Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2004

Aloe vera; Proliferaton; Periodontal cell; Pulpal fibroblast and Gingival fibroblast

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้กระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยง จากเนื้อเยื่อโพรงฟัน, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, กนกนัดดา ตะเวทีกุล, กุลวดี เทมกุญชร Jan 2004

สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้กระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยง จากเนื้อเยื่อโพรงฟัน, พสุธา ธัญญะกิจไพศาล, กนกนัดดา ตะเวทีกุล, กุลวดี เทมกุญชร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ ที่มีต่อการเพิ่มจํานวนเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ เซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันและเนื้อเยื่อเหงือก วัสดุและวิธีการ เซลล์จะถูกทดสอบด้วยสารสกัดส่วนวุ้นและส่วนยางของว่านหางจระเข้ และสารสกัดส่วนวันที่ถูกทําให้ แห้ง ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ปราศจากรัม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นวัดจํานวนเซลล์ด้วยสารเอ็มทีทีและวิเคราะห์ ทางสถิติแบบ One way ANOVA (α < 0.05) ผลการศึกษา สารสกัดส่วนวันที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 5, 10, 20 และ 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้น การเพิ่มจํานวนของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 400 และ 600 ไมโครกรัม ต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโทรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยือกแข็ง ที่ความเข้มข้นของโปรตีน 50, 100 และ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ และเซลล์ สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยี่ยโพรงฟัน และสารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเชือกแข็งที่ความ เข้มข้นของโปรตีน 50 และ 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลกระตุ้นการเพิ่มจํานวนของเซลล์สร้างเส้นใยที่แยก จากเนื้อเยี่ยเหงือก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 5-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัด ส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยียกแข็ง ความเข้มข้นของโปรตีน 50-200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ เซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สารสกัดส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ทําให้แห้งด้วยวิธีเยือกแข็ง ความเข้มข้นของโปรตีน 50-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการเพิ่มจํานวนเซลล์ของเซลล์สร้างเส้นใยที่แยกจากเนื้อเยื่อเหงือก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่สารสกัดส่วนยางของว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีน 400 และ 600 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลลดจํานวนเซลล์เอ็นยึดปริทันต์และเซลล์สร้างเส้นใยที่แยกจากเนื้อเยื่อโพรงฟันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ