Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 37

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ภาวะผู้นำของหัวหน้าพยาบาล สู่ความเป็นเลิศระดับสากลขององค์การพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ, อนัญญา ภาเจริญสิริ Jan 2019

ภาวะผู้นำของหัวหน้าพยาบาล สู่ความเป็นเลิศระดับสากลขององค์การพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ, อนัญญา ภาเจริญสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This descriptive study is about leadership of nursing director towards international nursing service excellence at tertiary hospitals. The Delphi Technique was used. Subjects were 19 experts, including two administrators at tertiary hospitals where are certified by international standards, five hospital quality assurance inspectors, eight nursing directors in tertiary hospitals where are certified by international standards, and four nursing educators of nursing administration. The Delphi Technique consisted of 3 steps. Step 1, Integrate information from review literature to scope the question and interview the experts about leadership of nursing director towards international nursing service excellence at tertiary hospitals. Step 2, interviewed …


ผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, เพียงฝัน ยอดดี Jan 2019

ผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า, เพียงฝัน ยอดดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ออาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 40 คน โดยจับคู่อายุ และระดับภาวะซึมเศร้า แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) การให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม 2) แบบประเมินความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังการได้รับการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าของกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง, ฐิติมา ยิ่งหาญ Jan 2019

ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง, ฐิติมา ยิ่งหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดหลังการทดลองมีกลุ่มเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี ที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน (matched pair) ในด้านอายุและระดับการศึกษา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ตรวจสอบความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน โดยใช้สถิติ Inter-rater reliability แบบบันทึกความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าซี ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, บุญรัตน์ ปัญศิริ Jan 2019

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, บุญรัตน์ ปัญศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการตอบสนองความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตของ มอลเตอร์และเลสเก กลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง โดยการจับคู่ให้มีลักษณะใกล้เคียงกันเรื่องเพศของครอบครัวและระดับความรุนแรงการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความวิตกกังวล 3) แบบประเมินความพึงพอใจ และ4) แบบประเมินความต้องการ โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.93, .96, .93ตามลำดับ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สถิติที ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของครอบครัวหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัว อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของครอบครัวหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวต่ำกว่าหลังได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของครอบครัวหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวสูงกว่ากลุ่มหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนตามความต้องการของครอบครัวสามารถตอบสนองตามความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยได้มากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดความพึงพอใจสูงขึ้นและลดความวิตกกังวลได้


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด, ปรียานันท์ ธนาคุณ Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด, ปรียานันท์ ธนาคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัดของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ดัชนีมวลกาย การได้รับยาบรรเทาอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด การนอนไม่หลับ ความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและกิจกรรมทางกายกับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 และ 3 อายุระหว่าง 30-59 ปี ที่เข้ารับยาเคมีบำบัด ณ แผนกให้ยาเคมีบำบัดของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 176 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด แบบสอบถามความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย แบบสอบถามการนอนไม่หลับและแบบสอบถามความเหนื่อยล้า ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .85, .72, .74, .78 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของอีต้า ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด ด้านระบบประสาทรับความรู้สึกมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 13.69(SD = 4.42) อาการที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือมือ ร้อยละ 73.30 รองลงมา คือ อาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด ด้านระบบประสาทสั่งการ คะแนนเฉลี่ย 10.29(SD = 2.70) อาการที่พบมากที่สุด คือ มีความลำบากในการขึ้นบันไดและลุกจากเก้าอี้เนื่องจากขาอ่อนแรง ร้อยละ 33 และอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด ด้านระบบประสาทอัตโนมัติน้อยที่สุด คะแนนเฉลี่ย 2.50(SD = .85) อาการที่พบมากที่สุด คือ รู้สึกวิงเวียนศีรษะเมื่อเปลี่ยนท่า ร้อยละ 27.80 2. การนอนไม่หลับ ความเหนื่อยล้า อายุ ความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .44, .26, .20 และ .16 ตามลำดับ) และการได้รับยาบรรเทาอาการมีความสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทส่วนปลายจากเคมีบำบัด …


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, พรทิพย์ อ่อนเพชร Jan 2019

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, พรทิพย์ อ่อนเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทั้งเพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 31-59 ปี เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 21 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน แบบสัมภาษณ์ความเชื่อมั่นของตนเองในการเคลื่อนไหวร่างกาย แบบบันทึกกิจกรรมและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดภายหลังออกจากโรงพยาบาล ค่าความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ความเชื่อมั่นของตนเองในการเคลื่อนไหวร่างกาย เท่ากับ .78 และ .87 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกลุ่มได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, รสริน ยิ้มอยู่ Jan 2019

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, รสริน ยิ้มอยู่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตติยภูมิที่มีประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 387 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้สมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองและรายการสมรรถนะย่อย สร้างเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยสมรรถนะ 9 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 50 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และหาความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีการสกัดตัวประกอบหลัก ระยะที่ 2 สร้างแบบประเมินสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพ แบบรูบริค ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความเหมาะสมของระดับเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวประกอบสมรรถนะการดูแลแบบประคับประคองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 50 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 69.41 ได้แก่ 1) ด้านการดูแลแบบประคับประคองและการจัดการความปวด สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 59.508 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 2) ด้านการจัดการความรู้ จริยธรรมและกฏหมาย จิตวิญญาณศาสนา และการประสานงานส่งต่อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 4.415 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 3) ด้านการสื่อสารและการดูแลภาวะโศกเศร้า สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 2.928 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 13 ตัวแปร 4) ด้านการเตรียมความพร้อมในระยะใกล้ตายและการดูแลหลังเสียชีวิต สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 2.565 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 11 ตัวแปร 2. แบบประเมินที่สร้างขึ้นแบ่งระดับสมรรถนะการดูแลเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ 3 หมายถึง พยาบาลวิชาชีพมีสรรถนะด้านการดูแลแบบประคับประคองในระดับชำนาญการ/ดีเยี่ยมสามารถสอนนิเทศงานได้ …


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน, วราภรณ์ กันธิยะ Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน, วราภรณ์ กันธิยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาการต้องโทษ การเห็นคุณค่าในตนเอง การตีตราตนเอง การเผชิญความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนเพศชายและหญิง อายุ 18 - 59 ปี ซึ่งถูกดำเนินคดีเข้ามาอยู่ในความควบคุมของเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขตภาคเหนือตอนบน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบคัดกรองสารเสพติด (V.2) 2) แบบประเมินอาการทางจิต (BPRS) 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบสอบถามวัดการเผชิญความเครียด 5) แบบสอบถามวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง 6) แบบสอบถามวัดการตีตราตนเอง 7) แบบสอบถามวัดการสนับสนุนทางสังคม และ 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (BDI-IA) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 4 - 8 มีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82, .87, .86, .82, .83 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสหสัมพันธ์เพียร์สัน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. ผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 33.9 มีภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาภาพรวมพบว่ามีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง มาก และรุนแรง สูงถึงร้อยละ 52 2. การเผชิญความเครียด แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่น ๆ และแบบหลีกเลี่ยงปัญหา มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (c2= 94.23; p<.05) 3. ระยะเวลาการต้องโทษ และการตีตราตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = .446 และ .340; p<.05 ตามลำดับ) 4. อายุ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = -.292, -.404 และ -.396; p<.05 ตามลำดับ) ส่วน เพศ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน


ผลของการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท, วิลาสินี กำลังมาก Jan 2019

ผลของการจัดการความเครียดแบบกลุ่มต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท, วิลาสินี กำลังมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการศึกษาแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภท ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 24 คน ซึ่งได้รับการจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการความเครียดแบบกลุ่มของผู้ป่วยจิตเภท 2) แบบประเมินอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท ฉบับภาษาไทย ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) อาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับการจัดการความเครียดแบบกลุ่ม ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล, สุจิตรา ฟังเร็ว Jan 2019

ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล, สุจิตรา ฟังเร็ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาล ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ณ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ เพศ และระดับการศึกษา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มการทดลองกลุ่มละ 21 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.74 แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1, 0.93 และ 0.78 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95, 0.98 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจที่กลับมารับบริการในโรงพยาบาลในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, อัจฉรา วงศ์คณิตย์ Jan 2019

ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, อัจฉรา วงศ์คณิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The pretest-posttest control group design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน รวม 40 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matched pair) กำหนดให้แต่ละคู่มี ลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องช่วงอายุ เพศ สถานภาพการสมรสความรุนแรงของโรค ระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตที่พัฒนาโดย Ando (2010) ตามแนวคิดการทบทวนชีวิตของ Butler (1963) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) แบบสอบถามความต้องการด้านจิตวิญญาณ แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ (The Geriatric Spiritual Well Being Scale: GSWS-Thai) มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .875 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .854 นำเสนอข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. ความผาสุกทางจิตวิญญาณภายหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. ความผาสุกทางจิตวิญญาณในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตมีความผาสุกทางจิตวิญญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, อาทิตา เย็นท่าเรือ Jan 2019

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, อาทิตา เย็นท่าเรือ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประสบการณ์การมีอาการ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า อายุ18-59 ปี จำนวน 135 คน ที่มารับบริการทำความสะอาดแผล ณ คลินิกศัลกรรม หอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก ประกอบด้วย ค่าระดับน้ำตาลสะสม ภาวะแทรกซ้อน และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.77,0.72,0.77 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสเปียร์แมน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.36, SD = 0.38) 2. พฤติกรรมการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประสบการณ์การมีอาการ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, พินิจพร ขันแพง Jan 2019

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์, พินิจพร ขันแพง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาลสถาบันหรือโรงพยาบาลมะเร็ง จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งสถาบันหรือโรงพยาบาลมะเร็ง จำนวน 6 คน อาจารย์พยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 4 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์ จำนวน 3 คนและแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งสถาบันหรือโรงพยาบาลมะเร็งจำนวน 2 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่สาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญเขียนตอบระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละข้อรายการ เพื่อนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบ และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก จำนวนรวม 42 ข้อรายการ ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนการผ่าตัด จำนวน 9 ข้อรายการ 2) ด้านความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของการได้รับยาเคมีบำบัด จำนวน 8 ข้อรายการ 3) ความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ได้รับรังสีรักษา จำนวน 6 ข้อรายการ 4) ด้านความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพ จำนวน 8 ข้อรายการ 5) ด้านด้านการทุเลาจากความเจ็บปวด จำนวน 6 ข้อรายการ และ6) ด้านด้านการได้รับการตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณจำนวน 5 ข้อรายการ โดยองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน พบว่า มีข้อรายการย่อยจำนวน 39 ข้อ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด และมีข้อรายการย่อยจำนวน 3 ข้อ …


ผลของการใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลงต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ, อรวิชชา ศรีขาวรส Jan 2019

ผลของการใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลงต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ, อรวิชชา ศรีขาวรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยเด็กจำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) โครงการอบรมเรื่อง การใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง 2) แผนการสอนเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง 3) คู่มือการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง 4) แบบประเมินความรู้ เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง 5) แบบบันทึกการใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง และ6) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการดูแลร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 1, 0.86, 1, 0.86 และ 1 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐานและค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก


ผลของการดูแลต่อเนื่องต่อภาพลักษณ์สตรีหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม, วันวิสาห์ ศรีแสงโชติ Jan 2019

ผลของการดูแลต่อเนื่องต่อภาพลักษณ์สตรีหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม, วันวิสาห์ ศรีแสงโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลการดูแลต่อเนื่องต่อภาพลักษณ์ในสตรีหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่ป่วยมะเร็งเต้านมและได้รับการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด และยังไม่ได้รับเคมีบำบัดหรือฉายแสง อายุ 35-59 ปี จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้ใกล้เคียงกันในเรื่อง ประเภทของการผ่าตัด อายุ และระดับการศึกษา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมออก แบบสอบถามภาพลักษณ์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 การดำเนินการวิจัยโดยจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยและคู่สมรสมีส่วนร่วมไปด้วยกัน ตามการดูแลต่อเนื่องโดยประยุกต์จากแนวคิดการดูแลต่อเนื่องของ Ahmadi (2001) ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การแนะนำเบื้องต้น การกระตุ้น การควบคุม และ การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย ผู้ป่วยสตรีหลังได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมกลุ่มที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องและการพยาบาลตามปกติมีการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านบวกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็ก, ศุภกัญญา ชูจันทร์ Jan 2019

ผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็ก, ศุภกัญญา ชูจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 3-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 47 คน เป็นกลุ่มทดลอง 22 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติสร้างตามแนวคิด Edutainment Animated Series for Children ของ Isa แบบประเมินความรู้และแบบสังเกตพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจ มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1.0 และ .92 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจของเด็กวัยก่อนเรียนหลังได้รับการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติ ดีกว่าก่อนได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติ ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ, นลิน ดวงปัญญา Jan 2019

ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ, นลิน ดวงปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความตามแนวคิดของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 11 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทปและนำข้อมูลมาถอดคำต่อคำ การสังเกต และการจดบันทึกในระหว่างการสัมภาษณ์ ร่วมกับวิเคราะห์เนื้อหาตามแบบวิธีการของแวน มาเนน ผลการศึกษาสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การให้ความหมายของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ และประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ โดยการให้ความหมายของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ คือ การดูแลเอาใจใส่เพื่อไม่ให้กลับป่วยซ้ำ เกิดจากความรักใคร่ ห่วงใยและผูกพัน ผู้ป่วยคือคนสำคัญ มีคุณค่า และมีความหมายต่อผู้ดูแล พบ 2 ประเด็นย่อย คือ 1. การทำหน้าที่ด้วยความรักความห่วงใย 2. เกิดความผูกพันรักใคร่ในครอบครัว ส่วนประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ พบ 3 ประเด็นหลัก และ 6 ประเด็นย่อย ดังนี้ 1.การรับรู้ว่าผู้ป่วยผิดปกติและแสวงหาการรักษา 1.1) การรับรู้ว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ 1.2) แสวงหาการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย 2. การทำใจยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น 2.1) หลากหลายความทุกข์ถาโถมเข้ามาในชีวิต 2.2) การทำใจยอมรับเพื่อตนเองและผู้ป่วย 3. การดูแลฟื้นฟู และป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับป่วยซ้ำ 3.1) การทำหน้าที่ตอบสนองทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย 3.2) ให้ผู้ป่วยได้กลับมาประกอบอาชีพ และมีรายได้เป็นของตนเอง ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำ ตั้งแต่ผู้ป่วยจิตเภทเริ่มมีอาการทางจิต การดูแลฟื้นฟูเพื่อป้องกันการกลับป่วยซ้ำ และผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นกับผู้ดูแลหลัก เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลและสหวิชาชีพ สามารถนำไปพัฒนาระบบการดูแลทั้งผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่กลับป่วยซ้ำและผู้ดูแลหลักอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมเพื่อป้องกันการกลับป่วยซ้ำ


ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ, วิวัฒน์ เหล่าชัย Jan 2019

ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ, วิวัฒน์ เหล่าชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบสหสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ การเสพติดบุหรี่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ กิจกรรมทางกาย ภาวะซึมเศร้า ความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ ความเข้มข้นของการช่วยเลิกสูบบุหรี่ ระดับการศึกษาทางโลก และระดับการศึกษาทางธรรมกับการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ จำนวน 136 รูป ซึ่งสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 มวนต่อวัน ได้รับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม และได้รับการให้คำปรึกษาจากคลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลสงฆ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและ ข้อมูลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ แบบประเมินการเสพติดบุหรี่ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ แบบประเมินกิจกรรมทางกาย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามความเข้มข้นของการช่วยเลิกสูบบุหรี่และแบบสัมภาษณ์การเลิกสูบบุหรี่ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง .68 - .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ Point-biserial correlations และสถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อประเมินที่ 3 เดือน หลังได้รับคำแนะนำให้เลิกบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ 50 รูป (ร้อยละ 36.80) ระบุว่าเลิกสูบบุหรี่ได้ตลอด 7 วันที่ผ่านมา โดยพบว่าพระสงฆ์ในกลุ่มนี้มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 66.0) มีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ คือ เพื่อสุขภาพของตนเอง 2. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ การเสพติดนิโคติน การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ ความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ และกิจกรรมทางกาย ส่วนระดับการศึกษาทางโลก ระดับการศึกษาทางธรรม ภาวะซึมเศร้า และความเข้มข้นของการช่วยเลิกสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ


การศึกษาการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, วชิรา โพธิ์ใส Jan 2019

การศึกษาการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, วชิรา โพธิ์ใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวแปรที่อธิบายการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป จำนวน 378 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามองค์ประกอบการแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ตัวประกอบ สกัดตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบหลัก (Principle Components Analysis) หมุนแกนแบบออโธโกนอล (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 81 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 64.28 ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านการดูแลระยะสุดท้าย ประกอบด้วย 10 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 9.58 2) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและกำหนดเป้าหมายของการดูแล ประกอบด้วย 12 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.88 3) องค์ประกอบด้านการจัดการกับความปวดและอาการข้อติดแข็ง ประกอบด้วย 11 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.55 4) องค์ประกอบด้านการส่งต่อและระบบการดูแลต่อเนื่อง ประกอบด้วย 11 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 7.69 5) องค์ประกอบด้านการดูแลจิตใจและอารมณ์ ประกอบด้วย 9 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.39 6) องค์ประกอบด้านการดูแลจิตวิญญาณ ประกอบด้วย 7 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.74 7) องค์ประกอบด้านการดูแลความผิดปกติด้านร่างกายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 6 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.26 8) องค์ประกอบด้านการให้ข้อมูลที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 5 ตัวแปรอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.96 9) องค์ประกอบด้านการเอื้ออำนวยความสะดวกในระบบบริการประกอบด้วย 4 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.68 10) องค์ประกอบด้านการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ประกอบด้วย …


ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตชนิดใช้สเต็มเซลล์ของผู้บริจาค, จีรนันท์ จิณะกับ Jan 2019

ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตชนิดใช้สเต็มเซลล์ของผู้บริจาค, จีรนันท์ จิณะกับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา ที่รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ชนิดใช้สเต็มเซลล์ของผู้บริจาค โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดของHusserl (Koch, 1995) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา ที่ผ่านประสบการณ์การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ชนิดใช้สเต็มเซลล์ของผู้บริจาค มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนถึง2ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของโคไลซี (Colaizzi’s method) จนข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน13 ราย ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. ก่อนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ประกอบด้วย 1) ทำไมต้องเป็นเรา 2) ความหวังที่ยังต้องสู้ 3) การรอคอยผู้บริจาคที่มีเนื้อเยื่อตรงกัน 4) การเจ็บป่วยและการรักษาส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต 5) การเตรียมตัวก่อนปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต 2. ระยะระหว่างปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ประกอบด้วย 1) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เปลี่ยนชีวิตใหม่ ให้ได้อยู่ต่อ 2) ความทุกข์ทรมานระหว่างการรักษา 3) การหาวิธีเผชิญกับความเจ็บป่วย 4) ความดีใจที่จะได้กลับบ้าน แต่กลัวที่จะดำเนินชีวิตนอกโรงพยาบาล 3. หลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ประกอบด้วย 1) การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต 2) ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ 3) ความวิตกกังวล 4) การใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน จากผลการวิจัยนี้นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้บุคลากรในทีมสุขภาพมีความเข้าใจถึงประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ชนิดใช้สเต็มเซลล์ของผู้บริจาค เพื่อพัฒนาแนวทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ Hpv ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ, สุจิตรา หัดรัดชัย Jan 2019

ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ Hpv ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ, สุจิตรา หัดรัดชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ จากปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV ความคาดหวังผลลัพธ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การรับรู้สถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ ในสถานบริการสุขภาพ 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานครที่มีบริการสุขภาพทางเพศให้กับชายรักชาย จำนวน 140 คน อายุ 18-40 ปี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV แบบสอบถามความคาดหวังผลลัพธ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการรับรู้สถานการณ์ในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และแบบสอบถามความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1.00, .87, 1.00, 1.00, 1.00 และ1.00 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์ KR-20 และครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .82, .81, .81, .94, .94 และ.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศในสถานบริการสุขภาพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อยู่ในระดับสูง (mean=11.39, SD=2.39) 2) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (Beta=.419) การรับรู้สถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (Beta=.231) และความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV (Beta=.148) สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ของชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศได้ ร้อยละ 40.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สำหรับปัจจัยความคาดหวังผลลัพธ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ไม่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศได้ (p>.05) ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ให้กับชายรักชายเพื่อลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากทวารหนักต่อไป


The Effect Of Parent Involvement-Child Behavioral Management Program Among Children With Adhd, Ubon Wannakit Jan 2019

The Effect Of Parent Involvement-Child Behavioral Management Program Among Children With Adhd, Ubon Wannakit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This quasi-experimental pretest-posttest control group design aims to examine the effectiveness of the Parent Involvement-Child Behavioral Management Program (PICBMP) in reducing symptoms among ADHD children. Sixty-four children aged 6–12 years with ADHD were randomly assigned to either the experimental or control group by using a random number table, consisting of thirty-two participants in each group. The participants in the experimental group participated in the PICBMP and usual care with medication, while those in the control group received the usual care with medication. The PICBMP based on Behaviorally-based treatment (Goodman &Scott, 1997), consists of eight weeks of behavior management which included …


ผลของการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, พัชรธิดา พินรัตน์ Jan 2019

ผลของการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, พัชรธิดา พินรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง (Quasi-Experiment) วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วก่อนและหลังได้รับการสนับสนุนทางสังคม และเพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่เข้ามารับบริการแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 40 คน ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 คนและกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) การสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม 2) แบบสอบถามการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วหลังได้รับการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มสูงกว่าก่อนได้รับการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วก่อนและหลังได้รับการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, ดรัณ พงศธรสกุล Jan 2019

ผลของโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, ดรัณ พงศธรสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะ และ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 20 คนและกลุ่มควบคุม 20 คน โดยได้รับการจับคู่ด้วยเพศ และระยะเวลาในการเจ็บป่วย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะของผู้ป่วยจิตเภท 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทหลังเข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่เข้าร่วมโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะไม่สูงกว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว, ดาวเรือง ยางศรี Jan 2019

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว, ดาวเรือง ยางศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งเพศชายและหญิงจำนวน 48 คน ที่มารับบริการคลินิกหัวใจล้มเหลว แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 24 คน และกลุ่มทดลอง 24 คน จับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันในเพศ และระดับความรุนแรงของโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งโปรแกรมการจัดการตนเองประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การฝึกทักษะการจัดการตนเองที่จำเป็น 6 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว เครื่องมือกำกับการทดลอง คือแบบสอบถามการจัดการตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว มีค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค .82 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=11.66, df=23, p=.000) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=7.27, df=46, p=.000)


ผลของโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูดต่อความสุขสบายของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง, นันทิยา แก้ววงษา Jan 2019

ผลของโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูดต่อความสุขสบายของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง, นันทิยา แก้ววงษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขสบายของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขสบายของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคมะเร็งอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ที่มารับบริการ ณ หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มี คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 44 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คู่ กลุ่มควบคุม 22 คู่ โดยการ จับคู่อายุ การวินิจฉัยโรค ประเภทของหอผู้ป่วยที่พักรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูด โดยใช้แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti (2008) ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามความสุขสบายของผู้ป่วย ( Hospice Comfort Questionnaire) ของ Novak, Kolcaba, Steiner, and Dowd (2001) ฉบับภาษาไทยแปลโดยยุพิน ถนัดวณิชย์ (Tanatwanit, 2011) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวแมนนิจูดมีความสุขสบายมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบฮิวแมนนิจูดมีความสุขสบายมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, นิภาพร นามมันทะ Jan 2019

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, นิภาพร นามมันทะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จำนวน 122 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบวัดความวิตกกังวล 5) แบบสอบถามความกลัว และ 6) แบบสอบถามพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .86, .89, .86, .87 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. บุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (Mean = 31.31, SD = 4.93; Mean = 72.63, SD = 7.83 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและความกลัวมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 74.66, SD = 17.03; Mean = 26.81, SD = 5.11 ตามลำดับ) และความวิตกกังวลมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ (Mean = 31.94, SD = 6.80) 2. การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .471, .327 ตามลำดับ) และความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.367)


การศึกษาความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, นุศรา นิลแสง Jan 2019

การศึกษาความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, นุศรา นิลแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2) เพื่อศึกษา อายุ เพศ บุคลิกภาพ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล จำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังระหว่าง อายุ เพศ บุคลิกภาพ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล จำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินบุคลิกภาพ แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา และคำนวณหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินบุคลิกภาพ แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ได้เท่ากับ 0.83, 0.92, 0.85, 0.81 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test และสถิติ ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ความว้าเหว่ของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบว่า อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 60.5 และมีความว้าเหว่ระดับสูงร้อยละ 10 2. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-69 ปี) เป็นเพศชายและเพศหญิงในจำนวนเกือบเท่ากัน มีบุคลิกภาพแบบแสดงออกและมีอารมณ์อ่อนไหวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95 มีระยะเวลานอนเฉลี่ย 10.3 วัน และมีจำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติมากที่สุดคือ 2 ครั้งต่อวัน คิดเป็นร้อยะ 46.3 ส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 42.50 และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 57.75 และรู้สึกได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 70 3. ความว้าเหว่ในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามอายุ เพศ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล จำนวนครั้งการเยี่ยมของญาติ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน …


ผลของการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง, ประจักษ์ พุกสุภา Jan 2019

ผลของการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง, ประจักษ์ พุกสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงก่อนและหลังได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัด และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงระหว่างกลุ่มที่ได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กออทิสติกอาการรุนแรงอายุ 6-12 ปี และผู้ดูแลหลัก ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ได้รับการจับคู่ (Matched pair) และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 18 คู่ กลุ่มทดลองได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลเด็กออทิสติกอาการรุนแรงและผู้ดูแลหลัก 2)แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติกอาการรุนแรง 3)แนวทางปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง 4)คู่มือการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงสำหรับผู้ดูแล 5)แบบประเมินความสามารถการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวที่บ้านของผู้ดูแล เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติกอาการรุนแรงเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสำคัญ คือ 1) พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงหลังการได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดจะลดลงกว่าก่อนได้รับการบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง กลุ่มที่ได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยนี้สรุปได้ว่าการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดในการพยาบาลเด็กออทิสติกอาการรุนแรงมีผลทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวลดลงได้


ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภท, พิชญา บัวรุ่ง Jan 2019

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภท, พิชญา บัวรุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลัง ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่รับการรักษาแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการจัดการกับอาการ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการจัดการกับอาการ 2) แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (SF-36) และ 3) แบบประเมินอาการทางจิตโรคจิตเภท ฉบับภาษาไทย เฉพาะอาการทางลบ เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.98 และ 0.86 ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05