Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2001

Family medicine

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการในคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ (Program Evaluatlion On The Satisfaction Of Clients And Health Teams At Family Medicine Clinic Department Of Social Medicine, Hat Yai Hospital), นวลตา อาภาคัพภะกุล May 2001

การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้ให้บริการในคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ (Program Evaluatlion On The Satisfaction Of Clients And Health Teams At Family Medicine Clinic Department Of Social Medicine, Hat Yai Hospital), นวลตา อาภาคัพภะกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การศึกษานี้วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการคลินิกเวชปฏิบัติ ครอบครัว โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการ จำนวน 200 คน 2) แพทย์ผู้ให้บริการประจำคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว 2 คน 3) พยาบาลและเจ้าหน้าที่ จำนวน 27 คน 4) แพทย์ทั้งในและนอกคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว 4 คน 5) หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม และ 6) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ การเก็บรวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ เจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกันสุขภาพ มีอาชีพค้าขายและรับจ้าง รายได้เฉลี่ย 6,600 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว มีการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มาใช้บริการเฉลี่ย 6 ครั้งต่อปี ผู้รับบริการส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางมารับบริการเฉลี่ย ประมาณ 18 นาที รวมเวลาที่ใช้ในการมารับบริการที่คลินิกประมาณ 37 นาที และคิดว่าจะยังคงมาใช้บริการ \nที่คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวเพราะมีความพอใจในบริการที่ได้รับและไม่เสียเวลาในการรอรับบริการมากกว่า เหตุผลอื่น 2) โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจในระดับมาก ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ห้องรอตรวจ แพทย์ ห้องยา ห้องทำหัตถการ และบรรยากาศทั่วไป แต่ที่พอใจน้อยที่สุดคือ คุณภาพของยาที่ได้รับ 3) พยาบาลและ เจ้าหน้าที่ มีความพึงพอใจต่อการให้บริการและเห็นความสำคัญของการจัดให้มีคลินิกเวชปฏิบัติคู่การดูแล ทั้งชุมชนได้ดี 6) ผู้บริหารระดับกลางและสูงพอใจในระดับหนึ่ง การขยายงานต่อไป คือ การเป็นแม่ขาย ในการดำเนินงาน และเป็นแหล่งความรู้ของนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวจะยังคงดำเนินนโยบายและให้การสนับสนุนต่อไป และเน้นที่การเป็นแม่ข่าย ในการดำเนินงาน และเป็นแหล่งความรู้