Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2016

สตรีกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม;การตรวจเต้านมด้วยตนเอง;บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน;การรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านม ด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม, นวลลออ ทวิชศรี, สุรีพร ธนศิลป์ May 2016

ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านม ด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม, นวลลออ ทวิชศรี, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม อายุ 20-59 ปี ที่เป็นญาติสายตรงเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือเคยตรวจพบสิ่งผิดปกติที่เต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านม และรับการรักษาที่ห้องตรวจโรคศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 60 ราย จับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง อายุ และระดับการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการให้ความรู้ตามปกติโดยพยาบาล กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการให้ความรู้ โดยพยาบาลร่วมกับใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง มะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และแบบทดสอบความรู้เที่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ขี่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ KR-20 เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว\n\nผลการวิจัย: 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อการเป็นก้อนที่เต้านม ภายหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง ต่อการเป็นก้อนที่เต้านม ระหว่างกลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้ โดยพยาบาลร่วมกับใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้ตามปกติโดยพยาบาล ไม่แตกต่างกัน\n\nสรุป: บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง มะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่งผลให้สตรี กลุ่มเส่ยงสูงต่อการเป็นก้อนที่เต้านม มีการรับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงขึ้น แต้ไม่ แตกต่างจากการให้ความรู้ตามปกติ\n