Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Plant Sciences

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Life Sciences

การคัดแยก Beauveria Bassiana (Balsamo) Vuillemin ไอโซเลทที่รอดชีวิตในภาวะอุณหภูมิสูงซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens (St?L), ญาณิศา วงศ์วานิช Jan 2017

การคัดแยก Beauveria Bassiana (Balsamo) Vuillemin ไอโซเลทที่รอดชีวิตในภาวะอุณหภูมิสูงซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens (St?L), ญาณิศา วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Beauveria bassiana เป็นราที่ใช้ในการควบคุมแมลงอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมแมลงของราลดลง การคัดแยก B. bassiana ที่มีความสามารถในการเจริญได้ในที่อุณหภูมิสูงและมีความสามารถในการควบคุมแมลงที่อุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรา เป็นอีกหนทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่อุณหภูมิสูง B. bassiana จำนวน 3 ไอโซเลท ที่มีความสามารถในการควบคุมแมลงสูง ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมการข้าว ถูกเลือกมาชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสาร ethyl methanesulfonate (EMS) จากนั้นนำมาคัดแยกที่อุณหภูมิ 31 33 และ 35°C พร้อมกับศึกษาความสามารถในการฟื้นฟูของราหลังจากที่ผ่านอุณหภูมิ 33°C เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นย้ายไปบ่มที่ 25°C ดูประสิทธิภาพการงอกของสปอร์ที่ 25°C (หลังจากบ่มที่ 33°C เป็นระยะเวลา 5 10 และ 15 วัน) และนำเชื้อสายพันธุ์กลายที่ได้ไปทดสอบความสามารถในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากผลการศึกษาพบไอโซเลท B. bassiana สายพันธุ์กลาย 1 ไอโซเลท ที่มีขนาดโคโลนีที่ใหญ่กว่า และสร้างสปอร์ที่มากกว่าราต้นแบบ ที่อุณหภูมิ 33°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุด เนื่องจากที่อุณหภูมิ 35°C ไม่พบการเจริญเติบโตของราในทุกไอโซเลท ผลทดสอบการฟื้นฟูของรา พบราสายพันธุ์กลายมีขนาดโคโลนีและปริมาณสปอร์ที่มากกว่าราต้นแบบ ผลการทดสอบการงอกของสปอร์ที่อุณหภูมิ 33°C ไม่พบการงอกของสปอร์ราทั้งไอโซเลทสายพันธุ์กลายและต้นแบบ แต่เมื่อย้ายสปอร์ไปเลี้ยงที่ 25°C (หลังจากการเลี้ยงที่ 33°C) ไอโซเลทสายพันธุ์กลายมีเปอร์เซ็นต์การงอกที่มากกว่าราต้นแบบในทุกชุดการทดลอง และความสามารถในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stål) ของราสายพันธุ์กลายมีค่ามากกว่าราต้นแบบ


ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและการเสื่อมตามอายุของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ที่กลุ่มเรณูได้รับความเสียหาย, ชวิศา สุขพิทักษ์ Jan 2017

ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและการเสื่อมตามอายุของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ที่กลุ่มเรณูได้รับความเสียหาย, ชวิศา สุขพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเสื่อมตามอายุอย่างรวดเร็วของดอกไม้เนื่องจากเอทิลีนนับเป็นปัญหาหลักในอุตสาหกรรมไม้ตัดดอก นอกจากนี้ การหลุดร่วงของกลุ่มเรณูและฝาปิดในขณะเก็บเกี่ยวหรือบรรจุเพื่อเตรียมขนส่งสู่ตลาดอาจส่งผลให้เกิดบาดแผลในดอกย่อยของกล้วยไม้ได้ การทดลองรม 1-MCP ความเข้มข้น 0.5 µl/l เป็นเวลา 3 ชั่วโมงแก่ดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ พบว่าสามารถยืดอายุการปักแจกันและชะลอการหลุดร่วงของดอกได้ ในขณะที่เอทิลีนกระตุ้นให้เกิดการหลุดร่วงของดอกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การทดลองนำกลุ่มเรณูและฝาปิดออกจากดอก พบว่าชุดการทดลองที่มีการนำกลุ่มเรณูและฝาปิดออกจากดอกมีอายุการปักแจกันที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ในขณะที่การรม 1-MCP แก่ดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์มะลิไวท์ที่กลุ่มเรณูและฝาปิดถูกนำออกไป พบว่าชุดการทดลองที่รม 1-MCP มีอายุการปักแจกันเพิ่มขึ้น และมีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของดอกตูมและดอกบานลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม แต่ 1-MCP ไม่มีผลต่อการบานเพิ่มของดอกตูม ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา พบว่าชุดการทดลองที่รม 1-MCP มีเปอร์เซ็นต์การรั่วไหลของประจุและกิจกรรมของเอนไซม์ protease และเอนไซม์ lipoxygenase ลดลง อย่างไรก็ตาม 1-MCP ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนสีของกลีบดอกในกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ โดยสารประกอบฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมของเอนไซม์ polyphenol oxidase และ phenylalanine ammonialyase ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดที่ไม่ได้รม 1-MCP ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า 1-MCP สามารถชะลอการเสื่อมตามอายุของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ได้โดยชะลออาการเสื่อมตามอายุและการสลายตัวของโปรตีนและไขมัน


Taxonomic Revision Of Dendrobium Sw. Section Stachyobium Lindl. (Orchidaceae) In Thailand, Phataravee Prommanut Jan 2017

Taxonomic Revision Of Dendrobium Sw. Section Stachyobium Lindl. (Orchidaceae) In Thailand, Phataravee Prommanut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Taxonomic revision of Dendrobium Sw. section Stachyobium Lindl. in Thailand has been conducted from 2015-2018 based on natural habitats observation in Thailand as well as various herbaria visits, i.e. BCU, BK, BKF, BM, C, CMUB, E, K, KKU and QBG. Key to species, taxonomic descriptions, ecological data, illustrations and geographical distribution of all taxa are provided. Twenty four taxa with including 21 species and 3 varieties were recognized. Among these, two species namely Dendrobium chiangdaoense and D. obchantiae are new to Thailand and two species viz. Dendrobium sp.2 and Dendrobium sp.3 are being proposed as new species. Besides, Dendrobium sp.1 …


Diversity Of Mosses In Phu Kradueng National Park, Loei Province, Patsakorn Ajintaiyasil Jan 2017

Diversity Of Mosses In Phu Kradueng National Park, Loei Province, Patsakorn Ajintaiyasil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of mosses diversity in Phu Kradueng National Park, Loei Province was explored from December 2014 to December 2016. The samples were collected along the 6 natural trails. A total of 501 samples were identified into 30 families, 55 genera, 100 species, 5 subspecies, and 9 varieties. Three families of mosses namely Sphagnaceae, Fissidentaceae, and Leucobryaceae were common families which included 11, 9 and 7 taxa, respectively. Additionally, the most common microhabitat was saxicolous with 45 species. The second and third common microhabitats were terrestrial and corticolous with 43 and 37 species, respectively. Additionally, there are 4 species which …