Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medical Biochemistry

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเสริมผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อชะลอความเสื่อมของไตจากโรคเบาหวานในหนู, วิรินทร์ บวรสมสฤษดิ์ Jan 2019

การเสริมผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อชะลอความเสื่อมของไตจากโรคเบาหวานในหนู, วิรินทร์ บวรสมสฤษดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus, DM) เป็นภาวะผิดปกติที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนนำไปสู่อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะได้รับการแนะนำให้บริโภคอาหารในแต่ละมื้อลดลง และเพิ่มมื้ออาหารว่างเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีอาหารต่ำ เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชในตระกูลถั่วและงามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ การศึกษาในพืชตระกูลถั่วพบว่าสามารถป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงรวมถึงบรรเทาภาวะโรคเบาหวานได้ และยังมีการศึกษาที่พบว่างา (Sesame) ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือด นอกจากนี้ถั่วเขียวทอดและงาคั่วเป็นหนึ่งในอาหารกินเล่นที่นิยมของคนไทย สมควรที่จะส่งเสริมผู้ป่วยโรคเบาหวานบริโภคถั่วเขียวทอดหรืองาคั่วเป็นอาหารว่าง หากแต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ถั่วเขียวทอดและงาคั่ว สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้จริงหรือไม่ ในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาผลของการบริโภคถั่วเขียวทอดและงาดำคั่วต่อการดำเนินโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในหนูทดลอง โดยการแบ่งหนูทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หนูปกติกลุ่มควบคุม (Normal control group; NC) หนูเบาหวานกลุ่มควบคุม (Diabetes mellitus control group; DMC) หนูเบาหวานที่บริโภคถั่วเขียวทอด (Fried mung bean group; FMB) และหนูเบาหวานที่บริโภคงาดำคั่ว (Roasted black sesame group; RBS) หนูทดลองนอกเหนือจากกลุ่มปกติควบคุมจะถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน และบริโภคอาหารไขมันสูง พบว่าในสัปดาห์ที่ 12 ของการทดลอง ระดับน้ำตาล HbA1C ระดับไขมันและคริอะตินินในเลือดในหนูทดลองแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อทำการศึกษาพยาธิสภาพของไตและตับด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสง และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่าหนูเบาหวานกลุ่มควบคุมมีปริมาณไขมันสะสมในตับสูง และมีความหนาของเยื่อฐานโกลเมอรูลัส (Glomerular basement membrane) และความกว้างของขาเซลล์โพโดไซต์ (podocyte foot process) มากกว่าหนูปกติกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะแรกของตับและไตในโรคเบาหวาน และพบว่าหนูที่ได้รับถั่วเขียวทอดและงาดำคั่ว ไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพของตับและไตดังกล่าว จากผลการทดลองทั้งหมดในการวิจัยครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าการบริโภคถั่วเขียวทอดหรืองาดำคั่วสามารถบรรเทาพยาธิสภาพของไตและตับที่เกิดจากโรคเบาหวานในหนูทดลองที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้