Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics

2021

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 40

Full-Text Articles in Law

แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าโดยอากาศยานไร้คนขับเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย, ธฤต ภูมิวัฒน์ Jan 2021

แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าโดยอากาศยานไร้คนขับเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย, ธฤต ภูมิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอมาตรการและแนวทางในการกํากับดูแลการใช้อากาศ ยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อการศึกษาในแง่ของการพัฒนาระบบขนส่งในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและความหมายของอากาศยานไร้คนขับ โดยมีการวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ในทางกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อขนส่งสินค้าในประเทศไทย โดยมีการใช้ แนวทางการกํากับดูแล และกฎเกณฑ์รวมถึงข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เข้ามาใช้ในการเปรียบเทียบและหาแนวทางให้มีการนําอากาศยานไร้คนขับไปใช้ในการขนส่งเพื่อพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย จากการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาของการใช้อากาศยานไร้คนขับใน ประเทศไทยพบว่าการนําอากาศยานไร้คนขับไปใช้ในทางพาณิชย์ หรือเพื่อการขนส่งสินค้าในระดับ B2C ยังไม่สามารถทําได้เนื่องจากพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้โดรนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของบุคคลอื่นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทบต่อสิทธิ ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเองยังคงมีการศึกษาและพัฒนาอยู่ใน ขณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังไม่มีการกําหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการใช้โดรนเพื่อการขนส่ง สินค้าเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการยากในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการใช้โดรนเพื่อการขนส่งในประเทศ ไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดีจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับการกํากับดูแลการใช้โดรนเพื่อขนส่งสินค้า ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็พบว่า ยังคงมีการใช้ระบบอนุญาตในการพิจารณาให้ทําการ บินโดรนในเชิงพาณิชย์เนื่องจากโดรนยังคงเป็นเทคโนโลยีใหม่และอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลภายนอกหาก ต้องมีการบินผ่านเขตชุมชนหรือที่พักอาศัย จึงยังคงต้องรอให้มีการพัฒนาโดรนต่อไปเพื่อการกําหนด หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากขึ้นในอนาคต ข้อเสนอแนะจึงควรเริ่มต้นให้มีการใช้โดรนขนส่งสินค้าขนาดเล็กภายในเขตประกอบการของ ผู้ประกอบการที่มีกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ของตนเอง โดยในการขออนุญาตนั้นกฎหมายจะต้องกําหนดน้ําหนักและประเภทของสินค้าที่สามารถบรรทุกไปกับตัวโดรนได้โดยโดรนสามารถแนบวัตถุสิ่งของจาก ภายนอกได้ถ้ามีการแนบวัตถุไปอย่างรัดกุมโดยจะต้องไม่ทําให้ลักษณะของการบินเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่ง หมายถึงการแนบสินค้าหรือวัตถุไปกับโดรนนั้นจะต้องไม่เป็นภาระซึ่งส่งผลกระทบในการบินของโดรน รวมไปถึงชนิดของสินค้าต้องไม่เป็นสินค้าอันตราย


การจัดเก็บภาษีเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency), เกศสินี ศรีทิพย์วงศ์ Jan 2021

การจัดเก็บภาษีเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency), เกศสินี ศรีทิพย์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เกิด จากคริปโทเคอร์เรนซีใน 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ (1) การกำหนดประเภทเงินได้ (2) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ (3) วิธีการคำนวณมูลค่ารวมถึงการกำหนดต้นทุนเพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วยวิธีการศึกษาเรียบ เรียงวิธีวิจัยเชิงเอกสารเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัล กิจกรรมที่ก่อให้เกิดเงินได้จากคริปโทเคอร์เรน ซี รวมถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้จากคริปโทเคอ์เรนซีของประเทศไทยและ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังการศึกษาได้นำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาทำการวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบ มาตราการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทยและในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อ หาแนวทางในการกำหนดประเภทเงินได้พึงประเมิน หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ วิธีการคำนวณมูลค่ารวมถึง การกำหนดต้นทุนเพื่อจัดเก็บภาษี เพื่อให้สามารถใช้บังคับเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้อย่างตรงตาม วัตถุประสงค์และให้มีความชัดเจนต่อนักลงทุนไทยเพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาพบว่า สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายว่าจะเป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะมาทดแทนการใช้เงินสดในปัจจุบัน จะเห็นว่าธนาคารกลางแต่ละประเทศ ได้มีการศึกษาการออกสกุลเงินดิจิทัล หรือที่เรียกว่าสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency “CBDC”) จากเทรนโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้หลาย ๆ ประเทศออกกฎหมายเพื่อกำกับ ดูแลการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี รวมถึงประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ คริปโทเคอร์เรนซีอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ซึ่งออกมาเพื่อ กำกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อให้มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน โปร่งใส รวมถึงคุ้มครองผู้ลงทุนจากการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัล และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561 ซึ่งออกมาเพื่อ กำหนดส่วนเพิ่มประเภทย่อยที่เกิดจากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลให้เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร และกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 15 ของเงินได้ตามมาตรา 50 (2) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้จากคริปโทเคอร์ เรนซีดังกล่าวไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีที่มีเงินได้ จากผลการศึกษาโดยวิธีการเปรียบเทียบมาตราการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี ในประเทศไทยและในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าทั้งสองประเทศมีมุมมองต่อคริปโทเคอร์เรนซีที่คล้ายกัน กล่าวคือ ในการตีความว่าคริปโทเคอร์เรนซีเป็นประเภทหนึ่งของสินทรัพย์ เนื่องจากมีเงินได้ในรูปดอกผลหรือ กำไรจากการลงทุน ไม่ได้มีลักษณะเป็นเงินตราเนื่องจากมีความผันผวนสูง และมีการจัดเก็บภาษีจากกำไร ส่วนเกินทุน (Capital gain) โดยมีความแตกต่างกันในเรื่องที่ศึกษา 3 ด้านหลัก ๆ คือ (1) การกำหนดประเภท เงินได้ (2) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ และ (3) …


การกำหนดเขตสูบบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง : ศึกษากรณีท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศไทย, ฐิติกาญจน์ ชัยพินิจ Jan 2021

การกำหนดเขตสูบบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง : ศึกษากรณีท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศไทย, ฐิติกาญจน์ ชัยพินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control: FCTC) และมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ที่ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากโรคภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ยาสูบรวมถึงได้มีการกำหนดมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมทั้งยกระดับการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ของประชาชน และยังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ให้ไม่ต้องได้รับควันบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะ โดยประเทศไทยแบ่งสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 พื้นที่และบริเวณทั้งหมด ซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้นรวมทั้งระยะทาง 5 เมตร จากทางเข้า–ออกของสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ ประเภทที่ 2 พื้นที่และบริเวณทั้งหมดซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้นเป็นเขตปลอดบุหรี่ ประเภทที่ 3 พื้นที่และบริเวณทั้งหมดที่ใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้น เป็นเขตปลอดบุหรี่แต่สามารถจัดเขตสูบบุหรี่ นอกอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างได้ และประเภทที่ 4 พื้นที่เฉพาะส่วนที่ระบุ รวมถึงระยะ 5 เมตรจากพื้นที่ ที่ระบุ หรือจากประตู หน้าต่าง ทางเข้า ทางออก ท่อ หรือช่องระบายอากาศ จากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมถึงท่าอากาศยานให้เป็นสถานที่สาธารณะที่ให้ มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้พื้นที่และบริเวณทั้งหมดทั้งภายในและภายนอกอาคารเป็นเขตปลอดบุหรี่แต่สามารถจัดให้มีเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะได้ จึงเป็นที่มาของการยกเลิกห้องสูบบุหรี่ ในท่าอากาศยาน จำนวน 6 แห่ง ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมียกเว้นว่าจะสามารถ สูบบุหรี่ได้เฉพาะในบริเวณที่จัดให้เป็นเขตสูบบุหรี่โดยเฉพาะเท่านั้น แต่การให้สูบบุหรี่ในเขตสูบบุหรี่ ที่จัดเป็นการเฉพาะไว้ แต่อยู่ภายนอกอาคารลักษณะดังกล่าวไม่สามารถควบคุมควันบุหรี่ได้ เนื่องจากควันบุหรี่ หากอยู่ภายนอกอาคาร โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างสามารถลอยฟุ้งกระจายได้อย่างไร้ทิศทาง โดยไม่สามารถควบคุมทิศทางการฟุ้งกระจายของควันบุหรี่ได้ และควันบุหรี่นี้เดินทางได้ไกลกว่าที่จะคาดหมายได้ …


การเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเบาะแสตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาหน่วยงานท้องถิ่น กรุงเทพฯ, พีรพล ธนทวี Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเบาะแสตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาหน่วยงานท้องถิ่น กรุงเทพฯ, พีรพล ธนทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง กรุงเทพฯ ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านรูปแบบการแจ้งเบาะแส เมื่อพบผู้กระทําความผิด บนทางเท้าของ เขตกรุงเทพฯ ผ่านวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยทางเอกสาร ผ่านการค้นคว้า ศึกษา สืบค้น รวบรวมข้อมูล จาก หนังสือ บทความที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในและ ต่างประเทศ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังศึกษาถึงข้อจํากัดภายใต้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ของประเทศไทย ตลอดจนข้อจํากัดต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเบาะแสให้ดียิ่งขึ้น การที่ผู้แจ้งเบาะแส ได้รับเงินรางวัล จากการแจ้งเบาะแส นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการกระตุ้นให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเมืองให้เติบโตไปอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอและยังไม่มี กฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสโดยตรง ซึ่งผู้วิจัย เห็นว่าการดําเนินการของผู้แจ้งเบาะแส ในปัจจุบัน ยังมี ช่องว่างที่จะสามารถทําให้เกิดพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ผ่านมิติของกฎหมาย ดังนี้บทสรุปของการศึกษานี้ พิจารณาได้ว่าเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการแจ้งเบาะแสมากขึ้น การให้เงินรางวัล กับผู้แจ้งเบาะแส จึงเป็น ช่องทางหนึ่ง ที่สามารถให้กลไกทางการมีส่วนร่วมและการร่วมกันตรวจสอบของทุกภาคส่วน ไปขับเคลื่อน ให้สังคมดีขึ้นได้


แนวทางในการนำมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ฉบับปรับปรุง 2563 มาใช้กับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยของ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, นุสรา มานะกิจลาภ Jan 2021

แนวทางในการนำมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ฉบับปรับปรุง 2563 มาใช้กับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยของ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, นุสรา มานะกิจลาภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ มีประกาศปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งได้มีการกําหนดเงื่อนไข วิธีการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างไปจากมาตรฐานฉบับ เดิมที่เคยถือปฏิบัติ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องมือทางการเงิน กําหนดแนวทางใน การพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประเมินมูลค่าและการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้มีการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องมือทางการเงิน อาศัย การพิจารณาจากรูปแบบธุรกิจ (Business Model) แทนการจัดกลุ่มที่พิจารณาตามวัตถุประสงค์ในการถือครอง และให้ใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีตร่วมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและการพยากรณ์สภาพเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่ง แตกต่างจากเดิมที่พิจารณาแค่เพียงปัจจัยจากในอดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น การนําสภาพเศรษฐกิจในอนาคตมาร่วม พิจารณานั้น ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ที่แม่นยําและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับรู้รายการจะสะท้อนถึงข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ลดความผันผวน และความไม่แน่นอนจากการใช้ข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาดังกล่าว ได้ส่งผลต่อการ คํานวณการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินและทําให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยซึ่งอยู่บนฐานการ คํานวณจากมูลค่าคงเหลือของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น (รายได้ดอกเบี้ย เกิดจากการคํานวณมูลค่าของ เครื่องมือทางการเงินหักค่าเผื่อการด้อยค่าคูณอัตราดอกเบี้ย) เนื่องจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้ผู้ประกอบการทบทวนความเป็นไปได้ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากเครื่องมือทางการเงินนั้นอยู่ เสมอ แม้ว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นอาจรับรู้การด้อยค่าไปแล้วในอดีต แตกต่างจากมาตรฐานฉบับเดิมที่ไม่ได้ให้นํา เครื่องมือทางการเงินที่เคยรับรู้การด้อยค่าไปแล้วกลับมาพิจารณาใหม่ ส่งผลให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามมูลค่าที่ เหลืออยู่ของเครื่องมือทางการเงินหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ไม่สามารถรับรู้รายการได้ในทางบัญชีอีกต่อไป และ จากการศึกษาพบว่าการรับรู้รายการรายได้ดอกเบี้ยในทางบัญชีและในทางภาษีไม่ได้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึง ถือได้ว่า เมื่อรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้กิจการมีการรับรู้กําไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น (กรณีไม่นําการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการคํานวณกําไรสุทธิทางภาษีเช่น ค่าใช้จ่าย มารวมในการพิจารณา) และ ทําให้การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องนําส่งแก่กรมสรรพากรนั้นเพิ่มขึ้น การปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี ย่อมส่งผลต่อการรับรู้รายการของกิจการต่างๆ การนํา มาตรฐานการบัญชีไปถือปฏิบัติจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและทราบถึงผลกระทบทั้งภายในกิจการของตนและ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารประกอบกับข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ ควร กระทําด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือเกิดความคลาดเคลื่อนในการจัดทํารายการและการ นําเสนอข้อมูล


ปัญหาการกำกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token : Nft) ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561, สุจารี จิตรหัสต์ชัย Jan 2021

ปัญหาการกำกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token : Nft) ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561, สุจารี จิตรหัสต์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวทางการกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ หรือ Non-Fungible Token (NFT) เป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มผู้ที่ให้ความสนใจด้านเทคโนโลยี เนื่องจากความเห็นของภาครัฐและ เอกชนมีความแตกต่างกัน โดยที่ภาครัฐมีประกาศคําสั่งโดยอาศัยอํานาจ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ห้ามศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการซื้อขาย NFT ในขณะที่ทางฝั่งของภาคเอกชนบางส่วนกลับ ไม่เห็นด้วยกับประกาศดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า การห้ามศูนย์ซื้อขายให้บริการ NFT เป็นการปิดกั้น โอกาสของคนไทยในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถ ดึงดูดนวัตกรรมและการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศได้ จากการศึกษาแนวทางการกํากับดูแล NFT ในต่างประเทศ สามารถแบ่งกลุ่มแนวทาง การกํากับดูแลได้ 2 แนวทาง คือ (1) กลุ่มประเทศที่มีการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลหรือ กฎหมายใกล้เคียงที่มีอยู่ในการกํากับดูแล NFT และ (2) กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายไม่สนับสนุน ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึง NFT โดยแนวทางการกํากับดูแล NFT ของประเทศไทย ก็มีความคล้ายกับกลุ่มประเทศรูปแบบที่ (1) กล่าวคือ ประเทศไทยมีการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ สินทรัพย์ดิจิทัลในการกํากับดูแล NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ที่ต้องการซื้อขาย NFT สามารถทําธุรกรรมได้ผ่าน NFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะสําหรับการซื้อขาย NFT โดยหน่วยงานทางการจะพิจารณาลักษณะ NFT ตามประเภทและลักษณะของ NFT ที่ซื้อขายใน NFT Marketplace นั้น ๆ ว่าเข้าข่ายอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การห้ามให้บริการ NFT ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็น แนวทางที่เหมาะสม เพราะ (1) NFT เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะ มีกลไกการให้ ราคาที่ต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ และ (2) NFT มีทั้งรูปแบบที่อาจเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และรูปแบบที่ไม่เข้าข่ายอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว จึงควร มีรูปแบบการกํากับดูแลที่แตกต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ (3) จากการศึกษา แนวทางการกํากับดูแลของต่างประเทศยังไม่พบข้อมูลปรากฏว่า มีหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศ ใดอนุญาตให้มีการซื้อขาย NFT …


มาตรการทางภาษีเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีการส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย, วุฒิพงศ์ ลิ้มวราภัส Jan 2021

มาตรการทางภาษีเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีการส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย, วุฒิพงศ์ ลิ้มวราภัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดปัญหาหนึ่งที่มีความ จําเป็นต้องได้รับการแก้ไข ทั้งนี้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไข ปัญหานี้เนื่องจากเป็นความตกลงร่วมกันของทั้ง 193 ประเทศทั่วโลก โดยตกลงที่จะปฏิบัติตาม เป้าหมายดังกล่าว เพื่อหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างโลกที่ดีขึ้น และเนื่องจาก ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 193 ประเทศทั่วโลก จึงจําเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนให้แก่ทุกภาคส่วน ประกอบด้วยภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อให้ร่วมมือกันบรรลุเป้าหมาย 17 ประการ ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรายงานจากสหประชาชาติที่ได้อ้างว่าอาคารเขียวจะช่วยให้ บรรลุเป้าหมายที่ 7 และ 11 ซึ่งจะช่วยให้แต่ละประเทศเข้าใกล้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในทฤษฎีภาษีอากร มีหลักการที่ว่ามาตรการภาษีสามารถที่จะช่วยส่งเสริม การพัฒนาอาคารเขียวได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้น หากนํามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริม การพัฒนาอาคารเขียวมาใช้จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการภาษีของไทยในการส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวจําเป็น ต้องได้รับการปรับปรุง เนื่องจากมีประสิทธิภาพต่ํา ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ปัญหาของมาตรการภาษีส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย เพื่อสร้างแนวทางในการ ปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาคารเขียว นอกจากนี้รายงานวิจัยฉบับนี้ยังได้ วิเคราะห์ปัญหาของมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการเงินในการส่งเสริมการพัฒนาอาคาร เขียวในประเทศไทยด้วย เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้สําเร็จ


ระบบประกันสังคมพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน, เอก มั่นเกษวิทย์ Jan 2021

ระบบประกันสังคมพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน, เอก มั่นเกษวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แรงงานถือเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ หากแรงงานมีความรู้ มี ทักษะสูงย่อมส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใน ภาพรวม ทั้งนี้มีบางประเทศที่มีความต้องการแรงงานจากประเทศต่างๆเข้ามาทํางานในประเทศตน เพื่อทําให้เศรษฐกิจในประเทศเจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไป ทําให้แรงงานในบางประเทศมีความประสงค์ จะย้ายถิ่นในการทํามาหากิน โดยปัจจัยต่างๆนั้นมาจากการที่ประเทศต้นทางไม่ตอบสนองต่อความ ต้องการเท่ากับประเทศปลายทางที่แรงงานย้ายถิ่นจะไปประกอบอาชีพ ในการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น จะต้องมีบริบทที่เป็นมาตรฐานที่ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปตามหลักการรวมกลุ่มทาง ภูมิภาค ซึ่งตามหลักการทางการรวมกลุ่มทางภูมิภาคนั้น ประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายแรงงานจะ เกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อมีการกําหนดหลักประกันที่สําคัญและนํามาใช้ได้จริง เช่น การมีหลักประกันทาง สังคมและความมั่นคง เป็นต้น การรวมกลุ่มทางภูมิภาคนั้นไม่ใช่แค่เป็นการรวมกลุ่มแค่ในประเทศที่ พัฒนาแล้ว ในฝั่งเอเชียก็มีการรวมกลุ่มทางภูมิภาคขึ้นนั้นคือ การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่ง เป็นการรวมกลุ่มของสิบประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการพัฒนา เสริมสร้างการค้า การเคลื่อนย้ายแรงงาน ได้อย่างเสรี ในการเคลื่อนย้ายแรงงานของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจากประเทศต้นทางไปยังประเทศ ปลายทาง เมื่อแรงงานมีการย้ายถิ่นไปทํางานที่ประเทศปลายทาง แรงงานย้ายถิ่นย่อมต้องเผชิญกับ ความไม่มั่นคงทางสังคม ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านวัฒนธรรมและความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ใน ระหว่างทํางาน การคุ้มครองทางสังคมจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการย้ายถิ่น เพื่อให้แรงงานย้ายถิ่นมี ความคุ้มครอง เป็นการสร้างความมั่นคงทางสังคมให้แก่แรงงานเมื่อต้องย้ายไปทํางานในต่างประเทศ การคุ้มครองทางสังคมที่สําคัญแก่แรงงาน คือ เรื่องของการประกันสังคม จากการศึกษาพบว่าระบบประกันสังคมของสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนให้สิทธิแรงงาน ข้ามชาติไม่เท่าเทียมกับแรงงานในประเทศของตน หรือบางประเทศไม่ให้สิทธิประโยชน์กับแรงงาน ข้ามชาติเลย ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตามอนุสัญญา ฉบับที่ 102 ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ําที่แรงงานควรได้รับ และตามอนุสัญญาฉบับที่ 118 ว่าด้วยการ ปฏิบัติที่เท่าเทียม (ประกันสังคม) และอนุสัญญาฉบับที่ 157 ว่าด้วยสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ดังนั้นการที่จะทําให้การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีประสิทธิภาพ มากขึ้น จําเป็นต้องมีการร่วมกันพัฒนา ทบทวน ปรับปรุงระบบความมั่นคงให้มีความชัดเจน


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย, อรณิชา ศิริลักษณาพร Jan 2021

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย, อรณิชา ศิริลักษณาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 นั้นได้มีการออกพระราชบัญญัติแทนกฎหมายเดิมซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีนั้นมีลักษณะแตกต่างจากเดิม โดยตามกฎหมายเดิมนั้นจะมีฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณเพื่อจัดเก็บภาษี คือ ค่ารายปีหรือค่าเช่าจากทรัพย์สินนั้น ส่วนตามกฎหมายปัจจุบันนั้นจะมีฐานภาษีจากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ของทรัพย์สินนั้น โดยจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับปัจจุบันนั้นส่งผลให้เจ้าของทรัพย์สินในส่วนของที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม เป็นต้น ต้องมีการรับภาระในการจ่ายชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่ม ทั้งที่ถ้าตามกฎหมายเดิมเจ้าของทรัพย์สินในส่วนของที่อยู่อาศัยจะไม่มีภาระในการจ่ายชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเนื่องจากเป็นการอยู่อาศัยโดยเจ้าของทรัพย์สินเอง ไม่ได้มีการให้ผู้อื่นเช่าจึงไม่มีค่ารายปีที่ต้องนำมาคำนวณเป็นฐานภาษี การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันฐานภาษีนั้นเกิดจากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ของทรัพย์สิน และอัตราภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในแต่ละประเภทไม่เท่ากัน คือ มีการจัดประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย การใช้ประโยชน์อื่น หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า เป็นต้น ซึ่งประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่างกันก็จะทำให้มีการจัดเก็บอัตราภาษีไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงเกิดปัญหาในการตีความนิยามของคำว่าประเภทของที่อยู่อาศัยนั้นว่ามีความเหมาะสมและแน่นอนหรือไม่ เช่น ที่อยู่อาศัยที่มีการให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย หรือ โฮมสเตย์ควรจะมีการจัดประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการใช้ประโยชน์อื่นในทางพาณิชยกรรม เนื่องจากการจัดประเภทที่แตกต่างกันย่อมส่งผลถึงอัตราภาษีที่ใช้ในการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยเช่นกัน ซึ่งหากถูกจัดประเภทเป็นที่อยู่อาศัยอัตราภาษีย่อมต่ำกว่าการจัดประเภทเพื่อการใช้ประโยชน์อื่น อีกทั้ง การประเมินมูลค่าทุนทรัพย์เพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น วิธีต้นทุน วิธีเปรียบเทียบราคาตลาดและวิธีรายได้ เป็นต้น ซึ่งวิธีการประเมินทุนทรัพย์แต่ละวิธีนั้นย่อมมีมูลค่าในการประเมินทุนทรัพย์ที่แตกต่างกัน ซึ่งหากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินมูลค่าทุนทรัพย์ใช้วิธีในการประเมินที่ไม่เหมาะสม คือ ทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องรับภาระภาษีมากหรือน้อยเกินสมควรย่อมเป็นการประเมินที่ไม่เป็นธรรม เช่น หากประเมินมูลค่าอาคารที่มีต้นทุนการก่อสร้างที่สูง เนื่องจากอาจซื้อวัสดุก่อสร้างมาด้วยราคาที่แพงเกินสมควรจะทำให้การใช้วิธีต้นทุนในการประเมินมูลค่าทุนทรัพย์อาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากหากประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาดแล้วมูลค่าที่ประเมินได้ย่อมอาจมีมูลค่าต่ำกว่าค่อนข้างมาก และจะส่งผลต่อฐานภาษีเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณภาษีต่อไป โดยหากฐานภาษียิ่งมีมูลค่าสูงย่อมทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับภาระภาษีมากขึ้นและหากฐานภาษีมีมูลค่าน้อยกว่าสมควรก็ย่อมทำให้รายได้ของรัฐในการจัดเก็บภาษีนั้นต่ำลง โดยพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ประกอบกับพระราชบัญญัติการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ.2562 นั้นมีการเปลี่ยนวิธีจากการกำหนดค่ารายปีเป็นการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกรณีที่ดินจะใช้ราคาตลาดเป็นหลักในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ส่วนสิ่งปลูกสร้างจะใช้ราคาประเมินโดยวิธีต้นทุนเป็นหลัก แต่จากการศึกษานั้นพบว่าประเภทของบ้านนั้นมีหลายประเภท เช่น บ้านไม้ บ้านปูน หรือบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ แต่กรมธนารักษ์หรือผู้ประเมินทุนทรัพย์นั้นได้จำแนกประเมินในการกำหนดราคาประเมินเพียง 2 ประเภท คือ บ้านเดี่ยวและบ้านทาวน์โฮมซึ่งไม่สอดคล้องกับประเภทบ้านที่มีอยู่อย่างหลากหลายในปัจจุบัน และบ้านแต่ละประเภทก็ย่อมมีต้นทุนไม่เท่ากัน จะประเมินบ้านแต่ละประเภทมีต้นทุนที่เท่ากันเพื่อใช้ในการคำนวณเป็นฐานภาษีนั้นย่อมไม่เหมาะสมและไม่เท่าเทียม ดังนั้น จากปัญหาข้างต้นจึงได้มีการศึกษามาตรการทางภาษีของต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้เพื่อที่จะทำการเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย และนำมาเสนอแนวทางในการลดหรือขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยในเรื่องของการตีความนิยามของคำว่าประเภทของที่อยู่อาศัย และการกำหนดประเภทของที่อยู่อาศัยในการประเมินมูลค่าทุนทรัพย์เพื่อเป็นฐานในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562


การเพิ่มประสิทธิภาพของการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี(Strengthening The Efficiency And Effectiveness Of Whistleblowing System By Accounting Professionals), จิณณ์นิภา ดีทองหลาง Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี(Strengthening The Efficiency And Effectiveness Of Whistleblowing System By Accounting Professionals), จิณณ์นิภา ดีทองหลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่มีอิทธิพล รวมทั้งข5อจำกัดต่าง ๆ ที่มีผลต่อการแจ้งเบาะแสของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย เพื่อให้ ทราบและเป็นแนวทางในการช่วยขจัดปัญหาหรือลดอุปสรรคในการแจ้งเบาะแสของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำเสนอแนวทางหรือมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นไปโดยสัมฤทธิ์ผล ตามเจตนารมณ์และความคาดหวังของสังคมโดยรวม จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการสนับสนุนและ ส่งเสริมในการแจ้งเบาะแสอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการทางกฎหมายในการให้ความ คุ้มครองเยียวยาผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในการแจ้งเบาะแสอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ประกอบกับ ข้อกำหนดทางจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในปัจจุบันยังขาดความชัดเจนในส่วน ของการกำหนดกรอบข้อบังคับและแนวทางของการแจ้งเบาะแสเพื่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นบทสรุปของการศึกษานี้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเบาะแสโดยผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี ผู้ศึกษาวิจัยจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วย จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มาตรการภายในองค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานในการกำกับ ดูแลกิจการ การแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเยียวยาให้มีความครอบคลุม และสอดคล้องเชื่อมโยงกันกับแนวทางการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี รวมทั้งการ เพิ่มเติมมาตรการในด้านการให้รางวัลจูงใจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดเป็น อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสได้อย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561, ชาตรี มีจิตรไพศาล Jan 2021

แนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561, ชาตรี มีจิตรไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยได้มีการประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 40 และมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดเพิ่มเติมสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ให้ครอบคลุมถึงส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น การถือครองหรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีอาจก่อให้เกิดกำไรหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี การได้มาซึ่งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเกิดจากการคำนวณของเงินได้พึงประเมินกับอัตราภาษี แต่การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากคริปโทเคอร์เรนซียังขาดความชัดเจนว่าจะต้องคำนวณอย่างไร เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และการอ้างอิงตัวเลขเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาราคาขายและต้นทุนเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีอาจทำได้ไม่ง่ายนักไม่เหมือนกับการซื้อสินค้าทั่วไปที่มีใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่แสดงราคาสินค้าไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การได้มาซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีมีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ได้มาจากการซื้อ ได้มาจากการเสนอขายครั้งแรก (Initial Coin Offering, ICO) ได้มาจากการรับชำระเงิน ได้มาจากการขุดเหรียญดิจิทัล (Mining) ได้มาจากการรับมรดก ได้มาจากการถูกรางวัลหรือการพนันออนไลน์ ได้มาจากการแตกหน่วยใหม่ของคริปโทเคอร์เรนซี ได้มาจากการแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีด้วยกันเอง ซึ่งแต่ละรูปแบบจะใช้ตัวเลขใดมาอ้างอิงเป็นต้นทุนของการได้มา อีกทั้งการบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมและการจัดเก็บข้อมูลของการทำธุรกรรมซื้อขายเป็น ภาระหน้าที่ของผู้มีเงินได้เพื่อให้เกิดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลการทำธุรกรรม การจัดทำดังกล่าวอาจเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ การที่ไม่มีหลักการคำนวณส่วนแบ่งกำไร หรือกำไรจากการขายหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับจาก คริปโทเคอร์เรนซี อาจทำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทนี้ขาดความเข้าใจ ส่งผลให้ผู้มีเงินได้ใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกัน เมื่อใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกันแล้วก็จะส่งผลให้ฐานภาษีที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีอาจจะแตกต่างกันแม้ว่าข้อมูลในส่วนอื่นที่ใช้ในการคำนวณเช่น ลักษณะของการทำธุรกรรม วันที่ของการทำธุรกรรม จำนวนเงินของการทำธุรกรรมจะเหมือนกันก็ตาม โดยปกติแล้วหากมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมือนกัน ผลลัพธ์ของการคำนวณฐานภาษีและจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระก็ควรที่จะได้เท่ากัน ดังนั้น การขาดการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีเงินดิจิทัลที่ชัดเจนแน่นอนอาจทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ โดยศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการกำหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล


การกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์, อุษณีย์ มหากิจศิริ Jan 2021

การกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์, อุษณีย์ มหากิจศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงแนวทางในการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณี แรงงานหญิงมีครรภ์กล่าวคือ ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการคุ้มครองแรงงานหญิงมีครรภ์ใน เรื่องค่าตอบแทนการทำงานและค่าจ้างขั้นต่ำนี้เหมาะสมเพียงพอ โดยเอกัตศึกษานี้จะศึกษาถึงมาตรการ ทางกฎหมายตามหลักการสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายของต่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีสาธารณรัฐฝรั่งเศส และ เครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอแนวทางกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมงของ แรงงานหญิงมีครรภ์ของไทยต่อไป จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังขาดมาตรการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมี ครรภ์ในขณะที่บริบทการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปทำให้ไม่สอดคล้องกับวิธีการกำหนดค่าจ้างแบบเดิม กล่าวคือ แรงงานหญิงมีครรภ์ต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านสรีระร่างกายประกอบกับอันตรายจากโรค ระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตลอดจนวิธีการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีทำให้รูปแบบ การจ้างงานระยะสั้นเป็นที่นิยม ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงาน หญิงมีครรภ์ขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม ย่อมส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างเป็นระบบ ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ก็จะได้รับสิทธิที่แรงงานพึงจะได้รับ ทั้งยังเป็นหลักประกันในชีวิตจากการทีได้รับค่าจ้าง ที่เป็นธรรม อนึ่ง จากการศึกษาและพิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายตามหลักสากลและของ ต่างประเทศพบว่าได้มีการกำหนดเรื่องค่าตอบแทนการทำงานของแรงงานหญิงมีครรภ์ไว้อีกด้วย ตามเหตุที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยสมควรมีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมง กรณีแรงงานหญิงมีครรภ์ขึ้นไว้เป็นการเฉพาะ โดยกำหนดจากความเหมาะสมของจำนวนชั่วโมงการ ทำงานของหญิงมีครรภ์พร้อมทั้งนำมาตรการทางกฎหมายตามหลักการสากลและของต่างประเทศมาปรับ ใช้ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยอย่างเหมาะสม


ปัญหาการเลี่ยงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยการทำเกษตรเทียม, พลอยเพชร พูลจันทร์ Jan 2021

ปัญหาการเลี่ยงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยการทำเกษตรเทียม, พลอยเพชร พูลจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการจัดเก็บภาษีแยกตามประโยชน์การใช้งาน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมหรือที่ อยู่อาศัย เช่น พาณิชยกรรม และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทําประโยชน์ตามควรแก่สภาพ โดยที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมจะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ําที่สุด และที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างรกร้างว่างเปล่า จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงที่สุด ทําให้เจ้าของที่ดินบางส่วนเลี่ยงภาระภาษี โดย การทําการเกษตรเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ประกอบกับเงื่อนไขที่ไม่รัดกุมของการใช้สิทธิที่ดินเพื่อการเกษตร ทําให้ทุก คนสามารถใช้สิทธิที่ดินเพื่อการเกษตรและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้และมีเจ้าของที่ดินจํานวนหนึ่ง หลีกเลี่ยง ภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างโดยการทําเกษตรเทียม โดยอาศัยเงื่อนไขการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของประเทศไทย ที่มี เงื่อนไขของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรที่ไม่ซับซ้อน สามารถปฏิบัติได้ง่าย มีเพียงการกําหนดลักษณะของกิจกรรมที่ จะถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเกษตร เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และปริมาณการปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่อ ขนาดที่ดิน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าการทําเกษตรดังกล่าวเป็นการทําเกษตรจริงๆหรือไม่ จากการศึกษากฎหมายของต่างประเทศ เช่น มลรัฐนิวส์เจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น พบว่าประเทศเหล่านี้ล้วนมีข้อกําหนดที่เข้มงวดเพื่อพิสูจน์สถานะของที่ดินที่ขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อ การเกษตร สําหรับประเทศไทยควรมีข้อกําหนดเพิ่มเติมที่จะใช้ในการพิจารณาที่ดินเพื่อการเกษตร เพราะ เป็นการ รักษาผลประโยชน์ของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม และลดความเหลื่อมล้ำในประเทศ


สิทธิของผู้ให้สินเชื่อที่ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558, เพชรไพลิน ทองพาหุสัจจะ Jan 2021

สิทธิของผู้ให้สินเชื่อที่ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558, เพชรไพลิน ทองพาหุสัจจะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มเติมประเภทของทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินทำให้ลูกหนี้สามารถใช้ทรัพย์สินนั้นต่อไปในการประกอบกิจการได้ และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหนี้ที่ไม่จำเป็นต้องดูแลทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาเป็นหลักประกัน การบัญญัติพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจนี้ขึ้นจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้โดยทั่วไป แต่สำหรับเจ้าหนี้ต่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เป็นต้น ที่ให้สินเชื่อร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ซึ่งเจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ทำให้เจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิทธิในหลักประกันที่เจ้าหนี้ต่างประเทศควรจะได้รับเทียบเท่ากับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และเกิดการบังคับหลักประกันเกิดขึ้น เนื่องจากเจ้าหนี้ต่างประเทศข้างต้นไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจได้ เจ้าหนี้ต่างประเทศเหล่านั้นจึงต้องเลือกทางเลือกอื่นในการจัดทำหลักประกันบนทรัพย์สินของลูกหนี้นั่นก็คือ การทำจำนอง จำนำ การทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง (Assignment) ซึ่งตามกฎหมายไทยนั้น การทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถทำมาเป็นหลักประกันเพื่อประกันการชำระหนี้ได้ ทำให้เมื่อเกิดการบังคับหลักประกันบนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันชิ้นเดียวกัน ระหว่างเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยซึ่งสามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจได้ กับเจ้าหนี้ต่างประเทศที่ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันทางธุรกิจได้ สิทธิบนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่เจ้าหนี้ทั้ง 2 จะได้รับย่อมแตกต่างกัน กล่าวคือ การเป็นผู้รับหลักประกันทางธุรกิจจะถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิ ทำให้สมารถได้รับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นในกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ต่างประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้รับหลักประกันจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเป็นจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรอรับชำระหนี้ตามสัดส่วนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นถึงความเสียเปรียบของเจ้าหนี้ต่างประเทศที่ได้รับจากการให้สินเชื่อร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยเนื่องมาจากการที่พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ไม่กำหนดให้เจ้าหนี้ต่างประเทศเหล่านั้น สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ ในอนาคตหากไม่มีการแก้ไชพระราชบัญญัติเพื่อเพิ่มเติมเจ้าหนี้ต่างประเทศเหล่าหนี้เข้าไปเป็นผู้รับหลักประกัน อาจจะทำให้เจ้าหนี้ต่างประเทศไม่อยากเข้าร่วมให้สินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ไทยเนื่องมาจากการได้รับสิทธิที่ไม่เท่ากันระหว่างเจ้าหนี้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะถือเป็นการตัดโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ของภาคธุรกิจของประเทศไทยก็เป็นได้ ข้อเสนอแนะ การกำหนดให้ผู้รับหลักประกันต้องเป็นสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ถือเป็นการจำกัดการเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ ดังนั้น จึงทำให้นิติบุคคลต่างประเทศอื่น ๆ ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการปิดโอกาสในการให้สินเชื่อโดยใช้ทรัพย์เป็นหลักประกันจากนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ โดยสถาบันการเงินและองค์กรเหล่านี้ในทางปฏิบัติก็มีการให้สินเชื่อกันอยู่แล้ว และอาจทำให้สถาบันการเงินและองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในไทยรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม หรืออาจส่งผลให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับกระทบต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินของต่างประเทศ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอให้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มีการเพิ่มให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเหล่านั้น ให้สามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจได้


แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณี ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร, สาธินี เลิศเมธากุล Jan 2021

แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ศึกษากรณี ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษีอากร, สาธินี เลิศเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการตรวจสอบและรับรองบัญชีของ ประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์ปัญหาของการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีและปัญหา อื่นที่ส่งผลต่อความถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ และศึกษา แนวทางการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีภาษี อากร (CPTA) เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดที่สําคัญ และข้อดีของแนวทางดังกล่าว นําไปสู่การเสนอ แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี อากร จากการศึกษาพบว่า การตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทยไม่สามารถรับรองความ ถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้ ทําให้ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของการเสียภาษีซ้ำโดย กรมสรรพากร มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในฐานะผู้ตรวจสอบและ รับรองบัญชีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีที่จะต้องชําระ ผู้ประกอบการ ขาดความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเสียภาษี และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากรโดยเฉพาะ สําหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้ของประเทศญี่ปุ่นมีการรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีเงิน ได้ที่จะต้องเสียตั้งแต่ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ โดยกําหนดให้มีวิชาชีพผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีภาษีอากร (CPTA) ทําหน้าที่ให้คําปรึกษาด้านภาษี คํานวณภาษีและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการเสียภาษี หรือการคืนภาษี รวมถึงเป็นตัวแทนในการเสียภาษีและเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ กรมสรรพากรกรณถีูกตรวจสอบ โดยปฏิบัติงานเป็นอิสระจากกรมสรรพากร ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงการตรวจสอบและรับรองบัญชีของประเทศไทยให้ เป็นการรับรองความถูกต้องของจํานวนภาษีเงินได้ที่จะต้องเสียตั้งแต่ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการ ตามแนวทางของประเทศญี่ปุ่น จะทําให้การคํานวณภาษีของกิจการที่ผ่านการตรวจสอบและรับรอง บัญชีโดย CPTA นั้นถูกต้อง ครบถ้วน มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการตรวจสอบในสาระสําคัญทางด้าน ภาษีอากรโดยเฉพาะ ส่งผลให้แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีของกิจการนั้นถูกต้องและครบถ้วน ในสาระสําคัญตั้งแต่ตอนชําระภาษี ซึ่งจะให้ความเชื่อมั่นต่อกรมสรรพากรและช่วยลดขั้นตอนในการ ตรวจสอบซ้ำของกรมสรรพากรได้


แนวทางการแก้ปัญหาวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อของธุรกิจ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 29 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร, สุรณัติ วัฒนาไพศาล Jan 2021

แนวทางการแก้ปัญหาวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อของธุรกิจ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 29 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร, สุรณัติ วัฒนาไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างรุนแรงและรวดเร็ว กิจการที่มีความรวดเร็วในการปรับตัวเพื่อแสวงหารายได้จากการทำธุรกิจมีความสำคัญมากขี้นกว่าในอดีต ส่งผลให้กิจการในปัจจุบันมีความหลากหลายของประเภทเงินได้จากกิจการที่ทำมากขึ้น โดยรายได้เหล่านั้นต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงการก็บภาษีการบริโภคแล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันตามแต่ละประเภทธุรกรรมของรายได้ที่เกิดขี้น เช่น การขายสินค้าหรือให้บริการโดยทั่วไปต้องนำรายได้มาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากการว่าความหรือการสอบบัญชีได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ รายได้จากการขายสินค้าในต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of Scope VAT) เป็นต้น การประกอบการธุรกิจในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ทำให้บางช่วงเวลากิจการอาจมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่กิจการมีรายได้ทั้ง 2 ประเภทอยู่ในกิจการเดียวกันนี้ ย่อมส่งผลต่อการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการ ในการประกอบการธุรกิจนั้นมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องหลายประเภท โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นภาระภาษีสำคัญอย่างหนึ่งของธุรกิจ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคิดคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ สำหรับการคำนวณภาษีซื้อที่จะใช้เครดิตได้นั้น หากกิจการมีรายได้ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในกิจการเดียวกัน กิจการมีหน้าที่ในการเฉลี่ยภาษีซื้อเพื่อให้ได้ภาษีซื้อที่สามารถนำมาใช้เครดิตได้ สำหรับภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไม่สามารถขอคืนได้ถือเป็นต้นทุนรายจ่ายของกิจการ หากว่ากิจการสามารถขอคืนภาษีซื้อในส่วนนี้ได้ย่อมทำให้กิจการมีกระแสเงินสดเพื่อใช้ในการประกอบการมากขึ้นและมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ประเด็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นสำหรับธุรกิจคือ ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอในเรื่องการเฉลี่ยภาษีซื้อตามวิธีการที่สรรพากรกำหนด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดจากการเป็นกิจการขนาดย่อมที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเข้าใจในกระบวนการดังกล่าว หรือ อาจเห็นว่าจำนวนเงินเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก เป็นต้น โดยทั่วไปการขอเครดิตภาษีซื้อนั้น สำหรับกิจการที่มีรายได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถขอคืนได้ทั้งจำนวนและกิจการที่มีรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่สำหรับกิจการที่มีรายได้ทั้งสองประเภทคือประเภทรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับรายได้ในส่วนใดนั้น กิจการต้องใช้วิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อในการปันส่วนภาษีซื้อที่สามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ ตามวิธีการที่กำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 29 เพื่อหาภาษีซื้อที่กิจการสามารถใช้ในการเครดิตภาษีซื้อได้ สำหรับกิจการที่มีรายได้หลายประเภทและต้องมีการเฉลี่ยภาษีซื้อนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 29 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กิจการที่มีรายได้ทั้งที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non VAT) นำมาเป็นฐานในการเฉลี่ยภาษีซื้อเพียงวิธีเดียวสำหรับวิธีการทั่วไป และมีข้อผ่อนปรนคือ หากว่ารายได้จากกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non VAT) น้อยกว่าร้อยละ 10 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ซึ่งเป็นการพิจารณาเพียงอัตราร้อยละเพียงอย่างเดียวโดยมิได้คำนึงถึงมูลค่าของรายการที่เกิดขึ้น แต่ในสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง และ ธุรกิจก็ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้กิจการอยู่รอดได้นั้น บางช่วงเวลากิจการต้องมีรายได้จากกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาเป็นครั้งคราวจนทำให้สัดส่วนของรายได้ไม่เป็นไปตามที่สรรพากรกำหนดไว้ ทำให้กิจการต้องดูสัดส่วนรายได้ตลอดเวลาเพื่อให้การคำนวณเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงถือว่าไม่มีความยืดหยุ่นและหากยื่นแบบผิดพลาดจะทำให้กิจการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เป็นจำนวนเงินที่สูงเป็นภาระต่อกิจการหากว่าสรรพากรจะกำหนดวิธีการอื่นเพิ่มเติมในการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะทำให้กิจการที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน และ ความรู้ทางการบัญชีและภาษีอากร สามารถปฎิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เสียภาษีให้ถูกต้องและครบถ้วน ไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับกิจการ


ปัญหาในการโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560, กมลชนก อินวะษา Jan 2021

ปัญหาในการโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560, กมลชนก อินวะษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอดีต การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุถูกกำหนดให้ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวนั้นมีผลบังคับใช้กับ ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ในต่างประเทศ เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทำให้หน่วยงานที่ไม่ได้ถูกบังคับใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องจัดทำข้อบังคับหรือระเบียบขึ้นเองเพื่อนำไว้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของตนเอง ต่อมา พบปัญหาจากการดำเนินการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐหลายประเด็น เช่น นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาร่วมประมูลในโครงการของหน่วยงานของรัฐไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยนั้นไม่มีการออกกฎหมายกลางที่ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐขึ้น โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ตอบแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงเกิดพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่มีผลใช้บังคับวันที่ 23 สิงหาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้มีการออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นเกิดความไม่คล่องตัวในการโอนพัสดุ เนื่องจากการจำกัดหน่วยงานผู้รับโอนเป็นการจำกัดที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ ทำให้เกิดการบริหารพัสดุที่มีอยู่อย่างไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งหน่วยงานผู้โอนและผู้รับโอน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนพัสดุสำหรับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด


ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการ, ชนมน ทองพิลา Jan 2021

ปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการ, ชนมน ทองพิลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุนดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ได้มีการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีการค้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะจัดเก็บจากฐานการบริโภคซึ่งตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับฐานรายได้ในส่วนที่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ทั้งนี้คำว่า “บริการ หมายถึง การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า” และการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทในช่วงเวลานั้นก็จัดเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานรายได้ของหน้าที่งานกรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ.2558 ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 205 ที่กำหนดให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กฎหมายกำหนด และกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยราชการ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการและส่งผลให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการ หากตีความตามความหมายของ “บริการ” ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นพบว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการเป็นการให้บริการ เนื่องจากเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่การปฏิบัติงานดังกล่าวมิใช่การกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเสียมากกว่า เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการซึ่งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายมหาชนที่ได้กระทำในฐานะที่เป็นองค์กรมหาชนนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการควบคุมกิจการต่าง ๆ (regulatory activity) ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจการค้าใด ๆ ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศฯ เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่กล่าวว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการไม่ถือว่าเป็นการให้บริการนั้น ในความเห็นของผู้ศึกษาจึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร จากปัญหาข้างต้น พบว่า การพิจารณาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะความหมายของการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพนั้นมีความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีการใช้บังคับที่ผิดเพี้ยนออกไปจากหลักการที่แท้จริงซึ่งมีสาเหตุมาจากความเร่งรีบในการประกาศใช้กฎหมายให้ทันในช่วงที่มีสภาพิเศษในปี พ.ศ.2534 และปัญหาการตีความของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ในต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป และราชอาณาจักรบาห์เรนที่ทางผู้ศึกษาเลือกมาศึกษานั้น ได้มีการกำหนดขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ขึ้น เพื่อศึกษาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรรมการซึ่งได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมกรรมการ


ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ, ชานน รังสราญนนท์ Jan 2021

ปัญหามาตรการส่งเสริมในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ, ชานน รังสราญนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลกด้วย เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายชนิดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งพลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก เช่น ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ช้อนซ้อมพลาสติก หลอดพลาสติก แก้วพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic) ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากจากพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทิ้งขยะ และระบบการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดการ ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป มีการสั่งอาหารผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับประทานเองที่ร้านอาหาร ทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องพลาสติกใส่อาหาร ซองเครื่องปรุงรส และอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ภาครัฐจึงได้มีนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางภาษีอากรมาใช้ลดปัญหาขยะพลาสติก รัฐจึงมีนโยบายให้การส่งเสริมทางภาษีอากร ที่ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาผลิตหรือใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการทางภาษีอากรที่ภาครัฐใช้โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อส่งเสริมกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิจการผลิตเคมีภัณฑ์หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปต่อเนื่องจากการผลิตพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการเดียวกัน กิจการที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการผลิตเคมีภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษหรือเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ และการวิจัยและพัฒนากิจการ Biotechnology เป็นต้น ซึ่งได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่ละประเภท สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิต ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่ผลิตเพื่อการส่งออก เป็นต้น โดยระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์จะขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้ระบุไว้ อีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากร เช่น ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้ หรือสามารถนะผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเข้ามาทำงานได้ตามเงื่อนไขพิเศษ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการลงทุนกิจการประเภทดังกล่าวจากการศึกษายังพบว่าประสิทธิผลของมาตรการยังเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ หลังจากมีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมานานถึง 12 ปี แต่ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบันยังมีอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 จากปี 2562 มาตรการดังกล่าวที่รัฐกำลังใช้จัดการปัญหาขยะพลาสติกอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพยังไม่เพียงพอในการจัดการขยะดังกล่าวในประเทศ จึงทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้นมา


แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในธุรกิจแอนิเมชั่นของผู้ประกอบการจดทะเบียน ในประเทศไทย: กรณีที่มีการส่งแอนิเมชั่นนั้นย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย, เจนนิจ วิทยาศัย Jan 2021

แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในธุรกิจแอนิเมชั่นของผู้ประกอบการจดทะเบียน ในประเทศไทย: กรณีที่มีการส่งแอนิเมชั่นนั้นย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย, เจนนิจ วิทยาศัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับแอนิเมชั่นของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีการส่งออกไปให้บริการในต่างประเทศ แล้วมีการส่งแอนิเมชั่นนั้น ย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหาของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการจด ทะเบียนในประเทศไทย และศึกษาหลักกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าบริการของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ประกอบกับแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกรรมระหว่างประเทศกรณีการให้บริการ ทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อให้ทราบ ถึงแนวคิดที่สำคัญและข้อดีของแนวทางดังกล่าว นำไปสู่การเสนอแนวทางปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อ ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร จากการศึกษาพบว่า การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับแอนิเมชั่นของผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศ ไทยที่มีการส่งออกไปให้บริการในต่างประเทศ แล้วมีการส่งแอนิเมชั่นนั้นย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย ไม่ สอดคล้องกับหลักปลายทาง เจ้าหน้าที่สรรพากรใช้อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ แสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 0 เป็นอัตราร้อยละ 7 ทำให้ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้แบก รับภาระภาษีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะดังกล่าวจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ต่อต้านการเพิ่มผลผลิต กล่าวคือ ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะเลือกทำธุรกิจที่ไม่ถูกจัดเก็บภาษีแทนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดิมที่ตนมี ความสามารถหรือความถนัด สำหรับการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในหลัก กฎหมายการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการจากการให้บริการระหว่างประเทศและหลักกฎหมายการจัดเก็บภาษี สินค้าและบริการจากการนำเข้าสินค้าเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพิจารณากำหนดผู้รับบริการที่ได้รับ ผลประโยชน์โดยตรงจากสินค้าหรือการให้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงจุดสิ้นสุดของการบริโภคสินค้าและให้บริการ นั้นๆ ด้วยตนเองได้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่า ให้บัญญัติหลักกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการตีความและการใช้ดุลยพินิจส่วน บุคคลของเจ้าหน้าที่สรรพากรในการประเมิน นอกจากนี้ควรมีการกำหนดความหมายของการให้บริการระหว่าง ประเทศอย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถกำหนดสถานที่ของผู้รับบริการในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณา การได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เนื่องจากปัจจุบันมีโอกาสอย่างยิ่งที่บริการที่เคยให้บริการ ไปแล้วในอดีต จะกลับมามีผลใช้บริการในประเทศไทยอีก


ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง : ศึกษาเฉพาะกรณีหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ ที่อยู่อาศัยเป็นที่พักที่คิดค่าตอบแทน (โฮมสเตย์), ฐิตินันท์ เจริญวิจิตรวงศ์ Jan 2021

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง : ศึกษาเฉพาะกรณีหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ ที่อยู่อาศัยเป็นที่พักที่คิดค่าตอบแทน (โฮมสเตย์), ฐิตินันท์ เจริญวิจิตรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แบ่งอัตราการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกัน ตามประเภทที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ การศึกษาครั้งนี้ มุ่งพิจารณาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยที่มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดสามของฐานภาษีหรือมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย การกาหนดคุณลักษณะของโฮมสเตย์ให้ขึ้นอยู่กับจานวนห้อง และจานวนผู้เข้าพัก หากมีจานวนไม่เกินสี่ห้อง ผู้พักรวมกันไม่เกินยี่สิบคน จะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย จัดเก็บภาษีอัตราที่อยู่อาศัย การกาหนดเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ศึกษามีความเห็นว่า การเปิดให้เข้าพักของโฮมสเตย์โดยไม่จากัดระยะเวลาการเข้าพัก ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่ต้องเสียภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละหนี่งจุดสองของฐานภาษีหรือมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติโรงแรม โดยจากการศึกษากฎหมายที่พักชั่วคราวของประเทศญี่ปุ่น พบว่ามีการกาหนดกรอบเวลาในการให้เข้าพักเพื่อแบ่งประเภทของธุรกิจให้เช่าที่พักส่วนบุคคลและการเช่าชั่วคราวในเชิงพาณิชย์สาหรับกิจการโรงแรมไว้อย่างชัดเจน ซึ่งหากเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าพักไม่เกิน 180 วันต่อปี ถือเป็นการให้เช่าที่พักส่วนบุคคลเป็นครั้งคราวเพื่อ “หารายได้เสริม” จะถูกเก็บภาษีทรัพย์สินคงที่ (Fixed Asset tax) แต่หากเจ้าของบ้านต้องการเปิดให้เช่าที่พักเกินกว่า 180 วันต่อปี จะต้องขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจโรงแรม เนื่องจากเป็นการให้บริการเชิงพาณิชย์จึงมีภาระภาษีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ในการศึกษายังพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น จึงส่งผลให้ธุรกิจธุรกิจโฮมสเตย์ในประเทศไทยมีจานวนมากและยากต่อการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนด เมื่อพิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ ให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ข้อ 2 โดยเพิ่มเติมกรอบระยะเวลาการเปิดให้เข้าพัก รวมทั้งควรมีกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจการโฮมสเตย์ พร้อมบทลงโทษสาหรับผู้ให้เช่าที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมาย


แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ในประเทศไทย, อฑตยา นิลทองคำ Jan 2021

แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ในประเทศไทย, อฑตยา นิลทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตราบใดที่สภาวการณ์ในเรื่องค่าฝุ่น 2.5 PM ยังคงมีความทวีพูนอยู่และมากขึ้นที่ยังไม่ สามารถจัดการหรือควบคุมให้ดีขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปัจจุบันที่ยังคงระบาดอยู่ทั่วโลก ผู้ประกอบการหรือนายจ้างย่อมต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตทั้ง ในด้านสังคมและพฤติการณ์ในการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปให้เข้ากับสภาวการณ์ที่ยังดํารงอยู่ใน ปัจจุบัน ดังนั้นตัวผู้ประกอบหรือนายจ้าง และตัวพนักงงานหรือลูกจ้างต้องมีการเตรียมความพร้อม เรื่องการทํางานนอกสถานที่ หรือที่เรียกว่าการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) อยู่เสมอ และดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการทํางานที่คนให้ความสนใจนิยมมากขึ้น อีกทั้งจากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) พบว่า ถึงแม้ว่าการทํางานแบบนี้จะมีข้อดีในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทําให้สามารถพูดคุย กันแบบเห็นหน้าได้โดยไม่ต้องไปทํา ณ สํานักงาน ที่ช่วยให้เวลาในการทํางานมีความยืดหยุ่นมาก ยิ่งขึ้น และยังเป็นการลดใช้จ่ายส่วนกลางที่ตัวผู้ประกอบการต้องรับภาระ แต่ถึงกระนั้นแล้วใช้ว่าการ ทํางานรูปแบบนี้จะมีข้อดีอย่างเดียว แต่หากยังพบถึงปัญหาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไม่มีการจัดสรรเวลาใน การทํางานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นฝั่งลูกจ้างที่โดนใช้เวลานอกงานทําให้ไปรบกวนเวลาว่างที่ควรจะเป็นอิสระ และได้รับการพักผ่อน อีกทั้งฝั่งนายจ้างอาจได้รับผลกระทบที่ฝั่งลูกจ้างไม่จัดสรรเวลาให้ดี ทํางานไม่ ครบตามเวลาที่กําหนดจึงทําให้การทํางานไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่พึงต้องการในเนื้อ งาน เป็นตัน ปัญหาเหล่านี้ยังขาดบทกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ได้แก่สหรัฐอเมริกา และสหพันธ สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่าประเทศเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในทางกฎหมายโดยการมีบัญญัติ กฎหมายขึ้นโดยเฉพาะเพื่อกําหนดกฎเกณฑ์หรือสร้างกรอบนโยบายในการคุ้มครองลูกจ้างที่ทํางาน ทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อขจัดปัญหาที่ได้เกิดขึ้น และหากย้อนกลับมาดูถึงสภาวการณ์ ของกฎหมายที่เป็นความว่างเปล่าของกฎหมายไทยที่ยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติหรือการบัญญัติ กฎหมายเฉพาะ หากมองถึงข้อบกพร่องของความว่างเปล่าที่ไม่มีกฎหมายในการเข้ามาควบคุมการทํา สัญญาเกี่ยวกับการทํางานในลักษณะนี้จากการศึกษาผู้วิจัยจึงต้องการให้มีการกําหนดกฎเกณฑ์หรือ สร้างกรอบนโยบายอันเป็นแนวทางในการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อเป็นการ สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่สามารถได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงานตาม ความเหมาะสมทั้งส่วนสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อให้เป็นการประกัน โครงสร้างและรูปแบบการทําสัญญาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ที่จะมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายที่เป็นไปตามแนวทางมาตรการสากล


การศึกษาผลกระทบของความตกลงเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียนต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ในประเทศไทย, อรฤดา คำเลิศลักษณ์ Jan 2021

การศึกษาผลกระทบของความตกลงเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียนต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ในประเทศไทย, อรฤดา คำเลิศลักษณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากกระแสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแรงผลักดันของปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์โลกให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการ ขับเคลื่อนยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผา ไหม้ สู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีมาสู่ยานยนต์ไฟฟ้านี้ จึงส่งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในฐานะผู้เป็นฐาน การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรายใหญ่ของโลก ให้ต้องมีการปรับตัว และก้าวให้ทันต่อสถานการณ์และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างสิ้นเชิงในครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้ นโยบายภาครัฐจึงมีส่วนสําคัญในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรม ยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สําหรับประเทศไทย จากการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis พบว่า มาตรการภาษีนําเข้าภายใต้กรอบความตกลง เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (ACFTA) เป็นอุปสรรคต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาน ยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV ภายในประเทศ โดยจะมีผลเป็นการลดทอนประสิทธิภาพนโยบายของ ภาครัฐอย่างเป็นสาระสําคัญ กระทบต่อเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่สําคัญในระดับภูมิภาคให้ล่าช้าออกไปหรือมิอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ภายในประเทศของประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซียพบว่า มีการดําเนินนโยบายที่แตกต่าง ออกไปกล่าวคือ ทั้งประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซีย ได้มีมาตรการตั้งกําแพงภาษี (Tariff Barrier) สําหรับการนําเข้ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน (CBU) จากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ภายใต้กรอบ ความตกลง ACFTA และในขณะเดียวกัน ทางภาครัฐก็ได้มีการปรับใช้นโยบายในการส่งเสริม ความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมภายในประเทศควบคู่กันไปอย่างชัดเจน เพื่อมุ่งพัฒนา ข้อได้เปรียบของแต่ละประเทศที่มีอยู่ และผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งนับว่า นโยบายดังกล่าวของภาครัฐนั้นมีความสอดคล้องกับแนวคิดในการปกป้องและส่งเสริม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ภายในประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและมาตรการของ ต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางปรับใช้ที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย เพื่อเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านให้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่สําคัญในระดับภูมิภาคได้


การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถูกหักเกินกว่าภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณี ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี, ชาลิสา อมรธาตรี Jan 2021

การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีถูกหักเกินกว่าภาษีที่ต้องเสีย ตามมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณี ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี, ชาลิสา อมรธาตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวิธีเสียภาษีที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการเสียภาษีที่กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ หักภาษีก่อนที่จะมีการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ จึงเป็นการเก็บภาษีในขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยและสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยทำให้รัฐบาลประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีเงินได้อีกด้วย เพราะเป็น การมอบหมายให้เอกชนช่วยเก็บภาษีแทน โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ และนำเงินส่งกรมสรรพากรก่อนที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ กล่าวคือ “ผู้จ่ายเงินได้” เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับ หรือ “ผู้มีเงินได้” ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี อย่างไรก็ดี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนด กรณีผู้จ่ายเงินได้มิได้ทำการหักและนำส่งภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากร หรือหักและนำส่งภาษีแล้ว แต่ไม่ครบจำนวน ที่ถูกต้องผู้จ่ายเงินได้จำต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษี ที่ไม่ได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนภาษีที่นำส่งขาดไป แล้วแต่กรณี กรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแล้ว ผู้มีเงินได้ย่อมพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระภาษีเท่ากับจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้ และผู้จ่ายเงินได้จะเป็นผู้รับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร ในทางกลับกัน กรณีผู้มีเงินได้เสียภาษีเงินได้เกินไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย หรือเสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียเนื่องจากผู้จ่ายเงินได้ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เกินไป หรือหักภาษีไว้โดยไม่มีหน้าที่ต้องหัก ผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกินจากกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร แม้หลักเกณฑ์การขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จะถูกบัญญัติไว้ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากรแล้วพบว่ามีประเด็นปัญหาบางประการ กล่าวคือ บทบัญญัติมาตรา 27 ตรี มีความไม่ชัดเจนเรื่องผู้มีสิทธิขอคืนภาษี แม้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรตามแนววินิจฉัยในหนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรถือว่าผู้ถูกกระทบกระเทือนสิทธิโดยตรงเป็นผู้มีสิทธิขอคืนภาษี อาทิ ผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นำเงินของตนเองส่งภาษีไว้ผิดหรือซ้ำ แต่หนังสือตอบข้อหารือภาษีอากรของกรมสรรพากรก็เป็นเพียงแนวปฏิบัติในการบริหารงานจัดเก็บภาษีอากรมิใช่คำสั่งทางปกครองตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เนื่องจากมิได้เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล จึงไม่มีผลผูกพันให้กรมสรรพากรจะต้องปฏิบัติตามแต่ประการใด ในขณะที่มาตรา 63 มิได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่าผู้มีสิทธิขอคืนภาษีจะต้องเป็นผู้ใดเพียงแต่กำหนดว่าบุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือผู้ที่ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี แต่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้ว บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่ถูกหักและนำส่งไว้แล้วนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้อง ขอคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงสามารถอนุมานได้ว่า …


ปัญหาของแนวทางการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์, ปภัสราภรณ์ ใจเฉลียว Jan 2021

ปัญหาของแนวทางการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์, ปภัสราภรณ์ ใจเฉลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของแนวทางการปรับเปลี่ยนพิกัดและการจัดเก็บภาษีสําหรับ เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนํามาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสําหรับเครื่องดื่ม มอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของประเทศไทยได้ อันเนื่องมาจากกรมสรรพสามิตพิจารณาที่จะเพิ่มพิกัดทางภาษีของ เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ให้สูงกว่าปกติที่มีพิกัดภาษีอัตราร้อยละ 14 แต่จะไม่ปรับเพิ่มเกินร้อยละ 22 จาก มุมมองว่าเครื่องดื่มมอลต์ไม์มีแอลกอฮอล์นี้อาจเป็นสาเหตุให้เยาวชนหรือผู้บริโภคทั่วไปมีแรงจูงใจในการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเครื่องดื่มประเภทดังกล่าวเสียภาษีในอัตราร้อยละ 14 เช่นเดียวกับกลุ่ม เครื่องดื่มที่ให้ความหวานและเครื่องดื่มประเภทน้ําอัดลม เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวไม่มีแอลกอฮอล์ หรือมีแต่ไม่ ถึงร้อยละ 0.5 จึงจัดเป็นประเภทเครื่องดื่มตามคํานิยามตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจะปรับพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ให้เพิ่มขึ้น จะเป็น การขัดแย้งกับคํานิยามตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 อีกทั้งจะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ถือ เป็นการตัดทางเลือกของผู้บริโภคที่ในปัจจุบันหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การบริโภคเครื่องดื่มมอลต์ไม่มี แอลกอฮอล์จะสามารถทดแทนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้และจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ และช่วยแก้ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยให้ลดลงได้ จากการศึกษาผู้เขียนได้นําหลักการของภาษีสรรพสามิตสําหรับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของ ประเทศเยอรมนีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นแนวทางแก้ไขการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศ ไทย ซึ่งมีทั้งแนวทางที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้และไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ โดยแนวทางที่สามารถนํามา ประยุกต์ใช้ได้ คือ การกําหนดคํานิยามที่ชัดเจนในส่วนของปริมาณแอลกอฮอล์ที่หากมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อย กว่าร้อยละ 0.5 ก็จะไม่จัดว่าอยู่ในนิยามของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ต้องจัดเก็บภาษีตามอัตราภาษีของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ แต่ในทางกลับกันแนวทางที่ไม่สามารถประยุกต้ใช้ได้ คือ การที่เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ใน ประเทศเยอรมนีไม่ถูกจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนของประเภทเครื่องดื่ม ซึ่งอาจทําให้เป็นการส่งเสริมให้ ผู้บริโภคบริโภคเครื่องดื่มที่ฟุ่มเฟือย โดยจะขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่จะจํากัดการ บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยทําให้เกิดความยุติธรรมในระบบภาษี จึงไม่สามารถนําหลักการของประเทศเยอรมนีในส่วนนี้ มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์สําหรับประเทศไทยนั้น ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางให้มีการปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บภาษีสําหรับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์และให้มี มาตรการรองรับเกี่ยวกับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ คือ ส่วนของพิกัดอัตราภาษีที่หากจะเปิดพิกัดภาษีใหม่ สําหรับเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ํากว่า 0.5 ดีกรีหรือเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์นี้ อาจทําให้มี ผลกระทบต่อสินค้าประเภทอื่น เช่น ยารักษาโรคบางชนิดที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เป็นต้น และส่วนของ นโยบายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งควรมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ กําหนดมาตรการการควบคุมเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ชัดเจน ทั้งในด้านฉลากสินค้า ด้านการโฆษณา และ ด้านการควบคุมการเข้าถึง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและสังคมไทย


แนวทางการกำกับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร, ปันธวีย์ เรืองวงษ์ศา Jan 2021

แนวทางการกำกับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร, ปันธวีย์ เรืองวงษ์ศา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางความเจริญและเป็นศูนย์รวมของประชากรจํานวนมาก จึงส่งผล ให้เกิดปัญหาการจราจรบนท้องถนนมาอย่างยาวนาน ปัญหานี้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยแต่ปัจจัยหลักคงหนี ไม่พ้นเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ซี่งอุบัติเหตุส่วนมากเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม กฎหมายและบ่อยครั้งที่พบว่าผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางก็มีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุด้วยเช่นกัน จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสาร ประจําทางในกรุงเทพมหานครที่มีการร้องเรียนเป็นจํานวนมาก เช่น ขับแทรกและปาดหน้ารถร่วมทาง ขับรถเร็ว ขับรถกระชาก กลับรถในที่ห้ามกลับ และใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือ ว่าเป็นพฤติกรรมที่ผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางไม่ควรกระทําเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ขับขี่รถโดยสาร ประจําทางควรมีจิตสํานึกที่ดีในการให้บริการและควรตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสําคัญ จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าวพบว่ากฎหมายที่ใช้ในการกํากับดูแล พฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางในกรุงเทพมหานครมีการบัญญัติบทลงโทษผู้กระทําผิด ไว้ค่อนข้างเบาและกฎหมายมีช่องว่างให้ผู้กระทําผิดมีโอกาสในการกระทําผิดซ้ำ จึงส่งผลให้ผู้ขับขี่รถ โดยสารประจําทางในกรุงเทพมหานครไม่เกรงกลัวต่อมาตรการที่ใช้ในการลงโทษตามที่กฎหมายได้บัญญัติ ไว้ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายที่ใช้ในการกํากับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทาง ในประเทศสิงคโปร์ที่มีการบัญญัติบทลงโทษผู้กระทําผิดไว้ค่อนข้างสูงอีกทั้งยังมีการเพิ่มโทษในกรณีที่มี การกระทําผิดซ้ํ้ำในความผิดเดิม จึงส่งผลให้พฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถโดยสารประจําทางของ ประเทศสิงคโปร์มีมาตราฐานที่ดี ดังนั้นจึงควรปรับปรุงแนวทางการกํากับดูแลพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับ ขี่รถโดยสารประจําทางในกรุงเทพมหานคร โดยผู้เขียนขอเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการพักใช้หรือ เพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2564 ในข้อ 12 และข้อ 16 คือขอให้พิจารณาเพิ่มโทษในกรณีที่มีการกระทําผิดซ้ำในความผิดเดิมและกำหนดระยะเวลาในการกระทํา ผิดซ้ำห้แคบลง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกํากับดูแลให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น


ประเด็นการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีต่อผู้สอบบัญชี, พิจิตรี เลิศลักษณาพร Jan 2021

ประเด็นการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีต่อผู้สอบบัญชี, พิจิตรี เลิศลักษณาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีต่อวิชาชีพผู้สอบบัญชีในประเทศไทย เนื่องจากการตรวจสอบบัญชีเป็นหนึ่งใน งานที่ให้ความเชื่อมั่นซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่อาจประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจาก ผู้สอบบัญชีจะใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นหลักฐานซึ่งช่วยให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเชื่อมั่น หรือ แสดงข้อเท็จจริงที่มีต่องานที่ได้ปฏิบัติ โดยในการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีนี้ ผู้สอบบัญชีได้รับ ข้อมูลในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสําหรับการตรวจสอบงบการเงิน นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชี ยังเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากได้มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามคําสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จากการเข้าไปทําสัญญากับผู้ควบคุมข้อมูลส่วน บุคคลสําหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่นอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ประเด็นการได้รับข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวยังไม่ได้มีการระบุขอบเขตของ ข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงวิธีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีได้รับ ข้อมูลจากนอกเหนือจากความจําเป็นเพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานสอบบัญชี รวมถึงมีการจัดเก็บที่อาจไม่ เหมาะสม ทั้งนี้การให้ความจํากัดความและขอบเขตที่อนุญาตให้ผู้สอบบัญชีเข้าถึงข้อมูล และแนวการ จัดเก็บข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจและทําให้เกิดการปฏิบัติตามหลักของ กฎหมายได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ควรมีการกําหนดนิยามของข้อมูลที่ผู้สอบบัญชีจะตรวจสอบให้ชัดเจน เพื่อกําหนด ขอบเขตและควรกําหนดแนวปฏิบัติในการจัดเก็บข้อมูลโดยคํานึงถึงความเหมาะสมในวัตถุประสงค์ ของการจัดเก็บข้อมูลอีกด้วย


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล, นวียา อโนรีย์ Jan 2021

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล, นวียา อโนรีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้เคมีคอลในจังหวัดสมุทรปราการ สาเหตุจากถังบรรจุ สารสไตรีน (Styrene Monomer) ในโรงงานระเบิด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงปัญหา มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่ เหมาะสมเพียงพอ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงภัย ต้องทําประกันภัยความรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงาน อุตสาหกรรมและศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่ามาตรการควบคุมดูแลวัตถุอันตรายของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ กําหนดให้ผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามรายชื่อที่กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดต้องแจ้งให้ทราบหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ตลอดจนการ ควบคุมติดตามโดยการรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมก็มีข้อจํากัดเนื่องจากรายชื่อวัตถุอันตรายที่ถูกควบคุมติดตามนั้น กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดชื่อเป็นรายตัววัตถุอันตรายทําให้ไม่ครอบคลุมวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่มีความ อันตรายเช่นกันแต่ไม่อยู่ในรายชื่อวัตถุอันตรายที่ต้องควบคุมติดตาม เห็นได้ชัดจากกรณีสารสไตรีน ของโรงงานหมิงตี้เคมีคอลที่ถูกจัดเก็บไว้ในโรงงานจํานวนมาก โดยสารสไตรีนไม่ถูกกําหนดให้ต้อง รายงานปริมาณการใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นความ เสียหายจึงกระจายเป็นวงกว้าง โดยผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความก้าวหน้าในระบบกฎหมายสารเคมีได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนํามาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศไทยและพิจารณาถึง มาตรการควบคุมสารเคมีที่ยังไม่เหมาะสมของประเทศไทย บทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการทบทวนบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ครอบคลุมวัตถุอันตรายได้กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมติดตามวัตถุอันตรายและลดโอกาสที่จะ เกิดอุบัติภัยจากวัตถุอันตราย และเสนอแนะให้มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรม ต้องส่งรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีให้กับหน่วยงานท้องถิ่นและเปิดเผย ข้อมูลที่จําเป็นแก่ประชาชนด้วย เพื่อหน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถวางแผนรองรับล่วงหน้าและเมื่อเกิด เหตุฉุกเฉินหน่วยงานท้องถิ่นจะมีข้อมูลที่เพียงพอในการประเมินสถานการณ์และกําหนดแนวทาง ระงับเหตุได้อย่างทันการณ์นอกจากนี้ ควรมีบทบัญญัติให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้และจัดเก็บวัตถุอันตราย ต้องจัดทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพื่อเป็นการประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยเยียวยาและเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงของผู้ประกอบกิจการโรงงานด้วย


แนวทางการกำหนดสถานะลูกจ้างสำหรับธุรกิจแพลตฟอร์ม, นันทินี วิโรจนะดารา Jan 2021

แนวทางการกำหนดสถานะลูกจ้างสำหรับธุรกิจแพลตฟอร์ม, นันทินี วิโรจนะดารา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการใช้บริการผ่านธุรกิจแพลตฟอร์มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคในการรับสินค้าหรือบริการในเวลาที่รวดเร็ว สำหรับประเทศไทยมีธุรกิจที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ บริการรับส่งอาหารหรือพัสดุ บริการรถสาธารณะ บริการที่พักอาศัยชั่วคราวหรือบริการทำความสะอาด โดยลักษณะสำคัญของธุรกิจแพลตฟอร์มนั้น คือ การจับคู่ความต้องการของผู้เสนอขายสินค้าและบริการกับผู้ต้องการเสนอซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบโครงข่ายดิจิทัล แรงงานที่ทำงานบนแพลตฟอร์มถูกจัดว่ามิใช่ลูกจ้างของแพลตฟอร์มแต่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือหุ้นส่วน (partner) ของแพลตฟอร์ม เช่น กรณีแพลตฟอร์มบริการทำความสะอาด บนเว็บไซต์ได้มีการระบุไว้ว่า “BeNeat (บีนีท) แพลตฟอร์มเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเท่านั้น ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ (ซึ่งไม่ใช่ในฐานะลูกจ้าง คนงาน ผู้ร่วมทุน หุ้นส่วน หรือผู้ได้รับสิทธิพิเศษในการให้บริการจากบีนีทอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น บีนีทไม่ได้เป็นผู้ให้บริการและจ้างผู้ใดให้บริการเช่นว่านั้น…” แพลตฟอร์มที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความต้องการซื้อขายแรงงานทำให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น การที่จัดว่าแรงงานบนแพลตฟอร์มทุกกรณีว่าไม่ใช่ลูกจ้างของแพลตฟอร์มนั้น อาจไม่เหมาะสมกับรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป เนื่องจากบางกรณีใช้แพลตฟอร์มเป็นเพียงสื่อกลางในการจับคู่ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่สำเร็จเป็นคราว ๆ ไป เช่น การจ้างทดสอบโปรแกรม ที่มีการใช้แพลตฟอร์มเป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเท่านั้น การจัดว่าไม่ได้สถานะเป็นลูกจ้างของแพลตฟอร์มนั้นเหมาะสมแล้ว แต่หากเจ้าของแพลตฟอร์มมีกำหนดบทลงโทษเพื่อการควบคุมพฤติกรรมและวิธีการทำงานของผู้รับจ้างรวมถึงข้อควรปฏิบัติที่มีลักษณะคล้ายกับข้อตกลงร่วมกัน เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม การไม่แจ้งลูกค้าล่วงหน้าเมื่อใช้เวลาเดินทางนานเกินกว่ากำหนดหรือการรับงานอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษตั้งแต่ตักเตือน ระงับการบริการชั่วคราวไปจนถึงระงับการบริการถาวร ความสัมพันธ์รูปแบบนี้ก็จะมีความใกล้เคียงกับการเป็นลูกจ้าง การที่แรงงานที่ทำงานบนแพลตฟอร์มบางกลุ่มถูกจัดว่าไม่ใช่ “ลูกจ้าง” ทั้งที่มีรูปแบบการทำงานใกล้เคียงกับการเป็นลูกจ้างของแพลตฟอร์ม ทำให้แรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หรือ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ทำให้ขาดการคุ้มครองเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น วันลา ค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม การชดเชยการเลิกจ้าง ความปลอดภัยในการทำงานหรือสิทธิในการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง ฯลฯ จึงจำเป็นต้องหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำหนดสถานะการเป็นลูกจ้างของแรงงานบนแพลตฟอร์มเพื่อทำให้แรงงานกลุ่มนี้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน


การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย, ณัฐวดี บุญยะกาพิมพ์ Jan 2021

การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย, ณัฐวดี บุญยะกาพิมพ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศไทย โดยศึกษาปัญหาและผลกระทบจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับวัตถุอันตรายทางการเกษตรของประเทศเดนมาร์กเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย