Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 101

Full-Text Articles in Law

แนวทางของระบอบกฎหมายในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ, นิพิฐพนธ์ ฮุ่นตระกูล Jan 2017

แนวทางของระบอบกฎหมายในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ, นิพิฐพนธ์ ฮุ่นตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ (areas beyond national jurisdiction) ซึ่งได้แก่ทะเลหลวงและบริเวณพื้นที่ (the Area) มีขนาดกว้างใหญ่ไพศาลและเป็นแหล่งของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ในปัจจุบัน มีการใช้สิ่งมีชีวิตในรูปแบบใหม่โดยอาศัยคุณสมบัติทางพันธุกรรมและมีการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 มีขอบเขตการใช้บังคับเฉพาะกับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐภาคี ส่วนอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ก็ไม่มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลโดยตรง จึงนำมาสู่ปัญหาที่น่าพิจารณาว่า ในปัจจุบันมีกฎหมายระหว่างประเทศใดบ้างที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ และหากกฎหมายที่มีอยู่ไม่เพียงพอ จะมีหนทางแก้ไขสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ เนื่องจากมุ่งเน้นกำหนดหลักเกณฑ์การอนุรักษ์จัดการชนิดพันธุ์บางอย่างที่มีการแสวงประโยชน์เป็นหลัก โดยให้น้ำหนักแก่การคุ้มครองระบบนิเวศอย่างเป็นองค์รวมน้อยกว่า ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติที่กำหนดเพียงหลักการทั่วไป แม้จะมีกฎหมายบางฉบับกำหนดมาตรการปฏิบัติแต่ก็มีขอบเขตการใช้บังคับไม่ครอบคลุมพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐทั้งหมด อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องจัดทำความตกลงฉบับใหม่เพื่อวางระบอบกฎหมายเฉพาะในการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐอย่างยั่งยืน โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเล การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้มาตรการคือพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุมทั้งระบบนิเวศและชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตจากผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ การเสริมสร้างความสามารถและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้รัฐภาคีโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ที่ความตกลงกำหนด รวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับองค์กรและกลไกในการดำเนินการตามความตกลง และกระบวนการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามและการบังคับใช้กฎหมาย


Asean Way: Challenges To Asean Capital Market Integration, Tir Srinopnikom Jan 2017

Asean Way: Challenges To Asean Capital Market Integration, Tir Srinopnikom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research argues that the ASEAN Way of respecting sovereignty, non-interference, consensus and flexibility causes partial success of ASEAN capital market integration. Although the ASEAN Way is vital to the existence of ASEAN, and there are several innovations that were built on the basis of the ASEAN Way, such as regional cooperation concerning bond market development, financial services liberalisation and investor protection. However, the ASEAN Way has significantly influenced the intensity of institutionalisation and legalisation processes of ASEAN regionalisation. Critically, there remain significant disparities in the regulatory, normative, and cognitive institutions in the financial markets among the ASEAN countries. This …


ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในการครอบครอง, วิทวัส โรจน์รังสีธรรม Jan 2017

ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในการครอบครอง, วิทวัส โรจน์รังสีธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้น นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยราคาขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์นั้นต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิทางบัญชี (Net Asset Value หรือ NAV) หารด้วยจำนวนหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้ไม่ว่าบริษัทนั้นจะมีอสังหาริมทรัพย์หรือไม่มีอสังหาริมทรัพย์ในการครอบครอง อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นยังมีความไม่เหมาะสมในหลายประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขาย หุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนศึกษากฎหมายของประเทศฟิลิปปินส์และ ประเทศอินเดียที่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำ แนวทางของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินเดียมาปรับใช้ โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นอาศัย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขาดความเหมาะสมในด้านความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์การจัดเก็บ ภาษีเงินได้จากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งขาดการปรับปรุงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ก่อน การคำนวณภาษีจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งมีการถ่ายโอนกำไรจากการขายหุ้น ระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีอากรในประเทศไทย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อนักลงทุนหรือผู้ใช้กฎหมายที่อาจขาดความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทยอย่างไรก็ตาม จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรกำหนดข้อกฎหมายให้มีความชัดเจน แน่นอนและกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ให้มีความเหมาะสม นอกจากนี้ควรปรับปรุงมูลค่าที่แท้จริงของอสังหาริมทรัพย์ด้วยราคาประเมินของ กรมธนารักษ์ก่อนการคำนวณภาษีจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์โดยนาแนวทางในการจัดเก็บ ภาษีจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินเดียมาปรับใช้ อีกทั้ง ภาครัฐควรมีมาตรการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับต่างประเทศเพื่อป้องกันการถ่ายโอนกาไรจากการขายหุ้น ระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อประโยชน์และความยุติธรรมต่อการจัดเก็บภาษีอากรต่อไป


การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด, ลินดา ลิ้มสกุล Jan 2017

การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด, ลินดา ลิ้มสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาหัวข้องานเอกัตศึกษาเรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่า บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรอยู่ภายใต้กฎหมายการ บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560หรือไม่ เนื่องจากใน มาตรา 4(2) บัญญัตินั้น มีบทบัญญัติยกเว้น มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำของ “รัฐวิสาหกิจ” องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ดำเนินการตามกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษา ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่ง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นหนึ่งในองค์กรรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย การศึกษาดังกล่าวจะช่วยให้เอกชนผู้ประกอบธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ได้รับประโยชน์และ ความเป็นธรรมจากการแข่งขันทางการค้าในตลาดการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และกิจการไปรษณีย์ ทำให้ได้รับการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมที่สุด บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรอยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากการให้บริการของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในปัจจุบัน มีความมุ่งหวังตลาดเดียวกับเอกชนผู้ประกอบธุรกิจอย่างเดียวกันในตลาดด้วย ข้อจำกัดและข้อยกเว้นดังกล่าวถึงไม่ควรเหมารวมกิจการไปรษณีย์ ใน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ทั้งหมดว่าเป็นไป เพื่อ “ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค”ตามมาตรา 4(2) แห่ง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อย่างเดียว ควรมีมาตรการในการจำแนกกิจการว่ากิจการใดอยู่ในข่ายที่ควรได้รับยกเว้นตามมาตรา 4(2) และกิจการใดไม่ โดยตีความตามลักษณะ ว่า “เป็นการแข่งขันกับเอกชน” หรือ “เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยหากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ดำเนินกิจการในลักษณะการแข่งขันกับเอกชนในตลาด โดยใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ หรือใช้กำไรจากบริการที่ผูกขาดไปรษณีย์มาสนับสนุนกิจการ undertaking เห็นเป็นการสมควรต้องบังคับตามกฎหมายพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยมิให้ใช้ยกเว้นหรือประโยชน์จากอำนาจสิทธิขาดที่ได้รับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มา พิจารณาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการศึกษาถึงประเด็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ว่าสมควรตกอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย สมมติฐานของการศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยไม่ได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติของกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการศึกษา …


มาตรการการควบรวมธุรกิจธนาคารภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย, วราพร สิริมงคลนิวัติ Jan 2017

มาตรการการควบรวมธุรกิจธนาคารภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย, วราพร สิริมงคลนิวัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การควบรวมกิจการเป็นหนึ่งในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนการทางธุรกิจในการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจการควบคุมกิจการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจดังเช่นกิจการอื่นๆ การควบรวมหลายครั้งที่เป็นผลดีต่อการแข่งขันและผู้บริโภค โดยทาให้กิจการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในหลายการควบรวมก็เป็นการเปลี่ยนกลไกทางตลาดโดยทำให้ราคาสูงขึ้นคุณภาพของสินค้าและบริการแย่ลง หรือการก่อให้เกิดนวัตกรรมลดลงเนื่องจากเป็นการทำให้การแข่งขันลดลงหรือเกิดภาวะที่นำไปสู่การผูกขาด จากการที่กิจการธนาคารเป็นหนึ่งในสถาบันการเงิน การควบรวมกิจการธนาคารจึงอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้กิจการจะต้องยื่นคำขอควบรวมกิจการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาก่อน แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาของธนาคารแห่งประเทศไทยรวมถึงไม่ได้มีการกล่าวถึงหรือให้ความสำคัญในด้านการแข่งขันทางการค้า ประกอบกับในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มีการระบุถึงข้อยกเว้นในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้กับกิจการที่มีกฎหมายกำกับดูแลเฉพาะในเรื่องการแข่งขันทางการค้า จึงทำให้ปัจจุบันการควบรวมกิจการธนาคารยังคงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าต่อไปในบริบทของประเทศไทย การพิจารณาการควบรวมกิจการธนาคารโดยธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเหมาะสมดีอยู่แล้วตามความเห็นของผู้เขียน เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและธนาคารเป็นกิจการที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกิจการทั่วไป ประกอบกับเป็นการลดภาระการทางานที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ อีกทั้งลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสาหรับผู้ประกอบธุรกิจที่จะต้องยื่นเรื่องกับหลายหน่วยงานจึงเห็นควรให้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ในการพิจารณาด้านการแข่งขันทางการค้าในกฎหมายที่กำกับดูแลกิจการธนาคารไปด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2560 และทำให้ การควบรวมกิจการธนาคารจะสามารถอยู่ภายใต้การกากับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทยโดยอาจขอความเห็นจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าประกอบด้วย เพราะท้ายที่สุด แม้การแข่งขันทางการค้าที่เสรีหรือการที่กิจการอยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทางทฤษฎี หากแต่การมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจและการพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญนั้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องให้น้ำหนักเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและมองผลกระทบรอบด้านให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจใดๆ


แนวทางในการนำหลักการและสิทธิประโยชน์ของการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (Investment Tax Allowance : Ita) มาใช้แทนการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย, ชนิกานต์ เปรมจิตประพันธ์ Jan 2017

แนวทางในการนำหลักการและสิทธิประโยชน์ของการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (Investment Tax Allowance : Ita) มาใช้แทนการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย, ชนิกานต์ เปรมจิตประพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในรูปของการลงทุนในประเทศ และด้วยนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Economy) ทำให้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราไม่เกินร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี และการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (ITA) อย่างไรก็ตามการที่ประเทศไทยส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นภาวะทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็มีภาระที่ต้องแบกรับต้นทุนจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวเช่นกัน ประการสำคัญ ปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุน นักลงทุนต่างชาติไม่ได้พิจารณาปัจจัยด้านภาษีเงินได้เพียงปัจจัยเดียว หากแต่ขึ้นกับหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยจากธนาคารโลก ระบุว่า การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้วในประเทศพัฒนาแล้วส่วนประเทศกำลังพัฒนากำลังทยอยยกเลิกมาตรการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษามาตรการภาษีในประเทศไทยเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของประเทศมาเลเซียและประเทศญี่ปุ่นเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและนำมาปรับใช้กับมาตรการภาษีของประเทศไทย จากการศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายของทั้ง 3 ประเทศ พบว่า มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีอากรเป็นจำนวนที่มากกว่ามาตรการ ITA เนื่องจาก มาตรการ ITA จะให้สิทธินำเงินที่ใช้ไปในการลงทุนมาหักเพียงไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินลงทุนนั้น คือ อย่างน้อยที่สุดเงินได้จำนวนร้อยละ 30 ยังคงต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราปกติ ซึ่งทำให้รัฐบาลมีงบประมาณที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้ต่อไป และหากปีใดไม่เกิดการลงทุนเพิ่มเติม ปีนั้นอาจไม่ได้ใช้สิทธิ ITA ในส่วนนี้ แสดงให้เห็นว่า มาตรการ ITA นี้สะท้อนกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนมากที่สุด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่ามาตรการ ITA ย่อมส่งผลดีกับรัฐบาลมากกว่า เพราะจะช่วยลดการสูญเสียรายได้ที่เป็นผลมาจากการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อีกทั้งภาระภาษีที่ผู้ลงทุนต้องเสียนั้นก็ขึ้นกับการลงทุนตามความเป็นจริง ซึ่งหากผู้ลงทุนต้องการที่จะเสียภาษีน้อย หมายความว่า ผู้ลงทุนต้องลงทุนในปริมาณที่มาก หากเป็นเช่นนี้แล้วจึงบรรลุวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมและการดึงดูดนักลงทุนที่แท้จริง แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper Middle Income Country) แล้ว แต่สุดท้ายก็ต้องพัฒนาประเทศเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทย ประเทศไทยควรมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยนำรูปแบบการหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุน (ITA) จากประเทศมาเลเซียและประเทศญี่ปุ่นในส่วนที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับกฎหมายไทยต่อไป


สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ, ชไมพร อยู่สุข Jan 2017

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ, ชไมพร อยู่สุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเรื่อง “สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ” มุ่งศึกษาแนวทางในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ เพื่อเป็นการเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ของกิจการต่อไปทั้งนี้ยังเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี จากการศึกษาพบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ดังนี้ 1.นิติบุคคลได้รับความเดือดร้อนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการตามความสำคัญของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นที่มีต่อกิจการ โดยนิติบุคคลต้องเตรียมตัวดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สามารถยังคงดำเนินธุรกิจของตนต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ และมีกำไรตามเป้าหมาย ทั้งเรื่องที่ตั้งสถานประกอบการ แรงงาน ทุน และการบริหารจัดการภายในองค์กร อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ได้แก่ แรงงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ โดยรวมส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ การผลิตหรือการให้บริการของประเทศ การบริโภคของประชาชน การจ้างแรงงาน การกระจายรายได้ และการดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบสุขของคนในสังคม 2.ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่รัฐนำมาใช้เป็นราคาพื้นฐานในการคำนวณเงินค่าทดแทนสำหรับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จากประชาชน เป็นราคาประเมินทุกๆ 4 ปี และส่วนใหญ่มักจะต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการลดค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่ประชาชนต้องจ่ายแก่รัฐ ทำให้ราคาประเมินไม่ได้สะท้อนมูลค่าตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างแท้จริง ส่งผลให้เงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนได้รับอาจต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อีกทั้งโครงการบริการสาธารณะต่างๆ ของรัฐที่ต้องดำเนินการหลังจากการเวนคืนก็จะเกิดความล่าช้าและได้รับความเสียหาย 3.นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนมีภาระภาษีที่เกิดจากเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากจำนวนเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่รัฐจ่าย โดยถือเป็นเครดิตภาษีและภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรจากการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น จากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการข้างต้น ประกอบกับการศึกษากฎหมายการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับกรณีดังกล่าวโดยเฉพาะเพื่อเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้นิติบุคคลมีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องต่อไป


ปัญหาการไม่นำหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการคำนวณเงินสำรองเพื่อหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิต, จณัญญา รังสิพราหมณกุล Jan 2017

ปัญหาการไม่นำหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการคำนวณเงินสำรองเพื่อหักรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิต, จณัญญา รังสิพราหมณกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษากฎหมายภาษีอากรของประเทศไทยเกี่ยวกับการหักรายจ่ายเงินสำรองของบริษัท ประกันชีวิต พบว่าปัจจุบันสามารถหักรายจ่ายเงินสำรองเบี้ยประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันชีวิตที่กัน ไว้ก่อนคำนวณกำไร ในอัตราไม่เกินร้อยละ 65 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ และเงินสำรองเบี้ย ประกันภัยเพื่อสมทบทุนประกันภัยอื่นที่กันไว้ก่อนคำนวณกำไร ในอัตราไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวน เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งอัตราร้อยละต่อเบี้ย ประกันภัยรับสุทธิดังกล่าว ยังไม่สะท้อนถึงความเสี่ยงที่แท้จริง ทาให้การนำส่งรายได้เข้ารัฐยังไม่มี ความเหมาะสมและเป็นธรรม และยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล ที่เงินสำรองดังกล่าวจะได้จาก การคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการรองรับจากสานักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือที่เรียกว่าหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัย สภาพปัญหาที่พบมาจากการที่เงินสำรองเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตในปัจจุบัน มีการ ประเมินมูลค่าที่สูงขึ้น จากปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น แบบประกันชีวิตที่มีจานวนเงินเอาประกันภัยสูง มี ผลประโยชน์สูง เป็นต้น เมื่อศึกษาถึงเงินสำรองเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ เพื่อหาสัดส่วน เงินสำรองต่อเบี้ยประกันภัยรับสุทธิ พบว่ามีสัดส่วนในอัตราที่สูงกว่าอัตราร้อยละที่สรรพากรอนุญาต ให้หักรายจ่ายทางภาษีอากรค่อนข้างมาก ซึ่งการประเมินมูลค่าเงินสำรองเบี้ยประกันภัยในปัจจุบัน ประเมินมูลค่าด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งการมีเงินสำรองเบี้ยประกันภัยเป็นรายจ่ายตาม ความเป็นจริงสูงกว่าอัตราที่สรรพากรอนุญาตให้หักรายจ่ายได้ ส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัท ประกันชีวิต ในการชำระภาษีเพิ่มเติมในส่วนของเงินสำรองที่เกินจากหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากร ทาให้บริษัทต้องแบกรับภาระภาษีที่เกินสมควร นอกจากนี้ ส่งผลต่อต้นทุนในการออกและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตบางประเภทสู่ตลาดเพื่อการแข่งขัน เช่น ประกันชีวิตแบบเงินออมระยะสั้น เป็น ต้น ทำให้ประชาชนผู้ลงทุนในการทำประกันชีวิตมีทางเลือกในการลงทุนลดลง ไม่เกิดการกระตุ้นตลาด การประกันชีวิต ทำให้แข่งขันกับธุรกิจอื่นๆ ได้ยาก นอกจากนี้ ทำให้บริษัทมีเม็ดเงินลงทุนลดลง ซึ่ง ด้วยลักษณะของธุรกิจประกันชีวิต เป็นบริษัทที่มีการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในหุ้นทุน เพื่อให้ ได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมายและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ได้เสนอขายไป และสามารถ จ่ายผลประโยชน์ต่างๆ คืนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันชีวิตได้ จากการที่แนวโน้มของสัดส่วนของเงินสำรองเบี้ยประกันภัยต่อเบี้ยประกันภัยรับสุทธิค่อนข้างสูง จึงได้มีการศึกษาแนวทางการนำหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการคำนวณเงินสำรองเพื่อหัก รายจ่ายในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในการบันทึกบัญชีของบริษัท ประกันชีวิต ทาให้บริษัทไม่ต้องรับภาระภาษีที่เกินสมควร จากรายจ่ายส่วนเกินที่ไม่สามารถหักได้ตาม ความเป็นจริง ทำให้การนำส่งรายได้เข้าสู่ภาครัฐมีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วย หลักคณิตศาสตร์ประกันภัยสามารถนำมาซึ่งมูลค่าที่ใกล้เคียงกับความเสี่ยงที่แท้จริง และสามารถ แก้ปัญหาในหลายๆ ด้าน ที่กระทบต่อธุรกิจประกันชีวิต นอกจากนี้ เมื่อมีการศึกษากฎหมายภาษี อากรของต่างประเทศ คือประเทศออสเตรเลียและประเทศสิงคโปร์ พบว่ามีการระบุหลักเกณฑ์การ ประเมินมูลค่าไว้อย่างชัดเจน โดยมีการนำหลักทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมาใช้ในการประเมินมูลค่า หนี้สินตามกรมธรรม์ประกันภัย โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มาประเมินมูลค่า ต้องได้รับการรองรับ จากหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถใช้เงินสำรองเบี้ยประกันภัยจากหลักทาง คณิตศาสตร์ประกันภัยมาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากรได้เหมือนในต่างประเทศ จะสามารถลดความ เสี่ยงที่บริษัทได้รับ …


มาตรการในการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติ : วิเคราะห์ความเหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับประเทศไทย, ธนวดี กังน้อย Jan 2017

มาตรการในการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติ : วิเคราะห์ความเหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับประเทศไทย, ธนวดี กังน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งมีการดำเนินไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการพัฒนากฎหมายภาษีอากรของแต่ละประเทศที่ยังปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่ทันสมัย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลรัษฎากรของไทยปัจจุบันยังไม่สามารถใช้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้อย่างครบถ้วน จากมูลค่าการตลาดที่สูงมากของการให้บริการตลาดดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น การโฆษณาผ่านกูเกิ้ลหรือเฟซบุ๊ก ซึ่งมูลค่าการค้าดังกล่าวประกอบด้วยผู้ประกอบการไทยและผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติแต่มีเฉพาะผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง ในขณะที่ผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติที่ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ แต่มีการใช้บริการในประเทศไทย รัฐสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้อย่างไม่ครบถ้วน ทั้งกรณีการค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ (B2B) มีประเด็นปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้เนื่องจากไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย หรืออาจจะเกิดจากการตีความคำนิยามเพื่อที่จะระบุว่าเป็นการประกอบกิจการในประเทศหรือไม่ รวมถึงช่องว่างของอนุสัญญาภาษีซ้อนที่เปิดโอกาสให้มีการโอนย้ายกำไรซึ่งเป็นฐานภาษีเงินได้ไปยังต่างประเทศ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ให้บริการออนไลน์ในประเทศไทยที่มีการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน กรณีปัญหาจากการค้าขายระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) คือ ประมวลรัษฎากรปัจจุบันยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนที่จะบังคับให้ผู้รับบริการที่เป็นบุคคลธรรมาดนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่รัฐได้ ดังนั้น กรมสรรพากรได้ออกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ....โดยนำกฎหมายของอินเดียมาใช้เป็นต้นแบบในการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ให้มีบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศแก่ผู้รับบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย โดยใช้กลไกการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยแต่ผู้เขียนมีความเห็นว่ากลไกการจดทะเบียนภาษียังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีกับผู้ให้บริการออนไลน์ที่อยู่นอกประเทศไทยได้อย่างแท้จริง ดังนั้น รัฐควรแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้จากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติ โดยนำมาตรการทางภาษี Equalisation Levy มาใช้เพื่อทำให้เกิดความเสมอภาคสำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ซึ่งมาตรการดังกล่าวยังเป็นแนวทางการแก้ไขการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ของธุรกิจดิจิทัลตามหลักขององค์การเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) เพื่อให้มั่นใจว่ากำไรที่เกิดขึ้นในทุกที่ในโลกต้องมีการจัดเก็บภาษีอย่างถูกต้อง กรณีธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภคควรแก้ไขโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้รับบริการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นแรงจูงใจในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการนำส่งภาษีภาษีให้กับรัฐโดยตัวกลางทางการเงิน จะช่วยแก้ไขปัญหาจากการไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการออนไลน์ต่างชาติได้ตามร่างพระราชบัญญัติฯ และแก้ไขปัญหาการเกิดช่องว่างทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เงินที่เป็นรายได้ของรัฐบาลไหลออกนอกประเทศจำนวนมาก รวมถึงปัญหาความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศไทย


การคุ้มครองผู้บริโภคในการจองที่พักออนไลน์ : ศึกษากรณีการจองที่พักออนไลน์จากผู้ประกอบการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ, นวรัตน์ ชวนไชยสิทธิ์ Jan 2017

การคุ้มครองผู้บริโภคในการจองที่พักออนไลน์ : ศึกษากรณีการจองที่พักออนไลน์จากผู้ประกอบการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ, นวรัตน์ ชวนไชยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากรูปแบบการจองที่พักหรือโรงแรมแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางสำคัญทางหนึ่งให้ผู้บริโภคสามารถเลือกจองที่พักล่วงหน้าได้อย่างง่ายดายสะดวกรวดเร็วขึ้นและสามารถเลือกจองได้ในราคาถูก และรูปแบบการจองออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ซึ่งถือเป็นตัวกลางในการดาเนินธุรกิจท่องเที่ยวรูปแบบนี้เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาเกิดขึ้นและทาให้ผู้ซื้อผู้บริโภคไม่ได้รับความคุ้มครองมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาในประเทศไทยจากการที่ผู้จองที่พักผ่านเว็บไซต์ของบริษัทผู้ประกอบการต่างชาติ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างชาติจดทะเบียนอยู่ต่างประเทศ แม้จะมีการดาเนินธุรกิจมีสาขามีภูมิลาเนาประกอบธุรกิจในไทยก็ตาม แต่ผู้จองที่พักผ่านเว็บไซต์ต่างๆเหล่านั้น ไม่สามารถเข้าพักตามที่จองไว้ได้ และกฎหมายก็ยังไม่สามารถเอาผิดครอบคลุมบริษัทนิติบุคคลผู้ประกอบการต่างชาติได้ รวมถึงไม่สามรถตรวจสอบความมีตัวตนหรือการจดทะเบียนประกอบธุรกิจได้ เนื่องจากนิติบุคคลผู้ประกอบการต่างชาติไม่ปฏิบัติตามระบบการจดทะเบียนประกอบธุรกิจภายใต้กฎหมายไทย นอกจากนี้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคยังไม่สามารถเรียกร้องให้ผู้ประกอบการต่างชาติรับผิด หรือไม่สามารถเรียกให้เยียวยาความเสียหายได้ จึงได้ทาการศึกษาเอกัตศึกษาฉบับนี้ เพื่อปรับแก้กฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันรวมถึงศึกษาหาแนวทางเพิ่มมาตรการเพื่อให้สามารถเรียกร้องให้ผู้ประกอบการเว็บไซต์ซึ่งมีสถานะทางกฎหมายเป็นตัวแทนทางการค้า และเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางหรือที่เรียกว่าผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง รับผิดตามกฎหมาย และเพื่อให้มีการควบคุมตรวจสอบความมีตัวตนของบริษัทผู้ประกอบการเว็บไซต์จองที่พักออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นผู้ประกอบการต่างชาติซึ่งมาประกอบธุรกิจในลักษณะเป็นตัวแทนทางการค้าในไทยและมีสำนักงานสาขาซึ่งถือเป็นภูลาเนาในไทยได้อย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การคุ้มครองผู้บริโภคจากการสารองจองที่พักผ่านเว็บไซต์ได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้น ดังนี้ การปรับแก้กฎหมายพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 โดยการเพิ่มค่านิยามให้มีการระบุถึงผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงให้มีความชัดเจนกินความถึงกรณีผู้ประกอบการต่างชาติที่มาตั้งสานักงานสาขาในไทยด้วย ประกอบกับเรื่องการควบคุมดูแลบริษัทผู้ประกอบการเว็บไซต์ที่เป็นต่างชาติประกอบธุรกิจในไทย นอกจากจะมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องให้ผู้ประกอบการพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใต้พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันแล้วนั้น ก็ควรปรับแก้ ประกาศคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคาขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงและการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ภายใต้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง ในลักษณะคล้ายๆ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องให้ผู้ประกอบการพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ที่กล่าวข้างต้น โดยอาจเพิ่มข้อความในประกาศคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคาขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง โดยให้ใช้บังคับครอบคลุมตีความถึงผู้ประกอบการ


ความเหมาะสมในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าเบี้ยประกันสุขภาพ, สุทธิพร กระแสสินธุวานนท์ Jan 2017

ความเหมาะสมในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าเบี้ยประกันสุขภาพ, สุทธิพร กระแสสินธุวานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันคนทุกเพศทุกวัยต่างให้ความสำคัญและหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น เนื่องจากการมีสุขภาพที่ดีนั้นถือเป็นลาภอันประเสริฐที่ไม่สามารถหาซื้อได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะมีวิถีในการดำเนินชีวิตอย่างไร การเจ็บป่วยก็ยังเป็นภัยที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินจากการที่ต้องใช้เงินในการรักษาพยาบาล อีกทั้งอาจกระทบต่อครอบครัวด้วยได้ แม้ว่าเราอาจป้องกันการเจ็บป่วยได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพตนเองหรือการมีวิถีที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งนี้ การมีประกันสุขภาพก็อาจบรรเทาความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวอันเกิดจากความเจ็บป่วยดังกล่าวได้ ซึ่งคนทั่วไปจึงปรารถนาให้ตนและครอบครัวได้มีการประกันสุขภาพอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อผลักความเสี่ยงนี้ออกไปจากตนเอง ในปัจจุบันภาครัฐได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรและได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เกี่ยวกับเงินได้ที่เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ แต่เนื่องจากค่าลดหย่อนนี้ต้องนำมารวมคำนวณกับค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งการประกันทั้งสองประเภทนี้มีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน โดยการประกันสุขภาพนั้นมุ่งถึงการเจ็บป่วยหรือการเสียสุขภาพ ในขณะที่การประกันชีวิตนั้นมุ่งถึงชีวิต ซึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาคทางภาษี ในขณะที่ต่างประเทศนั้น เช่น ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ได้แยกการประกันสุขภาพ และการประกันชีวิตออกจากกัน รวมทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้มีเงินได้และรวมถึงครอบครัวของผู้มีเงินได้ ในขณะที่ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนของผู้มีเงินได้ และบิดามารดาของผู้มีเงินได้เท่านั้น ดังนั้นเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงศึกษาถึงหลักภาษีอากร และหลักเกณฑ์การให้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกัน สุขภาพและเบี้ยประกันชีวิต ประกอบกับการศึกษากฎหมายต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ได้ทำการศึกษา คือ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ พบว่า มาตรการดังกล่าวไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคและก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายและค่าภาษีแก่ผู้มีเงินได้จึงสมควรให้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน โดยการแยกสิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพแยกออกจากเบี้ยประกันชีวิต รวมถึงการให้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงคู่สมรสของผู้มีเงินได้และบุตร เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางภาษีและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและค่าภาษีของผู้มีเงินได้


การเปิดเครดิตออกตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยธนาคารเพื่อรับรองภายใต้ธุรกรรมเลตเตอร์ออฟเครดิต, โสพิศ อินทะจักร์ Jan 2017

การเปิดเครดิตออกตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยธนาคารเพื่อรับรองภายใต้ธุรกรรมเลตเตอร์ออฟเครดิต, โสพิศ อินทะจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ มีการส่งเสริมในเรื่องของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แม้กระทั่งหน่วยงานภาครัฐก็ตื่นตัวและเร่งพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อให้รองรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมต่อระบบระหว่างกระทรวง ทบวง กรม กับระบบกรมศุลกากรเพื่อลดความจำเป็นในการใช้กระดาษ นอกจากนี้ แม้แต่สายเรือก็เริ่มพัฒนาใบตราส่งที่เป็นเอกสารเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Document) ในรูปแบบของใบตราส่งอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bill of Lading) ธนาคารที่เป็นสถาบันหลักที่ให้บริการการชำระเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศจำเป็นต้องปรับตัว และพัฒนาการให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Channel) เมื่อกล่าวถึงการให้บริการการชำระเงินระหว่างประเทศ นอกเหนือจากเอกสารการขนส่งแล้ว เอกสารสำคัญอีกอย่างที่มีบทบาทสำคัญนั่นคือ “ตั๋วแลกเงิน” (Bill of Exchange) โดยเฉพาะภายใต้ธุรกรรมเลตเตอร์ออฟเครดิตแบบมีระยะเวลา (Usance (Term) Letter of Credit) ด้วยวิธีการชำระเงินคือการรับรองตั๋วแลกเงิน และชำระเงินเมื่อถึงกำหนด เมื่อธนาคารได้รับเอกสารที่เรียกเก็บเงินภายใต้ Term L/C ธนาคารดาเนินการออกตั๋วแลกเงินให้ลูกค้าธนาคารที่เป็นผู้นำเข้ารับรองตั๋วแลกเงิน เพื่อขอรับเอกสารไปออกสินค้า ธนาคารนั้นกาลังพัฒนา E-Channel ที่ลูกค้าสามารถทาธุรกรรมทุกอย่างผ่านระบบโดยไม่ต้องติดต่อหรือนำส่งเอกสารประกอบการขอใช้บริการที่สาขาธนาคาร และสามารถรับเอกสารที่ธนาคารออกให้ผ่านทางระบบเช่นกัน ถ้าหากธนาคารสามารถออกตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการให้บริการของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น ตั๋วแลกเงินเป็นตราสารที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ในประเทศไทยเรื่องของตั๋วแลกเงินได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่ใช้บังคับกับตั๋วแลกเงินที่เป็นกระดาษเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องศึกษาพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ) ที่ให้การรับรองผลทางกฎหมายกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับกฎหมายตั๋วเงิน เพื่อศึกษาว่าตั๋วแลกเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสมบูรณ์ตามกฎหมายตั๋วเงินหรือไม่ และเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาจะสามารถอ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อบังคับเอาผิดกับคู่สัญญาได้เหมือนกับตั๋วแลกเงินหรือไม่ และศึกษาจากกฎหมายแม่แบบของ United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) ว่าด้วย Electronic Transferable Records เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเอกสารและตราสารเปลี่ยนมือได้ที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าพ.ร.บ.ธุรกรรมฯ นั้นรองรับการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในการทำธุรกรรม แต่ไม่ได้รวมถึงเอกสารหรือตราสารเปลี่ยนมือได้ จึงไม่สามารถนำมาใช้กับตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายในประเทศให้รองรับการใช้งานตั๋วเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนมีความเห็นควรมีการยกร่างกฎหมายเฉพาะสำหรับเอกสารหรือตราสารเปลี่ยนมือได้ตามกฎหมายแม่แบบของ UNCITRAL เพื่อให้มีความเหมาะสม และไม่กระทบต่อกฎหมายเดิมที่มีอยู่


ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย, ณัฐฐา สุภกิจพาณิชกุล Jan 2017

ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย, ณัฐฐา สุภกิจพาณิชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รัฐบาลได้ออกมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทยโดยออกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ...(พ.ศ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร หรือที่เรียกว่า มาตรการช็อปช่วยชาติซึ่งเริ่มครั้งแรกในปี 2558 ในช่วงวันที่ 25 ธันวาคมถึง 31 ธันวาคม และมีอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ในช่วงวันที่ 14 ถึง 31 ธันวาคม 2559 และปี 2560 ในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม โดยการให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรการกำหนด ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ยังมีปัญหาถึงความไม่เหมาะสมบางประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาของมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย ตลอดจนศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียและประเทศกรีซเพื่อนำแนวทางมาปรับใช้ในบางประเด็น จากการศึกษาพบว่า มาตรการช็อปช่วยชาติมีปัญหาบางประการ กล่าวคือ มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบกระจุกตัวกับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงก่อให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายและเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น มาตรการช็อปช่วยชาติควรขยายฐานผู้ขายรวมถึงการช็อปปิ้งในแหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือ SMEs รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ทางการรับรองและผู้ขายสินค้าโอทอปเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบกระจายตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยวโดยกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรองในประเทศไทยเพิ่มเติมเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบกระจายไปสู่ชุมชนท้องถิ่นและสู่เศรษฐกิจฐานราก ในเรื่องระยะเวลาของมาตการนั้น มาตรการช็อปช่วยชาติควรนำแนวทางของประเทศมาเลเซียและกรีซมาปรับใช้โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งปีโดยอาจเริ่มจากการพิจารณาให้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 3 หรือ 5 ปีก่อนเพื่อพิจารณาถึงผลลัพธ์ของมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริงหรือไม่ สำหรับประเด็นเรื่องประเภทของสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ มาตรการนี้ควรขยายประเภทของสินค้าได้มากขึ้น สินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีควรเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและไม่สมควรให้อาบอบนวดและสินค้าฟุ่มเฟือยนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ภาครัฐควรมีการเก็บข้อมูลศึกษาถึงต้นทุนของมาตรการรวมถึงการเติบโตของเศรษฐกิจจากมาตรการนี้เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการ เพื่อที่ภาครัฐจะได้นำมาพิจารณาปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ปัญหาการขายเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Rmf) ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี, ปนัดดา ธนวงศากุล Jan 2017

ปัญหาการขายเงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Rmf) ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี, ปนัดดา ธนวงศากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่สามารถใช้ ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่มีการกำหนดจำนวนสูงสุดที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ จึงเกิดกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อ เงินลงทุนเกินกว่าสิทธิลดหย่อน หรือไม่ได้นำเงินลงทุนไปใช้สิทธิลดหย่อน หรือเรียกว่าส่วนที่ไม่ได้ใช้ สิทธิลดหย่อนภาษี การถือเงินลงทุนในส่วนที่ไม่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีนั้นจะมีปัญหาว่า เงินลงทุนส่วนที่ ไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าวจะสามารถขายออกไปได้โดยต้องมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาหรือไม่ เพราะไม่ได้เป็น ส่วนที่นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แต่ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กลับมีการบังคับว่าเมื่อมีการขายเงิน ลงทุนส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนออกไปก่อนเงื่อนระยะเวลาบังคับ หากผู้ลงทุนเคยใช้สิทธิลดหย่อน ภาษี จะถือเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุน ด้วยปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ขายเงินลงทุนในส่วนที่ไม่ได้ใช้ สิทธิลดหย่อนทางภาษีก่อนครบกำหนดเวลาจะถือว่าเป็นการขายโดยผิดเงื่อนไขระยะเวลาการถือ ครอง อีกทั้งต้องมีภาระการจ่ายคืนเงินภาษีและเบี้ยปรับ ทั้งๆที่ส่วนที่ผู้ลงทุนขายออกไปนั้นไม่เคย ได้รับประโยชน์ทางภาษี และการปฏิบัติดังกล่าวหมายความว่าหากผู้ลงทุนไม่ต้องการที่จะต้องเสียภาษี และเงินเพิ่ม ผู้ลงทุนจะต้องถือเงินลงทุนส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนนี้ไปจนครบกำหนดเวลาเหมือน ส่วนที่ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี จากการศึกษาพบว่าปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการขาดแนวทางปฏิบัติเมื่อซื้อเกินสิทธิหรือไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีทาให้เกิดการตีความและบังคับใช้ในทางที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี หากเปรียบเทียบกับ IRAs ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้วเห็นว่า มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนทำให้สามารถแยกส่วนที่ใช้สิทธิและไม่ใช้สิทธิลดหย่อนทาง ภาษีออกจากกันได้ ลดการตีความในการบังคับใช้ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียภาษีมากกว่า ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรที่จะนำแนวทางปฏิบัติของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนนั้นสามารถขายหน่วยลงทุนส่วนที่เกินสิทธิหรือส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนนั้นออกไปได้ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องมีโทษทางภาษี ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ผู้เสียภาษี และผู้จัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักภาษีอากรที่ดี นอกจากนี้แนวทางปฏิบัติจะส่งเสริมช่วยให้ผู้ลงทุนวางแผนภาษีได้ดีขึ้นด้วย


มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ Fintech : กรณีศึกษา Peer-To-Peer Lending, สุชาดา เม้ยมิ่ง Jan 2017

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ Fintech : กรณีศึกษา Peer-To-Peer Lending, สุชาดา เม้ยมิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ในประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดย การศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับความเป็นมา ขั้นตอนและ กระบวนการของธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending มาตรการในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งปัญหา ข้อจำกัด และผล กระทบของธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ในด้านคุณลักษณะของธุรกิจ และในด้าน ของการบังคับใช้กฎหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในปัจจุบันของประเทศไทยที่มีต่อธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์และ สังเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบระหว่างมาตรการในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to- Peer Lending ในประเทศสหรัฐอเมริกา กับกฎหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในปัจจุบันของ ประเทศไทย เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ซึ่งจะสามารถใช้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการช่วยลด หรือ บรรเทาปัญหาข้อจำกัด และ ผลกระทบของธุรกิจ FinTech แบบ Peer-to-Peer Lending ได้จากผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending เป็นธุรกิจแตกต่างจากการให้กู้ยืม โดยสถาบันการเงินปกติ กล่าวคือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะไม่ใช่เงินทุนของตัวเองในการปล่อยกู้ แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ขอกู้และผู้ให้กู้ (นักลงทุน)ทำให้ผู้ขอกู้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น เช่นเดียวกับนักลงทุนที่มีทางเลือกในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ธุรกิจดังกล่าวเป็นที่ได้รับความนิยมจากหลายๆประเทศ แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจ ในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากอยู่ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาหาแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจนี้ ซึ่งหากไม่มีแนวทางในการกำกับดูแลอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจเกิดหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกู้ยืม รวมถึงธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัย เช่น การฟอกเงิน เป็นต้น เมื่อธุรกิจ Fintech แบบ Peerto-Peer Lending ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการควบคุมธุรกิจนี้ จึงอาจทำให้เกิดช่องว่างในการดำเนินธุรกิจ Fintech แบบ Peer-to-Peer Lending ได้ โดยผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจ …


ปัญหาการประกอบกิจการตลาดสดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร, ถาปัตย์ โกลาวัลย์ Jan 2017

ปัญหาการประกอบกิจการตลาดสดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร, ถาปัตย์ โกลาวัลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการควบคุมการประกอบกิจการตลาดสดในประเทศไทย และการควบคุมกิจการค้าขายหาบเร่และแผงลอยของประเทศสิงคโปร์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการตลาดสดที่มิชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการประกอบกิจการตลาดสดที่มิชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย ก่อให้เกิดปัญหาได้แก่ ปัญหาการสูญเสียรายได้ของรัฐ และปัญหาด้านสุขลักษณะและอนามัยของตลาดสด ซึ่งแม้กฎหมายไทยจะวางหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ก็ไม่สามารถควบคุมแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงศึกษาแนวทางการควบคุมหาบเร่หรือแผงลอยของประเทศสิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับการควบคุมการประกอบกิจการตลาดสดในประเทศไทย โดยประเทศสิงคโปร์กำหนดมาตรการให้ผู้ขายหาบเร่ขายสินค้าได้เฉพาะในสถานที่ที่ได้รับอนุญาต (Hawker Centres) โดย Hawker Centres ซึ่งเป็นเจ้าของโดยรัฐและภาคเอกชน โดยมีหน่วยงานของรัฐ (Hawker Department) ดูแลโดยเฉพาะ และผู้ที่จะขายสินค้าใน Hawker Centres ได้ต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และขายภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น และการขายของนอก Hawker Centres ถือเป็นความผิดและมีบทลงโทษ มาตรการดังกล่าวเป็นการจัดการควบคุมการค้าขายหาบเร่และแผงลอยที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันปัญหาสุขลักษณะและอนามัย ในประเด็นดังต่อไปนี้ (1) ประเด็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจตามกฎหมายควบคุมกิจการเพื่อวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของหน่วยงานที่ควบคุมการประกอบกิจการตลาดสดของประเทศไทย (2) ประเด็นผู้ประกอบการและการขออนุญาตประกอบกิจการเพื่อวิเคราะห์แนวทางการประกอบกิจการตลาดสดโดยหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน (3) ประเด็นบทลงโทษการประกอบกิจการที่มิชอบด้วยกฎหมายเพื่อวิเคราะห์แนวทางการควบคุมทั้งผู้ประกอบการและผู้ขายของในตลาดสด และ (4) ประเด็นการควบคุมสุขลักษณะและอนามัยของกิจการเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาในด้านสุขลักษณะและอนามัยของกิจการตลาดสด ในการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ทั้ง 4 ประเด็นนี้ เพื่อให้ได้แนวทางในการควบคุมกากับการประกอบกิจการตลาดสดของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาเรื่องนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขปัญหาดังนี้ (1) ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการตลาดสดโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการตลาดสดและ มีความรู้ด้านสาธารณสุข เพื่อทาหน้าที่กากับควบคุมกิจการตลาดสดทั้งประเทศ (2) ควรมีการจัดตั้งตลาดสดของรัฐในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการเช่าสถานที่สาหรับขายของ


การประเมินเงินได้จากการใช้เงินรับล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเองของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน, ครีม โฆษานันตชัย Jan 2017

การประเมินเงินได้จากการใช้เงินรับล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเองของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน, ครีม โฆษานันตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลการออกบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเองของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและ การประเมินเงินได้พึงประเมินจากนำเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ผลของการศึกษาพบว่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ผ่านสื่อกลาง การชำระเงินแทนเงินสดอย่าง “บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-Money card) ซึ่งเป็นบัตรหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบการออกให้แก่ผู้บริโภค เพื่อใช้บันทึกมูลค่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้บริโภค ได้รับจากการจ่ายชำระเงินสดไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ได้เงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น มาใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือค่าอื่นใดตามข้อกำหนดการใช้บัตรของผู้ออกบัตรในอนาคตแทนการชำระด้วยเงินสด ทำให้ผู้ออกบัตรมีภาระหน้าที่ในการถือครองเงินสดของผู้บริโภคไว้ โดยที่กรรมสิทธ์ในเงินสดยังเป็น ของผู้บริโภค เนื่องจากยังไม่เกิดรายการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการจึงยัง ไม่ได้รับกรรมสิทธ์ในเงินสดที่ตนถือครอง ซึ่งการรับเงินล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณะชนได้ จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด การควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินไว้เป็น การเฉพาะเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่สาธารณชน อย่างไรก็ตาม การควบคุมดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงการประกอบธุรกิจของ (1) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่าง (Single purpose) ตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพียงรายเดียว และ (2) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่าง (Single purpose) ตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน จึงถือเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินงานที่มีการประกาศกำหนด และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเงินรับล่วงหน้าคงค้างจากผู้บริโภคไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ทำให้เกิดประเด็นในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของผู้ประกอบการดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ประกอบการอาจจะได้รับรายได้หรือประโยชน์จากการใช้เงินรับล่วงหน้าของผู้บริโภค โดยที่ไม่ต้อง เสียค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งเข้าข่ายการเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น โดยปราศจากภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ใดๆ เข้าข่ายอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้มีการกำหนดวิธีพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการประเมิน ประโยชน์จากเงินรับล่วงหน้ากรณีการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน โดยใช้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการดำเนินงานตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นแนวทาง เพื่อควบคุมการออกบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการที่ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเอง และให้เจ้า พนักงานประเมินใช้อำนาจในการประเมินรายได้จากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น โดย ปราศจากภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร


มาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษี, ดวงฤทัย ด่านสวัสดิ์วงศ์ Jan 2017

มาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษี, ดวงฤทัย ด่านสวัสดิ์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการหลีกเลี่ยงภาษีขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่ง หนึ่งในรูปแบบนั้นก็คือการใช้ผลขาดทุนทางภาษีที่สะสมมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชี ปัจจุบันตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรที่สามารถนำผลขาดทุนทางภาษีมาหักเป็น รายจ่ายทางภาษีได้ โดยกฎหมายยังมีช่องว่างที่เปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากผลขาดทุนดังกล่าว ซึ่งวิธีนี้ทำให้องค์กรที่มีผลขาดทุนทางภาษีที่สะสมมา เป็นจำนวนมากมุ่งหาโอกาสในการสร้างรายได้ทางภาษีที่เป็นจริงหรือไม่จริงก็ตามเพื่อนำมาหักกับผล ขาดทุนทางภาษีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประหยัดภาษีหรือเรียกว่าเป็นการหลีกภาษีที่ยอมรับได้ (Acceptable Tax Avoidance) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีพยายามที่จะหาข้อได้เปรียบทางภาษีจากข้อกำหนด ด้านเวลาสำหรับผลขาดทุนดังกล่าว ซึ่งหากไม่ได้ใช้ประโยชน์จากผลขาดทุนทางภาษีแล้วจะสูญเสีย ประโยชน์ไป จากกรณีศึกษาที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมาศึกษาในเอกัตศึกษานี้ บริษัทจำกัดแห่งหนึ่งได้มีผล ขาดทุนทางภาษีที่สะสมยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันอยู่จำนวนมาก และได้มี การสร้างรายได้จากการได้รับการยกหนี้จากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพื่อนำมาใช้หักกับผลขาดทุนทาง ภาษีที่มีโดยนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษี ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการประหยัด ภาษีและทำให้บริษัทมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นในระดับกลุ่มบริษัท จากการศึกษาผู้เขียนจึงเสนอแนะว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากรตามมาตรา 65 ตรี (12) จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้มีมาตรการป้องกัน การหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษีโดยกำหนดให้มีการกฎเกณฑ์ในการ ใช้ที่รัดกุมมากขึ้น และควรให้มีมาตรการอื่นๆ ที่กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับผล ขาดทุนทางภาษี เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในการหลีกเลี่ยงภาษี ดังกล่าวซึ่งสอดคล้องกับมาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีจากการใช้ผลขาดทุนทางภาษีตามแนว ปฏิบัติของ OECD ซึ่งอาจนำกฎเกณฑ์ของประเทศอังกฤษที่คำนึงถึงระยะเวลาทางภาษีซึ่งเป็นหลัก มาตรการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีตามเป้าหมาย (Targeted anti-avoidance rule หรือ TAAR) โดยถูกออกแบบมาเพื่อการดำเนินการป้องกันพฤติกรรมบางประเภทที่พยายามใช้ประโยชน์จากกฎ ต่างๆ มาเป็นต้นแบบในการนำมาปรับใช้ได้ นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนิน ธุรกิจในปัจจุบันที่มีการพัฒนามากและเพื่อให้เป็นไปตามหลักการบริหารภาษีที่ดีที่จะต้องมีความ ยืดหยุ่น โดยให้มีการปรับตัวเข้ากับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุน : ศึกษากรณีการลงทุนในกิจการซึ่งใช้เทคโนโลยีในการประกอบอุตสาหกรรมตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 636 พ.ศ.2560, นิศารัตน์ พุ่มฉัตร Jan 2017

มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุน : ศึกษากรณีการลงทุนในกิจการซึ่งใช้เทคโนโลยีในการประกอบอุตสาหกรรมตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 636 พ.ศ.2560, นิศารัตน์ พุ่มฉัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการออกมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุน กิจการเงินร่วมลงทุนโดยการตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการให้สิทธิประโยชน์ของ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้กิจการเงินร่วมลงทุนที่ประสงค์จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องทำการจดแจ้ง ต่อคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยได้มีการขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้สืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการลงทุนในการประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาตลาดทุนของประเทศไทยและส่งเสริมให้มีการลงทุนในกิจการเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการประกอบกิจการตามอุตสาหกรรมที่รัฐต้องการสนับสนุนเพื่อตอบสนองโมเดลประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) เอกัตศึกษาเล่มนี้ได้ทาการศึกษามาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการ เงินร่วมลงทุนดังกล่าวโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุน กิจการเงินร่วมลงทุนของต่างประเทศซึ่งได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียซึ่งจากการศึกษาพบว่าพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 มีการกำหนดสิทธิประโยชน์เฉพาะการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลและรายได้ที่ได้รับจากการโอนหุ้นแก่กิจการเงินร่วมลงทุนที่ลงทุนในการประกอบ อุตสาหกรรมเพียง 10 ประเภท ซึ่งไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีนี้เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทั้งแก่ผู้ประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและผู้ลงทุนในกิจการ เงินร่วมลงทุน นอกจากนี้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวยังขาดมาตรการบรรเทาภาระภาษีในลักษณะอื่น และกรณีที่กิจการเงินร่วมลงทุนได้ลงทุนในกิจการซึ่งใช้เทคโนโลยีเป็นฐานแต่ไม่ใช่อุตสาหกรรม 10 ประเภทตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นในเงื่อนไขที่แตกต่าง ออกไปตามกฎหมายฉบับอื่น ทาให้เกิดความไม่เหมาะสมและไม่เป็นการส่งเสริมกิจการเงินร่วมลงทุนอย่างแท้จริงจึงเห็นควรให้มีการขยายขอบเขตการสนับสนุนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและควรเพิ่มการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการใช้มาตรการการบรรเทาภาระภาษีในรูปแบบอื่นเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมกิจการเงินร่วมลงทุนอย่างแท้จริง


ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้บริษัทในเครือ : กรณีเลิกกิจการ, ณฐพร ด่านพิษณุพันธุ์ Jan 2017

ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้บริษัทในเครือ : กรณีเลิกกิจการ, ณฐพร ด่านพิษณุพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดำเนินธุรกิจในรูปแบบของเครือบริษัทหรือกลุ่มบริษัทนั้น มักมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อต้องการความมั่นคงของโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัท รวมไปถึงประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่จะได้รับด้วยทั้งด้านการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน และการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินกับบริษัทในเครือซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง อย่างไรก็ดียังคงมีช่องโหว่ของกฎหมายที่ทำให้บริษัทอาศัยเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทางภาษีของกลุ่มบริษัท โดยพยายามที่จะลดภาระภาษีของกลุ่มบริษัทให้ต่ำลงหรือการหลีกเลี่ยงภาษีเกิดขึ้นเอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายจ่ายผลขาดทุนของ เงินลงทุนที่ไม่ได้รับคืนภายหลังการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มทุนให้แก่ กิจการของลูกหนี้เพื่อนำมาชำระหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทผู้ลงทุนเอง ซึ่งจากผลของ การศึกษาพบว่า วัตถุประสงค์หลักของการปลดหนี้โดยผ่านการเพิ่มเงินลงทุนดังกล่าวนั้นไม่มี ความแตกต่างกันระหว่างหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืม ซึ่งมีคำสั่งกรมสรรพากรกำหนดให้บริษัท ไม่สามารถรับรู้ผลขาดทุนของเงินลงทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเพิ่มทุนในกรณีของหนี้การค้า แต่ในกรณีของหนี้เงินให้กู้ยืม บริษัทสามารถเลือกวิธีการเพิ่มทุนให้แก่กิจการของลูกหนี้เพื่อนำเงินมาชำระหนี้เงินให้กู้ยืมแก่ตนเอง เพื่อให้บริษัทสามารถนำผลขาดทุนของเงินลงทุนดังกล่าวมารับรู้เป็นรายจ่ายทางภาษีอากรได้มากขึ้นแทนที่จะทำการปลดหนี้เงินกู้ยืมให้แก่กันโดยตรงซึ่งไม่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) อย่างหนึ่งของบริษัท โดยการวางแผนที่จะรับรู้รายจ่ายที่สูงเพื่อจะได้เสียภาษีในจำนวนที่น้อยลงได้ ดังนั้นการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่มีความเสมอภาคกันในการรับรู้รายจ่ายผลขาดทุนจาก การเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืมของบริษัทในเครือเดียวกันภายหลังการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้ โดยการเพิ่มข้อกำหนดและเงื่อนไขให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีความเพียงพอและน่าเชื่อถือของหลักฐานต่างๆ มีการกำหนดแผนการเงิน รวมถึง ระยะเวลาในการดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องของบริษัทผู้ได้รับการลงทุนที่เหมาะสม จะช่วยทำให้ กิจการปลอดการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และรัฐบาลจะสามารถจัดเก็บภาษีเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา ประเทศต่อไปในอนาคตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์


แนวทางในการกำหนดมาตรการทางภาษีสำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามลักษณะการใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน, ญาณินท์ ชิตเจริญ Jan 2017

แนวทางในการกำหนดมาตรการทางภาษีสำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามลักษณะการใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน, ญาณินท์ ชิตเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีความหลากหลายเพื่อ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศไทยประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับ แต่ภาษีทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการถือครองทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันคือ ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ซึ่งภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้นจัดเก็บภาษีจากผู้เป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดินซึ่งในที่นี้ ที่ดินกินความหมายถึงทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำด้วย และโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก็กินความหมายถึงแพด้วย ในส่วนของภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีจัดเก็บจากผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินอยู่ ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีใดๆ ทั้งนี้ ทั้ง 2 กฎหมายที่กล่าวข้างต้นมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณฐานภาษีโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทโดยตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยการคำนวณฐานภาษีจาก “ค่ารายปี” สำหรับทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีทุกประเภทโดยกำหนดนิยามของ “ค่ารายปี” ว่าคือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้น สมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ นอกจากนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ได้กำหนดให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ณ วันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่จากฐานภาษี “ราคาปานกลางของที่ดิน” ดังนั้น จะเห็นได้ว่าหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานภาษีของทั้งภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่กำหนดขึ้นมานั้นใช้ฐานภาษีและวิธีการคำนวณเดียวกันสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทโดยไม่ได้คำนึงถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่มีความแตกต่างกันการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งฐานภาษีที่เป็นแบบเดียวกันสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทในขณะที่ทรัพย์สินแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ทั้งนี้ จากการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายภาษีทรัพย์สินของประเทศฟิลิปปินส์หรือ ภาษี Real Property Tax (RPT) พบว่าหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีของประเทศฟิลิปปินส์นั้นมีการพิจารณาแบ่งประเภททรัพย์สินตามลักษณะการใช้ประโยชน์และมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณฐานภาษีที่แตกต่างกันสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ได้กับการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศไทย


แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติก, นิภาพร สิงห์มณีสกุลชัย Jan 2017

แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติก, นิภาพร สิงห์มณีสกุลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาขยะถุงพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาขยะมูลฝอยที่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากถึงพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นเวลานาน และยังไม่มีวิธีทำลายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่มีอายุการใช้งานสั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว ถึงแม้ว่าถุงพลาสติกจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิลน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป เนื่องจากในการนำไปรีไซเคิลนั้นมีต้นทุนสูง ถึงพลาสติกจึงกลายเป็นขยะปริมาณมหาศาลทำให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค อีกทั้งขยะถุงพลาสติกยังถูกทิ้งลงสู่ทะเลในปริมาณมหาศาล ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพของมนุษย์ ด้านระบบนิเวศ ด้านทัศนียภาพ และด้านการระบายน้ำ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถุงพลาสติกจึงเป็นสินค้าที่ควรถูกควบคุมการบริโภคด้วยมาตรการทางกฎหมายด้านการจัดเก็บภาษีโดยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เนื่องจากวัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิตคือจัดเก็บเพื่อควบคุมการบริโภคสินค้าและบริการ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีจากถุงพลาสติก เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในประเทศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะถุงพลาสติก อีกทั้งยังสามารถนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้มาใช้ในการจัดการขยะ และฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากขยะถุงพลาสติกได้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีจากถุงพลาสติก จึงควรศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกและผลจากการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกของต่างประเทศ เช่น ประเทศไอร์แลนด์ เพื่อนำหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกของประเทศไอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกของประเทศไทย การนำหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกของประเทศไอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกในประเทศไทยนั้น มีทั้งหลักเกณฑ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้และไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ หลักเกณฑ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ ประเภทของถุงพลาสติกที่จัดเก็บภาษีซึ่งจัดเก็บถุงพลาสติกทุกประเภทที่ผลิตจากพลาสติก และการยกเว้นภาษีให้ถุงพลาสติกบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้ อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บต้องเป็นอัตราที่ไม่สูงและไม่ต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับค่าครองชีพและการนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้ไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการดูแล ฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ถุงพลาสติกและขยะถุงพลาสติก ในทางกลับกัน หลักเกณฑ์ที่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ การยกเว้นภาษีถุงพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และถูกขายให้กับลูกค้าในราคาไม่น้อยกว่า 70 เซนต์ (cent) ต่อใบ หรือประมาณ 27 บาท ซึ่งเป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย แต่ประเทศไทยไม่สามารถยกเว้นให้ได้ เนื่องจากผู้ที่ซื้อถุงไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือซื้อจากผู้นำเข้าซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตแล้วนั้น ผู้ที่ซื้อไปอาจยังไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายที่เป็นผู้ที่ใช้ถุงพลาสติอย่างแท้จริง ซึ่งหากไม่นำไปใช้ซ้ำแล้วมีการยกเว้นภาษีให้จะเป็นการยกเว้นให้แบบสูญเปล่า หลักเกณฑ์ถัดมาคือ ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี ประเทศไอร์แลนด์จะจัดเก็บภาษีจากลูกค้า ณ จุดชำระเงินของร้านค้าปลีกต่างๆ โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่ในการยื่นนำส่งภาษีเท่านั้น แต่ประเทศไทยผู้ประกอบการต้องชำระภาษีเมื่อนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือผู้นำเข้าต้องชำระภาษีเมื่อนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยสำเร็จและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีศุลกากร ซึ่งมีหลักเกณฑ์แตกต่างกัน และหลักณ์สุดท้ายคือ ฐานภาษี ประเทศไอร์แลนด์จัดเก็บโดยใช้อัตราภาษีเป็นอัตราคงที่ต่อถุงพลาสติก 1 ใบ ซึ่งเท่ากันทุกใบ แต่ประเทศไทยจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าของสินค้า จึงไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ของประเทศไอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ได้ ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกของประเทศไทยนั้น ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะคือ การกำหนดอัตราภาษี ควรคำนวณจากต้นทุนในการจัดการกับขยะถุงพลาสติกและต้นทุนในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ โดยการจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณพลาสติกที่ใช้ผลิต และการกำหนดฐานภาษี อาจแบ่งตามปริมาณส่วนผสมของพลาสติกต่อพื้นที่ผิวถุงพลาสติก โดยำกำหนดเป็นช่วงร้อยละของปริมาณพลาสติกของพื้นที่ถุงพลาสติก หรือเป็นช่วงของปริมาณพลาสติกต่อพื้นที่ผิดถุงพลาสติกก็ได้ นอกจากนี้ ควรมีการรณรงค์หรือสนับสนุนการใช้ถุงที่ไม่ได้ผลิตจากพลาสติก และประชาสัมพันธ์หรือให้ความรู้แก่ประชาชนถึงปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายได้ผลดียิ่งขึ้น และสามารถลดปริมาณใช้ถุงพลาสติกได้อย่างยั่งยืน


การนำวิธีเกณฑ์เงินสดมาใช้ในการบันทึกบัญชีเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียว, พรรณี เจริญสมบัติอมร Jan 2017

การนำวิธีเกณฑ์เงินสดมาใช้ในการบันทึกบัญชีเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียว, พรรณี เจริญสมบัติอมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับหลักการจัดทำบัญชีตามเกณฑ์เงินสดของประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับกิจการขนาดเล็ก เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาแนวทางเพื่อใช้แทนเกณฑ์คงค้างทางบัญชีที่ประเทศไทยใช้อยู่ในขณะนี้ จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันนี้เกณฑ์ในการจัดทำบัญชีเพื่อนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะต้องใช้เกณฑ์คงค้าง แต่ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อเสียภาษีจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิตามประมวลรัษฎากร ซึ่งทั้งสองเกณฑ์นี้มีความซับซ้อน มีข้อกำหนดเฉพาะเรื่องเป็นจำนวนมาก และบังคับใช้กับทั้งกิจการขนาดใหญ่และกิจการขนาดเล็ก ซึ่งได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและอาจรวมถึงบริษัทจำกัดคนเดียวหมากมีการประกาศใช้กฎหมายในอนาคต อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียวที่ผู้ประกอบการอาจไม่มีความรู้ความสามารถด้านการบัญชี และการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นในการจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ซึ่งเป็นผลให้ผู้ประกอบการไม่เข้าจดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาผู้ทำและผู้สอบบัญชี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาจะพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มทางเลือกให้แก่กิจการขนาดเล็กในการนำวิธีเกณฑ์เงินสดในการจัดทำบัญชีได้ซึ่งเป็นแนวทางที่ง่ายต่อการจัดทำ ลดอุปสรรคในด้านการศึกษาทำความเข้าใจเรื่องการบันทึกบัญชี ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาผู้ทำและผู้สอบบัญชี ลดโอกาสที่เอกสารการบันทึกบัญชีจะสูญหายและโอกาสในการเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานของรัฐด้วยเหตุนี้การนำวิธีเกณฑ์เงินสดมาใช้ในการบันทึกบัญชีจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้กับประเทศไทยเพื่อลดอุปสรรคของผู้ประกอบการขนาดเล็กในการเข้าจดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคลอันจะเป็นผลให้ผู้ประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและบริษัทจำกัดคนเดียวได้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง ทำให้ภาครัฐมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นและจัดเก็บภาษีได้เพิ่มมากขึ้นในท้ายที่สุด


ปัญหาการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าบุหรี่เพื่อควบคุมปริมาณการบริโภค, ไอรวีณ์ ทองอร่าม Jan 2017

ปัญหาการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าบุหรี่เพื่อควบคุมปริมาณการบริโภค, ไอรวีณ์ ทองอร่าม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุหรี่เป็นสินค้าที่บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล รวมถึงการสูญเสียแรงงานอันเกิดจากอัตราการป่วยและ เสียชีวิตของผู้สูบ รัฐจึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการบริโภคบุหรี่ผ่านมาตรการต่างๆ ซึ่งมาตรการ ทางภาษีเป็นมาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งที่ทั่วโลกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริโภค การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับใช้กฎหมายภาษีสรรพสามิตเพื่อ ลดปัญหาและผลกระทบต่อการควบคุมปริมาณการบริโภคบุหรี่ อันเนื่องมาจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายการจัดเก็บภาษีบุหรี่ของประเทศสหรัฐอเมริกาและเดนมาร์กโครงสร้างภาษีบุหรี่ของไทยมีการกำหนดอัตราภาษีสองอัตราที่แตกต่างกันตามราคาขายปลีกของบุหรี่ กล่าวคือ บุหรี่ที่มีราคาขายไม่เกิน 60 บาท คิดภาษีในอัตรา 20% และบุหรี่ที่มีราคาขายเกิน60 บาท คิดภาษีในอัตรา 40% ซึ่งเกิดเป็นช่องโหว่ของกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้นำเข้าบุหรี่หรือบุหรี่นอกปรับลดราคาขายปลีกบุหรี่ลงมาเหลือ 60 บาทต่อซอง เพื่อให้เสียภาษีในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้ การลดราคาของบุหรี่นอกไม่ใช่เพียงแค่ลดราคาลงมาจากเดิมเท่านั้น แต่เป็นการลด ราคาลงมาเพื่อแข่งขันกับบุหรี่ระดับล่าง เน้นขยายกลุ่มผู้บริโภค เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบุหรี่ เป็นกลยุทธ์ทางราคาที่ประสบผล เพราะสามารถชิงส่วนแบ่งการตลาดจากโรงงานยาสูบได้ จากเดิม โรงงานยาสูบเป็นผู้ผูกขาดโดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 80% แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 56% จากที่กล่าวทั้งหมดข้างต้น การปรับลดราคาเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีและเพิ่มความสามารถใน การเข้าถึงสินค้าบุหรี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากช่องโหว่ของกฎหมาย และมีผลกระทบโดยตรงต่อการ ควบคุมปริมาณการบริโภคบุหรี่ เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเลือกบุหรี่ที่มีราคาถูกกว่าแทนการลด ปริมาณหรือเลิกสูบบุหรี่ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายภาษีสรรพสามิตของ ไทยไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม แม้การกำหนดอัตราภาษีสองอัตราจะใช้ในช่วงระยะเวลาสองปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หลังจากนั้นคิดภาษีที่อัตราเดียวกันหมดที่ 40% แต่ด้วยระยะเวลาสองปีเป็นระยะเวลาที่นานพอที่จะทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม การเสพติดรสชาติหรือค่านิยมบุหรี่แบรนด์นอกจะส่งผลต่อเนื่องไปในอนาคต การกลับมาใช้อัตราภาษีเดียวไม่สามารถควบคุมการบริโภคได้ในทันที ผลการวิจัยแนวทางการปรับใช้กฎหมาย พบว่าการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฐานภาษีบุหรี่จากปัจจุบันที่ใช้ฐานผสม คือ การคำนวณร่วมกันทั้งฐานตามปริมาณและฐานตามมูลค่า โดยฐานตามปริมาณคิดภาษีที่อัตราคงที่ต่อมวน และฐานตามมูลค่าที่คิดภาษีเป็นร้อยละต่อราคาขายปลีก จากปัญหาที่พบในปัจจุบันล้วนเกิดขึ้นจากการคำนวณภาษีฐานตามมูลค่า ดังนั้น แนวทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฐานภาษีบุหรี่ไปเป็นฐานตามปริมาณเพียงฐานเดียวเช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา หรือคงฐานผสมตามเดิมแต่ให้สัดส่วนฐานตามปริมาณมากกว่าฐานตามมูลค่าเช่นเดียวกับประเทศเดนมาร์ก จะเป็นการช่วยลดแรงจูงใจของ ผู้ประกอบการในการใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีและทางการค้า เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้บุหรี่เป็นสินค้าที่แพร่หลายและเข้าถึงได้ง่าย นอกจากฐานภาษีแล้ว อัตราภาษีก็เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมปริมาณการบริโภคการทบทวนอัตราภาษีอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้โดยเฉลี่ยของประชากร เพื่อให้ราคาบุหรี่ยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีผลต่ออำนาจการซื้อของผู้บริโภค ช่วยลดปริมาณการบริโภคบุหรี่ลงได้แนวทางการปรับใช้กฎหมายทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฐานภาษีและการกำหนดอัตราภาษีมีความสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้กฎหมายภาษีสรรพสามิตบรรลุผลในการควบคุมปริมาณการบริโภคบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและเศรษฐกิจที่ดีของประเทศ


การคุ้มครองผู้บริโภคจากการบังคับใช้การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า, ภิรญา ไชยจารุวุฒิ Jan 2017

การคุ้มครองผู้บริโภคจากการบังคับใช้การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า, ภิรญา ไชยจารุวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รูปแบบหนึ่งของการทำแผนการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันในปัจจุบันก็คือ การทำโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าผ่านบัตรสะสมคะแนน โดยส่วนใหญ่ ธุรกิจที่มีบัตรสะสมคะแนนจะเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป เช่น ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ธุรกิจกาแฟ ธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ต ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจ โทรคมนาคม ธุรกิจห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งในมุมมองของผู้ประกอบธุรกิจ มองว่าเมื่อผู้บริโภคมา ซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายใต้การทำโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าผ่านบัตรสะสมคะแนน ผู้ประกอบ ธุรกิจก็จะให้คะแนนสะสมตามสัญญาหรือข้อตกลง และผู้บริโภคก็สามารถนำคะแนนสะสมที่มีอยู่ใน บัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ใช้เป็นส่วนลด หรือมาแลกรับสิทธิประโยชน์ต่างๆในครั้งต่อไปได้ จึงทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้บริโภคก็มีความต้องการที่ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าที่ถูกต้องและเพียงพอ รวมถึงการได้รับคะแนนสะสมที่ตรงตามสัญญาหรือข้อตกลง และผู้บริโภคสามารถนำคะแนนสะสมไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ใช้เป็นส่วนลด หรือมาแลกรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้จริงๆ จากเหตุข้างต้นจึงเป็นที่มาของงานเอกัตศึกษา เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบังคับใช้ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า โดยจะทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีเรื่องโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า อันได้แก่ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า รวมถึงการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า เป็นต้น นอกจากนี้จะทำการศึกษาถึงสิทธิของผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 รวมถึงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศแคนาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น เพื่อให้ทราบว่าการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้ากระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคจากการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและการบัญชีเป็นอย่างไร


ความเหมาะสมของการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลึกแนะนำตามพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต, ชานนท์ จูตะกานนท์ Jan 2017

ความเหมาะสมของการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลึกแนะนำตามพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต, ชานนท์ จูตะกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลีกแนะนำตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยพิจารณาถึงหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพสามิตใช้ในการกำหนดและประกาศราคาขายปลีกแนะนำว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเสนอการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบและประกาศราคาขายปลีกแนะนำของอธิบดีกรมสรรพสามิต วิธีการศึกษานอกจากจะพิจารณาจากตัว พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตไทยเองแล้ว ยังได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดฐานภาษีตามมูลค่าที่มาจากราคาขายสินค้าที่ใช้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฟิลิปปินส์เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการนำหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดฐานภาษีตามมูลค่าดังกล่าวมาปรับใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิตกำหนดว่า หากกรมสรรพสามิตตรวจพบว่าราคาขายปลีกที่ผู้ค้าปลีกขายให้แก่ผู้บริโภคมีหลายราคา ให้อธิบดีมีอำนาจในการประกาศให้นำราคาขายปลีกที่กรมสรรพสามิตตรวจพบที่สูงที่สุดเป็นราคาขายปลีกแนะนำที่จะนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิต นอกจากนี้หากอธิบดีพบว่ารายขายปลีกแนะนำไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่เป็นไปตามกลไกตลาดและไม่สามารถหาราคาฐานนิยมได้ให้อธิบดีมีอำนาจในการประกาศให้นำราคาขายปลีกที่กรมสรรพสามิตตรวจพบที่สูงที่สุดเป็นราคาขายปลีกแนะนำที่จะนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตอีกด้วย เมื่อพิจารณาในทางปฏิบัติแล้วจะพบว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่สามารถกำหนดให้ผู้ค้าปลีกขายสินค้าของตนในราคาที่ตนกำหนดได้เนื่องจากจะเป็นการขัดกับ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าซึ่งได้กำหนดให้ใช้ราคาสูงสุดมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตยังถือเป็นข้อกำหนดที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี ดังนั้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้อำนาจอธิบดีในการประกาศราคาขายปลีกแนะนำจึงควรได้รับการแก้ไข โดยการแก้ไขกฎหมายโดยให้เปลี่ยนจากการกำหนดให้ใช้ราคาขายปลีกที่สูงที่สุดเป็นฐานในการคำนวณภาษีสรรพสามิตเป็นการใช้ราคาขายปลีกแนะนำซึ่งในทางปฏิบัติเป็นราคาที่ปรากฏอยู่ที่ตัวสินค้าตามสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรายการราคา หรือราคาขายที่ได้แจ้งไว้กับทางราชการ เนื่องจากราคาดังกล่าวสะท้อนราคาที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้าประสงค์จะใช้เป็นราคาขายต่อผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้า และเอื้อต่อกระบวนการตรวจสอบราคาขายปลีกแนะนำของกรมสรรพสามิตให้เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว


สัญญาให้โดยเสน่หา : ศึกษากรณีการกันส่วนแบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทโดยธรรม, กวิน สมตน Jan 2017

สัญญาให้โดยเสน่หา : ศึกษากรณีการกันส่วนแบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทโดยธรรม, กวิน สมตน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาให้โดยเสน่หาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยไม่ปรากฏข้อจำกัดในเรื่องจำนวนทรัพย์สินที่ยกให้ ผู้ให้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงสามารถยกทรัพย์สินของตนโดยเสน่หาให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่มีขอบเขตจำกัด จึงส่งผลให้กองทรัพย์สินของผู้ให้มีจำนวนลดน้อยถอยลงหรือจนกระทั่งหมดสิ้นไปได้ และย่อมส่งผลโดยตรงต่อสิทธิในการรับมรดกของทายาทโดยธรรมเมื่อผู้ให้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว จากการศึกษากฎหมายของต่างประเทศพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสและประมวลกฎหมายแพ่งลุยเซียนาได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเจ้าของทรัพย์สินไม่อาจยกทรัพย์สินของตนโดยการยกให้โดยเสน่หาเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันก็มีหลักการในเรื่องการกันส่วนแบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทโดยธรรมเช่นเดียวกัน แต่ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันได้จำกัดการยกให้เฉพาะกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำการยกให้เพื่อเป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงกฎหมายว่าด้วยการกันส่วน โดยกฎหมายให้ผู้รับการให้ส่งคืนทรัพย์ดังกล่าวตามบทบัญญัติในเรื่องลาภมิควรได้ ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้รับการให้ที่สุจริตอีกทางหนึ่งด้วย ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย บรรพ 6 ลักษณะ 2 ว่าด้วยสิทธิโดยธรรมในการรับมรดก โดยการเพิ่มเติม "หลักการกันส่วนแบ่งทรัพย์สินอันบังคับ" โดยมีหลักการสำคัญ ในการสงวนส่วนแบ่งทรัพย์สินส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่ทายาทโดยธรรมชั้นบุตร เฉพาะบุตรผู้เยาว์ หรือบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ และทายาทโดยธรรมชั้นบิดามารดา โดยเจ้ามรดกไม่สามารถยกทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกในระหว่างที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตได้ ซึ่งหากเจ้ามรดกฝ่าฝืน กฎหมายควรให้สิทธิแก่ทายาทผู้มีสิทธิดังกล่าวในการเรียกคืนทรัพย์จากผู้รับที่ได้รับทรัพย์สินเกินไปกว่าจำนวนที่กฎหมายสงวนไว้ให้เพื่อนำทรัพย์สินดังกล่าวกลับสู่กองมรดกของเจ้ามรดก


มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, คมชาญ ลิ้มเทียมเจริญ Jan 2017

มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเรา, คมชาญ ลิ้มเทียมเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราระหว่างการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งศึกษาแนวคิดและเนื้อหาของมาตรการดังกล่าวในต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอมาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าคดีข่มขืนกระทำชำเรานั้นเป็นความผิดอาญาที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดอาญาอื่น เพราะมีลักษณะรวมหลายฐานความผิดเข้าด้วยกัน ทั้งความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย และความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง ทำให้ผู้เสียหายได้รับผลกระทบทั้งต่อร่างกาย จิตใจ ชื่อเสียง และเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม กฎหมายของประเทศไทยกลับมีมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราไม่เพียงพอและมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมยังมีส่วนในการทำร้ายผู้เสียหายอีกด้วย ทั้งที่ผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญที่สุดในคดี ผู้ซึ่งสมควรได้รับความคุ้มครองมากที่สุด ส่งผลให้คดีไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพราะผู้เสียหายไม่ประสงค์แจ้งความ เมื่อพิจารณามาตรการทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลี พบว่ามีการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราไว้เฉพาะแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป โดยกำหนดสิทธิของผู้เสียหายเป็นพิเศษ ในขณะที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แม้ไม่มีมาตรการเฉพาะแต่ได้กำหนดสิทธิเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เขียนจึงเสนอให้ประเทศไทยมีมาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเรา ด้วยการแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ขยายระยะเวลาของอายุความในการแจ้งความกรณีเป็นความผิดอันยอมความได้ จัดทำแนวทางปฏิบัติในการสอบปากคำผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราของพนักงานสอบสวน กำหนดให้มีการใช้บันทึกสื่อภาพและเสียงคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนแทนคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาคดีในชั้นศาล และทำการสืบพยานโดยแยกห้องพิจารณาผ่านกล้องวงจรปิด เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับความคุ้มครองและการดำเนินคดีข่มขืนกระทำชำเราเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์กับแนวทางในการพัฒนากฎหมายไทย, ณภัทร ภัทรพิศาล Jan 2017

มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์กับแนวทางในการพัฒนากฎหมายไทย, ณภัทร ภัทรพิศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหา HIV/AIDS ในโลกแห่งการทำงานเกิดขึ้นจากทัศนคติที่ไม่ดีในอดีตและความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง จนนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและตีตราต่อผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ดังนั้น องค์การระหว่างประเทศ (ILO) ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในโลกแห่งการทำงานจึงได้กำหนดข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติสำหรับการคุ้มครองสิทธิของแรงงานเหล่านี้ไว้ โดยมีหลักการสำคัญ คือ การคุ้มครองสิทธิในความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว และการกำหนดมาตรการในการส่งเสริมสิทธิ โดยประเทศที่มีความใส่ใจในประเด็นปัญหาดังกล่าวสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการปรับปรุงมาตรการในประเทศของตนได้ สำหรับมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานที่ติดเชื้อ HIV/AIDS ของประเทศไทย พบว่ายังบกพร่องอยู่ กล่าวคือ การคุ้มครองสิทธิในความเสมอภาคของแรงงาน พบว่าให้การคุ้มครองเฉพาะประเด็นความเสมอภาคระหว่างชายกับหญิง และในส่วนของการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว พบว่า แม้จะมีกฎหมายที่กำหนดหลักการและมาตรการในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวเอาไว้อย่างดี แต่กฎหมายดังกล่าวกลับใช้คุ้มครองเฉพาะแก่ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ ไม่รวมถึงข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน นอกจากนี้ กฎหมายของไทยยังไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดมาตรการในการส่งเสริมสิทธิเอาไว้ด้วย ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงขอเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 15 ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและการทำงาน ฉบับที่ 111 ของ ILO ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเอาไว้และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รวมถึงเสนอให้มีการผลักดันให้ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ที่สามารถคุ้มครองการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้ ในส่วนของมาตรการในการส่งเสริมสิทธิ เห็นว่าสามารถกำหนดเอาไว้ในส่วนของนโยบายด้าน HIV/AIDS ในสถานประกอบกิจการซึ่งมาจากการเจรจาทางสังคม (Social Dialogue) ระหว่างทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว


ปัญหาการบังคับใช้สิทธิของผู้ขายในการระงับการส่งมอบสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล (Stoppage In Transit) ในประเทศไทย, ตรีนุช เสมามิ่ง Jan 2017

ปัญหาการบังคับใช้สิทธิของผู้ขายในการระงับการส่งมอบสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล (Stoppage In Transit) ในประเทศไทย, ตรีนุช เสมามิ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ผู้ขายอาจต้องส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อก่อนที่ผู้ซื้อจะชำระราคา กฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับคุ้มครองผู้ขายในกรณีดังกล่าว ซึ่งสิทธิในการระงับการส่งมอบสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง (Stoppage in transit) ถือเป็นสิทธิประเภทหนึ่งของผู้ขายที่ยังไม่ได้รับชำระราคา ในการที่จะออกคำสั่งไปยังผู้ขนส่งให้ระงับการขนส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อและส่งสินค้ากลับมาให้กับผู้ขายหรือตามคำสั่งของผู้ขายได้ หากมีข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ซื้อจะไม่ชำระราคาหรือผู้ซื้อตกเป็นบุคคลล้มละลายทำให้ไม่สามารถชำระราคาตามสัญญาได้ (Anticipatory breach) ในขณะที่สินค้าดังกล่าวอยู่ระหว่างการขนส่ง อย่างไรก็ดี ด้วยลักษณะของการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่ผู้ขายมีหน้าที่ในการส่งมอบสินค้าไปให้ผู้ซื้อผ่านผู้ขนส่งโดยการทำสัญญาขนส่ง ในขณะที่ผู้ซื้อก็อาจจะมีหน้าที่ชำระราคาค่าสินค้าดังกล่าวผ่านทางธนาคาร ธุรกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายเช่นนี้ย่อมทำให้สิทธิของผู้ขายในการระงับการส่งมอบสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามความในกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้ามีความทับซ้อนและไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ เนื่องจากหลักเกณฑ์ตามกฎหมายแต่ละระบบย่อมกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายไว้เป็นการเฉพาะ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้สิทธิของผู้ขายในการระงับการส่งมอบสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามที่ปรากฏในมาตรา 71 (2) แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ค.ศ.1980 (CISG) ในประเทศไทย โดยผู้เขียนหวังว่าวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะก่อให้เกิดการพิจารณาถึงประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทางปฏิบัติเนื่องจากความไม่สอดคล้องกันของสิทธิดังกล่าวกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ของไทย