Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

PDF

Chulalongkorn University

1996

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมของพยาบาลในโรงพยาบาล, จรัสศรี บัวบาน, บุญวดี เพชรรัตน์ Jan 1996

ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมของพยาบาลในโรงพยาบาล, จรัสศรี บัวบาน, บุญวดี เพชรรัตน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมของพยาบาลวิชาชีพ และเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคม ระหว่างพยาบาลที่มีสถานภาพการสมรส ช่วงอายุ ระดับการศึกษาทางการพยาบาล ประสบการณ์ทางการพยาบาล สถานภาพทางเศรษฐกิจ ตามที่ พยาบาลรับรู้ หอผู้ป่วยที่สังกัดและประสบการณ์การเพิ่มพูนความรู้ด้านการพยาบาลจิตสังคม ที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหอผู้ป่วยผู้ใหญ่สามัญของ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายร้อยละ 75 ของประชากร มีจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามปัญหาการ ปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมของพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) โดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแอลฟาของครอนบาช (Cronbach's Alpha-Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.8502 และมีค่าอํานาจจําแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 2.7425 - 7.2767 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม สําเร็จรูปเอส พีเอสเอส พีซีพลัส (SPSS/PC) สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐานและเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่า t กรณีเปรียบเทียบ 2 กลุ่มตัวอย่าง และใช้ ANOVA พร้อมตรวจสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้ S method กรณีเปรียบเทียบมากกว่า 2 กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีปัญหาในการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหามากที่สุดซึ่งเป็นปัญหาในระดับมาก เรื่อง "ทีมสุขภาพส่วนใหญ่ให้ความสําคัญกับ การปฏิบัติการพยาบาลด้านร่างกายเป็นหลัก ทำให้การพยาบาลจิตสังคมถูกละเลยไป" ปัญหารองลงมา ซึ่งเป็นปัญหาในระดับปานกลาง คือ "มีภาระงานอื่นมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการพยาบาลด้านจิตสังคม โดยพบว่า ปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมมากกว่าปัญหา ที่เกิดจากตัวพยาบาลเอง (X 1.520, SD 0.870, และ X 1.343, SD 0.837 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบค่าเฉลี่ยของคะแนนปัญหาการปฏิบัติการพยาบาลจิตสังคมระหว่างกลุ่มตัวอย่าง ที่มีสถานภาพการสมรส ช่วงอายุ ระดับการศึกษาทางการพยาบาล ประสบการณ์ทางการพยาบาล สถานภาพทางเศรษฐกิจตามการรับรู้ของพยาบาลหอผู้ป่วยที่สังกัดและประสบการณ์การเพิ่มพูนความรู้ …


การเสริมสร้างพลังอำนาจวิชาชีพ, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1996

การเสริมสร้างพลังอำนาจวิชาชีพ, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การศึกษาความคิดเห็นของผู้มารับบริการต่อการบริการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร, จุฑามาศ พุทธพิทักษ์ Jan 1996

การศึกษาความคิดเห็นของผู้มารับบริการต่อการบริการพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร, จุฑามาศ พุทธพิทักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลของรัฐ, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1996

การศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลของรัฐ, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้า หอผู้ป่วยทั้งในระยะก่อน เข้าสู่ตำแหน่งและระหว่างดำรงตำแหน่ง และเนื้อหาในการประเมินผล การปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ครั้งนี้ได้แก่ แบบฟอร์มการประเมิน ผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย จํานวน 7 ชุด และผู้ตรวจการพยาบาลหรือผู้ที่ทำหน้าที่ใน การประเมินผลหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 81 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์ แบบฟอร์มและแบบสัมภาษณ์การประเมินผลการ ปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สันได้เท่ากับ 90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและความแปรปรวนทางเดียว \nผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ \n1. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของ หัวหน้าหอผู้ป่วยในระยะก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง หัวหน้าหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลของรัฐ ในสังกัดต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม มีค่าเฉลี่ย ความถูกต้องของกระบวนการประเมินผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุข \n2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในระหว่างดำรงตำแหน่งของ โรงพยาบาล สังกัดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน \n3. เนื้อหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสังกัดต่างกัน \nไม่แตกต่างกัน \n4. แบบฟอร์มการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีส่วนประกอบในเรื่อง "การกําหนด คุณสมบัติของหัวหน้าหอผู้ป่วย" มากที่สุด รองลงมาคือเรื่อง "การกำหนดลักษณะงาน ที่จะประเมิน" และ "การกําหนดระยะเวลาในการประเมินผล" ส่วนในองค์ประกอบที่มีในแบบ ฟอร์มการประเมินน้อยที่สุดได้แก่เรื่อง "การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วย


ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติการพยาบาล และเอกสิทธิ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ณัฏฐิกา กุลกาญจนาชีวิน, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติการพยาบาล และเอกสิทธิ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ณัฏฐิกา กุลกาญจนาชีวิน, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างพลังอำนาจ ในการปฏิบัติการพยาบาล และเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลศูนย์ 9 แห่ง จำนวน 352 คน เลือกตัวอย่าง ด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามวัดการสร้างพลังอํานาจในการปฏิบัติการพยาบาล และเอกสิทธิ์ทางการพยาบาล ตามลำดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน ค่าความเที่ยง ของเครื่องมือเท่ากับ 92, 91 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS-PC \nผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของการสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติการพยาบาล ตามการรับรู้ ของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมและรายด้าน คือความมีอิสระ การมีสัมพันธภาพที่มีความไว้วางใจ และการได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับสูง 2. ค่าเฉลี่ยของเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง 3. อายุ และประสบการณ์ทำงานของพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 4. แผนกที่ปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ 5. การสร้งพลังอำนาจในการปฏิบัติการพยาบาลรายด้าน คือ การได้รับความเป็นอิสระ การมีสัมพันธภาพที่มีความไว้วางใจ และการได้รับการสนับสนุนโดยรวม และรายด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเอกสิทธิ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ


ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยอำนาจการประกอบวิชาชีพ กับความพึงพอใจในงานของพยาบา วิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเหนือ, นพพรพงศ์ ว่องวิทย์การ, จินตนา ยูนิพันธุ์ Jan 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยอำนาจการประกอบวิชาชีพ กับความพึงพอใจในงานของพยาบา วิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเหนือ, นพพรพงศ์ ว่องวิทย์การ, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเหนือ 2) หาความสัมพันธ์ ระหว่างการใช้อำนาจการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วย อํานาจการประกอบวิชาชีพกับความพึงพอใจ ในงานของพยาบาลวิชาชีพและ 3) ศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันทํานายความพึงพอใจในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบลชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 700 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้อำนวยการบริหาร ของหัวหน้า หอผู้ป่วย และการใช้อํานาจการประกอบวิชาชีพของพยาบาล ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย และแบบวัดความพึงพอใจในงาน \nผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ \n1. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจในงานของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป สูงกว่าของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 \n2. กลุ่มพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 คือ การใช้อำนาจการบริหารของหัวหน้า หอผู้ป่วยด้านอำนาจการให้รางวัล อำนาจความเชี่ยวชาญ อำนาจอ้างอิง อำนาจโดยชอบธรรม อำนาจการบังคับ และอำนาจในการประกอบวิชาชีพด้านอำนาจการปกป้องช่วยเหลือ อำนาจ การบูรณาการ อำนาจการมีส่วนร่วม อำนาจการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขปัญหา อายุและประสบการณ์ การทํางาน มีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ร้อยละ 73.33 (R2 = 7333) \n3. กลุ่มพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพชุมชน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05 คือ การใช้อำนาจการบริหารของหัวหน้าหอผู้ป่วยด้านอำนาจ การให้รางวัล อำนาจโดยชอบธรรม อำนาจความเชี่ยวชาญ อำนาจอ้างอิง อํานาจโดยชอบธรรม อำนาจการบังคับ และอำนาจในการประกอบวิชาชีพด้านอำนาจการบูรณาการ อำนาจการเปลี่ยนแปลง อำนาจการสร้างภาวะที่ดีขึ้น การแก้ไขปัญหา และอายุ มีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ร้อยละ 69.49 (R2 =.6949)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคประสาท ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี, ภัณฑิลา อิฐรัตน์ Jan 1996

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคประสาท ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี, ภัณฑิลา อิฐรัตน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การวิเคราะห์ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร, วิริยา สุขน้อย, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย Jan 1996

การวิเคราะห์ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร, วิริยา สุขน้อย, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการประเมินผล การปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนำเข้าของระบบ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ของระบบกลุ่มตัวอย่างคือ แบบฟอร์มการ - ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจําการทุกชุดที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จํานวน 201 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์ แบบฟอร์มการประเมินผล และแบบสอบถามการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจําการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 1 เท่ากับ 87 วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ และการทดสอบไคว์-สแคว์ \nผลการวิจัยพบว่า \n1. โรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานครทุกสังกัดมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการส่วนใหญ่คือ หัวหน้าผู้ป่วย (97.5) แบบฟอร์มการประเมินผลที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แบบคุณลักษณะและประสิทธิผล (50%) รองลงมา คือแบบพฤติกรรม (38.5%) วิธีการประเมินผลที่ปรากฏในแบบฟอร์มการประเมินคือ การพิจารณา 2. ตามเครื่องมือวัด (75%) ที่เหลือเป็นการให้คะแนนดิบ แบบฟอร์มการประเมินผลมีส่วนประกอบ \nของแบบฟอร์มไม่ครบทั้ง 5 ส่วน โดยมีส่วนของสรุปผลการประเมินมากที่สุด (75%) \n2. กระบวนการการประเมินผลการปฏิบัติงานพบว่า มีกระบวนการการประเมินผล การปฏิบัติงานครบทั้ง 5 องค์ประกอบ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินส่วนใหญ่ เพื่อเป็นข้อมูล ป้อนกลับให้พยาบาลประจําการ (81.1) หัวหน้าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่มีวิธีการรวบรวมข้อมูลการ ปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการคือ สังเกตการทำงานแล้วจดบันทึก (88%) ส่วนใหญ่หัวหน้าหอผู้ป่วยจะแจ้งและอภิปรายผลการประเมินกับพยาบาลประจำการเป็นรายบุคคล (79.7%) การนำผลการประเมินไปใช้ส่วนใหญ่คือ เป็นหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พยาบาลประจําการ (77.6%) รองลงมาคือ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลื่อนตำแหน่ง (66.1) \n3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในด้านการรวบรวมข้อมูล การปฏิบัติงาน และด้านการแจ้งและอภิปรายผลการประเมินในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพ มหานคร จำแนกตามสังกัดพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความพึงพอใจในงาน กับการคงอยู่ในบ้านของพยาบาลวิชาชีพ, อมรรัตน์ เสตสุวรรณ, จินตนา ยูนิพันธุ์, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ Jan 1996

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความพึงพอใจในงาน กับการคงอยู่ในบ้านของพยาบาลวิชาชีพ, อมรรัตน์ เสตสุวรรณ, จินตนา ยูนิพันธุ์, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลของหัวหน้าหอผู้ป่วยและความพึงพอใจในงานกับการคงอยู่ในงาน ตามการรายงานของพยาบาลวิชาชีพ จำแนกตามแผนก ประสบการณ์ และเงินเดือน และศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทํานายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 350 คน ซึ่งเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและทดสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้น ๆ\nผลการวิจัยพบว่า \n1. ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรายงานของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง \n2. ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง และพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกต่างกัน มีประสบการณ์ และเงินเดือนแตกต่างกัน มีควมพึงพอใจในงาน ไม่แตกต่างกัน \n3. พยาบาลวิชาชีพรายงานว่า คาดว่าจะไม่อยู่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเดิมต่อไป โดยพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกต่างกัน มีประสบการณ์และเงินเดือนต่างกัน รายงานการคงอยู่ในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 \n4. พฤติกรรมการดูแลของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานและการคงอยู่ ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ \n5. กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ได้แก่ ชีวิตส่วนตัว ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน สถานะทางอาชีพ และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บับคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน สามารถอธิบายความผันแปรของการคงอยู่ในงานของพยาบลวิชาชีพได้ร้อยละ 23.35 (R2 =.2335)


การเสริมสร้างอำนาจ : ยุทธวิธีการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร Jan 1996

การเสริมสร้างอำนาจ : ยุทธวิธีการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล, บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.