Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2016

หลักฐานเชิงประจักษ์;ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยา;ความพึงพอใจในงาน ผู้ป่วยวิกฤต

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการพัฒนาการบริหารยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่ออุบัติการณ์ความ คลาดเคลื่อนทางยาและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤต, นงนุช หอมเนียม, สุชาดา รัชชุกูล Jan 2016

ผลของการพัฒนาการบริหารยาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่ออุบัติการณ์ความ คลาดเคลื่อนทางยาและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤต, นงนุช หอมเนียม, สุชาดา รัชชุกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต\n \nรูปแบบงานวิจัย: การวิจัยแบบก่อนทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลพญาไท 2 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการทดลองประกอบด้วย แผนการอบรม คู่มือการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤต และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจในงานด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติค่าที\n \nผลการวิจัย: 1) จำนวนอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผิดขนาดภายหลังการทดลอง (2.44 ครั้งต่อ 1000 วันนอน) น้อยกว่าก่อนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยา (8.47 ครั้ง ต่อ 1000 วันนอน) และความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผิดเวลาภายหลังการทดลอง (2.44 ครั้ง ต่อ 1000 วันนอน) น้อยกว่าก่อนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยา (5.65 ครั้งต่อ1000 วันนอน) 2) คะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤตสูงกว่าก่อนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 (t = 5.43, p <.05)\n\nสรุป: การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบริหารยาในหอผู้ป่วยวิกฤตช่วยลดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการให้ยาผิดขนาดและผิดเวลา ส่งผลให้พยาบาลมีความพึงพอใจในงานมากขึ้น \n