Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Dental Journal

Journal

2013

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Effect Of Lipopolysaccharide From Porphyromonas Gingivalis On Expression Of Heparanase In Human Gingival Epithelial Cell Line, Ca9-22, Kasekarn Kasevayuth, Katarzyna Anna Podyma-Inoue, Masaki Yanagishita Sep 2013

Effect Of Lipopolysaccharide From Porphyromonas Gingivalis On Expression Of Heparanase In Human Gingival Epithelial Cell Line, Ca9-22, Kasekarn Kasevayuth, Katarzyna Anna Podyma-Inoue, Masaki Yanagishita

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The progression of chronic periodontitis depends partly on a direct invasion ability of Porphyromonas gingivalis (P. gingivalis) against host cell supporting tissue and/or degradation of host extracellular matrix by the inflammatory response elicited by the bacteria. The aim of this study was to investigate the stimulation of host cells by lipopolysaccharides from P. gingivalis (Pg-LPS) using a human gingival epithelial cell line, Ca9-22, as a model system for the latter mechanism. Materials and methods In this study, we treated Ca9-22 cells with various concentrations (0, 0.1, 1 and 10 μg/mL) of Pg-LPS for 24h and extracted the mRNA. We …


การศึกษาเปรียบเทียบผลการฟอกสีฟันที่เปลี่ยนสีภายหลังการให้ยาในคลองรากฟันที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, พัชรา โพธิ์สีทอง, ทิพานัน ญาณิสราพันธ์, โสภิดา สำลีรัตน์ Sep 2013

การศึกษาเปรียบเทียบผลการฟอกสีฟันที่เปลี่ยนสีภายหลังการให้ยาในคลองรากฟันที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, พัชรา โพธิ์สีทอง, ทิพานัน ญาณิสราพันธ์, โสภิดา สำลีรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

สรุป ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 35 และคาร์บาไมด์เปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 35 มี ประสิทธิภาพในการฟอกสีฟันที่ไม่มีชีวิตที่มีสีคล้ําขึ้นจากการรักษาด้วยส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ 3 ชนิดมากกว่าโซเดียมเปอร์บอเรต (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:153-64)


อายุฟัน: ปัจจัยช่วยในการประเมินอายุกระดูก จากกระดูกคอ, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, ชุติภา โกมลพันธ์พร, พรหทัย เลียวสายทอง, พุทธธิดา วังศรีมงคล Sep 2013

อายุฟัน: ปัจจัยช่วยในการประเมินอายุกระดูก จากกระดูกคอ, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, ชุติภา โกมลพันธ์พร, พรหทัย เลียวสายทอง, พุทธธิดา วังศรีมงคล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอายุฟันของฟันเขี้ยวแท้ ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งและสอง ฟันกรามแท้ซี่ ที่สองด้านล่างขวากับอายุกระดูกที่ประเมินจากกระดูกคอ และกําหนดซี่ฟันที่มีอายุฟันสัมพันธ์กับอายุกระดูกมากที่สุดในเพศชายและเพศหญิง วัสดุและวิธีการ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยของภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จํานวน 320 คน แบ่งเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน (ชาย 20 คน หญิง 20 คน) มีอายุเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุปฏิทินในแต่ละกลุ่มของเพศชาย ได้แก่ 9.08 + 0.27 9.94 + 0.35 11.04 + 0.26 11.94 + 0.33 13.10 + 0.37 13.99 + 0.28 14.97 + 0.39 และ 16.02 + 0.36 ปี ตามลําดับ และแต่ละกลุ่มในเพศ หญิง ได้แก่ 9.21 + 0.26 9.95 + 0.25 17.05 + 0.36 12.01 + 0.27 12.94 + 0.33 13.83 + 0.37 14.99 + 0.42 และ 15.99 + 0.26 ปี ตามลําดับ ทําการอ่านและบันทึกค่าอายุฟันด้วยการพิจารณาลักษณะของหน่อฟันแท้ของฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งและสอง และฟันกรามซี่ที่สองด้านล่างขวา จากภาพรังสีแพโนรามา และประเมินอายุกระดูก จากกระดูกคอในภาพรังสีเซฟฟาโลเมทริกด้านข้างของแต่ละคนพร้อมกันโดยผู้วิจัยสามคน และใช้การทดสอบ ไคสแควร์ ชนิดสเปียร์แมน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอายุฟันซี่ต่าง ๆ กับอายุกระดูก ผลการศึกษา อายุฟันของฟันซี่ต่างๆ …


เครื่องฉายแสงทางทันตกรรม, พิมพ์มาดา เกษรักษ์, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ Sep 2013

เครื่องฉายแสงทางทันตกรรม, พิมพ์มาดา เกษรักษ์, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัจจุบันนี้ วัสดุชนิดบ่มตัวด้วยแสงหลายชนิดได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง เช่น วัสดุบูรณะ สารยึดติด และเรซินซีเมนต์ เครื่องฉายแสงจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสําคัญในงานทันตกรรม ทําให้มีการพัฒนาเครื่องฉาย แสงหลายชนิดซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งความยาวคลื่นและความเข้มแสง ความเข้มแสงที่เหมาะสมเป็นปัจจัยพื้น ฐานของการเกิดพอลิเมอร์ของวัสดุ ทําให้วัสดุมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม และใช้ประเมินประสิทธิภาพ ของเครื่องฉายแสงด้วย บทความปริทัศน์นี้กล่าวถึงความเข้มแสง เครื่องฉายแสงทางทันตกรรมชนิดต่าง ๆ รวมถึง ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแสงของเครื่องฉายแสงทางทันตกรรม (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:221-32)


การจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะสะสมแร่ธาตุน้อยเกินในฟันกรามและฟันตัด ระดับรุนแรง: รายงานผู้ป่วย 3 ราย, ศรัณย์พร เลื่องชัยเชวง, พูนศักดิ์ ภิเศก, ปฏิมาพร พึ่งชาญชัยกุล Sep 2013

การจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะสะสมแร่ธาตุน้อยเกินในฟันกรามและฟันตัด ระดับรุนแรง: รายงานผู้ป่วย 3 ราย, ศรัณย์พร เลื่องชัยเชวง, พูนศักดิ์ ภิเศก, ปฏิมาพร พึ่งชาญชัยกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

ภาวะสะสมแร่ธาตุน้อยเกินในฟันกรามและฟันตัดเป็นความผิดปกติของเคลือบฟันแท้ที่เกิดจาก พัฒนาการของฟันที่ผิดปกติ เคลือบฟันมีการสะสมแร่ธาตุน้อยกว่าเคลือบฟันปกติบริเวณรอบๆ พบในชุดฟันแท้ บริเวณฟันกรามแท้ซี่แรกจํานวน 1 ซี่ หรือมากกว่า และมักพบร่วมกับฟันตัดบน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิด โรคที่แน่ชัด แต่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในเด็กทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เคลือบฟันที่มีภาวะดังกล่าวมักกร่อน แตกหักง่าย ทําให้เกิดฟันผุและรอยผุลุกลามอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยรอยโรคตั้งแต่ระยะแรกทันทีที่ฟันขึ้นใน ช่องปากเป็นสิ่งสําคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางทันตกรรมป้องกันและการบูรณะฟันที่มีรอยโรค เป็นการ ป้องกันการสูญเสียฟันกรามแท้ซี่แรก แต่ในรอยโรคที่รุนแรงมากจนไม่สามารถบูรณะได้ หรือมีการพยากรณ์ผล การรักษาในระยะยาวที่ไม่ดี การถอนฟันกรามแท้ซี่แรกในช่วงเวลาที่เหมาะสมอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา รายงานฉบับนี้เสนอการรักษาในผู้ป่วย 3 ราย ที่มีภาวะดังกล่าวระดับรุนแรงมากที่มาพบทันตแพทย์ในช่วงอายุที่ แตกต่างกัน โดยติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 3 ปี รายงานนี้อาจช่วยเป็นแนวทางในการจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะสะสมแร่ธาตุน้อยเกินในฟันกรามและฟันตัดระดับรุนแรงต่อไป (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:189-206)


ผลของการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมีต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก, ปริญญาพร ศรีอ่อนเที่ยง, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ Sep 2013

ผลของการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ด้วยสารเคมีต่อค่ากําลังแรงยึดแบบผลัก, ปริญญาพร ศรีอ่อนเที่ยง, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินค่ากําลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวเดือย ฟินด้วยสารเคมี วัสดุและวิธีการ นําฟันกรามน้อยล่างแท้ซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ที่ถอนออกมาจํานวน 45 ซี่ มาตัดส่วนตัวฟันออก โดยติดตั้งฉากกับแนวแกนฟันที่บริเวณรอยต่อของเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน เตรียมคลองรากฟันและเตรียม ช่องว่างสําหรับใส่เดือยฟันเส้นใยควอตซ์ดีทีไลท์โพสต์เบอร์ 1 แบ่งเดือยฟันออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ไม่ได้ปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยสารเคมี กลุ่มที่ 2 ถึง กลุ่มที่ 7 แช่เดือยฟันในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความ เข้มข้น 3 แบบ (ความเข้มข้นร้อยละ 24 30 และ 35) และระยะเวลาการแช่ 2 แบบ (นาน 5 นาที และ 10 นาที) กลุ่มที่ 8 แช่เดือยฟันในโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 นาน 10 นาที และกลุ่มที่ 9 แช่เดือยฟันใน กรดไฮโดรฟลูออริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 5 วินาที แล้วทาพื้นผิวเดือยฟันทุกชิ้นด้วยสารคู่ควบไซเลน จากนั้นยึดเดือยฟันกับคลองรากฟันที่เตรียมไว้ด้วยสารยึดติดเอ็กไซท์ ดีเอสซี ร่วมกับเรซินคอมโพสิตเหลวมัลติ- คอร์โฟลว์ นารากฟันแต่ละรากที่เตรียมไว้ติดบริเวณที่ใส่เดือยฟันรากละ 6 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นมีความหนา 1 มิลลิเมตร เพื่อเป็นตัวแทนของรากฟันส่วนใกล้ตัวฟัน ส่วนกลาง และส่วนใกล้ปลายรากฟัน แล้วนํามาทดสอบค่ากําลังแรงยึด แบบผลักด้วยเครื่องทดสอบเอนกประสงค์ชนิดอินสตรอน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบสองทาง และ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ แบบทรีย์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 30 นาน 10 นาที กรดไฮโดรฟลูออริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 5 วินาที โซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 10 นาน 10 นาทีและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 35 นาน 5 นาที ช่วยเพิ่มค่ากําลังแรงยึดแบบผลักแตกต่างจาก กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ …


บทบาทของยีนพีพีเออาร์-แกมมาในการควบคุมการเกิดเซลล์สลายกระดูก, วรรณธิดา ศรีอาจ Sep 2013

บทบาทของยีนพีพีเออาร์-แกมมาในการควบคุมการเกิดเซลล์สลายกระดูก, วรรณธิดา ศรีอาจ

Chulalongkorn University Dental Journal

เซลล์สลายกระดูกเป็นเซลล์ที่ทําหน้าที่สําคัญในการปรับรูปของกระดูก เซลล์เหล่านี้มีกําเนิดจากเซลล์ สร้างเม็ดเลือดในกลุ่มโมโนไซต์-แมคโครแฟจในไขกระดูก โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงค์-แรงค์ไลแกน จะเป็นกลไก สําคัญในการกระตุ้นพัฒนาการของเซลล์สลายกระดูก อย่างไรก็ตามจากรายงานการศึกษาได้นําเสนอหน้าที่ใหม่ ของยีนเพอร์รอกซิโซม โพรลิเฟอเรเตอร์ แอคทิเวเท็ด รีเซ็นเตอร์ แกมมา หรือพีพีเออาร์-แกมมาในการควบคุม การเกิดเซลล์สลายกระดูก บทความฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์ในการนําเสนอและอภิปรายบทบาทของยีนพีพีเออาร์- แกมมาในการเกิดเซลล์สลายกระดูก โดยทั่วไปหน้าที่ของยีนพีพีเออาร์-แกมมานั้น จะเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึม ของน้ําตาลและไขมัน รวมทั้งทําหน้าที่ในการเหนี่ยวนําการเกิดเซลล์ไขมัน และยับยั้งการแปรสภาพของเซลล์สร้าง กระดูก แต่หลักฐานจากงานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า พีพีเออาร์-แกมมา ยังทําหน้าที่ร่วมกับปฏิสัมพันธ์ ระหว่างแรงค์-แรงค์ไลแกนในการควบคุมเกิดเซลล์สลายกระดูกด้วยหน้าที่ใหม่ของของพีพีเออาร์-แกมมานี้ นอกจากจะเพิ่มความชัดเจนในกระบวนการสร้างเซลล์สลายกระดูกแล้ว ของกลูโคสกับการเกิดเซลล์สลายกระดูกด้วยยังแสดงถึงความเกี่ยวเนื่องระหว่างเมแทบอลิซึม (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:207-20)


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างคลอรีนไดออกไซด์และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบในระบบน้ําของยูนิตทําฟัน, รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์, นรพร สุธีรยงประเสริฐ, นัทธีรา ภูมชาติ, อุมาภรณ์ อัศวรักษ์ May 2013

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างคลอรีนไดออกไซด์และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบในระบบน้ําของยูนิตทําฟัน, รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์, นรพร สุธีรยงประเสริฐ, นัทธีรา ภูมชาติ, อุมาภรณ์ อัศวรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของคลอรีนไดออกไซด์และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ต่อการลดการปนเปื้อน ของเชื้อในระบบน้ําของยูนิตทําฟัน วัสดุและวิธีการ ทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพคลอรีนไดออกไซด์และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้นต่างๆในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียแขวนลอยที่พบในตัวอย่างน้ําจากยูนิตทําฟัน และนําความเข้มข้นที่เหมาะสมมาทดสอบ ประสิทธิภาพในการลดจํานวนเชื้อในยูนิตทําฟันจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ มันน์ วิตนีย์ ยู ผลการศึกษา คลอรีนไดออกไซด์และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ที่ความเข้มข้น 5 และ 50 พีพีเอ็ม มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแขวนลอยในตัวอย่างน้ําที่เก็บมาจากยูนิตทําฟันใกล้เคียงกัน โดยสามารถลดจํานวนเชื้อได้มากกว่า ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับจํานวนเชื้อตั้งต้น การล้างระบบน้ําของยูนิตทําฟันด้วยคลอรีนไดออกไซด์ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็ม โซเดียมไฮโปคลอไรต์ความเข้มข้น 50 พีพีเอ็มและน้ํากรองสามารถลดจํานวนเชื้อที่มีในระบบน้ําได้มากกว่าร้อยละ 98 เมื่อตรวจวัดทันทีหลังการล้าง อย่างไรก็ตามปริมาณเชื้อกลับเพิ่มจํานวนสูงขึ้นจนมากกว่าค่าตั้งต้นภายในหนึ่งสัปดาห์หลังการล้าง และตลอด 4 สัปดาห์ที่ทําการทดลอง สรุป คลอรีนไดออกไซด์และโซเดียมไฮโปคลอไรต์มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียแขวนลอยที่พบในระบบ น้ําของยูนิตทําฟัน แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการนํามาควบคุมปริมาณเชื้อที่พบในระบบน้ําของยูนิตทําฟันซึ่งอยู่ใน ลักษณะของแผ่นชีวภาพ (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:85-96)


เนื้องอกฮีแมงจิโอเพอริไซโทมาและโซลิทารี ไฟบรัสทูเมอร์: ข้อพิจารณาในการวินิจฉัย, พรภพ รัตนอาภา, เอกรัฐ ภัทรธราธิป May 2013

เนื้องอกฮีแมงจิโอเพอริไซโทมาและโซลิทารี ไฟบรัสทูเมอร์: ข้อพิจารณาในการวินิจฉัย, พรภพ รัตนอาภา, เอกรัฐ ภัทรธราธิป

Chulalongkorn University Dental Journal

ฮีแมงจิโอเพอริไซโทมาเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่มีจุดกําเนิดมาจากเพอริไซต์ซึ่งเป็นเซลล์ยืดหดได้ รอบหลอดเลือดเล็ก ในอดีตการให้การวินิจฉัยฮีแมงจิโอเพอริไซโทมาทางจุลพยาธิวิทยา ขึ้นกับการตรวจพบกลุ่ม หลอดเลือดผนังบางแตกแขนงคล้ายเขากวาง ล้อมรอบด้วยเซลล์เนื้องอกกายสัณฐานเดียว รูปร่างกลมหรือกระสวย อย่างไรก็ตามหลายการศึกษาตั้งข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับธรรมชาติของเพอริไซต์และการดํารงอยู่ของ เนื้องอกชนิดนี้ ปัจจุบันแนวคิดของการวินิจฉัยเนื้องอกกลุ่มนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป ดังเช่นการจําแนกเนื้องอกของเนื้อเยื่ออ่อนจากองค์การอนามัยโลกครั้งล่าสุด เนื้องอกที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นฮีแมงจิโอเพอริไซโทมาได้ถูกจําแนก เป็นเนื้องอกกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะโซลิทารีไฟบรัสทูเมอร์ เนื้อหาของบทความปริทัศน์ฉบับนี้จะอภิปรายข้อถกเถียง เกี่ยวกับฮีแมงจิโอเพอริไซโทมา รวมถึงนําเสนอลักษณะทั่วไป และลักษณะในช่องปากของผู้ป่วยโซลิทารีไฟบรัส ทูเมอร์ที่มีรายงานทั้งหมด (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:129-42)


สภาวะช่องปากของประชากรผู้สูงอายุไทย: การสูญเสียฟันและการใส่ฟันทดแทน, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุธา เจียรมณีโชติชัย, สุปราณี ดาโลดม, พนารัตน์ ขอดแก้ว, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล May 2013

สภาวะช่องปากของประชากรผู้สูงอายุไทย: การสูญเสียฟันและการใส่ฟันทดแทน, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุธา เจียรมณีโชติชัย, สุปราณี ดาโลดม, พนารัตน์ ขอดแก้ว, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

ประเทศไทยกําลังเผชิญหน้ากับปัญหาโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปเป็นสังคมสูงวัย อายุเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นร่วมกับปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังมักมีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก ด้วยอิทธิพลที่มีต่อการ รับประทานอาหาร การสื่อสาร ความสะดวกสบาย ภาพลักษณ์ และการอยู่ร่วมในสังคม สภาวะสุขภาพช่องปาก จึงมักมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมและเก็บรักษาฟันไว้จึงมีความสําคัญ บทความนี้ได้นําเสนอรายงานผลสํารวจสภาวะทันตสุขภาพของประเทศไทยโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้สูงอายุ มีเนื้อหา ครอบคลุมถึงสภาวะทันตสุขภาพ ปัญหาจากการสูญเสียฟัน สถานการณ์การใส่ฟันเทียม และนําเสนอแผนกลยุทธ์สําหรับการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุไทย


Comparison Of The Retention Rate Of Resin Sealant Between Prevocaretm Plus A Drying Agent And Concisetm Under Field Conditions, Buntarika Suwanvecho, Pornpun Asvanit, Supaporn Chongvisal May 2013

Comparison Of The Retention Rate Of Resin Sealant Between Prevocaretm Plus A Drying Agent And Concisetm Under Field Conditions, Buntarika Suwanvecho, Pornpun Asvanit, Supaporn Chongvisal

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To evaluate the equivalence of the retention rate of resin sealant PrevocareTM (Chulalongkorn, Thailand), plus a post-etching drying agent, and ConciseTM (3M ESPE, U.S.A.) placed under field conditions over a 36-month period. Materials and methods One hundred and thirty-eight pairs of contralateral first permanent molars from 122 hill-tribe school children aged 6-12 years old in Chiang Rai province, Thailand, were selected. A matched pair experimental design was used in which PrevocareTM (opaque) plus post-etching drying agent and ConciseTM were randomly allocated to one of the teeth within each pair. The treatment was performed by three pediatric dentists under field …


Calcium Phosphate Formation On Anodized Commercially Pure Titanium In Simulated Body Fluid Solution, Butsarin Loktrakul, Viritpon Srimaneepong May 2013

Calcium Phosphate Formation On Anodized Commercially Pure Titanium In Simulated Body Fluid Solution, Butsarin Loktrakul, Viritpon Srimaneepong

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To investigate the surface characteristics of anodized commercially pure titanium grade 2 prepared in different electrolytes and the relationship between surface properties and calcium phosphate formation immersed in simulated body fluid solution. Materials and methods Commercially pure titanium grade 2 plates sized 10 x 15 x 0.5 mm3 were divided into three groups, 10 specimens for each group, including control. Potentiostatic anodization was performed for 30 minutes at room temperature. Group I specimens were anodized in 0.5 M H3PO4 with potential of 200 V and Group II specimens were anodized in 1 M NaOH solution with potential of 20 …


Immediate Implant Placement Combined With Guided Bone Regeneration In The Restoration Of A Maxillary Central Incisor: A Case Report, Aurasri Chutinet, Atiphan Pimkhaokham, Pravej Serichetaphongse May 2013

Immediate Implant Placement Combined With Guided Bone Regeneration In The Restoration Of A Maxillary Central Incisor: A Case Report, Aurasri Chutinet, Atiphan Pimkhaokham, Pravej Serichetaphongse

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To describe surgical and restorative procedures of immediate implant placement together with guided bone regeneration in the esthetic zone. Materials and methods A Thai female was presented with an unrestorable loosening post and crown of maxillary right central incisor. The post was removed, and the root was submerged for 7 weeks in order to obtain optimal soft tissue healing before implantation. The implant was placed immediately after extraction and guided bone regeneration (GBR) was performed to correct the fenestration and dehiscence at the labial and palatal aspects. The interim restoration was immediately delivered. The provisional crown was inserted 7 …


ประสิทธิภาพของการทําความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟัน ที่ขูดลิ้น หรือเส้นใยขัดฟันต่อ การลดปริมาณจุลชีพพึ่งออกซิเจน และจุลชีพไม่พึ่งออกซิเจน, สุคนธา เจริญวิทย์, จินตนา ศิริชุมพันธ์, ธนวันต์ วิมลธรรมวัฒน์, ปิติพล ผลเจริญ May 2013

ประสิทธิภาพของการทําความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟัน ที่ขูดลิ้น หรือเส้นใยขัดฟันต่อ การลดปริมาณจุลชีพพึ่งออกซิเจน และจุลชีพไม่พึ่งออกซิเจน, สุคนธา เจริญวิทย์, จินตนา ศิริชุมพันธ์, ธนวันต์ วิมลธรรมวัฒน์, ปิติพล ผลเจริญ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทําความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟัน ที่ขูดลิ้น หรือเส้นใยขัดฟัน ต่อการลดปริมาณจุลชีพฟังออกซิเจน และไม่ฟังออกซิเจน วัสดุและวิธีการ เก็บคราบจุลินทรีย์บนลิ้นจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 12 คน ที่ได้จากการทําความสะอาดลิ้นด้วย แปรงสีฟัน ที่ขูดลิ้น หรือเส้นใยขัดฟัน มาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษา ชนิด จํานวนจุลชีพจึงออกซิเจนและไม่พึ่งออกซิเจน รวมทั้งศึกษาความสามารถในการสร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจํานวนจุลชีพจึงออกซิเจนและไม่พึ่งออกซิเจน และร้อยละของจุลชีพที่สร้างก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้จากการทําความสะอาดลิ้นโดยวิธีต่าง ๆด้วยสถิติการวิเคราะห์คริสคัล-วอลลิส หรือความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา จุลชีพที่เพาะได้จากการทําความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟันและที่ขูดลิ้นมีจํานวนมากกว่าที่เพาะได้จากเส้นใยขัดฟันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ขณะที่จํานวนจุลชีพที่เพาะได้จากแปรงสีฟันและที่ขูดลิ้นมีจํานวนไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ สรุป การทําความสะอาดลิ้นด้วยแปรงสีฟันและที่ขูดลิ้นมีประสิทธิภาพต่อการลดปริมาณจุลชีพจึงออกซิเจนและไม่ฟังออกซิเจนดีกว่าเส้นใยขัดฟันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36.75-84)


แรงเสียดทานสถิตระหว่างลวดและแบร็กเกตเหล็กกล้าไร้สนิมเมื่อมัดด้วยอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์, วรินทรา อุตตมะปัญญา, วัชระ เพชรคุปต์, นุชนาฏ ณ ระนอง Jan 2013

แรงเสียดทานสถิตระหว่างลวดและแบร็กเกตเหล็กกล้าไร้สนิมเมื่อมัดด้วยอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์, วรินทรา อุตตมะปัญญา, วัชระ เพชรคุปต์, นุชนาฏ ณ ระนอง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบแรงเสียดทานสถิตระหว่างลวดและแบร็กเกตเหล็กกล้าไร้สนิมเมื่อมัดลวดด้วย อีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ผลิตจากยางธรรมชาติ พอกไซด์ 4 สูตรที่มีรูปร่างหน้าตัดแตกต่างกัน 3 แบบ วัสดุและวิธีการ นําลวดเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีหน้าตัดขนาด 0.016 X 0.022 นิ้วมาเคลื่อนผ่านร่องของแบร็กเกต เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดเอดจ์ไวส์มาตรฐานสําหรับฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งที่มีร่องขนาด 0.018 X 0.025 นิ้ว โดยมัดลวด ด้วยอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์ 4 สูตร ได้แก่ สูตรที่ไม่มีซิลิกา มีซิลิการ้อยละ 30 มี ซิลิการ้อยละ 45 และมีซิลิการ้อยละ 55 โดยแต่ละสูตรมีรูปร่างหน้าตัดของวงยางแบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ หน้าตัด วงกลม วงรี และสี่เหลี่ยม บันทึกขนาดแรงเสียดทานสถิตโดยใช้เครื่องมัตสึยูนิเวอร์แซลเทสติ้งมาชื่น แล้วทําการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียวของค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบแบบพหุคูณของค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิต ด้วยการวิเคราะห์แทมเฮนที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา เมื่อมัดลวดด้วยอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์สูตรที่ไม่มีซิลิกาให้ค่าเฉลี่ย แรงเสียดทานสถิตน้อยที่สุด รองลงมาเป็นสูตรที่มีซิลิการ้อยละ 30 ร้อยละ 45 และร้อยละ 55 ตามลําดับ และ สําหรับรูปร่างหน้าตัดของยางพบว่า ยางที่มีรูปร่างหน้าตัดวงกลมให้ค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานสถิตน้อยที่สุดตามด้วย หน้าตัดรูปวงรีและสี่เหลี่ยมตามลําดับ โดยทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นระหว่างกลุ่มที่มีรูปร่างหน้าตัดวงกลม และวงรี สรุป แรงเสียดทานสถิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเมื่อมัดลวดด้วยอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์ที่มีส่วนผสมของซิลิกาที่เพิ่มขึ้น และรูปร่างหน้าตัดของวงยางมีผลต่อแรงเสียดทานสถิต โดยยางที่มีรูปร่างหน้าตัดสี่เหลี่ยมทําให้เกิดแรงเสียดทานสถิตมากกว่าวงรีและวงกลมอย่างมีนัย แต่ไม่พบความแตกต่างสําคัญอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มที่มัดลวดด้วยยางรูปร่างหน้าตัดวงรี และวงกลม (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:21-30)


การเปรียบเทียบมิติทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยจัดฟันไทยกลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างใบหน้าแบบต่างๆ, บัญชา พรสุขศิริ, จินตนา ศิริชุมพันธ์, สุนทรา พันธ์มีเกียรติ Jan 2013

การเปรียบเทียบมิติทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยจัดฟันไทยกลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างใบหน้าแบบต่างๆ, บัญชา พรสุขศิริ, จินตนา ศิริชุมพันธ์, สุนทรา พันธ์มีเกียรติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ หาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบมิติทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยจัดฟันไทยกลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้าง ใบหน้าแบบต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้างของผู้ป่วย ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จํานวน 327 ราย ในช่วงอายุระหว่าง 16-40 ปี ถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งมีโครงสร้างใบหน้า ในแนวดิ่งแบบสบปกติ 167 ราย แบ่งเป็นสามกลุ่มย่อยคือ โครงสร้างใบหน้าในแนวหน้า-หลังแบบที่หนึ่ง แบบ ที่สอง และแบบที่สาม กลุ่มที่สองมีโครงสร้างใบหน้าในแนวหน้า-หลังแบบที่หนึ่ง 152 ราย แบ่งเป็นสามกลุ่มย่อย คือ โครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งแบบสบลึก สบปกติ และสบเปิด วัดมิติทางเดินหายใจส่วนบนด้วยโปรแกรม อินฟินิทและโปรแกรมอิมเมจทูล เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มย่อยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ในกลุ่มที่หนึ่ง มิติทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณคอหอยหลังช่องปากและคอหอยหลังกล่องเสียงจะมีค่าน้อยลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อผู้ป่วยมีโครงสร้างใบหน้าแบบที่สาม แบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง ตามลําดับ ในกลุ่มที่สอง มิติทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณคอหอยหลังโพรงจมูก คอหอยหลังช่องปาก และ คอหอยหลังกล่องเสียง จะมีค่าน้อยลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อผู้ป่วยมีโครงสร้างใบหน้าแบบสบลึก สบปกติ และสบเปิด ตามลําดับ สรุป ผู้ป่วยจัดฟันไทยที่มีโครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งหรือแนวหน้า-หลังต่างกันจะมีมิติทางเดินหายใจส่วนบนต่างกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:9-20)


Fluoride/Zinc/Essential Oil-Containing Mouthrinse Promotes Fluoride Uptake And Microhardness In Enamel In Vitro, Em-On Benjavongkulchai, Suphot Tamsailom Jan 2013

Fluoride/Zinc/Essential Oil-Containing Mouthrinse Promotes Fluoride Uptake And Microhardness In Enamel In Vitro, Em-On Benjavongkulchai, Suphot Tamsailom

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To evaluate the effect of fluoride/zinc/essential oil-containing mouthrinse on fluoride uptake and microhardness in enamel. Materials and methods A double-blind randomized trial was performed. Thirty polished bovine enamel specimens (6 x 6 mm) were subjected to caries-likes lesion formation in the demineralizing solution. Then specimens were analyzed for microhardness (no difference in microhardness; p > 0.05) and divided into 3 groups (n=10/group). The fluoride and calcium contents in enamel were analyzed by fluoride electrode and atomic absorption spectrometer, respectively. The specimens in three groups were then treated with either fluoride/zinc/essential oil-containing mouthrinse (Listerine Total Care-LTC), 100 ppm NaF (positive control), …


ปริทันต์บําบัดร่วมกับการรักษาคลองรากฟันในฟันกรามบนแท้ซี่ที่หนึ่ง และฟันเกินที่เชื่อมติดกัน, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, สุภัทรชัย บงสุนันท์ Jan 2013

ปริทันต์บําบัดร่วมกับการรักษาคลองรากฟันในฟันกรามบนแท้ซี่ที่หนึ่ง และฟันเกินที่เชื่อมติดกัน, เฉลิมขวัญ ภู่วรวรรณ, สุภัทรชัย บงสุนันท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การเกิดฟันเชื่อมติดกันมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย แต่ฟันเชื่อมติดกันนี้จะมีลักษณะทางกายวิภาคที่ซับซ้อน จึงทําให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบและเนื้อเยื่อในตายได้ ดังนั้นการตรวจรักษาจึงต้องทําอย่างระมัดระวังรายงานผู้ป่วยนี้นําเสนอแนวทางการรักษาฟันเชื่อมติดกันระหว่างฟันกรามบนแท้ซี่ที่หนึ่งด้านขวากับฟันเกินด้วยวิธีทางศาสตร์คลองรากฟันร่วมกับปริทันตศาสตร์ โดยเมื่อกรอทางเปิดสู่โพรงเนื้อเยื่อในตัวฟันแล้วพบว่าทั้งโพรง เนื้อเยื่อในตัวฟันและคลองรากฟันของฟันกรามบนแท้ซี่ที่หนึ่งด้านขวากับฟันเกินมีการเชื่อมติดกัน ภายหลังจาก การรักษาคลองรากฟันแบบไม่ใช้ศัลยกรรมได้ผนึกร่องบริเวณรากฟันที่เชื่อมติดกันด้วยวัสดุกลาสไอโอโนเมอร์จากการติดตามผลหลังการรักษาเป็นเวลา 1 ปี แสดงให้เห็นถึงการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันและเนื้อเยื่อเหงือกมีสุขภาพดี (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:49-58)


ผลของการเตรียมพื้นผิวเซรามิกต่อค่ากําลัง แรงดึงระดับจุลภาคของเซรามิกที่ซ่อมแซมด้วยเรซินคอมโพสิต, เฉลิมพร พงษ์ศิริโสภาพร, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ Jan 2013

ผลของการเตรียมพื้นผิวเซรามิกต่อค่ากําลัง แรงดึงระดับจุลภาคของเซรามิกที่ซ่อมแซมด้วยเรซินคอมโพสิต, เฉลิมพร พงษ์ศิริโสภาพร, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความทนทานของกําลังแรงดึงระดับจุลภาคในการซ่อมแซมเซรามิกที่ผ่านการเตรียมพื้นผิวที่แตกต่างกันด้วยเรซินคอมโพสิต วัสดุและวิธีการ นําบลอคเซรามิกไอพีเอสเอ็มเพรสแคด 8 ชิ้น ตัดให้เป็นรูปร่างทรงสี่เหลี่ยม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เตรียมผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก กลุ่มที่เป่าอะลูมินัมออกไซด์ กลุ่มที่เตรียมผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก แล้วทาสารไซเลน และกลุ่มที่เป่าอะลูมินัมออกไซด์แล้วทาสารไซเลน นําตัวอย่างแต่ละกลุ่มมาทาสารยึดติดแล้ว นําเรซินคอมโพสิตมายึดกับด้านที่ผ่านการเตรียมผิวแล้ว จากนั้นแบ่งชิ้นตัวอย่างแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งจําลองการใช้งานด้วยการทําเทอร์มอไซคลิงและไซคลิกโหลดดิ้งและกลุ่มที่ไม่ผ่านการจําลองการใช้งาน รวมได้ชิ้นตัวอย่างทั้งหมด 8 กลุ่ม นําชิ้นงานแต่ละกลุ่มมาตัดให้ได้ชิ้นตัวอย่างขนาดหนา 1 มม. กว้าง 5 มม. สูง 8 มม. กลุ่มละ 10 ชิ้น แล้วนําชิ้นตัวอย่างเข้าเครื่องทดสอบแรงอเนกประสงค์ เพื่อคํานวณกําลังแรงดึงระดับ จุลภาค ประเมินและวิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวโดยใช้สถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การจําลองอายุการใช้งานทําให้ค่ากําลังแรงดึงระดับจุลภาคระหว่างเซรามิกและเรซินคอมโพสิตลดลง อย่างมีนัยสําคัญ ส่วนการใช้สารไซเลนและปัจจัยร่วมระหว่างการเตรียมผิวเซรามิกและการใช้สารไซเลนมีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นต่อกําลังแรงดึงระดับจุลภาคระหว่างเซรามิกและเรซินคอมโพสิต สรุป การจําลองอายุการใช้งานทําให้กําลังแรงดึงระดับจุลภาคของเซรามิกและเรซินคอมโพสิตมีค่าลดลง ส่วนการใช้สารไซเลนและประเภทของการเตรียมผิวเซรามิก (การเตรียมผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกและการเตรียมผิวด้วยการเป่าอะลูมินัมออกไซด์) ไม่มีผลต่อกําลังแรงดึงระดับจุลภาคของเซรามิกและเรซินคอมโพสิต (2 ทันต จุฬาฯ 2556;36:37-48)


ลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สามในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง, ณัฐวัฒน์ ตรีวิโรจน์, ศิริมา เพ็ชรดาชัย, วิจิตรศักดิ์ โซลิตกุล Jan 2013

ลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สามในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง, ณัฐวัฒน์ ตรีวิโรจน์, ศิริมา เพ็ชรดาชัย, วิจิตรศักดิ์ โซลิตกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างและรูปแบบความผิดปกติของกะโหลกศีรษะและใบหน้า ในผู้ป่วยไทย ที่มีลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สาม และเปรียบเทียบระหว่างเพศ วัสดุและวิธีการ ศึกษาภาพรังสีดิจิตัลกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วยไทยที่มีลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบ ที่สามจํานวน 223 คน (เพศชาย 78 คน และเพศหญิง 145 คน) ตามเกณฑ์ของ แซสซูนี และใช้สถิติที่-เทสต์ และไค-สแควร์ เปรียบเทียบระหว่างเพศ ผลการศึกษา ผู้ป่วยไทยที่มีลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สาม โดยส่วนใหญ่มีลักษณะขากรรไกรบนปกติ ร้อยละ 49.78 หรือถอยหลัง ร้อยละ 49.33 ขากรรไกรล่างยื่น ร้อยละ 82.51 มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่งแบบสบเปิด ร้อยละ 66.81 และมีฟันหน้าบนยื่น ร้อยละ 58.74 เปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่าเพศชายมี ความยาวฐานกะโหลกศีรษะ ความยาวขากรรไกรล่าง และความสูงใบหน้าด้านหน้าและด้านหลัง มากกว่าเพศ หญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05) สรุป รูปแบบความผิดปกติของโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สามในผู้ป่วยไทยไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ แต่เพศชายมีขนาดกะโหลกศีรษะที่ใหญ่กว่าเพศหญิง (ว ทันต จุฬาฯ 2556;36:1-8)