Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 89

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การตรวจ Mcm2 เพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ Rcb0/I ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู, ธิติฏฐ์ สุศิริวัฒนนนท์ Jan 2020

การตรวจ Mcm2 เพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ Rcb0/I ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู, ธิติฏฐ์ สุศิริวัฒนนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา การตอบสนองทางพยาธิวิทยาภายหลังการได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิก ปัจจุบันไม่มีปัจจัยใดที่สามารถทำนายการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดในมะเร็งเต้านมชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทูได้อย่างแม่นยำ เช่นเดียวกับ Ki-67 การแสดงออกของโปรตีน MCM2 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในระดับสูงบ่งชี้ถึงการแบ่งตัวของเซลล์ที่รวดเร็ว และมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีในมะเร็งหลายชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกของ MCM2 ในชิ้นเนื้อก่อนได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อทำนายการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ RCB 0/I ในมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทู วิธีการศึกษา ทบทวนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นชนิดมีตัวรับฮอร์โมนและไม่มีตัวรับเฮอร์ทูที่ได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2563 นำชิ้นเนื้อก่อนได้รับยาเคมีบำบัดตรวจการแสดงออกของ MCM2 ด้วยการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีและทบทวนลักณะทางพยาธิวิทยาเพื่อคำนวน RCB index ในชิ้นเนื้อหลังได้รับยาเคมีบำบัด คำนวนการติดสีของ MCM2 ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ภาพ Aperio Imagescope ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมด 88 คน มีค่ามัธยฐานอายุ 49 ปี (พิสัย 27-80 ปี) 61.4% เป็นวัยก่อนหมดประจำเดือน มีระยะโรคมะเร็งทางคลินิก cT4 และ cN1 40% และ 66.7% ตามลำดับ เป็นมะเร็งเต้านมชนิด invasive ductal carcinoma 91.1% มีระดับทางพยาธิวิทยาระดับที่ 2 58.9% มีการแสดงออกของ ER >10% 92.2% และสถานะ PR เป็นลบ 22.2% ในชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมทั้งหมด 72 ชิ้นที่สามารถย้อม MCM2 และประเมิน RCB index ได้ พบว่าการแสดงออกของ MCM2 >=40% มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองทางพยาธิวิทยาแบบ RCB 0/I อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์แบบ univariate analysis (OR = 18.33 ช่วงความเชื่อมั่น 95% = 1.88-178.98 p-value = 0.012) ปัจจัยทางพยาธิวิทยาคลินิกที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับ …


การศึกษาผลกระทบของสถานะทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ได้รับยาภูมิคุ้มกันบำบัด, ธนานันท์ ธเนศวรอนันต์ Jan 2020

การศึกษาผลกระทบของสถานะทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่ได้รับยาภูมิคุ้มกันบำบัด, ธนานันท์ ธเนศวรอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์: การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ได้มีการพัฒนาการรักษามาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death ligand 1 (Anti PD-L1) และ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต้าน programmed cell death (Anti PD-1) แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดถึงข้อมูลทางชีวภาพในการบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยแต่ละราย จากข้อมูลการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าดัชนีมวลกายนั้นมีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด ดังนั้นจึงทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของผลกระทบต่อสถานะทางโภชนาการโดยการประเมินด้วยแบบฟอร์ม patient generated subjected Global Assessment (PG-SGA) และปัจจัยหรือข้อกำหนดอื่นทางโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจายที่ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยประเมินภาวะทางโภชนาการด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ในวันที่เริ่มการรักษาและสัปดาห์ที่ 12 หลังเริ่มการรักษา ตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกายและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดระดับพารามิเตอร์ทางโภชนาการ บันทึกประวัติการรับประทานอาหารด้วยสมุดบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอินมูแคล (INMUCAL-N) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะโภชนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย พบว่าผู้ป่วย 18 รายมีภาวะทุพโภชนการเมื่อประเมินด้วยแบบฟอร์ม PG-SGA ระยะเวลาเฉลี่ยของการติดตามการรักษา 7 เดือน โดยในผู้ป่วยที่ภาวะทางโภชนาการปกติ (PG-SGA A) มีระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่ยาวนานกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ (PG-SGA B/C) และปัจจัยอื่นได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI), ระดับ NLR, pre-albumin, hs-CRP ในเลือด มีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ยาวนานขึ้น สรุปผลการวิจัย: ภาวะทางโภชนาการที่ประเมินด้วย PG-SGA อาจจะมีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ของการรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัดในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจาย โดยภาวะทุพโภชนาการมีผลลัพธ์ต่อระยะเวลาการรอดชีวิตที่ปราศจากความก้าวหน้าที่แย่กว่า


ความสัมพันธ์ระหว่างค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไพรัช ทรัพย์ส่งเสริม Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้, ไพรัช ทรัพย์ส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เป็นโรคที่มีความชุกสูงโรคหนึ่ง การรักษาใช้ระยะเวลานาน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืด ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจกับความรุนแรงของอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในประชากรผู้ใหญ่ไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการน้อยมีความแตกต่างกับกลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการปานกลางถึงมาก วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยใช้แบบสอบถามและตรวจวัดค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจ ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกสาขาโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2563 จำนวนรวม 38 ราย และนำมาวิเคราะห์ ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของไนตริกออกไซด์ในลมหายใจในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการน้อยเท่ากับ 14.82+/-6.59 ส่วนในพันล้านส่วน กลุ่มที่มีความรุนแรงของอาการปานกลางถึงมากเท่ากับ 44.31+/-27.78 ส่วนในพันล้านส่วน โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.02) จากการวิเคราะห์พบว่าค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจที่เหมาะสมใช้เป็นจุดตัดเพื่อแยกผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงของอาการน้อยและปานกลางถึงมากเท่ากับ 23.5 ส่วนในพันล้านส่วน โดยมีความไวร้อยละ 100 ความจำเพาะร้อยละ 91.7 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 87.5 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 100 และมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.001) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบความแตกต่าง สรุปผลการศึกษา: ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้จะมีค่าไนตริกออกไซด์ในลมหายใจแปรตามความรุนแรงของอาการ


ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง, ทิวาพร ธรรมมงคล Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่และความถี่ของการไหลย้อนของของเหลวจากกระเพาะสู่หลอดอาหารในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง, ทิวาพร ธรรมมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์ ปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) และ ท้องผูก (Constipation) พบร่วมกันได้บ่อย แต่ยังไม่มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน การที่พบสองภาวะนี้ร่วมกันนั้นยังไม่ทราบว่าแน่ชัดว่ามีความสัมพันธ์ หรือกลไกที่เกี่ยวข้องกันระหว่างภาวะกรดไหลย้อน และภาวะท้องผูกหรือไม่ วิธีการวิจัย การศึกษาวิจัยทดลองแบบไขว้และสุ่ม ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน คือ มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือเรอเปรี้ยว อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง โดยท้องผูกมีอาการถ่ายอุจจาระ ≤ 2 ครั้ง หรือ ถ่ายลักษณะอุจจาระก้อนเล็กแข็งเป็นกระสุน รูปทรงยาวผิวตะปุ่มตะป่ำ หรือรูปทรงยาวผิวแตก (BSFS 1-3) ในช่วง 7 วัน จำนวนทั้งหมด 12 ราย อายุ 18-80 ปี โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม และทำการทดลองแบบไขว้กัน โดยช่วงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าร่วมแต่ละกลุ่มนั้นต้องห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เข้าการศึกษากลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 ต่อมาในเช้าวันที่ 4 ของการเข้าร่วมการศึกษา จะได้รับทำการถ่ายภาพรังสีบริเวณท้อง (x-ray abdomen) หากพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker ≥ 90% (≥18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ และอีกกลุ่มผู้ป่วยจะได้รับการรับประทานแคปซูลที่บรรจุสารทึบรังสี จำนวน 20 ชิ้น ในวันที่ 1 เหมือนกันและสวนอุจจาระด้วย Unison enema วันละครั้งจำนวน 4 ครั้ง ต่อมาในเช้าวันที่ 4 หากถ่ายภาพรังสีบริเวณท้องพบว่ามีสารทึบรังสีคั่งค้าง marker < 90% (<18/20) จะยืนยันเข้าศึกษาในกลุ่มไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ในการศึกษาแต่ละกลุ่มอาสาสมัครจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ โดยจะได้รับการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหาร (Gastric accommodation) ด้วยวิธี Satiety nutrition drink test หลังจากตรวจสิ้นสุด 4 ชั่วโมงต่อมาจะได้การตรวจวัดการย้อนของกรดและน้ำย่อยในหลอดอาหาร (esophageal impedance pH monitoring) โดยให้อาสาสมัครทานอาหารควบคุม 520 กิโลแคลอรี เก็บข้อมูลการไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหารโดยดูการเปลี่ยนแปลงความต้านทานในหลอดอาหาร (esophageal impedance) นาน 2 ชั่วโมง และตอบแบบสอบถามประเมินอาการทางเดินอาหาร ความรุนแรงของอาการระบบทางเดินอาหารส่วนต้นก่อนรับการตรวจช่วงที่งดน้ำและอาหาร และหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจการขยายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น นาน 30 นาที และเป่าลมหายใจเพื่อส่งตรวจระดับ ไฮโดรเจน และมีเทน ในช่วงงดน้ำและอาหาร เพื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มการศึกษา ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง ในภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่พบว่ามีอาการทางเดินอาหารรบกวนโดยรวมที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 7 (3.3-8) เทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 4.5 (2.3-6) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04)และอาการท้องอืดเหมือนมีลมในท้องในระดับที่มากกว่าโดยมีค่ามัธยฐาน 5.5 (4-8) เทียบกับภาวะที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีค่ามัธยฐาน 3 (2-5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) โดยในช่วงอดอาหารและก่อนทานอาหาร ไม่พบว่ามีความแตกต่างของ ระดับไฮโดรเจน และมีเทนในลมหายใจ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ พบว่ามีจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร จำนวนค่าเฉลี่ย 10.6 (4.8) จำนวนมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่าเฉลี่ย 6.3 (4.1) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ หลังการทานมีอาการแสบร้อนกลางอกที่รบกวน มีค่ามัธยฐาน 2 (0-7.5) มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่จำนวนค่ามัธยฐาน 0 (0-0) ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) และ ในกลุ่มอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรค่าเฉลี่ย 591.7 (202.1) มิลลิลิตร ซึ่งมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่ ปริมาตรค่าเฉลี่ย 516.7 (158.6) มิลลิลิตร แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.07) สรุป ภาวะที่มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มีความสัมพันธ์กับจำนวนการเกิดการไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้น มีผลต่ออาการแสบร้อนกลางอกที่รุนแรงมากขึ้น และมีการขยายตัวของกระเพาะอาหารในปริมาตรที่มากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาภาวะที่มีการค้างของอุจจาระในลำไส้ใหญ่ ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนร่วมกับท้องผูกเรื้อรัง น่าจะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเกิดไหลย้อนของของเหลวสู่หลอดอาหารที่มากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการขยายขนาดของกระเพาะอาหารที่มากขึ้นหลังการรับประทาน


ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย Ichom ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, สุวภัทร วิชานุวัฒน์ Jan 2020

ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย Ichom ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, สุวภัทร วิชานุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงจากชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM มีรูปแบบการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed method research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาฐานข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2560 - กันยายน พ.ศ.2561 จากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 2 แห่ง และการการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยและแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM ในกลุ่มโรคเบาหวานหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 21 ตัวชี้วัดและ 33 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.34 และ 49.25 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 14 ตัวชี้วัดและ 18 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.11 และ 40.00 ตามลำดับ และผลการสัมภาษณ์โดยรวมความคิดเห็นตัวชี้วัดที่ใช้ปัจจุบันของผู้ป่วย ได้ข้อสรุปว่ามีประโยชน์และเพียงพอแล้ว โดยมองในมุมผู้รับบริการเป็นหลักว่าฐานข้อมูลที่เก็บเพียงพอต่อบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟูสภาพร่างกาย อีกทั้งในมุมของผู้ให้บริการเองมองเห็นว่าหากลดการบันทึกตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนกับข้อมูลที่มีข้อมูลที่บันทึกประจำอยู่แล้ว จะลดภาระงาน และทำให้ตัวชี้วัดที่สำคัญมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ตัวชี้วัด ICHOM ที่เป็นข้อมูลระยะยาวได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่พบความไม่เข้ากันกับชุดตัวชี้วัด ICHOM แต่ชุดตัวชี้วัด ICHOM เป็นเพียงเงื่อนไขเริ่มต้นและปัจจัยเพื่อให้สามารถปรับเลือกใช้ตามบริบทของประเทศ ภูมิภาค รวมถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยและผู้ให้บริการ หากนำมาปรับใช้กับบริบทประเทศไทยอาจต้องปรับโครงสร้างข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มให้มีความครบถ้วนและถูกต้อง อีกทั้งควรมีเป้าหมายการนำไปใช้อย่างชัดเจน


Application Of Phage Display Technology For The Production Of Antibodies Againststreptococcus Suis Serotype 2, Pattarawadee Sulong Jan 2020

Application Of Phage Display Technology For The Production Of Antibodies Againststreptococcus Suis Serotype 2, Pattarawadee Sulong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Streptococcus suis (S. suis) serotype 2 infection is problematic in the swine industry and responsible for most cases of human infection worldwide. Since current multiplex PCR cannot differentiate between serotypes 2 and 1/2, then serotype-specific antibodies (Abs) are required for serotype identification to confirm S. suis serotype 2 infection. This study aimed to generate Abs specific to S. suis serotype 2 by phage display from a human heavy chain variable domain (VH) antibody library. For biopanning, whole cells of S. suis serotype 2 were used as the target antigen. With increasing selection stringency, we could select the VH Abs that …


การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง, เจนจิรา ดินฮูเซ็น Jan 2020

การศึกษาการแสดงออกของยีนในเลือดคนไข้โรคฉี่หนูอาการรุนแรง, เจนจิรา ดินฮูเซ็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ โรคเลปโตสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โรคส่วนใหญ่น่าจะเกิดในสัตว์มากกว่าคน แต่สามารถพบคนเป็นโรคนี้ได้ในหลายพื้นที่อาการของโรคมีตั้งแต่ความรุนแรงน้อย จนไปถึงระดับความรุนแรงมาก ในปัจจุบันการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิสวิเคราะห์อาการทางคลินิกร่วมกับตรวจวินิจฉัยทางชีวโมเลกุล (molecular diagnostic) ซึ่งไม่สามารถประเมินความรุนแรงของโรคได้. วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาการแสดงออกและการตอบสนองของคนไข้โรคติดเลปโตสไปรา ที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดความรุนแรงของโรค ซึ่งในอนาคตอาจเป็นทางเลือกที่ใช้ควบคู่ไป กับวิธีการวินิจฉัยการเกิดความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรสิสได้. วิธีการศึกษา นำเลือดผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มรุนแรงและไม่รุนแรง มาทำการค้นหายีนโดยใช้เทคโนโลยี Nanostring® nCounter® PanCancer IO 360 เมื่อได้ยีนที่น่าสนใจ ทำการตรวจสอบยีนที่ค้นพบด้วยวิธี RT-PCR. ผลการศึกษา จากการค้นหาการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค Nanostring โดยเลือกยีนจากความแตกต่างของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้ยีนที่สนใจคือ PDCD1, Nos2 และ IL4 ซึ่งเป็นยีน down regulate ทั้งหมด จึงนำยีนที่ได้มาทำการตรวจสอบด้วยวิธี RT-PCR ในผู้ป่วย 99 คน ซึ่งพบว่า ยีน PDCD1 สามารถระบุการเกิดความรุนแรงของโรคได้ โดยมี AUC เท่ากับ 0.65 สรุปผลการศึกษา PDCD1 สามารถเป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ ในการทำนายการเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสอาการรุนแรงได้


การศึกษาระบาดวิทยาและความหลากหลายทางจีโนไทป์ของโรต้าไวรัสสายพันธุ์เอ ที่พบในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562, สิริพัทธ์ พสิษฐังกูร Jan 2020

การศึกษาระบาดวิทยาและความหลากหลายทางจีโนไทป์ของโรต้าไวรัสสายพันธุ์เอ ที่พบในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562, สิริพัทธ์ พสิษฐังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฮิวแมนโรต้าไวรัสสายพันธุ์ A (Human Rotavirus A) เป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันหรือท้องเสียในเด็กทารกและเด็กเล็กทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อีกทั้งยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยอีกด้วย ในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาระบาดวิทยาของเชื้อโรต้าไวรัสในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึง 2562 โดยทำการเก็บตัวอย่างจากอุจจาระของผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการท้องเสียระหว่างเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2559 ถึง เดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2562 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,001 ตัวอย่าง การตรวจวินิจฉัยฮิวแมนโรต้าไวรัสสายพันธุ์ A ใช้เทคนิค real-time PCR ผลการวิจัยพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อเชื้อโรต้าไวรัสจำนวน 301 ตัวอย่าง (15.0%) กลุ่มอายุผู้ป่วยติดเชื้อโรต้าไวรัสพบมากในช่วงอายุ 0 ถึง 2 ปี โดยอัตราการติดเชื้อโรต้าไวรัสพบมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย จากการจัดจำแนกสายพันธุ์พบว่า สายพันธุ์โรต้าไวรัสที่พบมากที่สุด คือ สายพันธุ์ G3P[8] (33.6%, 101/301), รองลงมาคือ G8P[8] (10.6%, 32/301), G9P[8] (6.3%, 19/301), G2P[4] (6.0%, 18/301) และ G1P[6] (5.3%, 16/301) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังตรวจพบโรต้าไวรัสสายพันธุ์ที่พบได้น้อยในคน อาทิ G2P[8], G3P[4] และ G9P[4] เมื่อทำการวิเคราะห์ในเชิง genetic backbone พบว่า DS-1-like G3P[8] เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด (28.2%, 85/301) ผลการวิเคราะห์ phylogenetic tree แสดงให้เห็นว่า DS-1-like G3P[8] ที่พบในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับ DS-1-like G3P[8] ที่พบในประเทศอื่น ๆทั่วโลก ดังนั้นความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรมของเชื้อโรต้าไวรัสที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศควรมีการศึกษาต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรต้าไวรัสและการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการระบาดของโรคในอนาคตต่อไป


คุณลักษณะและบทบาทของพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นในโรคข้อเสื่อม, สุภัทรา ผาคำ Jan 2020

คุณลักษณะและบทบาทของพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นในโรคข้อเสื่อม, สุภัทรา ผาคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) ความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ และประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เพศหญิงจำนวน 40 ราย โดยพบว่า PRP ที่เก็บได้มีปริมาณ เกล็ดเลือดมากกว่าค่าเฉลี่ยในเลือดประมาณ 2 เท่า และมีปริมาณ IL-1, IL-2, IL-5, IL-7, IL-8, IL-9, IL-12, IL-17, IFN-γ, TNF-α, IP-10, MIP-1β, bFGF, VEGF และ PDGF-BB สูงกว่าในพลาสมาอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปริมาณของ IL-10 ใน PRP ต่ำกว่าในพลาสมาอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ผสม PRP มีอัตราการเจริญเพิ่มจำนวนและอัตราการเจริญเคลื่อนตัวมากกว่าเซลล์ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ผสมพลาสมา ซึ่งอาจเป็นผลมาจากจำนวนเกล็ดเลือดที่อยู่ใน PRP มากกว่าพลาสมา ประมาณ 2 เท่า ทำให้ใน PRP มีปริมาณ growth factors และ cytokines มากกว่า รวมถึงการให้ PRP อย่างต่อเนื่องส่งผลให้เซลล์ทั้ง 2 ชนิดมีการเจริญเพิ่มจำนวนมากกว่าเซลล์ที่ได้รับพลาสมา อย่างเห็นได้ชัด และยังพบว่าเซลล์กระดูกอ่อนที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงที่ผสม PRP มีการแสดงออกยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพัฒนาของเซลล์กระดูกอ่อน (SOX9, aggrecan และ COL2A1 ) มากกว่าในเซลล์ที่เลี้ยงในพลาสมา และเซลล์เยื่อบุข้อที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงที่ผสม PRP ก็มีการแสดงออกยีนประเภท proinflammatory cytokines (IL-1β, IL-6 และ MMP-13) ซึ่งบ่งชี้ถึงการอักเสบน้อยกว่าในเซลล์ที่เลี้ยงในพลาสมา นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบทางคลินิกโดยการฉีด PRP เข้าข้อเข่าแล้วทำการประเมิน VAS score ประเมินสมรรถภาพทางกาย (Sit to Stand test, Time Up and Go test and 3 minute walk test) รวมถึงการประเมินด้วยชุดคำถาม …


การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช Jan 2020

การพัฒนาวิธี Real-Time Quantitative Rt-Pcrสำหรับตรวจหาลีดเดอร์อาร์เอ็นเอซับจีโนมิกของเชื้อไวรัส Sars-Cov-2, สินินาถ เพชราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอุบัติใหม่ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่คน ทำให้ไวรัสแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก การตรวจติดตามและการประเมินไวรัสที่ปลดปล่อยเชื้อ (viral shedding) เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทางการแพทย์ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ดังนั้นการตรวจพบ SARS-CoV-2 subgenomic RNA leader (sgRNA) เป็นตัวบ่งบอกสถานะของไวรัสในระยะ active มีความสามารถเพิ่มจำนวนได้ ในงานวิจัยนี้ได้ตรวจติดตามระยะเวลาการปลดปล่อย SARS-CoV-2 sgRNA leader และ genomic RNA (gRNA) จากตัวอย่างระบบทางเดินหายใจ 111 ตัวอย่าง (ของผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 10 ราย) ด้วยวิธี real-time quantitative RT-PCR (qRT-PCR) ผลการทดลองพบว่า E-sgRNA leader สามารถตรวจพบได้นานถึง 15 วัน และตรวจพบในตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัส (viral load) มากกว่า 100,000 copies/ml (≥1E+05 virus E gene copies/ml) ในขณะที่ gRNA ยังตรวจพบได้นานถึง 24 วัน นอกจากนี้ยังค้นพบว่ามีผู้ป่วย COVID-19 จำนวน 2 ใน 10 ราย ที่ E-sgRNA leader ปรากฏตัวอีกครั้งหลังจากที่ตรวจไม่พบแล้วเป็นเวลา 2 วัน ถึง 8 วัน ด้วยเหตุนี้เพื่อความปลอดภัย จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกักตัวหรือแยกตัวอย่างน้อย 14 วันหลังจากได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ดังนั้นการประเมิน E-sgRNA leader เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19


A Topical Eye Drop Versus Intra-Meibomian Gland Injection Of Bevacizumab For Meibomian Gland Dysfunction Patients., Chitchanok Tantipat Jan 2020

A Topical Eye Drop Versus Intra-Meibomian Gland Injection Of Bevacizumab For Meibomian Gland Dysfunction Patients., Chitchanok Tantipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To compare the efficacy and safety of topical bevacizumab eye drop versus intra-meibomian gland injection of bevacizumab when used with the standard lid hygiene in meibomian gland dysfunction (MGD) patients. Methods: 60 eyes of 30 MGD patients with lid margin telangiectasia were randomized to receive 0.05% bevacizumab eye drop or single 2.5% intra-meibomian gland bevacizumab injection plus standard lid hygiene. The primary outcomes were telangiectasia grading and the computerized lid margin neovascularized area (LMNA). The secondary outcomes were the ocular surface disease index (OSDI) score, corneal staining, meibomian gland quality, meiboscore, conjunctival redness, fluorescein break up time (FBUT), noninvasive …


การแสดงออกของยีนและคุณลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งในประชากรเซลล์ไลน์ U87mg Glioblastoma, รุ่งนภา บุตรศรี Jan 2020

การแสดงออกของยีนและคุณลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งในประชากรเซลล์ไลน์ U87mg Glioblastoma, รุ่งนภา บุตรศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มะเร็งสมองชนิดกลัยโอบลาสโตมา (Glioblastoma หรือ GBM) เป็นมะเร็งสมองชนิดที่พบมากที่สุด มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ทำให้คนไข้โดยเฉลี่ยเสียชีวิตภายในหนึ่งปี นอกจากนี้เซลล์ GBM ยังมีความหลากหลายทางสัณฐาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งที่เป็นประชากรที่มีความสำคัญในแง่ของการตอบสนองต่อการรักษาและการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง การที่จะสามารถพัฒนาการรักษาที่มีความจำเพาะในการกำจัดเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งนี้ จะต้องมีกระบวนการในการระบุเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (identification) ที่มีความจำเพาะและแม่นยำ ผู้วิจัยจึงต้องการค้นคว้าในเชิงลึกเพื่อหาการแสดงออกของยีนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง โดยทำการแยกประชากรเซลล์ U87MG ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรเซลล์รวม ประชากรเซลล์ใหญ่ และประชากรเซลล์เล็กออกจากกัน โดยใช้ความแตกต่างของขนาดเซลล์ ด้วยเทคนิค Fluorescence-activated cell sorting (FACS) จากนั้นนำประชากรดังกล่าวมาเลี้ยงแยกกัน โดยทำการศึกษาประชากรทั้งหมด ประชากรขนาดใหญ่และประชากรขนาดเล็ก แล้วศึกษาความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดในระดับอาร์เอ็นเอด้วยเทคนิค Real-Time PCR โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษา (1) pluripotency markers/ transcription factor ได้แก่ OCT4, SOX2, NANOG และ c-MYC (2) cancer stem cell signalling ได้แก่ mTOR pathway โดยเน้นไปที่ mTORC2 และ LIN28/let-7 pathway และ (3) cellular phenotypes ได้แก่ วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) การแบ่งตัวของเซลล์ (cell proliferation) และการเคลื่อนที่ของเซลล์ (cell migration) งานวิจัยนี้เป็นรายงานแรกที่ศึกษาความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง GBM ใน U87MG โดยการแยกเซลล์ออกเป็นประชากรเซลล์ใหญ่และประชากรเซลล์เล็กด้วย FACS โดยพบว่าเซลล์ U87MG มีการแสดงออกของยีนที่บ่งชี้ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ได้แก่ OCT4, SOX2, LIN28B,c-MYC, ZWINT, TYMS และ RCF4 ยีนที่เกี่ยวข้องกับ GBM ที่ทำการศึกษาการแสดงออก ได้แก่ SPARCL1, GDF15, LAMA1, …


ผลของการสัมผัสมลพิษอากาศต่อระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดในพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่, จินต์จุฑา ภานุมาสวิวัฒน์ Jan 2020

ผลของการสัมผัสมลพิษอากาศต่อระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดในพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่, จินต์จุฑา ภานุมาสวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหามลพิษอากาศเป็นปัญหาสำคัญของภาคเหนือประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจส่งผลให้สมรรถภาพปอดลดลงโดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสสัมผัสสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างสมรรถภาพปอดและอาการทางระบบทางเดินหายใจของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างช่วงสัมผัสมลพิษอากาศสูงและต่ำเทียบกัน เก็บข้อมูลค่าสมรรถภาพปอดด้วยสไปรเมตรีย์พร้อมทั้งสอบถามอาการทางระบบทางเดินหายใจ ปัจจัยด้านบุคคล ด้านงาน ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Wilcoxon signed-rank test และ McNemar’s test ผลการศึกษาผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสองครั้งจำนวน 49 คน พบความแตกต่างของ FEV1 และ FVC ระหว่างช่วงมลพิษอากาศสูงและต่ำ (p-value = 0.030 และ 0.042 ตามลำดับ) ในกลุ่มที่มีการเปิดหน้าต่างลดลง ใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจมากขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงงานเสริม และสัมผัสบุหรี่มือสองลดลง พบความแตกต่าง FEV1 ระหว่างสองช่วง (p-value = 0.013 0.003 0.049 และ 0.034 ตามลำดับ) ผู้ที่ผลสมรรถภาพปอดผิดปกติช่วงมลพิษอากาศสูงจำนวน 22 คน มีผลสมรรถภาพปอดที่ดีขึ้น 10 คนในช่วงมลพิษอากาศต่ำ พบความแตกต่างของอาการตื่นขึ้นกลางดึกเนื่องจากอาการไอ และ มีเสมหะหลังตื่นนอนตอนเช้า (p-value = 0.034 และ 0.021 ตามลำดับ) การศึกษาอาจมีข้อจำกัดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้มีการปฏิบัติงานลดลง ดังนั้นผลของการศึกษาจึงอาจเกิดจากการได้รับมลพิษอากาศที่ลดลงจากการปฏิบัติงานที่ลดลง สรุปผลการศึกษาปริมาณมลพิษอากาศมีความสัมพันธ์ต่อสมรรถภาพปอดและอาการทางระบบทางเดินหายใจ สมรรถภาพปอดที่ผิดปกติสามารถดีขึ้นได้เมื่อปริมาณมลพิษอากาศลดลง ควรเร่งแก้ปัญหาและรณรงค์ให้ความรู้ เช่น การปิดหน้าต่างขณะขับขี่ การใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ การหลีกเลี่ยงสัมผัสบุหรี่มือสอง


ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร, วีรนุช เชาวกิจเจริญ Jan 2020

ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร, วีรนุช เชาวกิจเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาล จำนวน 415 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของตำแหน่งงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง มีคะแนนอยู่ในช่วง 0.60-1.00 และการตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบความเชื่อมั่นรายด้านอยู่ที่ 0.81-0.93 และทั้งฉบับอยู่ที่ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.41 รายด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดคือการจัดการสุขภาพของตนเองด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 74.53) และรายด้านที่คะแนนน้อยที่สุดคือทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 67.27) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยที่ดี ได้แก่ เพศหญิง (p-value=0.011) อายุไม่เกิน 45 ปี (p-value<0.001) ไม่มีการทำงานเป็นกะหรือทำงานล่วงเวลา (p-value=0.029) มีประวัติการอบรมด้านอาชีวอนามัย (p-value=0.002) มีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (p-value<0.001) และมีการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงาน (p-value=0.011) โดยสรุปการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยให้กับกลุ่มบุคลากรในโรงพยาบาลควรเน้นเรื่องทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย การจัดบริการด้านอาชีวอนามัยให้เหมาะสมกับกลุ่มบุคลากร การจัดอบรมการวางแผนงานนโยบายด้านอาชีวอนามัย รวมถึงให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรสามารถพัฒนาสมรรถนะการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ


การศึกษาภาวะหลอดเลือดแข็งชนิดไม่แสดงอาการ โดยการวัดระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม, นิธิพัฒน์ สันดุษฎี Jan 2020

การศึกษาภาวะหลอดเลือดแข็งชนิดไม่แสดงอาการ โดยการวัดระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมเปรียบเทียบกับผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม, นิธิพัฒน์ สันดุษฎี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ และลิ้นหัวใจในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม และผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม วิธีการวิจัย ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมวินิจฉัยจากเกณฑ์ Dutch Lipid Clinic Network (DLCN) ที่มีค่าตั้งแต่ 6 คะแนนขึ้นไป (Probable or definite familial hypercholesterolemia) และผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม โดยวินิจฉัยจากการที่ผู้ป่วยเคยมีระดับ LDL-c สูงสุดมากกว่า 130 มก./ดล. และคะแนน DLCN น้อยกว่า 6 คะแนน โดยนำผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มเข้ารับการตรวจวัดระดับแคลเซียมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ และลิ้นหัวใจเอออร์ติก ด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดไม่ใช้สารทึบรังสี ผลการศึกษา ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทั้งหมด 71 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยคอเลสเตอรลสูงทางพันธุกรรม 36 ราย และผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม 35 ราย พบว่าผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมมีระดับ LDL-c ก่อนการรักษา ระดับ LDL-c และ total cholesterol ในวันที่เข้าร่วมวิจัยสูงกว่า, Total cholesterol burden มากกว่า และระยะเวลาการรักษาที่นานกว่ากลุ่มควบคุม ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมมีระดับ Coronary artery calcium (CAC) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (25.3 Agatston unit (AU) (0-210.2 AU) และ 0 AU (0-37.6 AU), P = 0.01) และมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจมากกว่า 0 AU มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 69.4 และร้อยละ 42.9, P = 0.02) นอกจากนี้ในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม ยังมีสัดส่วนผู้ป่วยที่มีระดับแคลเซียมบริเวณลิ้นหัวใจเอออร์ติกมากกว่า 0 AU มากกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 19.4 และร้อยละ 0, P= …


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด, อรรถพล โชติรัตน์ Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด, อรรถพล โชติรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: มะเร็งศีรษะและคอมีอุบัติการณ์ อยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศไทย การรักษาเพื่อมุ่งหวังให้หายขาด ประกอบไปด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึ่งพบได้มากถึง 40-80 % ของคนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา MASCCI/ISOO ได้แนะนำการใช้น้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์เพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ขณะที่น้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนเอง มีการศึกษาพบว่ามีคุณสมบัติลดการอักเสบได้ดีกว่าน้ำเกลือ หรือ คลอเฮกซีดีนในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ กับน้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนในการป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการให้รังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีเป็นการรักษาเสริมหลังทำการผ่าตัด หรือ เป็นการรักษาหลัก โดยมีปัจจัยก่อกวนที่คำนึงถึง ได้แก่ ตำแหน่งของมะเร็งศีรษะและคอ, รูปแบบการรักษาเป็นการรักษาเสริมหลังผ่าตัดหรือการรักษาหลัก, สูตรยาเคมีบำบัดซิสพลาติน หรือ คาร์โบพลาติน และ ความถี่สูตรยาเคมีบำบัดซิสพลาตินรายสัปดาห์หรือราย 3 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ การประเมินคะแนนเยื่อบุช่องปากอักเสบ โดย Oral Mucositis Assessment Scale(OMAS) และมีวัตถุประสงค์การศึกษารอง คือ คะแนนเยื่อบุช่องปากอักเสบโดย CTCAE V 5.0, อัตราการใช้ยาแก้ปวด, อัตราการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา, อัตราการใส่สายจมูก และ อัตราการนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา: รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้นของผู้ป่วยทั้งหมด 44 รายจากทั้งหมด 70ราย โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึง เมษายน พ.ศ. 2564 พบว่าลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันของผู้เข้าร่วมทั้ง 2 กลุ่ม ค่ามัธยฐานรายสัปดาห์ของคะแนน OMAS จากการประเมินทั้ง 8 ครั้งของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนยสำคัญ การประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบด้วย CTCAE V5.0 พบว่า การอักเสบในระดับ 3-4 นั้นมีแนวโน้มน้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับน้ำยาบ้วนปากโพวิโดนไอโอดีน แต่ไม่มีนยสำคัญทางสถิติ และผลการศึกษารองอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนยสำคัญ สรุปผลการศึกษา: รายงานเบื้องต้นพบว่าน้ำยากลั้วปากโพวิโดนไอโอดีนมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับน้ำยากลั้วปากเบนไซตามีนไฮโดรคลอไรด์ในการลดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดพร้อมรังสีรักษา


การเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักกับองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน, ศิรินรัตน์ ตั้งจิตตรง Jan 2020

การเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักกับองค์ประกอบของร่างกายในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน, ศิรินรัตน์ ตั้งจิตตรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกายในผู้ป่วยโรคอ้วนหลังการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 12 เดือน และเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักมาก่อน ที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธี Laparoscopic Roux-en-Y gastric bypass(LRYGB) หรือ Laparoscopic sleeve gastrectomy(LSG) ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปี พ.ศ.2558-2562 ที่หลังผ่าตัดที่ 12 เดือน มีค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 30 กิโลกรัม/เมตร2 กลุ่มควบคุมคือกลุ่มผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะที่มี อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน และไม่มีโรคประจำตัว วิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่อง Inbody 770 ที่คลินิกอายุรกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน จากการศึกษาพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มผู้ป่วยมีค่าสัดส่วนเอวต่อสะโพก (waist-hip ratio)(0.83 และ 0.9, P-value <0.001) ร้อยละของไขมันในร่างกาย (percentage of body fat)(ร้อยละ 30.6 และ ร้อยละ 35.9, P-value 0.001) มวลไขมันบริเวณลำตัว (trunk fat mass)(10.3 กิโลกรัม และ 12.4 กิโลกรัม , P-value 0.04) และ มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณแขนขา (appendicular lean mass)(9 กิโลกรัม และ 16.9 กิโลกรัม, P-value <0.001) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยมีค่ามวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะทั้งร่างกาย (soft lean mass)(47.7 กิโลกรัม และ 39.9 กิโลกรัม, P-value 0.001) มวลรวมกล้ามเนื้อและอวัยวะบริเวณลำตัว (trunk lean mass)(21.2 กิโลกรัม และ 19 กิโลกรัม, P-value 0.02) มวลกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle mass)(27.5 กิโลกรัม และ 23 กิโลกรัม, P-value 0.003) และ มวลกายไร้ไขมัน (fat free mass)(51.1 กิโลกรัม และ 42.3 กิโลกรัม, P-value 0.001) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าหลังผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก ที่ระยะเวลา 6 เดือน และ 12 เดือน ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกายลดลงทั้งหมด โดยเห็นผลลดลงมากสุดที่ระยะเวลา 12 เดือนหลังเข้ารับผ่าตัด สรุปการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วนที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แม้ค่าตัวแปรองค์ประกอบของร่างกาย เช่น มวลไขมัน มวลกายไร้ไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ลดลงทั้งหมดในช่วงตลอดระยะเวลา12 เดือน หลังเข้ารับการผ่าตัด แต่ มวลกล้ามเนื้อ และมวลกายไร้ไขมันในกลุ่มผู้ป่วยนั้น ยังคงสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่อายุ เพศ และค่าดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน


การศึกษาตามขวางเปรียบเทียบความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ในนิสิตแพทย์ชั้นปรีคลินิก และนิสิตแพทย์ชั้นคลินิกโดยวิธี ควอนติเฟอรอนทีบีโกลพลัส และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง, นันทนา จำปา Jan 2020

การศึกษาตามขวางเปรียบเทียบความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ในนิสิตแพทย์ชั้นปรีคลินิก และนิสิตแพทย์ชั้นคลินิกโดยวิธี ควอนติเฟอรอนทีบีโกลพลัส และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง, นันทนา จำปา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา นิสิตแพทย์เป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลและกลายเป็นวัณโรคชนิดมีอาการที่สามารถแพร่กระจายได้โดยเฉพาะในโรงพยาบาลของประเทศที่มีความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคสูง วัตถุประสงค์ เพื่อที่จะหาความชุกของนิสิตแพทย์ที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงเปรียบเทียบกันระหว่างนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่เพิ่งผ่านการเรียนการสอนในชั้นปรีคลินิกและนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ผ่านการสัมผัสผู้ป่วยในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี โดยการใช้วิธีการตรวจ QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus) และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test) วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในอาสาสมัครนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 และนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนิสิตที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการตรวจ QFT-Plus จากการเก็บตัวอย่างเลือด และบางส่วนของนิสิตที่เขาร่วมการศึกษาจะได้รับการทดสอบ TST หลังจากการเจาะเลือด โดยก่อนหน้าเข้าเก็บตัวอย่างนิสิตแพทย์อาสาสมัครจะต้องทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อวัณโรค ผลการศึกษา มีนิสิตสนใจเข้าการศึกษาทั้งหมด 158 คน โดยความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงโดยวิธี QFT-Plus รวมทั้งหมดมี 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 โดยแบ่งเป็นความชุกในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 9.4 และความชุกของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 2.7 โดยไม่พบความสัมพันธ์กับเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคกับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร โดยในการศึกษานี้นิสิตส่วนมาก ร้อยละ 88 ให้ประวัติว่าเคยได้รับวัคซีน BCG ตั้งแต่เด็ก นอกจากนั้นในรายที่ให้ผลบวกจากการทดสอบ QFT-Plus และ TST ไมีมีนิสิตที่มีผลภาพรังสีปอดที่ผิดปกติ โดยจากนิสิตที่เข้าการศึกษาทั้งหมด 158 ราายมีนิสิตจำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.9 สมัครใจรับการทดสอบ TST โดยพบว่าหากใช้จุดตัดของ TST ตามมาตรฐานที่ตั้งแต่ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป พบว่ามี 6 รายให้ผลบวกสอดคล้องกับ QFT-Plus และมี 4 รายที่ TST ให้ผลลบ ไม่สอดคล้องกับ QFT-Plus เมื่อคิดค่าความสอดคล้องกันระหว่างการทดสอบทั้ง 2 พบว่ามีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง สรุป การตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรใหม่ที่เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลโดยเฉพาะนิสิตแพทย์มีความสำคัญในการช่วยลดการแพร่กระจายอุบัติการของการเกิดวัณโรคติดต่อภายในโรงพยาบาล ในการศึกษานี้พบว่าในนิสิตแพทย์ปี 6 มีค่าความชุกของผู้ป่วยวัณโรคแฝง สูงกว่านิสิตแพทย์ชั้นปี 4 ดังนั้นประชากรกลุ่มนิสิตนี้จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล แม้ว่าจากการศึกษานี้มีจำนวนผนิสิตที่เข้าร่วมปริมาณไม่มากจนสามารถแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของชั้นปี …


ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด เปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นที่ติดตามผลการรักษาโดยใช้ผลตรวจทางคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กสมอง, พัชราภา ทัศนวรปัญญา Jan 2020

ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือด เปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นที่ติดตามผลการรักษาโดยใช้ผลตรวจทางคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กสมอง, พัชราภา ทัศนวรปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา ปัจจุบันแนวทางการรักษาเริ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นยังไม่มีความชัดเจนของระยะเวลาในการเริ่มยา ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสมองขาดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่นได้เทียบเท่าหรือดีกว่ายาวาร์ฟารินและมีอัตราการเกิดเลือดออกในสมองน้อยกว่า วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำของการให้ยาไรวารอกซาแบนภายหลังการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเปรียบเทียบระหว่างการเริ่มให้ยาตั้งแต่ 48 ชั่วโมงแรกกับการให้ยาที่ 7 วัน ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น วิธีการวิจัย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและปกปิดฝ่ายเดียวที่ศึกษาผู้ป่วยสมองขาดเลือดที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริลเลชั่นที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไรวารอกซาแบนภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด มาเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคสมองขาดเลือดซ้ำและอัตราการเกิดเลือดออกในสมองที่ตรวจพบจากการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ 4 สัปดาห์ ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 26 ราย พบว่าการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไรวารอกซาแบนทั้งในกลุ่มที่ให้ยาแบบเร็วภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและกลุ่มที่ให้ยาแบบช้าที่ให้ยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด มีอัตราการเกิดสมองขาดเลือดซ้ำและอัตราการเกิดเลือดออกในสมองไม่แตกต่างกัน โดยผู้ป่วยที่เกิดภาวะเลือดออกในสมองทุกรายเป็นแบบไม่มีอาการและเป็นภาวะเลือดออกที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีภาวะเลือดออกนอกสมองและระดับความพิการจากโรคหลอดเลือดสมองไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบภาวะเลือดออกนอกสมองที่รุนแรง ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในระหว่างการศึกษานี้ สรุป ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีสาเหตุมาจากหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะชนิดเอเทรียลฟิบริเลชั่น การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไรวารอกซาแบนภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดและการให้ยาไรวารอกซาแบนที่ 7 วันหลังเกิดอาการสมองขาดเลือดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน


การใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วง 5 ปี, นฤพัฒน์ แสงพรสุข Jan 2020

การใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วง 5 ปี, นฤพัฒน์ แสงพรสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ในเวชปฏิบัติปัจจุบันเเนะนำการใช้เฟลเคไนด์ในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างหัวใจปกติ หรือผิดปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยที่มาของการเเนะนำดังกล่าวมาจากการศึกษา CAST ซึ่งเป็นการศึกษาที่ตีพิมพ์ตั้งเเต่ปีค.ศ.1989 ซึ่งเป็นการศึกษาเดียวที่เเสดงให้เห็นอัตราการตายที่มากขึ้นจากการใช้ยาเฟลเคไนด์ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาหลายการศึกษาที่ตามมา ที่เเสดงความปลอดภัยของการใช้เฟลเคไนด์ในภาวะที่ไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือด จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ ระเบียบวิธีการวิจัย : ผู้จัดทำการวิจัย ได้เริ่มจากการคัดกรองผู้ป่วยที่ได้รับยาเฟลเคไนด์อย่างน้อย 1 โดสในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นได้ทำการทบทวน electronic medical record เพื่อบันทึกข้อมูลพื้นฐาน เเละข้อบ่งชี้ของการให้ยาฟลเคไนด์ ผล echocariography ได้ถูกบันทึกและทบทวนเพื่อความถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับการติดตามไป 1 ปีเพื่อประเมินอุบัติการณ์ของ ventricular arrhythmias และอัตราเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ผลการศึกษา : หลังจาการทำการคัดกรองผู้ป่วย 447 คนที่ได้รับยาเฟลเคไนด์อย่างน้อย 1 โดส พบว่ามี 107 คน (23.9 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีข้อมูล echocardiography และ 4 คนที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี หลังจากคัดผู้ป่วยดังกล่าวออกไปเหลือ 336 คน ที่นำมาศึกษา โดยพบว่า 47 คน (14 เปอร์เซ็นต์) มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่นิยามโดยงานวิจัยนี้ ในกลุ่มของคนไข้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ มี 2 คนที่เกิด VT/VF ระหว่างการตรวจติดตาม โดยทั้ง 2 คนพบว่ามี VT/VF ก่อนการได้รับยาเฟลเคไนด์อยู่เเล้ว ส่วน 1 คนเสียชีวิตระหว่างการติดตามใน 1 ปีโดยพบว่าเสียชีวิตจากโรคมะเร็งไตระยะกระจาย บทสรุป : สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจอยู่ 14 เปอร์เซ็นต์ โดยการศึกษานี้เเสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิด VT/VF ไม่ได้ต่างกันระหว่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ กับกลุ่มโครงสร้างหัวใจปกติ ข้อจำกัดของการศึกษานี้คือข้อมูลที่ขาดหายไปของ echocardiography


การเปรียบเทียบอัตราการลดลงของสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดกลาง ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ขนาดปานกลาง เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยเทคนิคฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น แบบมิกซ์ไดลูชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน (การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า), จิรารัตน์ เอี่ยมเจริญยิ่ง Jan 2020

การเปรียบเทียบอัตราการลดลงของสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดกลาง ระหว่างการฟอกเลือดโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ขนาดปานกลาง เปรียบเทียบกับการฟอกเลือดด้วยเทคนิคฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น แบบมิกซ์ไดลูชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน (การศึกษาไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า), จิรารัตน์ เอี่ยมเจริญยิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการการลดลงของสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดกลาง ß2-microglobulin ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ทำการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง และการฟอกเลือดเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน วิธีการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มไขว้กลุ่มแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวนทั้งหมด 14 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นโดยใช้ตัวกรองมาตรฐาน และกลุ่มที่ได้รับการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง ทั้งสองกลุ่มได้รับการเก็บเลือดส่งตรวจสารยูรีมิกในทุกวันที่มาฟอกกลางสัปดาห์ทุกสัปดาห์ จนครบ 8 สัปดาห์ก่อนฟอก และหลังฟอก และนำมาหาค่าเฉลี่ยของอัตราการลดลงของสารของแต่ละเทคนิค รวมทั้งยังเก็บน้ำยาไตเทียมที่ได้จากการฟอกเพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยของอัลบูมินที่สูญเสีย ผลการศึกษา พบว่าการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นสามารถกำจัดสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดปานกลาง ß2-microglobulin ได้มากกว่าค่าที่ส่งผลดีต่ออัตราการรอดชีวิตคือร้อยละ 80 และยังมากกว่าการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง โดยค่าเฉลี่ยของอัตราการลดลงของ ß2-microglobulin และค่าเบี่ยงเบนมัธยฐานในเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น และการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลาง เท่ากับ 85.12 ± 3.87 และ 82.57 ± 5.34 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างกลุ่มเท่ากับ 2.56 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) สำหรับสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสารยูรีมิกที่จับกับโปรตีน ได้แก่ ยูเรีย, Ƙ-free light chain และอินดอกซิลซัลเฟต ไม่พบความแตกต่างของความสามารถในการกำจัดระหว่าง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตามสารยูรีมิกมวลโมเลกุลขนาดปานกลางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ɑ1-microglobulin และ λ-free light chain พบว่าการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลางสามารถกำจัดออกได้มากกว่าการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) โดยค่าเฉลี่ยของอัตราการลดลงของ ɑ1-microglobulin เท่ากับ 41.49 ± 11.46 และ 30.13 ± 15.90 ตามลำดับ และ λ-free light chain เท่ากับ 50.81 ± 13.18 และ 40.85 ± 13.92 ตามลำดับ ในแง่ของการสูญเสียอัลบูมินทางน้ำยาไตเทียมพบว่าการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลางสูญเสียอัลบูมินมากกว่าการฟอกเลือดด้วยเทคนิคมิกซ์ไดลูชั่นฮีโมไดอะฟิวเตรชั่น เท่ากับ 3.51กรัมต่อครั้ง และ0.58 กรัมต่อครั้งตามลำดับซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.025) แต่เมื่อพิจารณาแง่ของระดับอัลบูมินในเลือดพบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการฟอกเลือดทั้ง 2 เทคนิคสามารถกำจัดสารยูรีมิกได้ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นในกรณีที่เครื่องมือฮีโมไดอะฟิวเตรชั่นไม่พร้อมใช้สามารถนำการฟอกเลือดแบบดั้งเดิมโดยใช้ตัวกรองรูใหญ่ปานกลางมาใช้ทดแทนกันได้


การเปรียบเทียบการดื้อยาคาร์บาร์พีเนมของเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีโดยวิธีนาโนพอร์ซีเควนซิงกับวิธีเพาะเชื้อโดยมาตรฐานในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปัณณพร ทองสุก Jan 2020

การเปรียบเทียบการดื้อยาคาร์บาร์พีเนมของเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีโดยวิธีนาโนพอร์ซีเควนซิงกับวิธีเพาะเชื้อโดยมาตรฐานในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ปัณณพร ทองสุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความไวและความจำเพาะของเครื่องมือนาโนพอร์ซีเควนเซอร์ในการตรวจหายีนดื้อยาคาร์บาร์พีเนมของเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอี โดยเปรียบเทียบกับวิธีเพาะเชื้อโดยมาตรฐาน ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำปัสสาวะไปปั่นเพื่อลดเซลล์มนุษย์ จากนั้นนำตะกอนแบคทีเรียไปสกัดดีเอ็นเอแล้วซีเควนต่อด้วยเครื่องมือนาโนพอร์เซอร์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลเชื้อก่อโรคและยีนดื้อยานำมาเปรียบเทียบกับผลการเพาะเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษา มีเชื้อเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีทั้งหมด 60 ตัวอย่าง ประกอบด้วยเชื้อดื้อยาคาร์บาพีเนม (CRE) 28 ตัวอย่าง เชื้อที่สามารถผลิตเอนไซม์เบต้าแลคแตมเมสออกฤทธิ์ชนิดกว้าง (ESBL) 16 ตัวอย่าง และเชื้อที่ไม่ดื้อยา (non CRE/non ESBL/nonAmpcC) 16 ตัวอย่าง เครื่องมือนาร์โนพอร์ซีเควนเซอร์สามารถตรวจหาเชื้อก่อโรคและยีนดื้อยาได้ตรงกับวิธีเพาะเชื้อตามมาตรฐาน เมื่อตัดตัวอย่างที่มีดีเอ็นเอน้อยกว่า 1 ng/mcl 7 ตัวอย่างออกไปพบว่าเครื่องมือนี้มีความไวและความจำเพาะต่อการตรวจพบยีนดื้อยาคาร์บาพีเนมร้อยละ 86.9 และ 93.3 ตามลำดับ และพบว่ามีความไวและความจำเพาะต่อการตรวจพบยีนดื้อยา 3rd cephalosporin ร้อยละ 92.1 และ 60 ตามลำดับ สรุป การตรวจหายีนดื้อยาคาร์บาพีเนมของเชื้อในกลุ่มเอ็นเทอโรแบคเทอเรียซีอีด้วยวิธีนาโนพอร์ซีเควนซิ่งมีความไวและความจำเพาะที่สูง เมื่อเทียบกับการตรวจโดยวิธีเพาะเชื้อตามมาตรฐานในผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยสามารถลดระยะเวลาในการตรวจเจอเชื้อก่อโรคและยีนดื้อยาได้ โดยใช้เวลามัธยฐาน 3.5(2.2-8.2) ชั่วโมง เพื่อที่จะสามารถพิจารณาปรับยาปฏิชีวนะได้อย่างเหมาะสมในโดสที่ 2-3 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเกินความจำเป็นและลดโอกาสดื้อยาในอนาคตได้


ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติบำบัดต่อการกลับมาเสพซ้ำในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดการติดสารเมทแอมเฟตามีน, วรรณจรี มณีแสง Jan 2020

ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติบำบัดต่อการกลับมาเสพซ้ำในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดการติดสารเมทแอมเฟตามีน, วรรณจรี มณีแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบ non-concurrent controlled intervention study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติบำบัด (MBTC : Mindfulness – Based Therapy and Counseling program : MBTC) ร่วมกับกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้วยโปรแกรม FAST model เปรียบเทียบกับกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้วยโปรแกรม FAST model ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่อการกลับมาเสพสารเมทแอมเฟตามีนซ้ำ ผู้ติดสารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกถูกแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ได้รับการบำบัดตามกระบวนการบำบัดของโปรแกรม FAST Model) และกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรม MBTC ร่วมกับกระบวนการบำบัดของโปรแกรม FAST Model) กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกสติเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละประมาณ 1 ชั่วโมง และทั้งสองกลุ่มจะถูกติดตามหลังจำหน่ายกลับบ้านเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Generalized mixed model พบว่า เมื่อติดตามผลเป็นระยะเวลา 6 เดือนหลังจำหน่ายกลับบ้าน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความอยากเสพลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.89 คะแนน, 95%CI = -15.47, -0.32) และพบว่ากลุ่มทดลองมีสัดส่วนของผู้ที่ตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ (5/35 คน) น้อยกว่าสัดส่วนของกลุ่มควบคุม (16/35 คน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (chi-square test; p-value = 0.004) และยังพบว่ากลุ่มทดลองมีความเครียด (7.44 คะแนน, 95%CI = -12.21, -2.67) ความซึมเศร้า (2.96 คะแนน, 95%CI = -5.31, -0.6) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในขณะที่มีสติมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (12.86 คะแนน, 95%CI = 9.37, 16.35) จากผลการศึกษาที่ได้นี้สามารถสรุปได้ว่า มีความเป็นไปได้ว่าการใช้โปรแกรม …


การวัดปริมาตรปอดโดยใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า เพื่อทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบ ระหว่างการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก ในผู้ป่วยภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันระยะฟื้นตัว, ธันยวีร์ เสริมแก้ว Jan 2020

การวัดปริมาตรปอดโดยใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า เพื่อทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบ ระหว่างการลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก ในผู้ป่วยภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันระยะฟื้นตัว, ธันยวีร์ เสริมแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก(PEEP)ในผู้ป่วยทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันระยะฟื้นตัว(recovering ARDS) หากทำด้วยความไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะถุงลอมปอดแฟบ(lung collapse) ออกซิเจนในเลือดต่ำและหย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สำเร็จ การวัดปริมาตรปอดที่ลดลงจากการลดแรงดันบวกระยะสิ้นสุดการหายใจออกโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ(EELV changes) สามารถทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ การใช้เครื่องวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า(EIT)สามารถวัดปริมาตรปอดได้แม่นยำใกล้เคียงกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน จึงนำมาศึกษาเพื่อใช้ในการทำนายภาวะถุงลมปอดแฟบหลังลดแรงดันบวกในระยะสิ้นสุดการหายใจออก วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาโดย prospective interventional study ในผู้ป่วยทางเดินหายใจลำบากเฉียบพลันระยะฟื้นตัว คือ มีค่า PF ratio ≥ 150 mmHg และ PEEP ≥ 8 cmH2O ทำการวัดปริมาตรปอดโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ nitrogen washin-washout technique (EELV) วัดปริมาตรปอดโดยใช้เครื่องวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า(delta EELI global) และพารามิเตอร์อื่นๆ ที่เวลา 5 นาที 30 นาที และ 120 นาที ภายหลังการลด PEEP 2 cmH2O เพื่อทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบ คือ SpO2 ลดลง ≥ 3% หรือ PaO2 ลดลง ≥10% ผลการศึกษาหลักคือการใช้พารามิเตอร์ของ EIT ทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบภายใน 120 นาทีภายหลังการลด PEEP ผลการศึกษารองคือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวัดปริมาตรปอดจากทั้ง 2 วิธีและพารามิเตอร์อื่นๆที่สามารถนำมาใช้ในการทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ ผลการศึกษา: ทำการศึกษาทั้งหมด 27 หัตถการในผู้ป่วย 12 ราย ทั้งหมดมีสาเหตุจากปอดอักเสบ มีค่า PF ratio เฉลี่ย 256.5 mmHg พบการเกิดถุงลมปอดแฟบ 14 ครั้ง (51.8%) ปริมาตรปอดวัดโดย EIT (∆ EELI global) ที่เวลา 5 นาทีหลังการลด PEEP ไม่สามารถนำมาใช้ทำนายการเกิดถุงลมปอดแฟบได้ แต่ปริมาตรปอดที่วัดโดยเครื่องช่วยหายใจ (%∆EELV) ที่เวลา 5 …


การศึกษาความไวของการตัดชิ้นเนื้อแบบมีเป้าหมายและแบบสุ่มตามแบบซิดนีย์โปรโตคอลโดยวิธีส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง ในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารเปลี่ยนเป็นเยื่อบุลำไส้ชนิดบริเวณกว้าง, นที ฟักนาค Jan 2020

การศึกษาความไวของการตัดชิ้นเนื้อแบบมีเป้าหมายและแบบสุ่มตามแบบซิดนีย์โปรโตคอลโดยวิธีส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง ในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารเปลี่ยนเป็นเยื่อบุลำไส้ชนิดบริเวณกว้าง, นที ฟักนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา ตามแนวทางปฏิบัติของสมาคมแพทย์ทางเดินอาหารประเทศอังกฤษ ในการวินิจฉัยและการจัดการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารปี 2562 แนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อตาม ซิดนีย์โปรโตคอล รวมทั้งหมด 5 ชิ้น เพื่อวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้เป็นบริเวณกว้าง อย่างไรก็ตามการตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว น่าจะเพียงพอที่จะวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้เป็นบริเวณกว้างโดยปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบของทั้งสองวิธีนี้ วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้ ใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2562 จนถึง ตุลาคม 2563 ส่องกล้องโดยแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชียวชาญในการใช้กล้องแนโรวแบนด์ ทำการส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว หรือ ตัดชิ้นเนื้อแบบสุ่ม ( ถ้าไม่พบ ภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้จากการใช้กล้องแนโรวแบนด์ ) รวมทั้งหมด 5 จุด ตามซิดนีย์โปรโตคอล ผลการศึกษา รวบรวมข้อมูลทั้งหมด 95 ราย เพศชาย 50 ราย (ร้อยละ 52.6) มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 64.7 ± 10.8 ปี พบภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไสเป็นบริเวณกว้าง 43 ราย (ร้อยละ 45.3) ค่าความไว ความจำเพาะ พยากรณ์ผลบวก และ พยากรณ์ผลลบ ของการส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว เปรียบเทียบกับ ตัดชิ้นเนื้อตามซิดนีย์โปรโตคอล ร้อยละ 88.4 เทียบกับ ร้อยละ100, ร้อยละ 90.3 เทียบกับ ร้อยละ 90.3, ร้อยละ 88.4 เทียบกับ ร้อยละ 89.6 และ ร้อยละ 90.3 เทียบกับร้อยละ 100 ตามลำดับ และการตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์อย่างเดียว ใช้จำนวนชิ้นเนื้อน้อยว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (311เทียบกับ 475, p<0.001) และพบว่าแพทย์ที่ไม่ใช้ผู้เชียวชาญในการใช้กล้องแนโรวแบนด์สามารถมีความไวในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไสเป็นบริเวณกว้าง ได้ร้อยละ100 เมื่อทำการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องแนโรวแบนด์ในผู้ป่วย มากกว่า 60ราย สรุป การตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์อย่างเดียว โดยแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชียวชาญในการใช้กล้องแนโรวแบนด์ นั้น ให้ค่าความไวที่น้อยว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการตัดชิ้นเนื้อตาม ซิดนีย์โปรโตคอล แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการส่องกล้องมากกว่า 60 ราย จะให้ความไวที่ร้อยละ 100 เทียบเท่ากันในทั้งสองวิธี โดยที่การตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว ใช้จำนวนชิ้นเนื้อน้อยว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการวินิจฉัย ภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้เป็นบริเวณกว้าง


การศึกษาอุบัติการณ์การหายของภาวะเลือดออกในสมองจากการตรวจพบโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พาทิศ หาญไชยพิบูลย์กุล Jan 2020

การศึกษาอุบัติการณ์การหายของภาวะเลือดออกในสมองจากการตรวจพบโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พาทิศ หาญไชยพิบูลย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : ภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาทที่แย่ลงและอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิต การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาการหายของเลือดในสมองจาการตรวจพบโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการวิจัย : ทำการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่มีภาวะเลือดออกในสมองในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการรักษาด้วยการฉีดย่าละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำและเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2552 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2561 ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันทั้งหมด 710 ราย มีผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองทั้งหมดที่เข้าการศึกษา 80 ราย พบว่าค่าเฉลี่ยของเวลาที่เลือดออกในสมองหายหมดในผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ 22.37 วัน (SD = 17.18) สรุปผลการศึกษา : ผลการศึกษานี้อาจจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเลือกเวลาที่จะตรวจติดตามเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตามเวลาที่เป็นค่าเฉลี่ยผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม โดยในผู้ป่วยที่มีเลือดออกประเภท HI1 อาจจะพิจารณาตรวจที่วันที่ 10 ผู้ป่วยที่มีเลือดออกประเภท HI2 และ PH1 อาจจะพิจารณาตรวจในวันที่ 20 หลังพบเลือดออกในสมอง และผู้ป่วยในกลุ่ม PH2 พิจารณาตรวจเอกซเรย์สมองในวันที่ 35


การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก, ญาณิศา เกลื่อนวัน Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก, ญาณิศา เกลื่อนวัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถเพิ่มอัตราการไหลของอากาศช่วงหายใจออกได้ แม้จะมีความแตกต่างของระดับความดันภายในหลอดลม ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ถึง 60% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อแนะนำหรือแนวทางการประเมินเพื่อหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก (SBT with Pressure Support Ventilation) และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที (SBT with T-piece) วิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และไม่ด้อยกว่า โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวซึ่งได้รับการช่วยหายใจผ่านทางท่อช่วยหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเข้าได้กับเกณฑ์ความพร้อมเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทำการสุ่มด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวกในระยะเวลา 30 นาที และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในระยะเวลา 30 นาที วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คืออัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง และวัตถุประสงค์รองของการศึกษา ได้แก่ อัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วัน, ระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจ, อัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ เป็นต้น ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษาทั้งสิ้น 99 ราย เป็นเพศชาย 50.5% มีค่ามัธยฐานของอายุที่ 70 [23] ปี และมีสาเหตุที่นำมาสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวจากระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ (68.7%) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแล้ว พบว่าอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมงของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่ากลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที คิดเป็น 82% และ 81.63% ตามลำดับ (95%CI -0.148 to 0.156, p=0.0475) รวมถึงอัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ (96% และ 93.9% ตามลำดับ; 95%CI -0.065 to 0.108, p<0.001) พบว่าไม่ด้อยกว่าด้วยเช่นกัน ส่วนอัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วันของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที พบว่าไม่สามารถสรุปผลได้ (22.9% และ 15.2% ตามลำดับ; 95%CI -0.081 to 0.235, p=0.369) นอกจากนี้ยังไม่มีความแตกต่างทางสถิติของระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจอีกด้วย (55 [95.5] ชั่วโมง และ 25.33 [48] ชั่วโมงตามลำดับ, p=0.683) สรุป: อัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ ด้วยวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่าการทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก และการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาแรกที่แสดงถึงความไม่แตกต่างของผลการทดสอบการหายใจระหว่าง 2 วิธีดังกล่าว ในแง่ของอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จในผู้ป่วยที่มีภาวะการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออกนี้


การศึกษาแบบสุ่มของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด, อธิภัทร์ บรรจงจิตร Jan 2020

การศึกษาแบบสุ่มของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด, อธิภัทร์ บรรจงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการมีคำแนะนำให้ให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดหลังจากที่ให้อาหารเสริมทางปากแล้วไม่สามารถทำให้ภาวะทางโภชนาการดีขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาแบบสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าการให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดลดอัตราการเสียชีวิตได้หรือแม้แต่ช่วยให้ผลเลือดที่ทำนายอัตราการเสียชีวิตเช่นระดับอัลบูมินในเลือดดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการให้คำแนะนำทางโภชนาการ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประโยชน์ของการให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดในแง่ของภาวะทางโภชนาการในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มระยะเวลาทั้งหมด 6 เดือนซึ่งประกอบไปด้วยช่วงให้การรักษาตามกลุ่ม 3 เดือนและช่วงที่หยุดการรักษาเพื่อดูผลที่หลงเหลืออยู่ของการรักษาอีก 3 เดือน ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการซึ่งได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการรักษาเป็นอาหารเสริมทางหลอดเลือดดำชนิดมีสารอาหารครบและมีโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบ กลุ่มที่สองได้รับการรักษาโดยได้รับคำแนะนำทางโภชนาการเชิงลึกรายบุคคล ผลลัพธ์หลักของคือการเปลี่ยนแปลงของระดับอัลบูมินในเลือด ผลลัพธ์รองคือการเปลี่ยนแปลงของระดับพรีอัลบูมิน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระบบการให้คะแนนทางโภชนาการคือ malnutrition inflammation score หรือ MIS และ 7-point subjective global assessment หรือ SGA และสารบ่งชี้การอักเสบคือ interleukin-6 และ high-sensitivity C-reactive protein ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 38 ราย โดย 18 รายได้รับอาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือด 20 รายได้รับคำแนะนำทางโภชนาการเชิงลึกรายบุคคล พบว่าที่เดือนที่ 3 กลุ่มที่ได้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดมีระดับอัลบูมินในเลือดเพิ่มขึ้น 0.30 ± 0.20 กรัมต่อเดซิลิตร (p=0.01) สัดส่วนของผู้ป่วยที่มี 7-point SGA หมวด A เพิ่มขึ้น (จากร้อยละ 50 เป็น 70.6 p=0.03) และค่า MIS ดีขึ้น (จาก 8.8 ± 3.8 เป็น 6.8 ± 3.3 p=0.01) แต่หลังจากหยุดการักษาผลทั้งหมดลดลง ส่วนอีกกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดการศึกษา ผลลัพธ์อื่นคือระดับพรีอัลบูมิน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และสารบ่งชี้การอักเสบไม่เปลี่ยนแปลงตลอดการศึกษาในทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผล: การให้อาหารเสริมทางหลอดเลือดดำขณะฟอกเลือดชนิดมีสารอาหารครบและมีโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบสามารถทำให้ภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดและมีภาวะทุพโภชนาการดีขึ้นได้ในด้านระดับอัลบูมินในเลือด ระบบการให้คะแนนทางโภชนาการคือ 7-point SGA และ MIS …


การเปรียบเทียบการให้ยาระหว่างยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลม ต่อการกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลม: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง, วันวิสาข์ บุญเฟื่อง Jan 2020

การเปรียบเทียบการให้ยาระหว่างยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลม ต่อการกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลม: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทาง, วันวิสาข์ บุญเฟื่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: การไอระหว่างส่องกล้องหลอดลมเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่องกล้องหลอดลม การศึกษานี้จึงต้องการเปรียบเทียบการให้ยาระหว่างยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลมต่อการกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลมที่มีความซับซ้อน วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทางในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องหลอดลมที่มีความซับซ้อน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือยาหลอก, ยา dextromethorphan, สารสกัดมะขามป้อมและdextromethorphan ร่วมกับสารสกัดมะขามป้อม โดยรับประทานยาแต่ละชนิดเป็นเวลา 90 นาทีก่อนทำหัตถการ โดยมีผลการศึกษาหลักคือจำนวนครั้งของการไอต่อหัตถการ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 118 รายเข้าร่วมวิจัย ผลการศึกษาหลักพบว่า จำนวนครั้งของการไอต่อหัตถการในกลุ่มที่ได้รับยา dextromethorphan ร่วมกับสารสกัดมะขามป้อมคือ 28 [32.5], P 0.001, dextromethorphan 26 [48.25], P 0.002 และสารสกัดมะขามป้อม 32.5[44.75] P 0.011 ซึ่งทุกกลุ่มสามารถลดจำนวนครั้งของการไอต่อหัตถการได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก 61[77.75], P 0.019 สรุปผล: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกในการให้ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟนและสารสกัดมะขามป้อมก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องหลอดลมที่มีความซับซ้อน พบว่ามีผลกดอาการไอระหว่างการส่องกล้องหลอดลมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายสำหรับการวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในผู้ป่วยไทย, ภัทรวรรณ โกมุทบุตร Jan 2020

ขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายสำหรับการวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในผู้ป่วยไทย, ภัทรวรรณ โกมุทบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : การตรวจหาการสะสมของไขมันบริเวณเอ็นร้อยหวายด้วยการคลำมีความแม่นยำต่ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบขนาดและลักษณะของเอ็นร้อยหวายที่วัดโดยใช้เครื่องหนีบ ภาพถ่ายรังสี และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ในการวินิจฉัยภาวะคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในผู้ป่วยไทย วิธีการศึกษา : ตรวจวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายแต่ละข้างในตำแหน่งที่เอ็นร้อยหวายหนาที่สุดโดยใช้เครื่องหนีบ ภาพถ่ายรังสี และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม 51 คน ผู้ที่มีไขมันสูงที่ไม่ใช่คอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม 51 คน และประชากรปกติ 51 คน ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเอ็นร้อยหวายโดยคลื่นเสียงความถี่สูง และวิเคราะห์ความไวและความจำเพาะของความหนาของเอ็นร้อยหวายในข้างที่หนาที่สุดจากการวัดด้วยวิธีต่างๆในการวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม ผลการศึกษา : การวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยเครื่องหนีบมีความแม่นยำ 60% ความหนาของเอ็นร้อยหวายจากภาพถ่ายรังสี ≥ 7.8 มิลลิเมตร มีความไว 86% และความจำเพาะ 83% ความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ≥ 6.6 มิลลิเมตร มีความไว 51 % และความจำเพาะ 96% และพื้นที่หน้าตัดของเอ็นร้อยหวาย ≥ 95 ตารางมิลลิเมตร มีความไว 43 % และความจำเพาะ 98% ในการวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบว่าขอบเอ็นร้อยหวายที่ไม่เรียบ การเปลี่ยนแปลงลักษณะภายในของเอ็นร้อยหวายและการมีหินปูนพบได้ในผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมมากกว่าผู้ที่มีไขมันสูงจากสาเหตุอื่นและประชากรปกติ สรุป : การวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยเครื่องหนีบมีความแม่นยำต่ำ การวัดด้วยภาพถ่ายรังสีมีความไวสูงในขณะที่การวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีความจำเพาะสูง ลักษณะทางกายภาพของเอ็นร้อยหวายที่สนับสนุนการวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมได้แก่ การขอบเอ็นร้อยหวายที่ไม่เรียบ ลักษณะภายในผิดปกติทั่วๆ และการมีหินปูน