Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในห้องคลอดตามปริมาณภาระงาน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี (Nursing Personnel Staffing In Delivery Room According To Workload: A Case Study Of Ramathibodi Hospital), นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 2005

การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในห้องคลอดตามปริมาณภาระงาน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี (Nursing Personnel Staffing In Delivery Room According To Workload: A Case Study Of Ramathibodi Hospital), นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจํานวนชั่วโมงความต้องการการพยาบาลต่อวันของผู้รับ บริการห้องคลอด จำแนกตามประเภทผู้รับบริการ และศึกษาอัตรากําลังบุคลากรทางการพยาบาลตามปริมาณ ภาระงานในห้องคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี สังเกตเวลาที่บุคลากรทางการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 22 คน และผู้ช่วยพยาบาล 23 คน ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและ กิจกรรมที่นอกเหนือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย 6 คน ซึ่งเป็นผู้สังเกตและบันทึก เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติแต่ละกิจกรรม โดยจับเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติกิจกรรมจนสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรม นอกจากนี้ได้ให้บุคลากรทางการพยาบาลบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและกิจกรรม ส่วนบุคคลด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบจำแนกประเภทผู้รับบริการ แบบบันทึกกิจกรรม การพยาบาลโดยตรง และกิจกรรมที่นอกเหนือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น \n30 วัน \nผลการวิจัยพบว่า \n1. จำนวนชั่วโมงความต้องการการพยาบาลต่อวันของผู้รับบริการห้องคลอด ประเภทที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 เท่ากับ 6.24, 7.16, 7.75, 9.92 และ 10.90 ชั่วโมง ตามลำดับ และจำนวนชั่วโมงความต้องการ การพยาบาลต่อวันของทารกแรกเกิดเท่ากับ 1.61 ชั่วโมง \n2. จำนวนอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลในห้องคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี ตามปริมาณ ภาระงาน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 26 คน ผู้ช่วยพยาบาล 20 คน \n3. อัตราส่วนของพยาบาลวิชาชีพ : ผู้ช่วยพยาบาล ในเวรเช้า เวรบ่าย และเวรดึก เท่ากับ 7 : 6, 6 : 4 และ 4 : 4 ตามลำดับ


แฟ้มสะสมผลงานกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ (Portfolio With Performance Evaluation And Competencies Development Of Professional Nurses), สุดารัตน์ ครุฑกะ, ยุพิน อังสุโรจน์ Jan 2005

แฟ้มสะสมผลงานกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ (Portfolio With Performance Evaluation And Competencies Development Of Professional Nurses), สุดารัตน์ ครุฑกะ, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการแสดงออกที่ เหมาะสม ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์กับความสำเร็จในการ สร้างเครือข่ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (Relationships Between Personal Factors, Assertiveness, Computer Competencies And Successful Networking Of Head Nurses, Governmental University Hospitals), สุภิญญา แสนศรีจันทร์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2005

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการแสดงออกที่ เหมาะสม ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์กับความสำเร็จในการ สร้างเครือข่ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (Relationships Between Personal Factors, Assertiveness, Computer Competencies And Successful Networking Of Head Nurses, Governmental University Hospitals), สุภิญญา แสนศรีจันทร์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการสร้างเครือข่าย พฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์กับความสำเร็จในการสร้างเครือข่าย ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งได้จากการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรม การแสดงออกที่เหมาะสม แบบสอบถามความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และแบบสอบถามความสำเร็จ ในการสร้างเครือข่าย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 11 ท่าน และวิเคราะห์ค่า ความเที่ยงโดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .90, 95 และ 98 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การจรณ์ และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \n1. หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ มีความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายและความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.91 และ 2.73 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการ แสดงออกที่เหมาะสม อยู่ในระดับสูง (X = 3.86) \n2. ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานด้านบริหารของหัวหน้า หอผู้ป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการสร้างเครือข่าย \n3. พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความสําเร็จในการ สร้างเครือข่ายของหัวหน้าหอผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 267) และความสามารถใน การใช้คอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายของ หัวหน้าหอผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .315)


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พลังวิชาชีพพยาบาล ความเชื่ออำนาจภายในตนกับความผูกพันในวิชาชีพของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป (Relationships Between Personal Factors, Nursing Career Vitality, Internal Locus Of Control, And Career Commitment Of Professional Nurses, General Hospitals), สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์, สุชาดา รัชชกูล Jan 2005

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พลังวิชาชีพพยาบาล ความเชื่ออำนาจภายในตนกับความผูกพันในวิชาชีพของ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป (Relationships Between Personal Factors, Nursing Career Vitality, Internal Locus Of Control, And Career Commitment Of Professional Nurses, General Hospitals), สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์, สุชาดา รัชชกูล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พลังวิชาชีพพยาบาล ความเชื่ออำนาจภายในตนกับความผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปจํานวน 389 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด แบ่งเป็น 4 ตอน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพลังวิชาชีพพยาบาล แบบสอบถามความเชื่ออำนาจภายในตนและแบบสอบถามความผูกพันใน วิชาชีพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาคได้ 83 86 และ 85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน \nผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ความผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไปอยู่ในระดับ มาก (X = 3.71 S.D. = 43) (2) พลังวิชาชีพพยาบาลและความเชื่ออำนาจภายในตนของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไปอยู่ในระดับมาก (X = 3.53 S.D. = 40, = 3.95 S.D. = 37 ตามลำดับ) (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุและประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.05 (r = 13 และ 12 ตามลำดับ) แต่ระดับการศึกษาและสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์ กับความผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป (4) พลังวิชาชีพพยาบาลและความเชื่อ อำนาจภายในตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n(r = . 50 และ .61 ตามลำดับ)


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่ม งานการพยาบาล การมีส่วนร่วมในงานของบุคลากรกับคุณภาพชีวิต การทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง (Relationships Between Personal Factors, Ethical Climate In Nursing Departments, Employee Involvement, And Quality Of Working Life Of Staff Nurses, General Hospitals, Central Region), ประภาพร นิกรเพสย์, สุกัญญา ประจุศิลป Jan 2005

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่ม งานการพยาบาล การมีส่วนร่วมในงานของบุคลากรกับคุณภาพชีวิต การทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง (Relationships Between Personal Factors, Ethical Climate In Nursing Departments, Employee Involvement, And Quality Of Working Life Of Staff Nurses, General Hospitals, Central Region), ประภาพร นิกรเพสย์, สุกัญญา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศจริยธรรม ในกลุ่มงานการพยาบาล การมีส่วนร่วมในงานของบุคลากร กับคุณภาพชีวิตการทํางานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของ พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจําการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถาม บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่มงานการพยาบาล แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในงานของบุคลากร และแบบ สอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาค่า ความเที่ยงของเครื่องมือได้เท่ากับ 94, 90 และ 83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สมการถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่มงานการพยาบาล การมีส่วนร่วมในงานของบุคลากร และคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลางอยู่ในระดับสูง ระดับ ปานกลางและระดับสูงตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล ประจำการ บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่มงานการพยาบาล การมีส่วนร่วมในงานของบุคลากร มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ (r=0.593, r= 0.644) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่มงานการพยาบาล และการมีส่วนร่วมในงานของบุคลากร ได้ร้อยละ 44.2


บทบาทของคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย "สึนามิ", จินตนา ยูนิพันธุ์, เยาวลักษณ์ โภไคยวณิชกุล Jan 2005

บทบาทของคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย "สึนามิ", จินตนา ยูนิพันธุ์, เยาวลักษณ์ โภไคยวณิชกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การวิเคราะห์ตัวประกอบที่ทําให้เกิดการคงอยู่ในกลุ่มงาน การพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ (Analysis Of Factors Contributing To Retention Of Nursing Department, Regional Hospital And Medical Centers), ละออ อริยกุลนิมิต, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2005

การวิเคราะห์ตัวประกอบที่ทําให้เกิดการคงอยู่ในกลุ่มงาน การพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ (Analysis Of Factors Contributing To Retention Of Nursing Department, Regional Hospital And Medical Centers), ละออ อริยกุลนิมิต, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวประกอบที่ทำให้เกิดการคงอยู่ในกลุ่ม งานการพยาบาลและตัวบ่งชี้ที่อธิบายตัวประกอบที่ทําให้เกิดการคงอยู่ในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานอย่างน้อย 5 ปี จำนวน 951 คน ประกอบ ด้วยพยาบาลระดับผู้บริหาร จำนวน 240 คน พยาบาลระดับประจำการ จำนวน 711 คน จากโรงพยาบาล ศูนย์ทั่วประเทศ จำนวน 25 แห่ง สุ่มได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามตัวบ่งชี้ที่ทำให้เกิดการคงอยู่ในกลุ่มงานการพยาบาล ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน และทดสอบความ เที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ตัวประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) สกัดตัวประกอบหลัก Principal Component analysis และหมุนแกนแบบออโธโกนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (varimax) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \nตัวประกอบที่ทำให้เกิดการคงอยู่ในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ มีจำนวน 10 ตัวประกอบ 117 ตัวบ่งชี้ เรียงลำดับตามอัตราร้อยละของความแปรปรวนได้ดังนี้ 1) การมีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม 2) การมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทางการพยาบาล 3) การให้อิสระในงาน 4) การให้ค่าตอบแทน ที่เหมาะสม 5) การพัฒนาวิชาการและวิจัย 6) การสนับสนุนการศึกษาต่อของบุคลากร 7) การมีสภาพแวดล้อม ที่ดีในการทำงาน 8) การมีความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและงาน 9) การมีโครงสร้างขององค์การแบบ แบนราบ 10) การให้โอกาสก้าวหน้าในงาน สามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 72.03


โปรแกรมทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ของแกนน่านักศึกษา (Basic Counseling Program For Preventive Behavior Enhancing Of Aids Of Student's Leader), ชฎาภา ประเสริฐทรง, พิจิตรา ชัยสิงห์ประสาท, ชนิกา เจริญจิตต์กุล Jan 2005

โปรแกรมทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ของแกนน่านักศึกษา (Basic Counseling Program For Preventive Behavior Enhancing Of Aids Of Student's Leader), ชฎาภา ประเสริฐทรง, พิจิตรา ชัยสิงห์ประสาท, ชนิกา เจริญจิตต์กุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองและ มีการติดตามผลภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมไปแล้วนาน 1 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ โปรแกรมทักษะพื้นฐานการให้คําปรึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็น แกนนํานักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ แบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ แบบสอบถามวิธีการป้องกัน โรคเอดส์ แบบสอบถามความรู้ด้านทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษาและแบบประเมินตนเอง ตรวจสอบค่าความ เชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 77, 82, 79, 71 และ 73 ตามลำดับ และโปรแกรมทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า \n1) คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของแกนนำนักศึกษาภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม มีคะแนนสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 \n2) คะแนนเฉลี่ยของการใช้ทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกัน โรคเอดส์ของแกนนํานักศึกษาภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 \n3) คะแนนเฉลี่ยของการประเมินตนเองด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ของแกนนำนักศึกษา ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 \n4) คะแนนเฉลี่ยของการประเมินตนเองด้านการใช้ทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษา เพื่อสร้างเสริม พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของแกนนำนักศึกษาภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้า ร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01\n5) คะแนนเฉลี่ยของการประเมินตนเองด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ของแกนนำนักศึกษา ภายหลังการติดตามผล 1 เดือน มีคะแนนสูงกว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 \n6) คะแนนเฉลี่ยของการประเมินตนเองด้านการใช้ทักษะพื้นฐานการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างเสริม พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของแกนนำนักศึกษา ภายหลังการติดตามผล 1 เดือน มีคะแนนสูงกว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 \nจากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่า โปรแกรมทักษะพื้นฐานการให้คําปรึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการ ป้องกันโรคเอดส์ มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของแกนนำนักศึกษา และแกนนำนักศึกษายังสามารถใช้ทักษะพื้นฐานการให้คําปรึกษาเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกัน โรคเอดส์ในการสร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนให้ห่างไกลโรคเอดส์


การปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลในต่างประเทศ (Independent Practice Of Western Professional Nurses ), จินตนา ยูนิพันธุ์, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, สุกัญญา ประจุศิลป Jan 2005

การปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลในต่างประเทศ (Independent Practice Of Western Professional Nurses ), จินตนา ยูนิพันธุ์, วราภรณ์ ชัยวัฒน์, สุกัญญา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลเป็นรูปแบบการบริการพยาบาลรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันใน ต่างประเทศว่า เป็นรูปแบบการบริการพยาบาลที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่ารูปแบบการบริการในลักษณะนี้ดูเหมือนว่าจะเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะนํามา ปฏิบัติในสังคมไทย แต่การที่จะส่งเสริมให้พยาบาลปฏิบัติอย่างอิสระโดยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและมีปัจจัยเอื้อที่เหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบในทางลบทั้งต่อสุขภาพของประชาชนและต่อวิชาชีพกาพยาบาลได้ บทความนี้ เป็นการนำเสนอผลของการทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวิจัยสังเคราะห์รูปแบบของการปฏิบัติอย่างอิสระของพยาบาวิชาชีพที่เหมาะสมกับ บริบทสังคมไทยต่อไป


ปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันในวิชาชีพ การมีแหล่งประโยชน์ทาง สังคม กับความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร (Personal Factors, Career Commitment, Social Resources, And Career Success Of Professional Nurses, Governmental Hospitals, Bangkok Metropolis), เปรมฤดี ปองมงคล, ยุพิน อังสุโรจน์ Jan 2005

ปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันในวิชาชีพ การมีแหล่งประโยชน์ทาง สังคม กับความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร (Personal Factors, Career Commitment, Social Resources, And Career Success Of Professional Nurses, Governmental Hospitals, Bangkok Metropolis), เปรมฤดี ปองมงคล, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันในวิชาชีพ การมีแหล่งประโยชน์ทางสังคม กับความสำเร็จในวิชาชีพ ของพยาบาลวิชาชีพ และศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่ม ตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร จํานวน 371 คน \nผลการวิจัยพบว่า \n1. ความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับสูง (x = 3.58) \n2. สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในวิชาชีพ ประสบการณ์ การทํางาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r = .209) \n3. ความผูกพันในวิชาชีพ และการมีแหล่งประโยชน์ทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความ สำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .671 และ 649 ตามลำดับ) \n4. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ความผูกพันในวิชาชีพ และการมีแหล่งประโยชน์ทางสังคม โดยสามารถร่วมกัน พยากรณ์ความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 58.1 (R = .581) \nสมการความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z ความสำเร็จในวิชาชีพ = 462 Zความผูกพันในวิชาชีพ \n+.418 Z การมีแหล่งประโยชน์ทางสังคม