Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2004

Prevalence; retrospective study; tooth fracture; traumatic dental injury

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกในเด็กนักเรียนชาย, จินตนา ทุมโฆสิต Jan 2004

การศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกในเด็กนักเรียนชาย, จินตนา ทุมโฆสิต

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทก สาเหตุและผลกระทบต่อฟันที่ได้รับ อันตราย รวมทั้งฟันซี่ที่ได้รับอันตรายบ่อยที่สุด วัสดุและวิธีการโดยการสํารวจทางระบาดวิทยาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากนักเรียนชายในช่วงอายุ 17-18 ปี ในครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมระดับปานกลางจนถึงดี ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 2,934 คน โดยทันตแพทย์ตรวจสภาพของฟันแท้ที่มีการแตกปั่น หัก ที่ได้รับการบูรณะแล้ว หรือยังไม่ได้รับการบูรณะ รวมทั้งฟันที่เปลี่ยนสี โยก และสูญหาย ร่วมกับการซักประวัติโดยผู้ช่วยทันตแพทย์ที่ได้รับการฝึกหัดมาแล้ว ผลการศึกษา พบว่ามีความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทกร้อยละ 9.3 (277 คน, 354 ) โดยสาเหตุ สําคัญคือการหกล้ม (ร้อยละ 53.1) อุบัติเหตุทุกชนิดมักเกิดกับฟันตัดซี่กลางหน้าบนทั้งซ้ายและขวา (ร้อยละ 47.6) และ (ร้อยละ 43.3) ความรุนแรงที่ฟันได้รับแรงกระแทกส่วนใหญ่จะเกิดกับชั้นเคลือบฟัน (ร้อยละ 45.8) สรุป จากผลการศึกษาแสดงให้ทราบอัตราความชุกของฟันที่ได้รับอันตรายจากแรงกระแทก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมี ประโยชน์ในการกระตุ้นให้สังคมเกิดความตื่นตัวในการหามาตรการป้องกันอันตรายต่อไป