Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Biochemistry, Biophysics, and Structural Biology

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 15 of 15

Full-Text Articles in Life Sciences

Cloning And Characterization Of Bacterial Mannanase Isolated From Dynastes Hercules Larvae, Sitipon Leerawatthanakun Jan 2017

Cloning And Characterization Of Bacterial Mannanase Isolated From Dynastes Hercules Larvae, Sitipon Leerawatthanakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bacterial isolate HM7 was isolated from Dynastes hercules larvae excrement. It was identified as Bacillus sp. by 16S rRNA gene analysis. When the bacteria were cultured for β-mannanase production in medium containing konjac flour it had the highest specific activity of 138 U/mg at 36 h, and when cultured in medium containing coconut meal it had the highest specific of 114 U/mg at 48 h. The 1089 base pairs long of a β-mannanase encoding gene (Man26HM7) was successfully cloned and expressed in Escherichia coli BL21 (DE3), using pET21-b expression system. The enzyme was purified and characterized. The optimal condition MAN26HM7catalysis …


Oxidative Responses In Transgenic 'Kdml105' Rice Oryza Sativa L. Overexpressing Oscam1-1 Against Drought Stress, Pun Sangchai Jan 2017

Oxidative Responses In Transgenic 'Kdml105' Rice Oryza Sativa L. Overexpressing Oscam1-1 Against Drought Stress, Pun Sangchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The OsCaM1-1 is a rice calmodulin protein which transduces Ca2+ signals to their target protein that is important to regulate cellular and physiological responses. Drought stress is the one of essential environmental stresses that affected the crop by changing in morphological, physiological, and biochemical direction tactics of plants. In this study, the effect of drought stress on growth and antioxidant system in the transgenic rice overexpressing OsCaM1-1 gene was investigated and compared to the control and wild type KDML 105. The overexpression of OsCaM1-1 in transgenic rice could increase plant tolerance to drought stress, the results showed the greater increase …


Mechanisms Of Thai Medicinal Plant Extracts On The Attenuation Of Glutamate-Mediated Neurotoxicity, Anchalee Prasansuklab Jan 2017

Mechanisms Of Thai Medicinal Plant Extracts On The Attenuation Of Glutamate-Mediated Neurotoxicity, Anchalee Prasansuklab

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As the world population ages, neurodegenerative diseases, particularly Alzheimer's disease, are becoming a major public health concern with increasing incidence and prevalence worldwide while no cure currently exists. To challenge this situation, herbal medicine may provide a potential alternative treatment as use of natural-derived substances has been proven to be effective in the prevention and/or treatment of several diseases. During the past decades, increasing evidence has implicated excessive glutamate levels in the pathway of neuronal cell death. Thailand is a place known for cultivating a variety of tropical plants and herbs, so far many of them have never been examined …


Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron Jan 2017

Mechanisms Of Phytochemicals From Murraya Koenigii And Stevia Rebuadiana In Cell Model Of Diabetes, Hepatocellular Carcinoma And Cholangiocarcinoma Under Hyperglycemic Conditions, Nattakarn Nooron

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Diabetes mellitus (DM) is a group of metabolic disorders in which high blood glucose levels over a prolonged period, caused by deficiency of insulin production from the pancreas, or by the insulin resistance. Several epidemiological studies suggest that diabetic population is not only at increased risk of cardiovascular complications, but also at substantially higher risk of many types of malignancies. Hyperglycemia induced free radical reactive oxygen species (ROS) production, which is a major cause of cell injury and organ damage, especially affects pancreatic beta cells. Whereas insulin resistance in skeletal muscle tissue and adipocyte are the major sites of postprandial …


Role Of Progesterone Receptor A And B Isoforms In Lung Neuroendocrine Tumors, Teeranut Asavasupreechar Jan 2017

Role Of Progesterone Receptor A And B Isoforms In Lung Neuroendocrine Tumors, Teeranut Asavasupreechar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lung neuroendocrine tumors (NETs) incidences are increasing in recent years. Women with lung NETs have significantly better survival rates as compared to men suggesting the involvement of sex steroids and their receptors in the progression of lung NETs. Recent data suggested that progesterone receptor (PR) may play a role in the survival of lung NET patients. PR exists as two major isoforms, PRA and PRB. How expression of PR isoforms affects proliferation of lung NETs and patient's survival is not known. To determine the role of PR isoforms in lung NETs, we constructed H727 lung NET cell models expressing PRB …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน, ชญานิน ตั้งสุวรรณศรี Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของรีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน, ชญานิน ตั้งสุวรรณศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ออทิซึมสเปกตรัมเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับการพัฒนาของระบบประสาทและสมองที่มีความชุก 1 ใน 68 คนของเด็กในสหรัฐอเมริกา โดยจะมีระดับความรุนแรงและอาการแสดงทางคลินิกแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ออทิซึมสเปกตรัมจัดเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เป็นที่เชื่อกันว่าสาเหตุของการเกิดโรคนั้นอาศัยปัจจัยร่วมหลายปัจจัย ได้แก่ ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การวินิจฉัยออทิซึมสเปกตรัมในปัจจุบัน ใช้วิธีอิงจากการสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วย วินิจฉัยโรคและความรุนแรงตามลักษณะอาการทางคลินิกเท่านั้น ยังไม่มีสารบ่งชี้ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัย หรือติดตามความรุนแรงของโรคอย่างจำเพาะ โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมมีความผิดปกติในระดับอณูชีวโมเลกุลมากมายทั้งในสมองและเลือด ซึ่งมีหลายประการที่สอดคล้องกับพยาธิสภาพระดับชีวโมเลกุลที่เกิดขึ้นในสมอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียีนหรือโปรตีนชนิดใดที่สามารถใช้ในการอธิบายโรคออทิซึมสเปกตรัมได้ทั้งหมดในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าอาจมีกลไกอื่น ๆ ที่สามารถทำให้เกิดพยาธิสภาพได้ ยิ่งไปกว่านั้น แม้โรคออทิซึมสเปกตรัมจะเป็นโรคที่มีอัตราการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูง แต่มีฝาแฝดร่วมไข่จำนวนไม่น้อยที่คนหนึ่งเป็นโรคแต่อีกคนไม่เป็น หรือมีระดับความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน เนื่องจากฝาแฝดร่วมไข่มีลำดับเบสของดีเอ็นเอที่เหมือนกันทุกประการเมื่อแรกเกิด แสดงให้เห็นว่า กลไกเหนือพันธุกรรมหรือเอพิเจเนติกส์อาจเป็นสาเหตุหรือมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัม รีโทรทรานสโพซอนไลน์วัน (retrotransposon LINE-1) เป็นส่วนของจีโนมที่สามารถเคลื่อนที่ได้ และมีอยู่ถึงประมาณร้อยละ 20 และในจีโนมมนุษย์ อย่างไรก็ตามบทบาทของ LINE-1 ในผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมยังคงไม่ทราบแน่ชัด แต่มีรายงานว่าพบการควบคุมที่ผิดปกติของ LINE-1 ในสมองของหนูที่ขาด MECP2 และมีพฤติกรรมคล้ายออทิซึมสเปกตรัม ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในเซลล์ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม และผลต่อการแสดงออกของยีน รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของยีนนั้น ๆ โดยทำการศึกษาในเซลล์ไลน์เม็ดเลือดขาว (lymphoblastoid cell lines; LCLs) ของผู้ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ร่วมด้วย โดยได้ทำการวิเคราะห์ร่วมระหว่างรายชื่อยีนที่มี LINE-1 แทรกตัวอยู่และมีการแสดงออกที่ผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัม และได้คัดเลือกรายชื่อยีนมาทำการศึกษาบาทหน้าที่ทางชีวภาพ และความสัมพันธ์ของเครือข่ายการควบคุมยีนของยีนเหล่านั้นด้วยโปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis (IPA) ซึ่งพบว่ายีนเหล่านั้นอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทและสมอง ในส่วนของการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในดีเอ็นเอซึ่งสกัดมาจาก LCLs ของผู้ที่เป็นโรคออทิซึมสเปกตรัมและคนปกติ และดำเนินการโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ Combined Bisulfite Restriction Analysis (COBRA) ซึ่งพบว่าใน LCLs ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นออทิซึมสเปกตรัมมีระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับคนปกติ และเมื่อทำการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ในแต่ละกลุ่มของ LCLs ที่เป็นออทิซึมสเปกตรัม ซึ่งถูกจัดแบ่งกลุ่มตามหลักเกณฑ์ของ ADI-R เนื่องจากออทิซึมสเปกตรัมเป็นโรคที่มีลักษณะอาการและความรุนแรงที่หลากหลายมาก คณะผู้วิจัยพบว่าแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 ที่จำเพาะ และในบางกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับเมธิเลชันของ LINE-1 นอกจากนี้ยังพบว่าการเมธิเลชันของ …


ผลและกลไกของสารสกัดจากเมล็ดของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียต่อการกระตุ้นการเจริญของนิวไรท์, สุทิน วันสวัสดิ์ Jan 2017

ผลและกลไกของสารสกัดจากเมล็ดของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียต่อการกระตุ้นการเจริญของนิวไรท์, สุทิน วันสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการสร้างนิวไรท์ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการเจริญพัฒนา การซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย รวมถึงการสื่อสารระหว่างเซลล์ของเซลล์ประสาท ซึ่งหากกระบวนการการสร้างนิวไรท์เกิดความผิดปกติสามารถก่อให้เกิดโรคความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคฮันติงตัน เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์การต้านสารอนุมูลอิสระ และการกระตุ้นการสร้างนิวไรท์จากสารสกัดเมล็ดของหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียในเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงชนิด Neuro2a การศึกษาคุณสมบัติในการต้านสารอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS assays นอกจากนั้นทำการศึกษาอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ประสาทโดยวิธี MTT พร้อมกับศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการงอกของนิวไรท์ ประกอบด้วย Ten-4 และ GAP-43 โดยวิธี Real-time PCR ซึ่งจากการทดสอบพบว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทย และเมล็ดหมามุ่ยอินเดียด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระ และพบว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทย และเมล็ดหมามุ่ยอินเดียไม่เป็นพิษต่อเซลล์ประสาท จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์ และกลไกของสารสกัดจากสมุนไพรต่อการกระตุ้นการงอกของนิวไรท์ โดยพบว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทยด้วยตัวทำละลายเอทานอล สามารถกระตุ้นการสร้างนิวไรท์โดยผ่านการเพิ่มการแสดงออกของยีน Ten-4 และ GAP-43 ในขณะที่สารสกัดจากเมล็ดของหมามุ่ยอินเดียด้วยตัวทำละลายเฮกเซนกระตุ้นการสร้างนิวไรท์โดยผ่านการเพิ่มการแสดงออกของยีน Ten-4 อีกทั้งศึกษาผลการยับยั้งการแสดงออกของยีน Ten-4 ต่อการกระตุ้นการสร้างนิวไรท์ของสารสกัดสมุนไพร ซึ่งพบว่ามีการสร้างนิวไรท์ และความยาวของนิวไรท์ลดลง จากการศึกษาสามารถบ่งชี้ได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยไทย และหมามุ่ยอินเดียสามารถปกป้องเซลล์ประสาทจากสารอนุมูลอิสระได้ และสามารถกระตุ้นการงอกของนิวไรท์โดยผ่านการเพิ่มการแสดงออกของยีน GAP-43 และ Ten-4 ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนายาการกระตุ้นการเจริญพัฒนาของเซลล์ประสาทสำหรับป้องกัน หรือรักษาโรคความผิดปกติของระบบประสาท


การศึกษาผลของการที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอต่อทรานสคริปโตมและอินเทอร์แอกโตมของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมในเซลล์ระบบประสาทของลูกหนู, สุรางค์รัตน์ ทองกร Jan 2017

การศึกษาผลของการที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอต่อทรานสคริปโตมและอินเทอร์แอกโตมของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมในเซลล์ระบบประสาทของลูกหนู, สุรางค์รัตน์ ทองกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder, ASD) คือ โรคทางพัฒนาการระบบประสาทที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่การได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิซึมสเปกตรัมในลูกหนู อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งผลต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์แบบแยกเพศ ในการศึกษาครั้งนี้ ทางคณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาผลของการได้รับบิสฟีนอลเอในขณะตั้งท้องต่อการแสดงออกของยีนในสมองและความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมรวมไปถึงหน้าที่ของเซลล์ระบบประสาท ในการทำนายว่าการได้รับบิสฟีนอลเอสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนและมีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัมหรือไม่ ทางผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์แบบ meta-analysis โดยใช้ข้อมูลการแสดงออกของยีนที่ผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วและใช้การวิเคราะห์แบบ hypergeometric distribution หาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มยีนดังกล่าวกับรายชื่อยีนจากฐานข้อมูลโรคออทิซึมสเปกตรัมต่าง ๆ สำหรับการศึกษาถึงผลของการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องต่อการแสดงออกของยีนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้น คณะผู้วิจัยได้นำสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่แยกได้จากลูกหนูที่แม่ได้รับบิสฟีนอลขณะตั้งท้องมาวิเคราะห์ทางทรานสคริปโตมิกส์ด้วยเทคนิค RNA-seq และใช้โปรแกรม Ingenuity Pathway Analysis วิเคราะห์อินเตอร์แอกโตมและบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติ ยีนที่มีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัมถูกคัดเลือกเพื่อยืนยันด้วยเทคนิค quantitative RT-PCR นอกจากนี้เซลล์ระบบประสาทที่แยกได้จากลูกหนูถูกนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาความยาวของสายใยประสาท การศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ทาง meta-analysis ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับหน้าที่และโรคออทิซึมสเปกตรัม การวิเคราะห์ RNA-seq ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่แยกได้จากลูกหนูที่แม่ได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องพบว่ายีนที่มีการแสดงออกผิดปกติมีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึมสเปกตรัม เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่ากลุ่มยีนที่เคยมีการรายงานว่ามีความผิดปกติในโรคออทิซึมสเปกตรัม ได้แก่ Auts2 Foxp2 และ Smarcc2 แสดงออกผิดปกติอย่างจำเพาะต่อเพศ การวิเคราะห์เชิงอินเตอร์แอกโตมพบว่ายีนที่มีการแสดงออกผิดปกติจากการได้รับบิสฟีนอลเอมีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับบทบาทหน้าที่ทางระบบประสาทที่เคยมีรายงานในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม การวิเคราะห์ความยาวของสายใยประสาทพบว่าการได้รับบิสฟีนอลเอส่งเสริมความยาวของสายใยประสาทและการแตกแขนงของสายใยประสาทแต่ลดขนาดของตัวเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งผลต่อการแสดงออกที่ผิดปกติของยีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและกลุ่มยีนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมและแสดงออกจำเพาะในแต่ละเพศประกอบกับการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งท้องส่งเสริมความยาวของสายใยประสาท การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการได้รับบิสฟีนอลเอขณะตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคออทิซึมสเปกตรัมและอาจจะเป็นหลักฐานที่อธิบายถึงความชุกของโรคนี้ในเพศชายที่มากกว่าเพศหญิงซึ่งควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต


การคัดกรองและการประยุกต์เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์เพื่อการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย Grus Antigone Sharpii Blanford, 1895 ในสภาพกรงเลี้ยง, รังสินี สันคม Jan 2017

การคัดกรองและการประยุกต์เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์เพื่อการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย Grus Antigone Sharpii Blanford, 1895 ในสภาพกรงเลี้ยง, รังสินี สันคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Grus antigone sharpii จัดเป็นนกกระเรียนที่เคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของประเทศไทย การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์นกกระเรียนในกรงเลี้ยงเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรเพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในอนาคตได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของพ่อแม่พันธุ์ตั้งต้น ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์จำนวน 28 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นไพรเมอร์ที่เคยใช้ศึกษาในนกกระเรียน G. americana และนกกระเรียน Anthropoides paradisea เพื่อใช้วิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว (KKOZ, n = 11) และสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ (BB, n = 17) จังหวัดชลบุรี ผลการศึกษาพบว่าไพรเมอร์ทั้ง 28 คู่สามารถเพิ่มปริมาณไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอของนกกระเรียนพันธุ์ไทยได้ แต่มีเพียง 22 คู่ที่แสดงความเป็น polymorphism และมีตำแหน่งไมโครแซทเทลไลท์ที่ปรากฏค่า linkage disequilibrium 8 ตำแหน่ง การเบี่ยงเบนออกจากสมดุล Hardy-Weinberg พบที่โลคัส Gram8 และ Gpa38 ซึ่งเป็นผลมาจาก null allele และการเพิ่มขึ้นของอัลลีลแบบ heterozygous ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยของ expected และ observed heterozygosity มีค่าเท่ากับ 0.63 และ 0.69 ค่า inbreeding coefficient มีค่าเท่ากับ -0.100 ซึ่งแสดงว่านกกระเรียนมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง และเกิด inbreeding น้อย นอกจากนี้ยังพบว่านกกระเรียนจาก KKOZ และ BB มีความแตกต่างทางพันธุกรรมต่ำ (FST = 0.035) และไม่มีการแยกออกเป็นกลุ่มประชากรย่อย (K = 1) จากผลการศึกษาครั้งนี้บ่งบอกได้ว่านกกระเรียนพันธุ์ไทยจาก 2 พื้นที่การศึกษาน่าจะเหมาะสมที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรในกรงเลี้ยงให้มากขึ้น และสามารถนำไปปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติในอนาคตได้


Effects Of Plant Extracts On Melanin Biosynthesis And Melanogenetic Gene Expression In B16f10 Melanoma Cells, Moragot Chatatikun Jan 2017

Effects Of Plant Extracts On Melanin Biosynthesis And Melanogenetic Gene Expression In B16f10 Melanoma Cells, Moragot Chatatikun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Ultraviolet radiation from sunlight is a significant environmental factor in skin damage and can induce hyperpigmentation disorder and aesthetic problem. Development of novel whitening phytochemical compounds from natural products has been become trends recently. The purpose of this study was to find some plant extracts that reduce melanin synthesis and melanogenetic gene expression in alpha-MSH-induced B16F10 mouse melanoma cells. To screen total phenolics and flavonoids, antioxidant activity, and anti-mushroom tyrosinase activity, we used 13 plants which were extracted with petroleum ether, dichloromethane and ethanol solvents, subsequently. We found that total phenolic content of 13 plants extracts was found in the …


การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว Jan 2017

การศึกษาเครือข่ายควบคุมยีนโดยภาวะเหนือพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิซึมสเปกตรัมด้วยการวิเคราะห์ระดับเมธิเลชันของดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu, ธนิต แซ่หลิ่ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคออทิซึมสเปกตรัมเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย การศึกษาก่อนหน้าพบว่าในเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมจะรูปแบบการแสดงออกของยีนแตกต่างจากคนปกติ และยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเมธิเลชันบนดีเอ็นเอในเลือดและสมองของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมซึ่งปฏิกิริยาดีเอ็นเอเมธิเลชันเป็นกลไกที่ควบคุมการแสดงออกของยีน และยังเป็นกลไกที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดีเอ็นเอเคลื่อนที่ Alu หรือ Alu elements เป็นดีเอ็นเอส่วนที่มีจำนวนซ้ำ ๆ ในจีโนม และสามารถเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีนได้ผ่านกลไกเมธิเลชันของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่ควบคุมอัตราการเพิ่มจำนวนตนเองในจีโนม โดย Alu elements มีสัดส่วนการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันสูงถึงร้อยละ 23 ของปฏิกิริยาเมธิเลชันที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนจีโนมของมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาว่ากลุ่มยีนที่แสดงออกผิดปกติในผู้ป่วยโรคออทิซึมสเปกตรัมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับ Alu elements หรือไม่ ในงานวิจัยนี้ผู้ทำวิจัยได้ทำการค้นพบว่ากลุ่มยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่มีระดับแสดงออกของยีนที่ผิดปกติในเลือด หรือเซลล์ไลน์ที่พัฒนามาจากเลือดของผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมผ่านการวิเคราะห์แบบ meta-analysis และโดยผู้ทำวิจัยพบว่ามียีนจำนวน 423 ยีนที่มีการแสดงออกผิดปกติซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์หาบทบาทหน้าที่ทางชีวภาพของกลุ่มยีนเหล่านี้ด้วยเครื่องมือชีวสารสนเทศ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาการของระบบประสาท และมีความเกี่ยวกับโรคที่มีความผิดปกติคล้ายกับโรคออทิซึมสเปกตรัม และนอกจากนี้ผลการศึกษาในเซลล์โมเดลจากผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับและรูปแบบการเกิดปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements ในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมกลุ่มย่อยที่ผ่านการจัดจำแนกกลุ่มผู้ป่วยด้วยข้อมูลแบบสอบถามทางพฤติกรรมสำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัม สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยกลุ่มที่มีระดับเมธิเลชันผิดปกติจะมีรูปแบบการแสดงออกของยีนที่มี Alu elements แทรกตัวอยู่ผิดปกติด้วย ซึ่งข้อมูลการค้นพบใหม่นี้ได้แสดงให้เห็นความถึงสัมพันธ์ระหว่างระดับปฏิกิริยาเมธิเลชันของ Alu elements กับความผิดปกติของระดับการแสดงออกของยีนในผู้ป่วยออทิซึมสเปกตรัมเมื่อมีการจัดจำแนกผู้ป่วยตามลักษณะอาการพฤติกรรมทางคลินิก ซึ่งอาจใช้อธิบายความผิดปกติทางชีวโมเลกุลที่จำเพาะในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้ และอาจพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในเลือดของโรคออทิซึมสเปกตรัมในอนาคตได้


ความหลากชนิดของนกที่ใช้ประโยชน์จากหลังคาเขียวในกรุงเทพมหานคร, ปรมินทร์ เสนานันท์สกุล Jan 2017

ความหลากชนิดของนกที่ใช้ประโยชน์จากหลังคาเขียวในกรุงเทพมหานคร, ปรมินทร์ เสนานันท์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังคาเขียวเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและอาจรองรับสังคมนกโดยให้ที่พักพิง อาหารและแหล่งน้ำ งานวิจัยนี้ศึกษาความหลากชนิดของนกและรูปแบบการใช้ประโยชน์บนหลังคาเขียว 7 แห่งในกรุงเทพมหานครที่มีขนาดพื้นที่และสัดส่วนพื้นที่สีเขียวแตกต่างกัน โดยสำรวจนกบนหลังคาเขียวทุกเดือนระหว่างเมษายน 2559-พฤษภาคม 2560 พบนกรวม 26 ชนิดและนกส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น พบนก 7-18 ชนิดบนหลังคาเขียว นกกินปลีอกเหลือง Cinnyris jugularis เป็นนกที่พบบนทุกหลังคาเขียว นกกระจอกบ้าน Passer montanus เป็นนกที่มีความชุกชุมสูงสุดโดยมักปรากฏเป็นฝูงใหญ่ พบนกอพยพบางชนิด เช่น นกอัญชันป่าขาเทา Rallina eurizonoides นกแซงแซวสีเทา Edolius leucophaeus นกขมิ้นท้ายทอยดำ Oriolus chinensis นกกระเบื้องผา Monticola solitarius และนกอีเสือสีน้ำตาล Lanius cristatus การหาอาหารและการเกาะพักเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่มีความถี่สูงสุด (ร้อยละ 47 และ 31 ตามลำดับ) นกใช้ไม้ยืนต้นสำหรับการเกาะพักและการเคลื่อนที่ ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพบางประการส่งผลต่อสังคมนกที่ใช้ประโยชน์บนหลังคาเขียว ดังนั้นหลังคาเขียวจึงมีศักยภาพในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเมือง


Cloning And Characterisation Of Alternansucrase From Leuconostoc Citreum Abk-1 And Role Of Surface Aromatic Acids On Product Size, Karan Wangpaiboon Jan 2017

Cloning And Characterisation Of Alternansucrase From Leuconostoc Citreum Abk-1 And Role Of Surface Aromatic Acids On Product Size, Karan Wangpaiboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The alternansucrase (ALT, EC 2.4.1.140) catalyses transferring of glucose from sucrose to produce a polymer with α-1,6 and α- 1,3 linkages, so-called "alternan". The ALT-encoding gene from Leuconostoc citreum ABK-1 (WTalt) was successfully cloned and expressed in Escherichia coli BL21 (DE3). The two versions of truncated SH3-like domains, ∆3SHALT and ∆7SHALT, were successfully constructed. The WTALT, ∆3SHALT and ∆7SHALT possessed optimum temperature of 40 °C, while optimum pH of WTALT was at 5.0 but ∆3SHALT's and ∆7SHALT's were shifted to pH 4.0. Their activities could be enhanced by Mn²⁺. Kinetic studies of all ALTs were mainly responsible for transglycosylation activity …


Expression And Characterization Of Α-Glucosidase From Weissella Confusa Bbk-1, Lalita Silapasom Jan 2017

Expression And Characterization Of Α-Glucosidase From Weissella Confusa Bbk-1, Lalita Silapasom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alpha-glucosidase [EC 3.2.1.20; α-D-glucoside glucohydrolase] is an exohydrolase which catalyzes non-reducing end of substrates to release D-glucose. In addition, alpha-glucosidase also displays a transferase activity, which bring about the formation of α-glucosylated compounds such as soluble starch and glycogen. This research aims to express and characterize α-glucosidase from Weissella confusa BBK-1 (WcAG). WcAG gene was expressed in modified pET28b vector. This gene contained an open reading frame of 1,775 bps. Optimum expression condition of WcAG was cultured in LB medium containing 1% (w/v) glucose and induced with 0.4 mM IPTG at 20°C for 20 h. The recombinant WcAG containing his-tag …


Synthesis Of Fisetin Glycosides By Cyclodextrin Glycosyltransferase From Paenibacillus Sp. Rb01, Nattawadee Lorthongpanich Jan 2017

Synthesis Of Fisetin Glycosides By Cyclodextrin Glycosyltransferase From Paenibacillus Sp. Rb01, Nattawadee Lorthongpanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fisetin is a flavonoid which was widely exerted in pharmacological industries. However, fisetin has low water solubility and unstable in aqueous solution. So the uses of fisetin have been limited. The purpose of this study was to increase water solubility of fisetin by transglycosylation reaction using cyclodextrin glycosyltransferase (CGTase) from Paenibacillus sp. RB01. The reaction had to perform in co-organic solvent system and DMSO at 40% (v/v) was proved to be the most suitable co-organic solvent since it provided the high enzyme stability and high production yield. Moreover, the types of glycosyl donor were also determined and β-cyclodextrin was found …