Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Animal Sciences

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Life Sciences

ความหลากหลายของจีนเคซีนของแพะนมในประเทศไทย, นภารัตน์ เนาวนัด Jan 2020

ความหลากหลายของจีนเคซีนของแพะนมในประเทศไทย, นภารัตน์ เนาวนัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความหลากหลายของจีนเคซีนทั้ง 4 ชนิดในฐานะของจีนแคนดิแดท ที่มีผลต่อลักษณะการปริมาณน้ำนมในแพะจำนวน 65 ตัวแบ่งเป็นกลุ่มแพะที่มีบันทึกการให้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 1 ลำดับการให้นมและมีข้อมูลของลูกแพะ จำนวน 26 ตัว และกลุ่มแพะที่ไม่มีบันทึกการให้ผลผลิต จำนวน 35 ตัว จากการตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีนทั้ง 4 ชนิดด้วยวิธี DNA sequencing พบอัลลีลของจีนอัลฟาเอส 1 เคซีนทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ A, C และ E มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.577, 0.177 และ 0.246 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA, AC, AE, CC และ EE เท่ากับ 0.292, 0.292, 0.277, 0.031 และ 0.108 ตามลำดับ จีนเบต้าเคซีน พบอัลลีลทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ A และ F มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.538 และ 0.462 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA, AF และ FF เท่ากับ 0.246, 0.585 และ 0.169 ตามลำดับ จีนอัลฟาเอส 2 เคซีน พบอัลลีลทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ A และ B มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.862 และ 0.138 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA และ AB เท่ากับ 0.723 และ …


แนวโน้มทางพันธุกรรมของระยะเวลาอุ้มท้องและความสัมพันธ์ของระยะเวลาอุ้มท้องกับลักษณะทางการสืบพันธุ์ในแม่สุกร, ระวิวรรณ บำเพ็ญกุล Jan 2020

แนวโน้มทางพันธุกรรมของระยะเวลาอุ้มท้องและความสัมพันธ์ของระยะเวลาอุ้มท้องกับลักษณะทางการสืบพันธุ์ในแม่สุกร, ระวิวรรณ บำเพ็ญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลสุกรพันธุ์แท้แลนด์เรซ (Landrace, LR) ลาร์จไวท์ (Large White, LW) ดูรอค (Duroc, DR) และข้อมูลสุกรลูกผสมที่มาจากฟาร์มสุกรเชิงพาณิชย์ จำนวน 158,313 บันทึก เป็นข้อมูลของแม่สุกรที่คลอดในปี 2549 ถึง 2562 ถูกนำมาวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยคงที่ด้วยวิธี GLM ในโปรแกรม SAS และประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนด้วยวิธี average information restricted maximum likelihood (AI - REML) ผลการศึกษาพบว่า พันธุ์สุกรและลำดับอุ้มท้องมีอิทธิพลต่อทุกลักษณะที่ทำการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ฝูง - ปี - เดือนที่ผสมพันธุ์มีอิทธิพลต่อระยะเวลาอุ้มท้องของแม่สุกร (gestation length, GL) และจำนวนลูกสุกรแรกเกิดทั้งหมด (total number of piglets born, TB) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ฝูง - ปี - เดือนที่แม่สุกรคลอดลูกมีอิทธิพลต่อจำนวนลูกสุกรเกิดมีชีวิต (number of piglets born alive, BA) จำนวนลูกสุกรตายแรกเกิด (number of stillborn piglets, SB) และน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยของลูกสุกร (average birth weight, BW) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ค่าอัตราพันธุกรรมของ GL TB BA SB และ BW มีค่าเท่ากับ 0.20 ± 0.00, 0.10 ± 0.00, 0.09 ± 0.00, 0.03 ± 0.00 และ 0.12 ± 0.01 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง GL กับ TB และ GL กับ BA มีค่าใกล้ศูนย์ (P < 0.05) ไม่พบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง GL กับ SB และ GL กับ BW (P > 0.05) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB กับ BA มีค่าเท่ากับ 0.99 ± 0.00 ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB กับ SB และ BA กับ SB มีค่าเท่ากับ 0.49 ± 0.05 และ 0.40 ± 0.05 ตามลำดับ และค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB กับ BW และ BA กับ BW มีค่าเท่ากับ -0.56 ± 0.03 และ -0.59 ± 0.02 ตามลำดับ แนวโน้มทางพันธุกรรมของ GL มีค่าเพิ่มขึ้น 0.02 ± 0.01 และ 0.03 ± 0.01 วันต่อปี ในสุกรพันธุ์ LR และ LW ตามลำดับ และมีค่าลดลงเท่ากับ -0.02 ± 0.01 วันต่อปี ในสุกรพันธุ์ 50LW …