mm from bone-implant interface was determined by thermoluminescent dosimetry using lithium fluoride single crystal chips as a radiation absorber. The absorbed radiation doses in the lithium fluoride chips at mesial, distal, …


การฟื้นฟูสภาพฟันสึกด้านใกล้แก้มด้วยเรซินคอมโพสิต : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สุชาดา วัฒนบุรานนท์ Sep 2004

การฟื้นฟูสภาพฟันสึกด้านใกล้แก้มด้วยเรซินคอมโพสิต : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สุชาดา วัฒนบุรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัญหาฟันสึกพบมากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุ ดังรายงานผู้ป่วยสูงอายุหญิง ที่มีฟันสึกและเสียวฟันมาก การจัดการทําได้โดยหาสาเหตุ ควบคุมป้องกันการสึก พร้อมทั้งประเมินเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยง วิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน การบูรณะด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตสามารถทําได้ในกรณีของการบูรณะทางด้านใกล้แก้ม เป็นทางเลือกแบบอนุรักษ์ในลักษณะวัสดุบูรณะกึ่งถาวร ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยสามารถยิ้มและเคี้ยวอาหารได้ปกติ


แนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการศึกษา หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2545 2554, พรพรรณ อัศวาณิชย์, นิตยา ภัสสรศิริ, จุมพล พูลภัทรชีวิน, รัตน์ เสรีนิราช Sep 2004

แนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการศึกษา หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2545 2554, พรพรรณ อัศวาณิชย์, นิตยา ภัสสรศิริ, จุมพล พูลภัทรชีวิน, รัตน์ เสรีนิราช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการศึกษาหลักสูตร ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมีความเหมาะสมสําหรับบริบทของประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ.2545-2564 วัสดุและวิธีการ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงพรรณนา ประเภทการวิจัยเชิงอนาคตปริทัศน์ แบบเอ็ดในกราฟฟิคเดลฟาย จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 26 ท่าน นําคําสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อจัดทําแบบสอบถามเลยหายสําหรับ สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจํานวน 25 ท่าน การวิเคราะห์ผลทางสถิติใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าร้อยละ มัธยฐาน ฐานนิยม ความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน และพิสัยระหว่างควยไทล์ ผลการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าในอนาคตหลักสูตรต้องตอบสนองนโยบายปฏิรูประบบสุขภาพ สามารถผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม คิดเป็น ทําเป็น พูดเป็น สามารถเป็นที่พึ่งพา ของสังคม การจัดหลักสูตรจะมีการบูรณาการองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอนจะมีการฝึกปฏิบัติงานร่วมกับ วิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น การวัดและประเมินผลจะใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียน อีกทั้งเปิดโอกาสให้นิสิตประเมินตนเอง การบริหารการศึกษาจะใช้แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจพอเพียงการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และภาวะผู้นําของคณบดีจะมีส่วนสําคัญในความสําเร็จของการพัฒนาหลักสูตร อย่างไรก็ดีการจัดหลักสูตรในอนาคตยังมีข้อจํากัดในการเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้บังเกิดแก่บัณฑิต สรุป ในการผลิตบัณฑิตให้มี “ความรู้คู่คุณธรรม” นั้น การจัดการศึกษาในอนาคตควรคํานึงถึงการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับ กระบวนทัศน์ของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่มุ่งเน้นการสร้างคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการพัฒนาที่มีดุลยภาพระหว่าง เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องอยู่บนฐานของ "กระบวนทัศน์สุขภาพแบบองค์รวม” ซึ่ง มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาวะทั้งมิติของกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ


ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการแนะนํา สุขภาพช่องปากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรม 654 สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร, ลาวัณย์ บุณยมานนท์ May 2004

ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการแนะนํา สุขภาพช่องปากต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในคลินิกทันตกรรม 654 สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร, ลาวัณย์ บุณยมานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบทดลองที่มีวัตถุประสงค์ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเรื่องคําแนะนําของทันตแพทย์ต่อการลดเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่ตั้งใจจะเลิกสูบบุหรี่ และมารับบริการทางทันตกรรมที่คลินิก ทันตกรรม 654 กองทันตสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร วัสดุและวิธีการ ผู้สูบบุหรี่ 90 คนถูกจัดเป็นกลุ่มทดลอง 46 คน กลุ่มควบคุม 44 คน กลุ่มทดลองจะได้รับความรู้ และคําแนะนําจากทันตแพทย์เกี่ยวกับผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อร่างกาย และอวัยวะในช่องปาก ส่วนกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่เมื่อเริ่มต้นการศึกษาแต่จะได้รับความรู้ดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดการศึกษาทั้งสองกลุ่มจะได้รับการสอนวิธีควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ และการทําความสะอาดฟันเมื่อเริ่มต้นการศึกษา 1 สัปดาห์ หลังการกษา 1 เดือน และ 12 เดือน ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าจํานวนมวนที่สูบต่อวันมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (p<0.05) ตลอดระยะการติดตามผลที่ 1 สัปดาห์ (p=0,000) 1 เดือน (p=0.000) 3 เดือน (p=0.008) 6 เดือน (p=0.026) 9 เดือน (p=0.016) และ 12 เดือน (p=0.002) เมื่อสิ้นสุดการศึกษากลุ่มทดลองหยุดสูบบุหรี่ 32% ในขณะที่กลุ่มควบคุมหยุดสูบบุหรี่เพียง 7.4% กลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมหยุดสูบบุหรี่มากกว่าหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจํานวนที่เคยสูบ 28 % และ 18.5 % ตามลําดับ ส่วนผู้ที่ สูบบุหรี่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจํานวนมวนที่เคยสูบในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 28 % และ 18.5 % ตามลำดับ สรุป การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การแนะนําเรื่องผลเสียของการสูบบุหรี่ต่อร่างกายและอวัยวะในช่องปากจากทันตแพทย์มีผลต่อการลดเลิกสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ที่มารับบริการทางทันตกรรม


ผลลัพธ์และเสถียรภาพของการขยายกระดูกขากรรไกร และส่วนโค้งแนวฟันในแนวทรานสเวอร์ส, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล May 2004

ผลลัพธ์และเสถียรภาพของการขยายกระดูกขากรรไกร และส่วนโค้งแนวฟันในแนวทรานสเวอร์ส, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

ในบทความนี้จะนําเสนอการเจริญเติบโตตามปกติของกระดูกขากรรไกรและส่วนโค้งแนวฟันในแนวทรานสเวอร์ส ผลของการรักษาและเสถียรภาพของการขยายขากรรไกร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์และเสถียรภาพของการรักษา คืออัตราเร็วในการขยายแบบช้าและเร็ว อายุผู้ป่วย ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้การรักษาร่วมกับการผ่าตัดและ การคงสภาพเพื่อควบคุมเสถียรภาพภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงในแนวทรานสเวอร์ส


ความกว้างของขากรรไกรในโครงสร้างใบหน้าสั้นและใบหน้ายาว, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล, วัชระ เพชรคุปต์, เกตุกัญญา สุวรรณประทีป, งามพร ธัญญะกิจไพศาล May 2004

ความกว้างของขากรรไกรในโครงสร้างใบหน้าสั้นและใบหน้ายาว, ปิยารัตน์ อภิวัฒนกุล, วัชระ เพชรคุปต์, เกตุกัญญา สุวรรณประทีป, งามพร ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขนาดความกว้างของขากรรไกรในกลุ่มที่มีโครงสร้างใบหน้าสั้นและใบหน้ายาว พร้อมทั้งเปรียบเทียบขนาดความกว้างขากรรไกรที่ศึกษาได้จากโครงสร้างใบหน้าทั้งสองแบบ วัสดุและวิธีการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพถ่ายรังสีกะโหลกศรีษะด้านข้างโดยใช้ค่าของมุมที่เกิดจากระนาบ กะโหลกศีรษะ (SN) กับระนาบขากรรไกรล่าง (MP) เป็นเกณฑ์ได้กลุ่มที่มีใบหน้าสั้น 38 คน หญิง 26 คน ชาย 12 คน) กลุ่มที่มีใบหน้ายาว 38 คน หญิง 23 คน ชาย 15 คน) สร้างแบบจําลองฟันของกลุ่มตัวอย่างนํามาวัดความ กว้างของขากรรไกรส่วนหน้าและส่วนหลังทั้งขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ตามจุดอ้างอิงของ Korkhaus ด้วยดี ไวน์เตอร์ปลายแหลม ศึกษาค่าความกว้างต่ําสุด สูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของขากรรไกรใน ใบหน้าแต่ละรูปแบบ และนําค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกัน การทดสอบทางสถิติใช้ t-test ผลการศึกษา ในกลุ่มใบหน้าสั้น มีค่าเฉลี่ยของขนาดความกว้างขากรรไกรบนส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 38,092 มม. และ 48.553 มม. ขากรรไกรล่าง ส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 37.750 มม. และ 48.803 มม. ในขณะที่กลุ่ม ใบหน้ายาวขากรรไกรบนส่วนหน้า และส่วนหลังมีค่าความกว้างเป็น 36,447 มม. และ 46.842 มม. ขากรรไกรล่าง ส่วนหน้าและส่วนหลังเป็น 36.137 มม. และ 47.263 มม. ตามลําดับ โดยค่าเฉลี่ยของขนาดขากรรไกรในใบหน้าทั้ง สองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทุกค่า (P < 0.05) ยกเว้นเมื่อแยกพิจารณาตามเพศ ในเทศหญิงถึงแม้ ค่าความกว้างทุกค่าจะแตกต่างในลักษณะเดียวกัน แต่จะมีนัยสําคัญ (P < 0.05) เฉพาะความกว้างส่วนหน้าของ ขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างเท่านั้น สรุป ขนาดความกว้างของขากรรไกรบนและล่างในคนที่มีโครงสร้างใบหน้าสั้นจะมีค่ามากกว่าคนที่มีโครงสร้าง ใบหน้ายาวทุกค่า


การเรียนการสอนในคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา, อรวรรณ จรัสกุลางกูล May 2004

การเรียนการสอนในคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา, อรวรรณ จรัสกุลางกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงการเรียนการสอนในคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต ใน เรื่องเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน วัสดุและวิธีการ ส่งแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการ ในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน ให้กับทันตแพทย์ที่มีรหัส เลขประจําตัวนิสิต 40 จํานวน 100 คน และนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 41 จํานวน 102 คน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง2 รุ่นได้ปฏิบัติงานของคลินิกรวม และสหคลินิก โดยเฉพาะคลินิกปริทันตวิทยาในลักษณะเดียวกันในการศึกษาปีที่ 4,5 และ 6- หลังจากได้แบบสอบถามกลับคืนมา ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยการใช้ SPSS - PC software package ผลการศึกษา ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจํานวน 156 ฉบับ พบปัญหามากและปัญหามากที่สุดในหัวข้อด้านการบริหารจัดการ ในคลินิก เรื่องการรักษาผู้ป่วยไม่เสร็จในการรักษาขั้นต้น และหัวขัดผงพิมพืชเสียง่าย ร้อยละ 36.46-40.38 สําหรับหัวข้อ ความร่วมมือของผู้ป่วย นิสิตปี 4 ปี 5 และปี 6 พบปัญหามากและปัญหามากที่สุดในเรื่องความไม่ร่วมมือในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟัน ร้อยละ 22.43, 42.95 และ 31.41 ตามลําดับ หลังจากจบการศึกษาปีที่ 4 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสมรรถนะ ของวิชาชีพ คือสามารถจุดหินน้ําลายและเกลารากฟัน สามารถตรวจหาหินน้ําลาย และสามารถสอนและชักจูงผู้ป่วยให้ดูแล อนามัยช่องปาก ในรายที่มีร่องลึกปริทันต์ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ได้มากและมากที่สุดรวมร้อยละ 30.13 ส่วนหัวข้อคุณภาพ การเรียนการสอน พบว่าร้อยละ 49.01 ของจํานวนอาจารย์ประจําที่ได้สอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมทางทันตแพทย์ ร้อยละ 71.17 ของจํานวนอาจารย์พิเศษที่ตอบข้อซักถามของนิสิตให้เข้าใจได้ง่าย ส่วนหัวข้ออาจารย์ที่ไม่อธิบายเหตุผลในการเช็ค งานผ่านไม่ผ่าน มีจํานวนอาจารย์ประจําและอาจารย์พิเศษถูกประเมินน้อยสุด คือ ร้อยละ 5.60 และ 3.92 ตามลําดับ สรุป …


Air-Rotor Stripping In Orthodontic Treatment - A Literature Review, Udom Thongudomporn May 2004

Air-Rotor Stripping In Orthodontic Treatment - A Literature Review, Udom Thongudomporn

Chulalongkorn University Dental Journal

Air-rotor stripping was first introduced as an alternative to extraction or expansion therapy in orthodontic treatment in 1985. Since then, the technique has been variously modified for the improvement of its efficiency and the ease of use. Air-rotor stripping has been claimed to be advantageous for the relief of mild to moderate crowding without sacrificing premolars or violating the original arch dimension. However, the opinions on the drawback of the procedure, such as demineralization of the stripped enamel, periodontal complication, and so on, have been varied. It is suggested that clinicians should take precautions whenever the technique is clinically applied.


การใช้บริการทันตกรรมตามประเภทของหลักประกันทันตสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยคลินิกบริการทันตกรรมพิเศษ, ชาญชัย โห้สงวน, พนิตนาฎ ปาละ, ภาวินีย์ อินทร์หล่อ May 2004

การใช้บริการทันตกรรมตามประเภทของหลักประกันทันตสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยคลินิกบริการทันตกรรมพิเศษ, ชาญชัย โห้สงวน, พนิตนาฎ ปาละ, ภาวินีย์ อินทร์หล่อ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ในปัจจุบันประเทศไทยมีหลักประกันทันตสุขภาพหลายประเภท ซึ่งมีรูปแบบการดําเนินงานแตกต่าง กัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแบบแผนการใช้บริการทันตกรรมของผู้ป่วย และเพื่อประเมินผลกระทบ ของการมีหลักประกันทันตสุขภาพประเภทต่าง ๆ ต่อพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรม วัสดุและวิธีการ ท่าการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้แก่ผู้ป่วย ณ คลินิกบริการทันตกรรมพิเศษ คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมในรอบหนึ่งปีที่ ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2544) ได้รับการตอบแบบสอบถามกลับคืนที่นํามาวิเคราะห์ได้จํานวน 416 รายผลการศึกษา ประมาณร้อยละ 62.3 ของผู้ป่วยมีหลักประกันทันตสุขภาพประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยที่สวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด (ร้อยละ 46.9) รองลงมาคือประกันสังคม (ร้อยละ 10.1) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 92.8) เคยใช้บริการทันตกรรมในรอบปีที่ผ่านมา ชนิดของบริการทันตกรรมที่ได้รับมาก ที่สุดได้แก่ การขูดหินน้ําลาย การอุดฟัน และการรักษารากฟัน คิดเป็นร้อยละ 66.0, 64.1 และ 36.1 ตามลําดับ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสําคัญระหว่างประเภทของหลักประกันทันตสุขภาพกับความถี่ของการใช้บริการ ทันตกรรม (p = 0.024) ผู้ที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ มีอัตราการใช้บริการทันตกรรมสูง กว่าผู้ป่วยประกันสังคมสรุป สรุปได้ว่า ประเภทของหลักประกันทันตสุขภาพมีผลกระทบต่อแบบแผนการใช้บริการทันตกรรมของผู้ป่วย หลักประกันทันตสุขภาพต่าง ๆ ที่มีชุดสิทธิประโยชน์เหลื่อมล้ํากัน อาจกระทบต่อความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการทันตกรรมของประชาชน


การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและแบบตลอดปีของนิสิตปริญญาบัณฑิต, อรวรรณ จรัสกุลาชกูร, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา May 2004

การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและแบบตลอดปีของนิสิตปริญญาบัณฑิต, อรวรรณ จรัสกุลาชกูร, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการจัดคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต ระหว่างแบบ ช่วงเวลาและแบบตลอดปี ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิต ทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน กลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 195 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับคืนจํานวน 175 คน ประกอบด้วยนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 41 จํานวน 87 คน ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลา และนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 42 จํานวน 88 คน ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปี ในปีการศึกษาที่ 5 รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ SPSS- PC software package ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์พบมีความแตกต่างอย่างนัยสําคัญทางสถิติของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและการ จัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปี ในหัวข้อนิสิตรักษาผู้ป่วยไม่เสร็จในการรักษาขั้นต้น (p-041) นิสิตของยูนิต ล่วงหน้า เพราะเลือกอาจารย์เช็คงาน (1,003) การทําเครื่องมือให้ไร้เชื้อไม่ทันเวลาทํางาน (p-003) และการนําความรู้ทางพรี คลีนิกไปประยุกต์ใช้ในคลินิก (p-01) ส่วนหัวข้ออื่น ๆ มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างการจัดคลินิกปริ ทันตวิทยาทั้ง 2 แบบ สรุป ผลสรุปจากคําถามปลายเปิดพบว่า การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลามีข้อดี คือนิสิตสามารถให้การรักษา ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง นิสิตสามารถบริหารจัดการในการรักษาผู้ป่วยเฉพาะ 2 ภาควิชาได้ง่าย และนิสิตทุ่มเทกับการปฏิบัติงานคลินิกเฉพาะวิชาอย่างเต็มที่ ข้อเสียของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลา คือช่วงเวลา 12-13 สัปดาห์ไม่เหมาะสําหรับ การรักษาลักษณะองค์รวม ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา และนิสิตมีความเครียดขณะทํางานที่มีเวลาจํากัด ส่วนข้อดีของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปีเป็นการรักษาผู้ป่วยในลักษณะองค์รวมในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และติดตามการรักษาในช่วงเวลาคงสภาพ นิสิตรู้จักตัดสินใจ วางแผนและการบริหารจัดการผู้ป่วย ส่วนข้อเสียของการจัดคลินิก ปริทันตวิทยาแบบตลอดปี คือจํานวนคาบเวลาทํางานต่อสัปดาห์ที่มีน้อยทําให้นิสิตนัดผู้ป่วยได้ยากขึ้น เป็นผลให้เกิด ความเครียดในการบริหารจัดการผู้ป่วย ข้อสุดท้ายคือ จํานวนคาบเวลาของนิสิตทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจํานวนชั่วโมงที่ คลินิกจะเท่ากัน ผลจากการศึกษานี้อาจใช้เป็นแนวทางหนึ่ง ในการพิจารณากําหนดการจัดคลินิกโดยวิธีแบบช่วงเวลา หรือแบบตลอดปี และเป็นข้อมูลสําหรับบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการทําความเข้าใจกับระบบดังกล่าว


ไจแอนท์ เซลล์ ไฟโบรมาในช่องปาก : รายงานผู้ป่วย, ศิวพร สุขอร่าม, สมศรี โรจนวัฒน์ศิริเวช May 2004

ไจแอนท์ เซลล์ ไฟโบรมาในช่องปาก : รายงานผู้ป่วย, ศิวพร สุขอร่าม, สมศรี โรจนวัฒน์ศิริเวช

Chulalongkorn University Dental Journal

ไจแอนท์ เซลล์ ไฟโบรมา จัดเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงซึ่งพบได้น้อยในช่องปาก และโดยเฉพาะใน เด็กเล็ก บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งเป็นเด็กหญิงไทยอายุ 5 ปี มารับการรักษาที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เนื่องจากมีก้อนเนื้อขนาดประมาณ 0.6x0.8x0.3 เซนติเมตร บริเวณเหงือกสามเหลี่ยมระหว่าง ฟันตัด กลางแท้ซ้ายล่างและฟันตัดข้างแท้ซ้ายล่าง เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ไม่มีอาการใด ๆ ไม่มีเลือดออก โดยไม่พบความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบริเวณนั้น ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกเป็นพาพิลโลมา ให้การ รักษาโดยวิธีผ่าตัด ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาเป็น ไจแอนท์ เซลล์ ไฟโบรมา รายงานนี้แสดงถึงการตรวจทาง คลินิก การวินิจฉัยแยกโรคทางคลินิก และการวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยา รวมทั้งเสนอแนะการดูแลอนามัยช่องปาก ที่ไม่ให้เกิดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นรอยโรคในผู้ป่วยและจากการติดตามผลหลังการรักษาเป็นเวลา 2 ปี ไม่พบการกลับเป็นขึ้นใหม่


สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้กระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยง จากเนื้อเยื่อโพรงฟัน, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, กนกนัดดา ตะเวทีกุล, กุลวดี เทมกุญชร Jan 2004

สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้กระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยง จากเนื้อเยื่อโพรงฟัน, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, กนกนัดดา ตะเวทีกุล, กุลวดี เทมกุญชร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ เซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันและเนื้อเยื่อเหงือก วัสดุและวิธีการ เซลล์จะถูกทดสอบด้วยสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ และสารสกัดส่วนวันที่ถูกทําให้ แห้ง ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดจํานวนเซลล์ด้วยสารเอ็มทีทีและวิเคราะห์ ทางสถิติแบบ One way ANOVA (α < 0.05) ผลการศึกษา สารสกัดส่วนวันที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 5, 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้น การเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 400 และ 600 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโทรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยือกแข็ง ที่ความเข้มข้นของโปรตีน 50, 100 และ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์ สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยี่ยโพรงฟัน และสารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเชือกแข็งที่ความ เข้มข้นของโปรตีน 50 และ 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใยที่แยก จากเนื้อเยี่ยเหงือก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 5-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัด ส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยียกแข็ง ความเข้มข้นของโปรตีน 50-200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ เซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยือกแข็ง ความเข้มข้นของโปรตีน 50-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใยที่แยกจากเนื้อเยื่อเหงือก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 400 และ 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์เอ็นยึดปริทันต์และเซลล์สร้างเส้นใยที่แยกจากเนื้อเยื่อโพรงฟันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


ความชุกของฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในเด็กไทยกลุ่มหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร, ศิวพร สุขอร่าม Jan 2004

ความชุกของฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในเด็กไทยกลุ่มหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร, ศิวพร สุขอร่าม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อรายงานความชุกของฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในฟันกรามน้อย อายุที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่แรก เริ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับการสึกของปุ่มนูนและระหว่างความชุกของฟันที่มีเตนส์ แวจิเนสในฟันกรามน้อยกับเพศ วัสดุและวิธีการเก็บข้อมูลจากเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนราชวินิตบางแคปานขํา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,141 คน โดยการตรวจฟันกรามน้อยและบันทึกข้อมูลสถานะของฟันกรามน้อย นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for windows ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ความชุกของฟันเดนส์ แวจีเนทัสในฟันกรามน้อยในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นจํานวน 1,141 คน พบเด็กนักเรียนที่มีฟันเดนส์ แวจิเนส จํานวน 21 คน เท่ากับ ร้อยละ 1.8 พบในฟันกรามน้อยล่างมากกว่าฟัน กรามน้อยบน ฟันล่างพบในฟันกรามน้อยที่ 2 มากกว่าฟันกรามน้อยที่ 1 ส่วนฟันบนพบในฟันกรามน้อยที่ 1 มากกว่าฟันกรามน้อย 2 พบตําแหน่งของปุ่มนูนที่ร่องกลางฟันมากกว่าบนสันด้านลิ้น ปุ่มนูนส่วนใหญ่มีการสึก ไม่เผยพึ่งถึงเนื้อเยื่อฟัน เพศชายกับเพศหญิงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ พบในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มาก ที่สุดโดยที่ในช่วงอายุ 11-12 ปี มากกว่าช่วง 13-17 ปี อย่างมีนัยสําคัญ (P = 0.004) สรุป ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดการดูแลฟันเดนส์ อีแวจิเนทัสในฟันกรามน้อยควรเป็นอายุ 12 ปี เพื่อเป็นการป้องกันพยาธิสภาพที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการที่ปุ่มนูนของฟันที่มีความผิดปกตินี้สึกหรือหักอันอาจนํามาซึ่งรอยโรครอบปลายรากฟัน ทันตแพทย์จึงควรเข้าไปตรวจ ติดตามดูแลตั้งแต่ยังไม่ปรากฏอาการและทําการป้องกันใน ช่วงอายุที่ฟันกรามน้อยเพิ่งเริ่มขึ้น


ภาพลักษณ์ของทันตแพทย์จากทัศนะของประชากรกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ชาญชัย โห้สงวน, นภาพร วรรษา, ยุวธิดา ด้วงทองสุข, สุวพัชร บูรณ์เจริญ Jan 2004

ภาพลักษณ์ของทันตแพทย์จากทัศนะของประชากรกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, ชาญชัย โห้สงวน, นภาพร วรรษา, ยุวธิดา ด้วงทองสุข, สุวพัชร บูรณ์เจริญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพมหานครที่มีต่อทันตแพทย์ และประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของทันตแพทย์ วัสดุและวิธีการ ทําการเก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามให้แก่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถม- ศึกษาปีที่ 1 - 4 โรงเรียนวัดพลับพลาชัยจํานวน 849 คน ภาพลักษณ์ทันตแพทย์ถูกวัดจากข้อความ 25 รายการ จําแนกออกเป็นมิติย่อย 4 ด้าน คือ ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างทันตแพทย์และผู้ป่วย ด้านบุคลิกภาพของทันตแพทย์ ด้านทักษะความชํานาญของทันตแพทย์ และด้านระบบการบริการ / ค่าใช้จ่ายในการรักษา ทําการวิเคราะห์หาความ สัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ทันตแพทย์กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วยการทดสอบสมมุติฐานแบบนั้นพาราเมตริก ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีทัศนคติในเชิงบวกต่อทันตแพทย์ และให้ น้ําหนักความสําคัญแก่มิติทางด้านทักษะความชํานาญ ด้านบุคลิกลักษณะของทันตแพทย์ และด้านการติดต่อสื่อสาร ระหว่างทันตแพทย์และผู้ป่วยอยู่ในระดับพอประมาณใกล้เคียงกัน การศึกษานี้พบว่ามีปัจจัยหลายประการที่มีความ สัมพันธ์กับภาพลักษณ์ทันตแพทย์โดยรวมหรือในมิติย่อย ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ตลอดรวมถึงระยะเวลานับตั้งแต่การไปพบทันตแพทย์ครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการ ทันตกรรมในสถานพยาบาลเอกชนมีทัศนคติต่อทันตแพทย์ค่อนในทางบวกมากกว่ากลุ่มที่ใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ (p = 0.014) สรุป ประชาชนเขตเมืองในปัจจุบันมีทัศนคติในทางที่ดีต่อทันตแพทย์ ทัศนคตินี้ถูกกําหนดโดยปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก และมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของประชาชน


การศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกในเด็กนักเรียนชาย, จินตนา ทุมโฆสิต Jan 2004

การศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกในเด็กนักเรียนชาย, จินตนา ทุมโฆสิต

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทก สาเหตุและผลกระทบต่อฟันที่ได้รับ อันตราย รวมทั้งฟันซี่ที่ได้รับอันตรายบ่อยที่สุด วัสดุและวิธีการโดยการสํารวจทางระบาดวิทยาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนชายในช่วงอายุ 17-18 ปี ในครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมระดับปานกลางจนถึงดี ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 2,934 คน โดยทันตแพทย์ตรวจสภาพของฟันแท้ที่มีการแตกปั่น หัก ที่ได้รับการบูรณะแล้ว หรือยังไม่ได้รับการบูรณะ รวมทั้งฟันที่เปลี่ยนสี โยก และสูญหาย ร่วมกับการซักประวัติโดยผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ได้รับการฝึกหัดมาแล้ว ผลการศึกษา พบว่ามีความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกร้อยละ 9.3 (277 คน, 354 ) โดยสาเหตุ สําคัญคือการหกล้ม (ร้อยละ 53.1) อุบัติเหตุทุกชนิดมักเกิดกับฟันตัดซี่กลางหน้าบนทั้งซ้ายและขวา (ร้อยละ 47.6) และ (ร้อยละ 43.3) ความรุนแรงที่ฟันได้รับแรงกระแทกส่วนใหญ่จะเกิดกับชั้นเคลือบฟัน (ร้อยละ 45.8) สรุป จากผลการศึกษาแสดงให้ทราบอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมี ประโยชน์ในการกระตุ้นให้สังคมเกิดความตื่นตัวในการหามาตรการป้องกันอันตรายต่อไป


อิทธิพลของบทบาทแห่งเพศต่อการตัดสินใจเลือกวิชาชีพของนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาญชัย โห้สงวน, จิรวัฒน์ เกียรติบูรณกุล, ปองกานต์ สุนทรฉาย Jan 2004

อิทธิพลของบทบาทแห่งเพศต่อการตัดสินใจเลือกวิชาชีพของนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชาญชัย โห้สงวน, จิรวัฒน์ เกียรติบูรณกุล, ปองกานต์ สุนทรฉาย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของบทบาทแห่งเพศ ต่อการตัดสินใจเลือกเรียน วิชาชีพทันตแพทยศาสตร์ และต่อแนวโน้มของการประกอบวิชาชีพภายหลังจบการศึกษา วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหมดจํานวน 616 คน ในปีการศึกษา 2542 ใช้แบบสอบถามชนิดตอบเองเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลในการ ตัดสินใจเลือกเรียนวิชาชีพทันตแพทย์ รวมทั้งการวางแผนอนาคตภายหลังจากจบการศึกษา แล้วทําการวิเคราะห์ เปรียบเทียบระหว่างนิสิตชายและหญิง ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างนิสิตส่งแบบสอบถามกลับคืน 427 คน เป็นเพศหญิง 344 คน (ร้อยละ 80.6) และ เพศชาย 83 คน (ร้อยละ 19.4) พบว่ามีจํานวนนิสิตหญิงที่เลือกคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นอันดับที่ 1 มากกว่า นิสิตรายอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.05) นิสิตหญิงมักได้รับคําแนะนําในการเลือกวิชาชีพทันตแพทย์จาก บิดามารดา ในขณะที่นิสิตชายมักตัดสินใจด้วยตนเอง นิสิตหญิงมีญาติที่ประกอบอาชีพหรือกําลังศึกษาอยู่ใน วิชาชีพด้านสุขภาพมากกว่านิสิตขายอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.05) ในด้านแนวโน้มของการประกอบวิชาชีพ ในอนาคตนั้น พบว่า นิสิตหญิงเห็นความจําเป็นที่จะต้องลดจํานวนชั่วโมงทํางานหรืออาจหยุดประกอบวิชาชีพ ชั่วคราวเพื่อเลี้ยงดูบุตรมากกว่านิสิตขาย (P < 0.05) สรุป บทบาทแห่งเพศอาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาชีพทันตแพทย์ และยังอาจมีส่วนในการกําาหนดแบบแผนการประกอบวิชาชีพภายหลังจบการศึกษาด้วย


ผลของสารซิมวาสเตตินต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์ และระดับการทํางานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี 2 และ -9 ในเซลล์ไลน์มะเร็งเอชเอสซี 4 และ เซลล์ไลน์มะเร็งซีซีแอล 25, ริสา ชัยศุภรัตน์, ผกาวัลย์ มูสิกพงศ์, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล Jan 2004

ผลของสารซิมวาสเตตินต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์ และระดับการทํางานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี 2 และ -9 ในเซลล์ไลน์มะเร็งเอชเอสซี 4 และ เซลล์ไลน์มะเร็งซีซีแอล 25, ริสา ชัยศุภรัตน์, ผกาวัลย์ มูสิกพงศ์, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารซึมวาสเดิน ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์และระดับเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 และ - ในเซลล์ไลน์มะเร็งเอชเอสซี -4 และ เซลล์ไลน์มะเร็งซีซีแอล-25 วัสดุและวิธีการ เซลล์จะถูกทดสอบด้วยสารซึมวาสเคดินในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากซีรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดจํานวนเซลล์ด้วยสารเอ็มทีที เอนไซม์ที่อยู่ในอาหารเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ได้หลังการทดสอบ จะถูกตรวจวัด ระดับการทํางานของเอนไซม์ด้วยวิธีเจลาตินไซโมกราฟฟิ ข้อมูลที่ได้จะถูกวิเคราะห์ทางสถิติแบบ One way ANOVA (α < 0.05) ผลการศีกษา สารมวาสเตตินที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 15 และ 20 ไมโครโมลาร์ มีผลยับยั้งการเพิ่ม จํานวนของเซลล์ไลน์มะเร็งเอชเอสซี-4 และเซลล์ไลน์มะเร็งซีซีแอล-25 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารซึมวาส- เดินที่ระดับความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์มีผลยับยั้งระดับการทํางานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี 9 ในเซลล์มะเร็งซีซีแอล- 25 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และสารซึมวาสเคดินไม่มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติต่อระดับการทํางานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 และ -9 ในเซลล์มะเร็งเอชเอสซี-4 สรุป ความเป็นพิษของสารชิมวาสเตตินที่มีต่อเซลล์ไลน์มะเร็งเอชเอสซี -4 และ เซลล์ไลน์มะเร็งซีซีแอล-25 อยู่ที่ ระดับความเข้มข้น 15 และ 20 ไมโครโมลาร์ สารซึมวาสเตดินมีผลยับยั้งระดับการทํางานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี- ในเซลล์มะเร็งซีซีแอล-25 ที่ระดับความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


สันกระดูกขากรรไกรว่างในขากรรไกรบนและล่าง ของประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง, ภาณุรุจ อากีลาร์', วุฒิธิชา เฉียงตะวัน, อรพินท์ แก้วปลั่ง Jan 2004

สันกระดูกขากรรไกรว่างในขากรรไกรบนและล่าง ของประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง, ภาณุรุจ อากีลาร์', วุฒิธิชา เฉียงตะวัน, อรพินท์ แก้วปลั่ง

Chulalongkorn University Dental Journal

การคึกษาครั้งนี้เพื่อหาความกว้างเฉลี่ยในแนวใกล้แก้มถึงใกล้ลิ้นของสันกระดูกขากรรไกรว่างในขากรรไกรบนและล่างและหาความสัมพันธ์ของความกว้างเฉลี่ยกับอายุหรือเพศในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง ทําการศึกษาโดยใช้ชิ้นหล่อวินิจฉัยของผู้ป่วยในภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างปี พ.ศ. 2536-40 จํานวน 113 คู่ เป็นชาย 45 คน หญิง 68 คน มีอายุเฉลี่ย 42.98 ปี มาวัดโดยใช้ Boyley sliding caliper จากระดับจุดสูงสุดของสั่นเหงือกลงมาทางปลายรากฟันเป็นระยะ 3, 5 และ 7 มิลลิเมตร ตามลําดับ ในแต่ละตําแหน่งทําการวัด 2 ครั้งโดยผู้ทําการศึกษาคนละครั้งซึ่งแต่ละครั้งวัด 3 จุด คือจุดที่คาดว่า เป็นกึ่งกลางของฟันที่หายไปกับระยะหน้าและหลังต่อจุดนี้ 2 มิลลิเมตรหาค่าเฉลี่ยความกว้างแล้วหักออกด้วยความ หนาเฉลี่ยของเนื้อเยื่ออ่อนที่ปกคลุมในแต่ละบริเวณซึ่งดัดแปลงมาจากรายงานที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าความ กว้างเฉลี่ยของสันกระดูกขากรรไกรว่างที่ระดับ 3, 5 และ 7 มิลลิเมตรในแต่ละบริเวณมีค่าดังนี้ ฟันหน้าบนมีค่า 5.05± 1.35, 5.02 ±1.45 และ 6.76±1.51 มิลลิเมตร ฟันหลังบนขวามีค่า 7.30 ± 2.27, 8.80 ± 2.40 และ 10.03 ± 2.42 มิลลิเมตร ฟันหลังบนซ้ายมีค่า 6.98 ±1.93, 8.10 ±2.24 และ 8.68 ±2.48 มิลลิเมตร ฟันหน้าล่างมีค่า 4.54 ±1.46, 5.70±0.70 และ 5.97 ±0.19 มิลลิเมตร พื้นหลังล่างขวามีค่า 7.10 ±1.87, 8.01±1.78 และ 8.76 ±1.61 มิลลิเมตรและฟันหลังล่างซ้ายมีค่า 6.45 ±1.66, 7.32±1.68 และ 8.18±1.77 มิลลิเมตร ตามลําดับ เมื่อนาข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ two-way ANOVA พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมี …