Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Chulalongkorn University

1999

Smile

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Smile: An Esthetic Point Of View, Rud Sooparb, Issarawan Boonsiri Sep 1999

Smile: An Esthetic Point Of View, Rud Sooparb, Issarawan Boonsiri

Chulalongkorn University Dental Journal

Smile is a complicated system to express emotions. It was formed by both skeletal tissue and soft tissue. In the investigations of hard tissue, sella-nasion to mandibular plane (SN-MP) and sellanasion to palatal plane to upper incisal edge are the comprehensive factors. For soft tissue studies, nasolabial fold acts as the keystone of the smiling mechanism. The circumoral muscles play and important roll in 2 stages to raise upper lip first and then lip and fold are raise as well as contracted later. As smile was formed, it represented high, average, and low smile line. Upper lip that touches gingival …


องค์ประกอบของรอยยิ้ม, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ, สิรินันท์ แซ่ตั้ง Jan 1999

องค์ประกอบของรอยยิ้ม, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ, สิรินันท์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ยมาตรฐานขององค์ประกอบรอยยิ้ม อันได้แก่ รูปแบบ ของรอยยิ้ม ความหมายของโค้งปลายฟันหน้าบนกับริมฝีปากล่าง ตําแหน่งของโค้งปลายฟันหน้าบนที่สัมผัสกับ ริมฝีปากล่าง และบริเวณโปร่งแสงของฟันหน้าบน วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ซึ่งมีอายุระหว่าง 19 ปี 22 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จํานวน 100 คน โดยเลือกผู้ที่มี ฟันหน้าบนครบทุกซี่ ไม่มีช่องว่างระหว่างฟัน และมีการเรียงตัวของฟันอยู่ในแนวปกติ โดยให้กลุ่มประชากร ตัวอย่างยิ้มอย่างเต็มที่ภายใต้แสงไฟนีออนธรรมดาทีละคน ในขณะที่มีผู้สังเกตดูองค์ประกอบต่าง ๆ ของรอยยิ้ม และบันทึกผลของนิสิตแต่ละคน จากนั้นจึงนําข้อมูลมาคํานวณเป็นร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสถิติชนิดไคสแควร์ ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 49 ของกลุ่มตัวอย่างขณะยิ้มเต็มที่จะเห็นฟันหน้าบน เกือบทั้งซี่ และเห็นเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันด้วย ร้อยละ 59 มีส่วนโค้งปลายฟันหน้าบนขนานกับเส้นโค้ง ด้านในของริมฝีปากล่าง ร้อยละ 74 ปลายฟันหน้าบนจะไม่สัมผัสกับริมฝีปากล่าง และร้อยละ 77 มีบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบนอยู่ที่ปลายฟัน องค์ประกอบของรอยยิ้มที่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ รูปแบบรอยยิ้ม และบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบน พบว่าเพศชายและหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 ส่วนองค์ประกอบของรอยยิ้มที่ไม่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ ความขนานและลักษณะการสัมผัสระหว่างโค้งปลายฟันหน้าบน และริมฝีปากล่าง พบว่าเพศชายและหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05