Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry

Chulalongkorn University

1999

Chewing efficiency

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ และฟันกรามน้อย, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปรารมภ์ ซาลิมี, อัญชัย เอกอนันต์กุล, เข็มทอง มิตรกูล Jan 1999

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ และฟันกรามน้อย, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปรารมภ์ ซาลิมี, อัญชัย เอกอนันต์กุล, เข็มทอง มิตรกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่และ ฟันกรามน้อยเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาใส่ฟันปลอมให้ผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจํากัดในการใส่ฟันปลอม วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีฟันเหลือเฉพาะฟันกรามน้อย 17 คน, เหลือเฉพาะฟันกราม ใหญ่ 7 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งมีฟันธรรมชาติครบ 28 ปี 20 คน โดยให้กลุ่มผู้ทดลองเคี้ยวลูกชิ้นปลาจํานวน 3 ลูก ลูกละ 10,20 และ 40 ครั้งตามลําดับจากนั้นคายลงในตะแกรงลวดเพื่อกรองลูกชิ้นปลาที่เคี้ยวแล้ว ผ่านตะแกรงความถี่เบอร์ 5 (0.1571) และเบอร์ 100 (0.0059) ตามลําดับ และนําเศษลูกชิ้นปลาในแต่ละ ตะแกรงไปชั่งน้ําหนักเพื่อคํานวณประสิทธิภาพการบดเคี้ยวจากร้อยละของน้ําหนักลูกชิ้นในตะแกรงละเอียดและ ตะแกรงหยาบ แล้วนํามาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยใช้ Independent t-test ที่ p>0.05 ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของกลุ่มที่มีฟันธรรมชาติอยู่ครบ เมื่อเคี้ยวจํานวน 10, 20, 40 ครั้งวัดได้ร้อยละ 16.03, 26.23 และ 42.05 ตามลําดับผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกราม น้อยวัดได้ 14.41, 19.92 และ 31.56 ตามลําดับส่วนผู้ที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่วัดได้ 14.58, 20.05 และ 30.23 ตามลําดับ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามน้อยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติจากผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ (p>0.05) ดังนั้นผู้ป่วยที่สูญเสียฟันธรรมชาติไปควรใส่ฟันปลอม เพื่อให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวดีขึ้น แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อจํากัดในการใส่ฟันปลอมก็สามารถละเว้นได้โดยที่ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาจลดลงบ้าง