Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Dental Journal

Canine

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความสัมพันธ์ของฟันคู่หน้าและฟันเขี้ยวกับอินไซซีฟแบบพิลลา, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, อิศราวัลย์ บุณศิริ, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย Jan 1993

ความสัมพันธ์ของฟันคู่หน้าและฟันเขี้ยวกับอินไซซีฟแบบพิลลา, โสภี ชาติสุทธิพันธ์, อิศราวัลย์ บุณศิริ, ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย

Chulalongkorn University Dental Journal

อินไซซีฟแพบพิลลาเป็นตําแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ที่มีความสําคัญเป็นที่ยอมรับในการกําหนดตําแหน่งของฟันคู่หน้า จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาเพื่อหาข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน เพื่อใช้เป็นการกําหนดตําแหน่งฟันหน้าของคนไทยในการทําฟันปลอม จากการศึกษาแบบหล่อสภาพช่องปากจํานวน 510 แบบ พบว่าอินไซซีฟแพบพิลลา มีรูปร่าง 7 แบบคือ แพร์ หยดน้ำ รูปไข่ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม กลม และรูปร่างไม่แน่นอน รูปแพร์ มีมากที่สุดถึง 32.75% จากการศึกษาแบบหล่อที่คัดแล้วจํานวน 360 แบบ ระยะจากจุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงปลายฟันคู่หน้ามีค่าเฉลี่ย 11.093 มม. และกําหนดใช้ระยะของจุดนี้ได้ตั้งแต่ 10.932 มม. ถึง 11.254 มม. ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95% ระยะจากจุดสุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงจุดที่ยื่นที่สุดด้าน เลเบียลของฟันคู่หน้ามีค่าเฉลี่ย 12.114 มม. และกําหนดใช้ได้ตั้งแต่ 11.959 มม. ถึง 12.269 มม. ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95% ระยะจุดสุดท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลาถึงแนวฟันเขี้ยวตัดกับเส้นกลางเพดานมีค่าเฉลี่ย 2.055 มม. ระยะจากเขี้ยวขวาถึงเขี้ยวซ้ายมีค่าเฉลี่ย 35.457 มม. โดยมีค่ากําหนดตั้งแต่ 35.246 มม. ถึง 35.667 มม. ภายใต้ระดับความเชื่อมั่น 95% ความสูงจากปลายฟันคู่หน้าถึงด้านท้ายของอินไซซีฟแพบพิลลามีค่าเฉลี่ย 7.088 มม. และกําหนดค่าได้ตั้งแต่ 6.943 มม. ถึง 7.233 มม. ค่าที่ได้เหล่านี้สามารถหาความสัมพันธ์เป็นสมการได้เมื่อนําไปหาระยะต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยกําหนดแนวและความสูงของแท่งขี้ผึ้งที่ใช้เป็นแนวในการเรียงฟันหน้า