Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 39

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบวัคซีนป้องกันโรคออเจสกี้ชนิดต่าง ๆ : Iii ผลการตรวจสอบวัคซีนป้องกันโรคออเจสกี้เชื้อตาย ชนิดน้ำมัน 4 ชนิด, จารุณี สาตรา, วรรณวิมล ทองคง, สุนีจิต คงทน Dec 1990

การศึกษาเชิงเปรียบเทียบวัคซีนป้องกันโรคออเจสกี้ชนิดต่าง ๆ : Iii ผลการตรวจสอบวัคซีนป้องกันโรคออเจสกี้เชื้อตาย ชนิดน้ำมัน 4 ชนิด, จารุณี สาตรา, วรรณวิมล ทองคง, สุนีจิต คงทน

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลการตรวจสอบคุณภาพวัคซีนป้องกันโรคออเจสกี้เชื้อตายชนิดน้ำมัน 4 ชนิด ได้แก่ สับยูนิตวัคซีนผลิตจากเชื้อท้องที่สเตรนนครปฐมหนึ่งตัวอย่าง สับยูนิตวัคซีนสเตรน Kojnock นำเข้าจากต่างประเทศหนึ่งตัวอย่าง วัคซีนเชื้อตายสเตรน DSV-35 นำเข้าจากต่างประเทศหนึ่งตัวอย่าง และวัคซีนเชื้อตายสเตรน Yaun-Lin นำเข้าจากต่างประเทศหนึ่งตัวอย่าง วัคซีนทั้ง 4 ชนิดผ่านการตรวจสอบความปราศจากเชื้อแบคทีเรียหรือราปนเปื้อน วัคซีน 3 ชนิดแรกมีสภาพความคงตัวของออยล์อิมัลชั่นดีกว่า 3 วัคซีนเชื้อตายสเตรน Yaun-Lin วัคซีนทั้ง 4 ชนิดมีความปลอดภัยต่อกระต่ายและสุกรและสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคออเจสกี้สเตรนนครปฐม โดยวัคซีนเชื้อตายสเตรน DSV-35 สามารถกระตุ้นระดับนิวตรอลไลซิ่งแอนติบอดี้ในกระต่ายได้สูงที่สุด ในขณะ ที่วัคซีนอีก 3 ชนิดสามารถกระตุ้นระดับนิวตรอลไลซิ่งแอนติบอดี้ได้ใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบค่า Protective dose-50 (PD50) วัคซีนเชื้อตายสเตรน DSV-35 และวัคซีนเชื้อ Yaun-Lin มีประสิทธิภาพให้ความคุ้มโรคในกระต่ายได้สูงกว่าสับยูนิตวัคซีนทั้ง วัคซีนเชื้อตายสเตรน DSV-35 สามารถกระตุ้นระดับนิวตรอลไลซิ่งแอนติบอดี้ใน สุกรได้สูงกว่าวัคซีนอีก 3 ชนิด สำหรับสับยูนิตวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อท้องที่สเตรนนครปฐม สามารถกระตุ้นระดับนิวตรอลไลซิ่งแอนติบอดี้ในสุกรได้สูงกว่าสับยูนิตวัคซีนสเตรน Kojnock ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ การฉีดวัคซีนสองครั้งสามารถกระตุ้นระดับนิวตรอลไลซิ่งแอนติบอดี้ได้สูงกว่าการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียว สุกรที่ฉีดวัคซีนทุกตัวมีความต้านทานต่อการฉีดพิษ ทับด้วยไวรัสโรคออเจสสเตรนนครปฐมในขนาด 10 TCID50 ในขณะที่สุกรในกลุ่มควบคุม แสดงอาการเป็นโรคอย่างเฉียบพลันหลังฉีดพิษทับ วัคซีนทั้ง 4 ชนิดผ่านการทดสอบคุณภาพ


ประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิปิปเปอราซินไดฮัยโดรคลอไรด์ต่อพยาธิไส้เดือนในไก่ไข่บนกรงตับ, มานพ ม่วงใหญ่, สมชาย วรวงษ์วิวัฒน์ Dec 1990

ประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิปิปเปอราซินไดฮัยโดรคลอไรด์ต่อพยาธิไส้เดือนในไก่ไข่บนกรงตับ, มานพ ม่วงใหญ่, สมชาย วรวงษ์วิวัฒน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ฟาร์มไก่ไข่แห่งหนึ่งที่เลี้ยงโดยใช้ระบบกรงตับที่มีความสูง 2 ระดับ ประสพปัญหาการเกิดโรคพยาธิไส้เดือน หลังจากที่ไก่ขึ้นบนกรงที่ตับแล้วนานกว่า 15 เดือน ทั้งในแถวบนและแถวล่าง ทำการรักษาโดยใช้ปิบเปอราชินไดฮัยโดรคลอไรด์ผสมในอาหารใน ขนาด 125 มก. ปิบเปอราในเบสต่อน้ำหนักตัว 1 กก. หลังจากให้ยาแล้วพยาธิถูกขับออก จากกรงแถวบนและล่าง 91.94% และ 76.92% โดยมีพยาธิเฉลี่ย 1.90 และ 3.40 ตัว ต่อไก่ 1 ตัว ตามลำดับ จากนั้นได้ทำการตรวจอุจจาระจากไก่ในกรุงทั้ง 2 แถว พบไข่พยาธิหลังจากให้ยา 32 วัน ซึ่งไข่พยาธิที่ตรวจพบนี้คงจะเจริญมาจากพยาธิที่ยังไม่ได้เป็นตัว เต็มวัย และไม่ได้ถูกขับออกโดยยาถ่ายพยาธิ หรือพยาธิตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่ในผนังลำไส้ เคลื่อนตัวออกมาจากผนังลำไส้ แล้วเจริญเป็นพยาธิตัวแก่ในภายหลัง มากกว่าที่จะเป็นการ ติดโรคหลังจากให้ยาถ่ายพยาธิแล้ว หลังจากนั้นจำนวนกรงที่พบไข่พยาธิจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในระยะหลังนี้อาจจะมีการติดโรคใหม่เกิดขึ้นได้ จึงทำการถ่ายพยาธิด้วยยาชนิดเดิม ในขนาดที่ให้เช่นเดียวกับครั้งแร แรกอีกครั้ง โดยให้ยาห่างจากครั้งแรก 70 วันพบว่ามี พยาธิถูกขับออกมาจากกรงแถวบนและล่างเป็น 48.28% และ 58.33% มีพยาธิเฉลี่ย 0.79 และ 1.43 ตัวต่อไก่ 1 ตัวตามลำดับ จากผลดังกล่าวแสดงว่า ปิบเปอราชินไดฮัยโดรคลอไรด์ในขนาด 125 มก.ต่อน้ำหนัก 1 กก. สามารถขับพยาธิตัวแก่ได้ดี แต่จะไม่สามารถขับพยาธิตัวอ่อนออกได้หมด และยาชนิดนี้ในขนาดดังกล่าวไม่ทำให้ไก่แสดงอาการ แพ้ให้เห็นแต่ประการใด


A Study Of Epidemiology Of Liver Fluke Infection In Buffaloes, Vichitr Sukhapesna, Darunee Tutasuvan, Nopporn Sarataphan, Supawan Sa-Ngiamluksana Dec 1990

A Study Of Epidemiology Of Liver Fluke Infection In Buffaloes, Vichitr Sukhapesna, Darunee Tutasuvan, Nopporn Sarataphan, Supawan Sa-Ngiamluksana

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Two hundred and forty buffaloes of different age groups (1 month to more than 5 years) were randomly selected to study the rate of liver fluke infection. Sixty buffaloes heavily infected with liver fluke were selected to study the variation of fluke eggs in every month throughout the year. Two snail habitats were randomly selected to study the population of snail intermediate host of the live fluke, Lymnaea auricularia rubiginosa. The eggs of Fasciola gigantica were first detected in the feces of buffalo calves as early as less than one month of age. The infection rate in all age groups …


Histopathology Of Vibrio Alginolyticus Infection In Penaeus Monodon, Ted Tesaprateep, Lila Ruangpan, Kriengsag Saitanu, Tadashi Aoki, Makoto Endo Dec 1990

Histopathology Of Vibrio Alginolyticus Infection In Penaeus Monodon, Ted Tesaprateep, Lila Ruangpan, Kriengsag Saitanu, Tadashi Aoki, Makoto Endo

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Vibrio alginolyticus infection of Penaeus monodon was examined histopathologically. Hemocyte responses to the bacteria comprised hemocyte aggregation with necrotic core, infiltration of free hemocytes, and hemocyte encapsulation. However, there was melanization in association with the hemocyte encapsulation. The pronounced parenchymal lesions occurred in the gill, antennal gland, lymphoid organ, and hepatopancreas. In the most serious cases, the sick prawns exhibited septicemia and decreased in numbers of free hemocytes.


Short Communication ประสบการณ์การวางยาสลบนากเล็บสั้น, จิตตราภรณ์ ชาญราชกิจ, ปัญญา ยังประภากร Dec 1990

Short Communication ประสบการณ์การวางยาสลบนากเล็บสั้น, จิตตราภรณ์ ชาญราชกิจ, ปัญญา ยังประภากร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Retrospective Study Of Aujeszky's Disease In Pig In Thailand Using Immunohistochemical Method, Yuko Mutoh, Boonmee Sunyasootcharee, Susunu Tateyama, Ted Tesaprateep, Ryoji Yamaguchi, Achariya Sailasuta Dec 1990

Retrospective Study Of Aujeszky's Disease In Pig In Thailand Using Immunohistochemical Method, Yuko Mutoh, Boonmee Sunyasootcharee, Susunu Tateyama, Ted Tesaprateep, Ryoji Yamaguchi, Achariya Sailasuta

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The paraffin embedded specimens of 35 Aujeszky's disease cases in pig were examined with Avidin-biotin-complex (ABC) method to detect Aujeszky's disease viral antigen. Eighty percent of the cases (28/35) gave positive reaction. Aujeszky's disease viral antigen was detected in cerebrum (17/28), cerebellum (12/17), medulla oblongata (7/8), spinal cord (4/4), and tonsils (5/11). It is concluded that ABC method is a sensitive, reliable and rather simple technique to diagnose Aujeszky's disease on paraffin embedded tissue section.


Effects Of Ethanol Extraction And Heat Treatment Of Soybean Flakes On Function And Morphology Of Pig Intestine, J. D. Hancock, E. R. Peo Jr., A. J. Lewis, Rodney A. Moxley Oct 1990

Effects Of Ethanol Extraction And Heat Treatment Of Soybean Flakes On Function And Morphology Of Pig Intestine, J. D. Hancock, E. R. Peo Jr., A. J. Lewis, Rodney A. Moxley

School of Veterinary and Biomedical Sciences: Faculty Publications

Digesta and tissue samples were collected from the intestinal tracts of 27 pigs to determine the relationship between intestinal morphology and the utilization of nutrients from soybean flakes. Soybean flake treatments were under-, intermediate- and overprocessed (Le., 5, 20 and 60 min of autoclaving) either without extraction or with heating before or after extraction with a 55% ethanol-water mixture. Final BW was greatest (P< .001) for pigs fed soybean flakes given 20 min of heat treatment. There was a trend (P < .09) for plasma lysine concentrations to be reduced when the unextracted soybean flakes were over-processed (60 min of heat). Differences in the flow rate of DM and N through the ileum and colon reflected differences in DM and N intake, rather than differences in intestinal function. The soybean flake treatments had no effect (P > .OS) on pH of the contents of the stomach, duodenum, ileum or colon. The ethanol extraction process increased (P < .001) N digestibility of the soybean flakes, especially when the soybean flakes were underprocessed (interaction, P < .02). Villus size (area, height and perimeter length) tended to be greater in pigs fed the soybean flakes heated after extraction and(or) exposed to the intermediate level of heat treatment. Indicators of villus shape (villus area/ villus height) and proliferative activity (crypt depth and villus heigh/crypt depth) were not affected by soybean flake treatment (P > .OS). Ethanol extraction and heat treatment affected the utilization of nutrients …


1991 Beef Cattle Report, Darrell W. Nelson Oct 1990

1991 Beef Cattle Report, Darrell W. Nelson

Nebraska Beef Cattle Reports

A two-year study tested the hypothesis that growth rate interacts with bull exposure to influence age at puberty in heifers. Heifers exposed to sterile bulls and fed to achieve a high growth rate (1.8 lb/day) attained puberty 73 days earlier than heifers not exposed to bulls and fed to a moderate growth rate (1.3 lb/day). Heifers exposed to bulls and fed to achieve a moderate growth rate attained puberty at ages similar to heifers not exposed to bulls and fed to a high growth rate. Furthermore. heifers receiving these two treatments attained puberty 23 days earlier than heifers not exposed …


การทดลองทำให้เกิดโรคติดเชื้อ อี. โคลัย ในไก่โดยการฉีดเชื้อเข้าถุงลม โพรงจมูก และหลอดลม, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เล็ก อัศวพลังชัย, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง, เยาวภา เจิงกลิ่นจันทน์ Sep 1990

การทดลองทำให้เกิดโรคติดเชื้อ อี. โคลัย ในไก่โดยการฉีดเชื้อเข้าถุงลม โพรงจมูก และหลอดลม, เกรียงศักดิ์ พูนสุข, เล็ก อัศวพลังชัย, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง, เยาวภา เจิงกลิ่นจันทน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ได้ทำการทดสอบคุณสมบัติการแทรกผ่าน (invasiveness) ของเชื้อ อี. โคลัยจำนวน 76 เสตรน พบว่า เสตรนที่แยกได้จากถุงลม, ตับ และถุงหุ้มหัวใจ ซึ่งให้ผลบวก ต่อการทดสอบ Congo-Red (CR) คิดเป็นร้อยละ 98, 100 และ 100 ตามลำดับ ส่วนเสตรนที่แยกได้จากลำไส้จะให้ผลลบในการทดสอบ CR คิดเป็นร้อยละ 60 เสตรน 55-H . 55.35 X 105 cells/ml. ไก่ที่ฉีดเชื้อเข้าทางถุงลมจะมีอัตราการติดโรค 100 % อัตราตาย 90 % เมื่อฉีดเชื้อเข้าโพรงจมูกจะไม่สามารถทำให้ไก่เกิดโรคได้ และไม่พบรอยโรคที่อวัยวะภายใน ส่วนไก่ที่ฉีดเชื้อเข้าทางหลอดลมพบว่าสามารถทำให้ไก่เป็น โรคได้ 60 %


การเตรียมแอนติเจนเพื่อใช้วินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบในสุกร, วาสนา ภิญโญชนม์, สุจิรา ปาจริยานนท์, อุราศรี ตันตสวัสดิ์, Tomiaki Morimoto Sep 1990

การเตรียมแอนติเจนเพื่อใช้วินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบในสุกร, วาสนา ภิญโญชนม์, สุจิรา ปาจริยานนท์, อุราศรี ตันตสวัสดิ์, Tomiaki Morimoto

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ฮีแมกลูติเนชั่นแอนติเจนที่เตรียมจากสมองลูกหนูดูดนมที่ได้รับการฉีดเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบ โดยการสกัดด้วยสารละลายซูโครสและอะซิโตน สามารถใช้ตรวจหาฮีแมกกลูติเนชั่น-อินฮิบิชั่นไตเตอร์ของโรคไข้สมองอักเสบในสุกรได้ดี โดยมีฮีแมกกลูติเนชั่นไตเตอร์สูงและ สามารถเก็บที่ -70 องศาเซลเซียสได้นานมากกว่า 1 ปี จากการทดลองใช้ตรวจซีรั่มแม่สุกรที่มีปัญหาลูกสุกรตายแรกคลอดจากท้องที่ในเขตจังหวัดต่าง ๆ 9 จังหวัด จำนวน 381 ตัวอย่าง พบว่า 85.82 % ของชีรัมทั้งหมดมีฮีแมกกลูติเนชั่น-อินฮิบิชั่นไตเตอร์ ≥ 1 : 80 และจากการตรวจซีรั่มคู่ (paired serum) สุกร กลุ่มเดิมจำนวน 51 ตัวอย่าง เปรียบเทียบในช่วงที่เกิดโรคและหลังเกิดโรค พบว่า 41.17 % ของซีรั่มในช่วงหลังเกิดโรคมีสีแมกกลูติเนชั่น-อินฮิบิชั่นไตเตอร์เพิ่มจากเดิม 4 เท่า หรือมากกว่า แสดงว่าแม่สุกรกลุ่มนี้ได้รับเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบที่เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ลูกสุกรตายแรกคลอด


ประสิทธิภาพของยาไทรเมทโทพริมร่วมกับ ซัลฟาควิน็อกซาลิน โวเดียมในการป้องกันและรักษาโรคบิดไส้ตันในไก่, รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช, มานพ ม่วงใหญ่ Sep 1990

ประสิทธิภาพของยาไทรเมทโทพริมร่วมกับ ซัลฟาควิน็อกซาลิน โวเดียมในการป้องกันและรักษาโรคบิดไส้ตันในไก่, รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช, มานพ ม่วงใหญ่

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การทดลอง ศึกษาประสิทธิภาพของยาไทรเมทโทพริมร่วมกับซัลฟาควินอกซาลินโซเดียม (1 : 5) เพื่อการป้องกันโรคบิดไส้ตันของไก่ในขนาด 125 ppm. และการรักษาในขนาด 250 และ 500 ppm. โดยไก่แต่ละตัว จะได้รับเชื้อบิด Eimeria tenella จำนวน 104 oocysts การให้ยาป้องกันจะให้ในวันที่ 7, 6, 5, 4 และ 3 ก่อนวันที่ ไก่จะได้รับเชื้อบิด ส่วนการให้ยารักษาจะให้ทันทีภายในวันที่เริ่มให้เชื้อเป็นเวลา 3, 4 และ 5 วันติดต่อกัน และหลังจากให้เชื้อแล้ว 1, 2 และ 3 วัน ก็จะให้ยารักษาเป็นเวลา 5, 4 และ 3 วันตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับยารักษาในขนาด 500 ppm. ทันที ในวันที่ไม่ได้รับเชื้อบิด เป็นเวลา 4 และ 5 วันติดต่อกัน หรือให้ยาภายหลังจากได้รับเชื้อแล้ว 1 วัน เป็นเวลา 5 วัน ให้ผลดีที่สุด


ลักษณะของเชื้อสตาฟฟิลโลคอคคัสที่แยกได้จากคน และ สัตว์, เยาวภา เจิงกลิ่นจันทร์ Sep 1990

ลักษณะของเชื้อสตาฟฟิลโลคอคคัสที่แยกได้จากคน และ สัตว์, เยาวภา เจิงกลิ่นจันทร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

เชื้อสตาฟฟิลโลคอคคัส จำนวน 164 เสตรน ซึ่งเป็นเสตรนที่แยกได้จากคนและสัตว์ จำนวน 92 และ 72 เสตรนตามลำดับ ลักษณะของการสลายเม็ดเลือดแดงในเชื้อที่แยกได้จากคนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ alpha-haemolysis ส่วนเสตรนที่แยกได้จากสัตว์ จะเป็นชนิด beta-haemolysis และมีจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถสลายเม็ดเลือดแดงแกะที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้ (54.3 %) ส่วนผลของการหมักน้ำตาลชนิดต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน เชื้อทุกเสตรนไม่สามารถใช้เกลือซิเตรทเป็นแหล่งอาหารได้ เชื้อส่วนใหญ่สามารถให้ผลบวกต่อ การทดสอบ Voges Proskauer (VP test) และพบว่าเสตรนส่วนใหญ่ที่สามารถสลายเม็ดเลือดแดงแกะให้ผลบวกต่อการทดสอบ coagulase และ gelatinase


Anthelminttic Activity Of Thiophanate Againts Immature Neoascaris Vitulorum In Buffalo Calves, Vichitr Sukhapesna Sep 1990

Anthelminttic Activity Of Thiophanate Againts Immature Neoascaris Vitulorum In Buffalo Calves, Vichitr Sukhapesna

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The anthelmintic activity of single oral doses of thio- phanate at the rates of 50 and 70 mg/kg of body weight were determined by the field trial method against innature Neoascaris vitulorum in buffalo calves. Thiophanate at the rates of 50 and 70 mg/kg were highly effective (100 percent) against immature N. vitulorum. No buffalo calves developed patent infections after treatment by determining the worm eggs in the feces. Average weight gain in the thiophanate-treated groups were significantly greater than that of the untreated group. Average daily weight gain was 0.48 and 0.51 kg in the the thiophanate-treated calves at …


Surgical Removal Of Granulosa Cell Tumours In Mare : A Case Report, Chainarong Lohachit, Peerasak Chantaraprateep, Mongkol Techakumphu, Chaovalit Wonglertviriyakij Sep 1990

Surgical Removal Of Granulosa Cell Tumours In Mare : A Case Report, Chainarong Lohachit, Peerasak Chantaraprateep, Mongkol Techakumphu, Chaovalit Wonglertviriyakij

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Right unilateral ovariectomy was performed on a six year old thorouhbred mare affected with enlarge ovarian mass. Surgical procedure was performed via right flank incision on lateral recunbency under general anesthesia. The affected ovary was 18 cm. in diameter with multiple cysts revealed on cross section. The operation lasted 1.5 hr. and the animal recovered within one hour, post operative care was carried out for one week and no complication was observed.


Replication And Amplification Of Defective Interfering Particle Rn As Of Vesicular Stomatitis Virus In Cells Expressing Viral Proteins From Vectors Containing Cloned Cdnas, Asit K. Pattnaik, Gail W. Wertz Jun 1990

Replication And Amplification Of Defective Interfering Particle Rn As Of Vesicular Stomatitis Virus In Cells Expressing Viral Proteins From Vectors Containing Cloned Cdnas, Asit K. Pattnaik, Gail W. Wertz

School of Veterinary and Biomedical Sciences: Faculty Publications

Replication and amplification of RNA genomes of defective interfering (DI) particles of vesicular stomatitis virus (VSV) depend on the expression of viral proteins and have untD now been attained only in ceUs coinfected with helper VSV. In the work described in this report, we used a recombinant vaccinia virus-T7 RNA polymerase expression system to synthesize individual VSV proteins in cells transfected with plasmid DNAs that contain cDNA copies of the VSV genes downstream of the T7 RNA polymerase promoter. In this way, we were able to examine the ability of VSV proteins, individually and in combination, to support DI particle …


การศึกษาโรคเซอราในแมว, บุญขวัญ วงษ์อยู่น้อย, บุญมี สัญญสุจจารี, สุวิทย์ กัมทรทิพย์, สุวรรณี นิธิอุทัย Jun 1990

การศึกษาโรคเซอราในแมว, บุญขวัญ วงษ์อยู่น้อย, บุญมี สัญญสุจจารี, สุวิทย์ กัมทรทิพย์, สุวรรณี นิธิอุทัย

The Thai Journal of Veterinary Medicine

แมวไทยจำนวน 9 ตัว แบ่งเป็นกลุ่ม ควบคุม (3 ตัว) และกลุ่มทดลอง (6 ตัว) ทำการทดลองให้แมวได้รับเชื้อ Trypanosoma evansi ด้วยวิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนังและ วิธีให้กิน สามารถตรวจพบเชื้อในกระแสเลือดได้ภายใน 2-4 วัน และ 5 วัน ตามลำดับ แมวที่เป็นโรคเซอราแสดงอาการที่สำคัญทางคลีนิก ได้แก่ อาการไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ ซึม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง ขนร่วงหลุดง่าย เยื่อเมือกซีดจางหรือเหลือง เยื่อตาอักเสบ นัยน์ตา ขุ่นขาว บวมน้ำใต้ผิวหนังบริเวณหน้า ขา และที่อื่น ๆ แท้งลูก ชักเกร็ง และตายในที่สุด


ซีโรไทป์ของเชื้อฮีโมฟีลัสพลูโรนิวโมนิอี้ ที่แยกได้ในประเทศไทย, วันทนีย์ เนรมิตมานสุข, ไพโรจน์ มินเด็น, จิรา วายุโชติ, รัชนี ศิลปสิทธิ์ Jun 1990

ซีโรไทป์ของเชื้อฮีโมฟีลัสพลูโรนิวโมนิอี้ ที่แยกได้ในประเทศไทย, วันทนีย์ เนรมิตมานสุข, ไพโรจน์ มินเด็น, จิรา วายุโชติ, รัชนี ศิลปสิทธิ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากสุกรที่ตายด้วยโรคพลูโรนิวโมเนีย 5 ฟาร์ม ผลการตรวจ มหพยาธิและจุลพยาธิ บ่งชี้ว่าเป็นปอดบวมชนิดพลูโรนิวโมเนีย จากการเพาะแยกเชื้อทางแบคทีเรียพบ Haemophilus pleuropneumoniae การตรวจหาซีโรไทม์ของเชื้อที่แยกได้ พบซีโรไทม์ 1, 2, 3, 5 โดยวิธี rapid plate agglutination test และ agar gel diffusion test สำหรับการตรวจหาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ พบว่าเชื้อเหล่านี้ไวต่อแอมพิซิลินมากที่สุด


ศึกษาฤทธิ์การขับปัสสาวะของใบอินทนิลน้ำในสุนัข, วรรณา ชัยบุตร, บังอร ชมเดช Jun 1990

ศึกษาฤทธิ์การขับปัสสาวะของใบอินทนิลน้ำในสุนัข, วรรณา ชัยบุตร, บังอร ชมเดช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ใบอินทนิลน้ำเป็นไม้พันธุ์ตะแบก ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ตะแบกดำ เชื่อว่าน้ำต้ม ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ การศึกษาครั้งนี้เพื่อหาข้อมูลสนับสนุนความเชื่อดังกล่าว ทำการทดลองในสุนัขโดยให้ยาสลบ เตรียมใบอินทนิลน้ำโดยนำมาตากแห้งบดแล้วต้ม 45-50º จนได้ความเข้มข้น 100 กรัมของใบแห้ง ต่อ 20 มิลลิลิตร เก็บปัสสาวะและเจาะเลือดตรวจหาค่าควบคุม ให้น้ำต้มใบอินทนิลน้ำทางสายยางเข้ากระเพาะอาหารขนาด 10 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นเก็บปัสสาวะเจาะเลือด ทุก 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ผลปรากฏว่า หลังจากให้น้ำต้มใบอินทนิลน้ำแล้ว ปริมาณปัสสาวะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจนถึงชั่วโมงที่ 4 หลังจากนั้นกลับลดลง ในขณะที่ความดันเลือดอัตรา การเต้นของหัวใจ อัตราการกรอง และปริมาณพลาสมาเข้าไตลดลง มีการเพิ่มขึ้นทั้งความ เข้มข้นในพลาสมา และอัตราการขับถ่ายของโปแตสเซียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร่วมไปกับค่าฮีมาโตคริทเพิ่มขึ้นตลอดการทดลอง


Short Communication: Eperythrozoon Wenyoni In A Splenectomized Calf In Thailand, Patchima Indrakamhang, E. Pipano Jun 1990

Short Communication: Eperythrozoon Wenyoni In A Splenectomized Calf In Thailand, Patchima Indrakamhang, E. Pipano

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


โรคน่ารู้ โรคระบาดในกระต่าย Viral Hemorrhagic Disease Of Rabbits, สุวรรณา กิจภากรณ์ Jun 1990

โรคน่ารู้ โรคระบาดในกระต่าย Viral Hemorrhagic Disease Of Rabbits, สุวรรณา กิจภากรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


บทบาทของแคลเซียมต่อหน้าที่ของไตในสุนัขขณะที่ได้รับพิษงูแมวเซา, ชลลดา บูรณกาล, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร Jun 1990

บทบาทของแคลเซียมต่อหน้าที่ของไตในสุนัขขณะที่ได้รับพิษงูแมวเซา, ชลลดา บูรณกาล, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การทดลองทำในสุนัขเพศผู้ จำนวน 12 ตัว น้ำหนักระหว่าง 10-17 กก.แบ่งการทดลองเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม สัตว์ทดลองจะได้รับการ ฉีดพิษงูแมวเซาในขนาด 0.1 มก/กก. กลุ่มที่ 2 สัตว์ทดลองจะถูกเหนี่ยวนำให้อยู่ในภาวะ แคลเซียมในเลือดต่ำ โดยตัดต่อมพาราธัยรอยด์ก่อนฉีดพิษงูแมวเซา กลุ่มที่ 3 สัตว์ทดลอง ได้รับการฉีดสาร verapamil ในขนาด 0.2 มก/กก. 30 นาทีก่อนให้พิษงูแมวเซา ทดลองพบว่าในกลุ่มสุนัขที่ตัดต่อมพาราธัยรอยด์ออก อัตราการกรองผ่านกลอเมอรูลัส (GFR) และอัตราการไหลของเลือดสู่ไต (RBF) ลดลงร่วมไปกับการเพิ่มขึ้นของความต้านทานของหลอดเลือดที่ไต (RVR) ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีน้อยกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนในสุนัข ที่ได้รับการฉีด verapamil เมื่อได้รับพิษงูจะทำให้ค่า GFR และ RBF ลดลงมากกว่ากลุ่มอื่น ในสัตว์ทดลองที่มีต่อมพาราธัยรอยด์อยู่ (กลุ่มที่ I และ III) จะพบมีการเพิ่มขึ้นของระดับ อนินทรีย์ฟอสฟอรัสในพลาสม่าภายหลังจากได้รับพิษงู สัดส่วนการขับทิ้งสารอนินทรีย์ฟอสฟอรัส(FFpi) เพิ่มขึ้น ขณะที่สัดส่วนการขับทิ้งแคลเซียม (FEca ) จะลดลง ในกลุ่มนี้อัตราส่วนระหว่างการขับทิ้งกรด titratable(TA) และแอมโมเนียต่อ GFR จะเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับ FEpi ลักษณะการทำงานของไตดังกล่าวจะไม่พบในสุนัขกลุ่มที่ตัดต่อมพาราธัยรอยด์ ซึ่งสุนัขในกลุ่มนี้มีระดับคลอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงของภาวะไตวายจากผลของความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือดในไตเมื่อสัตว์ได้


Superovulatory Response In Crossbred Sheep After Pmsg+Gnrh Treatment, Mongkol Techakumphu, Chainarong Lohachit Jun 1990

Superovulatory Response In Crossbred Sheep After Pmsg+Gnrh Treatment, Mongkol Techakumphu, Chainarong Lohachit

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A total of 8 crossbred ewes (local x merino) were superovulated with 1,000-1,200 I. U. of PMSG (n=5) or PMSG with GnRH (n=3). The overall positive response of the treatment was 87.5% (7/8). Higher average ovarian response (number of follicles + number of corpus lutea) and higher average ovulation sites were observed in PMSG+ GnRH group than PMSG alone, 10.0 vs 6.25 and 9.3 vs. 4.75, respectively. The recovery rate of each group was 64.3% (18/28) and 52.6% (10/19). The normal embryos in each group were low, 0.33 in PMSG + GnRH group and 1.0 in PMSG group.


Long-Term Effects Of Early Social Isolation In Macaca Mulatta: Changes In Dopamine Receptor Function Following Apomorphine Challenge, Mark H. Lewis, John P. Gluck, Tom L. Beauchamp, Michael F. Keresztury, Richard B. Mailman Apr 1990

Long-Term Effects Of Early Social Isolation In Macaca Mulatta: Changes In Dopamine Receptor Function Following Apomorphine Challenge, Mark H. Lewis, John P. Gluck, Tom L. Beauchamp, Michael F. Keresztury, Richard B. Mailman

Experimentation Collection

The hypothesis that early social isolation results in long-term alterations in dopamine receptor sensitivity was tested using older adult rhesus monkeys. Isolated and control monkeys were challenged with apomorphine (0.1 and 0.3 mg/kg), and the drug effects on spontaneous blink rate, stereotyped behavior, and self-injurious behavior were quantified using observational measures. Monoamine metabolites were quantified from cisternal CSF by HPLC-EC, prior to pharmacological challenge. Isolated and control monkeys did not differ in CSF concentrations of HVA, 5-HIAA, or MHPG. At the higher dose, apomorphine significantly increased the rate of blinking, the occurrence of whole-body stereotypies, and the intensity of stereotyped …


Microfilarial Periodicity Of Brugia Pahangi In Naturally In Fected Cats In Bangkok, Sudchit Chungpivat, Supat Sucharit Mar 1990

Microfilarial Periodicity Of Brugia Pahangi In Naturally In Fected Cats In Bangkok, Sudchit Chungpivat, Supat Sucharit

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The microfilarial level in the peripheral blood of cats naturally infected with Brugia pahangi in Bangkok area was monitored at two-hour intervals for 24 hours. Thick smear of blood films were stained with Giemsa and counted for microfilarial number. The microfilarial periodicity pattern showed nocturally subperiodic with a periodicity index of 48.81 and the peak hour at 23.16 hours. It was also found that the microfilariae appeared in the peripheral blood as a harmonic wave.


Efficacy Of Toltrazuril And Maduramicin In The Contral Of Coccidiosis In Broilers, Manop Muagyai, Surasak Sirichokchatchawan, Virote Juranukul Mar 1990

Efficacy Of Toltrazuril And Maduramicin In The Contral Of Coccidiosis In Broilers, Manop Muagyai, Surasak Sirichokchatchawan, Virote Juranukul

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Toltrazuril, a triazinone anticoccidial drug, was evaluated for efficacy at 8 ppm against Maduramicin 5 ppm in feed under a commercial trial condition with natural coccidial exposure. The experiment was carried out in 6 trials. Trial 1 was a preliminary study with 1,000 chickens testing for Toltrazuril while 4,000 chicks were used to evaluate Toltrazuril and 3,400 for Maduramicin in trial 2 to 6. Necropsy and score lesion reading were performed. Subclinical coccidiosis of Eimeria acervulina and E. maxima exhibited in Toltrazuril treated group, and E. acervulian, E. maxima and E. tenella in Maduramicin group. Lesion scores were not substantially …


การสำรวจหาอัตราการติดเชื้อ Campylobacter Fetus ในโคกระบือ บางทอ้งที่ในประเทศไทย, อินทิรา กระหม่อมทอง, มนยา เอกทัตร์, วีระ ผดุงวัย, ดิลก เกษรสมบัติ Mar 1990

การสำรวจหาอัตราการติดเชื้อ Campylobacter Fetus ในโคกระบือ บางทอ้งที่ในประเทศไทย, อินทิรา กระหม่อมทอง, มนยา เอกทัตร์, วีระ ผดุงวัย, ดิลก เกษรสมบัติ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการสำรวจหาอัตราการติดเชื้อ Campylobacter fetus ในโคและกระบือ ในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2527-2531 โดยเก็บตัวอย่างเมือกจากช่องคลอด และน้ำ ล้างถุงหุ้มลึงค์จากโคและกระบือจากฟาร์มที่เคยมีประวัติการแท้งหรือผสมไม่ติด จำนวน 212 ตัวอย่าง น้ำล้างถุงหุ้มลึงค์จากพ่อโคและกระบือจากสถานีผสมเทียม สถานีบํารุงพันธุ์สัตว์ และ โรงฆ่าสัตว์ จำนวน 230 ตัวอย่าง และตัวอย่างลูกที่แท้งจำนวน 3 ตัวอย่าง นำมาเพาะหาเชื้อ C. fetus ผลปรากฏว่าไม่พบเชื้อในตัวอย่างทั้ง 445 ตัวอย่าง ตัวอย่างเมือกจากช่องคลอดของโคและกระบือนำมาตรวจโดยวิธีแอกติเนชั่น (VMA) พบว่า ตัวอย่างจากฝูงโคที่มี แม่โค 25 ตัว ให้ผลบวก 4 ตัวอย่าง และสงสัย 3 ตัวอย่าง ในขณะที่ ตัวอย่างจากฝูงกระบือ ที่มีกระบือ 11 ตัว ให้ผลบวก 1 ตัวอย่าง นอกจากนั้น ได้ทำการตรวจตัวอย่างลูกกระบือ แท้ง 3 ตัวอย่าง ด้วยวิธี ฟลูออเรสเซนต์แอนติบอดี้ (FA) ปรากฏว่าให้ผลลบทั้งหมด และเพาะเชื้อ C. fetus ไม่ได้จาก ตัวอย่างทั้งหมด ทำให้สรุปว่ายังไม่พบการติดเชื้อ C. fetus ใน โคกระบือในประเทศไทย ส่วนการที่ VMA ให้ผลบวกน่าจะเป็นการให้ผลบวกเทียม


ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อกลูตาอัลดีไฮด์, เฮกซาคลอโรเฟนและเบนซัลโคเนียม คลอไรด์, อรุณศรี เตชัสหงษ์, สันติ ถุงสุวรรณ, เกรียงศักดิ์ สายธนู Mar 1990

ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อกลูตาอัลดีไฮด์, เฮกซาคลอโรเฟนและเบนซัลโคเนียม คลอไรด์, อรุณศรี เตชัสหงษ์, สันติ ถุงสุวรรณ, เกรียงศักดิ์ สายธนู

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อ glutaraldehyde,benzalkonium chloride, และ hexachlorophene ในการทำลายเชื้อ S. aureus และ P. aeruginosa โดยนำยาฆ่าเชื้อทั้งที่เป็นสารเคมีและผลิตภัณฑ์ การค้ามาทดสอบที่ความเข้มข้นต่าง ๆ กันที่ pH 5, 7 และ 9 ในสภาพสะอาด (ในน้ำเกลือ) และในสภาพสกปรก (ในซีรัม) Glutaraldehyde และ Cidex(R) ความเข้มข้น 1.2% ในสภาพสะอาดและ สกปรก สามารถทำลายเชื้อ S. aureus และเชื้อ P. aeruginosa ได้ภายใน 1 นาที benzalkonium chloride ความเข้มข้น 0.5% สภาพสะอาดสามารถทำลายเชื้อ P. aeruginosa ได้ภายใน 15 - 60 นาที ในสภาพสกปรกต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 120 นาที Zephirol(R) ความเข้มข้น 0.05% มีประสิทธิภาพดีกว่า benzalkonium chloride โดยในสภาพสะอาดสามารถทำลายเชื้อนี้ได้ ภายใน 5 - 30 นาที และในสภาพสกปรกใช้เวลา 15 - 60 นาที hexachlorophene ความเข้มข้น 3% ในสภาพสะอาดสามารถทำลายเชื้อนี้ ได้ภายใน 5 - 15 นาที ในสภาพสกปรกใช้เวลา 5 - 60 นาที Phisohex(R) มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อ P. aeruginosa ต่ำกว่า hexachlorophene ที่ความเข้มข้นใน 3% ในสภาพสะอาดสามารถทำลายเชื้อนี้ได้ภายใน 5 - 60 …


โรคติดเชื้ออีเซอร์ริเชีย โคลัย ในระบบหายใจของไก่กระทง : ตอนที่ 1 ความชุกของโรค, เกรียงศักดิ์ สายธนู Mar 1990

โรคติดเชื้ออีเซอร์ริเชีย โคลัย ในระบบหายใจของไก่กระทง : ตอนที่ 1 ความชุกของโรค, เกรียงศักดิ์ สายธนู

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการพิสูจน์ไก่กระทงที่เป็นโรคทางระบบหายใจจำนวน 64 เล้า พบว่ามีเชื้อ อีเชอร์ริเชีย โคลัย เป็นสาเหตุของโรคจำนวน 54 เล้า และสาเหตุร่วมกันระหว่าง อี.โคลัย กับ มัยโคพลาสม่า กัลลิเซพติคม จำนวน 1 เล้า ไก่ที่เป็นโรคนี้ 81% จะมีอายุระหว่าง 25-32 วัน รอยโรคที่สำคัญคือการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ตับ และถุงลม โดยจะพบรอยโรค ที่ถุงลมได้บ่อยที่สุดคือ 95% รองลงไปคือที่ตับ และหัวใจคือ 85 และ 80% ตามลำดับ อัตรา การพบเชื้อ อี.โคลัย ที่ ถุงลม, ตับ, หัวใจ และปอด คือ 85, 75, 68, และ 43% ตามลำดับ


Successful Culture Of Bovine Embryos From Oocytes Matured And Fertilized In Vitro To The Blastocyst Stage, Charoensri Thonabulsombat, Sukumal Chongthammakun, Boonyawat Sanitwongse, Kanok Pavasuthipaisit, Yindee Kitiyanant, Chainarong Tocharus Mar 1990

Successful Culture Of Bovine Embryos From Oocytes Matured And Fertilized In Vitro To The Blastocyst Stage, Charoensri Thonabulsombat, Sukumal Chongthammakun, Boonyawat Sanitwongse, Kanok Pavasuthipaisit, Yindee Kitiyanant, Chainarong Tocharus

The Thai Journal of Veterinary Medicine

These experiments were conducted to characterize the follicular oocytes and to assess the oocyte's ability to mature in vitro. The embryo development was evaluated after in vitro fertilization. The follicular oocytes (n = 3015) were graded according to their investments i.e. compact (n 1035), expanded (n 1737), partially denuded (n = 117) and completely denuded (n = 126) as grade 1,2,3 and 4 respectively. The frequencies of embryo development from 2- cell to 32-cell stages in oocytes grade 1 and 2 were statistically significant higher than those in grade 3 and 4 (p < 0.001). The oocytes from grade 3 and 4 failed to develop beyond the 8- cell stage while those from grade 1 and 2 achieved either the morula or blastocyst stage eventhough the percentage of development was low (2-7%). These data demonstrate that immature oocytes from bovine ovary can be matured and fertilized in vitro. The frequencies of embryo development were statistically significant difference between oocytes with cumulus cell and ova without cumulus. The presence of cumulus cells was the obvious indicator of an oocyte's potential to mature, fertilize and develop in vitro.


การศึกษาระดับโฆลีนเอสเทอเรสในควายปลัก, ดาณิช ทวีติยานนท์, วรา พานิชเกรียงไกร, สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, วิทยา ทิมสาด Mar 1990

การศึกษาระดับโฆลีนเอสเทอเรสในควายปลัก, ดาณิช ทวีติยานนท์, วรา พานิชเกรียงไกร, สุพัตรา ศรีไชยรัตน์, วิทยา ทิมสาด

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาหาความสัมพันธ์ของอายุ เพศ และฤดูกาลที่มีต่อระดับเอ็นซายม์ โฆลีนเอสเทอเรสในซีรั่มของควาย ณ สถานีบํารุงพันธุ์สัตว์ จ.สุรินทร์ พบว่าค่าเฉลี่ยของ เอ็นชายมีโฆลีนเอสเทอเรส เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล อายุ และเพศ โดยที่ในฤดูฝน ควายมี ระดับเอ็นชายมีโฆลีนเอสเทอเรสสูงที่สุด รองลงมาในฤดูร้อนและฤดูหนาวตามลำดับ โดยเฉพาะในฤดูฝนควายที่มีอายุน้อยยังมีระดับเอ็นชายมีสูงกว่าควายอายุมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย และควายเพศผู้ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไปมีระดับ เอ็นซาย ต่ำกว่าควายเพศเมียที่มีอายุอยู่ในช่วงเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างของระดับของเอ็นซายมในควายเพศผู้และเพศเมียที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี