Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 18 of 18

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การใช้ฟลูโอสโคปช่วยค้นหาเข็มฉีดยาชาหักทางทันตกรรม, สิทธิชัย ทัดศรี Sep 1992

การใช้ฟลูโอสโคปช่วยค้นหาเข็มฉีดยาชาหักทางทันตกรรม, สิทธิชัย ทัดศรี

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานการใช้ฟลูโอสโคปช่วยค้นหาเข็มฉีดยาชาที่หักขณะทําการฉีดยาสกัดเส้นประสาทอินฟีเรียอัลวีโอลาร์ นับเป็นวิธีการที่สะดวกง่ายรวดเร็วที่สุด และไม่ทําให้เกิดอันตรายภายหลังการผ่าตัดเอาเข็มออก


โครงสร้างเส้นเลือดของเหงือกในความสัมพันธ์กับกระดูกขากรรไกร, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ Sep 1992

โครงสร้างเส้นเลือดของเหงือกในความสัมพันธ์กับกระดูกขากรรไกร, ทัศนีย์ ดรงค์สุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาโครงสร้างหลอดเลือดของเหงือกหนูด้วยวิธีฉีดสารพลาสติกเข้าไปในหลอดเลือดศึกษา ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าหลอดเลือดของเหงือกส่วนจินจิวอล เครวิซ (gingival crevice) มีโครงสร้าง 2 ชนิด คือชนิดข่าย (planar plexus) และชนิดขดตัวเป็นแถว (coiled vascular loop) ชนิดตาข่ายพบภายใต้เยื่อบุผิวตั้งแต่ขอบเหงือกลงไปถึงส่วนที่แนบติดผิวฟัน ชนิดขดตัวพบบริเวณแถบกลางของเครวิซ โดยทอดต่อเนื่องตั้งฉากขึ้นมาจากตาข่ายที่อยู่ชั้นลึกกว่า ขดตัวและบิดเป็นเกลียวเป็นระเบียบแล้วจึงเทลงสู่เส้นเลือดดําในชั้นลึกของเหงือก โครงสร้างนี้มีลักษณะแตกต่างตามตําแหน่งของกระดูกขากรรไกร เหงือก ด้านแก้มของขากรรไกรบนและล่างปรากฏโครงสร้างทั้ง 2 ชนิดเด่นชัด เหงือกด้านเพดานและลิ้นปรากฏโครงสร้างชนิดตาข่ายหนาแน่นกว่าชนิดขดตัว ส่วนเหงือกรอบฟันหน้าปรากฏเป็นตาข่ายประสานกับเส้นเลือด ของกระดูกแอลวีโอลาร์ ไม่พบลักษณะที่ขดตัว


การใช้ Gcf เพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของโรคปริทันต์, สุขจิตต์ ญาณะจารี Sep 1992

การใช้ Gcf เพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของโรคปริทันต์, สุขจิตต์ ญาณะจารี

Chulalongkorn University Dental Journal

GCF เป็นสารคัดหลั่งจากการอักเสบที่มีอยู่ในร่องเหงือก ประกอบด้วยเซรุ่มและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ สามารถจัดเก็บเพื่อตรวจหาสารและวัดปริมาณสารได้ สารบางตัวที่มาจากเนื้อเยื่อยึดต่อ ที่ถูกทําลายจากคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก จากเซลล์ของร่างกายที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณอวัยวะปริทันต์ และจาก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นเป็นสัดส่วนกับระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์ ดังนั้นการตรวจหาและทราบถึงปริมาณของสารใน GCF สามารถใช้ทํานายโรคและระดับความรุนแรงของโรคได้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ วางแผนการรักษาต่อไป นอกจากนี้ลําพังปริมาณ GCF ก็ใช้แทนดัชนีบอกความรุนแรงของเหงือกอักเสบได้


การศึกษาประสิทธิภาพของสารกันบูดในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, รัชชพิน ศรีสัจจลักษณ์ Sep 1992

การศึกษาประสิทธิภาพของสารกันบูดในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์, วนิดา แสงอลังการ, รัชชพิน ศรีสัจจลักษณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานนี้แสดงผลการศึกษาประสิทธิภาพของสารกันบูดแต่ละชนิดในตํารับยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ สารกันบูดที่คัดเลือกมาทดสอบมีขนาดความเข้มข้น (น้ำหนัก/ปริมาตร) ดังนี้ ส่วนผสมของพาราเบน (0.2% เมธทิล พาราเบนและ 0.02% หรือ 0.04% โพรพิล พาราเบน), 0.4% โซเดียม เบนโซเอต, ส่วนผสมของ 0.4% โซเดียม เบนโซเอต และ 0.1% เบนโซอิก แอซิด, 0.034% ไทมอล และ 0.8% โปตัสเซียม ซอร์เบต ผลการศึกษาพบว่าสูตรตํารับยาที่ใช้สารกันบูดเหล่านี้ผ่านการทดสอบ สําหรับ 0.034% ไทมอลและ 0.4% โซเดียม เบนโซเอตให้ผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแอสเพอร์จิลลัสไนเกอร์ซึ่งใช้เป็นตัวแทนเชื้อราในการทดลองนี้ แต่ถ้าเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ในสูตรที่มี 0.034% ไทมอล จากร้อยละ 5 เป็น 12 และเพพิ่ม 0.1 % เบนโซอิก แอซิด ในสูตรที่มี 0.4% โซเดียม เบนโซเอต จะให้ผลฆ่าเชื้อราได้หมด


รีเทนชันที่สามารถใช้ทดแทนรีเทนทีฟพิน ในการบูรณะฟันด้วยอมัลกัม, ดารณี ตัณฑ์ไพโรจน์, ลลิดา สุคนธมาน Sep 1992

รีเทนชันที่สามารถใช้ทดแทนรีเทนทีฟพิน ในการบูรณะฟันด้วยอมัลกัม, ดารณี ตัณฑ์ไพโรจน์, ลลิดา สุคนธมาน

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการบูรณะฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปมากด้วยอมัลกัม โดยใช้รีเทนทีฟฟินช่วยเพิ่มรีเทนชัน มักจะเกิดการแตกหักของเนื้อฟันส่วนที่เหลือ และมีข้อควรระวังในการทําหลายประการ จึงมีความพยายามหารีเทนชันอื่น เพื่อทดแทน ได้แก่ อมัลกาพิน รีเทนทีฟ สลอต และการปรับรูปแบบการเตรียมแควิตี รวมทั้งการใช้เดนทีน บอนคิง เอเจนต์ รีเทนชันในรูปแบบต่าง ๆ นี้สามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อให้การบูรณะฟันด้วยอมัลกัมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ถุงน้ำนาโซเลเบียล : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แสงทิพย์ ญาณะจารี Sep 1992

ถุงน้ำนาโซเลเบียล : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แสงทิพย์ ญาณะจารี

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยชายไทยคู่อายุ 41 ปี มีถุงน้ำนาโซเลเบียลซึ่งพบได้น้อย เกิดขึ้นนอกกระดูกขากรรไกร บนด้านหน้าใต้ปีกจมูก บริเวณเหนือปลายรากฟันหน้าบนซ้าย โดยฟัน # 22 และ # 23 มีอาการร่วมด้วยซึ่ง เนื่องมาจากสาเหตุอื่น สามารถทําการวินิจฉัยแยกออกจากโรคอื่นและทําการรักษาได้ จากการติดตามผลเป็น ระยะเวลา 6 ปี พบว่าไม่กลับมาเป็นใหม่อีก


การเปลี่ยนแปลงสภาวะปริทันต์ ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ดวงรัตน์ ครองระวะ, นุชจรี พงษ์นริศร Sep 1992

การเปลี่ยนแปลงสภาวะปริทันต์ ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ดวงรัตน์ ครองระวะ, นุชจรี พงษ์นริศร

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะปริทันต์ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก (hy-gienic phase) โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความลึกของร่องลึกปริทันต์ (probing pocket depth) และระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์กับผิวรากฟัน (clinical attachment level) ก่อนและหลังการรักษา วิเคราะห์ค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์ที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์ในเชิงสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก พบว่า 98% ของผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยของความลึกของร่องลึกปริทันต์ลดลง ในขณะที่ 80% ของผู้ป่วย แสดงค่าเฉลี่ยของระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์เพิ่มขึ้น เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของความลึกของร่องลึกปริทันต์ และการเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะเป็นเฉพาะตําแหน่งจากร่องเหงือก 2323 ตําแหน่ง พบว่าในกลุ่มที่มีร่องลึกปริทันต์ในระดับ 3, 4, 5 และมากกว่าหรือเท่ากับ 6 มิลลิเมตร เมื่อทําการรักษาในระยะเริ่มแรกเสร็จสิ้นแล้วจะมีค่าความลึกของร่องปริทันต์ลดลง และมีระดับการยึดเกาะของเนื้อเยื่อปริทันต์เพิ่มขึ้น (attachment gain) ตามความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลที่ได้แสดงว่า การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบภายหลังการรักษาในระยะเริ่มแรก ด้วยความลึกของร่องเหงือกที่ลดลงเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่วินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยเหล่านั้นมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ ระดับความรุนแรงของรอยโรคในแต่ละตําแหน่งเมื่อรักษาแล้ว รอยโรคที่มีความ รุนแรงมากสามารถมองเห็นผลการรักษาได้ดีกว่ารอยโรคที่มีความรุนแรงน้อย


การตัดแบ่งครึ่งฟัน และการตัดรากในฟัน ที่มีรอยโรคบริเวณช่องรากฟันกราม, ฐิติพร พานโพธิ์ทอง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Sep 1992

การตัดแบ่งครึ่งฟัน และการตัดรากในฟัน ที่มีรอยโรคบริเวณช่องรากฟันกราม, ฐิติพร พานโพธิ์ทอง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

การตัดแบ่งครึ่งฟันและการตัดรากฟันเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์ที่มีรอยโรคบริเวณช่องรากฟันกราม บทความนี้กล่าวถึงสิ่งที่ทันตแพทย์ควรทราบก่อนจะพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้แก่ การวินิจฉัยรอยโรค ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของช่องรากฟันกราม รากฟันและกระดูก ข้อบ่งชี้ และข้อห้าม วิธีการตัดแบ่งครึ่งฟันและตัดรากฟัน การการรักษาไม่ประสบผลสําเร็จ


การจําแนกกลุ่มแปรงสีฟันวัยรุ่น และผู้ใหญ่ 13 ชนิด จากความมันกลม และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขนแปรง, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, นลินา ณรงค์ชัยกุล, วลีรัชฏ์ ฉายายน Sep 1992

การจําแนกกลุ่มแปรงสีฟันวัยรุ่น และผู้ใหญ่ 13 ชนิด จากความมันกลม และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขนแปรง, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, นลินา ณรงค์ชัยกุล, วลีรัชฏ์ ฉายายน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อจําแนกกลุ่มแปรงสีฟันวัยรุ่นและผู้ใหญ่ของแปรง 13 ชนิดที่จําหน่าย ในประเทศไทย โดยประเมินความมนกลมของแปรงชนิดละ 10 อัน แต่ละอันสุ่มขนแปรงมา 30 เส้น ด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอที่กําลังขยาย 40 เท่าโดยผู้วิจัย 2 คน และวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโดยสุ่มขนแปรง 25 เส้น จากแปรงแต่ละอันชนิดละ 10 อันด้วยภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดที่กําลังขยาย 35 เท่า พบว่าที่ระดับความเชื่อมั่น α = 0.05 แปรงสีฟัน Oral-B มีค่าสัดส่วนความมันกลมสูงสุด (0.226) และ แปรงสีฟัน Colgate และ Butler Gum มีค่าสัดส่วนความมันกลมต่ำสุด (0.004) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแปรงสีฟันทั้งหมดจัดเป็นชนิดอ่อน (Soft) โดยมีค่าสูงสุดคือ Colgate และ Dental-C (0.0043) ไปจนถึงค่าต่ำสุดคือ Salz (0.0036") จากการแบ่งระดับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและค่าสัดส่วนความมันกลมเป็น 3 ระดับ สามารถจําแนกแปรงสีฟันได้เป็น 4 กลุ่ม โดยเรียงลําดับกลุ่ม 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะเหมาะสมที่สุดใน การนําไปใช้ คือ Oral-B, กลุ่ม 2 : Colgate, Premium, Arrow, Dental-C, Aim, Butler Gum, กลุ่ม 3 : Jordan, กลุ่ม 4 : Research-D, Salz และกลุ่มที่ก้ํากึ่งระหว่างกลุ่ม 2 และ 3 ได้แก่ Listerine Plus, Biosafety และกลุ่มที่ก้้ำกึ่งระหว่างกลุ่ม 3 และ 4 ได้แก่ Sensodyne


ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคปริทันต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร, ชิตนี วีระประดิษฐ์ศิลป, ศิริพร รัตเชตกุล, สุรสา ตั้งใจตรง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน May 1992

ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคปริทันต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร, ชิตนี วีระประดิษฐ์ศิลป, ศิริพร รัตเชตกุล, สุรสา ตั้งใจตรง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคปริทันต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลของรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวนกลุ่มละ 100 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความรู้ที่ถูกต้องในประเด็นที่ว่า สุขภาพเหงือกและฟันเป็นสิ่งสําคัญ ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจํา และการใช้แรงที่เหมาะสมในการแปรงฟัน แต่พบว่ามีความรู้เกี่ยวกับแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือสาเหตุของการเกิดโรคปริทันต์น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนจะมีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มโรงพยาบาลรัฐบาล (P < 0.05) ซึ่งความแตกต่างของระดับความรู้และทัศนคติดังกล่าวอาจเป็นผลมากจาก อายุ เพศ อาชีพ และรายได้ของผู้ป่วย จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ยังคงมีความจําเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์แก่ผู้ป่วยให้มากขึ้นในขณะบําบัดรักษาทางทันตกรรม


ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรีสุคนธ์ มาลีแก้ว May 1992

ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรีสุคนธ์ มาลีแก้ว

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์จํานวน 37 คน ซึ่งปฏิบัติงานในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการผ่านการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2534 ผลงานวิจัยพบว่า ผู้ช่วยทันตแพทย์มีความพึงพอใจในด้านการบริหารงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ความมั่นคงในงาน ความก้าวหน้าในงานและรายได้อยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจในด้านลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทํางานและสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนําไปปรับปรุงสภาพการทํางาน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทํางานของผู้ช่วยทันตแพทย์เพิ่มขึ้น


สารรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟัน, สุรศักดิ์ บุญญาศิริรัตน์, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน May 1992

สารรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟัน, สุรศักดิ์ บุญญาศิริรัตน์, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยที่มีเหงือกร่น หรือเคยได้รับการรักษาทางปริทันต์ มักเกิดการเผยสิ่งของรากฟัน และตามด้วยภาวะไวต่อการรู้สึกของฟัน ซึ่งอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการเคลื่อนไหวของของเหลว ความรู้สึกเสียวฟันที่เกิดขึ้นจะทําให้ผู้ป่วยมีความลําบากในการทําความสะอาดช่องปาก ทําให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเกิดความรู้สึกเสียวฟันได้มากขึ้น ดังนั้น จึงมีการคิดค้นสารเคมีช่วยในการลดหรือรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟันขึ้น ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารใดที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดสําหรับผู้ป่วยทุกราย สารเคมีที่ใช้มีทั้งในรูปแบบของยาสีฟัน ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ได้เองที่บ้าน หรือในรูปแบบที่ใช้โดยทันตแพทย์ ได้แก่ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ สตรอนเซียม คลอไรด์ 10% โซเดียมฟลูออไรด์ 33% โซเดียมโมโนฟลูออโรฟอสเฟต 0.76% โซเดียมซิเตรท 2% ในฟลูโรนิค เอฟ 127 เจล โปตัสเซียมไนเตรท 5% และ โปตัสเซียม ออกซาเลท หรือการใช้พลาสติกเรซิน หรือสารยึดติด นอกจากนี้ ควรแนะนําผู้ป่วยโดยเน้นถึงการทําความสะอาด และลดการรับประทานอาหารหรือ เครื่องดื่มที่มีกรดสูง เพราะจะทําให้การรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟันไม่ได้ผล


ความชุกของการเกิดฟันผุระหว่างฟันตัดกลางซี่บนในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง, ภรณี วัชรพงศ์, พัชรินทร์ สุภาพรอด, ไพรัช ธีรวรางกูร May 1992

ความชุกของการเกิดฟันผุระหว่างฟันตัดกลางซี่บนในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง, ภรณี วัชรพงศ์, พัชรินทร์ สุภาพรอด, ไพรัช ธีรวรางกูร

Chulalongkorn University Dental Journal

ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับการผุด้านใกล้กลางของฟันตัดกลางซี่บนทั้งสองซี่ของคนไทยซึ่งโดยทั่วไปแล้วฟันทั้งสองซี่นี้จะอยู่ในสภาพเหมือนกัน ควรมีการผุทางด้านใกล้กลางเท่ากัน แต่ความเป็นจริงนั้นไม่พบทุกรายที่เป็นเช่นนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพรังสีของฟันหน้าบนจากผู้ที่มารับการถ่ายภาพรังสีทั้งหมด 947 คนที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง 2532 ตั้งแต่อายุ 10 ถึง 59 ปี พบว่ามีการผุมากที่สุดในช่วงอายุ 20 ถึง 29 ปี ทั้งในเพศชายและหญิง โดยในจํานวนผู้ที่มีฟันผุนั้น ส่วนมากมีการผุเป็นแบบผุทั้งสองซี่ คิดเป็นร้อยละ 75.08 เมื่อรวมทุกช่วงอายุ คือ 10 ถึง 59 ปี มีค่าเฉลี่ยของการผุในฟันตัดกลางบนขวาต่อการผุในฟันตัดกลางบนซ้าย คิดเป็น 74 คน ต่อ 66 คนและเพศหญิงมีการผุมากกว่าชาย ในทุกช่วงอายุ โดยเพศหญิงผุร้อยละ 32.95 เพศชายผู้ร้อยละ 21.96 จากการวิเคราะห์โดยการทดสอบแบบ ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สรุปได้ว่าแต่ละช่วงอายุมีการผุที่ด้านใกล้กลางไม่เท่ากัน โดยในช่วงอายุ 30 ถึง 39 ปีเพศหญิงและเพศชายมีการผุต่างกันอย่างมีนัย สําคัญที่ระดับ 0.05


คอมเพล็กซ์ โอดอนโตมา : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิโชค รัตนสุวรรณ May 1992

คอมเพล็กซ์ โอดอนโตมา : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิโชค รัตนสุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

คอมเพล็กซ์ โอดอนโตมา เป็นก้อนเนื้องอกที่มีจุดกําเนิดมาจากเนื้อเยื่อที่สร้างฟันพบได้น้อย มักขัดขวางการขึ้นของฟันบริเวณที่เกิดก้อนเนื้องอก บทวิทยาการนี้เป็นรายงานผู้ป่วยหญิงไทย 1 ราย แสดงลักษณะทางคลินิกลักษณะภาพรังสี ผลตรวจและภาพทางจุลพยาธิวิทยาตลอดจนวิธีการรักษาและติดตามผู้ป่วยอย่างละเอียด


อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม May 1992

อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาบริโภคนิสัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะโรคฟันของเด็กวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ซึ่งมาจากครอบครัวที่ระดับฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มอายุ 9 ปี และ 12 ปี จํานวนกลุ่มอายุละ 210 คน ชายและหญิงเท่า ๆ กัน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณสารอาหารที่บริโภคโดยเฉลี่ยต่อวันของเด็กชายและหญิงกลุ่มอายุ 9 ปี และ 12 ปีมีค่าเป็น 35.69, 32.50, 40.78 และ 37.47 กรัม -สําหรับสารอาหารโปรตีน มีค่าเป็น 27.16, 35.68, 40.89 และ 28.24 กรัม-สําหรับสารอาหารไขมัน และมีค่าเป็น 166.86, 155.64, 184.61 และ 174.64 กรัม -สําหรับสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ตามลําดับ ความถี่ของการบริโภคอาหารเฉลี่ย 6 ครั้งต่อวันเป็นการบริโภคอาหารในมื้อเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวันและบริโภคอาหารระหว่างมื้อเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวัน เด็กชายและเด็กหญิงกลุ่มอายุ 9 ปีและ 12 ปีมีคะแนนกิจกรรมการแปรงฟันเฉลี่ยเพียง 2.28, 2.83, 2.47 และ 3.1 ตามลําดับ จากคะแนนเต็ม 6 ซึ่งจากการทดสอบโดยใช้เอฟ-เทส พบว่าเด็กชายมีคะแนนเฉลี่ยต่ํากว่าเด็กหญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( α=0.05) อัตราความชุกของโรคฟันผุสูงร้อยละ 90 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่มอายุ มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 2.6 และ 4.0 ซี่ต่อคนในกลุ่มอายุ 9 ปีและ 12 ปีตามลําดับ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุเชิงเส้นตรง เพื่อหาลําดับความสําคัญของตัวแปร พบว่าความถี่ของการบริโภคอาหารระหว่างมื้อ สามารถใช้ทํานายความแปรปรวนของการปรากฏฟันผุถอนอุดได้ดีที่สุด ( α = 0.01)


ความบริสุทธิ์ของน้ำดื่มน้ำใช้, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ, ไกรวัช วัดตูม May 1992

ความบริสุทธิ์ของน้ำดื่มน้ำใช้, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ, ไกรวัช วัดตูม

Chulalongkorn University Dental Journal

ศึกษาความสะอาดของน้ำด้วยการนําสื่อไฟฟ้าหาความเป็นกรด เป็นด่าง และเพาะเชื้อ พบว่าน้ำฝนปี พ.ศ. 2534 มีสิ่งปนเปื้อนมากกว่าน้ำฝนปี พ.ศ. 2533 ตัวอย่างน้ำฝนและน้ำกลั่นภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเป็นกรดใกล้เคียงกัน แต่น้ำกลั่นมีค่าการนําสื่อไฟฟ้าต่ำที่สุด ต่ำกว่าค่าน้ำมาตรฐานของตํารับยาอังกฤษ น้ำประปาและน้ำดื่ม บรรจุขายในท้องตลาดมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนและมีค่าการนําสื่อไฟฟ้าสูงสุด สามารถแก้ไขได้ด้วยการต้มเดือด น้ำฝน น้ำประปา และน้ำดื่มบรรจุขาย มีเชื้อ บักเตรีแต่ไม่เกินมาตรฐาน เนื่องจากการมีฤทธิ์เป็นกรดของน้ำฝนและน้ำกลั่น ไม่แนะนําให้ใช้บริโภค อาจมีผลเสียต่อเคลือบฟัน ส่วนน้ำประปาและน้ำขายในท้องตลาดควรต้มก่อนบริโภค


การพิมพ์ปากเพื่อทําฟันปลอมทั้งปาก, นภาพร ศิริรัตนาคินทร์, ไพจิตร หัมพานนท์ May 1992

การพิมพ์ปากเพื่อทําฟันปลอมทั้งปาก, นภาพร ศิริรัตนาคินทร์, ไพจิตร หัมพานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การพิมพ์ปาก เป็นขั้นตอนสําคัญในการสร้างฟันปลอมทั้งปาก ควรทราบลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของส่วนรองรับฟันปลอม และกล้ามเนื้อโดยรอบ เพื่อเลือกวิธีการพิมพ์ที่เหมาะสม และสามารถตัดสินว่า รอยพิมพ์ที่ได้นั้น ได้ลอกเลียนลักษณะของส่วนรองรับฟันปลอมที่ถูกต้อง เพื่อนําไปสร้างฟันปลอมให้ผู้ป่วยใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ของทันตแพทย์, กมลเนตร โอฆานุรักษ์, สันต์ศิริ ศรมณี, ลัคนา เหลืองจามีกร, Jeffrey Mandel May 1992

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ของทันตแพทย์, กมลเนตร โอฆานุรักษ์, สันต์ศิริ ศรมณี, ลัคนา เหลืองจามีกร, Jeffrey Mandel

Chulalongkorn University Dental Journal

แบบสอบถามแบ่งออกได้เป็น 6 ส่วนคือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลและการอบรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3) ทัศนคติโดยทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์ 4) ทัศนคติต่อความตั้งใจที่จะให้บริการผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ 5) การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ในระหว่าง การให้บริการทางทันตกรรม และ 6) พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ทันตแพทย์จํานวน 130 คน ได้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ยังปฏิบัติงานทันตกรรมอยู่ และ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับโรคเอดส์แล้ว แต่มีเพียง 15% เท่านั้นที่เคยให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเอดส์ นอกจากนั้นพบว่ากว่า 90% ของทันตแพทย์กลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในระดับที่ดี หากแต่ทัศนคติต่อโรคเอดส์โดยทั่วไปหรือต่อความตั้งใจที่จะให้บริการผู้ป่วยโรคเอดส์นั้น พบว่ามีค่าบวกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทันตแพทย์ทุกคนในการศึกษานี้คิดว่าตนเองจะอยู่ในฐานะที่เสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ ถ้าเขาต้องให้บริการผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการป้องกันแล้วจะพบว่า ทันตแพทย์กลุ่มนี้ขณะที่ตอบแบบสอบถามยังมีพฤติกรรมการป้องกันที่ไม่เพียงพอ สิ่งที่น่าสนใจมากอีกประการหนึ่งก็คือ ทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรมเรื่องโรคเอดส์แล้วนั้น มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีขึ้น แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนทัศนคติหรือพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์อย่างจริงจัง