Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 33

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, วฤณดา อธิคณาพร Jan 2020

ผลของโปรแกรมการจัดการอาการทางลบต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง, วฤณดา อธิคณาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบ 2) เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังที่รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่ด้วยเพศและระยะเวลาการเจ็บป่วย จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการอาการทางลบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 7 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อส่งเสริมการจัดการอาการทางลบและทักษะที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการจัดการอาการทางลบ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยแบบวัดทักษะชีวิตมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการทางลบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ, เสาวลักษณ์ ต้นสักตระกูล Jan 2020

การศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ, เสาวลักษณ์ ต้นสักตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศทางคลินิก จำนวน 21 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสภาวิชาชีพการพยาบาล จำนวน 3 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับหัวหน้ากลุ่มการ/ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐ ที่มีประสบการณ์การนิเทศทางคลินิก จำนวน 3 คน 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ/อาจารย์พยาบาลที่มีผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิก จำนวน 3 คน 4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การนิเทศทางคลินิก จำนวน 6 คน และ 5) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสบการณ์การนิเทศทางคลินิก จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 คำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิก โรงพยาบาลรัฐ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลผู้นิเทศทางคลินิกโรงพยาบาลรัฐ ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก 6 ด้าน สมรรถนะย่อย 59 ข้อ ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านวิชาการเชิงคลินิก จำนวน 14 ข้อ 2) สมรรถนะด้านการปฏิบัติการนิเทศทางคลินิก จำนวน 14 ข้อ 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะของผู้นิเทศทางคลินิก จำนวน 12 ข้อ 4) สมรรถนะด้านการสอนในคลินิก จำนวน 7 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ จำนวน 6 ข้อ และ 6) สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 6 …


ประสบการณ์ชีวิตของการเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินของผู้สูงอายุ, อนัญญา โสภณนาค Jan 2020

ประสบการณ์ชีวิตของการเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินของผู้สูงอายุ, อนัญญา โสภณนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ชีวิตของการเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินของผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl Phenomenology (Koch, 1995) ผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 17 ราย ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ โคไลซีย์ (Colaizzi, 1978 cite in Hollway and Wheeler, 1996) ผลการศึกษาวิจัยพบว่าประสบการณ์ชีวิตของการเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินของผู้สูงอายุ สรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การรับรู้อาการได้ยินบกพร่อง ได้แก่ การที่ผู้สูงอายุในช่วงแรกจะยังไม่รู้ว่าตนเองมีการได้ยินลดลงหรือผิดปกติ ผ่านไปสักระยะรับรู้จากการสังเกตตนเองและคนรอบข้างทัก ซึ่งอาการไม่ได้ยินที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป 2) ชีวิตที่เปลี่ยนไปเมื่อเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ การที่ผู้สูงอายุปกปิดไม่ต้องการให้ใครรู้ว่าตนเองมีความบกพร่องทางการได้ยิน อีกทั้งไม่อยากพูดคุยกับใคร รู้สึกเป็นปมด้อย ทำให้สูญเสียความมั่นใจ และรู้สึกเครียดจากการไม่ได้ยิน นอกจากนี้ต้องพึ่งพาคนอื่นมากขึ้นในการฟังข้อมูล 3) การแสดงออกของคนรอบข้างต่อผู้สูงอายุที่มีการได้ยินบกพร่อง ได้แก่ ไม่พูดด้วย บางครั้งถูกดุว่า ตะคอก รวมทั้งถูกหัวเราะ มองการไม่ได้ยินของผู้สูงอายุเป็นเรื่องตลก 4) ปรับตัวปรับใจกับการเป็นผู้สูงอายุที่บกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ ผู้สูงอายุต้องปรับตัวกับการใช้เครื่องช่วยฟัง และต้องปรับตัวในการสื่อสารกับผู้อื่น อีกทั้งยังต้องเพิ่มความระมัดระวังอุบัติเหตุในการใช้ชีวิตมากกว่าบุคคลทั่วไป สุดท้ายแล้วผู้สูงอายุต้องยอมรับที่จะอยู่ร่วมกับภาวะบกพร่องทางการได้ยิน ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ชีวิตของการเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินของผู้สูงอายุมากขึ้น ชีวิตที่เปลี่ยนไปเมื่อเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยิน การแสดงออกของคนรอบข้างต่อผู้สูงอายุที่มีการได้ยินบกพร่อง รวมไปถึงการปรับตัวปรับใจกับการเป็นผู้สูงอายุที่บกพร่องทางการได้ยิน ผลการวิจัยนำไปเป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน


ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการสงบ, ภัทรานิษฐ์ ยิ่งธนฐานนันท์ Jan 2020

ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการสงบ, ภัทรานิษฐ์ ยิ่งธนฐานนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิดปรากฎการณ์วิทยาของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการสงบ ทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 20 – 59 ปี ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก ไม่มีอาการทางจิตอื่น ๆ มีคะแนนการประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้ Hamilton Rating Scale for Depression (HRSD-17) อยู่ในระดับปกติคือ 0-7 คะแนน รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีแนวทางการสัมภาษณ์ร่วมกับการบันทึกเสียง และนำข้อมูลที่ได้มาถอดข้อความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi จนได้ข้อมูลอิ่มตัว จำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการสงบ เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความพยายามในการดูแลตนเอง ซึ่งทำด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น ใส่ใจ และไม่ละเลยต่ออาการความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งความพยายามในการดูแลตนเองนั้นมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดภาวะอาการสงบ เพื่อป้องกันอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ เพื่อช่วยบำบัดรักษา และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้อีก สำหรับประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการสงบ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ตระหนักรู้ เข้าใจ และยอมรับการเปลี่ยนแปลง 2) จัดการชีวิตตนเองให้ดีขึ้น 3) สร้างพลังใจที่จะก้าวเดินต่อไป การศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการสงบ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทีมพยาบาลและทีมบุคลากรสุขภาพ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมตามความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งจะนำไปสู่การการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีอาการสงบ


ประสบการณ์ชีวิตของหญิงสูงวัยที่ดูแลสามีที่เจ็บป่วยในภาวะพึ่งพิง, พันธมน สุภารี Jan 2020

ประสบการณ์ชีวิตของหญิงสูงวัยที่ดูแลสามีที่เจ็บป่วยในภาวะพึ่งพิง, พันธมน สุภารี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของหญิงสูงวัยที่ดูแลสามีที่เจ็บป่วยในระยะพึ่งพิง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Research) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ หญิงวัยสูงอายุที่เป็นผู้ดูแลหลักที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และเกี่ยวข้องเป็นภรรยา จำนวน 14 ราย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การสังเกต จดบันทึก และการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ (Verbatim transcription) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลให้ความหมายของการเป็นผู้ดูแลสามีที่เจ็บป่วยในภาวะพึ่งพิง แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ดูแลด้วยความผูกพัน ซึ่งผู้ดูแลให้ความหมายของการเป็นผู้ดูแลว่าเกิดจากความผูกพันที่ต่อกันระหว่างสามีภรรยา 2) ลำบากด้วยกันมาต้องช่วยเหลือกันไป ผู้ดูแลให้ความหมายของการดูแลว่าเกิดจากการลำบากและช่วยเหลือกันในอดีต และพบว่า ประสบการณ์ชีวิตของหญิงสูงวัยที่ดูแลสามีที่เจ็บป่วยในภาวะพึ่งพิง แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ดูแลรู้สึกว่าการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตทั้งทางบวกและทางลบ 2) การยอมรับและเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแล โดยผู้ดูแลยอมรับที่จะเรียนรู้วิธีการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม 3) การเป็นผู้ดูแลในบริบทของภรรยา ผู้ให้ข้อมูลรับบทบาทหน้าที่ในการดูแลสามีภายใต้ความรักความผูกพัน ความห่วงใย และคุณงามความดีของสามีที่มีต่อกันในอดีต ผลการศึกษาดังกล่าวนี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของหญิงสูงวัยที่ดูแลสามีที่เจ็บป่วยในภาวะพึ่งพิง เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือให้การดูแลภรรยาที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล เพื่อให้เกิดการดูแลที่มีประสิทธิภาพ


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก, อัมพิกา อินทร์อยู่ Jan 2020

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก, อัมพิกา อินทร์อยู่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก จำนวน 213 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกอายุกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 8 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความหวัง 3) แบบสอบถามการความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ 4) แบบสอบถามความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจ 5) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ 6) แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี 7) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 8) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนต่อการเจ็บป่วย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00, 0.90, 1.00, 1.00 , 1.00, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอบบาคเท่ากับ .75, .76, .83, .81, .76, .94 และ.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกมีคะแนนความหวัง ความรู้ ความวิตกกังวล การมองโลกในแง่ดี และความรู้สึกไม่แน่นอนต่อการเจ็บป่วยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 23.76 SD = 2.68, Mean = 11.78 SD = 3.49, Mean = 1.63 SD = 0.66, Mean = 45.07 SD = 4.77 และ Mean = 56.71 SD = 12.14 ตามลำดับ) …


ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด, สิริยา ชาลีเครือ Jan 2020

ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด, สิริยา ชาลีเครือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด ได้แก่ ระยะของโรค ระดับฮีโมโกลบิน กิจกรรมทางกาย ภาวะโภชนาการ ความวิตกกังวล และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อายุระหว่าง 18-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 136 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรม แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .91, .72, .70, .71 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่มีความเหนื่อยล้าระดับปานกลาง (Mean = 5.17, S.D. = .06) 2. กิจรรมทางกาย ภาวะโภชนาการ และระดับฮีโมโกลบิน มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.306, r = -.299 และ r = -.224 ตามลำดับ) 3. กิจกรรมทางกาย และภาวะโภชนาการ สามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจการทำนายได้ร้อยละ 19.9 นอกจากนี้ยังพบว่า กิจกรรมทางกายเป็นปัจจัยหลักในการทำนายความเหนื่อยล้า สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ( Zความเหนื่อยล้า) = -.331Zกิจกรรมทางกาย -.325Zภาวะโภชนาการ


ปัจจัยทำนายอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ภัสส์มณี เทียมพิทักษ์ Jan 2020

ปัจจัยทำนายอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ภัสส์มณี เทียมพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และศึกษาปัจจัยทำนายอาการหายใจลำบาก โดยใช้แนวคิดทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งเพศชาย และเพศหญิง อายุระหว่าง 40-59 ปี ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 122 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการดูแลตนเอง และแบบประเมินอาการหายใจลำบาก เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ ดังนี้ 0.70, 0.81, 0.82, 0.79 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว อาการหายใจลำบากน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.49 (SD 23.88) มีลักษณะของอาการหายใจลำบากดังนี้ หอบ หายใจไม่ทัน ต้องหายใจมากขึ้น หายใจเข้าได้ไม่สุด หายใจได้ตื้น ๆ และหายใจออกได้ไม่สุด 2. การรับรู้การเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.336) ส่วนการรับรู้การควบคุมตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.291) 3. อายุ การดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม เป็นตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการหายใจลำบากในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 4. การรับรู้การเจ็บป่วย และการรับรู้การควบคุมตนเองสามารถทำนายอาการหายใจลำบากของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ร้อยละ 18 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .180, F = 5.078, p < 0.05)


ผลของการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมนต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด, วารีรัตน์ วรรณโพธิ์ Jan 2020

ผลของการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมนต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด, วารีรัตน์ วรรณโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมนต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของ มารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมี กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลรามาธิบดี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive samping) จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมน เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่าความตรงตามเนื้อหา 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ Mann-Whitney U ผลการวิจัยพบว่า มารดาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามแนวคิดของนิวแมน มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน, ณัฐธิรา ทิวาโต Jan 2020

ผลของการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน, ณัฐธิรา ทิวาโต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวและเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนที่ได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กออทิสติก อายุ 3-6 ปี จำนวน 40 คน และครอบครัวที่มารับบริการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยวิธีการจับคู่ระหว่างเพศและอายุเดียวกันของเด็กออทิสติก และระดับการศึกษาที่ใกล้เคียงกันของครอบครัวออทิสติก จากนั้นจึงสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัว เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินอาการออทิสติกของโรคออทิสซึม คู่มือการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวสำหรับพยาบาล และ คู่มือการดูแลเด็กออทิสติกสำหรับครอบครัว แบบประเมินความสามารถของครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็กออทิสติก เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินอาการออทิสติกของโรคออทิสซึมเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนหลังได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวน้อยกว่าก่อนได้รับการสอนแนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการออทิสติกหลังการทดลองของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะพฤติกรรมการเลี้ยงดูของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกัน


ผลของโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด, จุฑาทิพย์ เหมบุตร Jan 2020

ผลของโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด, จุฑาทิพย์ เหมบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ฯ กับกลุ่มการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ ศูนย์เคมีบำบัดและดูแลผู้ป่วยระยะสั้น ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 21 คน โดยจับคู่ให้ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง อายุ ระยะของโรค สูตรยาเคมีบำบัด จำนวนรอบของการได้รับยาเคมีบำบัด และระดับอาการนอนไม่หลับก่อนทดลอง โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิด Brief Behavioral Therapy For Cancer-Related Insomnia ของ Palesh et al. (2018) มีการให้ความรู้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ สุขวิทยาการนอนหลับ การควบคุมวงจรการหลับและตื่น การควบคุมสิ่งเร้า การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการต่อความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับของ Morin (1993) ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยโดย พัทรีญา แก้วแพง (2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดหลังได้รับโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับสุขวิทยาการนอนหลับน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดต่อความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ Jan 2020

ผลของโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดต่อความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการรักษาโดยการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ณ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จำนวน 60 คน โดยการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมและจับเข้าคู่กันด้วยการพิจารณาจากอายุและประสบการณ์การใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .98 และค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการฟื้นฟูการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, สุจิตตรา สาชำนาญ Jan 2020

ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการฟื้นฟูการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, สุจิตตรา สาชำนาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการฟื้นฟูการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบจำนวน 48 คน ที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 24 คน จับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเรื่องเพศ และอายุ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการฟื้นฟูการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม และเครื่องมือกำกับการทดลองคือ สมุดบันทึกประจำวัน การฝีกปฏิบัติการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด มีค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค .87 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ t - test ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการฟื้นฟูการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการฟื้นฟูการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 29.44 , df = 23 ,p =.000) และจากการวิเคราะห์รายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการสื่อสารและด้านการรับรู้ทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t=2.29, df=46 ,p=.02 ; t=7.00 ,df=46 ,p=.00 ) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=5.28 ,df = 46, p = .000)


ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของสแวนสันต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก, นุษพร ทองคำ Jan 2020

ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของสแวนสันต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก, นุษพร ทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้ป่วยเด็กอายุ 6-12 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 16 คน กลุ่มทดลอง 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson และแบบประเมินพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 มีค่าความเที่ยงครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ .863 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson ต่อพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้ป่วยเด็กอายุ 6-12 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 32 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 16 คน กลุ่มทดลอง 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson และแบบประเมินพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 มีค่าความเที่ยงครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ .863 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการดูแลของ Swanson สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสนับสนุนให้เห็นว่า กิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริหารยาของผู้ปกครองเด็กวัยเรียนโรคลมชักจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ปกครองได้รับรูปแบบการดูแล 5 องค์ประกอบของ Swanson ซึ่งจะนำไปสู่การมีความหวัง กำลังใจ ความมั่นใจในการปฏิบัติ และคงความเชื่อการบริหารยาถูกต้อง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริหารยาของบุคคลที่ดีขึ้น


ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, จินตนา นันตาแสง Jan 2020

ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, จินตนา นันตาแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในผู้สูงอายุหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจก่อนและหลังได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในผู้สูงอายุหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและแพทย์ให้การรักษาโดยการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี มีค่าความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท หรือตัวล่างมากกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน กลุ่มควบคุม 24 คน โดยทำการจับคู่ด้านเพศ อายุ ชนิดของกลุ่มยาลดความดันโลหิตที่ได้รับ ทั้งที่กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 20-60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกระดับ ความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุหลังขยายหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05) 2. ผู้สูงอายุหลังขยายหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของภายหลังได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่ำกว่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)


ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความผูกพันในงาน กับคุณภาพการดูแลของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย, นุชจรี นักไร่ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความผูกพันในงาน กับคุณภาพการดูแลของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย, นุชจรี นักไร่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความผูกพันในงาน กับคุณภาพการดูแลของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 427 คน จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณลักษณะของงาน แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพันในงาน และแบบสอบถามคุณภาพการดูแล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญทางการบริหารการพยาบาลและหาค่าความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ .93, .95, .94 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. คุณภาพการดูแลของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับดี ( X = 4.38) 2. คุณลักษณะของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน และความผูกพันในงาน มีความสัมพันธ์ทางบกกับคุณภาพการดูแลของพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .748, .744 และ .751 ตามลำดับ)


ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจต่อความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน, มณชยา เสกตระกูล Jan 2020

ผลของกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจต่อความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน, มณชยา เสกตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่มารับการผ่าตัดหัวใจ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 60 คน โดย 30 คนแรกจัดอยู่ในกลุ่มควบคุม และ 30 คนหลังจัดอยู่ในกลุ่มทดลอง ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความกลัวก่อนผ่าตัดหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลโดยการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Factors Related To Health-Related Quality Of Life In Patients With Acute Coronary Syndrome In West Java, Indonesia, Haerul Imam Jan 2020

Factors Related To Health-Related Quality Of Life In Patients With Acute Coronary Syndrome In West Java, Indonesia, Haerul Imam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This descriptive study aimed to examine the relationship between age, self-efficacy, functional status, pain, dyspnea, social support, and health-related quality of life in patients with acute coronary syndrome in west java, Indonesia. The participants were 186 patients who has acute coronary syndrome or history of acute coronary syndrome visited cardiovascular outpatient clinic in the main national public hospital type A in west java province, Indonesia. The instruments used for data collection were Demographic Questionnaire, General Self-efficacy Scale, Seattle Angina Questionnaire, Rose Questionnaire for Angina, Rose Dyspnea Questionnaire, ENRICH Social Support, and MacNew Health Related Quality of life. These instruments were …


The Effect Of The Program Promoting Infection Prevention Behaviors In Family Caregivers Of Pre-School Age Children With Acute Lymphoblastic Leukemia: The Application Of Self-Care Deficit Nursing Theory, Su-Ari Lamtrakul Jan 2020

The Effect Of The Program Promoting Infection Prevention Behaviors In Family Caregivers Of Pre-School Age Children With Acute Lymphoblastic Leukemia: The Application Of Self-Care Deficit Nursing Theory, Su-Ari Lamtrakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This quasi-experimental, pretest-posttest design aimed to compare infection prevention behaviors (medication administration, infection control, and infection surveillance) between the family caregivers of preschool-age children with acute lymphoblastic leukemia (ALL) in the experimental group and the control group. This nursing program is based on the Self-Care Deficit theory, to enable dependent care agencies regarding infection prevention behaviors of family caregivers. The dependent care agency consisted of the ability to acquired knowledge, ability to make a decision, and ability to perform infection prevention behaviors. The sample was 45 family caregivers of preschool age children with ALL, 23 were an experimental group and …


Intention To Stay Among Nurses In Ministry Of Public Health, Thailand: A Cross-Sectional Survey, Rata Srisa-Art Jan 2020

Intention To Stay Among Nurses In Ministry Of Public Health, Thailand: A Cross-Sectional Survey, Rata Srisa-Art

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A cross-sectional survey designed to investigate intention to stay (ITS) of nurses (RNs) in public hospitals under the Ministry of Public Health (MOPH) and to compare the intention to stay among nurses in various hospital types of care delivery of organizational characteristics, nurse characteristics, managerial characteristics, and work characteristics. The multi-stage sampling technique was used to recruit 1,524 nurses from in-patient units of 59 public hospitals under MOPH. Four instruments were used, namely: Nurse Characteristics and Socio-Demographic Data Form; Management Factors Questionnaire; Job Diagnostic Survey; and Intention to Stay Scales. All instruments were examined for content validity and reliability. The …


A Causal Model Of Functional Status Among Persons With Liver Cirrhosis, Surachai Maninet Jan 2020

A Causal Model Of Functional Status Among Persons With Liver Cirrhosis, Surachai Maninet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This cross-sectional correlation study aimed to develop and test a causal relationship among alcohol consumption, illness perception, social support, fatigue, and functional status among persons with liver cirrhosis. The hypothesized model was constructed based on the theory of unpleasant symptoms and the review of the literature. A stratified three-stage random sampling approach was utilized to recruit 400 persons with liver cirrhosis aged 40 years old and older who visited four hospitals from three regions of Thailand. Research instruments consisted of the demographic data form, Alcohol Use Disorders Identification Test Consumption, Brief Illness Perception Questionnaire, Multidimensional Scale of Perceived Social Support, …


การจัดการกับปัญหาการนอนของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระหว่างได้รับเคมีบำบัด : การศึกษาเชิงคุณภาพ, เสาวณีย์ ธรรมวิภาส Jan 2020

การจัดการกับปัญหาการนอนของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระหว่างได้รับเคมีบำบัด : การศึกษาเชิงคุณภาพ, เสาวณีย์ ธรรมวิภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการจัดการปัญหาการนอนของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอายุ 8 – 12 ปี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกแบบตัวต่อตัว จนผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 10 ราย จึงเกิดความอิ่มตัวของข้อมูล จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบแก่นสาระ เพื่อสร้างข้อสรุปและตีความ ผลการวิจัยพบว่าการจัดการกับปัญหาการนอนของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ประกอบด้วย 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ปัญหาการนอนที่ไม่ได้บอกใครและไม่มีใครรู้ : ปัญหาการนอนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวคือเรื่องที่ไม่ได้บอกใคร และปัญหาการนอนนั้นไม่มีใครรู้ 2. การนอนที่ต้องหลับๆตื่นๆ : คือการนอนที่มีลักษณะนอนได้ไม่ต่อเนื่อง หลับๆตื่นๆ หลับอยู่ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมา นอนละเมอ 3. หาอะไรทำเวลานอนไม่หลับ : ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เมื่อนอนไม่หลับจะหาอะไรทำ เช่น การเล่นเกมบนมือถือ เล่นโทรศัพท์ ดูทีวีไปเรื่อยๆ สิ่งที่ทำเหล่านี้ยิ่งทำก็ยิ่งทำให้นอนไม่หล้บมากยิ่งขึ้น 4. ปรับตัวให้นอนพักได้ : ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว การปรับตัวให้งีบหลับช่วงสั้นๆ งีบหลับในที่ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ที่บ้าน ไม่ใช่ห้องนอน และมักหลับตาพัก จนม่อยหลับไปเอง ผลการวิจัยนี้แสดงว่าผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ระหว่างได้รับเคมีบำบัดมีปัญหาการนอนเกิดขึ้นที่ไม่ได้รับการแก้ไข ข้อค้นพบนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งมีปัญหาการนอน รวมทั้งการวิจัยในอนาคตในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป


การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, วัทธิกร มั่นจิตร์ Jan 2020

การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, วัทธิกร มั่นจิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการและวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 423 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 3 โรงพยาบาลของรัฐระดับตติยภูมิในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ และ 3) แบบสอบถามวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และ .95 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์ KR-20 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ของแบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจใน 4 มิติ คือ มิติการเกิดอาการ มิติความถี่ มิติความรุนแรง และมิติความทุกข์ทรมาน ได้เท่ากับ .85, .85, .87 และ .86 ตามลำดับ และแบบสอบถามวิธีการจัดการอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ ในด้านการเลือกปฏิบัติวิธีการจัดการอาการ และประสิทธิผลวิธีการจัดการอาการ เท่ากับ .90 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. อัตราการมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 52.7 (223 คน) 2. ประสบการณ์การมีอาการภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลุ่มตัวอย่างรายงานมากที่สุด ในมิติการเกิดอาการ คือ อาการรู้สึกเหนื่อยง่าย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 67.7 มิติความถี่ คือ อาการขาบวม โดยกลุ่มตัวอย่างรายงานความถี่ของอาการอยู่ในระดับมาก (Mean ± SD = 3.13 ± 1.19) มิติความรุนแรง และมิติความทุกข์ทรมาน คือ อาการเบื่ออาหาร โดยกลุ่มตัวอย่างรายงานความรุนแรง และความทุกข์ทรมานของอาการอยู่ในระดับปานกลาง (Mean ± SD = 3.05 ± .97 …


การศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, อ้อมใจ บุญยิ่ง Jan 2020

การศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, อ้อมใจ บุญยิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาคือแพทย์เฉพาะทางออร์โธปิดิกส์ 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร คือพยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย 4 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ คือพยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับปฏิบัติการ 6 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ คืออาจารย์พยาบาลด้านออร์โธปิดิกส์ทางคลินิก 3 คนและ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงคือ พยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูงสาขาการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูล 3 รอบ คือ รอบที่ 1การสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตติยภูมิ 4 ระดับได้แก่ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และ ระดับเชี่ยวชาญ รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตติยภูมิ แต่ละด้านและรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐานค่าพิสัยระหว่างควอไทล์จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นเพื่อสรุปผลการศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาสมรรถนะตามหน้าที่ของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แต่ละระดับ ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ 2) ด้านการให้ข้อมูลและคำปรึกษาทางคลินิก 3) ด้านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางออร์โธปิดิกส์ 4) ด้านการจัดการความเสี่ยงทางออร์โธปิดิกส์ 5) ด้านการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 6) ด้านการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล พยาบาลปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ทั้ง 4 ระดับ จะมีสมรรถนะเหล่านี้แตกต่างกัน โดยสรุปดังนี้ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับปฏิบัติการ สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์และปฏิบัติงานอื่นๆในระดับพื้นฐาน พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับชำนาญการ สามารถนำความรู้เชิงลึกมาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะซับซ้อนและวิกฤติและปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับชำนาญการพิเศษ สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถนิเทศทางการพยาบาล และพัฒนาคุณภาพการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ได้ พยาบาลออร์โธปิดิกส์ระดับเชี่ยวชาญ สามารถเป็นที่ปรึกษาการพยาบาลผู้ป่วยออร์ปิดิกส์ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมทางการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ได้


ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม, นุชชวพรกุล คุณชมภู Jan 2020

ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม, นุชชวพรกุล คุณชมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปรากฏการณ์วิทยาตามแนวคิดของ มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Hediegger) (1889-1976) ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามที่รับการรักษาด้วยการควบคุมฮอร์โมนทั้งในรูปแบบของการผ่าตัดอัณฑะและการใช้ยาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจำนวน 13 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และนำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม ประกอบด้วย 1. ความหมายของการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามของผู้สูงอายุ หมายถึงโรคที่เหมือนจะไม่รุนแรงแต่ต้องคอยติดตามผลเลือด 2. ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม ประกอบด้วย 1) แรกรู้ก็ตกใจแต่ทำใจว่าใครก็เป็นได้ 2) ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการรักษาด้วยการควบคุมฮอร์โมนเพศ 3) สูญเสียสมรรถนะทางเพศ 4) สนใจดูแลตนเองมากขึ้น 5) ได้รับกำลังใจในการใช้ชีวิตอยู่ต่อไป 6) การยอมรับความตายที่จะเกิดขึ้น จากผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เข้าใจประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามมากยิ่งขึ้น และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปฏิบัติการพยาบาลและการวิจัยต่อไป


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก, อุทัยวรรณ ปัทมานุช Jan 2020

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก, อุทัยวรรณ ปัทมานุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันครั้งแรก จำนวน 213 คน มาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือดหลังจากจำหน่ายจากโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการรับรู้อาการเจ็บหน้าอก 3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจฉบับย่อ 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 6) แบบสอบถามความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของโรคฉบับย่อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .99, .71, .89, .88 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกมีคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (Mean = 62.54, SD = 11.74) ส่วนความรุนแรงของโรค ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 11.36, SD = 5.67; Mean = 11.34, SD = 3.49; Mean = 31.52, SD = 7.31 และ Mean = 26.93, SD = 10.22 ตามลำดับ) 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก ได้แก่ ความรุนแรงของโรค (r = .196) ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (r = -.367) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในเขตภาคกลาง ประเทศไทย, กิติพงษ์ พินิจพันธ์ Jan 2020

ปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในเขตภาคกลาง ประเทศไทย, กิติพงษ์ พินิจพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 185 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากโรงพยาบาล 3 แห่งในเขตภาคกลาง มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในเขตภาคกลาง ประเทศไทยปัจจัยคัดสรรในการศึกษานี้ ประกอบด้วย 1) ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ 2) ความเชื่อด้านสุขภาพ 3) ภาวะสุขภาพ 4) การรับรู้ความเจ็บป่วย 5) สมรรถนะแห่งตน และ 6) ความรู้เรื่องภาวะหัวใจล้มเหลว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองและแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยรวม อยู่ในระดับพอใช้ (M = 55.52, SD = 11.71)ความเชื่อด้านสุขภาพ สมรรถนะแห่งตน ความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเอง (r = .377, .430, และ .349 ตามลำดับ) การรับรู้ความเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์ทางลบกับการดูแลตนเอง (r = -.279) ส่วนประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและภาวะสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ยังพบว่าสมรรถนะแห่งตน และความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถร่วมทำนายการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 23.0 (R2 = .230, p = .001)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, นันท์ธิดา เชื้อมโนชาญ Jan 2020

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, นันท์ธิดา เชื้อมโนชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงบรรยายนี้ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ประสบการณ์การมีอาการ การจัดการตนเอง ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทั้งเพศชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลตติยภูมิ ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 132 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินประสบการณ์การมีอาการ แบบประเมินการจัดการตนเอง แบบสอบถามความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.94, 0.81, 0.84 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 55.57 (SD= 12.71) 2. ภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r = -.20) 3. เพศ ประสบการณ์การมีอาการ การจัดการตนเอง และความวิตกกังวล ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง แต่ประสบการณ์การมีอาการ และการจัดการตนเอง มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำและปานกลางกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r = -.20, -.39 ตามลำดับ) และความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (r = .60)


ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์, สิรินันท์ หวังมุขกลาง Jan 2020

ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์, สิรินันท์ หวังมุขกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ ระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัว และ 2) พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดแอลกอฮอล์และสมาชิกในครอบครัว ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 50 ครอบครัว ได้รับการจับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วยอายุและระดับปัญหาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัว (Family Intervention Program) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัว 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบบันทึกพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ 4) แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว และ 5) แบบประเมินปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 มีความเที่ยงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยวิธีทดสอบซ้ำเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวและผู้ติดแอลกอฮอล์ที่ได้รับการดูแลตามปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่า การใช้โปรแกรมการบำบัดแบบครอบครัวสามารถช่วยให้พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ลดลงได้


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, สุภาวดี ล่ำสัน Jan 2020

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค, สุภาวดี ล่ำสัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดต่อความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแล โดยใช้แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti (2008) ทั้งนี้โปรแกรมได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง พัฒนาโดย ซาริท และซาริท (Zarit & Zarit, 1990) แปลเป็นภาษาไทยโดย ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และคณะ (2554) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูด ในสัปดาห์ที่ 1 หลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดในสัปดาห์ที่ 2, 3, 4, 5 และหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดในสัปดาห์ที่ 6 ลดลงอย่างต่อเนื่อง 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดของผู้ดูแลหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนกิจกรรมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05