Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 56

Full-Text Articles in Life Sciences

การผลิต ลักษณะสมบัติและการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืชของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus Licheniformis F2.2, สิริตา เสียมไหม Jan 2021

การผลิต ลักษณะสมบัติและการยับยั้งราที่ก่อโรคในพืชของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus Licheniformis F2.2, สิริตา เสียมไหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความสามารถในการยับยั้งราก่อโรคในพืช การผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ และผลของปัจจัยทางกายภาพที่มีต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรคในพืชของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Bacillus licheniformis F2.2 รวมถึงหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ จากนั้นทำบริสุทธิ์ และศึกษาลักษณะสมบัติเบื้องต้นของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ แล้วทดสอบการประยุกต์ใช้เพื่อยับยั้งการเกิดโรคใบไหม้ในต้นข้าว ผลการวิจัยพบว่า B. licheniformis F2.2 สามารถยับยั้งราก่อโรคในพืชได้ทั้ง 7 ชนิด ซึ่งได้แก่ Acremonium furcatum, Colletotrichum gloeosporioides, Fusarium moniliforme, Fusarium proliferatum, Fusarium solani, Pyricularia oryzae และ Phytophthora palmivora โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอยู่ระหว่าง 34.79±6.29-44.51±1.29% เมื่อทดสอบสมบัติในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ โดยทดสอบแอกทิวิตีการสลายเม็ดเลือดแดง, การยุบตัวของน้ำเลี้ยงเซลล์, การกระจายตัวของน้ำมัน และการเกิดอิมัลชัน พบว่าส่วนใสของน้ำเลี้ยงเชื้อของ B. licheniformis F2.2 ให้ผลบวกกับทุกการทดสอบ ซึ่งแสดงว่า B. licheniformis F2.2 สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพได้ จากการศึกษาผลของอุณหภูมิและความเป็นกรดเบสต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรคในพืชของส่วนใสของน้ำเลี้ยงเชื้อของ B. licheniformis F2.2 พบว่าเมื่อผ่านการบ่มน้ำเลี้ยงเชื้อที่ 20-121 องศาเซลเซียส และที่ pH 2-12 พบว่าสมบัติการเกิดอิมัลชันของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพก็ยังมีความเสถียร และประสิทธิภาพการยับยั้งราก่อโรคในพืชทั้ง 7 ชนิดยังคงอยู่ โดยสามารถยับยั้ง P. oryzae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไหม้ในข้าวได้มากที่สุด จากการแปรผันแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนพบว่าอาหาร MOLP ที่มีซูโครสเป็นแหล่งคาร์บอน, แอมโมเนียมคลอไรด์และสารสกัดจากยีสต์เป็นแหล่งไนโตรเจนส่งเสริมการเจริญเติบโตของ B. licheniformis F2.2 ได้ดีที่สุด และเหมาะสมต่อการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่มีฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคในพืช โดยมีค่าดัชนีการเกิดอิมัลชันที่ 24 ชั่วโมง (E24) 62.92±2.30% สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเจริญกับการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่มีฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคในพืช พบว่าเมื่อเลี้ยง B. licheniformis F2.2 ในอาหาร MOLP พบว่ามีความสามารถในการยับยั้งราก่อโรคในพืชทั้ง 7 ชนิดสูงสุดเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ stationary phase ที่ 24 ชั่วโมง เมื่อสกัดสารลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วยเมธานอล 100% (ปริมาตร/ปริมาตร) …


การย่อยสลายเสริมกันของกลุ่มแบคทีเรียและการประยุกต์ใช้เซลล์ตรึงในการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน, ณัฐริกา เหล่าธรรมทีป Jan 2021

การย่อยสลายเสริมกันของกลุ่มแบคทีเรียและการประยุกต์ใช้เซลล์ตรึงในการย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน, ณัฐริกา เหล่าธรรมทีป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบำบัดน้ำมันรั่วไหลด้วยวิธีทางชีวภาพ เป็นวิธีการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานเสริมกันของกลุ่มแบคทีเรียในย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียม และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs) และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบ กลุ่มแบคทีเรียตรึง โดยพบว่ากลุ่มแบคทีเรีย OPK ซึ่งประกอบด้วย Mycolicibacterium spp. PO1 และ PO2 Novoshingobium pentaromativorans PY1 และ Bacillus subtilis FW1 ทำงานเสริมกันในการย่อยสลายไพรีน PAHs ผสม อัลเคนสายสั้นและสายยาว และน้ำมันดิบ และสามารถคงประสิทธิภาพสูงภายใต้การแปรผันค่า pH (5.0-9.0) อุณหภูมิ (30-40 องศาเซลเซียส) ความเค็ม (20-60‰) ข้อมูลจีโนมจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ ร่วมกับการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลาย การทดสอบการสร้างสารลดแรงตึงผิว และ/หรือการวิเคราะห์ ทรานส์คริปโตมิกส์ บ่งชี้ว่า Mycolicibacterium เป็นแบคทีเรียที่มีบทบาทหลักในการย่อยสลาย PAHs และน้ำมันดิบ โดย NidAB เป็นเอนไซม์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายสารผสมไพรีนและฟลูออแรนทีนซึ่งเป็นตัวแทนของ PAHs มวลโมเลกุลสูง นอกจากนี้ ribosomal protein, iron transporter, ABC transporters และ stress response proteins อาจมีบทบาททำให้สายพันธุ์ PO1 และ PO2 อยู่รอดในสภาวะกดดัน Novosphingobium มีส่วนช่วยในการย่อยสลายสารตัวกลางในวิถีการย่อยสลาย และ Bacillus สร้างสารลดแรงตึงผิว ซึ่งคาดว่าช่วยทำให้แบคทีเรียหลักเข้าถึงสารมลพิษได้ดีขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมเพิ่มเติม พบยีน alkB และ CYP153 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการย่อยสลายอัลเคนในแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ของกลุ่มแบคทีเรีย การพัฒนาต่อยอดกลุ่มแบคทีเรีย OPK ตรึงบนซีโอไลท์สำหรับบำบัดสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนน้ำมันดิบ พบว่า กลุ่มแบคทีเรียตรึงสามารถกำจัดน้ำมันดิบความเข้มข้น 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตรในน้ำทะเลได้ 74 เปอร์เซ็นต์ใน 96 ชั่วโมง และสามารถใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 5 รอบ การเติมกลุ่มแบคทีเรียตรึง OPK ในระบบนิเวศจำลองดินทรายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกำจัดน้ำมันดิบ (ความเข้มข้น 10,000 …


การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์ Jan 2021

การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการเติมพอลิอะดีนีนเป็นการดัดแปรอาร์เอ็นเอที่ปลาย 3' หลังการถอดรหัสหรือเรียกว่าหางพอลิอะดีนีน ซึ่งหางพอลิอะดีนีนมีหน้าที่ในการควบคุมเสถียรภาพของอาร์เอ็นเอและนำไปสู่การควบคุมการแสดงออกของยีน ปัจจุบันการศึกษาความยาวและหน้าที่ของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตมีน้อยมาก เนื่องจากความยาวของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตสั้นมาก และทำหน้าที่เป็นสัญญาณการย่อยสลายอาร์เอ็นเอ ส่งผลให้ตรวจพบได้ยาก ในการศึกษานี้ได้ทำการพัฒนาวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหางพอลิอะดีนีนความยาวสั้นในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอต โดยใช้ข้อมูลอาร์เอ็นเอจากการหาลำดับเบสยุคที่สามด้วยอ็อกซ์ฟอร์ดนาโนพอร์ที่สามารถหาลำดับเบสอาร์เอ็นเอสายยาวได้โดยตรง โดยทำการปรับปรุงขั้นตอนการเตรียมไลบรารี่สำหรับการหาลำดับเบสโดยใช้เอนไซม์เพื่อสังเคราะห์พอลิยูริดินที่ปลาย 3' ของสายลำดับเบส เพื่ออนุรักษ์ความยาวหางพอลิอะดีนีนดั้งเดิมไว้ และใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับพอลิอะดีนีนอะแดปเตอร์สำหรับการหาลำดับเบส วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม หรือถอดรหัสย้อนกลับ ที่อาจส่งผลต่อความยาวดั้งเดิมของหางพอลิอะดีนีน จากการศึกษาด้วยอาร์เอ็นเอสังเคราะห์ที่มีการกำหนดความยาวหางพอลิอะดีนีนไว้คงที่ พบว่าโปรแกรมสำหรับการประมาณความยาวหางพอลิอะดีนีน (nanopolish และ tailfindr) มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.33 ถึง 7.49 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 6.38 ถึง 16.89 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr หลังจากการปรับปรุงข้อมูลด้วยการกำจัดสัญญาณไม่ปกติและใช้ข้อมูลจากการลำดับเบสเข้าช่วยพบว่าโปรแกรมสามารถหาความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้นได้ใกล้เคียงมากขึ้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยลดลงอยู่ในช่วง 0.43 ถึง 7.28 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 3.28 ถึง 5.96 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr และเมื่อนำวิธีการศึกษาดังกล่าวไปประยุกต์ในอาร์เอ็นเอของ Escherichia coli K-12 ได้ตรวจพบหางพอลิอะดีนีนในยีนซึ่งเคยมีรายงานจากงานวิจัยก่อนหน้า เช่น rpsO, rplQ และ ompA เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบยีนที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีหางพอลิอะดีนีน แต่ยังไม่มีรายงานมาก่อน เช่น apt และ ppa เป็นต้น การศึกษาความยาวหางพอลิอะดีนีนในโพรแคริโอตสามารถเชื่อมโยงกับการควบคุมการแสดงออกของยีนซึ่งจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมการแสดงออกของยีนในแบคทีเรีย และสามารถนำไปประยุกต์ได้ในอนาคต


การทำนายรูปแบบการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนที่มีผลต่อการตอบสนองต่อยา 51 ยีนในประชากรไทยโดยใช้รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม, ณัฐณิชา วันแก้ว Jan 2021

การทำนายรูปแบบการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนที่มีผลต่อการตอบสนองต่อยา 51 ยีนในประชากรไทยโดยใช้รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม, ณัฐณิชา วันแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแปรผันทางพันธุกรรมในยีนที่เกี่ยวข้องต่อการตอบสนองต่อยามีบทบาทสำคัญต่อความหลากหลายของการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล รูปแบบของการแปรผันทางพันธุกรรมเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ star allele เป็นสิ่งที่ได้รับการศึกษาในหลาย ๆ ประชากร แต่อย่างไรก็ตามโปรไฟล์ของ star allele มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากร ซึ่งในกลุ่มประชากรเอเชียยังมีการศึกษาไม่มากนัก การศึกษาของเราได้อธิบายความถี่แอลลีล ความถี่จีโนไทป์ ลักษณะของฟีโนไทป์ที่ถูกทำนายในยีนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยา 51 ยีน ในคนไทยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน 171 คน และเปรียบเทียบความถี่ของการแปรผันทางพันธุกรรมที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อการแสดงออกของยีนระหว่างประชากรไทยและประชากรชาติต่าง ๆ งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรม Stargazer เพื่อทำนาย star allele และลักษณะของฟีโนไทป์โดยใช้ข้อมูลจากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในคนหนึ่งคนมีอย่างน้อย 3 ยีนที่มีฟีโนไทป์แบบที่ไม่ใช่ฟีโนไทป์ปกติ เราพบว่า 40 จาก 51 ยีนจะมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีฟีโนไทป์แบบที่ไม่ใช่ฟีโนไทป์ปกติ และมีอย่างน้อย 25% ของกลุ่มตัวอย่างที่มีฟีโนไทป์แบบที่ไม่ใช่ฟีโนไทป์ปกติใน 13 ยีน ได้แก่ SLCO1B3 (97.08%), CYP3A5 (88.3%), CYP2C19 (60.82%), CYP2A6 (60.2%), SULT1A1 (56.14%), G6PD (54.39%), CYP4B1 (50.00%), CYP2D6 (48.65%), CYP2F1 (46.41%), NAT2 (40.35%), SLCO2B1 (28.95%), UGT1A1 (28.07%) และ SLCO1B1 (26.79%) นอกจากนี้เรายังระบุการแปรผันทางพันธุกรรม 20 ตัวที่มีผลกระทบต่อการทำงานของยีนในระดับสูง ซึ่งยังไม่มีการรายงานในฐานข้อมูลใด ๆ ภูมิทัศน์ทางเภสัชพันธุศาสตร์ในคนไทยจากการศึกษานี้อาจมีส่วนช่วยให้คำแนะนำสำหรับนโยบายการทำจีโนไทป์ในประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการนำพาประเทศเข้าใกล้สู่การรักษาแบบจำเพาะรายบุคคลไปอีกขั้น


สังคมแบคทีเรียและเมแทบอโลมในทางเดินอาหารของหนอนพยาธิตัวกลม (Ascaris Lumbricoides) ในผู้ป่วยไทย, ปวิช กลมเกลียว Jan 2021

สังคมแบคทีเรียและเมแทบอโลมในทางเดินอาหารของหนอนพยาธิตัวกลม (Ascaris Lumbricoides) ในผู้ป่วยไทย, ปวิช กลมเกลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis) คือ การติดเชื้อพยาธิในลำไส้อันเกิดจากพยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) ที่พบมากในประเทศกำลังพัฒนา และมีแนวโน้มต่อการดื้อยาต้านพยาธิในมนุษย์มากยิ่งขึ้น จากองค์ความรู้ในปัจจุบันพบว่าสังคมแบคทีเรียในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อสรีรวิทยา และภูมิคุ้มกันของมนุษย์ อย่างไรก็ตามพยาธิ และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ที่สภาพแวดล้อมเดียวกันกลับไม่พบรายงานปฏิสัมพันธ์อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้จึงทำการศึกษาสังคมแบคทีเรียในลำไส้ของพยาธิ และอุจจาระของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่ (NGS; Next-generation sequencing) ผลการศึกษาพบว่าสถานะการติดเชื้อโรคพยาธิสัมพันธ์กับรูปแบบของสังคมแบคทีเรียในลำไส้หนอนพยาธิ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาเมตาโบโลมในลำไส้พยาธิผ่านการระบุชนิด และโครงสร้างของสารเมแทบอไลต์ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์อัลตราไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี-แมสส์สเปกโทรเมตรี (UHPLC-MS; Ultra-high performance liquid chromatography-mass spectrometry) พบระดับของสารชีวโมเลกุลที่จำเป็นอาทิ กรดอะมิโน ไขมัน และสารตั้งต้นของนิวคลีโอไทด์เพิ่มมากขึ้นในพยาธิที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งสรุปได้ว่าสารเมแทบอไลต์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตไข่พยาธิและการเกิดโรคพยาธิไส้เดือน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการค้นพบนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้หนอนพยาธิ รวมถึงช่วยให้ค้นพบแนวทางในการรักษาโรคปรสิตแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพหุสัณฐานร่วมกับการแสดงออกของยีน Calm1 กับโรคข้อเข่าเสื่อม, ศุภวุฒิ เหล่าชัยเจริญผล Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพหุสัณฐานร่วมกับการแสดงออกของยีน Calm1 กับโรคข้อเข่าเสื่อม, ศุภวุฒิ เหล่าชัยเจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกที่พบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยผิวของข้อถูกทำลาย และมีปุ่มกระดูกงอก โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อายุ เพศ น้ำหนักและพันธุกรรม โดยปัจจัยพันธุกรรมเป็นบทบาทสำคัญในการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม งานวิจัยนี้ จึงศึกษาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่อาจใช้ทำนายการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษายีน CALM1 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการสลายกระดูกอ่อนและการส่งสัญญาณของแคลเซียม โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากประชากรไทยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 170 คน และประชากรไทยที่ไม่ได้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 150 คน ทำการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างเลือด ศึกษาภาวะพหุสัณฐานของยีน CALM1 ด้วยวิธี high-resolution melting (HRM) analysis และวิธี polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย odds ratio ผลการทดลองพบความสัมพันธ์ของภาวะพหุสัณฐานตำแหน่ง rs12885713 ในประชากรทั้งหมด และเพศหญิง พบว่า แอลลีล T (OR = 0.64, 95% CI = 0.49 – 0.87, P = 0.005), (OR = 0.65, 95% CI = 0.45 – 0.91, P = 0.015) ตามลำดับ และจีโนไทป์ TT (OR = 0.3, 95% CI = 0.14 – 0.63, P = 0.0014), (OR = 0.28, 95% CI = 0.12 – 0.66, P = 0.003) ตามลำดับ มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความสัมพันธ์ของกับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของภาวะพหุสัณฐานตำแหน่ง …


การตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่องคลอด โดยเทคนิคลูปมีดิเอเตดไอโซเทอร์มอลแอมพลิฟิเคชัน, สุนิตา ชุณห์กุล Jan 2021

การตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่องคลอด โดยเทคนิคลูปมีดิเอเตดไอโซเทอร์มอลแอมพลิฟิเคชัน, สุนิตา ชุณห์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คดีข่มขืนกระทำชำเราเป็นคดีอาญาที่เกิดขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย การตรวจสอบหลักฐานในตัวอย่างสิ่งส่งตรวจคดีข่มขืนกระทำชำเราทางนิติวิทยาศาสตร์ต้องผ่านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยในปัจจุบันใช้วิธีการตรวจคัดกรอง (screening test) ด้วยเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตส และการตรวจสอบยืนยัน (confirmatory test) ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์หาอสุจิ ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีความจำเพาะและความไวสูง แต่มีข้อจำกัดและโอกาสในการเกิดผลบวกหรือผลลบเทียมได้ เพื่อเพิ่มความสามารถและลดข้อผิดพลาดจากการตรวจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่อคลอดโดยเทคนิคลูปมีดิเอเตดไอโซเทอร์มอลแอมพลิฟิเคชัน (LAMP) ที่มีความไวสูงและสามารถทำซ้ำแล้วให้ผลตรงกัน โดยออกแบบไพรเมอร์ที่จำเพาะกับยีนอเมโลจีนินวายเพื่อใช้ในการตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่องคลอดด้วยเทคนิค LAMP ผลการศึกษาพบว่าเทคนิค LAMP มีความไวสูงในการตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายปริมาณตั้งแต่ 0.1 นาโนกรัมขึ้นไป ความจำเพาะในการตรวจสอบต่อดีเอ็นเอเป้าหมายสูงโดยแสดงผลบวกในกรณีที่ตรวจพบดีเอ็นเอมนุษย์เพศชายเท่านั้น ซึ่งไม่มีการแสดงผลในดีเอ็นเอมนุษย์เพศหญิง และดีเอ็นเอสัตว์ (หนูเม้าส์ หนูแรท และหมู) นอกจากนั้น ผลจากการตรวจสอตัวอย่างในคดีข่มขืนที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยจำนวน 92 ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าเทคนิค LAMP มีความแม่นยำในการตรวจสอบสูงถึงร้อยละ 96.7 ซึ่งแม่นยำกว่าการตรวจสอบด้วยชุดน้ำยาแอซิดฟอสฟาเตสและการตรวจหาอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีความถูกต้องในการตรวจสอบร้อยละ 57.6 และ 79.3 ตามลำดับ และสามารถใช้สารสีฟีนอลเรดในการตรวจสอบการเกิดปฏิกิริยาของเทคนิค LAMP จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเทคนิค LAMP สามารถใช้เป็นวิธีทางเลือกในการตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับคดีข่มขืนได้


Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong Jan 2021

Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drying is one of food preservative methods. However, several drying methods are applied using different drying conditions and techniques that could affect the quality and functional properties of dried products. Chicken breast powder is an upcoming alternative high protein source to replace the consumption of whey protein powder, especially Asian people who are lactose intolerant. Therefore, this presentation aimed to prepare and compare three types of dried chicken breast powder produced from different drying methods. Physical properties of low lactose and protein rich pancakes using chicken breast powder were then determined. There are three drying methods all operated at 65 …


Preparation Of Encapsulated Konjac Glucomannan-Based Fish Oil And Its Use In High Pressure Processed Goat Milk, Siriwan Suknicom Jan 2021

Preparation Of Encapsulated Konjac Glucomannan-Based Fish Oil And Its Use In High Pressure Processed Goat Milk, Siriwan Suknicom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was divided into 3 parts. The objective of first part aims to investigate the effect of konjac glucomannan (KGM) solution (0.02-0.5%, w/w) at different pH (3, 5 and 9) on the stability between 5% fish oil- skim milk with and without casein emulsion. The second part aims to study the effects of konjac glucomannan (KGM) solution (0.02-0.5%, w/w) at different pH (3-10) on the stability of 5%fish oil-milk emulsion. And the last part aims to study the effect of high-pressure (400, 500 and 600 MPa) on the improvement of the stability of 5%fish oil-milk emulsion. The results of …


Effects Of Low Degree Of High Ambient Temperature On Neural Pathways From Median Preoptic Nucleus To Arcuate Nucleus In Related To Food Intake., Pornsiri Suwannapaporn Jan 2021

Effects Of Low Degree Of High Ambient Temperature On Neural Pathways From Median Preoptic Nucleus To Arcuate Nucleus In Related To Food Intake., Pornsiri Suwannapaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High ambient temperature (HTa) is one important environmental factor that decreases food intake (FI). It is well accepted that high degree HTa induced heat stress decreased FI by the activation of corticotropin-releasing factor (CRF) via hypothalamic pituitary adrenal axis. However, short-term low-degree HTa exposure has been demonstrated to decrease FI earlier than activated physiological and stress responses. This effect was related to the neuronal connection between the median preoptic nucleus (MnPO) and arcuate nucleus (Arc). Therefore, the present study aimed to investigate the effect of short-term low-degree HTa exposure on the activity of hypothalamic Arc in regarding to FI, and …


Influences Of Herbicides On Health Of Rice Frog Fejervarya Limnocharis Populations In Nan Province, Thailand, Luhur Septiadi Jan 2021

Influences Of Herbicides On Health Of Rice Frog Fejervarya Limnocharis Populations In Nan Province, Thailand, Luhur Septiadi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Intensive and continuous herbicide use in agriculture may pose a risk to health of environment and non-target organisms, including amphibian. Prior research conducted between 2010-2011 using the rice frog, Fejervarya limnocharis, as a sentinel revealed an accumulation of herbicides (atrazine, glyphosate, and paraquat) in environmental samples and frog tissue, as well as adverse effects on the health status. This study aims to determine the potential influence of herbicides on population health of the rice frog. Between July 2020 and February 2021, frogs were collected from two paddy fields with varying degrees of herbicide use in Nan province, Thailand. The results …


Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon Jan 2021

Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Burmese long-tailed macaque (Macaca fascicularis aurea) is the only Old World monkey that habitually uses stones as tools to access encased food. The natural range of M. f. aurea closely contacts to the common long-tailed macaque (M. f. fascicularis) in southern Thailand at 8°10'-12°24'N, where the intraspecific hybridization between the two subspecies was reported. While M. f. aurea x M. f. fascicularis hybrids were expressed a stone-tool use behavior, the behavior has never been seen in the wild or captive M. f. fascicularis. It is interesting to understand if the genetic factor plays a role on the emergence of this …


Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken Jan 2021

Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pueraria mirifica is an endemic Thai plant that puerarin is a major chemical found in this plant and shows several pharmacological activities in aging diseases. Although the pharmacokinetic data on puerarin have been reported in rodents, it is still inconclusive for the development of puerarin as phytopharmaceutical products for human use. This is because of the differences in anatomical and physiological characteristics between rodents and humans. Therefore, the comparative pharmacokinetics of puerarin in pure compound form (PUE) and puerarin in P. mirifica extract (PME) was conducted in female cynomolgus monkeys. PME at a dose of 826 mg/kg.BW (equivalent to 10 …


การคัดแยกแบคทีเรียจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อการผลิตปุ๋ยหมัก, เฌอญานุส บุตรคำโชติ Jan 2021

การคัดแยกแบคทีเรียจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อการผลิตปุ๋ยหมัก, เฌอญานุส บุตรคำโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในประเทศไทยกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังก่อให้เกิดของเหลือทิ้งจำนวนมาก เช่น กากมันสำปะหลัง และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนกากมันสำปะหลัง และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นปุ๋ยหมักโดยใช้หัวเชื้อแบคทีเรีย หัวเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ประกอบด้วย กลุ่มเชื้อที่ทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลส B. subtilis TISTR 008, B. subtilis C-CV1033 และ B. shackletonii C-S1052 กลุ่มเชื้อที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง B. subtilis A-CV1031 และ B. subtilis A-S51041 เชื้อที่ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจน B. ginsengihumi N-BS1 เชื้อที่ทำหน้าที่ละลายฟอสเฟต B. shackletonii P-S1041 และเชื้อที่ทำหน้าที่ละลายโพแทสเซียม B. bataviensis K-S1043 การใช้หัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวกับกากมันสำปะหลัง กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ร่วมกับรำข้าว มูลวัว ผงหินฟอสเฟต และแร่เฟลด์สปาร์ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก พบว่ามีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม เท่ากับร้อยละ 1.77, 1.97, 1.75, 3.76, 0.72 และมีปริมาณ สังกะสี แมงกานีส เหล็ก และทองแดงเท่ากับ 139, 740, 3040 และ 11.26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ในขณะที่อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของปุ๋ยลดลง การใช้กากมันสำปะหลัง กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ร่วมกับรำข้าว มูลวัว ผงหินฟอสเฟต และแร่เฟลด์สปาร์ มีศักยภาพในการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือทิ้งได้


เอนแคปซูเลชันสารสกัดรกสุกรที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, พรภัสสร จุฬาลักษณานุกูล Jan 2021

เอนแคปซูเลชันสารสกัดรกสุกรที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, พรภัสสร จุฬาลักษณานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการสกัดรกสุกร (porcine placenta) โดยการสกัดไขมันออกด้วยสารละลาย n-hexane ต่อสมบัติของโปรตีนและฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของสารสกัด ศึกษาภาวะการผลิตไมโครแคปซูลจากสารสกัดรกสุกรต่อสมบัติของโปรตีน สมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของผงไมโครแคปซูล โดยแปรภาวะการใช้อุณหภูมิขาเข้า (165 และ 175 องศาเซลเซียส) ชนิดของสารห่อหุ้ม (มอลโตเดกซ์ตรินต้านทานการย่อยและกัมอารบิก) และความเข้มข้นของสารห่อหุ้ม (40% และ 45% w/v) และศึกษาผลของภาวะการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน โดยใช้บรรจุภัณฑ์ 2 ชนิด (ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และถุงพลาสติก HDPE) และภาวะการบรรจุ 2 ภาวะ (ภายใต้ภาวะสุญญากาศและภายใต้ภาวะบรรยากาศ) ต่อคุณภาพของผงไมโครแคปซูลสารสกัดรกสุกรระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 90 วัน โดยผลการทดลองพบว่า การสกัดแบบนำไขมันออกด้วยสารละลาย n-hexane ส่งผลทำให้ความเข้มข้นโปรตีนลดลง จาก 1.60 เป็น 1.22 mg/ml และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH และ FRAP มีค่าลดลง จาก 3.53±0.11 mM TE/g db. และ 5.26±0.16 mM FeSO4 /g db. เป็น 2.61±0.08 mM TE/g db. และ 4.80±0.27 mM FeSO4 /g db ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์รูปแบบของโปรตีนของสารสกัดทั้งสองชนิดพบแถบของโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่มากกว่า 200 kDa และขนาดเล็กต่ำกว่า 10 kDa โดยพบว่าโปรตีนส่วนใหญ่มีขนาดอยู่ในช่วง 25 ถึง 100 kDa อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าการใช้สารละลาย n-hexane ในการสกัดไขมันออกจากรกสุกรไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบมวลโมเลกุลของโปรตีน และเลือกสารสกัดรกสุกรที่ผ่านการสกัดไขมันออกด้วย n-hexane ไปใช้ในขั้นตอนต่อไป และจากผลการศึกษาการเอนแคปซูเลชันสารสกัดรกสุกรด้วยเทคนิคการทำแห้งแบบพ่นฝอยพบว่าทุกปัจจัยในภาวะการผลิตผงไมโครแคปซูลสารสกัดรกสุกรส่งผลต่อสมบัติของโปรตีน สมบัติทางกายภาพ เคมี และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยผงไมโครแคปซูลสารสกัดรกสุกรมีความเข้มข้นโปรตีนในช่วง 0.66±0.02 ถึง 3.93±0.23 …


กระบวนการกำจัดสารพิษไซยาไนด์ในแป้งมันสำปะหลังชนิดขมโม่แห้งด้วยพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนที่ความดันบรรยากาศ, พิมภัค ทวีวงษ์ Jan 2021

กระบวนการกำจัดสารพิษไซยาไนด์ในแป้งมันสำปะหลังชนิดขมโม่แห้งด้วยพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนที่ความดันบรรยากาศ, พิมภัค ทวีวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การผลิตฟลาวร์มันสำปะหลังสามารถทำได้โดยใช้การโม่แห้ง ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนเรื่องน้ำในกระบวนการผลิตและการบำบัดน้ำเสียได้ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถกำจัดไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารพิษในมันสำปะหลังให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภคได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมันสำปะหลัง และศึกษาสภาวะของพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนที่ความดันบรรยากาศต่อการลดลงของไซยาไนด์ในฟลาวร์มันสำปะหลัง โดยศึกษาอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งมันสำปะหลัง ได้แก่ 60, 70 และ 80°C พบว่าอุณหภูมิอบแห้งในช่วง 60 ถึง 80°C มีอัตราการลดลงของไซยาไนด์และปริมาณไซยาไนด์ที่คงเหลือในฟลาวร์มันสำปะหลังไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) เมื่อพิจารณาผลทางเคมีกายภาพพบว่าฟลาวร์มันสำปะหลังมีรอยแตกและรูเกิดขึ้นที่ผิวเม็ดสตาร์ช มีลักษณะผลึกแบบ A มีค่าความสามารถในการจับน้ำ กำลังการพองตัว การละลาย อุณหภูมิที่ใช้ในการเกิดเจลาติไนเซชัน ความหนืดสูงสุด และผลต่างระหว่างความหนืดสูงสุดและต่ำสุด (breakdown) สูงขึ้น มีค่าการคืนตัว (setback) และค่าดัชนีความขาวลดลงเมื่อเทียบกับแป้งมันสำปะหลังโม่เปียกหรือสตาร์ช การศึกษาสภาวะของพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อนเพื่อลดปริมาณไซยาไนด์ แปรแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ ได้แก่ 5, 10, 15 และ 20 กิโลโวลต์ และเวลาที่ใช้ ได้แก่ 5, 10 และ 15 นาที พบว่าสามารถกำจัดไซยาไนด์ได้สูงสุดที่สภาวะแรงดันไฟฟ้า 20 กิโลโวลต์ เป็นเวลา 10 นาที โดยมีร้อยละการลดลงสูงสุดเท่ากับร้อยละ 40 และเมื่อศึกษาผลของความเข้มข้นไซยาไนด์เริ่มต้นของฟลาวร์มันสำปะหลัง แรงดันไฟฟ้า และเวลาต่อปริมาณไซยาไนด์ในฟลาวร์มันสำปะหลัง พบว่าการลดลงของไซยาไนด์ที่เป็นไปตามปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่ง และเมื่อทำการให้พลาสมาโดยเพิ่มจำนวนรอบของการให้พลาสมาที่แรงดันไฟฟ้า 20 กิโลโวลต์ เป็นเวลา 10 นาที พบว่าไซยาไนด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) เมื่อจำนวนรอบเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามพลาสมายังไม่สามารถลดปริมาณไซยาไนด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคได้ พิจารณาผลด้านเคมีกายภาพของฟลาวร์มันสำปะหลังที่ให้พลาสมาพบว่าเกิดรอยแตกและรูมากขึ้นที่ผิวของเม็ดสตาร์ช มีรูปแบบผลึกแบบ A ค่าความสามารถในการจับน้ำไม่เปลี่ยนแปลง กำลังการพองตัวและการละลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ใช้ในการเกิดเจลาติไนเซชันสูงขึ้น ความหนืดสูงสุด ผลต่างระหว่างความหนืดสูงสุดและต่ำสุด และการคืนตัวลดลง และมีดัชนีความขาวไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับฟลาวร์มันสำปะหลังปกติ


การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน Jan 2021

การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสกัดต่อปริมาณและคุณภาพของเพกทินจากเปลือกโกโก้ ศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติก (prebiotic activity) ของเพกทิน และการประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้ เพื่อยืดอายุการเก็บของมะเขือเทศ โดยศึกษาวิธีสกัด 3 วิธี ดังนี้ วิธีทางเอนไซม์ (แปร 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเอนไซม์เพกทิเนส 0.5 และ 1.0% อุณหภูมิในการบ่ม 40 และ 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 120 และ 240 นาที) วิธีทางเคมี (แปร 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเป็นกรดเบสของสารละลาย pH 4.0 และ pH 10.0 และอุณหภูมิในการสกัด 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส) และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด (แปรระยะเวลาโซนิเคชัน 20 30 และ 40 นาที) จากการทดลองพบว่าภาวะที่สามารถสกัดปริมาณเพกทินได้มากที่สุดจากวิธีทางเคมี วิธีทางเอนไซม์ และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด คือ การสกัดด้วยปริมาณเอนไซม์ 1.0% v/v อุณหภูมิในการบ่ม 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 240 นาที (ร้อยละ 24.38±0.15) การสกัดด้วยสารละลาย pH 4.0 และอุณหภูมิในการสกัด 70 องศาเซลเซียส (ร้อยละ 7.78±0.41) และการสกัดด้วยระยะเวลาโซนิเคชัน 20 นาที (ร้อยละ 14.87±0.19) ตามลำดับ โดยเพกทินที่สกัดจากเปลือกโกโก้ทุกภาวะมีระดับเอสเทอริฟิเคชันมากกว่า 50% ดังนั้นจึงจัดเป็น high methoxyl (HM) pectin จากนั้นศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติกและความหนืดของเพกทินที่ได้จากภาวะที่สามารถสกัดเพกทินได้มากที่สุดของแต่ละวิธีการสกัด และพบว่าเพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมีสมบัติการเป็นพรีไบโอติกสูงที่สุด ในขณะที่การเพิ่มอัตราเฉือนส่งผลให้ความหนืดของเพกทินที่สกัดด้วยวิธีทางเอนไซม์มีค่าลดลงมากที่สุด รองลงมา คือ วิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดและวิธีทางเคมี ตามลำดับ จากการใช้เพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมาประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้กับมะเขือเทศ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเขือเทศที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 …


การยืดอายุการเก็บของกะทิด้วยนาโนอิมัลชันน้ำมันหอมระเหยวานิลลาและกระบวนการพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อน, ชนิกานต์ ชูสิทธิ์ Jan 2021

การยืดอายุการเก็บของกะทิด้วยนาโนอิมัลชันน้ำมันหอมระเหยวานิลลาและกระบวนการพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อน, ชนิกานต์ ชูสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนาโนอิมัลชันน้ำมันหอมระเหยวานิลลา (NE) และพลาสมาที่ไม่ใช้ความร้อน (PT) ต่อคุณภาพและอายุการเก็บของกะทิ เริ่มจากเตรียม NE โดยแปรอัตราส่วนของน้ำมันหอมระเหยวานิลลา (EO) และสารให้ความคงตัว (Tween 80) เป็น 3 ระดับ คือ 1:1 (NE1:1), 4:1 (NE4:1) และ 5:1(NE5:1) โดยวัดขนาดของอนุภาค (particle size), การกระจายตัวของอนุภาค (polydispersity index; PDI), สมบัติการต้านออกซิเดชัน ด้วยวิธี Ferric reducing antioxidant power (FRAP) และวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และสมบัติการยับยั้งจุลินทรีย์ ด้วยการหาความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ (Minimal inhibitory concentration: MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ (Minimal bactericidal concentration: MBC) โดยทดสอบกับจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ จุลินทรีย์แกรมบวก (S.aureus และ B. licheniformis) และจุลินทรีย์แกรมลบ (E.coli และ S. typhimurium) พบว่า NE1:1 มีขนาดอนุภาคเล็กกว่าและการกระจายตัวของอนุภาคดีกว่า NE4:1 และ NE5:1 ในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30 ºC เป็นเวลา 30 วัน และพบว่า NE1:1 มีค่าการต้านออกซิเดชัน FRAP สูงกว่าสูตรอื่น แต่ค่า DPPH ต่ำที่สุด อาจเนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับของอนุมูล DPPH และสารฟีนอลิกบางชนิดที่อยู่ในวานิลลา และมีค่า MIC และ MBC ต่ำกว่า NE4:1 และ NE5:1 ดังนั้น NE1:1 จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับ NE การทดลองขั้นที่สองเป็นการหาปริมาณที่เหมาะสมของ …


องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว Jan 2021

องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โคพีพอดจัดอยู่ในกลุ่มของครัสเตเชียนขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นอาหารมีชีวิตในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โคพีพอดเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid, PUFA) ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสัตว์น้ำวัยอ่อน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมันในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด Apocyclops royi สายพันธุ์ไทย (A. royi-TH) โดยศึกษาในโคพีพอดระยะนอเพลียส (NP) โคพีโพดิด (CD) และตัวเต็มวัย (AD) ที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายสีเขียว Tetraselmis sp. ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ไม่พบกรดไขมัน DHA จากการวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโตรกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (GC/MS) พบว่าโคพีพอด A. royi-TH มีกรดไขมัน PUFA, EPA และ DHA ในปริมาณสูงกว่าอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ โดยพบกรดไขมัน PUFA สูงในโคพีพอดระยะ CD (38.53%) และ AD (41.85%) ในขณะที่พบกรดไขมัน PUFA ปริมาณต่ำที่สุดในโคพีพอดระยะ NP (22.50%) นอกจากนี้พบว่าโคพีพอดทุกระยะพัฒนาการมีกรดไขมัน LC-PUFA ปริมาณสูง (5.27-10.36%) โดยพบกรดไขมัน DHA มากที่สุดในระยะ AD (4.85%) รองลงมาระยะ CD (3.54%) และระยะ NP (2.78%) จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันในโคพีพอดที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายTetraselmis sp. ที่มีกรดไขมัน EPA ต่ำ (ArTet) และ Chaetoceros sp. ที่มีกรดไขมัน EPA สูง(ArChaeto) พบว่าโคพีพอด ArChaeto มีกรดไขมัน DHA ปริมาณสูงกว่าโคพีพอด ArTet จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าองค์ประกอบของกรดไขมันในสาหร่ายที่แตกต่างกันส่งผลต่อปริมาณกรดไขมัน DHA ที่พบในโคพีพอด จากนั้นได้ศึกษาการแสดงออกของยีนดีแซททูเรส ArD6D ที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในโคพีพอดระยะ AD (p<0.05) สอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอดระยะ AD ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายีน ArD6D อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด และเมื่อศึกษาการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArTet และ ArChaeto พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArChaeto มีการแสดงออกที่สูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโคพีพอด ArTet (p<0.05) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอด ArChaeto ผลจากการวิจัยบ่งชี้ว่าโคพีพอด A. royi-TH ทั้ง 3 ระยะพัฒนาการสามารถสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ผ่านวิถีการสังเคราะห์กรดไขมัน LC-PUFA และกรดไขมันในสาหร่ายส่งผลต่อปริมาณ DHA ของโคพีพอด โดยข้อมูลจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของโคพีพอด A. royi-TH เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย


The Urinary Proteomic Analysis And The Vitamin D Receptor Polymorphisms In Dogs With Calcium Oxalate Urolithiasis, Sumonwan Chamsuwan Jan 2021

The Urinary Proteomic Analysis And The Vitamin D Receptor Polymorphisms In Dogs With Calcium Oxalate Urolithiasis, Sumonwan Chamsuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Calcium oxalate (CaOx) urolithiasis is one of the most common stone components which frequently occurs in both humans and dogs. Hypercalciuria is one of the predisposing factors commonly found in both people and dogs with calcium urolithiasis. The genetic factors are also involved with the pathogenesis of stone formation, and the relationship between calcium handling and vitamin D receptor (VDR) polymorphisms has been demonstrated to be related to calcium urolithiasis in human populations. Moreover, some urinary proteins may be involved in the process of stone formation. The present study aimed firstly to evaluate the relationship between VDR polymorphism in dog …


Substrate Binding Mechanism Of Glycerophosphodiesterase Towards Pesticides And Improvement Of Stability By Mutational Analysis, Nayana Bhat Jan 2021

Substrate Binding Mechanism Of Glycerophosphodiesterase Towards Pesticides And Improvement Of Stability By Mutational Analysis, Nayana Bhat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Molecular dynamics studies have been providing a great number of atomistic details of biological systems to understand enzymatic activity and underlying reaction mechanisms. Herein, molecular dynamic (MD) simulations were employed to study the binding mechanisms of organophosphate pesticides towards two metallohydrolases, i.e., glycerophosphodiesterase (GpdQ) and methyl parathion hydrolase (MPH). OPH are the class of enzymes which breaks down harmful organophosphates, including the pesticides and warfare agents into less harmful byproducts. Hence, these enzymes are excellent candidates for bioremediation. In the present study, various nonspecific organophosphate pesticides were docked into GpdQ and MPH enzymes to construct the pesticide/protein complex for performing …


Improvement Of Selection Criteria And Prioritisation For Neoantigen Prediction, Phorutai Pearngam Jan 2021

Improvement Of Selection Criteria And Prioritisation For Neoantigen Prediction, Phorutai Pearngam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A tumour-specific neoantigen-based cancer vaccine is a potentially powerful treatment option, which utilises unique mutated peptides from tumour cells to boost the immune response and selectively attack cancer cells. Thus, the characterisation of the specifically targeted peptides that can be selectively recognised by the immune system is essential for this approach. However, a major problem in neoantigen prediction is obtaining false positives, leading to poor outcomes in clinical research and practice. This thesis aims to address some of the computational issues in neoantigen prediction, including developing more reliable statistics for assessing peptide binding to a major histocompatibility complex (MHC) protein …


Production And Characterization Of Mannanase From Aureobasidium Sp. For Mannooligosaccharide Preparation From Spent Coffee Ground, Syahriar Nur Maulana Malik Ibrahim Jan 2021

Production And Characterization Of Mannanase From Aureobasidium Sp. For Mannooligosaccharide Preparation From Spent Coffee Ground, Syahriar Nur Maulana Malik Ibrahim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aims of this study are to produce and characterize mannanase from the selected Thai Aureobasidium strain and use the enzyme for hydrolysis of spent coffee ground extract (SCGE) to prepare mannooligosaccharide (MOs). The optimum condition for SCGE extraction by hot water was 1:30 solid to liquid ratio with 60 min incubation time at 121°C 15 lbs per in2. The maximum yield was 9.5 g/100 g substrate. The second dominant composition of SCGE was hemicellulose at 28 %. Aureobasidium pullulans NRRL 58524 was selected as the best mannanase producer with 8.07 U/mL. The mannanase production medium was optimized by using …


Proteomics Analysis Of Bt-474 And Skov-3 Cancer Cell Lines Treated With Purified Compounds From Bee Pollen And Cerumen, Teeranai Ittiudomrak Jan 2021

Proteomics Analysis Of Bt-474 And Skov-3 Cancer Cell Lines Treated With Purified Compounds From Bee Pollen And Cerumen, Teeranai Ittiudomrak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Breast and gynaecological cancers are the main causes of global cancer death in females. So far, several compounds have been identified from traditional medicine components and natural products that exhibited anticancer activity. Previously, α-mangostin (α-MG) and apigenin (APG) had been extracted and purified from cerumen of Tetragonula laeviceps and bee pollen of Apis mellifera respectively. Preliminary studies reported that these compounds express antiproliferative activity in several cancer cell lines. In this study, α-MG and APG were investigated for antiproliferation effect in breast cancer cell line BT-474 and ovarian adenocarcinoma cell line SKOV-3 using MTT assay, fluorescent staining coupled with flow …


Epiphytic Microbiota Of Kai Cladophora Sp. From Nan River, Nan Province, Thailand, Karnjana Ruen-Pham Jan 2021

Epiphytic Microbiota Of Kai Cladophora Sp. From Nan River, Nan Province, Thailand, Karnjana Ruen-Pham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cladophora is a cosmopolitan green algal genus in northern Thailand, commonly known as Kai or Sa Rai Kai, which the local people use for culinary and medicinal purposes. In nature, Cladophora acts as an ecological engineer in the ecosystem by creating, modifying, and maintaining the habitat by providing oxygen and microhabitats for several organisms, including prokaryotes and eukaryotes, namely epiphytic microbiota. These epiphytic microbiota living on the algal host's surface might exhibit crucial roles in the ecosystem. However, most understandings of the Cladophora microbiota were from the USA. Therefore, this study aims to investigate the Cladophora microbiota collected from Nan …


การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง Jan 2021

การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยควบแน่นแบบระเหย (Evaporative condenser unit) คือการอาศัยหลักการระเหยของน้ำมาช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์โดยรอบ (Ambient relative humidity) และอัตราการไหลของน้ำ (Water flow rate) โดยออกแบบคอยล์เสริมเพื่อเป็นบริเวณที่ใช้ในการฉีดพ่นน้ำ พบว่าการเชื่อมต่อคอยล์เสริมบริเวณดิสชาร์จสูงกว่าบริเวณลิควิด 3.5% การทดลองเพื่อศึกษาเปลี่ยนแปลงค่าความชื้นสัมพัทธ์ควบคุมโดยปรับค่าความเร็วอากาศพบว่าเมื่อความเร็วอากาศลดลงทำให้ความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น และความสามารถในการระบายความร้อนมีค่าสูงสุดในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 73.1% ถึง 80.9% การทดลองศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำพบว่าพื้นที่สัมผัสบริเวณผิวคอยล์เสริมมากจะสามารถลดอุณหภูมิของสารทำความเย็นได้มากเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของหัวฉีดพ่นและความชื้นสัมพัทธ์ยังส่งผลต่อการลดลงของอุณหภูมิสารทำความเย็นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของต้นแบบหน่วยควบแน่นแบบระเหยพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากเครื่องปรับอากาศที่ระบายความร้อนด้วยลมปกติได้สูงถึง 20.36%


การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับสำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป, พีรวัส รัตนโชติ Jan 2021

การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับสำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป, พีรวัส รัตนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนวทางการเลือกใช้และพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับ (Gripper) สำหรับผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปให้เหมาะสมกับรูปร่าง ขนาด และคุณสมบัติทางกลของยางแปรรูป ซึ่งอุปกรณ์หยิบจับนี้ถูกนำมาใช้เพื่อนำผลิตภัณฑ์ยางที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยแม่พิมพ์โดยการให้ความร้อนออกจากแม่พิมพ์ออกจากแม่พิมพ์โลหะ ซึ่งจำเป็นที่ต้องทราบถึงแรงที่ใช้นำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์โดยแรงนี้ถูกเรียกว่า Demolding force และโดยปกติแรงนี้จะประกอบไปแรงเสียดทาน (Friction Force) และแรงยึดติด (Adhesion force) ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Demolding force ได้แก่ รูปทรง พื้นที่สัมผัส ความแข็งของยาง และความหยาบผิวของแม่พิมพ์ โดยได้มีการออกแบบการทดลองโดยใช้ Full factorial design และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) เพื่อใช้ในการพยากรณ์ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาซอฟท์แวร์มาเพื่อแนะนำการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับ และสุดท้ายได้มีการพัฒนาอุปกรณ์หยิบจับตัวต้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของซอฟท์แวร์นี้


ปัจจัยที่ส่งผลถึงการประมาณค่าการนำความร้อนในยางคอมพาวด์, สุทธิพัฒน์ กมลสุทธิไพจิตร Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลถึงการประมาณค่าการนำความร้อนในยางคอมพาวด์, สุทธิพัฒน์ กมลสุทธิไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวัลคาไนซ์เซชั่นยางในอุตสาหกรรมต้องอาศัยอุณหภูมิและระยเวลาในการคงรูปชิ้นงานซึ่งระยะเวลาในการคงรูปชิ้นงานจะขึ้นกับค่าการนำความร้อนของยางคอมปาวด์ที่แต่ละสูตร โดยงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการทดสอบค่าการนำความร้อน การประมาณค่าการนำความร้อนในยางคอมปาวด์และปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าการนำความร้อนในกระบวนการคงรูป โดยขั้นแรกได้ศึกษาการประมาณค่าการนำความร้อน พบว่า การประมาณค่านำความร้อนของแบบจำลองขนานเทียบกับค่าการนำความร้อนที่ได้จากการทดสอบ HFM จะมีค่าความคาดเคลื่อนเกิดขึ้นไม่เกิน 5 % สำหรับยางคอมปาวด์ที่วัลคาไนซ์เซชั่นอย่างสมบูรณ์ ขั้นที่สองเป็นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าการนำความร้อน พบว่า สัดส่วนโดยปริมาตรของสารตัวเติมมีผลกระทบต่อค่าการนำความร้อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปรวมถึงปริมาณน้ำมันที่ส่งผลกระทบต่อค่าการนำความร้อนอย่างมาก ส่วนยางที่วัลคาไนซ์เซชั่นอย่างสมบูรณ์จะให้ค่าการนำความร้อนสูงกว่ายางคอมปาวด์และยางที่วัลคาไนซ์เซชั่นร้อยละ 50 จะมีฟองอากาศภายในยางส่งผลให้ค่าการนำความร้อนต่ำกว่ายางคอมปาวด์ ส่วนยางที่เกิด และขั้นที่สามออกแบบชุดทดสอบสำหรับหาค่าการนำความร้อน พบว่า ชุดต้นแบบใช้วิธีการหาค่าการนำความร้อนในสภาวะคงที่ซึ่งต้องควบคุมความสม่ำเสมอของความร้อนและป้องสูญเสียความร้อนของชุดต้นแบบ ดังนั้นชุดต้นแบบจะมีส่วนประกอบหลักเป็นฮีตเตอร์สำหรับเป็นแหล่งความร้อนโดยจะใช้น้ำหล่อเย็นสำหรับการควบคุมอุณหภูมิประกอบกับฉนวนกันความร้อนสำหรับป้องกันการสูญเสียความร้อนโดยจะใช้การไหลของความร้อนในหนึ่งหน่วยพื้นที่เป็นตัวกำหนดค่าการนำความร้อน


การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน, เจริญลักษณ์ สุชาติพงษ์ Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน, เจริญลักษณ์ สุชาติพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นเอสทูรีขนาดใหญ่ ซึ่งรับน้ำจืดมาจากแม่น้ำ 4 สายหลัก คือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง จึงทำให้บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัย ของสัตว์ทะเล ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณดังกล่าว ด้วยวิธีคาร์บอน-13 ของขวดมืดและขวดสว่าง พบว่า ปริมาณกำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (30 พฤษภาคม-14 มิถุนายน พ.ศ. 2562) และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (25 ตุลาคม-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) มีค่าอยู่ในช่วง 0.05-11.37 และ 0.02-3.07 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และบริเวณอ่าวไทยตอนใน ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (9-12 ตุลาคม พ.ศ. 2562) และช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม (8-12 มีนาคม พ.ศ.2563) มีค่าอยู่ในช่วง 0.15-5.15 และ 0.30-10.09 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ เนื่องจากผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด จึงได้ทำการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด 2 ชนิด ในห้องปฏิบัติการ คือ ไมโครแพลงก์ตอนพืช Chattonella sp. และนาโนแพลงก์ตอนพืช Isochrysis sp. ด้วยวิธีวัดปริมาณออกซิเจนละลายของขวดมืดและขวดสว่าง โดยเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชทั้งสองชนิด ในสภาวะเลี้ยงเดี่ยว ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% และสภาวะเลี้ยงรวม ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% 50% และ 1% พบว่า (1) ความเข้มข้นของสารอาหาร ส่งผลต่อจำนวนเซลล์ ขนาดเซลล์ กำลังการผลิตขั้นต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และช่วงชีวิต (2) นาโนแพลงก์ตอนพืชในสภาวะเลี้ยงรวม มีกำลังการผลิตขั้นต้นสูงกว่าในสภาวะเลี้ยงเดี่ยวมาก เนื่องจากมีการปรับลดจำนวนเซลล์และขนาดเซลล์ แต่เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์เอ นอกจากนี้ นาโนแพลงก์ตอนพืชยังมีการปรับระยะเวลาที่ค่าประสิทธิภาพกำลังการผลิตขั้นต้นต่อหน่วยคลอโรฟิลล์เอ (PP/Chl a) สูง ให้ยาวขึ้น และปรับปริมาณคลอโรฟิลล์เอต่อเซลล์ (Chl …


การเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคของแบคทีริโอซินจาก Bacillus Licheniformis ที่แยกได้จากระบบทางเดินอาหารของกุ้ง, แพรทิพย์ คล้ายเจริญสุข Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคของแบคทีริโอซินจาก Bacillus Licheniformis ที่แยกได้จากระบบทางเดินอาหารของกุ้ง, แพรทิพย์ คล้ายเจริญสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหาร มีผลต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของมนุษย์ โดยกุ้งทะเลจัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก แต่ในปี พ.ศ. 2555-2556 การเลี้ยงกุ้งเริ่มประสบปัญหาโรคระบาดอย่างหนักจากอาการตายด่วนเนื่องจากตับและตับอ่อนวายเฉียบพลัน (Early mortality syndrome/ acute hepatopancreatic necrosis disease : EMS/AHPND) ทําให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรและส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดและมูลค่าการส่งออกกุ้งทะเลเป็นอย่างมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาจุลินทรีย์ ปม.1 ที่เป็นโพรไบโอติกในกลุ่มบาซิลัส เพื่อลดอัตราการเกิดโรค ซึ่งเชื้อ B. licheniformis ที่รวมในกลุ่มโพรไบโอติกนี้ มีความสามารถสร้างแบคทีริโอซินที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคได้ มีคุณสมบัติทนความร้อน 100 °C ทำงานได้ดีในค่าความเป็นกรด-ด่างกว้าง จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มปริมาณการสร้างแบคทีริโอซินของเชื้อ B. licheniformis และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรค จากการทดสอบเพาะเลี้ยงเชื้อ B. licheniformis ในอาหารเหลว Tryptic Soy Broth มีความเข้มข้นของเชื้อเป็น 106 CFU/มิลลิลิตร ในสภาวะที่ปรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ช่วงเวลา และความเข้มข้นของเกลือที่ต่างกัน ผลการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อก่อโรคในกุ้งด้วยวิธี Total plate count พบว่า ในน้ำเลี้ยงเชื้อ (Cell Free Supernatant: CFS) สามารถยับยั้งเชื้อทดสอบได้แก่ เชื้อ Vibrio alginolyticus และ Vibrio parahaemolyticus ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคตับและตับอ่อนวายเฉียบพลันในกุ้งได้ดี เมื่อเพาะเลี้ยงเชื้อ B. licheniformis ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 72 ชั่วโมง และเลี้ยงในอาหารเหลว TSB ที่มีเกลือความเข้มข้น 2.5% และเมื่อเลี้ยง B. licheniformis ร่วมกับเซลล์ของเชื้อทดสอบที่ถูกทำให้ตายด้วยความร้อน พบว่าน้ำเลี้ยงเชื้อยังคงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อทดสอบ จากนั้นตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำลายเซลล์ของแบคทีเรียก่อโรคของน้ำเลี้ยงเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนพบว่าส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ของเชื้อทดสอบมีลักษณะเป็นรู นอกจากนี้พบว่าสารยับยั้งในน้ำเลี้ยงเชื้อที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงและจาก B. licheniformis ร่วมกับเซลล์ V. alginolyticus ที่ถูกทำให้ตายด้วยความร้อน มีความสามารถทำให้เซลล์ของเชื้อทดสอบมีขนาดเล็กลง และลดการเกาะกลุ่มของเชื้อทดสอบได้ดี ผลจากการวิเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนในน้ำเลี้ยงเชื้อ (Cell-Free …