Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2004

Curriculum development; Doctor of Dental Surgery Program; program management

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

แนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการศึกษา หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2545 2554, พรพรรณ อัศวาณิชย์, นิตยา ภัสสรศิริ, จุมพล พูลภัทรชีวิน, รัตน์ เสรีนิราช Sep 2004

แนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการศึกษา หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2545 2554, พรพรรณ อัศวาณิชย์, นิตยา ภัสสรศิริ, จุมพล พูลภัทรชีวิน, รัตน์ เสรีนิราช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของหลักสูตรและการจัดการศึกษาหลักสูตร ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมีความเหมาะสมสําหรับบริบทของประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ.2545-2564 วัสดุและวิธีการ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงพรรณนา ประเภทการวิจัยเชิงอนาคตปริทัศน์ แบบเอ็ดในกราฟฟิคเดลฟาย จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 26 ท่าน นําคําสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อจัดทําแบบสอบถามเลยหายสําหรับ สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจํานวน 25 ท่าน การวิเคราะห์ผลทางสถิติใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าร้อยละ มัธยฐาน ฐานนิยม ความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐาน และพิสัยระหว่างควยไทล์ ผลการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าในอนาคตหลักสูตรต้องตอบสนองนโยบายปฏิรูประบบสุขภาพ สามารถผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสังคม คิดเป็น ทําเป็น พูดเป็น สามารถเป็นที่พึ่งพา ของสังคม การจัดหลักสูตรจะมีการบูรณาการองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอนจะมีการฝึกปฏิบัติงานร่วมกับ วิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น การวัดและประเมินผลจะใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียน อีกทั้งเปิดโอกาสให้นิสิตประเมินตนเอง การบริหารการศึกษาจะใช้แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจพอเพียงการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และภาวะผู้นําของคณบดีจะมีส่วนสําคัญในความสําเร็จของการพัฒนาหลักสูตร อย่างไรก็ดีการจัดหลักสูตรในอนาคตยังมีข้อจํากัดในการเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้บังเกิดแก่บัณฑิต สรุป ในการผลิตบัณฑิตให้มี “ความรู้คู่คุณธรรม” นั้น การจัดการศึกษาในอนาคตควรคํานึงถึงการพัฒนาคนให้สอดคล้องกับ กระบวนทัศน์ของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่มุ่งเน้นการสร้างคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการพัฒนาที่มีดุลยภาพระหว่าง เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องอยู่บนฐานของ "กระบวนทัศน์สุขภาพแบบองค์รวม” ซึ่ง มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาวะทั้งมิติของกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ