Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn Medical Journal

2015

การสนับสนุนทางสังคม

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ, นิรัชรา ศศิธร, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย Nov 2015

ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ, นิรัชรา ศศิธร, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งมักพบว่ามี ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมในชุมชน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคม เพื่อที่จะเข้าใจภาวะซึมเศร้า และช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : ชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 48นาควัชระอุทิศ จำนวน 240 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม5 แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความเศร้า ในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale -TGDS) 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วง 1 ปี(1 – Year Life Event Questionnaire) 4) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Questionnaire) และ 5) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะซึมเศร้า โดยใช้การทดสอบไคสแควร์และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าผลการศึกษา : ความชุกของภาวะซึมเศร้า พบได้ร้อยละ 15.4 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า มี 6 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพสมรสโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ความไม่เพียงพอของรายได้ ประวัติโรคทางจิตเวชเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำและการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำและพบว่าปัจจัยที่ทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ สถานภาพโสด/หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ประวัติโรคทางจิตเวช เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง และการมีส่วนร่วมในชุมชนระดับต่ำสรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าในการศึกษานี้ ใกล้เคียงกับผลการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การสนับสนุนทางสังคม และการมีส่วนร่วมในชุมชน การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ น่าจะมีส่วนช่วยในการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ.


การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล, ศรสลัก นิ่มบุตร, อลิสา วัชรสินธุ Nov 2015

การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล, ศรสลัก นิ่มบุตร, อลิสา วัชรสินธุ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : มารดาเด็กออทิสติกได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนเศรษฐกิจสังคม ดังนั้นการดูแลบุตรออทิสติกมารดาจึงต้องมีการปรับตัวและได้รับการสนับสนุนทางสังคม ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกเพื่อให้หน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเด็กออทิสติกและมารดาต่อไปวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก และความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : สถาบันราชานุกูล กรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : มารดาเด็กออทิสติก อายุ 3 - 7 ปี ที่นำเด็กมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกณ สถาบันราชานุกูล จำนวน 92 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและบุตร 2) แบบสอบถามการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกสร้างขึ้นโดยประพา หมายสุขตามหลักแนวคิดของ Roy & Andrew และ Bobak & Jensen3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม The Personal Resource Questionnaire : PRQ Part II ของ Brand and Weinert แปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยสุภาพ ชุณวิรัตน์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัว และปัจจัยพยากรณ์ โดยใช้สถิติPearson correlation, Independent samples t-test, One way ANOVAและ Multiple linear regression.ผลการศึกษา : การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกอยู่ในระดับปานกลาง(68.5%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกคือ อายุของบุตรออทิสติก และอายุของมารดา โดยพบว่ามารดาที่มีบุตรอายุที่อายุ 6 ปี ขึ้นไป มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการปรับตัวโดยรวม และด้านความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กมากกว่าอายุของบุตรออทิสติกที่อายุมากกว่า 4 ปี – น้อยกว่า 6 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีบุตรอายุ 6 ปี ขึ้นไป มีการปรับตัวด้านการยอมรับต่อสภาพบุตรมากกว่ามารดาที่มีบุตรอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 ปี (p <0.05) และมารดาที่มีอายุมากกว่า 30 –น้อยกว่า 40 ปี มีการปรับตัวด้านการรับผิดชอบต่ออนาคตบุตรมากกว่ามารดาที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี(p <0.05) การสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติกมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก (p <0.01) และการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การปรับตัวของมารดา ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 17 (p <0.05)สรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอายุบุตรและมารดารวมทั้งการสนับ สนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติและงานวิจัยต่อไป.