Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

2004

Clinical practice system; block-system module; year-course module

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและแบบตลอดปีของนิสิตปริญญาบัณฑิต, อรวรรณ จรัสกุลาชกูร, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา May 2004

การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและแบบตลอดปีของนิสิตปริญญาบัณฑิต, อรวรรณ จรัสกุลาชกูร, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการจัดคลินิกปริทันตวิทยาของนิสิตปริญญาบัณฑิต ระหว่างแบบ ช่วงเวลาและแบบตลอดปี ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิต ทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริหารจัดการในคลินิก ความร่วมมือของผู้ป่วย สมรรถนะของวิชาชีพที่นิสิตทําได้ และคุณภาพการเรียนการสอน กลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 195 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับคืนจํานวน 175 คน ประกอบด้วยนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 41 จํานวน 87 คน ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลา และนิสิตทันตแพทย์ที่มีรหัสเลขประจําตัวนิสิต 42 จํานวน 88 คน ปฏิบัติงานคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปี ในปีการศึกษาที่ 5 รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ SPSS- PC software package ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์พบมีความแตกต่างอย่างนัยสําคัญทางสถิติของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลาและการ จัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปี ในหัวข้อนิสิตรักษาผู้ป่วยไม่เสร็จในการรักษาขั้นต้น (p-041) นิสิตของยูนิต ล่วงหน้า เพราะเลือกอาจารย์เช็คงาน (1,003) การทําเครื่องมือให้ไร้เชื้อไม่ทันเวลาทํางาน (p-003) และการนําความรู้ทางพรี คลีนิกไปประยุกต์ใช้ในคลินิก (p-01) ส่วนหัวข้ออื่น ๆ มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างการจัดคลินิกปริ ทันตวิทยาทั้ง 2 แบบ สรุป ผลสรุปจากคําถามปลายเปิดพบว่า การจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลามีข้อดี คือนิสิตสามารถให้การรักษา ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง นิสิตสามารถบริหารจัดการในการรักษาผู้ป่วยเฉพาะ 2 ภาควิชาได้ง่าย และนิสิตทุ่มเทกับการปฏิบัติงานคลินิกเฉพาะวิชาอย่างเต็มที่ ข้อเสียของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบช่วงเวลา คือช่วงเวลา 12-13 สัปดาห์ไม่เหมาะสําหรับ การรักษาลักษณะองค์รวม ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา และนิสิตมีความเครียดขณะทํางานที่มีเวลาจํากัด ส่วนข้อดีของการจัดคลินิกปริทันตวิทยาแบบตลอดปีเป็นการรักษาผู้ป่วยในลักษณะองค์รวมในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และติดตามการรักษาในช่วงเวลาคงสภาพ นิสิตรู้จักตัดสินใจ วางแผนและการบริหารจัดการผู้ป่วย ส่วนข้อเสียของการจัดคลินิก ปริทันตวิทยาแบบตลอดปี คือจํานวนคาบเวลาทํางานต่อสัปดาห์ที่มีน้อยทําให้นิสิตนัดผู้ป่วยได้ยากขึ้น เป็นผลให้เกิด ความเครียดในการบริหารจัดการผู้ป่วย ข้อสุดท้ายคือ จํานวนคาบเวลาของนิสิตทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจํานวนชั่วโมงที่ คลินิกจะเท่ากัน ผลจากการศึกษานี้อาจใช้เป็นแนวทางหนึ่ง ในการพิจารณากําหนดการจัดคลินิกโดยวิธีแบบช่วงเวลา หรือแบบตลอดปี และเป็นข้อมูลสําหรับบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการทําความเข้าใจกับระบบดังกล่าว