Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 56

Full-Text Articles in Life Sciences

การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน Jan 2021

การสกัดเพกทินจากเปลือกโกโก้และการประยุกต์เป็นสารเคลือบบริโภคได้, รวิษฎา ผลสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสกัดต่อปริมาณและคุณภาพของเพกทินจากเปลือกโกโก้ ศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติก (prebiotic activity) ของเพกทิน และการประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้ เพื่อยืดอายุการเก็บของมะเขือเทศ โดยศึกษาวิธีสกัด 3 วิธี ดังนี้ วิธีทางเอนไซม์ (แปร 3 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณเอนไซม์เพกทิเนส 0.5 และ 1.0% อุณหภูมิในการบ่ม 40 และ 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 120 และ 240 นาที) วิธีทางเคมี (แปร 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเป็นกรดเบสของสารละลาย pH 4.0 และ pH 10.0 และอุณหภูมิในการสกัด 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส) และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด (แปรระยะเวลาโซนิเคชัน 20 30 และ 40 นาที) จากการทดลองพบว่าภาวะที่สามารถสกัดปริมาณเพกทินได้มากที่สุดจากวิธีทางเคมี วิธีทางเอนไซม์ และวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัด คือ การสกัดด้วยปริมาณเอนไซม์ 1.0% v/v อุณหภูมิในการบ่ม 60 องศาเซลเซียส และเวลาในการบ่ม 240 นาที (ร้อยละ 24.38±0.15) การสกัดด้วยสารละลาย pH 4.0 และอุณหภูมิในการสกัด 70 องศาเซลเซียส (ร้อยละ 7.78±0.41) และการสกัดด้วยระยะเวลาโซนิเคชัน 20 นาที (ร้อยละ 14.87±0.19) ตามลำดับ โดยเพกทินที่สกัดจากเปลือกโกโก้ทุกภาวะมีระดับเอสเทอริฟิเคชันมากกว่า 50% ดังนั้นจึงจัดเป็น high methoxyl (HM) pectin จากนั้นศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติกและความหนืดของเพกทินที่ได้จากภาวะที่สามารถสกัดเพกทินได้มากที่สุดของแต่ละวิธีการสกัด และพบว่าเพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมีสมบัติการเป็นพรีไบโอติกสูงที่สุด ในขณะที่การเพิ่มอัตราเฉือนส่งผลให้ความหนืดของเพกทินที่สกัดด้วยวิธีทางเอนไซม์มีค่าลดลงมากที่สุด รองลงมา คือ วิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดและวิธีทางเคมี ตามลำดับ จากการใช้เพกทินที่สกัดด้วยวิธีคลื่นอัลตราซาวด์ช่วยสกัดมาประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบบริโภคได้กับมะเขือเทศ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเขือเทศที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 …


การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์ Jan 2021

การพัฒนากระแสงานเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการระบุอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิอะดีนีนในโพรคาริโอตจากข้อมูลลำดับเบสอาร์เอ็นเอที่เติมพอลิยูรีดีนด้วยนาโนพอร์โดยตรง, จิรโชติ กรัณยากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการเติมพอลิอะดีนีนเป็นการดัดแปรอาร์เอ็นเอที่ปลาย 3' หลังการถอดรหัสหรือเรียกว่าหางพอลิอะดีนีน ซึ่งหางพอลิอะดีนีนมีหน้าที่ในการควบคุมเสถียรภาพของอาร์เอ็นเอและนำไปสู่การควบคุมการแสดงออกของยีน ปัจจุบันการศึกษาความยาวและหน้าที่ของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตมีน้อยมาก เนื่องจากความยาวของหางพอลิอะดีนีนในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอตสั้นมาก และทำหน้าที่เป็นสัญญาณการย่อยสลายอาร์เอ็นเอ ส่งผลให้ตรวจพบได้ยาก ในการศึกษานี้ได้ทำการพัฒนาวิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาหางพอลิอะดีนีนความยาวสั้นในอาร์เอ็นเอของโพรแคริโอต โดยใช้ข้อมูลอาร์เอ็นเอจากการหาลำดับเบสยุคที่สามด้วยอ็อกซ์ฟอร์ดนาโนพอร์ที่สามารถหาลำดับเบสอาร์เอ็นเอสายยาวได้โดยตรง โดยทำการปรับปรุงขั้นตอนการเตรียมไลบรารี่สำหรับการหาลำดับเบสโดยใช้เอนไซม์เพื่อสังเคราะห์พอลิยูริดินที่ปลาย 3' ของสายลำดับเบส เพื่ออนุรักษ์ความยาวหางพอลิอะดีนีนดั้งเดิมไว้ และใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับพอลิอะดีนีนอะแดปเตอร์สำหรับการหาลำดับเบส วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม หรือถอดรหัสย้อนกลับ ที่อาจส่งผลต่อความยาวดั้งเดิมของหางพอลิอะดีนีน จากการศึกษาด้วยอาร์เอ็นเอสังเคราะห์ที่มีการกำหนดความยาวหางพอลิอะดีนีนไว้คงที่ พบว่าโปรแกรมสำหรับการประมาณความยาวหางพอลิอะดีนีน (nanopolish และ tailfindr) มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.33 ถึง 7.49 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 6.38 ถึง 16.89 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr หลังจากการปรับปรุงข้อมูลด้วยการกำจัดสัญญาณไม่ปกติและใช้ข้อมูลจากการลำดับเบสเข้าช่วยพบว่าโปรแกรมสามารถหาความยาวของหางพอลิอะดีนีนสายสั้นได้ใกล้เคียงมากขึ้น โดยมีค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยลดลงอยู่ในช่วง 0.43 ถึง 7.28 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ nanopolish และ 3.28 ถึง 5.96 นิวคลีโอไทด์ สำหรับ tailfindr และเมื่อนำวิธีการศึกษาดังกล่าวไปประยุกต์ในอาร์เอ็นเอของ Escherichia coli K-12 ได้ตรวจพบหางพอลิอะดีนีนในยีนซึ่งเคยมีรายงานจากงานวิจัยก่อนหน้า เช่น rpsO, rplQ และ ompA เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบยีนที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีหางพอลิอะดีนีน แต่ยังไม่มีรายงานมาก่อน เช่น apt และ ppa เป็นต้น การศึกษาความยาวหางพอลิอะดีนีนในโพรแคริโอตสามารถเชื่อมโยงกับการควบคุมการแสดงออกของยีนซึ่งจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมการแสดงออกของยีนในแบคทีเรีย และสามารถนำไปประยุกต์ได้ในอนาคต


รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา Jan 2021

รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae สามชนิด ได้แก่ เลียงผาใต้ (Capricornis sumatraensis) กวางผาจีน (Naemorhedus griseus) และกวางผาหิมาลัย (Naemorhedus goral) ปรากฎหลักฐานการกระจายตัวในประเทศไทยสมัยไพลสโตซีน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกวางผาหิมาลัยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว เพื่อบ่งบอกนิเวศวิทยที่เปลี่ยนแปลงไปในอดีตจนถึงปัจจุบันของสัตว์กลุ่มนี้ รอยสึกบนฟันกรามจึงถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาอาหาร รููปแบบการกินอาหาร และนิเวศวิทยาบรรพกาลของสัตว์ในวงศ์ย่อย Caprinae ผู้วิจัยศึกษาตัวอย่างจาก 4 แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่างสมัยไพลสโตซีนตอนกลางถึงตอนปลาย ได้แก่ ถ้ำผาบ่อง, บ้านโคกสูง, ถ้ำวิมานนาคินทร์ และเพิงผาถ้ำลอด รวมไปถึงตัวอย่างปัจจุบันจากพิพิธภัณฑ์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมด 10 แห่ง โดยเก็บข้อมูลค่าดัชนีความสูงตัวฟัน (hypsodonty index: HI), รอยสึกระดับ mesowear I และ II, และรอยสึกระดับ microwear จากฟันกราม ผลการศึกษาพบว่า รอยสึกระดับ mesowear และค่า HI บ่งชี้ว่าเลียงผาและกวางผาทั้งในปัจจุบันและไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้า โดยเลียงผาใต้มีแนวโน้มการกินใบไม้มากกว่าชนิดอื่น ผลการศึกษารอยสึกระดับ microwear จากทั้งตัวอย่างปัจจุบันและไพลสโตซีนพบว่า เลียงผาใต้กินใบไม้อ่อนนุ่ม ขณะที่กวางผาจีนและกวางผาหิมาลัยกินใบไม้และหญ้าที่มีความแข็ง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาที่ได้ร่วมกับค่าไอโซโทปเสถียรของธาตุคาร์บอนจากงานวิจัยก่อนหน้า อาจกล่าวได้ว่า เลียงผาใต้ในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้อ่อนนุ่มทั้งประเภท C3, C3/C4, และ C4 อยู่อาศัยได้ทั้งป่าทึบและทุ่งหญ้า กวางผาจีนในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 ที่มีความแข็ง อาศัยในทุ่งหญ้าเปิด สำหรับกวางผาหิมาลัยในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 หรือ C3/C4 และอาศัยในทุ่งหญ้าเปิด ผลการศึกษาสามารถสรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนิเวศวิทยาของสายพันธุ์เลียงผาและกวางผาได้ว่า เลียงผาและกวางผาสมัยไพลสโตซีนอาศัยในทุ่งหญ้าเปิดมากกว่าประชากรในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และการรุกรานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนที่ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลง


Nutritional Value And Functional Properties Of Moringa Oleifera Leaf Protein Concentrate, Annelise Ida Halafihi Jan 2021

Nutritional Value And Functional Properties Of Moringa Oleifera Leaf Protein Concentrate, Annelise Ida Halafihi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Moringa oleifera leaf is considered an inexpensive source of protein. As leaf protein concentrate (LPC), protein content offered is higher and easier for use than in leaf. Therefore, this study aimed to prepare moringa leaf protein concentrate (MoLPC) from dried moringa leaves, compare their physico-chemical and functional properties and determine enhanced nutritional value of pancakes fortified with MoLPC compared to unfortified pancake. Using two varieties (Thai (TMo) and Indian (IMo) moringa from Nan area), LPC from each variety was prepared by alkali solubilization (pH 9) followed by acid-precipitation at pH 4.5. Effects of heat on the protein precipitation was studied …


ปัจจัยที่ส่งผลถึงการประมาณค่าการนำความร้อนในยางคอมพาวด์, สุทธิพัฒน์ กมลสุทธิไพจิตร Jan 2021

ปัจจัยที่ส่งผลถึงการประมาณค่าการนำความร้อนในยางคอมพาวด์, สุทธิพัฒน์ กมลสุทธิไพจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวัลคาไนซ์เซชั่นยางในอุตสาหกรรมต้องอาศัยอุณหภูมิและระยเวลาในการคงรูปชิ้นงานซึ่งระยะเวลาในการคงรูปชิ้นงานจะขึ้นกับค่าการนำความร้อนของยางคอมปาวด์ที่แต่ละสูตร โดยงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการทดสอบค่าการนำความร้อน การประมาณค่าการนำความร้อนในยางคอมปาวด์และปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าการนำความร้อนในกระบวนการคงรูป โดยขั้นแรกได้ศึกษาการประมาณค่าการนำความร้อน พบว่า การประมาณค่านำความร้อนของแบบจำลองขนานเทียบกับค่าการนำความร้อนที่ได้จากการทดสอบ HFM จะมีค่าความคาดเคลื่อนเกิดขึ้นไม่เกิน 5 % สำหรับยางคอมปาวด์ที่วัลคาไนซ์เซชั่นอย่างสมบูรณ์ ขั้นที่สองเป็นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าการนำความร้อน พบว่า สัดส่วนโดยปริมาตรของสารตัวเติมมีผลกระทบต่อค่าการนำความร้อนที่จะเปลี่ยนแปลงไปรวมถึงปริมาณน้ำมันที่ส่งผลกระทบต่อค่าการนำความร้อนอย่างมาก ส่วนยางที่วัลคาไนซ์เซชั่นอย่างสมบูรณ์จะให้ค่าการนำความร้อนสูงกว่ายางคอมปาวด์และยางที่วัลคาไนซ์เซชั่นร้อยละ 50 จะมีฟองอากาศภายในยางส่งผลให้ค่าการนำความร้อนต่ำกว่ายางคอมปาวด์ ส่วนยางที่เกิด และขั้นที่สามออกแบบชุดทดสอบสำหรับหาค่าการนำความร้อน พบว่า ชุดต้นแบบใช้วิธีการหาค่าการนำความร้อนในสภาวะคงที่ซึ่งต้องควบคุมความสม่ำเสมอของความร้อนและป้องสูญเสียความร้อนของชุดต้นแบบ ดังนั้นชุดต้นแบบจะมีส่วนประกอบหลักเป็นฮีตเตอร์สำหรับเป็นแหล่งความร้อนโดยจะใช้น้ำหล่อเย็นสำหรับการควบคุมอุณหภูมิประกอบกับฉนวนกันความร้อนสำหรับป้องกันการสูญเสียความร้อนโดยจะใช้การไหลของความร้อนในหนึ่งหน่วยพื้นที่เป็นตัวกำหนดค่าการนำความร้อน


Effects Of Integrin Subtypes On Migration And Invasion In Primary Lung Cancer Cells In Advanced Stage And Inhibitory Effect Of Millettocalyxin B, Pennapa Lafauy Jan 2021

Effects Of Integrin Subtypes On Migration And Invasion In Primary Lung Cancer Cells In Advanced Stage And Inhibitory Effect Of Millettocalyxin B, Pennapa Lafauy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Integrin-targeting compounds have shown clinically significant benefits in many patients. Here, we examined the activity of millettocalyxin B, extracted from the stem bark of Millettia erythrocalyx, in lung cancer cells. The viability of human lung cancer cell was investigated by the 3-(4,5- dimethylthiazol-2-yl)-2,5diphenyl tetrazoliumbromide (MTT) assay. Migration and invasion assays were performed. Phalloidin-rhodamine staining was used to determine the formation of filopodia. Western blot analysis was used to identify the signaling proteins involved in migration regulation. Non-toxic concentrations (0-25 μM) of millettocalyxin B reduced migration and invasion of lung cancer A549 cells. Filopodia were significantly reduced in millettocalyxin B treated …


Substrate Binding Mechanism Of Glycerophosphodiesterase Towards Pesticides And Improvement Of Stability By Mutational Analysis, Nayana Bhat Jan 2021

Substrate Binding Mechanism Of Glycerophosphodiesterase Towards Pesticides And Improvement Of Stability By Mutational Analysis, Nayana Bhat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Molecular dynamics studies have been providing a great number of atomistic details of biological systems to understand enzymatic activity and underlying reaction mechanisms. Herein, molecular dynamic (MD) simulations were employed to study the binding mechanisms of organophosphate pesticides towards two metallohydrolases, i.e., glycerophosphodiesterase (GpdQ) and methyl parathion hydrolase (MPH). OPH are the class of enzymes which breaks down harmful organophosphates, including the pesticides and warfare agents into less harmful byproducts. Hence, these enzymes are excellent candidates for bioremediation. In the present study, various nonspecific organophosphate pesticides were docked into GpdQ and MPH enzymes to construct the pesticide/protein complex for performing …


การตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่องคลอด โดยเทคนิคลูปมีดิเอเตดไอโซเทอร์มอลแอมพลิฟิเคชัน, สุนิตา ชุณห์กุล Jan 2021

การตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่องคลอด โดยเทคนิคลูปมีดิเอเตดไอโซเทอร์มอลแอมพลิฟิเคชัน, สุนิตา ชุณห์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คดีข่มขืนกระทำชำเราเป็นคดีอาญาที่เกิดขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย การตรวจสอบหลักฐานในตัวอย่างสิ่งส่งตรวจคดีข่มขืนกระทำชำเราทางนิติวิทยาศาสตร์ต้องผ่านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยในปัจจุบันใช้วิธีการตรวจคัดกรอง (screening test) ด้วยเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตส และการตรวจสอบยืนยัน (confirmatory test) ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์หาอสุจิ ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีความจำเพาะและความไวสูง แต่มีข้อจำกัดและโอกาสในการเกิดผลบวกหรือผลลบเทียมได้ เพื่อเพิ่มความสามารถและลดข้อผิดพลาดจากการตรวจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่อคลอดโดยเทคนิคลูปมีดิเอเตดไอโซเทอร์มอลแอมพลิฟิเคชัน (LAMP) ที่มีความไวสูงและสามารถทำซ้ำแล้วให้ผลตรงกัน โดยออกแบบไพรเมอร์ที่จำเพาะกับยีนอเมโลจีนินวายเพื่อใช้ในการตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายจากตัวอย่างน้ำซับช่องคลอดด้วยเทคนิค LAMP ผลการศึกษาพบว่าเทคนิค LAMP มีความไวสูงในการตรวจหาดีเอ็นเอเพศชายปริมาณตั้งแต่ 0.1 นาโนกรัมขึ้นไป ความจำเพาะในการตรวจสอบต่อดีเอ็นเอเป้าหมายสูงโดยแสดงผลบวกในกรณีที่ตรวจพบดีเอ็นเอมนุษย์เพศชายเท่านั้น ซึ่งไม่มีการแสดงผลในดีเอ็นเอมนุษย์เพศหญิง และดีเอ็นเอสัตว์ (หนูเม้าส์ หนูแรท และหมู) นอกจากนั้น ผลจากการตรวจสอตัวอย่างในคดีข่มขืนที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยจำนวน 92 ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าเทคนิค LAMP มีความแม่นยำในการตรวจสอบสูงถึงร้อยละ 96.7 ซึ่งแม่นยำกว่าการตรวจสอบด้วยชุดน้ำยาแอซิดฟอสฟาเตสและการตรวจหาอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีความถูกต้องในการตรวจสอบร้อยละ 57.6 และ 79.3 ตามลำดับ และสามารถใช้สารสีฟีนอลเรดในการตรวจสอบการเกิดปฏิกิริยาของเทคนิค LAMP จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเทคนิค LAMP สามารถใช้เป็นวิธีทางเลือกในการตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับคดีข่มขืนได้


Effects Of Low Degree Of High Ambient Temperature On Neural Pathways From Median Preoptic Nucleus To Arcuate Nucleus In Related To Food Intake., Pornsiri Suwannapaporn Jan 2021

Effects Of Low Degree Of High Ambient Temperature On Neural Pathways From Median Preoptic Nucleus To Arcuate Nucleus In Related To Food Intake., Pornsiri Suwannapaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High ambient temperature (HTa) is one important environmental factor that decreases food intake (FI). It is well accepted that high degree HTa induced heat stress decreased FI by the activation of corticotropin-releasing factor (CRF) via hypothalamic pituitary adrenal axis. However, short-term low-degree HTa exposure has been demonstrated to decrease FI earlier than activated physiological and stress responses. This effect was related to the neuronal connection between the median preoptic nucleus (MnPO) and arcuate nucleus (Arc). Therefore, the present study aimed to investigate the effect of short-term low-degree HTa exposure on the activity of hypothalamic Arc in regarding to FI, and …


การคัดแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์และกระบวนการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติกโดยใช้น้ำสับปะรด, ชญาภรณ์ ตันติธรรม Jan 2021

การคัดแยกสายพันธุ์จุลินทรีย์และกระบวนการผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติกโดยใช้น้ำสับปะรด, ชญาภรณ์ ตันติธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้สับปะรดตกเกรดผลิตเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่อุดมด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชั่น งานวิจัยประกอบด้วย (i) ประเมินความเป็นไปได้ในการใช้น้ำสับปะรดเต็มส่วน (pH 4.0) เพื่อผลิต Bacterial cellulose (BC) โดยเติมเพียงแอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (0.6 % (w/v)) สำหรับชักนำการทำงานของเอนไซม์ cellulose synthase โดยทดลองหมักด้วยแบคทีเรียมาตรฐาน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Gluconacetobacter xylinus TISTR 1064 (ATCC 23767), Komagataeibacter xylinus TISTR 086, K. xylinus TISTR 428 และ K. xylinus TISTR 1061 พบว่า แต่ละสายพันธุ์ผลิต BC ในน้ำสับปะรดได้แตกต่างกัน โดย TISTR 428 ผลิต BC ได้มากที่สุด (105.10±0.08 g/L) (p<0.05) จึงเลือกมาประเมินสภาวะการหมัก โดยแปรพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศ และปริมาตรของน้ำสับปะรด พบว่า ค่า BC yield (y) มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศต่อปริมาตรน้ำหมัก (x) ดังสมการ y =19.422x + 25.936 (R2 = 0.9346) และพบว่า เมื่ออัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศต่อปริมาตรของน้ำหมักเพิ่มขึ้น Hardness และ Cohesiveness มีค่าลดลง (p<0.05) ในขณะที่ Springiness, Gumminess และ Chewiness มีค่าเพิ่มขึ้น (p<0.05) (ii) คัดแยกแบคทีเรียผลิต BC เพื่อพัฒนาเป็นสายพันธุ์จำเพาะในการหมักน้ำสับปะรด โดยคัดแยกจากน้ำหมักสมุนไพรที่มีส่วนผสมของน้ำและ/หรือเนื้อสับปะรดที่มีอายุการหมัก 8 ปี 5 ปี และ 10 เดือน พบว่า สามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีสมบัติสร้างสารคล้าย BC ในน้ำสับปะรดทั้งหมด 4 ไอโซเลท จากน้ำหมักอายุ 10 เดือน เมื่อระบุชนิดด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง 16s rDNA/RNA พบว่า ไอโซเลท K1, K4, K8 และ K3 ที่สร้างสารคล้าย BC คือ Kodamaea ohmeri (98.33%) Acinetobacter sp. (73.97%) Enterobacter cloacae (82.31%) และ G. xylinus (80.16%) ตามลำดับ เลือก K3 ที่มีสมบัติทางจีโนไทป์ที่ตรงกับสายพันธุ์ทางการค้า และเมื่อนำมาศึกษาสมบัติการสร้าง BC ในน้ำสับปะรด พบว่า สามารถสร้าง BC ได้มากกว่าและเร็วกว่าสายพันธุ์ TISTR ถึง 2 เท่า จึงนำไอโซเลท K3 มาพัฒนาเป็นสายพันธุ์จำเพาะในการผลิต BC ในน้ำสับปะรด โดยเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่ประเมินได้จาก (i) และแปรปริมาณแหล่งคาร์บอน (ซูโครส) ปริมาณแหล่งไนโตรเจน (เพพโทน) และปริมาณสารชักนำ (โซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต) โดยใช้แผนการทดลองแบบ 3x2x2 แฟคทอเรียล พบว่า สภาวะที่มีปริมาณซูโครส เพพโทน และโซเดียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟตที่ความเข้มข้น 5, 0.5 และ 0 % (w/v) ตามลำดับ มีปริมาณ BC ภายหลังการหมักสูงที่สุด (188.27±0.50 g/L) BC ที่ได้มีปริมาณความชื้นและค่า Aw สูงกว่าสภาวะอื่น (p<0.05) และเมื่อวิเคราะห์เนื้อสัมผัส (Texture profile analysis) พบว่า มีค่า Hardness ต่ำที่สุด และค่า Springiness สูงที่สุด น้ำสับปะรดหลังหมักประกอบด้วย กรดอินทรีย์หลักมากที่สุด คือ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดแอซิติก ตามลำดับ น้ำตาลประกอบด้วยฟรักโทสมากที่สุด รองลงมา คือ กลูโคส และซูโครส ตามลำดับ อีกทั้งมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุด (p<0.05) และมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด (p<0.05) (iii) นำสภาวะที่ประเมินได้จาก (ii) มาใช้ในการผลิต BC ที่อุดมด้วยโพรไบโอติก โดยการเพาะเลี้ยง K3 ร่วมกับจุลินทรีย์ Lactobacillus plantarum FTCU10621 พบว่า BC ที่ได้มีปริมาณน้อยลง (26.40±0.80 g/L) และเป็น young BC และตรวจวัด L. plantarum FTCU10621 ในส่วน BC พบจำนวน 8.42±0.52 log CFU/g BC และในน้ำสับปะรดจำนวน 8.33±0.03 log CFU/ml ภาพถ่ายทางสัณฐานวิทยาของผิวหน้า BC พบเซลล์โพรไบโอติกถูกตรึงอยู่ใน BC คิดเป็น 7.08 log cell/g BC เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของ BC ด้วยเทคนิค FTIR พบว่า สเปกตรัม IR ของหมู่ไฮดรอกซิลมี % transmittance ต่ำ ส่งผลให้ BC มีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำสับปะรดหลังหมักประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลักมากที่สุด คือ กรดแลคติก กรดซิตริก กรดซัคซินิค และกรดมาลิก ตามลำดับ น้ำตาลประกอบด้วยฟรักโทสมากที่สุด รองลงมา คือ กลูโคส และซูโครส ตามลำดับ


องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว Jan 2021

องค์ประกอบของกรดไขมันและการแสดงออกของยีน Delta-6 Desaturase (Ard6d) ที่เกี่ยวข้องกับวิถีการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมกา-3 ในโคพีพอด Apocyclops Royi, ศุภกานต์ สังข์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โคพีพอดจัดอยู่ในกลุ่มของครัสเตเชียนขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นอาหารมีชีวิตในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โคพีพอดเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid, PUFA) ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสัตว์น้ำวัยอ่อน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกรดไขมันในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด Apocyclops royi สายพันธุ์ไทย (A. royi-TH) โดยศึกษาในโคพีพอดระยะนอเพลียส (NP) โคพีโพดิด (CD) และตัวเต็มวัย (AD) ที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายสีเขียว Tetraselmis sp. ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ไม่พบกรดไขมัน DHA จากการวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโตรกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (GC/MS) พบว่าโคพีพอด A. royi-TH มีกรดไขมัน PUFA, EPA และ DHA ในปริมาณสูงกว่าอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ โดยพบกรดไขมัน PUFA สูงในโคพีพอดระยะ CD (38.53%) และ AD (41.85%) ในขณะที่พบกรดไขมัน PUFA ปริมาณต่ำที่สุดในโคพีพอดระยะ NP (22.50%) นอกจากนี้พบว่าโคพีพอดทุกระยะพัฒนาการมีกรดไขมัน LC-PUFA ปริมาณสูง (5.27-10.36%) โดยพบกรดไขมัน DHA มากที่สุดในระยะ AD (4.85%) รองลงมาระยะ CD (3.54%) และระยะ NP (2.78%) จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบของกรดไขมันในโคพีพอดที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายTetraselmis sp. ที่มีกรดไขมัน EPA ต่ำ (ArTet) และ Chaetoceros sp. ที่มีกรดไขมัน EPA สูง(ArChaeto) พบว่าโคพีพอด ArChaeto มีกรดไขมัน DHA ปริมาณสูงกว่าโคพีพอด ArTet จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าองค์ประกอบของกรดไขมันในสาหร่ายที่แตกต่างกันส่งผลต่อปริมาณกรดไขมัน DHA ที่พบในโคพีพอด จากนั้นได้ศึกษาการแสดงออกของยีนดีแซททูเรส ArD6D ที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในโคพีพอดระยะ AD (p<0.05) สอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอดระยะ AD ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายีน ArD6D อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ในแต่ละระยะพัฒนาการของโคพีพอด และเมื่อศึกษาการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArTet และ ArChaeto พบว่าระดับการแสดงออกของยีน ArD6D ในโคพีพอด ArChaeto มีการแสดงออกที่สูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโคพีพอด ArTet (p<0.05) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณกรดไขมัน DHA ที่เพิ่มขึ้นในโคพีพอด ArChaeto ผลจากการวิจัยบ่งชี้ว่าโคพีพอด A. royi-TH ทั้ง 3 ระยะพัฒนาการสามารถสังเคราะห์กรดไขมัน DHA ผ่านวิถีการสังเคราะห์กรดไขมัน LC-PUFA และกรดไขมันในสาหร่ายส่งผลต่อปริมาณ DHA ของโคพีพอด โดยข้อมูลจากงานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของโคพีพอด A. royi-TH เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย


การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง Jan 2021

การพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศขนาดกลาง, ไปรยา ทองเหลือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หน่วยควบแน่นแบบระเหย (Evaporative condenser unit) คือการอาศัยหลักการระเหยของน้ำมาช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยควบแน่นแบบระเหยและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์โดยรอบ (Ambient relative humidity) และอัตราการไหลของน้ำ (Water flow rate) โดยออกแบบคอยล์เสริมเพื่อเป็นบริเวณที่ใช้ในการฉีดพ่นน้ำ พบว่าการเชื่อมต่อคอยล์เสริมบริเวณดิสชาร์จสูงกว่าบริเวณลิควิด 3.5% การทดลองเพื่อศึกษาเปลี่ยนแปลงค่าความชื้นสัมพัทธ์ควบคุมโดยปรับค่าความเร็วอากาศพบว่าเมื่อความเร็วอากาศลดลงทำให้ความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น และความสามารถในการระบายความร้อนมีค่าสูงสุดในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 73.1% ถึง 80.9% การทดลองศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของน้ำพบว่าพื้นที่สัมผัสบริเวณผิวคอยล์เสริมมากจะสามารถลดอุณหภูมิของสารทำความเย็นได้มากเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของหัวฉีดพ่นและความชื้นสัมพัทธ์ยังส่งผลต่อการลดลงของอุณหภูมิสารทำความเย็นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของต้นแบบหน่วยควบแน่นแบบระเหยพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากเครื่องปรับอากาศที่ระบายความร้อนด้วยลมปกติได้สูงถึง 20.36%


In Silico And In Vitro Studies On Inclusion Complexation Of Anthraquinone Derivatives With Beta-Cyclodextrin Derivatives, Amy Oo Jan 2021

In Silico And In Vitro Studies On Inclusion Complexation Of Anthraquinone Derivatives With Beta-Cyclodextrin Derivatives, Amy Oo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, we investigated the cytotoxicity of 6 anthraquinones (ventilanone K, emodin, chrysophanol, aurantio-obtusin, 1-O-methyl-2-methyoxychrysophanol, and questin) toward A549 lung cancer cells and emodin (ED) exerted the most potent cytotoxicity with IC50 value of 34.27 ± 1.27 µM. The anti-cancer activity of ED has been well reported but its usage in practical applications has been restricted due to its poor solubility. To address this issue, we performed inclusion complexation of ED with βCD, hydroxypropyl-β-cyclodextrin (HPβCD), 2,6-di-O-methyl-β-cyclodextrin (DMβCD), and sulfobutylether-β-cyclodextrin (SBEβCD) theoretically using molecular dynamics simulations and experimentally using phase solubility study and cytotoxicity screening toward cholangiocarcinoma cell lines (KKU-213A …


Production And Characterization Of Mannanase From Aureobasidium Sp. For Mannooligosaccharide Preparation From Spent Coffee Ground, Syahriar Nur Maulana Malik Ibrahim Jan 2021

Production And Characterization Of Mannanase From Aureobasidium Sp. For Mannooligosaccharide Preparation From Spent Coffee Ground, Syahriar Nur Maulana Malik Ibrahim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aims of this study are to produce and characterize mannanase from the selected Thai Aureobasidium strain and use the enzyme for hydrolysis of spent coffee ground extract (SCGE) to prepare mannooligosaccharide (MOs). The optimum condition for SCGE extraction by hot water was 1:30 solid to liquid ratio with 60 min incubation time at 121°C 15 lbs per in2. The maximum yield was 9.5 g/100 g substrate. The second dominant composition of SCGE was hemicellulose at 28 %. Aureobasidium pullulans NRRL 58524 was selected as the best mannanase producer with 8.07 U/mL. The mannanase production medium was optimized by using …


Epiphytic Microbiota Of Kai Cladophora Sp. From Nan River, Nan Province, Thailand, Karnjana Ruen-Pham Jan 2021

Epiphytic Microbiota Of Kai Cladophora Sp. From Nan River, Nan Province, Thailand, Karnjana Ruen-Pham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cladophora is a cosmopolitan green algal genus in northern Thailand, commonly known as Kai or Sa Rai Kai, which the local people use for culinary and medicinal purposes. In nature, Cladophora acts as an ecological engineer in the ecosystem by creating, modifying, and maintaining the habitat by providing oxygen and microhabitats for several organisms, including prokaryotes and eukaryotes, namely epiphytic microbiota. These epiphytic microbiota living on the algal host's surface might exhibit crucial roles in the ecosystem. However, most understandings of the Cladophora microbiota were from the USA. Therefore, this study aims to investigate the Cladophora microbiota collected from Nan …


The Urinary Proteomic Analysis And The Vitamin D Receptor Polymorphisms In Dogs With Calcium Oxalate Urolithiasis, Sumonwan Chamsuwan Jan 2021

The Urinary Proteomic Analysis And The Vitamin D Receptor Polymorphisms In Dogs With Calcium Oxalate Urolithiasis, Sumonwan Chamsuwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Calcium oxalate (CaOx) urolithiasis is one of the most common stone components which frequently occurs in both humans and dogs. Hypercalciuria is one of the predisposing factors commonly found in both people and dogs with calcium urolithiasis. The genetic factors are also involved with the pathogenesis of stone formation, and the relationship between calcium handling and vitamin D receptor (VDR) polymorphisms has been demonstrated to be related to calcium urolithiasis in human populations. Moreover, some urinary proteins may be involved in the process of stone formation. The present study aimed firstly to evaluate the relationship between VDR polymorphism in dog …


Expression And Characterization Of Dextransucrase From Leuconostoc Citreum Abk-1, Kakuttapun Bulan Jan 2021

Expression And Characterization Of Dextransucrase From Leuconostoc Citreum Abk-1, Kakuttapun Bulan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dextransucrase is an enzyme in the glycoside hydrolase 70 family that catalyze the hydrolysis of sucrose to fructose and glucose, the glucose residues are transferred to synthesize dextran via transglycosylation reaction. Dextransucrase from Leuconostoc citreum ABK-1 (Lcdextransucrase ), which has 99.5% homology with dextransucrase in the NCBI database, was cloned, expressed, and purified. The size of the Lcdextransucrase was predicted by ExPASy and the result showed that its size was 168 kDa with a pI of 5.15. Protein expression was confirmed by western blot analysis. Lcdextransucrase was purified through Ni-sepharose coupled with DEAE anion exchange column chromatography to approximately 80% …


Mrna Vaccine Encoding Neoantigen For Cancer Immunotherapy Using Mouse Melanoma As A Model, Chutamath Sittplangkoon Jan 2021

Mrna Vaccine Encoding Neoantigen For Cancer Immunotherapy Using Mouse Melanoma As A Model, Chutamath Sittplangkoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cancer is the leading cause of death globally with an urgent need to find more effective approaches for prevention and treatment. mRNA vaccine is a promising vaccine platform over conventional vaccines in terms of safety, ease of large-scale production and effectiveness in inducing both cellular and humoral immune responses. Breakthrough in mRNA technology allowed novel strategies to improve mRNA stability and efficacy including nucleoside modifications. Modification of mRNA with N1-methylpseudouridine (m1Ψ) was reported to enhance protein expression and decrease innate immunogenicity due to low binding affinity to pattern recognition receptors, and low type I interferon (IFN-I) secretion. Therefore, this study …


Identification Of Α-Glucosidase Inhibitors From Black Garlic, Pattraporn Tantiwatcharachai Jan 2021

Identification Of Α-Glucosidase Inhibitors From Black Garlic, Pattraporn Tantiwatcharachai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Black garlic has emerged as one of the fastest-growing health food products on the market. It is processed by incubating fresh garlic under high temperature and high humidity conditions. The process causes the changes in characteristics of black garlic such as texture, flavor, nutrient contents, chemical composition and it pharmacological properties, especially antidiabetic activity. In the present investigation, we applied α-glucosidase inhibition guided isolation to identify active compounds. Four compounds named 5-hydroxymethylfurfural (5-HMF), 5-hydroxymethyl-2-furancarboxylic acid (HMFCA), 4-(hydroxymethyl)phenol and 2-deoxy-ribono-1,4 lactone were isolated. On evaluation against α-glucosidase, HMFCA, 4-(hydroxymethyl)phenol, and 2-deoxy-ribono-1,4 lactone were active against maltase with IC50 values of 18.83 …


Association Between Gene Expression And Promoter Methylation Of Cgb3, Gstp1 And Nop56 Genes And Their Potential In Biomarker Development - Associated Cervical Cancer., Palak Singh Jan 2021

Association Between Gene Expression And Promoter Methylation Of Cgb3, Gstp1 And Nop56 Genes And Their Potential In Biomarker Development - Associated Cervical Cancer., Palak Singh

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Binding of DNMT1-E7 complex can induce promoter methylation in tumor suppressor genes, such as CCNA1, CADM1 leading to their expression suppression and thus, cause cancer progression. This research establishes the association between methylation-related expression of CGB3 and NOP56 genes in cervical cell lines treated with 5-Azacytidine drug. Using MSP-PCR and qPCR, it was found that the methylation of CGB3 and NOP56 were significantly decreased as concentration of 5-Aza increased and this was inversely related with their expression. This demonstrated the association between gene methylation and the regulation of gene expression which were assessed by 5’-aza drug treatment. Of note, the …


Proteomics Analysis Of Bt-474 And Skov-3 Cancer Cell Lines Treated With Purified Compounds From Bee Pollen And Cerumen, Teeranai Ittiudomrak Jan 2021

Proteomics Analysis Of Bt-474 And Skov-3 Cancer Cell Lines Treated With Purified Compounds From Bee Pollen And Cerumen, Teeranai Ittiudomrak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Breast and gynaecological cancers are the main causes of global cancer death in females. So far, several compounds have been identified from traditional medicine components and natural products that exhibited anticancer activity. Previously, α-mangostin (α-MG) and apigenin (APG) had been extracted and purified from cerumen of Tetragonula laeviceps and bee pollen of Apis mellifera respectively. Preliminary studies reported that these compounds express antiproliferative activity in several cancer cell lines. In this study, α-MG and APG were investigated for antiproliferation effect in breast cancer cell line BT-474 and ovarian adenocarcinoma cell line SKOV-3 using MTT assay, fluorescent staining coupled with flow …


Inhibitory Effects Of Propiconazole On Rice Root Development And Abilities Of Brassinosteroid And Auxin In Alleviating Its Effects, Watcharapong Wimonchaijit Jan 2021

Inhibitory Effects Of Propiconazole On Rice Root Development And Abilities Of Brassinosteroid And Auxin In Alleviating Its Effects, Watcharapong Wimonchaijit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Propiconazole is commonly used as a fungicide to minimize crop loss caused by various fungal diseases in many crop plants, including rice. Propiconazole has the potentials to deteriorate the environmental problems due to its chemical properties that it is highly persistent in soil after application, suggesting that the constant use of propiconazole could be problematic. Hence, the evaluation of its effects on plant growth and development is necessary for the assessment of future use of propiconazole. Here, we demonstrated that propiconazole had inhibitory effects on plant growth. Treatments of propiconazole resulted in shoot dwarfism, abnormal leaf morphology, reduced plant biomass, …


Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong Jan 2021

Effect Of Drying Process On Functional Properties Of Chicken Breast Powder And Application In High Protein Pancake, Kiatkhajorn Thassanasuttiwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Drying is one of food preservative methods. However, several drying methods are applied using different drying conditions and techniques that could affect the quality and functional properties of dried products. Chicken breast powder is an upcoming alternative high protein source to replace the consumption of whey protein powder, especially Asian people who are lactose intolerant. Therefore, this presentation aimed to prepare and compare three types of dried chicken breast powder produced from different drying methods. Physical properties of low lactose and protein rich pancakes using chicken breast powder were then determined. There are three drying methods all operated at 65 …


Preparation Of Encapsulated Konjac Glucomannan-Based Fish Oil And Its Use In High Pressure Processed Goat Milk, Siriwan Suknicom Jan 2021

Preparation Of Encapsulated Konjac Glucomannan-Based Fish Oil And Its Use In High Pressure Processed Goat Milk, Siriwan Suknicom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was divided into 3 parts. The objective of first part aims to investigate the effect of konjac glucomannan (KGM) solution (0.02-0.5%, w/w) at different pH (3, 5 and 9) on the stability between 5% fish oil- skim milk with and without casein emulsion. The second part aims to study the effects of konjac glucomannan (KGM) solution (0.02-0.5%, w/w) at different pH (3-10) on the stability of 5%fish oil-milk emulsion. And the last part aims to study the effect of high-pressure (400, 500 and 600 MPa) on the improvement of the stability of 5%fish oil-milk emulsion. The results of …


Solid-State Modification Of Tapioca Starch Using Non-Thermal Plasma, Natchanon Srangsomjit Jan 2021

Solid-State Modification Of Tapioca Starch Using Non-Thermal Plasma, Natchanon Srangsomjit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to investigate the physical, chemical, and functional properties of tapioca starch subjected to solid-state modification by using nonthermal dielectric barrier discharge (DBD) plasma treatment using different gases (helium and argon), voltage levels (10 kV and 15 kV), and treatment times (5, 10, and 15 minutes). After treatment, an increase in L* value and a marginal decrease in pH value of all treated samples were noted. Scanning electron micrographs showed dented starch granules after the plasma treatment but showed birefringence. From XRD measurement, all samples showed a characteristic C-type diffraction pattern but a reduction in …


Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken Jan 2021

Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pueraria mirifica is an endemic Thai plant that puerarin is a major chemical found in this plant and shows several pharmacological activities in aging diseases. Although the pharmacokinetic data on puerarin have been reported in rodents, it is still inconclusive for the development of puerarin as phytopharmaceutical products for human use. This is because of the differences in anatomical and physiological characteristics between rodents and humans. Therefore, the comparative pharmacokinetics of puerarin in pure compound form (PUE) and puerarin in P. mirifica extract (PME) was conducted in female cynomolgus monkeys. PME at a dose of 826 mg/kg.BW (equivalent to 10 …


ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย Jan 2021

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pfs25 เป็นโปรตีนที่พบได้บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum ในระยะ sexual stage และเป็นหนึ่งในแอนติเจนของวัคซีนสำหรับป้องกันการติดต่อของโรคมาลาเรียชนิด transmission blocking vaccine (TBV) วัคซีนชนิดนี้สร้างจากแอนติเจน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย P. falciparum สายพันธุ์ 3D7 และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนทดสอบทางคลินิก อย่างไรก็ดี การศึกษาความหลากหลายของยีน Pfs25 ในประชากร P. falciparum ในธรรมชาติทั้งในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก ตัวอย่างประกอบด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยจำนวน 83 ตัวอย่าง และข้อมูลจากฐานข้อมูล GenBank และ PlasmoDB จำนวน 224 ตัวอย่าง ซึ่งการศึกษานี้ได้รวบรวมและสร้างฐานข้อมูลนิวคลีโอไทด์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำการศึกษาความหลากหลายด้วยการวิเคราะห์ทาง พันธุศาสตร์ประชากร ผลการศึกษาพบว่า Pfs25 ในประชากรเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ทั่วโลกมีจำนวน 11 haplotype ในจำนวนนี้ พบในประเทศไทยจำนวน 7 haplotype (H) โดย H2 เป็น haplotype ที่พบมากที่สุดในประชากรเชื้อมาลาเรียในทวีปเอเชีย ส่วน H1 พบมากที่สุดในประชากรในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ การวิเคราะห์ด้วย Fst แสดงให้เห็นว่า การกระจายของ haplotype ทั้งหมดแตกต่างกันตามแต่ละทวีป แสดงว่า เชื้อมาลาเรีย P. falciparum แบ่งออกเป็น 3 ประชากรย่อย ๆ ตามพื้นที่ คือ ประชากรในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ haplotype ด้วย …


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพหุสัณฐานร่วมกับการแสดงออกของยีน Calm1 กับโรคข้อเข่าเสื่อม, ศุภวุฒิ เหล่าชัยเจริญผล Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพหุสัณฐานร่วมกับการแสดงออกของยีน Calm1 กับโรคข้อเข่าเสื่อม, ศุภวุฒิ เหล่าชัยเจริญผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกที่พบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยผิวของข้อถูกทำลาย และมีปุ่มกระดูกงอก โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อายุ เพศ น้ำหนักและพันธุกรรม โดยปัจจัยพันธุกรรมเป็นบทบาทสำคัญในการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม งานวิจัยนี้ จึงศึกษาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่อาจใช้ทำนายการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษายีน CALM1 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการสลายกระดูกอ่อนและการส่งสัญญาณของแคลเซียม โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากประชากรไทยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 170 คน และประชากรไทยที่ไม่ได้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 150 คน ทำการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างเลือด ศึกษาภาวะพหุสัณฐานของยีน CALM1 ด้วยวิธี high-resolution melting (HRM) analysis และวิธี polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย odds ratio ผลการทดลองพบความสัมพันธ์ของภาวะพหุสัณฐานตำแหน่ง rs12885713 ในประชากรทั้งหมด และเพศหญิง พบว่า แอลลีล T (OR = 0.64, 95% CI = 0.49 – 0.87, P = 0.005), (OR = 0.65, 95% CI = 0.45 – 0.91, P = 0.015) ตามลำดับ และจีโนไทป์ TT (OR = 0.3, 95% CI = 0.14 – 0.63, P = 0.0014), (OR = 0.28, 95% CI = 0.12 – 0.66, P = 0.003) ตามลำดับ มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความสัมพันธ์ของกับการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของภาวะพหุสัณฐานตำแหน่ง …


ความต้องการทางการตลาดของเทคโนโลยีเครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศในกลุ่มตลาดใหม่, กมลวรรณ บรรจงแก้ว Jan 2021

ความต้องการทางการตลาดของเทคโนโลยีเครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศในกลุ่มตลาดใหม่, กมลวรรณ บรรจงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1. ศึกษาลักษณะตลาดเครื่องปรับอากาศ แนวโน้มการตลาด และลักษณะของตลาดผลิตภัณฑ์ เครื่องควบแน่นแบบระเหยสำหรับระบบปรับอากาศ (Evaporative Condensing Unit) ที่บริษัทต้องการพัฒนา 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ในสองรูปแบบ คือ แบบติดตั้งเพิ่มเติม (Retrofitting) และแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้จัดการดูแลงานโครงการภาคใต้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งซ่อมบำรุงระบบเครื่องปรับอากาศ 10 คน, บุคคลทั่วไป 10 คน และเจ้าของสถานประกอบการ 4 คน ร่วมกับการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกสำหรับผู้จัดการดูแลงานโครงการภาคใต้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งซ่อมบำรุงระบบเครื่องปรับอากาศ 10 คน ชุดที่ 2 สำหรับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยซื้อ หรือกำลังตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ 400 คน โดยใช้วิธีแจกแบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล ซึ่งใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ในการวิเคราะห์รายงานผล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหย เพียงร้อยละ 0.8 โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันจากหลายยี่ห้อ จากผู้จัดจำหน่ายหลายแห่งก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่สนใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่แบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) และแบบติดตั้งเพิ่มเติม (Retrofitting) ช่วง 6-10 ปี ข้างหน้าโดยผู้บริโภคจะยอมจ่ายเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 25,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ในช่วงราคา 30,252-31,421 บาท สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 36,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ในช่วงราคา 47,369-52,020 บาท สำหรับผู้บริโภคกลุ่มเจ้าของกิจการจะยอมจ่ายเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 25,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ไม่เกิน 37,828 บาท สำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องควบแน่นแบบระเหยแบบที่ติดตั้งสำเร็จ (Built-in) ขนาด 36,000 btu/h ประเภทธรรมดา (Fix speed) ไม่เกิน 66,587.81 …


การวิเคราะห์ปัจจัยสำหรับการเกิดคราบบนแม่พิมพ์ระหว่างวัลคาไนเซชันยางด้วยการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล, สิรีธร อุตมโชติ Jan 2021

การวิเคราะห์ปัจจัยสำหรับการเกิดคราบบนแม่พิมพ์ระหว่างวัลคาไนเซชันยางด้วยการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล, สิรีธร อุตมโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยางพบปัญหาจากการเกิดชิ้นงานที่มีจุดบกพร่อง เช่น พอง ฉีกขาด แผล และคราบ โดยชิ้นงานที่เป็นคราบ คือ ชิ้นงานที่ผิวที่ไม่เรียบและต้องหยุดการผลิตเพื่อนำแม่พิมพ์ไปทำความสะอาด ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น สาเหตุของการเกิดคราบถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียลเพื่อหาความสำคัญทางสถิติของแต่ละตัวแปร โดยตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ เวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป ปริมาณซิงค์ออกไซด์ ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนต และอัตราส่วนโดยน้ำหนักของน้ำยาถอดแบบต่อน้ำปราศจากไอออน จากผลการทดลองเชิงแฟกทอเรียล พบว่าเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปและอัตราส่วนโดยน้ำหนักของน้ำยาถอดแบบต่อน้ำปราศจากไอออน คือ ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ชิ้นงานเกิดคราบ เนื่องจากการใช้เวลาในการขึ้นรูปที่นานขึ้น ทำให้ยางเกิดระดับการวัลคาไนเซชันเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้แรงยึดติดระหว่างชิ้นงานกับแม่พิมพ์ลดลง ส่งผลให้ทำให้มีคราบที่เกิดขึ้นลดลง และเมื่ออัตราส่วนโดยน้ำหนักของน้ำยาถอดแบบต่อน้ำปราศจากไอออนที่ 1:100 พบว่ามีชิ้นงานที่เป็นคราบลดลง เนื่องจากน้ำยาถอดแบบทำให้ผิวของแม่พิมพ์มีความลื่น จึงทำให้ไม่มีสิ่งตกค้างหลงเหลืออยู่ที่สามารถนำไปสู่การเกิดคราบบนผิวของแม่พิมพ์ได้ โดยแนวโน้มของการเกิดคราบต่อการปรับเปลี่ยนเวลาในการขึ้นรูปและอัตราส่วนของน้ำยาถอดแบบได้มาจากการทดลองเชิงเดี่ยว พบว่าเมื่อเวลาการขึ้นรูปมากขึ้นจาก 350 ไปเป็น 450 วินาที และอัตราส่วนโดนน้ำหนักของน้ำยาถอดแบบต่อน้ำปราศจากไอออนจาก 1:450 ไปเป็น 1:250 ทำให้มีชิ้นงานที่เป็นคราบลดลง