Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn Medical Journal

2015

ความเครียด

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภควัต วงศ์ไทย, ชัยชนะ นิ่มนวล Sep 2015

ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภควัต วงศ์ไทย, ชัยชนะ นิ่มนวล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นิสิตจะต้องใช้ความสามารถทั้งด้านศิลปะ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์แบบ และในระหว่างที่กำลัง ศึกษายังมีเรื่องของเวลา คณาจารย์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของคณะเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนิสิตวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยในเรื่องการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่การทำการศึกษา : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 - 5 ปีการศึกษา 2557จำนวนทั้งสิ้น 323 คน โดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความเครียด สถิติที่ใช้ได้แก่ Descriptive Statistic, Chi-Square Testและ Multiple Logistic Regression Analysisผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (39.7%) มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความเครียดรวมเท่ากับ 65.8 และค่า S.D. เท่ากับ31.1 เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้พบปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวนงานที่ได้รับมอบหมาย ในแต่ละรายวิชาที่มาก (OR = 2.16, 95%C.I.= 1.23 - 3.80, p <0.01), จำนวนครั้งของ การตรวจแบบกับอาจารย์ประจำกลุ่มที่น้อย (OR = 0.61,95%C.I.= 0.38 - 0.98, p = 0.04) และอายุที่เพิ่มขึ้นของนิสิต(OR = 1.34, 95%C.I. = 1.11-1.60, p <0.01) ตามลำดับสรุป : นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนมากมีความเครียดรวมในระดับปานกลาง และระดับความเครียดสัมพันธ์กับจำนวนงานที่ได้รับมอบหมายที่มากจำนวนการตรวจแบบกับอาจารย์ที่น้อย และอายุของนิสิตที่เพิ่มขึ้น.


ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย, กีรติ ผลิรัตน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร Jul 2015

ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย, กีรติ ผลิรัตน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การเรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยส่งผลให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเกิดความเครียด ขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สังคมไทยปัจจุบันเผชิญอยู่ปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความคาดหวังต่อตนเองความคาดหวังของผู้ปกครอง ระยะเวลาการเรียนพิเศษ แผนการเรียน ฯลฯปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : อาคารวรรณสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารแหล่งรวมสถาบันกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่บริเวณแยกถนนพญาไท กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : เป็นการศึกษาในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งเพศหญิงและชาย อายุ16 - 18 ปี จำนวน 384 คน ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 โดยใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล จำนวน 10 ข้อ และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แสดงค่าสถิติเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตความถี่ ร้อยละและใช้ค่า Mean ± SD และใช้สถิติเชิงอนุมานในการหาข้อมูลสถิติเชิงลักษณะในการเปรียบเทียบปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนพิเศษ โดยใช้สถิติIndependent sample t-test, One-way ANOVA, multiple linearregression, regression analysis and Pearson correlationผลการศึกษา : พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับสูง(ร้อยละ 48.2) มีความคาดหวังต่อตนเอง (ร้อยละ 70.3) สำหรับความคาดหวังของผู้ปกครองต่อนักเรียน (ร้อยละ 68.5) อยู่ในระดับปานกลางสรุป : นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนกวดวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดอยู่ในระดับสูงนักเรียนมีความคาดหวังต่อตนเองและผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อตัวนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง.