Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 98

Full-Text Articles in Law

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน, พีรพัฒน์ แซ่เล้า Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน, พีรพัฒน์ แซ่เล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครองของประเทศไทย สำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน โดยทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และเสนอปรับปรุงแก้ไขให้มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยได้กำหนดหน้าที่การตรวจสอบหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน และหน้าที่เกี่ยวกับการขายชอร์ตแก่บริษัทหลักทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว แต่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถตรวจสอบหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนสถาบันที่มีผู้ดูแลรักษาหลักทรัพย์ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การที่มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยไม่ได้กำหนดหน้าที่ และความรับผิดของผู้ลงทุนสถาบันไว้ เป็นการผลักภาระหน้าที่ความรับผิดซึ่งควรจะเป็นของผู้ลงทุน ให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องรับผิดชอบแทนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอให้มีการกำหนดความรับผิดของผู้ลงทุนสถาบันที่ขายหลักทรัพย์โดยที่ไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง ในหมวดการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเสนอแนะให้ผู้ขายชอร์ตมีหน้าที่ในการยืมหลักทรัพย์ และยืนยันแก่บริษัทหลักทรัพย์ว่า ตนเองได้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตเรียบร้อยแล้ว และในท้ายที่สุด ผู้ขายชอร์ตควรมีหน้าที่แสดงสถานะการขายชอร์ตแก่บริษัทหลักทรัพย์อีกด้วย


ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการ, ชนมน ทองพิลา Jan 2021

ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการ, ชนมน ทองพิลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุนดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ได้มีการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีการค้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะจัดเก็บจากฐานการบริโภคซึ่งตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับฐานรายได้ในส่วนที่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ทั้งนี้คำว่า “บริการ หมายถึง การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า” และการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทในช่วงเวลานั้นก็จัดเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานรายได้ของหน้าที่งานกรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ.2558 ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 205 ที่กำหนดให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กฎหมายกำหนด และกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยราชการ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการและส่งผลให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการ หากตีความตามความหมายของ “บริการ” ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นพบว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการเป็นการให้บริการ เนื่องจากเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่การปฏิบัติงานดังกล่าวมิใช่การกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเสียมากกว่า เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการซึ่งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายมหาชนที่ได้กระทำในฐานะที่เป็นองค์กรมหาชนนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการควบคุมกิจการต่าง ๆ (regulatory activity) ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจการค้าใด ๆ ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศฯ เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่กล่าวว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการไม่ถือว่าเป็นการให้บริการนั้น ในความเห็นของผู้ศึกษาจึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร จากปัญหาข้างต้น พบว่า การพิจารณาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะความหมายของการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพนั้นมีความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีการใช้บังคับที่ผิดเพี้ยนออกไปจากหลักการที่แท้จริงซึ่งมีสาเหตุมาจากความเร่งรีบในการประกาศใช้กฎหมายให้ทันในช่วงที่มีสภาพิเศษในปี พ.ศ.2534 และปัญหาการตีความของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ในต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป และราชอาณาจักรบาห์เรนที่ทางผู้ศึกษาเลือกมาศึกษานั้น ได้มีการกำหนดขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ขึ้น เพื่อศึกษาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรรมการซึ่งได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมกรรมการ


ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ, ชานน รังสราญนนท์ Jan 2021

ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ, ชานน รังสราญนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลกด้วย เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายชนิดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งพลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก เช่น ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ช้อนซ้อมพลาสติก หลอดพลาสติก แก้วพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากจากพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทิ้งขยะ และระบบการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดการ ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป มีการสั่งอาหารผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับประทานเองที่ร้านอาหาร ทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องพลาสติกใส่อาหาร ซองเครื่องปรุงรส และอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ภาครัฐจึงได้มีนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางภาษีอากรมาใช้ลดปัญหาขยะพลาสติก รัฐจึงมีนโยบายให้การส่งเสริมทางภาษีอากร ที่ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาผลิตหรือใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการทางภาษีอากรที่ภาครัฐใช้โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อส่งเสริมกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการเดียวกัน กิจการที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการผลิตเคมีภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษหรือเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ และการวิจัยและพัฒนากิจการ Biotechnology เป็นต้น ซึ่งได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่ละประเภท สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิต ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ผลิตเพื่อการส่งออก เป็นต้น โดยระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์จะขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้ระบุไว้ อีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากร เช่น ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้ หรือสามารถนะผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาทำงานได้ตามเงื่อนไขพิเศษ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการลงทุนกิจการประเภทดังกล่าวจากการศึกษายังพบว่าประสิทธิผลของมาตรการยังเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ หลังจากมีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมานานถึง 12 ปี แต่ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบันยังมีอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 จากปี 2562 มาตรการดังกล่าวที่รัฐกำลังใช้จัดการปัญหาขยะพลาสติกอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพยังไม่เพียงพอในการจัดการขยะดังกล่าวในประเทศ จึงทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้นมา


แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ในประเทศไทย, อฑตยา นิลทองคำ Jan 2021

แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ในประเทศไทย, อฑตยา นิลทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตราบใดที่สภาวการณ์ในเรื่องค่าฝุ่น 2.5 PM ยังคงมีความทวีพูนอยู่และมากขึ้นที่ยังไม่ สามารถจัดการหรือควบคุมให้ดีขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปัจจุบันที่ยังคงระบาดอยู่ทั่วโลก ผู้ประกอบการหรือนายจ้างย่อมต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตทั้ง ในด้านสังคมและพฤติการณ์ในการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปให้เข้ากับสภาวการณ์ที่ยังดํารงอยู่ใน ปัจจุบัน ดังนั้นตัวผู้ประกอบหรือนายจ้าง และตัวพนักงงานหรือลูกจ้างต้องมีการเตรียมความพร้อม เรื่องการทํางานนอกสถานที่ หรือที่เรียกว่าการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) อยู่เสมอ และดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการทํางานที่คนให้ความสนใจนิยมมากขึ้น อีกทั้งจากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) พบว่า ถึงแม้ว่าการทํางานแบบนี้จะมีข้อดีในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทําให้สามารถพูดคุย กันแบบเห็นหน้าได้โดยไม่ต้องไปทํา ณ สํานักงาน ที่ช่วยให้เวลาในการทํางานมีความยืดหยุ่นมาก ยิ่งขึ้น และยังเป็นการลดใช้จ่ายส่วนกลางที่ตัวผู้ประกอบการต้องรับภาระ แต่ถึงกระนั้นแล้วใช้ว่าการ ทํางานรูปแบบนี้จะมีข้อดีอย่างเดียว แต่หากยังพบถึงปัญหาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไม่มีการจัดสรรเวลาใน การทํางานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นฝั่งลูกจ้างที่โดนใช้เวลานอกงานทําให้ไปรบกวนเวลาว่างที่ควรจะเป็นอิสระ และได้รับการพักผ่อน อีกทั้งฝั่งนายจ้างอาจได้รับผลกระทบที่ฝั่งลูกจ้างไม่จัดสรรเวลาให้ดี ทํางานไม่ ครบตามเวลาที่กําหนดจึงทําให้การทํางานไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่พึงต้องการในเนื้อ งาน เป็นตัน ปัญหาเหล่านี้ยังขาดบทกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ได้แก่สหรัฐอเมริกา และสหพันธ สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่าประเทศเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในทางกฎหมายโดยการมีบัญญัติ กฎหมายขึ้นโดยเฉพาะเพื่อกําหนดกฎเกณฑ์หรือสร้างกรอบนโยบายในการคุ้มครองลูกจ้างที่ทํางาน ทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อขจัดปัญหาที่ได้เกิดขึ้น และหากย้อนกลับมาดูถึงสภาวการณ์ ของกฎหมายที่เป็นความว่างเปล่าของกฎหมายไทยที่ยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติหรือการบัญญัติ กฎหมายเฉพาะ หากมองถึงข้อบกพร่องของความว่างเปล่าที่ไม่มีกฎหมายในการเข้ามาควบคุมการทํา สัญญาเกี่ยวกับการทํางานในลักษณะนี้จากการศึกษาผู้วิจัยจึงต้องการให้มีการกําหนดกฎเกณฑ์หรือ สร้างกรอบนโยบายอันเป็นแนวทางในการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อเป็นการ สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่สามารถได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงานตาม ความเหมาะสมทั้งส่วนสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อให้เป็นการประกัน โครงสร้างและรูปแบบการทําสัญญาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ที่จะมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายที่เป็นไปตามแนวทางมาตรการสากล


การกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์, อุษณีย์ มหากิจศิริ Jan 2021

การกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์, อุษณีย์ มหากิจศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงแนวทางในการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณี แรงงานหญิงมีครรภ์กล่าวคือ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์ใน เรื่องค่าตอบแทนการทำงานและค่าจ้างขั้นต่ำนี้เหมาะสมเพียงพอ โดยเอกัตศึกษานี้จะศึกษาถึงมาตรการ ทางกฎหมายตามหลักการสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายของต่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ เครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอแนวทางกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมงของ แรงงานหญิงมีครรภ์ของไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังขาดมาตรการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมี ครรภ์ในขณะที่บริบทการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปทำให้ไม่สอดคล้องกับวิธีการกำหนดค่าจ้างแบบเดิม กล่าวคือ แรงงานหญิงมีครรภ์ต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านสรีระร่างกายประกอบกับอันตรายจากโรค ระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตลอดจนวิธีการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีทำให้รูปแบบ การจ้างงานระยะสั้นเป็นที่นิยม ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงาน หญิงมีครรภ์ขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม ย่อมส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นระบบ ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ก็จะได้รับสิทธิที่แรงงานพึงจะได้รับ ทั้งยังเป็นหลักประกันในชีวิตจากการทีได้รับค่าจ้าง ที่เป็นธรรม อนึ่ง จากการศึกษาและพิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายตามหลักสากลและของ ต่างประเทศพบว่าได้มีการกำหนดเรื่องค่าตอบแทนการทำงานของแรงงานหญิงมีครรภ์ไว้อีกด้วย ตามเหตุที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยสมควรมีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์ขึ้นไว้เป็นการเฉพาะ โดยกำหนดจากความเหมาะสมของจำนวนชั่วโมงการ ทำงานของหญิงมีครรภ์พร้อมทั้งนำมาตรการทางกฎหมายตามหลักการสากลและของต่างประเทศมาปรับ ใช้ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยอย่างเหมาะสม


การเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเบาะแสตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาหน่วยงานท้องถิ่น กรุงเทพฯ, พีรพล ธนทวี Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเบาะแสตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาหน่วยงานท้องถิ่น กรุงเทพฯ, พีรพล ธนทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง กรุงเทพฯ ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านรูปแบบการแจ้งเบาะแส เมื่อพบผู้กระทําความผิด บนทางเท้าของ เขตกรุงเทพฯ ผ่านวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยทางเอกสาร ผ่านการค้นคว้า ศึกษา สืบค้น รวบรวมข้อมูล จาก หนังสือ บทความที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในและ ต่างประเทศ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังศึกษาถึงข้อจํากัดภายใต้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ของประเทศไทย ตลอดจนข้อจํากัดต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเบาะแสให้ดียิ่งขึ้น การที่ผู้แจ้งเบาะแส ได้รับเงินรางวัล จากการแจ้งเบาะแส นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการกระตุ้นให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเมืองให้เติบโตไปอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอและยังไม่มี กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสโดยตรง ซึ่งผู้วิจัย เห็นว่าการดําเนินการของผู้แจ้งเบาะแส ในปัจจุบัน ยังมี ช่องว่างที่จะสามารถทําให้เกิดพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ผ่านมิติของกฎหมาย ดังนี้บทสรุปของการศึกษานี้ พิจารณาได้ว่าเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแสมากขึ้น การให้เงินรางวัล กับผู้แจ้งเบาะแส จึงเป็น ช่องทางหนึ่ง ที่สามารถให้กลไกทางการมีส่วนร่วมและการร่วมกันตรวจสอบของทุกภาคส่วน ไปขับเคลื่อน ให้สังคมดีขึ้นได้


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล, นวียา อโนรีย์ Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล, นวียา อโนรีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้เคมีคอลในจังหวัดสมุทรปราการ สาเหตุจากถังบรรจุ สารสไตรีน (Styrene Monomer) ในโรงงานระเบิด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงปัญหา มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่ เหมาะสมเพียงพอ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงภัย ต้องทําประกันภัยความรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงาน อุตสาหกรรมและศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่ามาตรการควบคุมดูแลวัตถุอันตรายของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ กําหนดให้ผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามรายชื่อที่กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดต้องแจ้งให้ทราบหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ตลอดจนการ ควบคุมติดตามโดยการรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมก็มีข้อจํากัดเนื่องจากรายชื่อวัตถุอันตรายที่ถูกควบคุมติดตามนั้น กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดชื่อเป็นรายตัววัตถุอันตรายทําให้ไม่ครอบคลุมวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่มีความ อันตรายเช่นกันแต่ไม่อยู่ในรายชื่อวัตถุอันตรายที่ต้องควบคุมติดตาม เห็นได้ชัดจากกรณีสารสไตรีน ของโรงงานหมิงตี้เคมีคอลที่ถูกจัดเก็บไว้ในโรงงานจํานวนมาก โดยสารสไตรีนไม่ถูกกําหนดให้ต้อง รายงานปริมาณการใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นความ เสียหายจึงกระจายเป็นวงกว้าง โดยผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความก้าวหน้าในระบบกฎหมายสารเคมีได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนํามาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศไทยและพิจารณาถึง มาตรการควบคุมสารเคมีที่ยังไม่เหมาะสมของประเทศไทย บทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการทบทวนบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ครอบคลุมวัตถุอันตรายได้กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมติดตามวัตถุอันตรายและลดโอกาสที่จะ เกิดอุบัติภัยจากวัตถุอันตราย และเสนอแนะให้มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรม ต้องส่งรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีให้กับหน่วยงานท้องถิ่นและเปิดเผย ข้อมูลที่จําเป็นแก่ประชาชนด้วย เพื่อหน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถวางแผนรองรับล่วงหน้าและเมื่อเกิด เหตุฉุกเฉินหน่วยงานท้องถิ่นจะมีข้อมูลที่เพียงพอในการประเมินสถานการณ์และกําหนดแนวทาง ระงับเหตุได้อย่างทันการณ์นอกจากนี้ ควรมีบทบัญญัติให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้และจัดเก็บวัตถุอันตราย ต้องจัดทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพื่อเป็นการประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยเยียวยาและเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงของผู้ประกอบกิจการโรงงานด้วย


มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น, รวิศา โสพร Jan 2021

มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น, รวิศา โสพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพเป็นกลไกสําคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ การมีธุรกิจสตาร์ทอัพจํานวนมากจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต ดึงดูด นักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น จําเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนกระทั่งเติบโตและขยายธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคต ปัจจุบันแหล่ง เงินทุนที่สําคัญสําหรับสตาร์อัพ คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) มีสตาร์ทอัพ มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสําเร็จเพราะได้รับเงินสนับสนุนจากธุรกิจเงิน ร่วมลงทุน เนื่องจากนักลงทุนประเภทนี้มีความเข้าใจในธุรกิจสตาร์ทอัพและมองเห็นถึงศักยภาพของ ธุรกิจ สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง สามารถให้คําแนะนําและเป็นที่ปรึกษาด้านการดําเนิน ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายร่วมกับเจ้าของสตาร์ทอัพ คือ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตจนประสบความสําเร็จ เพื่อ ผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูง มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศพบว่าประเทศไทยมีข้อจํากัดบางประการที่ทําให้ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เท่าที่ควร มี สภาพแวดล้อมในการทําธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เป็นอุปสรรค เช่น มีการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น พ.ศ. .... ตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถตราเป็น พระราชบัญญัติเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป มาตรการยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการ ลงทุนขาดความต่อเนื่อง โครงการ SMART Visa ที่ให้สิทธิพิเศษแก่ชาวต่างชาติที่เป็นนักลงทุนไม่ ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายรัฐบาล เป็นต้น จากการศึกษามาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนของประเทศสิงคโปร์และอิตาลี ในด้าน กฎหมาย มาตรการทางภาษี มาตรการเชิงนโยบายของภาครัฐ ผู้เขียนเห็นว่า สามารถนําแนวคิดหรือ รูปแบบการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนบางประการมาปรับใช้ตามความเหมาะสมของบริบทและ สภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยปรับปรุงกฎหมายให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุน เพิ่มมาตรการ ยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการลงทุนในสตาร์ทอัพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่นัก ลงทุนต่างชาติ ตลอดจนรัฐบาลจัดตั้งกองทุนร่วมกับธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่ สตาร์อัพ หากประเทศไทยมีมาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดนักลงทุนให้ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย


แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณี ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร, สาธินี เลิศเมธากุล Jan 2021

แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณี ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร, สาธินี เลิศเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ ประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์ปัญหาของการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีและปัญหา อื่นที่ส่งผลต่อความถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ และศึกษา แนวทางการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษี อากร (CPTA) เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดที่สําคัญ และข้อดีของแนวทางดังกล่าว นําไปสู่การเสนอ แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี อากร จากการศึกษาพบว่า การตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทยไม่สามารถรับรองความ ถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้ ทําให้ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของการเสียภาษีซ้ำโดย กรมสรรพากร มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในฐานะผู้ตรวจสอบและ รับรองบัญชีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีที่จะต้องชําระ ผู้ประกอบการ ขาดความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเสียภาษี และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรโดยเฉพาะ สําหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้ของประเทศญี่ปุ่นมีการรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีเงิน ได้ที่จะต้องเสียตั้งแต่ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ โดยกําหนดให้มีวิชาชีพผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีภาษีอากร (CPTA) ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาด้านภาษี คํานวณภาษีและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการเสียภาษี หรือการคืนภาษี รวมถึงเป็นตัวแทนในการเสียภาษีและเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ กรมสรรพากรกรณถีูกตรวจสอบ โดยปฏิบัติงานเป็นอิสระจากกรมสรรพากร ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทยให้ เป็นการรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้ที่จะต้องเสียตั้งแต่ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ ตามแนวทางของประเทศญี่ปุ่น จะทําให้การคํานวณภาษีของกิจการที่ผ่านการตรวจสอบและรับรอง บัญชีโดย CPTA นั้นถูกต้อง ครบถ้วน มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการตรวจสอบในสาระสําคัญทางด้าน ภาษีอากรโดยเฉพาะ ส่งผลให้แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีของกิจการนั้นถูกต้องและครบถ้วน ในสาระสําคัญตั้งแต่ตอนชําระภาษี ซึ่งจะให้ความเชื่อมั่นต่อกรมสรรพากรและช่วยลดขั้นตอนในการ ตรวจสอบซ้ำของกรมสรรพากรได้


แนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) : ศึกษากฎทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-Tax Avoidance Rules), สุภาวี ไกรทอง Jan 2021

แนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) : ศึกษากฎทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-Tax Avoidance Rules), สุภาวี ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ ภายใต้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2564 ที่มีสาระสำคัญในการ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการนำข้อมูลผู้มีถิ่นฐานทางภาษีของประเทศคู่สัญญา ที่ถือครอง บัญชี หรือมีบัญชีที่เข้าข่ายต้องถูกนำส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ เป็นรายปี ด้วยวิธีบันทึกลงในฐานข้อมูล ตามมาตรฐานและการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลที่กำหนดโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และกรมสรรพากรไทยจะได้รับข้อมูลทางบัญชีของผู้มีถิ่นที่อยู่เพื่อการ จัดเก็บภาษีในไทยส่งกลับมาเช่นกัน จากการวิเคราะห์มาตรการตามร่างพระราชบัญญัติฯ พบว่า เมื่อได้รับข้อมูลทางบัญชีจากการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศจากประเทศภาคีที่ทำตามความตกลง หากพบความ ผิดปกติ เช่น มีแนวโน้มกระทำธุรกรรมเพื่อเลี่ยงภาษี กฎหมายไทยยังไม่มีการบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์ อักษรในเรื่องดังกล่าวในการตรวจสอบผู้ที่กระทำการจงใจเลี่ยงภาษีด้วยการย้ายเงินได้ เงินทุน ประกอบธุรกรรมในต่างประเทศ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินใน ยุคดิจิทัล การลงทุนในรูปแบบต่างๆ นั้นมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและในบางครั้งอาจเกินกว่าที่ข้อ กฎหมายจะสามารถระบุออกมาได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นกฎหมายดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้เท่า ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด จึงศึกษาแนวทางการบัญญัติกฎ ทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-tax Avoidance Rules) และเสนอให้ เพิ่มมาตรการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ และกำหนดกลไกทางกฎหมายอย่าง ครบถ้วนในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ เพื่อพิจารณาในประเด็นการ กระทำที่มีเหตุจูงใจ หรือเชื่อได้ว่าจงใจเลี่ยงภาษีรวมถึงหลักการรายงานข้อมูลเงินได้นอกประเทศไม่ ว่าจะนำเงินได้กลับเข้าประเทศหรือไม่ โดยการระบุขั้นต่ำของยอดเงินในบัญชีและประเภทของเงินได้ ที่ต้องรายงาน รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเข้า รายงานโดยตรงต่อหน่วยงานทางภาษีที่เกี่ยวข้อง หากไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมในต่างประเทศ ในอดีตที่มีผลสืบเนื่องทางภาษี และมีการลดหย่อนโทษที่อาจเกิดขึ้นหากผู้มีหน้าที่เสียภาษีถูก ตรวจสอบ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติในการจัดเก็บภาษีบนเงินได้ ดังกล่าวได้ในอนาคต


ปัญหาการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, วารีย์ยา รัตนวรคุณ Jan 2021

ปัญหาการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, วารีย์ยา รัตนวรคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. 2562 จึงต้องถูกจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเก็บจากมูลค่าของสิ่งปลูกสร้าง โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ เมื่อโรงไฟฟ้าชีวมวลมีลักษณะเฉพาะและมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ จึงแตกต่างจากสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงาน ทำให้ไม่สามารถเทียบเคียงกับบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างและบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ และไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไว้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจึงนำโรงไฟฟ้าชีวมวลไปเทียบกับสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงาน ทำให้การประเมินราคาเพื่อกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีมาตรฐานในการประเมิน อาจส่งผลให้ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริง ตลอดจนทำให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นได้ว่า การประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีนั้นจึงถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินราคาโรงไฟฟ้า ชีวมวลเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเด็นปัญหาการคำนวณมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาลักษณะ รูปแบบของกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล และเพื่อกำหนดวิธีการประเมินราคาโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางการปรับใช้อย่างเหมาะสม ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรให้มีการกำหนดบัญชีสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเทียบเคียงได้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำแนกสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเทียบเคียงกับบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างและบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างของกรมธนารักษ์ ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายโดยกำหนดวิธีการประเมินราคาเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีความแน่นอน ชัดเจน และเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการปฏิรูประบบภาษีให้มีการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมต่อภาครัฐและผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล เพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจให้กับนักลงทุน ตลอดจนบรรลุเป้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบายพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลของประเทศไทย


ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจ, อวัสดา กิมฮง Jan 2021

ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจ, อวัสดา กิมฮง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ออกตามความพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่งผลให้ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง ได้รับยกเว้น จึงเกิดความไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคในการเสียภาษี ซึ่งแต่เดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มิได้มีการยกเว้นอย่างกว้างขวางเช่นนี้ เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการทั้งในด้านการจัดเก็บภาษี การยกเว้นภาษีทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ในประเทศไทย และต่างประเทศ อาทิเช่นประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส จากการศึกษาพบว่าการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับรัฐวิสาหกิจนั้น ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นอย่างมาก อาทิเช่น ขัดกับหลักความเสมอภาคหรือหลักความยุติธรรมในการเสียภาษี กระทบต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทบโดยตรงต่อการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังผลต่อการถือครองที่ดินที่ไม่เกิดประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ในการตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562 และยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพื่อลดการเอื้อประโยชน์ให้กับรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ และสอดคล้องกับเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ 2562


ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อประวิงการชําระหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย, วรุณกมล ประเสริฐศรี Jan 2021

ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อประวิงการชําระหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย, วรุณกมล ประเสริฐศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาลักษณะพฤติการณ์ประวิงเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และปัจจัยที่มีผลต่อการประวิงเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่าลูกหนี้บางรายของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเจตนาประวิงเวลาโดยอาศัยประโยชน์จากสภาวะพักชำระหนี้ (Automatic Stay) นับแต่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ หรือลูกหนี้ถอนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ หรือคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ทำให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรทางด้านเวลาการทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าทนายความ โดยที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งสรุปได้ว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในลักษณะประวิงเวลา ดังนี้ 1) กรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการมากกว่า 2 ครั้ง 2) กรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องโดยไม่สุจริต 3) ลูกหนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือไม่มีเหตุในการฟื้นฟูกิจการ 4) ถอนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการระหว่างการไต่สวน ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมโดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ที่มีเจตนาประวิงเวลาการชำระหนี้โดยอาศัยประโยชน์จากสภาวะพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย


มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษี, กนกนันท์ ชนาทรธรรม Jan 2021

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษี, กนกนันท์ ชนาทรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษีเพื่อวัตถุประสงค์ตามภารกิจของกรมสรรพากรดำเนินการโดยอาศัยฐานการประมวลผลโดยชอบด้วยกฎหมาย คือเป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจของรัฐเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันที่มีการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านภาษี การริเริ่มใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสนับสนุนการดำเนินกระบวนงานทางภาษีของกรมสรรพากรจึงเกิดเป็นมาตรฐานใหม่ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล จากการศึกษาพบว่า มี 3 การดำเนินกระบวนงานหลักของกรมสรรพากร คือ การสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบ การกำกับดูแลและตรวจสอบภาษีและงานกฎหมายและเร่งรัดภาษีอากรค้างที่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะมาใช้ โดยการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะนั้นสามารถทำได้ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าการใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษีสามารถทำได้โดยสอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมสรรพากรควรกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสาธารณะทางภาษีตามหลักความชอบด้วยกฎหมาย ความเป็นธรรม และความโปร่งใส (Lawfulness Fairness and Transparency) และเพิ่มมาตรการในการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะทางภาษีเพื่อให้สอดคล้องตามหลักความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูล หรือหลักการใช้ข้อมูลให้น้อยที่สุด (Data minimization)


ผลกกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ : ศึกษากรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา, บุณยกร มุสิโก Jan 2021

ผลกกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ : ศึกษากรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา, บุณยกร มุสิโก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทคัดย่อฉบับนี้มุ่งศึกษาผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการ รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ เนื่องด้วยการค้าขายสินค้าออนไลน์หรือการค้าในธุรกิจ E- Commerce ในปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทำให้มีบุคคลธรรมดาเริ่มมีการขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับการขายสินค้าออนไลน์จะมีรูปแบบการชำระเงินในรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาแล้ว ผู้เขียนจึงได้ศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการ รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ โดยการวิจัยครั้งที่เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีขอบเขตการวิจัยดังนี้ 1) ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ประกอบการ 414 คน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทำการชำระเงินผ่านผู้ขายโดยตรง ซึ่งรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีสถาบันการเงินเป็นตัวกลางในการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ประกอบกับตามที่ประมวลรัษฎากรได้มีการออกกฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายเป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มธุรกรรมที่มีวิจัยคือแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์(google forms) 3)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายการแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ และเปรียบเทียบค่าคำตอบที่ได้โดยดูค่าความสัมพันธ์ ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบ ผลวิจัยครั้งหลักเกณฑ์การจัดให้ผู้ให้บริการรายงานข้อมูลนั้นก็ยังครอบคลุมบุคคลได้น้อย ยังมีบุคคลอีกจำนวนมากที่เข้าหลักเกณฑ์มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ถูกรายงานและการรายงานข้อมูลก็ยังไม่อาจทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์บ้าง อีกทั้งยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการแม้ว่าไม่มีการเสียภาษี แต่ก็ไม่ได้รับหมายเรียกจากเจ้าพนักงานประเมิน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์


วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กมลพร จอม จรดล Jan 2021

วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, กมลพร จอม จรดล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอันเป็นปัญหาที่สำคัญไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นปัญหาที่สังคมระดับโลกต่างให้ความสนใจ ตระหนักถึงและมุ่งแก้ไขปัญหานี้มาอย่างยาวนาน ผู้เขียนจึงเลือกศึกษาวิจัยในกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม โดยมุ่งศึกษาวิเคราะห์ในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. .... ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันเป็นกฎหมายเฉพาะในเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งพบว่าแม้ว่าในประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างมากมาย แต่เป็นการบัญญัติที่กระจัดกระจายในกฎหมายอื่นๆ และยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมที่ชัดเจน ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นฉบับที่ผู้เขียนมุ่งศึกษาวิจัยเป็นฉบับที่ถูกเสนอใน พ.ศ. 2560 โดยคณะรัฐมนตรีและในปัจจุบันถูกพิจารณาให้ตกไป เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลง แม้ว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขปรับปรุงจากฉบับที่ถูกเสนอใน พ.ศ. 2550 แต่พบว่ายังคงมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาการบัญญัติคำนิยามที่ไม่ชัดเจนของคู่สมรส บุตร ญาติและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาการไม่นำหลักการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะมาใช้ ปัญหาการจำกัดโอกาสในการประกอบวิชาชีพ ปัญหาการบัญญัติลักษณะและข้อห้ามของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ปัญหาการกำหนดบทลงโทษ ปัญหาหน่วยงานที่เข้ามาควบคุมและปัญหาอื่นๆ ผู้เขียนจึงได้นำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมทั้งในและต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศแคนาดา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และสาธารณรัฐสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีค่าดัชนีชี้วัดความโปร่งอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกมาใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นแนวทางเสนอแนะหากร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมถูกนำกลับมาเสนออีกในภายภาคหน้า และเพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมต่อไป


การกำหนดขอบเขตตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, กรวินท์ กาญจนพิบูลย์ Jan 2021

การกำหนดขอบเขตตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, กรวินท์ กาญจนพิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผ่านสื่อกลางคือ แพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งนี้ ด้วยลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ที่มีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปนั้น ได้ส่งผลกระทบถึงการกำหนดขอบเขตตลาดที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีข้อพิจารณาเพิ่มเติมอันเกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจ ที่นอกเหนือไปจากประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณากำหนดขอบเขตตลาดและส่วนแบ่งตลาด พ.ศ. 2561 ที่มีการใช้บังคับเป็นแนวทางสำหรับการกำหนดขอบเขตของธุรกิจทั่วไปในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลถึงการกำหนดขอบเขตตลาด ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า ตลอดจนกฎหมาย แนวความคิด แนวทางปฏิบัติ และข้อพิจารณาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดขอบเขตตลาด สำหรับธุรกิจทั่วไป และธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับดิจิทัลของต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่าควรมีการนำเอาลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่มีตลาดแบบหลายด้าน ลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่มีการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจ ลักษณะของรูปแบบธุรกิจที่มีการให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และลักษณะของการให้บริการดิจิทัล มาใช้ในการพิจารณาเพื่อกำหนดขอบเขตของตลาด ร่วมกับแนวทางการกำหนดขอบเขตตลาดตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน จากผลการศึกษาข้างต้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตตลาดของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งออกเป็นสองแนวทาง ได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง คือ การออกประกาศของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของตลาด สำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการเฉพาะ เพื่อระบุข้อพิจารณาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เอาไว้โดยชัดแจ้งในกฎหมาย และแนวทางที่สอง คือ การที่ให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือหน่วยงานที่มีอำนาจหรือเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเพื่อกำหนดขอบเขตของตลาด ดำเนินการพิจารณาหรือวิเคราะห์เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของตลาด โดยการนำเอาลักษณะเฉพาะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาร่วมในการพิจารณาควบคู่ไปกับการใช้บังคับประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณากำหนดขอบเขตตลาดและส่วนแบ่งตลาด พ.ศ 2561 ทั้งนี้ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวทางที่หนึ่ง เนื่องจากว่าแนวทางปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรดังกล่าว จะทำให้ข้อพิจารณามีความชัดเจน และการบังคับใช้ข้อพิจารณาดังกล่าวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ


หลักความเสมอภาคกับการคุ้มครองสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกในบริบทกฎหมายไทย, ฉัตรชัย เอมราช Jan 2021

หลักความเสมอภาคกับการคุ้มครองสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกในบริบทกฎหมายไทย, ฉัตรชัย เอมราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้หลักความเสมอภาคเพื่อคุ้มครองสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกควรเป็นไปในแนวทางที่ยอมรับว่าบุคคลเพศทางเลือกมีศักดิ์ศรีและควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปในสังคม โดยการใช้และตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายกับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกในกรณีที่เพศของบุคคลมิได้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ผู้มีอำนาจใช้และตีความกฎหมายย่อมสามารถนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้กับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกได้โดยตรง เว้นแต่ในกรณีของบทบัญญัติเงื่อนไขด้านเพศของคู่สมรสและข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายประสงค์ให้ถือเอาเพศของบุคคลเป็นสาระสำคัญ ขณะที่การกำหนดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกขึ้นเป็นการเฉพาะควรเป็นไปในลักษณะที่ครอบคลุมถึงเพศของบุคคลโดยมิได้ยึดโยงอยู่กับสรีระร่างกายเพียงอย่างเดียว ภายใต้ข้อพิจารณาสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของกฎหมายกับรูปแบบการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกและความสอดคล้องกับความหลากหลายทางเพศในสังคมที่มิได้จำกัดเพียงบุคคลเพศทางเลือกเท่านั้น


ปัญหาการใช้ฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบของธนาคารพาณิชย์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล, ทศพร โคตะมะ Jan 2021

ปัญหาการใช้ฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบของธนาคารพาณิชย์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล, ทศพร โคตะมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งหวังที่จะศึกษาการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล โดยมุ่งเน้นกรณีการประมวลผลบนฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบธรรม (legitimate interest) ซึ่งนำมาใช้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, General Data Protection Regulation (GDPR) ตลอดจนกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของการธนาคารระหว่างประเทศ และแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่า มีความคลุมเครือในการใช้ฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบธรรม (legitimate interest) ในวัตถุประสงค์เดียวกันของธนาคารพาณิชย์ ปราศจากมาตรฐานในวิธีการประเมิน และนโยบายการเก็บรักษาข้อมูล หรือ หลักการอื่นๆ ยังคงไม่ชัดเจน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างมาตรฐานและวิธีการ สำหรับวัตถุประสงค์ซึ่งใช้ฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบธรรม (legitimate interest) รวมถึงมาตรฐานนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลสำหรับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


อำนาจและหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในประเทศไทย, ดวงฤทัย บัวแก้ว Jan 2021

อำนาจและหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในประเทศไทย, ดวงฤทัย บัวแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงอำนาจและหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านในประเทศไทย เพื่อปรับปรุงการทำหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้าน อันแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานของผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เปรียบเทียบกับประสบการณ์ของต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศแคนาดา เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้นำฝ่ายค้านของประเทศไทย นอกจากนี้แล้วก็เพื่อส่งเสริมบทบาทของผู้นำฝ่ายค้านในการทำหน้าที่ตรวจสอบกำกับดูแลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายรัฐบาล จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือพระราชบัญญัติฉบับใดกำหนดถึงหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านหรือพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไว้แต่อย่างใด คงมีเพียงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านที่มีการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามการขาดบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านก็ก่อให้เกิดปัญหาที่ผู้นำฝ่ายค้านขาดหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงขอเสนอว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้าน การแก้ไขจะไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงอำนาจและหน้าที่ของผู้นำฝ่ายค้านเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกิดความมั่นใจในการเฝ้าติดตามฝ่ายบริหารและรัฐบาลในอนาคต


การส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางของผู้พิการทางสายตาบนพื้นฐานแนวคิดว่าด้วยความพิการด้านสิทธิมนุษยชน : ศึกษากรณีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของผู้พิการทางสายตาโดยใช้สุนัขนำทาง, ธนภรณ์ ลิ้มเทียมเจริญ Jan 2021

การส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางของผู้พิการทางสายตาบนพื้นฐานแนวคิดว่าด้วยความพิการด้านสิทธิมนุษยชน : ศึกษากรณีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของผู้พิการทางสายตาโดยใช้สุนัขนำทาง, ธนภรณ์ ลิ้มเทียมเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวคิดว่าด้วยความพิการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี รวมถึงศึกษากฎหมายที่ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางของผู้พิการทางสายตาโดยใช้สุนัขนำทางบนความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างแนวคิดว่าด้วยความพิการด้านสังคมและแนวคิดว่าด้วยความพิการด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักอัตตาณัติ และความสัมพันธ์เชิงปฏิเสธของแนวคิดว่าด้วยความพิการด้านการแพทย์ภายใต้หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนศึกษาบทบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของผู้พิการทางสายตาโดยใช้สุนัขนำทางของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางในประเทศไทยยังคงประสบปัญหา 2 ประการ คือ ประการแรก ปัญหากฎหมายการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางที่ไม่เพียงพอ และกฎหมายที่กีดกันการใช้สิทธิและเสรีภาพดังกล่าว ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550, พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522, กฎข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการบรรทุกส่งผู้โดยสารและสัมภาระของผู้โดยสารตามทางรถไฟและอัตราค่าโดยสาร เล่ม 2 พ.ศ. 2469 และอื่น ๆ รวมถึงปัญหาการขาดบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมสุนัขนำทาง และประการที่สอง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาถึงสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก ได้แก่ ประเทศบัลแกเรีย ฝรั่งเศส และโปแลนด์ประเทศอังกฤษ และประเทศออสเตรเลียและรัฐควีนส์แลนด์ พบว่าประเทศเหล่านี้ให้การส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเดินทางของผู้พิการทางสายตาโดยใช้สุนัขนำทางอย่างครอบคลุม และสอดคล้องกับความสัมพันธ์เชิงปฏิเสธและเชิงเกื้อกูล ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำแนวทางของประเทศดังกล่าวมาเสนอแนะเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้สุนัขนำทางได้


ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558, บูรณิมา อรุณนิมิตกุล Jan 2021

ความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558, บูรณิมา อรุณนิมิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 31 วรรคสอง โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตั้งแต่ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดอาญา โครงสร้างความรับผิดทางอาญา รวมถึงหลักความรับผิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น (Vicarious Liability) และนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมต่อไป จากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่าการที่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 31 วรรคสองกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดในทางอาญาจากการกระทำของผู้ชุมนุมนั้นมีปัญหาที่สำคัญ 2 ประการ1. การกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการชุมนุมไม่เป็นไปตามหลักการกำหนดความรับผิดในทางอาญาทั่วไปที่กำหนดให้บุคคลต้องรับผิดเฉพาะแต่การกระทำของตนเองเท่านั้น โดยที่เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะในต่างประเทศที่ผู้วิจัยได้ทำการเลือกมาศึกษาวิจัยเปรียบเทียบแล้วพบว่าในต่างประเทศไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่กำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดจากการกระทำของผู้ชุมนุมเช่นเดียวกับรูปแบบของกฎหมายไทย 2. การกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุมจำเป็นต้องพิจารณาถึงนิยามคำว่า “ผู้จัดการชุมนุม” ประกอบด้วย ซึ่งการกำหนดคำนิยามคำว่าผู้จัดการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 ประกอบกับมาตรา 10 วรรคสองนั้น บัญญัติไว้อย่างกว้างจนส่งผลให้บุคคลจำนวนมากอยู่ในฐานะผู้จัดการชุมนุมทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้จัดการชุมนุมตามความเป็นจริง โดยที่เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศแล้วพบว่ามีการกำหนดคำนิยามคำว่าผู้จัดการชุมนุมไว้ชัดเจนกว่าซึ่งเหมาะแก่การนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามคำว่าผู้จัดการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4 เพื่อให้การกำหนดว่าบุคคลใดอยู่ในฐานะผู้จัดการชุมนุมมีความชัดเจนมากขึ้น และ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้จัดการชุมนุมจากการกระทำของผู้ชุมนุม โดยเปลี่ยนเป็น ให้ผู้จัดการชุมและผู้ชุมนุมต่างต้องรับผิดทางอาญาจากการกระทำของตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลมากยิ่งขึ้น


ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการค้าปลีกไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยในประเทศไทย, ปัทมณัฏฐ์ ก่อสกุล Jan 2021

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการค้าปลีกไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยในประเทศไทย, ปัทมณัฏฐ์ ก่อสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ถูกตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า และมีบทบัญญัติที่เปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบกิจการค้าปลีกไฟฟ้าได้หลายราย ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่ทำให้เอกชนผู้ค้าปลีกไฟฟ้า ผู้รวบรวมไฟฟ้า (Aggregators) ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าในรูปแบบธุรกิจใหม่ และผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง (Prosumer) สามารถจำหน่ายไฟฟ้า และจัดหาบริการเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้า (Ancillary Services) ได้ รวมถึงการซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้า (Peer-to-Peer: P2P) ได้ แต่ปัจจุบัน การแข่งขันในกิจการค้าปลีกไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ผู้ใช้ไฟฟ้ายังต้องซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จากการศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการค้าปลีกไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยในสหราชอาณาจักร ซึ่งถือเป็นประเทศต้นแบบ และข้อกำหนดกิจการไฟฟ้าของคณะกรรมาธิการยุโรป พบว่า มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ยังมีข้อจำกัดในแต่ละลำดับชั้นการซื้อขายไฟฟ้า ประการที่หนึ่ง การมีส่วนร่วมในการค้าปลีกไฟฟ้า โดยประเภทของใบอนุญาตประกอบกิจการยังไม่ครอบคลุมการประกอบกิจการไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ และการพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P ประการที่สอง ความสามารถในการซื้อขายไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งยังคงผูกขาดการประกอบกิจการค้าปลีกไฟฟ้า ทำให้มีโอกาสในการเลือกปฏิบัติ ใช้อำนาจเหนือตลาดที่เกี่ยวข้องในทางมิชอบ สืบเนื่องจากสภาพการผูกขาดดังกล่าว สิทธิในการใช้และเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อการค้าปลีกไฟฟ้าแบบ P2P ยังคงถูกจำกัดเฉพาะผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าบางประเภทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อทำลายข้อจำกัดดังกล่าวทั้งสามลำดับชั้นควบคู่กันไป ป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจเหนือตลาดของการไฟฟ้ารัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งโดยมิชอบ และส่งเสริมให้เอกชน ผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ สามารถค้าปลีกไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน


มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์, ปาริชาต ดวงแก้ว Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์, ปาริชาต ดวงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ สามารถกระจายเนื้อหาออกสู่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว เพราะสื่อออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อแสดงความคิดเห็น และส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้รัฐต่าง ๆ จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลรวมถึงสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้ในการจัดการกับข่าวปลอม สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐมีกฎหมายที่ใช้ในการจัดการกับข่าวปลอม แต่จากข้อเท็จจริง พบว่า การกำกับดูแลข่าวปลอมของประเทศไทยยังเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเกินสมควร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการกับข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาขอบเขตของสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและความจำเป็นในการมีกฎหมายต่อต้านข่าวปลอมในประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์ มีปัญหาในเรื่อง ความไม่ชัดเจนของถ้อยคำตามตัวบทกฎหมาย องค์กรที่ใช้ในการตรวจสอบข่าวปลอม การตรวจสอบการดำเนินคดีข่าวปลอมและสภาพบังคับทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมซึ่งส่งผลเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเกินสมควร จึงได้ทำการวิเคราะห์ถึงการกำหนดนิยาม ความมีประสิทธิภาพขององค์กรที่ใช้ในการตรวจสอบและการตรวจสอบการดำเนินคดีข่าวปลอม รวมถึงสภาพบังคับทางกฎหมายที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงได้เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการกับข่าวปลอมในประเทศไทยว่า รัฐควรมีการกำหนดนิยามของข่าวปลอมให้มีความชัดเจนและควรต้องกำหนดสภาพบังคับทางกฎหมายในรูปแบบอื่นที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่มีโทษน้อยกว่าสภาพบังคับทางอาญา รวมทั้งควรมีมาตรการทางนโยบายในการกำกับดูแลองค์กรที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตน จะไม่ถูกจำกัดโดยรัฐโดยปราศจากความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน


ความรับผิดทางอาญาของแพทย์กรณีจำเป็นต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วย, วริศรา วิเชียรมณี Jan 2021

ความรับผิดทางอาญาของแพทย์กรณีจำเป็นต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วย, วริศรา วิเชียรมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายอาญากรณีที่แพทย์จำเป็นต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วย ผู้วิจัยมุ่งศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหาและผลในทางกฎหมายอาญา โดยเปรียบเทียบบทบัญญัติ แนวคิดและความเห็นของนักวิชาการของต่างประเทศ เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายอาญาหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดของแพทย์ในเรื่องความจำเป็นของแพทย์ในการเลือกรักษาผู้ป่วยที่ถูกต้องและเหมาะสม ท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญกับการตัดสินใจในการเลือกว่าผู้ป่วยคนใดจะได้รับการรักษาเพื่อให้ได้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป การที่แพทย์ต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ขณะที่ไม่มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจนนั้นอาจทำให้แพทย์มีความรับผิดในทางอาญา แม้ว่าแพทย์อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็น ซึ่งเป็นเพียงเหตุยกเว้นโทษ หรือศาลอาจเห็นว่าเป็นกรณีเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ได้สัดส่วนทำให้แพทย์ไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร ทั้งที่การที่ต้องกระทำเช่นนั้นเป็นผลโดยตรงจากปัจจัยภายนอกซึ่งอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงเสนอแนะให้มีการยกเว้นความรับผิดในทางอาญาจากการกระทำดังกล่าว โดยกำหนดให้เป็นการกระทำด้วยความจำเป็นที่เป็นเหตุยกเว้นความผิดภายใต้เงื่อนไขว่าการเลือกรักษาต้องทำเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้มีผู้รอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น ต้องเป็นไปตามลำดับที่กำหนดด้วยความเป็นธรรมโดยคำนึงถึงผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่า ต้องกระทำตามหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ที่กำหนดไว้ และต้องไม่เป็นการกระทำโดยประมาท


การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, วรพชร จันทร์ขันตี Jan 2021

การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, วรพชร จันทร์ขันตี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า ประเทศไทยมีมาตรการและกฎหมายในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง และมาตรการเหล่านั้นมีความเพียงพอเหมาะสมต่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุหรือไม่ เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาอันส่งผลต่อการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขเพื่อให้การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุเป็นไปอย่างเพียงพอเหมาะสม จากการศึกษาพบว่า แม้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรม แต่ประกอบด้วยสารัตถะที่สำคัญสองประการ คือสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิในความเสมอภาค และเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และรับรองสิทธิผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็นกฎหมายหลักในการคุ้มครองผู้สูงอายุที่กำหนดสิทธิของผู้สูงอายุด้านต่างๆ ดังนั้น บทบัญญัติแห่งกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายจึงต้องสอดคล้องและคำนึงถึงสารัตถะอันเป็นขอบเขตของการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังกล่าว แต่จากการศึกษารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องพบว่าแม้จะมีความพยายามในการให้ความคุ้มครองผู้สูงอายุ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอและเหมาะสม อันเกิดจากตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎหมายลำดับรอง เพื่อให้การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุมีความเพียงพอและเหมาะสม สอดคล้องกับความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญที่รับรองคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิของผู้สูงอายุต่อไป


ความสอดคล้องของมาตรา 232 ของ U.S. Trade Expansion Act 1962 และกฎหมายอนุวัติการกับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก, พรชนก ใจมะสิทธิ์ Jan 2021

ความสอดคล้องของมาตรา 232 ของ U.S. Trade Expansion Act 1962 และกฎหมายอนุวัติการกับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก, พรชนก ใจมะสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องของมาตรการภายใต้มาตรา 232 ของ U.S. Trade Expansion Act 1962 และกฎหมายอนุวัติการ (15 CFR 705) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่ากฎหมายของสหรัฐฯ) กับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ผลการศึกษาพบว่า มาตรการภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ ไม่สอดคล้องกับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก เนื่องจาก (1) การใช้มาตรการภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์สำคัญเรื่องความมั่นคงของประเทศ และมาตรการภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ ยังไม่เข้าเงื่อนไขของการเป็นมาตรการที่ใช้ในยามสงครามหรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงขัดต่อมาตรา 21 (บี) (iii) ของ GATT (2) การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าอลูมิเนียมและสินค้านำเข้าเหล็กภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ เป็นการแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ จัดเก็บภาษีศุลกากรทั่วไปเกินไปกว่าอัตราที่กำหนดในตารางสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรของตน ซึ่งอีกนัยหนึ่งถือเป็นการปฏิบัติต่อประเทศสมาชิกอื่นด้อยไปกว่าที่กำหนดในตารางสิทธิประโยชน์ฯ นอกจากนั้น แม้สหรัฐฯ อาจเจรจากับประเทศกับประเทศผู้เสียสิทธิประโยชน์จากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ฯ ได้ครบทุกฝ่าย แต่การเจรจากลับเกิดขึ้นหลังจากที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ แล้ว ทั้งสหรัฐฯ ยังเลือกเจรจากับประเทศซึ่งเป็นผู้เสียสิทธิประโยชน์จากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ฯ บางประเทศเท่านั้น จึงขัดต่อมาตรา 2 และมาตรา 28 ของ GATT (3) สหรัฐฯ ไม่ได้ขึ้นภาษีสินค้าอลูมิเนียมและสินค้าเหล็กที่มาจากทุกประเทศโดยพลันและปราศจากซึ่งเงื่อนไข จึงขัดต่อมาตรา 1 วรรค 1 ของ GATT (4) แม้สินค้าอลูมิเนียมและสินค้าเหล็กจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แต่สหรัฐฯ ไม่อาจจำกัดจำนวนการนำเข้าสินค้าทั้งสองชนิดได้ เพราะการจะจำกัดจำนวนการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ได้ต้องเป็นกรณีจำเป็นต่อการบังคับใช้มาตรฐานหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการจำแนกสินค้า การแบ่งชนิดสินค้า หรือการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้น สหรัฐฯ ยังมิได้บังคับใช้การจำกัดจำนวนการนำเข้ากับสินค้าอลูมิเนียมและสินค้าเหล็กที่มาจากทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน คือ “เลือกปฏิบัติ” จึงขัดต่อมาตรา 11 และมาตรา 13 วรรค 1 ของ GATT (5) การใช้มาตรการภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขและกระบวนการ ตลอดจนหลักการพื้นฐานในการใช้มาตรการปกป้อง ภายใต้ GATT/WTO จึงขัดต่อมาตรา 19 ของ GATT และมาตรา 2.1 มาตรา 2.2 มาตรา 3 มาตรา 4.1 (เอ) …


ปัญหาการจัดเก็บภาษีในธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม, นภัทรธมณฑ์ ไก่แก้ว Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีในธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม, นภัทรธมณฑ์ ไก่แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะการลงทุนเพื่อหากำไร และกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรตีความคริปโทเคอร์เรนซีเป็นบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความไม่เหมาะสมหลายประการ ปัญหาประการสำคัญ คือ ด้วยลักษณะเฉพาะของคริปโทเคอร์เรนซีไม่อาจตีความเป็นสินค้าหรือบริการภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มได้ อีกทั้ง กระบวนการในทางปฏิบัติบางประการของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มไม่อาจบังคับใช้กับธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีได้จริง เช่น การออกใบกำกับภาษี นอกจากนั้นลักษณะของการซื้อขายคริปโทเคอร์ซีไม่ใช่การเพิ่มมูลค่าในแต่ละขั้นการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีเป็นธุรกรรมที่กระทำผ่านตัวกลางทำให้ไม่สามารถการระบุตัวตนของผู้ซื้อและผู้ขาย ส่งผลให้การบังคับและตรวจสอบผู้ประกอบการเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงการออกเอกสารทางภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นไปได้ยาก วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาความไม่เหมาะสมอันเกิดจากการตีความคริปโทเคอร์เรนซีให้อยู่ภายใต้กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทย และพิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีบริโภคประเภทอื่นที่อาจมีความเหมาะสมมากกว่า และจากการศึกษา ผู้เขียนเห็นว่าหากพิจารณาให้ธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ภายใต้ระบบภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีเป็นรายธุรกรรม (transaction tax) จะมีความเหมาะสมมากว่า จึงมีข้อเสนอแนะให้ธุรกรรมการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ภายใต้ระบบภาษีธุรกิจเฉพาะ


กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก, ธนกร สามคุ้มพิมพ์ Jan 2021

กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก, ธนกร สามคุ้มพิมพ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้การประกอบธุรกิจการค้าขายต่าง ๆ ของประชาคมโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งในด้านของปริมาณสิงค้าและบริการ การเชื่อมโยงของระบบการชำระเงิน ตลอดจนถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปมาระหว่างกันในแต่ละประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจมักอาศัยช่องว่างทางกฎหมายของรัฐต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารและจัดเก็บภาษีมาเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะส่วนตน จากการณีดังกล่าวการที่การบริหารและจัดเก็บภาษีจะมีประสิทธิได้หรือไม่นั้น ข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งและเป็นสิ่งพื้นฐานจำเป็นสำหรับใช้ในการบริหารและจัดเก็บภาษีให้มีความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ย่อมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ควรจะได้รับและเข้าถึงเพื่อใช้ในการบริหารจัดเก็บภาษีของตน โดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้มีการกำหนดกรอบและแนวทางในการการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องข้อ (Exchange of information on request : EOIR) ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดกรอบแนวทางไว้เพื่อให้ประเทศที่ได้รับการร้องขอข้อมูลต้องมีมาตรฐานและกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้อง รวดเร็ว โดยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอนี้ ประเทศที่เข้าร่วมจะต้องได้รับการประเมินมาตรฐานการรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Peer reviews) จากคณะทำงานการตรวจสอบของ Global Forum ซึ่งผลการประเมินจะมีการให้คะแนนตามลำดับของการปฏิบัติตามาตรฐานที่ OECD กำหนด จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องเข้ารับการประเมิน ซึ่งตามกำหนดจะมีการประเมินในช่วงปี 2565 ซึ่งการประเมินจะมีการดำเนินตรวจสอบใน 3 หลักการ ซึ่งจากการศึกษานั้นพบว่าในบางปัจจัยประเทศไทยยังขาดความพร้อมในด้านของข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งหากประเทศไทยจะผ่านการประเมินด้วยคะแนนที่ดีได้จำต้องมีการออกกฎหมายเพื่อรองรับกรอบข้อกำหนดตามแนวทางของ OCED ให้เสร็จสิ้นพร้อมก่อนการประเมินด้วย


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย, อรณิชา ศิริลักษณาพร Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย, อรณิชา ศิริลักษณาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 นั้นได้มีการออกพระราชบัญญัติแทนกฎหมายเดิมซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีนั้นมีลักษณะแตกต่างจากเดิม โดยตามกฎหมายเดิมนั้นจะมีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณเพื่อจัดเก็บภาษี คือ ค่ารายปีหรือค่าเช่าจากทรัพย์สินนั้น ส่วนตามกฎหมายปัจจุบันนั้นจะมีฐานภาษีจากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ของทรัพย์สินนั้น โดยจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับปัจจุบันนั้นส่งผลให้เจ้าของทรัพย์สินในส่วนของที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม เป็นต้น ต้องมีการรับภาระในการจ่ายชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่ม ทั้งที่ถ้าตามกฎหมายเดิมเจ้าของทรัพย์สินในส่วนของที่อยู่อาศัยจะไม่มีภาระในการจ่ายชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเนื่องจากเป็นการอยู่อาศัยโดยเจ้าของทรัพย์สินเอง ไม่ได้มีการให้ผู้อื่นเช่าจึงไม่มีค่ารายปีที่ต้องนำมาคำนวณเป็นฐานภาษี การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันฐานภาษีนั้นเกิดจากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ของทรัพย์สิน และอัตราภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในแต่ละประเภทไม่เท่ากัน คือ มีการจัดประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย การใช้ประโยชน์อื่น หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า เป็นต้น ซึ่งประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่างกันก็จะทำให้มีการจัดเก็บอัตราภาษีไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงเกิดปัญหาในการตีความนิยามของคำว่าประเภทของที่อยู่อาศัยนั้นว่ามีความเหมาะสมและแน่นอนหรือไม่ เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีการให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย หรือ โฮมสเตย์ควรจะมีการจัดประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการใช้ประโยชน์อื่นในทางพาณิชยกรรม เนื่องจากการจัดประเภทที่แตกต่างกันย่อมส่งผลถึงอัตราภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยเช่นกัน ซึ่งหากถูกจัดประเภทเป็นที่อยู่อาศัยอัตราภาษีย่อมต่ำกว่าการจัดประเภทเพื่อการใช้ประโยชน์อื่น อีกทั้ง การประเมินมูลค่าทุนทรัพย์เพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น วิธีต้นทุน วิธีเปรียบเทียบราคาตลาดและวิธีรายได้ เป็นต้น ซึ่งวิธีการประเมินทุนทรัพย์แต่ละวิธีนั้นย่อมมีมูลค่าในการประเมินทุนทรัพย์ที่แตกต่างกัน ซึ่งหากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินมูลค่าทุนทรัพย์ใช้วิธีในการประเมินที่ไม่เหมาะสม คือ ทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องรับภาระภาษีมากหรือน้อยเกินสมควรย่อมเป็นการประเมินที่ไม่เป็นธรรม เช่น หากประเมินมูลค่าอาคารที่มีต้นทุนการก่อสร้างที่สูง เนื่องจากอาจซื้อวัสดุก่อสร้างมาด้วยราคาที่แพงเกินสมควรจะทำให้การใช้วิธีต้นทุนในการประเมินมูลค่าทุนทรัพย์อาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากหากประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาดแล้วมูลค่าที่ประเมินได้ย่อมอาจมีมูลค่าต่ำกว่าค่อนข้างมาก และจะส่งผลต่อฐานภาษีเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณภาษีต่อไป โดยหากฐานภาษียิ่งมีมูลค่าสูงย่อมทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับภาระภาษีมากขึ้นและหากฐานภาษีมีมูลค่าน้อยกว่าสมควรก็ย่อมทำให้รายได้ของรัฐในการจัดเก็บภาษีนั้นต่ำลง โดยพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ประกอบกับพระราชบัญญัติการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ.2562 นั้นมีการเปลี่ยนวิธีจากการกำหนดค่ารายปีเป็นการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกรณีที่ดินจะใช้ราคาตลาดเป็นหลักในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนสิ่งปลูกสร้างจะใช้ราคาประเมินโดยวิธีต้นทุนเป็นหลัก แต่จากการศึกษานั้นพบว่าประเภทของบ้านนั้นมีหลายประเภท เช่น บ้านไม้ บ้านปูน หรือบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ แต่กรมธนารักษ์หรือผู้ประเมินทุนทรัพย์นั้นได้จำแนกประเมินในการกำหนดราคาประเมินเพียง 2 ประเภท คือ บ้านเดี่ยวและบ้านทาวน์โฮมซึ่งไม่สอดคล้องกับประเภทบ้านที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน และบ้านแต่ละประเภทก็ย่อมมีต้นทุนไม่เท่ากัน จะประเมินบ้านแต่ละประเภทมีต้นทุนที่เท่ากันเพื่อใช้ในการคำนวณเป็นฐานภาษีนั้นย่อมไม่เหมาะสมและไม่เท่าเทียม ดังนั้น จากปัญหาข้างต้นจึงได้มีการศึกษามาตรการทางภาษีของต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้เพื่อที่จะทำการเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย และนำมาเสนอแนวทางในการลดหรือขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในเรื่องของการตีความนิยามของคำว่าประเภทของที่อยู่อาศัย และการกำหนดประเภทของที่อยู่อาศัยในการประเมินมูลค่าทุนทรัพย์เพื่อเป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562