Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

เมตาสแตติคคอริโอคาร์ซิโนมาของช่องปาก : รายงานผู้ป่วย, สุรศักดิ์ ชี้รัตน์ Sep 1995

เมตาสแตติคคอริโอคาร์ซิโนมาของช่องปาก : รายงานผู้ป่วย, สุรศักดิ์ ชี้รัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วยหนึ่งราย เป็นหญิงจีน อายุ 36 ปี มีก้อนเนื้องอกสีแดงจัด ลักษณะอ่อนนุ่ม เลือดออกง่าย งอกขึ้นมาจากแผลถอนฟันของเบ้ากระดูกรองรับฟันที่ไม่หายและเหงือกบริเวณ 22 วินิจฉัยทางคลินิกว่าเป็นมะเร็ง ลักษณะจุลพยาธิวิทยาของเนื้องอกนี้ ประกอบด้วยไซโตทรอโฟบลาสและซินไซติโอทรอโฟบลาสและพบบริเวณที่มีเลือดออกและเนื้อตายจากขาดเลือดอยู่ใต้เยื่อบุผิวช่องปาก ผลการวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยาเป็น "เมตาสแตติคคอริโอคาร์ซิโนมาของเหงือกและกระดูกแม็กซิลลา บริเวณ 22"


การประเมินผลการรักษาเทมโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์, พนมพร วานิชชานนท์, สวิชญา สามไชย, สุพัตรา ปรีชานุสรณ์ Sep 1995

การประเมินผลการรักษาเทมโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ โดยใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์, พนมพร วานิชชานนท์, สวิชญา สามไชย, สุพัตรา ปรีชานุสรณ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัจจุบันการดูแลรักษาผู้ป่วยเทมโพโรแมนดิบิวลาร์ดิสออเดอร์ (TMD) นิยมใช้วิธีอนุรักษ์และผันกลับได้ (conservative and reversible treatment) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่วย TMD ที่เคยรับการรักษาด้วยออกคลูซอลสปลินต์ชนิดเรียบจากคลินิกทันตกรรมบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2537 การสํารวจนี้ใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ส่งไปให้ผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษานานกว่า 6 เดือน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 200 ราย (อัตราตอบแบบสอบถามกลับคืน ร้อยละ 50.9) แยกเป็นเพศหญิงร้อยละ 77.0 และเพศชายร้อยละ 23.0 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มรักษาจนถึงเมื่อส่งแบบสอบถาม 30.3 ± 13.4 เดือน เมื่อจําแนกผลการรักษาตามอาการสําคัญของผู้ป่วยซึ่งได้แก่ (1) อาการปวด 108 ราย (2) ความผิดปกติในการทําหน้าที่ 56 ราย (3) อาการปวดร่วมกับความผิดปกติในการทําหน้าที่ 36 ราย พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเล็กน้อยหรือดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจหลังจากได้รับการรักษา ร้อยละ 85.2, ร้อยละ 74.1 และร้อยละ 80.6 ตามลําดับ เมื่อวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์ พบว่าอาการสําคัญแต่ละกลุ่มดังกล่าวตอบสนองต่อการรักษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>.05) ผู้ป่วย (ร้อยละ 19.4) ประเมินประโยชน์ของ ออกคลูซอลสปลินต์ในระดับ 8 มากกว่าระดับอื่น (จากสเกล 0 ถึง 10) ในขณะติดตามผลพบว่าอาการที่ยังคงปรากฏในผู้ป่วยมากที่สุด ได้แก่ การมีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร (ร้อยละ 62.5) ผลการสํารวจแสดงว่าทั้งอาการปวดและการทําหน้าที่ผิดปกติของระบบการบดเคี้ยวตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยการใช้ออกคลูซอลสปลินต์เป็นหลัก ดังนั้นจึงสนับสนุนการเลือกใช้วิธีอนุรักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย TMD ในเบื้องต้น


กําลังตัดขวาง และความสามารถในการถูกดัดงอของอะคริลิก เรซิน ชนิดบ่มด้วยตัวเองสําหรับใช้ทําถาดพิมพ์ปาก, สมภพ เบญจฤทธิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กนกวรรณ จรูญภัทรพงษ์, ลัดดา ผ่องรัศมีโรจน์ Sep 1995

กําลังตัดขวาง และความสามารถในการถูกดัดงอของอะคริลิก เรซิน ชนิดบ่มด้วยตัวเองสําหรับใช้ทําถาดพิมพ์ปาก, สมภพ เบญจฤทธิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล, กนกวรรณ จรูญภัทรพงษ์, ลัดดา ผ่องรัศมีโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มุ่งที่จะหาความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่ทิ้งไว้ตั้งแต่เริ่มผสม กับกําลังตัดขวางที่เปลี่ยนแปลงไปของอะคริลิกเรซิน ชนิดบ่มเองสําหรับใช้ทําถาดพิมพ์ปาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่ ฟอร์มาเทรย์ (Formatray), สเปเชียล เทรย์ (Special Tray) และ รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ (Ruthinium Acry Tray) โดยสร้างชิ้นตัวอย่างตามมาตรฐาน ไอเอสโอ หมายเลข อาร์ 1567 (ISO R1567) จํานวนยี่ห้อละ 30 ชิ้น โดยแบ่งแต่ละยี่ห้อออกเป็นยี่ห้อละ 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 ชิ้น ทิ้งไว้ในอากาศ ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1, 7 และ 14 วันหลังจากเริ่มผสม เมื่อครบกําหนดเวลานําไป ทดสอบด้วยวิธีการตัด 3 จุด (3-Point Bending) ด้วยเครื่องลอยด์ ยูนิเวอร์ซัล เทสติง (Lloyd Universal Testing Machine) แล้วนําค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการถูกดัดงอของวัสดุก่อนหัก นําไปวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบด้วย ดันแคน นิวมัลติเพิล เรนจ์ (Duncan's new multiple range test) พบว่าค่ากําลังตัดขวางจะสูงขึ้น เมื่อทิ้งวัสดุไว้นานขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลาเดียวกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ค่าเฉลี่ยกําลังตัดขวาง ที่ 1 วัน และ 7 วัน ของ สเปเชียล เทรย์ สูงที่สุด รองลงมาคือ ฟอร์มาเทรย์ และ รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ ตามลําดับ ส่วนที่ 14 วัน สเปเชียล เทรย์ สูงที่สุด รองลงมาคือ รูทิเนียม อไครย์ เทรย์ …


สภาวะโรคฟันผุของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538, จารุวรรณ ตันกุรานันท์ Sep 1995

สภาวะโรคฟันผุของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538, จารุวรรณ ตันกุรานันท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสํารวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาสภาวะโรคฟันผุของนักเรียนอายุ 12 ปี ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 18 โรง จํานวน 338 คน พบว่า มีอัตราชุกของโรคฟันผุร้อยละ 82.8 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดเป็นซี่ ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.94±2.20 ต่ำกว่าผลการสํารวจในปี พ.ศ. 2534 โดยกองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร แสดงว่าผลการดําเนินงานทันตสาธารณสุขของกองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประสบความสําเร็จในระดับหนึ่ง แต่อัตราฟันผุถอนอุดของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งยังคงสูงมาก คือ ปริมาณฟันผุถอนอุดของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งบนขวา ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งบนซ้าย ฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งล่างซ้าย และฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ล่างขวา เท่ากับร้อยละ 46.5, 47.9, 63.0 และ 65.4 ตามลําดับ ดังนั้นจึงแนะนําให้ใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน ป้องกันการผุของฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งเป็นมาตรการหนึ่งของการดําเนินงานทันตสาธารณสุขในกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนักเรียนประถมศึกษาของกองทันตสาธารณสุข สํานักอนามัย เพื่อให้ประสบความสําเร็จดียิ่งขึ้น


การตรวจหาไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ ชนิดเดี่ยว ๆ ที่มีอยู่ในช่องปากจํานวน 23 ชนิด โดยวิธีดับเบิลเลย์ อาการ์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ Sep 1995

การตรวจหาไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ ชนิดเดี่ยว ๆ ที่มีอยู่ในช่องปากจํานวน 23 ชนิด โดยวิธีดับเบิลเลย์ อาการ์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วิธี Double layer agar เป็นวิธีตรวจหาความสามารถในการผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ของเชื้อจุลินทรีย์ ในช่องปากพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งผลที่ปรากฏออกมาให้ตรวจสอบได้ว่าเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ขึ้น สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า


การถอนฟันกรามล่างคุดซี่ที่สามขณะที่มีอาการเหงือกอักเสบเฉียบพลัน, วัชรา เปรุนาวิน Sep 1995

การถอนฟันกรามล่างคุดซี่ที่สามขณะที่มีอาการเหงือกอักเสบเฉียบพลัน, วัชรา เปรุนาวิน

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาเปรียบเทียบผลทางคลินิกเกี่ยวกับอาการบวมของใบหน้า การอ้าปาก และการอักเสบจากการถอนฟันกรามล่างคุดซี่ที่สามชนิดตั้งตรงขณะที่มีการอักเสบ โดยศึกษาในผู้ป่วย 60 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งได้รับยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบโดยยังไม่ถอนฟัน กลุ่มที่สองได้รับการถอนฟันในทันทีพร้อมกับได้รับยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบชนิดเดียวกัน หลังถอนฟันพบว่า การบวมในระหว่างสองกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติ (P<0.01) แต่การอ้าปากในระหว่างสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P>0.01)


การศึกษาเส้นใยอีลาสติคของเหงือก และเอ็นยึดปริทันต์ในคน, สมพร สวัสดิสรรพ์, นพดล ศุภพิพัฒน์, อดุลย์ หะสาเมาะ, มาลี ตั้งพิสิฐโยธิน May 1995

การศึกษาเส้นใยอีลาสติคของเหงือก และเอ็นยึดปริทันต์ในคน, สมพร สวัสดิสรรพ์, นพดล ศุภพิพัฒน์, อดุลย์ หะสาเมาะ, มาลี ตั้งพิสิฐโยธิน

Chulalongkorn University Dental Journal

เส้นใยอีลาสติคเป็นโครงสร้างเส้นใยที่ทําให้เกิดความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายจากการศึกษาโดยวิธีอิมมูโนฟลูออเรสเซนซ์โดยใช้แอนติบอดีเป็นตัวบ่งชี้เส้นใยอีลาสติค พบว่าในเหงือกปกติของคนมีปริมาณของเส้นใยอีลาสติคมากมายในส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อยึดต่อ การศึกษาโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ ทรานสมิทชั่นในเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์ แสดงให้เห็นว่าเส้นใยอีลาสติคในเนื้อเยื่อทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกัน เส้นใยนี้ในเหงือกประกอบด้วยแกนกลางที่เป็นสารอสัณฐานล้อมรอบด้วยไมโครไฟบริลที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบ แต่ในเอ็นยึดปริทันต์พบว่าเส้นใยอีลาสติกประกอบไปด้วยไมโครไฟบริลที่เรียงตัวขนานกันอย่างมีระเบียบโดยไม่มีสารอสัณฐาน เป็นแกน จากการใช้แอนติบอดีที่เฉพาะเจาะจงต่อเส้นใยอีลาสติคศึกษาในเอ็นยึดปริทันต์ พบว่าแอนติบอดีสามารถทําปฏิกิริยากับไมโครไฟบริลของเส้นใยออกซิททัลแลน ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีรายงานพบในเอ็นยึดปริทันต์ ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าไมโครไฟบริลของเส้นใยออกซิททัลแลนและเส้นใยอีลาสติคในเอ็นยึดปริทันต์ อาจเป็นชนิดเดียวกัน หรืออยู่ในตระกูลเดียวกัน มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน และเหมือนกับอีลาสติคไมโครไฟบริลที่พบในเนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกายด้วย


ลักษณะขอบด้านใกล้เหงือกของแควิตีคลาสไฟว์เมื่อถูกกรดกัด : การศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, กิตติพงษ์ รัตนประพันธ์พร, วัลลภ สุวรรณมโน May 1995

ลักษณะขอบด้านใกล้เหงือกของแควิตีคลาสไฟว์เมื่อถูกกรดกัด : การศึกษาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์, กิตติพงษ์ รัตนประพันธ์พร, วัลลภ สุวรรณมโน

Chulalongkorn University Dental Journal

การบูรณะบริเวณคอฟันด้วยคอมโพสิต เรซินมักพบว่าเกิดรอยรั่วที่ขอบที่บริเวณด้านใกล้เหงือกเสมอ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับขอบด้านใกล้เหงือกของแควิตีคลาสไฟว์ที่ระดับต่าง ๆ จากรอยต่อเคลือบรากฟันและเคลือบฟัน เมื่อถูกกรดกัด โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การทดลองทําโดยใช้ฟันกรามน้อยของมนุษย์ที่ถูกถอนจํานวน 9 ซี่ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 3 ซี่ ทําการกรอแควิตีคลาสไฟว์ทั้งทางด้านแก้มและด้านลิ้นโดยในกลุ่ม ที่ 1 มีขอบด้านใกล้เหงือกอยู่ที่ระดับรอยต่อเคลือบรากฟันและเคลือบฟันพอดี กลุ่มที่ 2 ขอบด้านใกล้เหงือกอยู่เหนือรอยต่อเคลือบรากฟันและเคลือบฟัน 1 มม. และกลุ่มที่ 3 อยู่เหนือรอยต่อเคลือบรากฟันและเคลือบฟัน 2 มม. แควิตีทางด้านแก้มมีการปาดขอบเป็นมุม 45 องศา ส่วนทางด้านลิ้นขอบทําเป็นมุมฉาก แล้วนําไปกัดด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้น 37% นาน 30 วินาที ล้างและเป่าแห้ง แล้วนําไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มที่ 1 ไม่มีเคลือบฟันเหลืออยู่ที่ขอบด้านใกล้เหงือกเลย ในกลุ่มที่ 2 พบว่าเหลือเคลือบฟันเป็นหย่อม ๆ หรือไม่เหลือเลย และในกลุ่มที่ 3 พบว่ามีเคลือบฟันเหลือมากพอที่ขอบด้านใกล้เหงือกสําหรับทําการใช้กรดกัดเพื่อให้ได้การยึดติดที่ดีของคอมโพสิต เรซิน


Cat's Vallate Papilla, Nualnoi Wechbanjong, Wandee Apinhasmit, Pansiri Phansuwan May 1995

Cat's Vallate Papilla, Nualnoi Wechbanjong, Wandee Apinhasmit, Pansiri Phansuwan

Chulalongkorn University Dental Journal

So far, no one has reported about the morphology of the cat's vallate papilla. Two adult cat's tongues were investigated by using light microscopy. The results revealed that each tongue contained 7 and 8 papillae, respectively, arranging in a V-shaped form. According to their location and configuration, the papillae were classified into 2 types. Type I, the papillae of which embedded deeply under the tongue mucosa. This type of papillae had the flower-bud shape with their trenches opened into the narrow canals which led to the oral cavity. Type II, the papillae of this type had their apices reaching the …


สภาวะทันตสุขภาพและสภาวะโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน, สุวรรณ วัฒนวิทย์, จินตนา โพคะรัตน์ศิริ May 1995

สภาวะทันตสุขภาพและสภาวะโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน, สุวรรณ วัฒนวิทย์, จินตนา โพคะรัตน์ศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจสภาวะทันตสุขภาพ ความชุก และความรุนแรงของโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เพื่อกําหนดแนวทางเป็นรูปธรรมสําหรับการให้บริการทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยดังกล่าว การศึกษากระทําโดยการคัดเลือกผู้ป่วย จํานวน 200 คนจากคลินิกโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยที่ผู้ป่วยเหล่านั้นเป็นผู้ที่มารับการรักษาจากคลินิกดังกล่าวติดต่อกันอย่างน้อยสองครั้ง และผู้ป่วยไม่ได้รับยาอื่นใดที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดนอกเหนือจากยาควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดตามปกติ ผู้ป่วยจะได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลภายหลังอดอาหารตลอดคืน (Fasting Blood Sugar; FBS) และ ยืนยันผลด้วยระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ (Hemoglobin A1 ; HbA1) พร้อมทั้งได้รับการตรวจและจดบันทึก ข้อมูลต่าง ๆ ตามแบบบันทึกที่สร้างขึ้น ซึ่งประกอบด้วย แบบบันทึกสภาวะทันตสุขภาพและแบบบันทึกสภาวะต่าง ๆ ทางปริทันต์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59 ปี ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ถึงร้อยละ 75 มีฟันในปากเฉลี่ย 16.5 ที่ต่อคน มีค่าดัชนีฟันผุ ถอน อุดเฉลี่ย 15.4 ต่อคน การทําลายเยื่อยึดปริทันต์ตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป มีความชุกร้อยละ 93.3 ความลึกของร่องลึกปริทันต์ตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไปมีความชุกร้อยละ 57.1 หินน้ำลายใต้เหงือกมีความชุกร้อยละ 98.1 มีคราบจุลินทรีย์ปกคลุมตัวฟันและมีเหงือกอักเสบทุกรายซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 100 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การสร้างพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพด้วยตนเองของผู้ป่วยและการให้การรักษาทางทันตกรรมควบคู่ไปกับการรักษาโรคเบาหวาน เป็นสิ่งที่จําเป็นสําหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน


การเปรียบเทียบผลของฟาร์มเมอร์รีดิวเซอร์ กับ น้ำยาฟอกจางต่อการลดความเข้มภาพรังสี, การุณ เวโรจน์, สั่งสม ประกายสาธก, รติกร กิจธาดา May 1995

การเปรียบเทียบผลของฟาร์มเมอร์รีดิวเซอร์ กับ น้ำยาฟอกจางต่อการลดความเข้มภาพรังสี, การุณ เวโรจน์, สั่งสม ประกายสาธก, รติกร กิจธาดา

Chulalongkorn University Dental Journal

ภาพรังสีที่มีความเข้มสูงจะทําให้การพิจารณารายละเอียดของภาพรังสีด้อยประสิทธิภาพ หรือ ผิดพลาดได้ การแก้ไขโดยการถ่ายภาพรังสีใหม่ นอกจากเป็นการเพิ่มโอกาสในการรับรังสีของผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มากขึ้น แล้วยังเป็นการสิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย การลดความเข้มภาพรังสีโดยการใช้สารเคมีเป็นวิธีการหนึ่งที่ ช่วยให้ภาพรังสีที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น จึงได้ทดลองใช้น้ํายาฟอกจางคลอรอกซ์ (Clorox) มาลดความเข้มภาพรังสี แล้วเปรียบเทียบความสามารถในการเปลี่ยนแปลงความเข้ม และการเปรียบต่างของภาพรังสีเมื่อใช้ฟาร์มเมอร์รีดิวเซอร์(Farmer's reducer)ทําการถ่ายภาพรังสีแห่งโลหะทึบรังสีรูปขั้นบันได ให้มีความเข้มภาพรังสีเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความ เข้มต่ำ กลาง และ สูง ทําการแบ่งแต่ละกลุ่มความเข้มภาพรังสีเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดอ้างอิง ชุดที่ลดความเข้มโดย การใช้น้ำยาฟอกจางคลอรอกซ์ และชุดที่ลดความเข้มโดยการใช้ฟาร์มเมอร์รีดิวเซอร์ ตามลําดับ ทําการวัดค่าความ เข้มภาพรังสีโดยมาตรวัดความเข้มแสง (Densitometer) ในแต่ละชุดจากการศึกษาพบว่าฟอร์มเมอร์รีดิวเซอร์สามารถลดความเข้มภาพรังสีได้มาก หรือ น้อยขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ฟิล์มแช่อยู่ในสารเคมีโดยค่าการเปรียบต่างของภาพรังสีจะลดลงในภาพรังสีที่มีค่าการเปรียบต่างสูงได้ในอัตราที่ มากกว่าภาพรังสีที่มีค่าการเปรียบต่างต่ํากว่า ส่วนน้ํายาฟอกจางสามารถลดความเข้มภาพรังสีลงได้ร้อยละ 45.71 ± 1.25 และการเปรียบต่างของภาพรังสีจะลดลงในภาพรังสีที่มีค่าการเปรียบต่างสูงได้ในอัตราที่มากกว่าภาพรังสีที่มีค่า การเปรียบต่างต่ํา น้ํายาฟอกจางเป็นสารเคมีที่มีช่วงความสามารถในการลดความเข้มภาพรังสีแคบกว่าการใช้ฟาร์ม- เมอร์รีดิวเซอร์เพื่อการซึ่งเป็นสารเคมีที่มีช่วงความสามารถลดความเข้มภาพรังสีได้กว้างกว่า โดยขึ้นอยู่กับเวลาที่แช่ฟิล์ม ไว้ในน้ํายา แต่การใช้น้ำยาฟอกจางคลอรอกซ์เป็นวิธีการที่ทําได้สะดวก รวดเร็ว ทั้งเป็นสารที่สามารถจัดหา ใช้งานได้ง่ายขณะที่ฟาร์มเมอร์รีดิวเซอร์เป็นสารเคมีที่มีส่วนประกอบบางชนิดเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เป็นสารเคมีที่ไม่ คงตัว อายุการใช้งานสั้น การใช้งานแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ผลดีจึงต้องมีการเตรียมขึ้นใหม่ทําให้ไม่สะดวก


ความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยในโรงเรียนทันตแพทย์, อารีย์ เจนกิตติวงศ์, อตินุช ชยานุภัทร์กุล, ทัศณีย์ มานพจันทโรจน์ May 1995

ความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยในโรงเรียนทันตแพทย์, อารีย์ เจนกิตติวงศ์, อตินุช ชยานุภัทร์กุล, ทัศณีย์ มานพจันทโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสํารวจแฟ้มประวัติทางทันตกรรมของผู้ป่วยจํานวน 4238 รายเพื่อประมวลชนิดและความถี่ของความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยในโรงเรียนทันตแพทย์ พบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเป็นกลุ่มหนุ่มสาวและจํานวนผู้ป่วยที่มาขอรับบริการทางทันตกรรมลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยอายุน้อยให้ความสนใจต่อทันตสุขภาพมากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้แก่ การอุดฟัน ร้อยละ 44.6 การขูดหินน้ำลาย และรักษาโรคปริทันต์ร้อยละ 43.1 ศัลยกรรมช่องปากร้อยละ 42.9 และการใส่ฟันร้อยละ 25.8 ร้อยละ 48.5 ของผู้ป่วยมีความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรม หนึ่งชนิด ที่เหลืออีกร้อยละ 51.5 มีความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไป กลุ่มหนุ่มสาวและผู้ใหญ่มีความจําเป็นในการรักษาส่วนใหญ่ในด้านอุดฟัน ศัลยกรรมช่องปาก ขูดหินน้ำลายและรักษาโรคปริทันต์ ขณะที่ผู้สูงอายุมีความจําเป็นในด้านใส่ฟัน ศัลยกรรมช่องปาก ขูดหินน้ำลายและรักษาโรคปริทันต์ เนื่องจากการอุดฟัน และการรักษาโรคปริทันต์ซึ่งจัดเป็นการรักษาทางทันตกรรมป้องกัน เป็นความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ควรได้รับ ดังนั้นจึงเห็นควรเสนอให้มีการขยายการบริการทางทันตกรรมในสองด้านนี้เป็นพิเศษ


ปะกิณกะ : ประมาทเลินเล่อทางทันตปฏิบัติ, สุรินทร์ ตั้งสถภูมิ May 1995

ปะกิณกะ : ประมาทเลินเล่อทางทันตปฏิบัติ, สุรินทร์ ตั้งสถภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การเปรียบเทียบผลของยาไอบูโปรเฟนกับยาพาราเซตตามอลเกี่ยวกับอาการปวดบวมและอ้าปากจํากัดภายหลังการผ่าตัดฟันคุดของฟันกรามล่างซี่ที่สาม, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, พรรณี เอื้อสุวรรณา, พรรณทิพ ธรรมภาณ Jan 1995

การเปรียบเทียบผลของยาไอบูโปรเฟนกับยาพาราเซตตามอลเกี่ยวกับอาการปวดบวมและอ้าปากจํากัดภายหลังการผ่าตัดฟันคุดของฟันกรามล่างซี่ที่สาม, ชัยวัฒน์ ปิ่นน้อย, พรรณี เอื้อสุวรรณา, พรรณทิพ ธรรมภาณ

Chulalongkorn University Dental Journal

ศึกษาผลของยาไอบูโปรเฟน 800 มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับยาพาราเซทตามอล 1000 มิลลิกรัม เกี่ยวกับ การระงับอาการปวด บวม และการอ้าปากจํากัดภายหลังการผ่าตัดฟันคุดของฟันกรามล่างซี่ที่สาม โดยทําการวิจัยในผู้ป่วย 26 ราย เป็นชาย 7 คน หญิง 19 คน อายุอยู่ระหว่าง 17 - 21 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ในกลุ่มที่หนึ่ง ผู้ป่วย 12 คน ได้รับยาไอบูโปรเฟน มีระดับความยากในการถอนฟันเท่ากับ 1.94 ± 0.50 ใช้เวลาในการถอนฟัน เฉลี่ย 17.66 ± 4.80 นาที ในกลุ่มที่สอง ผู้ป่วย 14 คน ได้รับยาพาราเซทตามอล มีระดับความยากของการ ถอนฟันเท่ากับ 1.67 ± 0.41 ใช้เวลาในการถอนฟันเฉลี่ย 15.5 ± 5.06 นาที ระดับความยาก และระยะเวลา เฉลี่ยที่ใช้ในการถอนฟันทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P > 0.01) จากผลการวิจัยพบว่า อาการบวมและการอ้าปากจํากัดของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P > 0.01) แต่พบว่ายาไอบูโปรเฟน สามารถลดอาการปวดภายใน 24 ชั่วโมง หลังการผ่าตัด ได้ดีกว่ายาพาราเซทตามอลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) ไม่พบอาการแทรกซ้อนของยาเกิดขึ้นตลอดการวิจัย


การศึกษาการกําจัดน้ำตาลในน้ำลายโดยใช้ แผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลเปรียบเทียบกับวิธีเทียบสี, พรศรี ปฏิมานุเกษม, ภานุ สุภัทราวิวัฒน์, มานะ บุญยืน Jan 1995

การศึกษาการกําจัดน้ำตาลในน้ำลายโดยใช้ แผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลเปรียบเทียบกับวิธีเทียบสี, พรศรี ปฏิมานุเกษม, ภานุ สุภัทราวิวัฒน์, มานะ บุญยืน

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาต่าง ๆ ที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณและระยะเวลาที่น้ำตาลตกค้างในช่องปากมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุ การศึกษาส่วนใหญ่กระทําโดยการหาปริมาณน้ำตาลในน้ำลายภายหลังการอมสาร ละลายกลูโคสแล้วบ้วนทิ้งด้วยวิธีเทียบสีซึ่งเป็นวิธีที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีความถูกต้อง แม่นยําสูง อย่างไรก็ตามวิธี เทียบสีจําเป็นต้องใช้เครื่องมือยุ่งยาก คือ เครื่องเทียบสีและต้องมีวัสดุอุปกรณ์อื่นอีกหลายอย่าง ทําให้ไม่สะดวกในการนําไปศึกษาภาคสนาม การทดลองครั้งนี้จึงนําแผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลซึ่งสามารถบอกปริมาณวิเคราะห์ของน้ำตาลในน้ำลายได้ โดยสังเกตการเปลี่ยนสีด้วยตาเปล่ามาทดลองใช้ จากการหาปริมาณกลูโคสในน้ำลายที่เวลา 3,5,7,9 และ 11 นาที หลังการอมสารละลายกลูโคสความเข้มข้น 50% นาน 2 นาที พบว่า ปริมาณน้ำตาลในน้ำลายที่ตรวจวิเคราะห์ได้ด้วยแผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลไม่แตกต่างจากปริมาณที่วิเคราะห์ได้ด้วยวิธีเทียบสีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P = 0.05) จากข้อมูลครั้งนี้กล่าวได้ว่า แผ่นพลาสติกตรวจน้ำตาลใช้แทนวิธีเทียบสีได้ สามารถนําไปใช้ศึกษาการ กําจัดน้ำตาลจากน้ำลายภาคสนามเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์อุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุในชุมชน และการให้ทันตกรรมป้องกันต่อไป


ทัศนคติของประชากรที่มีต่อการบริการทันตกรรมโรงพยาบาลระยอง, อรนุช บุญรังสิมันตุ์, ศันสนีย์ ธนกิจกร Jan 1995

ทัศนคติของประชากรที่มีต่อการบริการทันตกรรมโรงพยาบาลระยอง, อรนุช บุญรังสิมันตุ์, ศันสนีย์ ธนกิจกร

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสํารวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลระยอง และต้องการทราบข้อมูลพื้นฐานสําหรับเปิดคลินิคผู้ป่วยทันตกรรมนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลระยอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการและประชาชนทั่วไป โดยใช้แบบสอบถาม ถามกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 336 ราย ในช่วงระยะเวลา มกราคม-พฤษภาคม 2537 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในแง่บวก ต่อการบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลระยองสูงถึง ร้อยละ 81.3 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งเคยไปใช้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อศึกษาหัวข้อของความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลระยอง ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับดี แต่มีข้อที่ความพึงพอใจระดับต่ำ คือ ความยุ่งยากในขั้นตอนของการมารับบริการ และเวลาที่สูญเสียในการรอรับบริการ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจของปัจจัย ที่มีระดับนัยสําคัญ (alpha = 0.05) คือ กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาน้อย มีรายได้ต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำจะเลือก เข้ารับบริการของรัฐมากกว่า และกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้สูง จะเลือกรับบริการทั้งภาครัฐและเอกชน ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนํามาเป็นแนวทางที่จะนํามาเปิดการบริการทันตกรรมนอกเวลาของโรงพยาบาลระยองได้ ผู้ที่คาดว่าจะมาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเพศหญิง


ยาที่กระตุ้นให้เกิดรอยโรคคล้ายไลเคน พลานัส, กอบกาญจน์ ทองประสม, กนิษฐ์ วงศ์รุ่งโรจน์กิจ, มนวิภา ศรีวงศ์จรรยา Jan 1995

ยาที่กระตุ้นให้เกิดรอยโรคคล้ายไลเคน พลานัส, กอบกาญจน์ ทองประสม, กนิษฐ์ วงศ์รุ่งโรจน์กิจ, มนวิภา ศรีวงศ์จรรยา

Chulalongkorn University Dental Journal

ไลเคน พลานัส เป็นรอยโรคเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน การใช้ยารักษาโรคทางระบบหลายชนิด สามารถกระตุ้นให้เกิดรอยโรคในช่องปากและผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกและทางพยาธิวิทยาคล้ายไลเคน พลานัสได้ จากการศึกษาผู้ป่วยไลเคน พลานัส ในจํานวน 81 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาและไม่ได้รับยารักษาโรคทางระบบ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 41-60 ปี บริเวณที่ตรวจพบรอยโรคมากที่สุดคือบริเวณกระพุ้งแก้ม รองลงมาคือ เหงือกกับบริเวณรอยต่อระหว่างกระพุ้งแก้มกับเหงือกริมฝีปาก เพดานปาก ลิ้น และพื้นช่องปากตามลําดับ จากการเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาและไม่ได้รับยารักษาโรค พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคมีความสัมพันธ์กับชนิดของการเกิดไลเคน พลานัสในช่องปากอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.025) คือผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคจะมีโอกาสเป็น ไลเคน พลานัส ชนิดอีโรซีฟ มากกว่าชนิดไม่อีโรซีฟ โดยพบว่าผู้ป่วยมักใช้ยากลุ่ม antihypertensive มากที่สุด รองลงมาคือ NSAIDS, hypoglycemic และยาอื่น ๆ ตามลําดับ


ถุงน้ำเดนติเจอรัส, พวงเพชร อิฐรัตน์ Jan 1995

ถุงน้ำเดนติเจอรัส, พวงเพชร อิฐรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

ถุงน้ำเดนเจอรัสเป็นถุงน้ำที่มีจุดกําเนิดที่เกี่ยวกับการเกิดของฟันโดยลักษณะของถุงน้ำจะคลุมอยู่รอบตัวฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือในฟันที่กําลังจะโผล่ขึ้นมาในช่องปาก โดยที่ตัวฟันนั้นเจริญเติบโตเต็มที่เรียบร้อยแล้ว บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วย 2 ราย ที่มีถุงน้ำขนาดใหญ่ โดยผู้ป่วยรายแรกมีถุงน้ำเดนเจอรัสที่เกิดจากฟันเกินเบียดลึกเข้าไปในโพรงอากาศแม็กซิลล่า ข้างขวาบริเวณฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งทําให้ใบหน้า 2 ข้างไม่เท่ากัน ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 มีถุงน้ำเดนติเจอรัสขนาดใหญ่ที่เกิดจากฟันคุดกรามล่างซี่สุดท้ายในกระดูกขากรรไกรล่างข้างขวาทําให้มีอาการชาบริเวณริมฝีปากล่างข้างขวา นอกจากนั้นยังได้รายงานถึงลักษณะอาการทางคลีนิก ลักษณะภาพถ่ายรังสี ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา การรักษาและการพยากรณ์ของถุงน้ำชนิดนี้ด้วย


การฉีดยาชาที่เพดานปาก, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ Jan 1995

การฉีดยาชาที่เพดานปาก, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

ศึกษาถึงความเจ็บปวดจากวิธีการฉีดยาชาแบบอินฟิลเตรชันที่เพดานปากสามตําแหน่งจากประชากร 200 ราย พบว่าบริเวณส่วนหน้าของเพดานปาก การแทงเข็มฉีดยาให้แนวเข็มขนานกับแนวแกนของกระดูกเพดาน ความเจ็บปวดจะน้อยกว่าการแทงเข็มตั้งฉากกับแนวแกนของกระดูกเพดานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.05) บริเวณส่วนหลังของเพดานปาก การแทงเข็มฉีดยาให้แนวเข็มตั้งฉากกับแนวแกนของกระดูกเพดาน ความเจ็บปวดจะน้อยกว่าการแทงเข็มขนานกับแนวแกนของกระดูกเพดานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนบริเวณส่วนกลางของเพดานปากไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≥0.05) ระหว่างการแทงเข็มฉีดยาให้แนวเข็ม ขนานและตั้งฉากกับแนวแกนของกระดูกเพดาน การหันส่วนปาดลาดของปลายเข็มออกจากตัวฟัน ความเจ็บปวด จะมีความแตกต่างกันทางคลินิก โดยความเจ็บปวดจะน้อยกว่า คิดเป็นร้อยละ 36, 64 และ 56 ตามลําดับ เมื่อฉีดยาชาบริเวณเพดานปากตรงตําแหน่งปลายรากฟันของฟันตัดบนข้าง ฟันกรามน้อยบนที่ 1 และฟันกรามบน ซีที่ 1 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P ≥ 0.05)


ปะกิณกะ : บทคัดย่อเอกสาร Jan 1995

ปะกิณกะ : บทคัดย่อเอกสาร

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.