Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Plant Sciences

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Life Sciences

ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia Alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด, ปิยะพล แก่นคง Jan 2020

ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia Alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด, ปิยะพล แก่นคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนเนื่องจากเป็นระบบนิเวศที่มีผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (net primary production; NPP) สูง แม้ว่าต้นไม้ในป่าชายเลนจะเจริญอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดินมีความเค็มสูง อีกทั้งยังมีปริมาณออกซิเจนในดินค่อนข้างจำกัด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำทะเล ระดับน้ำทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลทำให้ความเค็มและปริมาณสารอาหารในป่าชายเลนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของต้นไม้ป่าชายเลน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้น และการผลิและร่วงของใบ รวมถึงศึกษาการดูดซึมกลับของสารอาหารในใบของแสมขาว (Avicennia alba) ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในป่าชายเลนรุ่นสองบริเวณปากแม่น้ำตราด ผลการศึกษาพบว่าการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบมีความผันแปรตามฤดูกาล โดยพบว่ามีอัตราที่สูงขึ้นในช่วงฤดูฝนจากนั้นจึงลดลงในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มากในช่วงฤดูฝนส่งผลให้ความเค็มของน้ำลดลง อีกทั้งไนโตรเจนในน้ำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้ A. alba ได้รับน้ำจืดและไนโตรเจนผ่านการดูดซึมของรากสำหรับการเติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการดูดซึมกลับของฟอสฟอรัส (phosphorus resorption efficiency; PRE) ในใบมีค่าสูงในช่วงฤดูฝน จึงทำให้มีสารอาหารสำหรับการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้มีการเติบโตทั้งในด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบที่มากขึ้นในช่วงฤดูฝน แสดงให้เห็นว่า A. alba มีกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อให้เติบโตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความผันแปรของความเค็มและสารอาหารตามฤดูกาล โดยมีอัตราการเติบโตสูงในช่วงที่ความเค็มลดลง อีกทั้งยังเพิ่มการหมุนเวียนสารอาหารจากใบกลับมาใช้ใหม่มากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตที่สูงในช่วงฤดูฝน ซึ่งกลยุทธ์การเติบโตนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมคาร์บอนที่สำคัญของโลกต่อไป