Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Chulalongkorn University

1999

Cyanoacrylate

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อิทธิพลของการเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ไชยพร เทพชาตรี, พงศธร พู่ทองคำ Apr 1999

อิทธิพลของการเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมต่อความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก, ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์, ไชยพร เทพชาตรี, พงศธร พู่ทองคำ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการใส่ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมทั้งที่ทา และไม่ทากาวไชยาในอะคริเลตผลิต ภัณฑ์เคนจิ (Kenji) ต่อความแข็งแรงดัดขวาง (transverse strength) ของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกผลิตภัณฑ์ เมลิโอเดนต์ (Meliodent) รวมทั้งผลของการทํา thermocycling วิธีการ เตรียมชิ้นตัวอย่างวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 65x10x2.5 มม. ซึ่งแบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มที่ 1) ไม่ได้เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 2) ไม่ได้เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และผ่าน thermocycling ที่ 8°C และ 55°C จํานวน 500 รอบ กลุ่มที่ 3) เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่ได้ทากาวไชยาในอะคริเลต และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 4) เสริมแรงด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่ได้ทากาวไชยาโนอะคริเลต และผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 5) เสริมแรง ด้วยตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมที่ทากาวไชยาในอะคริเลต และไม่ผ่าน thermocycling กลุ่มที่ 6) เสริมแรงด้วยตะแกรง เหล็กกล้าไร้สนิมที่ทากาวไซยาโนอะคริเลต และผ่าน thermocycling จากนั้นทดสอบความแข็งแรงตัดขวางด้วยวิธี 3-point bending test ด้วยเครื่อง Instron universal testing machine นําผลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความ แข็งแรงดัดขวางโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ Tukey's HSD ที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 ผล ค่าเฉลี่ย (หน่วยเมกกะปาสคาล) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความแข็งแรงดัดขวางของวัสดุฐานฟันปลอม อะคริลิกดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 75.34 ±4.35 กลุ่มที่ 2 72.17±2.39 กลุ่มที่ 3 71.64±4.26 กลุ่มที่ 4 69.05±4.17 กลุ่มที่ 5 75.80±4.30 และกลุ่มที่ 6 67.75±2.79 ตามลําดับ จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวาง ที่ระดับนัยสําคัญ p<0.05 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของค่าความแข็งแรงดัดขวางระหว่างกลุ่มที่ไม่ผ่าน thermocycling (กลุ่มที่ 1 3 และ 5) และพบว่า thermocycling ไม่ทําให้มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญใน กลุ่มที่ไม่ได้เสริม (กลุ่มที่ 1 และ 2) และเสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม (กลุ่มที่ 3 และ 4) แต่มีผลแตกต่างอย่าง มีนัยสําคัญในกลุ่มที่เสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมและทากาว (กลุ่มที่ 5 และ 6) สรุป ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงดัดขวางให้กับวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก และการทากาว ไชยาในอะคริเลตที่ตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิมก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงดัดขวางให้กับวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิก นอกจากนี้ thermocycling มีผลทําให้ค่าความแข็งแรงตัดขวางลดลงเฉพาะในกลุ่มที่เสริมตะแกรงเหล็กกล้าไร้สนิม และทากาวไชยาโนอะคริเลต