Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Carotid Cavernous Sinus Fistula: A Literature Review, Poramate Pitak-Arnnop Sep 2000

Carotid Cavernous Sinus Fistula: A Literature Review, Poramate Pitak-Arnnop

Chulalongkorn University Dental Journal

Carotid cavernous sinus fistula is an uncommon complication of craniocervical trauma which is usually associated with a skull base, frontal or midface fractures; besides it may also be a spontaneous phenomenon of a congenital, degenerative or iatrogenic origin. The blood shunts from either internal or external carotid arteries to the cavernous sinus resulting the blurred vision, ophthalmoparesis, pulsating exophthalmos, glaucoma, ocular ischemic syndrome, orbital headache and periorbital pain. The diagnosis is made by clinical features and radiography for differentiating from superior orbital fissure syndrome, orbital apex syndrome, retrobulbar hematoma and cavernous sinus thrombosis. In unspontaneous closure cases with progressive findings, …


โรคท่อน้ำดีตีบตัน : สภาพช่องปากกับการรักษา ทางทันตกรรม : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, บังอร จิระเกียรติ์ Sep 2000

โรคท่อน้ำดีตีบตัน : สภาพช่องปากกับการรักษา ทางทันตกรรม : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, บังอร จิระเกียรติ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ชายไทยอายุ 16 ปี ป่วยเป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันและมีอาการตับแข็งในระยะสุดท้ายของโรคตับ และจําเป็นต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ส่งมาที่โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อรับการตรวจพิเคราะห์สภาพช่องปาก และรับบริการทันตกรรม โดยเน้นควบคุมการเกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์และป้องกันฟันผุด้วย ก่อนที่จะผ่าตัดเปลี่ยนตับ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยต้องได้รับยากดภูมิต้านทานเป็นเวลานานทําให้อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพิ่มขึ้น การรักษาเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 2 เดือน ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยรายนี้มีสภาพช่องปากที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับโรคนี้ ปัญหาทางการแพทย์ของผู้ป่วยเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ข้อบ่งชี้การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันตลอดจนยาที่มีผลทําลายตับ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเกิดปัญหากับการรักษาทางทันตกรรมได้หากไม่ได้ป้องกัน และทราบวิธีแก้ไขปัญหาล่วงหน้าโดยปรึกษากับแพทย์ผู้ทําการรักษาอย่างใกล้ชิด การดูแลรักษาทางทันตกรรมใน ผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนตับมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ผลการรักษาและคุณภาพชีวิตหลังการเปลี่ยนตับดียิ่งขึ้น และป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการเปลี่ยนตับ


ไวรัสตับอักเสบกับทันตแพทย์, ยง ภู่วรวรรณ Sep 2000

ไวรัสตับอักเสบกับทันตแพทย์, ยง ภู่วรวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Verruciform Xanthoma, Kittipong Dhanuthai Sep 2000

Verruciform Xanthoma, Kittipong Dhanuthai

Chulalongkorn University Dental Journal

Verruciform xanthoma is a rare, benign entity which preferentially affects the oral mucosa than any other tissue. The most frequent site of involvement is the gingiva. It affects mostly the middleaged person with a predilection for male gender. Clinically, verruciform xanthoma appears as papillary or verrucous, flat or slightly raised lesions. Aggregates of lipid-laden foam cells confined to the connective tissue papillae between epithelial rete ridges in association with papillary or verrucous epithelial hyperplasia are the histolopathologic hallmark of this lesion. These foam cells are actually of macrophage/monocyte lineage. The histopathological distinction of verruciform xanthoma from other lesions, which it …


ความแข็งแรงของครอบและสะพานฟันชั่วคราว, ยงยุธ พงศ์ศิลามณี, สรรพัชญ์ นามะโน Sep 2000

ความแข็งแรงของครอบและสะพานฟันชั่วคราว, ยงยุธ พงศ์ศิลามณี, สรรพัชญ์ นามะโน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่ออธิบายถึงความสําคัญของความแข็งแรงของครอบและสะพานฟันชั่วคราว ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าครอบฟันและสะพานฟันที่ดีสามารถรักษาอวัยวะปริทันต์ให้อยู่ในสภาพดี และใช้บดเคี้ยวได้ วัสดุที่ใช้ทํามีหลายชนิดได้แก่ โลหะ พลาสติก และคอมโพสิตเรซิน ซึ่งการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ การใช้งาน ระยะเวลาในการใส่ แรงที่กัด ตําแหน่งของครอบและสะพานฟัน ช่วงเวลาในการใช้งาน ฯลฯ ในกรณีที่จําเป็นต้องใช้งานในระยะเวลาที่ยาวนาน หรือ ต้องรับแรงที่มากกว่าปกติ ครอบและสะพานฟันนั้นจําเป็นต้องเสริมความแข็งแรงแก่วัสดุที่ใช้ทําด้วยเส้นใยโพลีเอทิลีนหรือเส้นใยแก้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและต้านการแตกหักจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวของครอบและสะพานฟันชั่วคราว


Practical Guide Line-Ethical Of Researcher(ปกิณกะ : แนวทางปฏิบัต จรรยาบรรณนักวิจัย), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ Sep 2000

Practical Guide Line-Ethical Of Researcher(ปกิณกะ : แนวทางปฏิบัต จรรยาบรรณนักวิจัย), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Giant Cell Fibroma Of The Oral Cavity. Ii. An Immunohistochemical Study, Somporn Swasdison, Kittipong Dhanuthai Sep 2000

Giant Cell Fibroma Of The Oral Cavity. Ii. An Immunohistochemical Study, Somporn Swasdison, Kittipong Dhanuthai

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective The purpose of this study was to investigate the phenotype of the mononuclear and the multinucleated cells in the oral giant cell fibroma. Materials and methods The study was performed in thirty-one cases of the oral giant cell fibroma. The surgical specimens of the lesions were stained with a panel of antibodies using indirect immunoperoxidase technique. Results The mononuclear and multinucleated giant cells of the giant cell fibroma showed positive staining by antibodies against vimentin and proliferating cell nuclear antigen (PCNA) while demonstrating negative staining by antibodies against S-100 antigen, leukocyte common antigen (LCA), macrophage marker (LNS), smooth muscle …


รากฟันด้านเพดานปากสองรากในฟันกรามบนซี่ที่สอง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แอนนา เทพวนังกูร Sep 2000

รากฟันด้านเพดานปากสองรากในฟันกรามบนซี่ที่สอง : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, แอนนา เทพวนังกูร

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานกล่าวถึงฟันกรามบนซี่ที่สองของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษารากฟัน เป็นฟันกรามบนสี่ราก โดยเป็นรากฟันด้านเพดานปากสองราก และรากฟันด้านแก้มสองราก ซึ่งการมีจํานวนรากฟันด้านเพดานปากมากกว่าปกติเป็นลักษณะที่พบได้น้อยที่สุดของฟันกรามบน พื้นของโพรงในตัวฟันมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรูเปิดเข้าสู่คลองรากฟันอยู่ที่มุมทั้งสี่ การพิจารณาภาพรังสีก่อนการรักษาเป็นสิ่งสําคัญ เนื่องจากสามารถเห็นลักษณะผิดปกติของรากฟันได้ก่อนการรักษา การค้นหาและรักษารากฟันได้ครบทุกคลองรากฟันเป็นสิ่งหนึ่งที่ทําให้การรักษารากฟัน ประสบความสําเร็จ จากการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน พบว่าฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี ไม่มี พยาธิสภาพเกิดขึ้น


การศึกษาเปรียบเทียบผลของการวัดความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธีการย้อมสีเมทิลีนบลูกับวิธีวิเคราะห์ด้วยสารเอ็มทีที, กนกวรรณ จรูญภัทรพงษ์, เกษรา ปัทมพันธุ์ May 2000

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการวัดความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธีการย้อมสีเมทิลีนบลูกับวิธีวิเคราะห์ด้วยสารเอ็มทีที, กนกวรรณ จรูญภัทรพงษ์, เกษรา ปัทมพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวัดความเป็นพิษด้วยวิธีการย้อมเซลล์ด้วยสีเมทิลีนบลูกับวิธีวิเคราะห์ด้วย สารเอ็มทีที วัสดุและวิธีการ วัดความเป็นพิษของโซเดียมฟลูออไรด์ที่มีต่อเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเหงือกและวัดความเป็นพิษของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่มีต่อเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีดังกล่าว เปรียบเทียบผลของความเป็นพิษของสารทั้งสองชนิดที่ได้จากการวัดในวิธีวิเคราะห์ด้วย วิธีการย้อมสีเซลล์ด้วยสีเมทิลีนบลูหรือวิธีวิเคราะห์ด้วยสารเอ็มทีที โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เพื่อหาระดับความเป็นพิษของสารทดสอบในแต่ละความเข้มข้นที่มีต่อเซลล์ในแต่ละวิธีวิเคราะห์ จากนั้นจึงนําผลที่แสดงระดับความเป็นพิษของวิธีวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีมาเปรียบเทียบกัน ผลการศึกษา พบว่าการวัดความเป็นพิษของโซเดียมฟลูออไรด์ที่มีต่อเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเหงือกด้วยสารเอ็มทีทีและการย้อมเซลล์ด้วยสีเมทิลีนบลู แสดงระดับความเป็นพิษอย่างมีนัยสําคัญที่ความเข้มข้นเดียวกันของฟลูออไรด์ (100 พีพีเอ็ม, p<0.05) และในทํานองเดียวกัน ผลจากการวัดความเป็นพิษทั้งสองวิธี แสดงระดับความ เป็นพิษของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ต่อเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงฟันที่ระดับความเข้มข้น ≥ 25 ไมโครโมลาร์ เช่นเดียวกัน (p<0.05) สรุป วิธีการย้อมเซลล์ด้วยสีเมทิลีนบลูให้ผลในการวัดความเป็นพิษไม่แตกต่างกันกับวิธีการมาตรฐานที่วัดผลด้วยสารเอ็มทีที


กําลังตัดขวางและความสามารถในการถูกดัดงอ ของอะคริลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนและสารเคมีที่มีจําหน่ายในประเทศไทย, สิทธิโชค รัตนสุวรรณ, กุสสี ทองปุสสะ, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล May 2000

กําลังตัดขวางและความสามารถในการถูกดัดงอ ของอะคริลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนและสารเคมีที่มีจําหน่ายในประเทศไทย, สิทธิโชค รัตนสุวรรณ, กุสสี ทองปุสสะ, ปิยะวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอของอะคริ ลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนและสารเคมีจํานวน 10 ชนิด ซึ่งมีจําหน่ายในประเทศไทยเพื่อ ที่จะเป็นแนวทางในการเลือกใช้อะคริลิกกับงานชนิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม วัสดุและวิธีการ นําอะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อนจํานวน 7 ชนิด ได้แก่ Rodex, Majorbase, How medica, Meliodent, G.C Luxon, Takilon ชนิดใสและ Lang และอะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้น ปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยสารเคมีจํานวน 3 ชนิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ Meliodent, How medica และ Orthoresin มา ทดสอบหาค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการตัดงอ โดยทําชิ้นตัวอย่างให้ได้ตามมาตรฐาน ISO R-1567 สร้างชิ้นตัวอย่างชนิดละ 5 ชิ้น แล้วนําไปทดสอบโดยใช้เครื่องทดสอบ ลอยด์ ยูนิเวอร์ซัล รุ่น 10K นําค่าที่ได้ไปศึกษาหา ค่าความแตกต่างทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา อะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยความร้อน ผลิตภัณฑ์ Rodex มีค่ากําลังตัดขวางและ ค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักสูงกว่าอะครีลิกเรซินทั้งหมดที่นํามาทดสอบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และมีค่า ความสามารถในการดัดงอสูงที่สุดแต่ไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ Lang อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) และ อะครีลิกเรซิน ผลิตภัณฑ์ Meliodent มีค่ากําลังตัดขวาง อะครีลิกเรซินชนิดกระตุ้นปฏิกิริยาโพลิเมอร์ด้วยสารเคมีและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักสูงสุดในกลุ่มของ สรุป อะครีลิกเรซินที่มีขายในประเทศไทยมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีค่ากําลังตัดขวางและความสามารถในการถูกตัดงอแตกต่างกัน ทันตแพทย์ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม


การเปรียบเทียบการรั่วซึมบริเวณปลายราก ของจุฬาซีลเลอร์กับซิงค์ออกไซด์ยูจีนอลซีลเลอร์ ชนิดอื่นในการอุดคลองรากฟัน, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร, วีรวัฒน์ สัตยานุรักษ์, วิภา วิชิตจารุกุล May 2000

การเปรียบเทียบการรั่วซึมบริเวณปลายราก ของจุฬาซีลเลอร์กับซิงค์ออกไซด์ยูจีนอลซีลเลอร์ ชนิดอื่นในการอุดคลองรากฟัน, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร, วีรวัฒน์ สัตยานุรักษ์, วิภา วิชิตจารุกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของซีลเลอร์ในด้านการรั่วซึมบริเวณปลายรากของจุฬาซีลเลอร์กับซิงค์ออกไซด์ ยูจีนอลซีลเลอร์ชนิดอื่นในการอุดคลองรากฟันร่วมกับกัตตาเปอร์ชาด้วยวิธีแลเทอรัลคอนเดนเซชัน วัสดุและวิธีการ ศึกษาในฟันรากเดียวที่ถูกถอนแล้วจํานวน 55 ปี หลังจากทําการขยายและทําความสะอาดคลอง รากฟันแล้ว แบ่งฟันออกเป็น 5 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ๆ ละ 15 ซี่ กลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม ซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มควบคุมผลบวกและกลุ่มควบคุมผลลบอย่างละ 5 ปี ในกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มอุดคลองรากโดยใช้กัตตาเปอร์ชา และซีลเลอร์ร่วมชนิดต่าง ๆ คือ จุฬาซีลเลอร์ โพรโคชอลซีลเลอร์ และพัลป์เดนท์ซีลเลอร์ ส่วนกลุ่มควบคุมอุดคลองราก โดยไม่ใช้ซีลเลอร์ เก็บฟันไว้ในความชื้น 48 ชั่วโมง แล้วแช่ในอินเดียนอิงค์เป็นเวลา 7 วัน นําฟันมาทําให้ใสแล้ว ตรวจสอบการรั่วซึมของสีที่บริเวณปลายรากด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างของการรั่วซึมของสีระหว่างซีลเลอร์แต่ละชนิดอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05)สรุป จุฬาซีลเลอร์มีประสิทธิภาพในการต้านทานการรั่วซึมของสีบริเวณปลายรากไม่แตกต่างจากซิงค์ออกไซด์ยูจีนอลซีลเลอร์ชนิดอื่นเมื่อขุดคลองรากฟันด้วยวิธีแลเทอรัลคอนเดนเซชัน


การซ่อมพอร์สเลนในฟันปลอมชนิดติดแน่น, สโรชา ชโลธร, อิศราวัลย์ บุญศิริ May 2000

การซ่อมพอร์สเลนในฟันปลอมชนิดติดแน่น, สโรชา ชโลธร, อิศราวัลย์ บุญศิริ

Chulalongkorn University Dental Journal

สมัยก่อนการซ่อมพอร์สเลนมักไม่ค่อยประสบความสําเร็จเนื่องจากมีการแตกหักของคอมโพสิตเรซินจากการเชื่อมที่ไม่ดีพอ แต่ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในการซ่อมพอร์สเลนได้พัฒนาขึ้นมาก โดยการใช้ คอมโพสิตเรซินที่มีการเชื่อมกับผิวโลหะหรือพอร์สเลนด้วยการยึดทางกลศาสตร์และทางเคมีซึ่งมีความสําคัญมาก การใช้สารไซเลนเป็นตัวเชื่อมด้วยระบบซิลิโคทเตอร์ร่วมกับสารเชื่อมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทต่างๆ ทําให้การซ่อมพอร์สเลนที่แตกใช้ งานได้นานขึ้น วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อให้ทราบถึงวิธีการเตรียมพื้นผิวพอร์สเลนและโลหะในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้หัวกรอ การเป่าทราย การใช้กรดกัด การใช้สารเชื่อม ซึ่งมีผลต่อการเชื่อมติดกับคอมโพสิตเรซิน รวมทั้งชนิดของคอมโพสิตเรซิน และวิธีการซ่อมพอร์สเลนในปากเมื่อเกิดการแตกของพอร์สเลนซึ่งมีหลายระดับขึ้นกับพื้นผิวของครอบฟันบริเวณที่ซ่อมเป็นอย่างไร แต่ถ้ามีการแตกมากขึ้นต้องทําขั้นตอนในห้องปฏิบัติการทําเป็นครอบฟันคร่อมทับบนโครงโลหะและยึดด้วยซีเมนต์


การหยุดยั้งการลุกลามของรอยผุเริ่มแรกของฟลูออไรด์วานิชในเด็กก่อนวัยเรียน, อรุณี ลายธีระพงศ์, สุภาพรณ์ จงวิศาล May 2000

การหยุดยั้งการลุกลามของรอยผุเริ่มแรกของฟลูออไรด์วานิชในเด็กก่อนวัยเรียน, อรุณี ลายธีระพงศ์, สุภาพรณ์ จงวิศาล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้ฟลูออไรด์วานิชดูราแฟต ในการหยุดยั้งการลุกลามของรอยผุเริ่มแรกในฟันหน้า น้ํานมบนในเด็กก่อนวัยเรียน เมื่อทาทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี วัสดุและวิธีการ ประชากรตัวอย่าง ได้แก่ เด็กอายุ 2.5-5 ปี (อายุเฉลี่ย 3.5 ปี) จํานวน 160 คน (ชาย 90 คน และหญิง 70 คน) ที่มีฟันตัดข้างน้ํานมบนด้านขวา (หรือซ้าย) ผุในระยะเริ่มแรก โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมกลุ่มละ 80 คน มีค่าเฉลี่ยฟันน้ํานมผุ ถอน อุด เท่ากับ 3.60 และ 3.69 ซี่/คน ตามลําดับ กลุ่มทดลอง ได้รับการทาดูราแฟตบนฟันหน้าน้ํานมบนทุก 3 เดือน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการทาน้ําสะอาดแทน เปรียบเทียบ ความแตกต่างของการลุกลามต่อของรอยผุเริ่มแรกระหว่างกลุ่มด้วยสถิติไค-สแควร์ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 พบว่าตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีการลุกลามต่อของรอยผุเริ่มแรกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 10.5 ซึ่ง ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุเท่ากับหรือต่ํากว่า 3.5 ปี จะมีการลุกลามต่อของรอยผุเริ่มแรก น้อยกว่า กลุ่มที่มีอายุมากกว่า 3.5 ปีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.01) และพบการลุกลามต่อของรอยผุเริ่มแรก ในกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยฟันน้ํานมผุ ถอน อุดเท่ากับ 0-4 น้อยกว่า กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยฟันน้ํานมผุ ถอน อุดมากกว่า 4 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.005) อีกด้วย ผลการศึกษา สรุป ฟลูออไรด์วานิชให้ผลในการหยุดยั้งการลุกลามต่อของรอยผุเริ่มแรกในฟันหน้าน้ํานมบนด้านริมฝีปากในกลุ่ม เด็กที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.5 ปี และในกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยฟันน้ํานมผุ ถอน อุดเท่ากับ 0-4 อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ เมื่อทาทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี


การอธิบายส่วนต่างๆ ของศีรษะและใบหน้า, วันทนี มุทิรางกูร, บดินทร์ กังวานณรงค์กุล, พิศาล คุณธาราภรณ์, รุจน์ โรจน์อัศวเสถียร May 2000

การอธิบายส่วนต่างๆ ของศีรษะและใบหน้า, วันทนี มุทิรางกูร, บดินทร์ กังวานณรงค์กุล, พิศาล คุณธาราภรณ์, รุจน์ โรจน์อัศวเสถียร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการอธิบายส่วนต่างๆ ของศีรษะและใบหน้า ระหว่างนิสิตทันตแพทย์และ บุคคลทั่วไป วัสดุและวิธีการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาสาสมัครสองกลุ่ม คือ นิสิตฝึกปฏิบัติงานคลินิก คณะทันตแพทย ศาสตร์ จํานวน 70 คน และบุคคลทั่วไปที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดๆ ที่ไม่เคยผ่านการศึกษาวิชามหกาย วิภาคศาสตร์ จํานวน 82 คน ทําแบบทดสอบอธิบายส่วนต่างๆ ของศีรษะและใบหน้าจากภาพ โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1. ลากเส้นโยงชื่อไปยังตําแหน่งที่ถูกต้อง 2. บอกชื่ออวัยวะหรือตําแหน่งที่ลูกศรชี้ 3. ระบายสีให้ได้บริเวณของ อวัยวะหรือตําแหน่งที่กําหนด และ 4. (เฉพาะนิสิตทันตแพทย์) บอกชื่อทางกายวิภาคศาสตร์ของตําแหน่งที่กําหนด ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองระบุส่วนต่างๆ ของศีรษะและใบหน้าเหมือนกันในตําแหน่งต่อไปนี้คือ กกหู แก้ม ขมับ ติ่งหู หน้าผาก หน้าหู หลังหู หว่างคิ้ว โหนกแก้ม และกราม แต่แตกต่างกันในการชี้ภาพและ ระบายสีบอกบริเวณในตําแหน่งของข้อต่อขากรรไกร ขากรรไกร และมุมคาง รวมทั้งเรียกชื่อต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ในส่วนที่ตรงกับมุมของขากรรไกรล่าง ยิ่งหน้าหู และหน้าต่อรูหู 13 มิลลิเมตร (p<0.001) ทั้งนี้กลุ่มนิสิตทันตแพทย์ ได้แสดงว่ามีความรู้ทางมหกายวิภาคศาสตร์อย่างดี (ร้อยละ 90.1) สรุป นิสิตทันตแพทย์และบุคคลทั่วไปอธิบายส่วนต่างๆ ของศีรษะและใบหน้าเหมือนกันในตําแหน่งหรือบริเวณที่ มองเห็น และ/หรือรู้จักเป็นคําสามัญ แต่แตกต่างกันในบริเวณซึ่งต้องการความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ได้แก่ ข้อต่อ ขากรรไกร และส่วนของขากรรไกร ดังนั้นทันตแพทย์จึงควรระมัดระวังในการสื่อสารกับผู้ป่วยเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ของบริเวณเหล่านี้


ทัศนคติทันตแพทย์ต่อหลักสูตรวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รำไพ โรจนกิจ, พิไลพร วิวัฒน์บุตรสิริ, ธนรัตน์ เธียรโกศล May 2000

ทัศนคติทันตแพทย์ต่อหลักสูตรวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รำไพ โรจนกิจ, พิไลพร วิวัฒน์บุตรสิริ, ธนรัตน์ เธียรโกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบทัศนคติของทันตแพทย์ที่จบและกําลังศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ ที่จัดสอนในหลักสูตรปัจจุบันว่ามีความเหมาะสม และเพียงพอ ต่อความต้องการของทันตแพทย์ในการประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ทั่วไปหรือไม่ เพื่อที่จะนําข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นแนวทางปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น วัสดุและวิธีการ จัดส่งแบบสอบถามจํานวน 400 ชุด ให้กับทันตแพทย์ที่สําเร็จการศึกษาแล้ว และทันตแพทย์ชั้น ปี 5 และ 6 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแบบสอบถามที่ใช้ในการสํารวจ แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลความรู้เชิงทันตกรรมประดิษฐ์ ข้อมูลความเหมาะสมและ ความทันสมัยของหลักสูตรวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ ทั้ง 4 วิชา คือ วิชาฟันปลอมบางส่วนชนิดติดแน่น ฟันปลอม บางส่วนชนิดถอดได้ ฟันปลอมทั้งปาก ทันตวัสดุศาสตร์ และข้อมูลเสนอแนะ ผลการศึกษา จากตัวอย่างแบบสอบถามทั้งหมด มีข้อมูลที่สามารถนํามาวิเคราะห์ได้ 148 ชุด จากทันตแพทย์ที่ สําเร็จการศึกษาแล้ว 60 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.5 และนิสิตทันตแพทย์ จํานวน 88 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.5 ให้ ความคิดเห็นว่า วิชาบรรยาย และวิชาฝึกปฏิบัติการ อยู่ในระดับดี คือ ฟันปลอมบางส่วนชนิดติดแน่น ฟันปลอม บางส่วนชนิดถอดได้ และฟันปลอมทั้งปาก ส่วนทันตวัสดุศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ สําหรับวิชาฝึกปฏิบัติการคลินิก อยู่ในระดับดีคือ ฟันปลอมทั้งปาก ส่วนฟันปลอมบางส่วนชนิดติดแน่น และฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้ อยู่ในระดับพอใช้ สรุป หลักสูตรวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี และทันตแพทย์ส่วนใหญ่เห็นควรให้มีการทบทวน บทเรียน และมีหนังสือคู่มือสําหรับการฝึกปฏิบัติการคลินิกให้มากขึ้น


เปรียบเทียบเชื้อจุลินทรีย์ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์ ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ ระหว่างก่อนและหลังการรักษา ด้วย 2% ไมโนซัยคลิน (เพอริโอคลิน) เฉพาะที่, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Jan 2000

เปรียบเทียบเชื้อจุลินทรีย์ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์ ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ ระหว่างก่อนและหลังการรักษา ด้วย 2% ไมโนซัยคลิน (เพอริโอคลิน) เฉพาะที่, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ต้องการศึกษาดูผลของยาไมโนชัยคลิน (เพอริโอคลิน) 2% ที่ใช้เฉพาะที่ ต่อเชื้อที่อาศัยอยู่ใน ร่องลึกปริทันต์ผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ วัสดุและวิธีการ แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใส่ยา กับกลุ่มที่ใส่ยา สําหรับกลุ่มที่ ใส่ยา จะใส่ยาไมโนชัยคลิน (เพอริโอคลิน) 2% สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน การเก็บตัวอย่างเชื้อ จากร่องลึกปริทันต์มาศึกษา จะทําการเก็บเชื้อครั้งที่ 1 (ตรงกับสัปดาห์ที่ 6) โดยเก็บก่อนใส่ยาหลังเก็บเชื้อครั้งที่ 1 จะทําการขูดล้างหินน้ำลายและเกลารากฟันทั้งฟันซี่ที่เป็นของกลุ่มควบคุมและที่เป็นของกลุ่มที่ใส่ยา ส่วนการเก็บเชื้อครั้งที่ 2 จะเก็บในสัปดาห์ที่ 4 และเก็บเชื้อครั้งที่ 3 ในสัปดาห์ที่ 12 ผลการศึกษา : พบว่ายาไมโนชัยคลิน (เพอริโอคลิน) 2% ที่ใช้เฉพาะที่ มีผลต่อเชื้อที่อาศัยอยู่ในร่องลึกปริทันต์ ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ โดยจะมีผลต่อกลุ่มเชื้อพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตอย่างชัดเจน ซึ่งใน กลุ่มที่ใส่ยาจํานวนเชื้อจะลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติหลังจากใส่ยาไป เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนใช้ยา ส่วนในกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มที่ไม่ได้ใส่ยา จํานวนเชื้อที่ลดลงส่วนมากไม่มีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบจํานวนเชื้อที่พบก่อนทําการรักษากับภายหลังท่าการรักษา สรุป : ไมโนชัยคลิน 2% ที่ใช้เฉพาะที่ สามารถลดจํานวนเชื้อพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตที่อาศัย อยู่ในร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


ผลของน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมต่อค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหัก ของอะคริลิก เรซิน, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, อิทธิเดช ตรงต่อศักดิ์, แพน สุ่นสวัสดิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Jan 2000

ผลของน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมต่อค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหัก ของอะคริลิก เรซิน, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, อิทธิเดช ตรงต่อศักดิ์, แพน สุ่นสวัสดิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอมที่มีผลต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิก เรซิน วัสดุและวิธีการ นําขึ้นอะคริลิก เรซิน ชนิดบ่มด้วยความร้อน (เมเจอร์ เบส 2) แช่ในน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม 4 ชนิด (สเตอราเต็นท์ เซเคียว โพลิเดนท์ และน้ําส้มสายชู) โดยใช้ชิ้นทดสอบกลุ่มละ 7 ชิ้น แช่ในน้ํายาทําความ สะอาดฟันปลอมแต่ละชนิดเป็นจํานวน 0 90 180 270 และ 360 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จากนั้นนําชิ้นทดสอบไป หาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักด้วยเครื่องลอยด์ รุ่นแอลอาร์ 10 เค ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคัสคาล วัลลิส เทส และแมน-วิทนีย์ ยู เทส ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าค่ากําลังตัดขวางของชิ้นอะคริลิก เรซินที่แช่ในสเตอราเต็นท์ เซเคียว และโพลิเต็นท์ ที่แซ่เป็นจํานวน 0 ครั้ง 90 180 270 และ 360 ครั้ง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่ที่แช่ในน้ําส้มสายชูที่ จํานวน 360 มีค่ากําลังตัดขวางลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับที่แช่เป็นจํานวน 0 90 180 และ 270 ครั้ง ส่วนค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของชิ้นอะคริลิก เรซิน ที่แช่ในน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมทั้ง 4 ชนิด ที่แช่เป็นจํานวน 360 ครั้ง มีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับที่แช่ที่ 0 90 180 และ 270 ครั้ง และในกลุ่มน้ําส้มสายชูที่แช่ 270 ครั้ง มีค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่แซ่ 0 ครั้ง สรุป การใช้น้ําส้มสายชูแซ่อะคริลิก เรซิน เพื่อทําความสะอาดฟันปลอมอาจมีผลทําให้ค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการตัดงอก่อนหักของอะคริลิก เรซินลดลงได้


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ของประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม Jan 2000

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ของประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารระหว่างประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่นที่มีฟันครบและศึกษาปัจจัยด้านเพศ, ด้านเคี้ยวที่ถนัด และเวลาที่ใช้ในการเคี้ยวที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยว นอกเหนือจากจํานวนพื้นที่เหลืออยู่ในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ทําการสุ่มตัวอย่างโดยความบังเอิญจากประชากรวัยผู้ใหญ่อายุ 35-44 ปี และประชากรวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี กลุ่มละ 40 คน เป็นเพศชายและเพศหญิงเท่าๆ กันโดยทุกคนมีฟันธรรมชาติครบ 28 ซี่ (ไม่นับฟัน กรามซี่สุดท้ายทั้ง 4 ที่) มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่มีความผิดปกติใดๆ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการบดเคี้ยว ทดสอบ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารโดยให้เคี้ยวแครอทสดน้ําหนัก 3 กรัม ด้วยด้านที่ถนัด จับเวลาที่ใช้ในการบดเคี้ยว จบครบ 30 ครั้ง วิเคราะห์ผลการทดลองโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยต่างๆ ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ด้วยการ ทดสอบ ที และระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปด้วยการทดสอบ เอฟ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยต่างๆ ด้วยการทดสอบไคสแควร์ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ใช้เวลาในการบดเคี้ยวจนครบ 30 ครั้ง นาน 26.25 วินาที และมีค่าเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวสูงถึง 84.50 ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นใช้เวลาในการบดเคี้ยวเพียง 20.26 วินาที และมีค่าเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวเพียง 68.20 เวลาที่ใช้ในการบดเคี้ยวและ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของกลุ่มผู้ใหญ่นานกว่าและสูงกว่ากลุ่มวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สําหรับปัจจัยด้านเพศและด้านเคี้ยวที่ถนัด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของประชากรในกลุ่มอายุเดียวกัน สรุป จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปว่า เมื่อจํานวนครั้งของการบดเคี้ยวเท่าๆ กัน ประชากรวัยผู้ใหญ่จะใช้เวลานานกว่าและมีประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารสูงกว่าประชากรวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


Radiographic Study Of Impacted Premolars And Review Of The Literature, Wichitsak Cholitgul, Callum S. Durward Jan 2000

Radiographic Study Of Impacted Premolars And Review Of The Literature, Wichitsak Cholitgul, Callum S. Durward

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To estimate the prevalence and distribution of impacted premolars in a group of New Zealand children aged 10 to 15 years and to report any associate findings. Materials and methods Panoramic radiographs of 1608 children aged 10 to 15 years were selected. All children had been registered as patients of the School of Dentistry, University of Otago, Dunedin, New Zealand since 1969. The radiographs were taken on the same panoramic machine and examined by one experienced radiologist for the presence and location of the impacted premolars and any associate pathological changes. Results One hundred and sixty nine individuals (10.5%) …


ผลของน้ำยาทําลายเชื้อต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่ใช้ทําฐานฟันปลอม, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, สรรพ์อนงค์ นักสอน, รัชฏากรณ์ อิสระพัฒนะพงษ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Jan 2000

ผลของน้ำยาทําลายเชื้อต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่ใช้ทําฐานฟันปลอม, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, สรรพ์อนงค์ นักสอน, รัชฏากรณ์ อิสระพัฒนะพงษ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่แช่ในน้ํายา ทําลายเชื้อ 3 ชนิด คือ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ที่ระยะเวลาต่างกัน วัสดุและวิธีการ นําชิ้นทดสอบอะคริลิกเรซินทั้งชนิดที่บ่มด้วยความร้อนและชนิดที่บ่มด้วยตนเอง (เมลิโอเต็นท์ เยอรมันนี) แบ่งเป็น 20 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ชิ้น แช่ในน้ํายาทําลายเชื้อ 3 ชนิดคือ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 0.5% โซ เดียมไฮโปคลอไรท์ และ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ตามระยะเวลาดังต่อไปนี้คือ แช่ที่ระยะเวลา 10 นาที แช่ที่ระยะ เวลาที่สามารถทําลายเชื้อได้มากที่สุด (10 ชั่วโมง สําหรับ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 15 นาทีสําหรับ 0.5% โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ และ 20 นาทีสําหรับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์) และแช่ที่ระยะเวลา 14 วัน จากนั้นนําชิ้นทดสอบ อะคริลิกเรซินไปทดสอบด้วยวิธีกด 3 จุดเพื่อหาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริ ลิกเรซิน ด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง รุ่น แอลอาร์ 10 เค ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินทางสถิติ ด้วย Kruskal Wallis Test และ Mann-Whitney U Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าอะครีลิกเรซินชนิด บ่มด้วยความร้อนที่แช่ใน 70% เอทิลแอลกอฮอล์มีค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้ง 3 ช่วงเวลา ส่วนอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตนเอง มีค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) 2 ช่วงเวลาคือที่ 10 และ 20 นาที โดยกลุ่มที่แช่นานถึง 2 สัปดาห์มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายยางจึงไม่สามารถหาค่าได้ ส่วนอะครีลิกเรซินทั้งที่บ่ม ด้วยความร้อนและบ่มด้วยตนเองที่แช่ใน 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และที่แช่ใน 2% กลูตาราลดีไฮด์ไม่พบความ แตกต่างของค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้ง 3 ช่วงเวลา สรุป ดังนั้นการทําลายเชื้อบนฟันปลอมฐานอะคริลิกเรซิน โดยการแช่ใน 70% เอทิลแอลกอฮอล์จึงเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม


ความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่เกี่ยวกับการบริการทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พรทิพย์ วตะกูลสิน, วาสนา พัฒนพีระเดช Jan 2000

ความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่เกี่ยวกับการบริการทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พรทิพย์ วตะกูลสิน, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่ที่มาติดต่อ เกี่ยวกับการบริการรักษาพยาบาลทางทันตกรรม ในคลินิกรวมคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลในผู้ป่วยใหม่ที่มาติดต่อเพื่อขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คลินิกรวมในระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยใช้แบบสอบถามจํานวน 500 ฉบับ และนําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีประเภทของคลินิกให้เลือก 3 ประเภท รวมทั้งไม่ทราบว่าแต่ละประเภทของคลินิก ผู้ให้การรักษาและเวลาในการมารับการรักษาแตกต่างกัน ผู้ป่วย ส่วนใหญ่คาดหวังว่าเมื่อมาติดต่อที่คลินิกรวมผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเลย และเมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจของ ผู้ป่วยต่อระบบงานของคลินิกรวม ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในด้านการเข้าคิวของการรักษา ส่วนในด้านช่วงเวลา ความถี่ ของเวลาในการมารับการรักษา ตลอดจนผู้ให้การรักษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใจปานกลาง สรุป ผู้ป่วยใหม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับระบบงานในการบริการรักษาพยาบาลทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนไม่ทราบถึงระบบงานทั่วๆ ไปของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ด้วย ซึ่งสาเหตุนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดปัญหากับการทํางาน รวมทั้งผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้อง


ลักษณะทางกายวิภาคของคลองราก ในฟันหน้าล่างของคนไทยกลุ่มหนึ่ง, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพัตรา โต๊ะชูดี Jan 2000

ลักษณะทางกายวิภาคของคลองราก ในฟันหน้าล่างของคนไทยกลุ่มหนึ่ง, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพัตรา โต๊ะชูดี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟัน ในฟันหน้าล่างของคนไทยและเปรียบเทียบ ผลกับการศึกษาที่ผ่านมา วัสดุและวิธีการ ฟันหน้าล่างจํานวน 650 สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่รวบรวมจากสถานพยาบาลทางทันตกรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้รับการวัดความยาว และเปิดช่องทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟัน หลังจากแช่ฟันใน โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5.25% เป็นเวลา 24 ช.ม.แล้ว ฟันทั้งหมดได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกรรมวิธีการทําฟันใส จากนั้นทําการฉีด อินเดีย อิงค์ เข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟันและระบบคลองราก โดยใช้เครื่องดูดแรงสูง ช่วยดูดตรงรูเปิด ปลายรากฟัน ลักษณะคลองรากฟันที่ปรากฏ ได้รับการศึกษาและจําแนกลักษณะ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตริโอ โดยยึดถือตามการจําแนกลักษณะระบบคลองรากฟันของเวอร์ทุกซี่ ผลการศึกษา ฟันเขี้ยวล่างทั้งหมดที่ศึกษาพบว่ามีคลองรากเดียว ส่วนฟันตัดล่างพบลักษณะคลองรากฟันแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 และแบบที่ 6 ร้อยละ 74.65 6.95 6.42 11.11 และ 0.87 ตามลําดับ ในกลุ่มฟัน แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ที่มีสองคลองรากแล้วมีการรวมกันเป็นคลองรากเดียวก่อนออกสู่ปลายรากนั้น โอกาสที่พบว่า การรวมกัน เกิดขึ้น ณ ระดับ 4 ม.ม. หรือมากกว่า จากรูเปิดปลายรากมีเพียงร้อยละ 11.84 ความยาวเฉลี่ยของ ฟันตัด และฟันเขี้ยว มีค่าเท่ากับ 20.6 และ 23.5 ม.ม. ตามลําดับ สรุป การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟันหน้าล่างในคนไทยกลุ่มหนึ่ง ปรากฏผลว่าฟันเขี้ยวที่ศึกษา ทั้งหมด มีคลองรากเดียว ส่วนในฟันตัด พบอุบัติการณ์สองคลองรากร้อยละ 25.35