Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

The Thai Journal of Veterinary Medicine

1987

Articles 1 - 30 of 35

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษาประสิทธิภาพการนำไปใช้และสมดุลของซีลิเนียมและไนโตรเจนในแกะที่เลี้ยงด้วยผักตบชวาสดและหญ้าแห้ง, มาเรียม แสงมาลย์, อายุส พิชัยชาญณรงค์, พรศรี ชัยรัตนายุทธ์, ณรงศักดิ์ ชัยบุตร Dec 1987

การศึกษาประสิทธิภาพการนำไปใช้และสมดุลของซีลิเนียมและไนโตรเจนในแกะที่เลี้ยงด้วยผักตบชวาสดและหญ้าแห้ง, มาเรียม แสงมาลย์, อายุส พิชัยชาญณรงค์, พรศรี ชัยรัตนายุทธ์, ณรงศักดิ์ ชัยบุตร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาคุณค่าทางอาหาร และประสิทธิภาพการย่อยได้ของอาหารชนิดต่าง ๆ ในแกะเพศผู้ จำนวน 5 ตัว โดยให้กินผักตบชวาสด หญ้าแห้ง และผักตบชวาผสมหญ้าแห้ง เปรียบเทียบกับระยะควบคุมที่ให้กินหญ้าสดและอาหารขึ้นเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง แร่ธาตุซีลีเนียม และโปรตีนหยาบในแกะที่เลี้ยงด้วยอาหารชนิดต่าง ๆ ตลอดจนสมดุลของซีลีเนียม และไนโตรเจนในร่างกาย ผลการวิเคราะห์พบว่าโปรตีนหยาบในผักตบชวามีค่าสูงใกล้เคียงกับหญ้าสดคือ 15.83±0.09 และ 12.27±0.06% ตามลำดับ หญ้าแห้งมีปริมาณโปรตีนหยาบต่ำที่สุดเพียง 3.49±0.09% ของวัตถุแห้งเท่านั้น ปริมาณแร่ธาตุซีลีเนียมนั้นพบว่าในผักตบชวา หญ้าสด และ อาหารขึ้นมีระดับต่ำคือ 0.009±0.000, 0.018±0.000 และ 0.026±0.003 พีพีเอ็ม ตามลำดับ ส่วนหญ้าแห้งมีปริมาณที่สูงกว่าคือ 0.120±0.001 พีพีเอ็ม


วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 6. ภูมิคุ้มกันในเป็ดหลังจากฉีดแบคทีริน เตรียมด้วยวิธีต่าง ๆ กัน จากเชื้อ พาสเตอเรลล่า มัลโตซิด้า, อารีรัตน์ ลออปักษา, โสมทัต วงศ์สว่าง, สันติ ถุงสุวรรรณ, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เกรียงศักดิ์ สายธนู, นิคม ชัยศิริ Dec 1987

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 6. ภูมิคุ้มกันในเป็ดหลังจากฉีดแบคทีริน เตรียมด้วยวิธีต่าง ๆ กัน จากเชื้อ พาสเตอเรลล่า มัลโตซิด้า, อารีรัตน์ ลออปักษา, โสมทัต วงศ์สว่าง, สันติ ถุงสุวรรรณ, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เกรียงศักดิ์ สายธนู, นิคม ชัยศิริ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

แบคทีรินเตรียมจากเชื้อ พาสเตอเรลล่า มัลโตชิดา ซีโรทัยป์ 8:A ด้วยวิธีฆ่าเชื้อที่ต่างกัน 3 วิธี คือ ฟอร์มาลิน, Sonicated และ irradiated นำมาศึกษาภูมิคุ้มกันโรคในเป็ดเปรียบเทียบกับวัคซีนของกรมปศุสัตว์และวัคซีนของเอกชน 2 ชนิด แอนติบอดีไตเตอร์ของวัคซีนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีน กลุ่มที่ฉีดวัคซีน โดยไม่มีแอดจูแวนท์พบว่าวัคซีนชนิด irradiated ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับวัคซีนของกรมปศุสัตว์ คือ 63.9 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฉีดวัคซีนชนิดต่าง ๆ โดยมีแอดจูแวนท์ พบว่ามีค่าแอนติบอดีไตเตอร์เฉลี่ยสูงกว่า โดยวัคซีนของกรมปศุสัตว์ที่มีแอดจูแวนท์ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่วัคซีนชนิด irradiated มีค่าเฉลี่ย 138.2 ส่วนวัคซีนของบริษัทเอกชน ชนิด ซึ่งเป็นชนิด emulsified พบว่าให้ค่าแอนติบอดีไตเตอร์ เฉลี่ยสูงสุดต่ำกว่า (98.7 และ 47.5) นอกจากนั้น เมื่อเพิ่มขนาดของวัคซีนของกรมปศุสัตว์หรือวัคซีนเตรียมเอง (ฟอร์มาลิน) จาก 1.0 มล. เป็น 2.0 มล. โดยไม่ใช้แอดจูแวนท์ พบว่าค่าแอนติบอดีไตเตอร์ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 63.9 และ 40.3 เป็น 127.9 และ 54.8 ตามลำดับ


วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 7. การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างภูมิคุ้มโรคในเป็ดหลังจากฉีดวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเช้อเป็น และชนิดเชื้อตาย, สัตถาพร ศรีมหาสงคราม, นิคม ชัยศิริ, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, สันติ ถุงสุวรรณ Dec 1987

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 7. การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างภูมิคุ้มโรคในเป็ดหลังจากฉีดวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเช้อเป็น และชนิดเชื้อตาย, สัตถาพร ศรีมหาสงคราม, นิคม ชัยศิริ, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, สันติ ถุงสุวรรณ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาการสร้างภูมิคุ้มโรคในเป็ดที่ได้รับวัคซีนกาฬโรคเป็ด ชนิดเชื้อเป็นเปรียบ เทียบกับวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อตาย ฆ่าด้วยฟอร์มาลินซึ่งเตรียมเป็น 2 วิธีคือ เติมน้ำเกลือ {Normal saline 0.85%} และเติม incomplete Freunds adjuvant ตรวจหาแอนติบอดีต่อโรค กาฬโรคเป็ดด้วยวิธี Neutralization test และทดสอบภูมิคุ้มโรคโดยการฉีดเชื้อไวรัสกาฬโรคเป็ดสายพันธุ์ที่ใช้ทำวัคซีน ผลการทดลองพบว่าภูมิคุ้มโรคในเป็ดที่ได้รับวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อเป็นป้องกันได้ 100% ส่วนวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อตายที่เตรียมจากเชื้อชนิดไม่ก่อโรค ทั้งที่มีและไม่มี แอดจูแวนท์ {Adjuvant} และวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อตายในน้ำเกลือ ซึ่งเตรียมจากตับเป็ดเนื่องจากเป็นกาฬโรค {KDPTS{ ไม่สามารถป้องกันโรคได้ สำหรับวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อตายในน้ำเกลือซึ่งเตรียมจากไวรัสกาฬโรคเป็ดที่เจริญใน tissue culture {KDPS}


วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 8. ภูมิคุ้มโรคในเป็ดหลังจากฉีดวัคซีนรวมและการฉีดพร้อมกัน, เกรียงศักดิ์ สายธนู, สันติ ถุงสุวรรณ, สัตถาพร ศรีมหาสงคราม, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, อารี วิรุฬหผล, นิคม ชัยศิริ, อารีรัตน์ ลออปักษา Dec 1987

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 8. ภูมิคุ้มโรคในเป็ดหลังจากฉีดวัคซีนรวมและการฉีดพร้อมกัน, เกรียงศักดิ์ สายธนู, สันติ ถุงสุวรรณ, สัตถาพร ศรีมหาสงคราม, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, อารี วิรุฬหผล, นิคม ชัยศิริ, อารีรัตน์ ลออปักษา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาการตอบสนองของเป็ด หลังจากฉีดวัคซีนอหิวาต์เป็ด - ไก่และวัคซีนกาฬโรคเป็ด โดยการฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดพร้อมกัน และการฉีดวัคซีนรวมกันผลปรากฏว่า การฉีดวัคซีนอหิวาต์เป็ด - ไก่อย่างเดียวจะทำให้ระดับแอนติบอดีสูงกว่าการฉีดวัคซีนนี้ พร้อมกันหรือรวมกันกับวัคซีนกาฬโรคเป็ด แต่ภูมิคุ้มกันโรคจะไม่แตกต่างกัน สำหรับระดับแอนติบอดี (ตรวจโดยวิธี Neutralization test) ที่เกิดจาก วัคซีนกาฬโรคเป็ด - ไก่ พบว่าการฉีดวัคซีนนี้อย่างเดียว (วัคซีนชนิดเชื้อเป็น) หรือที่รวมกัน กับวัคซีนอหิวาต์เป็ด ไก่ วัคซีนชนิดเชื้อตาย) จะไม่แตกต่างกัน ภูมิคุ้มกันโรคของวัคซีน กาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อเป็นเมื่อฉีดพร้อมกันกับวัคซีนอหิวาต์เป็ด ไก่ จะลดลงจาก 100% เหลือเพียง 60% เท่านั้น สำหรับวัคซีนกาฬโรคชนิดเชื้อตายที่เตรียมจาก Holland duck plaque virus จะไม่มีความคุ้มโรค.


การผ่าตัดใส่ท่อ Rumen Fistula ในวัวนมโดยวิธีการ ผ่าตัดครั้งเดียว (One-Stage Operation), ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร, เทอดชัย เวียรศิลป์ Dec 1987

การผ่าตัดใส่ท่อ Rumen Fistula ในวัวนมโดยวิธีการ ผ่าตัดครั้งเดียว (One-Stage Operation), ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร, เทอดชัย เวียรศิลป์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทดลองผ่าตัดเพื่อใส่ท่อ Rumen Fistula ที่ผลิตขึ้นจาก silicone ในวัวนมลูกผสมพื้นเมือง X โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบครั้งเดียว (One-Stage Operation) โดยเปิดช่องท้องทางสวาปด้านซ้าย ดึงผนังรูเมนออกมาเย็บติดกับเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) ก่อน แล้วจึงกรีดผนังรูเมนเพื่อเย็บติดกับผิวหนังโดยรอบ สอดท่อ Rumen Fistula ค้างไว้ ผลการผ่าตัดปรากฏว่าผนังรูเมนและผิวหนังเชื่อมกันสนิท ไม่ปรากฏรอยรั่วเข้าไปในบริเวณช่องท้องแต่อย่างใด หลังจากการผ่าตัดสัตว์ทดลองมีสุขภาพแข็งแรง การทำงานของกระเพาะรูเมนเป็นไปตามปกติ Rumen Fistula ที่ทำจาก Sili Cone ไม่ทำอันตรายแก่สัตว์ทดลอง ในขณะที่สัตว์ทดลองนอนทับหรือเสียดสีกับคอก


Renal Clearances Of Urea, Inulin, Para-Aminohippurate, And Free Water In Acute Heat Stressed Pigs Given Beta-Blocker Carazolol, Narongsak Chaiybutr, Siripen Komonvanich, Chollada Buranakarl, Prapa Loypetjra Dec 1987

Renal Clearances Of Urea, Inulin, Para-Aminohippurate, And Free Water In Acute Heat Stressed Pigs Given Beta-Blocker Carazolol, Narongsak Chaiybutr, Siripen Komonvanich, Chollada Buranakarl, Prapa Loypetjra

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Clearance values of urea, free water, inulin and para-aminohippurate {PAH} were measured in acute heat stressed pigs exposed for 2 h to 36: 27°C (dry wet bulb}. During acute heat exposure, there were no significant changes in plasma osmolarity, inulin clearance and PAH clearance. There were decreases in the rate of urine flow and renal urea clearance. An increase in the relative tubular urea reabsorption by approximately 31% and 106% appeared in the first and the second hour of heat exposure respectively. These changes coincided with an increase in plasma urea concentration and tubular water reabsorption. The elevation of these …


โครงการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 4) อัตราพันธุกรรมของลักษณะปริมาณน้ำนมและเปอร์เซ็นต์ ไขมันนม และคุณค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์, จุรีรัตน์ แสนโภชน์, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ประเสริฐ ศงสะเสน, สุรพงศ์ โชติกเสถียร, สัมพันธ์ สิงหจันทร์, วิโรจน์ ทองเหลือ Dec 1987

โครงการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 4) อัตราพันธุกรรมของลักษณะปริมาณน้ำนมและเปอร์เซ็นต์ ไขมันนม และคุณค่าการผสมพันธุ์ของพ่อพันธุ์, จุรีรัตน์ แสนโภชน์, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ประเสริฐ ศงสะเสน, สุรพงศ์ โชติกเสถียร, สัมพันธ์ สิงหจันทร์, วิโรจน์ ทองเหลือ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาอัตราพันธุกรรมของลักษณะการให้นมและเปอร์เซนต์ไขมันของโคนมพันธุ์ผสมขาวดำ ซึ่งเกิดจากพ่อพันธุ์ 75% ขาวดำ หมายเลข 4 38, A 63, A72, A 75, C 151, C 155, C 184, C 186, C 284, C 526 และ C 766 โดยวิธี paternal half-sib correlation พบว่า อัตราพันธุกรรมของลักษณะการให้ปริมาณน้ำนม เท่ากับ 0.05 และเปอร์เซนต์ไขมันเท่ากับ 0.09 เมื่อนำมาคำนวณหาคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะปริมาณน้ำนมพบว่า พ่อพันธุ์หมายเลข 4 75 มีคุณค่าการผสมพันธุ์สูงที่สุด รองลงมาคือ A 63, A 72, C 151, C 186 และ C 155 ตามลำดับ


Study On Boar Infertilities : Epididymal Dysfunction, Annop Kunavongkrit, Peerasak Chantaraprateep, Prasert Prateep Dec 1987

Study On Boar Infertilities : Epididymal Dysfunction, Annop Kunavongkrit, Peerasak Chantaraprateep, Prasert Prateep

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Epididymal dysfunction causes infertility or lowering of the fertility in male animal. However, no corresponding investigation of epididymal dysfunction in boars have been reported in Thailand. By clinical and semen examination of 277 boars from 11 farms at Nakorn-Pathom province being examined during January 1985 August 1986, 4 were diagnosed as epididymal dysfunction. Poor sperm motility (15.4 ± 4.7} and a very high incidence of single bent tail {53.9 ± 15.4% were found in all those four boars while semen Volume, sperm concentration and other sperm morphology were comparable to normal boar semen picutre. The testicles and epididymides were histologically …


วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 4. การศึกษาเปรียบเทียบการใช้แอนติเจนสำหรับตรวจหาระดับของแอ็คกลูติเนติง แอนติบอดี, สุขใจ ผลอำไพสถิตย์, เกรียงศักดิ์ สายธนู, สันติ ถุงสุวรรณ, โสมทัต วงศ์สว่าง, อารีรัตน์ ลออปักษา Sep 1987

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 4. การศึกษาเปรียบเทียบการใช้แอนติเจนสำหรับตรวจหาระดับของแอ็คกลูติเนติง แอนติบอดี, สุขใจ ผลอำไพสถิตย์, เกรียงศักดิ์ สายธนู, สันติ ถุงสุวรรณ, โสมทัต วงศ์สว่าง, อารีรัตน์ ลออปักษา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ antigens ที่เตรียมจาก Pasteurella multocida serotype B : 4 โดยวิธีต่าง ๆ กัน 6 วิธีคือ autoclaved antigen (121° ช. 15 นาที) autoclaved antigen (121° ซ. 5 นาที) boiling antigen, formalinized antigen phenolized antigen และ living antigen เพื่อใช้ตรวจหาแอนติบอดีไตเตอร์ในเม็ด ซึ่งได้รับวัคซีนอหิวาต์เป็ด ไก่ ชนิด formalinized vaccine ของกรมปศุสัตว์ และที่เตรียมเอง ปรากฏว่าแอนติเจนชนิด autoclave 121° ซ. นาน นาที จะตรวจหาระดับแอนติบอดีได้ดีที่สุด รองลงไปคือ autoclaved antigen 121° ซ. 5 นาที และ boiling antigen ตามลำดับ ส่วนแอนติเจนชนิด formalinized, phenolized และ living antigen ไม่สามารถตรวจหาแอนติบอดีได้


การสำรวจโรค อีฟีเมอร์รัล ฟีเวอร์ ในวัวนม เขตอำเภอมวกเหล็ก, ปราจีน วีรกุล, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, โกวิทย์ นิธิชัย Sep 1987

การสำรวจโรค อีฟีเมอร์รัล ฟีเวอร์ ในวัวนม เขตอำเภอมวกเหล็ก, ปราจีน วีรกุล, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, โกวิทย์ นิธิชัย

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้ทำการสำรวจหาภูมิคุ้มต่อโรคอีฟีเมอร์รัลฟีเวอร์ (Bovine Ephemeral Fever : BEF) ในวัวนมจำนวน 407 ตัว จาก 8 ตำบลในอําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธี Serum Neutralization (SN) test ผลพบว่าวัวจำนวน 381 ตัว (93.6%) มีภูมิคุ้มต่อโรค BEF (SN titer มากกว่า 1:4) และ 26 ตัว (6.4%) ไม่มีภูมิคุ้มต่อโรคนี้


ผลของพิษงูแมวเซาต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของเม็ดเลือดแดง In Vitro, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชลลดา บูรณกาล, ประภา ลอยเพ็ชร Sep 1987

ผลของพิษงูแมวเซาต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของเม็ดเลือดแดง In Vitro, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชลลดา บูรณกาล, ประภา ลอยเพ็ชร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาผลของพิษงูแมวเซาต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของเม็ดเลือดแดง In vitro พบว่าพิษงูแมวเซามีผลทำให้ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเพิ่มขึ้นและปริมาตรเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.01) ในขณะที่ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ยลดลง (P < 0.001) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดขึ้นขณะเม็ดเลือดแดงอยู่ในพลาสม่า แต่จะไม่พบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เมื่อเม็ดเลือดแดงฃอยู่ในสารละลาย อื่นที่ไม่ใช่พลาสม่า เชื่อว่าการออกฤทธิ์ของพิษงูแมวเซาในการเพิ่มขนาดของเม็ดเลือดแดงจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยบางประการในพลาสม่า


โครงการการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 3) การทดสอบลักษณะการใช้นมของลูกโคเมียเพื่อเปรียบเทียบพ่อพันธุ์, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ประเสริฐ ศงสะเสน, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สัมพันธ์ สิงหจันทร์, จุรีรัตน์ แสนโภชน์, สุรพงศ์ โชติกเสถียร, วิโรจน์ ทองเหลือง Sep 1987

โครงการการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 3) การทดสอบลักษณะการใช้นมของลูกโคเมียเพื่อเปรียบเทียบพ่อพันธุ์, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ประเสริฐ ศงสะเสน, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สัมพันธ์ สิงหจันทร์, จุรีรัตน์ แสนโภชน์, สุรพงศ์ โชติกเสถียร, วิโรจน์ ทองเหลือง

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาลักษณะการให้นมของโคนม เพศเมียในระยะการให้นมครั้งแรก จำนวนทั้งสิ้น 263 ตัว ซึ่งเกิดจากพ่อพันธุ์ 75% ขาวดำ จำนวน 11 ตัวของกองผสมเทียม กรมปศุสัตว์ ได้แก่ ลักษณะปริมาณน้ำนม (ก.ก.) เปอร์เซนต์ไขมัน ปริมาณไขมัน เปอร์เซนต์โปรตีน ปริมาณโปรตีน ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยต่อวัน ปริมาณน้ำนมใน 305 วัน และเปอร์เซนต์ไขมันและโปรตีน ใน 305 วัน โดยเทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรแบบ multivariate analysis of covariance ควบคู่ไปกับการทำ univariate F - test และ Stepdown analysis พบ ว่าปีและฤดูกาลที่เก็บรวบรวมตัวเลขไม่มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตาม แต่อายุของโคเมียที่ศึกษา และระยะการให้นมจริงมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนม ปริมาณไขมัน และปริมาณโปรตีน อิทธิพลที่เกิดจากพ่อพันธ์พบความแตกต่างที่เปอร์เซนต์ไขมันและโปรตีน สำหรับข้อมูลที่ปรับเป็น วัน ได้ผลคล้ายคลึงกับข้อมูลชุดแรก แต่จะมีเฉพาะลักษณะเปอร์เซนต์โปรตีนใน 305 วัน เท่านั้น ที่มีความแตกต่างกัน จากการเรียงตามลำดับพ่อพันธุ์ที่สามารถให้ลูกโคที่มีปริมาณน้ำนมสูงสุด ได้แก่หมายเลข ( 155 พ่อพันธุ์ที่สามารถให้ลูกโคที่มีเปอร์เซนต์ไขมันสูงสุดคือ A 63 และ A 72 ส่วนลักษณะเปอร์เซนต์โปรตีนได้แก่ A 72


Effect Of High Ambient Temperature On Serum Cortisol, Triiodothyronine, Prolactin And Growth Hormone In Swamp Buffaloes, Prapa Loypetjra, Narongsak Chaiyabutr, Somchai Chanpongsang, Ayus Pichaicharnarong, Pamila Katti, Harold Johnson Sep 1987

Effect Of High Ambient Temperature On Serum Cortisol, Triiodothyronine, Prolactin And Growth Hormone In Swamp Buffaloes, Prapa Loypetjra, Narongsak Chaiyabutr, Somchai Chanpongsang, Ayus Pichaicharnarong, Pamila Katti, Harold Johnson

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The present study was undertaken to determine the diurnal pattern of hormone levels in buffaloes, and the effects of heat stress on plasma hormone concentrations. Eight buffalo heifers aged 2-3 years were selected for the experiments. They were divided into shade and nonshade groups for 20 days. for 20 days. The blood samples were collected from indwelling catheterized jugular vein and sera were se- parated. The physiological changes for heart rate, respiratory rate and body temperature were recorded. Serum Cortisol, Triiodothyronine {T}, Prolactin (PRL) and Growth Hormone (GH) concentrations were determined by using RIA procedures at the Environmental Physiology Laboratory, …


Short Communication: Study On Boar Infertility : A Case Of Late Maturity, Annop Kunavongkrit, Peerasak Chantaraprateep, Prasert Prateep Sep 1987

Short Communication: Study On Boar Infertility : A Case Of Late Maturity, Annop Kunavongkrit, Peerasak Chantaraprateep, Prasert Prateep

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Late maturity in boar can be diagnosed by the picture of abnormal spermatozoa in infertile mature boar (over 7 months old). After sometime, this boar may improve semen quality and become fertile. A case of late maturity in a Duroc boar aged 10 months old encountered at Ratchaburi province with the history of breeding 4 sows and no conception was reported. By clinical examination, it was shown that both testes were normal in size and consistency. The two semen pictures with 14 days interval revealed 80-90% abnormal sperms especially proximal and distal cytoplasmic droplets and sperm motility was low. Sperm …


ค่านิยมในการบริโภคนมพร้อมดื่ม 2: นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม 4-ม 6), สุวรรณา กิจภาภรณ์ Sep 1987

ค่านิยมในการบริโภคนมพร้อมดื่ม 2: นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม 4-ม 6), สุวรรณา กิจภาภรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การสำรวจค่านิยมในการบริโภคน้ำนมสดนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 4027 คน เป็นนักเรียนชายร้อยละ 52.1 และนักเรียนหญิงร้อยละ 47.9 จากโรงเรียนหลวง และโรงเรียนราษฎร์ในกรุงเทพมหานครจำนวน 10 เขต พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับค่าอาหารกลางวันเฉลี่ยวันละ 15 บาท มีนักเรียนเพียงร้อยละ 34.7 เท่านั้น เลือกดื่มนมเป็นอันดับ 1 จากนักเรียนที่ดื่มนมร้อยละ 91.1 เหตุที่ดื่มนมเพราะทราบว่านมมีประโยชน์ต่อร่างกาย การที่ทางบ้านดื่มนมมีผลทำให้นักเรียนดื่มนมด้วย นักเรียนที่ไม่ดื่มนมประมาณร้อยละ 50 ให้เหตุผลว่าไม่ชอบกลิ่นรสและร้อยละ 20 ตอบว่าราคาแพงเกินไป


โครงการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 2) การทดสอบ อัตราการเจริญเติบโตของลูกโคสาว, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, กรองแก้ว บริสุทธิสวัสดิ์, สุรศักดิ์ โชติกเสถียร Sep 1987

โครงการทดสอบพ่อโคนมที่ใช้ในการผสมเทียม 2) การทดสอบ อัตราการเจริญเติบโตของลูกโคสาว, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, กรองแก้ว บริสุทธิสวัสดิ์, สุรศักดิ์ โชติกเสถียร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการชั่งน้ำหนัก วัดรอบอก ความยาวลำตัวและความสูงของลูกโคเพศเมียรวม 255 ตัว ซึ่งเกิดจากพ่อพันธุ์ 75% ขาวดำ จำนวน 11 ตัวทุกเดือนตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ครั้ง สำหรับครั้งที่ 4 ถึงครั้งที่ 10 วัดเฉพาะรอบอก ความยาวลำตัวและความสูงของลูกโค เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคแต่ละกลุ่มพบว่า โค หมายเลข C 155 มีอัตราการเจริญเติบโตของลูกโคดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากรอบอกและความยาวลำตัว แต่ถ้าพิจารณาจากลักษณะความสูงและน้ำหนักพบว่าโค หมายเลข A 72 มีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด พ่อโคที่ให้ลูกที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด พ่อโคที่ให้ลูกที่มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่ากลุ่มอื่น ๆ คือ หมายเลข C 284 ในทุกลักษณะยกเว้นน้ำหนักใน 3 เดือนแรก ซึ่งจะเป็นพ่อโคหมายเลข A 63


วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 5. ระดับของแอนติบอดี ที่เกิดขึ้นในเป็ดจากการฉีดวัคซีนอหิวาต์-ไก่ ชนิดเชื้อตายขนาดต่าง ๆ กัน, อารีรัตน์ ลออปักษา, สุขใจ ผลอำไพสถิตย์, เกรียงศักดิ์ สายธนู, สันติ ถุงสุวรรณ, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข Sep 1987

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด : 5. ระดับของแอนติบอดี ที่เกิดขึ้นในเป็ดจากการฉีดวัคซีนอหิวาต์-ไก่ ชนิดเชื้อตายขนาดต่าง ๆ กัน, อารีรัตน์ ลออปักษา, สุขใจ ผลอำไพสถิตย์, เกรียงศักดิ์ สายธนู, สันติ ถุงสุวรรณ, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ผลจากการศึกษาเปรียบเทียบระดับแอ็กกลูติเนติ้งแอนติบอดี ไตเตอร์ด้วยวัคซีน อหิวาต์เป็ด - ไก่ชนิดเชื้อตายที่เตรียมเอง และของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเตรียมจากเชื้อ พาสเตอเรลล่า มัลโตซิด้า ซีโรทัยป์ A : A โดยการฉีดวัคซีนเข้าที่กล้ามเนื้ออก และตรวจหาระดับ แอนติบอดี 1,2, 3 และ 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน ปรากฏว่าวัคซีนเตรียมเองปริมาณเชื้อในวัคซีน 9 X 10 11, 9 x 10 9, 9 x 10 8 และ 9 x 10 7 CFU/มล. จะให้ระดับแอนติบอดีสูงสุดหลังฉีด 1 สัปดาห์มีค่าเท่ากับ 50.8, 49.4, 23.5 และ 35.3 ตามลำดับ วัคซีนอหิวาต์เป็ด - ไก่ของกรมปศุสัตว์ ปริมาณเชื้อในวัคซีน 10 9, 10 8, 10 7 และ 10 6 เซลล์/มล. จะให้ระดับแอนติบอดีสูงสุดหลังฉีด 1 สัปดาห์เช่นกัน แต่มีค่าสูงกว่าคือมีค่าเท่ากับ 114, 53.8, 40.3 และ 22.6 ตามลำดับ.


การศึกษาเบื้องต้นของการย้ายฝากตัวอ่อนสุกรในฟาร์ม, มงคล เตชะกำพุ, อังสนา ฮ้อเจริญ, บุญญิตา รุจิทิฆัมพร, นิภาภรณ์ รัภอาริยะธรรม, ศิริพงษ์ จึงธนาเจริญเลิศ, วิเชียร พวงศิลป์ Sep 1987

การศึกษาเบื้องต้นของการย้ายฝากตัวอ่อนสุกรในฟาร์ม, มงคล เตชะกำพุ, อังสนา ฮ้อเจริญ, บุญญิตา รุจิทิฆัมพร, นิภาภรณ์ รัภอาริยะธรรม, ศิริพงษ์ จึงธนาเจริญเลิศ, วิเชียร พวงศิลป์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการเก็บและย้ายฝากตัวอ่อนสุกร โดยวิธีทางศัลยกรรมในสุกรตัวให้และสุกรตัว ภายหลังกระตุ้นด้วยสารประกอบของฮอร์โมน PMSG/HCG ในอัตราส่วน 400/200 ไอ ยู ผลการศึกษาพบว่าสุกรจำนวน 6 ใน 7 ตัว (85.7%) ไม่แสดงอาการเป็นสัดที่ 42 วัน ของการตั้งท้อง และสุกรจำนวน 4 ใน 7 ตัว (57.1%) แสดงอาการตั้งท้องที่ 84 วัน และคลอดลูกสุกร ปกติจำนวนทั้งสิ้น 22 ตัว หรือคิด เป็นเปอร์เซนต์การรอดของตัวอ่อนในสุกรคลอดเท่ากับ 40% ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการ ย้ายฝากตัวอ่อนสุกรเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นได้ภายในฟาร์มสุกร การนำเทคนิคนี้ไปใช้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์สุกรและการป้องกันและการควบคุมโรคภายในฟาร์ม


การสร้างภูมิคุ้มโรคในเป็ดต่อวัคซีนกาฬโรคเป็ด, ชัชรีย์ นิตย์ธีรานนท์, สุวรรณี ท้วมแสง, สุดารัตน์ ชินศักดิ์ชัย, สละ กองสมัคร Jun 1987

การสร้างภูมิคุ้มโรคในเป็ดต่อวัคซีนกาฬโรคเป็ด, ชัชรีย์ นิตย์ธีรานนท์, สุวรรณี ท้วมแสง, สุดารัตน์ ชินศักดิ์ชัย, สละ กองสมัคร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เป็ดพันธุ์ผสมพื้นเมืองกากีแคมเบล ไม่จำกัดเพศ อายุ 1 เดือน 16 กลุ่ม ๆ ละ 10 ตัว กลุ่มแรก ได้รับการฉีดเชื้อพิษทับขนาด 10⁴ DLD₅₀ ต่อตัว หลังจากนั้น 1 วัน ได้รับ การฉีดวัคซีนขนาด 1 โดส ต่อตัว กลุ่มที่ 2 16 ได้รับการฉีดเชื้อพิษทับขนาด 10⁴ DLD₅₀ ต่อตัว หลังได้รับวัคซีนกาฬโรคเป็ด ขนาด 1 โดส 0 - 14 วัน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนได้ 2 วัน อัตราการให้ความคุ้มโรคเป็น 50% และในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ไม่พบอัตราการตายของโรคนี้ และอัตราการตายเป็น 100% พบในกลุ่มเป็ดที่ได้รับ วัคซีนน้อยกว่า 2 วัน และในกลุ่มเป็ดควบคุมแต่ละกลุ่ม


Embryo Transfer In Pigs, Peerasak Chantaraprateep, Annop Kunavongkrit, Chainarong Lohachit, Prachin Virakul, Nantarika Bodhipaksha, Somchai Minmanee, Prasit Bodhipaksha Jun 1987

Embryo Transfer In Pigs, Peerasak Chantaraprateep, Annop Kunavongkrit, Chainarong Lohachit, Prachin Virakul, Nantarika Bodhipaksha, Somchai Minmanee, Prasit Bodhipaksha

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Embryo transfer in pig was carried out in 12 gilts which previously experienced estrus, it was divided into 4 trials. Trial 1 using a pair of gilt which were slaughtered on day 5 {morula,16-32 cells) and b {morula to young blastocyst after mating. in vitro collections of the embryos was performed by flushing the uterus with phosphate buffered saline. Eighty-four point five {11/13} and 100% {12/12} respectively of the embroys were recovered.


การตัดย่อยลูกม้า : รายงานสัตว์ป่วย, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ปราจีน วีรกุล, ชาติชาย พวงชมพู Jun 1987

การตัดย่อยลูกม้า : รายงานสัตว์ป่วย, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ปราจีน วีรกุล, ชาติชาย พวงชมพู

The Thai Journal of Veterinary Medicine

แม่ม้าเทศ อายุประมาณ 6 ปี คลอดลูกตัวที่ 2 เย็นวันที่ 29 สิงหาคม 2529 เมื่อตั้งท้องได้ 345 วัน แม่มาเบ่งคลอดพบแต่หัวโผล่ออกมาคนเลี้ยงพยายาม ช่วยดึงลูกแต่ไม่ สำเร็จ เช้าวันรุ่งขึ้นผู้รายงานได้มาช่วยคลอด ตรวจพบว่าลูกตายอยู่ในท่า Ventral longi- - tudinal anterior presentation with flextion of both forelimbs หลังจากเตรียมบริเวณที่แก้ไขตามลักษณะสูติกรรม แล้วหล่อลื่นทำการแก้ไขท่า และพยายามดึงออก แต่ไม่สำเร็จ เพราะลูกมีขนาดใหญ่และขายาว จึงตัดย่อยลูกม้า เป็นขั้นตอนคือ คอ ขาหน้าขวา และซ้าย ตามลำดับ แก้ไขท่าดึงลูกออก ในท่า normal dorsal longitudinal anterior presentation เย็บรอบฉีกขาดที่บริเวณ Vulva ให้ปฏิชีวนะและยาป้องกันบาดทะยัก และการรักษาหลังผ่าตัดอีก 5 วันติดต่อกัน รกหลุดออกวันรุ่งขึ้น ตัดไหม เมื่อครบ 10 วัน สัตว์ หายป่วยเป็นปกติและเป็นสัด สามารถผสมได้ประมาณ 2 เดือนครึ่ง หลังการผ่าตัด


ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของเบนซาลโคเนียมคลอไรด์และเซฟิโรล, อรุณศรี เตชัสหงษ์, สันติ ถุงสุวรรณ, เกรียงศักดิ์ สายธนู Jun 1987

ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของเบนซาลโคเนียมคลอไรด์และเซฟิโรล, อรุณศรี เตชัสหงษ์, สันติ ถุงสุวรรณ, เกรียงศักดิ์ สายธนู

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการทดสอบประสิทธิภาพของเบนซาลโคเนียม คลอไรด์ และเซฟิโรล(R)ที่ความเข้มข้นแตกต่างกันและในสภาพความเป็นกรด-ด่าง 5,7 และ 9 ในสภาพที่สะอาดและ สภาพสกปรก ปรากฏว่ายาฆ่าเชื้อทั้งสองชนิดนี้จะสามารถฆ่าเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโซน่า และสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ได้ดีที่สุดเมื่อมีความเป็นกรด-ด่าง 9 ในสภาพสกปรกที่มีซีรั่มแกะอยู่ 10% ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจะลดลง เชื้อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส จะถูกทำลาย ด้วยยาฆ่าเชื้อได้เร็วกว่าเชื้อ ซูโดโมนาส แอรูจิโนซ่า


The Situation Of Freshwater Fish Disease Epidemic And Sanitary In Thailand, Jirasak Tangtrongpiros Jun 1987

The Situation Of Freshwater Fish Disease Epidemic And Sanitary In Thailand, Jirasak Tangtrongpiros

The Thai Journal of Veterinary Medicine

There are many freshwater fish farms in every parts of Thailand, but mainly in the central part. Catfish (Clarias batrachus) amd snakehead fish (Ophicephalus striatus) are the most important economic species. The serious freshwater fish disease epidemic has been occurred from 1980 to 1985. This condition was firstly found in the southern part and then spread to all fresh-water fish of the country. The ulceration is the prominent lesion. Low water quality, particularly sudden drop of temperature in winter, is supposed to be an important predisposing cause. Several pathogens have been isolated: bacteria, particularly Aeromonas hydrophila, fungi (Achlya spp,), ecto-and …


ธัยรอยด์ฮอร์โมนและภาวะเจริญพันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ดวงนฤมล ประชัญคดี, สัมพันธ์ สิงหจันทร์ Jun 1987

ธัยรอยด์ฮอร์โมนและภาวะเจริญพันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม, พรรณพิไล เสกสิทธิ์, ดวงนฤมล ประชัญคดี, สัมพันธ์ สิงหจันทร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

บทย่อ ศึกษาความสัมพันธ์ของธัยรอกซินและไตรไอโอโดยโรนีน ที่มีต่อภาวะเจริญพันธุ์ในโคนมพันธุ์ผสม 10 ตัวด้วย Analysis of Variance 2 x 8 Factorial Design และ Duncan's New Multiple Range Test โดยแบ่งแม่โคเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัว คือกลุ่มผสมติด และกลุ่มผสมไม่ติด ตามผลของการติดตั้งท้องด้วยวิธีล้วงตรวจการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและรังไข่ผ่านทางทวารหนัก วิเคราะห์ระดับธัยรอกซินและไตรไอโอโดยโรนีนในซีรั่มของโคทั้งสองกลุ่ม ในวันที่ 0 (วันที่ทำการผสมเทียม), 4,8,12,16,20,25 และ 41 วัน หลังการผสมเทียม (8 ระยะ) โดยวิธีเรดิโออิมมิวโนเอสเลย์ พบว่าโคกลุ่มที่ผสมไม่ติดมีระดับธัยรอกซินสูงกว่าโคที่ผสมติด {P < 0.05} ไม่มีความแตกต่างของธัยรอกซินระหว่างวันที่ทำการศึกษาและไม่มีความแตกต่างของฮอร์โมนนี้ระหว่างกลุ่มโคและวันที่ทำการศึกษา สำหรับไตรไอโอโดยโรนีนในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่ในวันที่ 0 จะมีระดับไตรไอโอโดยโรนีน สูงกว่าวันอื่น ๆ {P < 0.05} ไม่มีความแตกต่างของไตรไอโอโดยโรนีนระหว่างกลุ่มโคและ วันที่ทำการศึกษา


เส้นเลือดแดงบริเวณขาหลังของกระบือปลัก, วิมล โพธิวงศ์ Jun 1987

เส้นเลือดแดงบริเวณขาหลังของกระบือปลัก, วิมล โพธิวงศ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ในการชําแหละขาหลังของกระบือปลักจำนวน 11 ขา เพื่อศึกษาถึงระบบของเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงบริเวณขาหลัง โดยไม่คำนึงถึงพันธุ์, เพศ, อายุ และน้ำหนัก พบว่าเส้นเลือดแดงที่เลี้ยงบริเวณขาหลังของกระบือปลักคล้ายคลึงกับของสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยมีความแตกต่างกันบ้างเพียงบางเส้น


การย่อยแป้งในสัตว์เคี้ยวเอื้อง, เทอดชัย เวียรศิลป์ Jun 1987

การย่อยแป้งในสัตว์เคี้ยวเอื้อง, เทอดชัย เวียรศิลป์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

แป้งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยแป้งเหล่านี้จะถูกจุลินทรีย์ ในกระเพาะรูเมนผลิตเอ็นไซม์ออกมาทำการย่อยเป็นอันดับแรกให้ผลผลิตเป็นกรดไขมันที่ ระเหยได้ ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์โดยตัวสัตว์เอง และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนประชากรและเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับตัวสัตว์นั้น ๆ ด้วย แป้งที่เหลือจะถูกย่อยต่อไปในลำไส้เล็กและให้ glucose ที่ถูกดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ ได้โดยตรง แต่ถ้ามีแป้งเป็นปริมาณมากลำไส้เล็กก็มีขีดจำกัดที่ไม่สามารถย่อยแป้งได้หมด เนื่องมาจากเอ็นไซม์บางชนิดมีจำกัดและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม


วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด 3. ประสิทธิภาพของวัคซีนรวม, วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ ชนิดฆ่าด้วยฟอร์มาลินรวมกับวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อเป็น : การศึกษาเบื้องต้น, สัตถาพร ศรีมหาสงคราม, อารีรัตน์ พงษ์โสภิดา, ปกรณ์ ทวีโชติภัทร์, สันติ ถุงสุวรรณ, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข Jun 1987

วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ด 3. ประสิทธิภาพของวัคซีนรวม, วัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ ชนิดฆ่าด้วยฟอร์มาลินรวมกับวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อเป็น : การศึกษาเบื้องต้น, สัตถาพร ศรีมหาสงคราม, อารีรัตน์ พงษ์โสภิดา, ปกรณ์ ทวีโชติภัทร์, สันติ ถุงสุวรรณ, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง, เกรียงศักดิ์ พูนสุข

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนฉีดพร้อมกันของอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ดเปรียบเทียบกับวัคซีนเดี่ยว โดยวัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่จากกรมปศุสัตว์ และเตรียมขึ้นเองแล้วนำมารวมกับวัคซีนกาฬโรคเป็ดของกรมปศุสัตว์ ฉีดวัคซีนให้เป็ด 2 ครั้ง ห่างกัน สัปดาห์ ตรวจหาแอนติบอดีไตเตอร์ต่อโรคอหิวาต์เป็ด-ไก่ และกาฬโรคเป็ดโดยวิธี tube agglutination test และวิธี neutralization test ตามลำดับ ทดสอบภูมิคุ้มโรคโดยการฉีดเชื้อ Pasteurella multocida และ duck plague virus ในสัปดาห์ที่ 7 และ 8 ตามลำดับ


ค่านิยมในการบริโภคนมพร้อมดื่ม 1 : นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุวรรณา กิจภากรณ์ Jun 1987

ค่านิยมในการบริโภคนมพร้อมดื่ม 1 : นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุวรรณา กิจภากรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการสำรวจค่านิยมในการบริโภคนมพร้อมดื่มของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนร้อยละ 10 ทุกชั้นปีของทุกคณะรวม 1,300 ชุด แบ่งเป็นนิสิตชายและหญิงร้อยละ 51.7 และ 49.69 พบว่า นิสิตจุฬาฯ นิยมบริโภคนมสดเป็นอันดับสองรองจากน้ำผลไม้ และการที่ไม่นิยมบริโภคนมสดก็เพราะ ไม่ชอบกลิ่นรส หาซื้อยาก บริโภคแล้วท้องเสีย และมีราคาแพง ถ้านมสดมีราคาถูกลง ก็จะทำให้มีผู้นิยมบริโภคมากขึ้น เพราะทราบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย จากการวิจัยยังพบอีกว่า กลิ่นรสที่นิยมบริโภคมากที่สุดคือ นมสดรสจืด รองลงมาคือ ชนิดหวาน และชอคโกแลต ส่วนเครื่องหมายการค้า (ยี่ห้อ) ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดนิยมบริโภคของ "ไทยเดนมาร์ค” มากที่สุด ซึ่งสาเหตุที่เลือกซื้อยี่ห้อดังกล่าวก็เนื่องมาจาก เชื่อถือในคุณภาพ หาซื้อง่ายและเชื่อตามคำโฆษณา ทางด้านรูปแบบภาชนะที่ใช้บรรจุพบว่า กล่องบรรจุแบบสี่เหลี่ยมหรือกล่องใช้บรรจุนมสดชนิดยูเอชทีเป็นที่นิยมมากกว่าขวดพลาสติก ขวดแก้ว และแบบถุง ทั้งนี้เนื่องจากสะดวกแก่การบริโภคและการเก็บรักษา


การสำรวจ พบเชื้อ อี. โคไล ซีโรไทป์ K88 จากลูกสุกรวัยดูดนมและหลังหย่านม, คัมภีร์ กอธีระกุล, เทอด เทศประทีป, วรา พานิชเกรียงไกร, โสมทัต วงศ์สว่าง, วราภรณ์ แซ่ลี้, สมศักดิ์ ภักดีศิริภรณ์ Mar 1987

การสำรวจ พบเชื้อ อี. โคไล ซีโรไทป์ K88 จากลูกสุกรวัยดูดนมและหลังหย่านม, คัมภีร์ กอธีระกุล, เทอด เทศประทีป, วรา พานิชเกรียงไกร, โสมทัต วงศ์สว่าง, วราภรณ์ แซ่ลี้, สมศักดิ์ ภักดีศิริภรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ในระหว่างปี 2528 ได้ทำการสำรวจหาอุบัติการของเชื้อ อี.โคไล. ซีโรไทป์ K88 โดยการแยกเชื้อ อี.โคไล จาก rectal และ duodenal swabs สุ่มตัวอย่างจากลูก สุกรที่แสดงอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำจากฟาร์ม 6 จังหวัด ในกลุ่มอายุ 1-10 วัน หลัง 10 วันถึงหย่านม และหลังหย่านมถึง 2 เดือน แล้วนำเชื้อ อี.โคไลที่แยกได้มาทดสอบซีโรไทป์ กับแอนติเซรุ่ม OK-polyvalent และ K-88 โดยวิธี agglutination พบว่า ในกลุ่มลูก สุกรดูดนมอายุ 1-10 วัน จำนวน 102 ตัวอย่าง พบ OK-polyvalent 78.43%, K-88 44.12% และตรวจไม่พบ (ให้ผลลบ) 21.57% ในกลุ่มลูกสุกรหลัง 10 วันหลังหย่านม จำนวน 100 ตัวอย่าง พบ OK-polyvalent 80%, K-88 70% และตรวจไม่พบ 20% ในกลุ่มลูก สุกรหลังหย่านมถึง 2 เดือน จำนวน 66 ตัวอย่าง พบ OK-polyvalent 87.88 % พบ K-88 56.60% และตรวจไม่พบ 12.12% ความแตกต่างของการพบในลูกสุกรวัยต่าง ๆ อาจ เนื่องมาจากอิทธิพลของการได้รับความคุ้มจากแม่ในสุกรดูดนมอายุน้อย และการติดเชื้อขึ้นอีกเมื่อลูกสุกรอายุมากขึ้น


การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเทียมในเขตภาคใต้, ช้องมาศ อันตรเสน, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, นิมิตร เชื้อเงิน Mar 1987

การระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเทียมในเขตภาคใต้, ช้องมาศ อันตรเสน, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, นิมิตร เชื้อเงิน

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ในระหว่างปี พ.ศ. 2525-2528 ได้มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าเทียม ในฟาร์มสุกร 6 แห่ง ใน 6 จังหวัดของภาคใต้ คือที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, สงขลา พังงา, นรา ธิวาส, พัทลุง และระนอง การยืนยันผลทำโดยการแยกเชื้อไวรัสจากลูกสุกรป่วย และตรวจ หาระดับ Neutralizing antibodies เพื่อเป็นแนวทางในการกำจัดโรคในฟาร์มต่อไป