Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

2019

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 40

Full-Text Articles in Law

การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล Jan 2019

การศึกษาความเป็นไปได้ตามกฎหมายในการใช้โครงข่าย Blockchain กับระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กิติภูมิ ฉนานุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ Jan 2019

การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ : กรณีศึกษาการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้า หรือหากำไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม, รพีพร จงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับของภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรที่มีลักษณะตามมาตรา91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เฉพาะกรณีที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดิน โดยความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะเกิดในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าว ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรแทนกรมสรรพากรจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้น จึงทําให้การประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็น ทางค้าหรือหากําไรที่ไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานที่ดินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น การตกลงยกสิ่งปลูกสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา การขายที่ดินตามหนังสือแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1) การขายที่ดินโดยระบุในสัญญาซื้อขายว่าขายเฉพาะที่ดินหรือขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างและมีการขายสิ่งปลูกสร้างในภายหลัง หรือการขายหุ้นในบริษัทที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ในทุกกรณี เพราะการให้ความสําคัญกับรูปแบบทางทะเบียน จึงทําให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ทําให้เกิดช่องว่างในการหลบหลีกหรือเลี่ยงภาษี และทําให้รัฐสูญเสียรายได้ จึงไม่ควรกําหนดความรับผิดในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้กับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่อให้การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากกขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากําไรได้ครอบคลุมในทุกกรณี


กรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันประกอบการพิจารณาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต, สรนชล นาควัชระ Jan 2019

กรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันประกอบการพิจารณาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต, สรนชล นาควัชระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นกรณีศึกษาการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันของแผนปฏิบัติการโครงการป้องกันการถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ แผนปฏิบัติการที่ 13 มาใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยตรงเนื่องจากการไม่ยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต บริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตบางรายอาจใช้ช่องว่างกำหนดราคาโอนเพื่อเลี่ยงภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีมีข้อสงสัยว่าอาจมีการโอนกำไรหรือสินทรัพย์บริษัทในเครือเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีการนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลของบริษัทนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมาใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 ทวิ และ 71 ตรี แต่ไม่ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันมีรายได้น้อยกว่าสองร้อยล้านอีกทั้งกรมสรรพสามิตยังไม่ได้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้โดยตรง จึงก่อให้เกิดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย ทั้งนี้ ยังไม่มีประเทศใดที่นำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลดังกล่าวมาใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยตรงก็อาจเป็นช่องว่างให้กำหนดราคาโอนได้ แต่อย่างไรก็ตาม องค์กรเครือข่ายยุติธรรมทางภาษีได้เสนอให้นำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตด้วย ดังนั้น สำหรับประเทศไทย หากนำแนวทางการยื่นแบบรายงานข้อมูลตามประมวลรัษฎากรประกอบกับการกำหนดบุคคลตามกฎหมายศุลกากรมาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ก็อาจลดปัญหาการเลี่ยงภาษีโดยการกำหนดราคาโอนที่เกิดขึ้นได้


แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง Jan 2019

แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว Jan 2019

ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของความแตกต่างของการคํานวณกําไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร โดยมีสมมติฐานของการศึกษาวิจัยว่า กฎหมายและมาตรฐานการบัญชีมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายหลายส่วนสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายภาษีอากร แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลักเกณฑ์บางส่วนแตกต่างกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายภาษีอากร ซึ่งทั้งความสอดคล้องกันและความแตกต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาในการใช้กฎหมายภาษีอากรเพื่อการจัดเก็บภาษีในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นพบว่า การรับรู้รายได้และรายจ่ายตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร มีทั้งที่สอดคล้องกัน คล้ายคลึงกัน และไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้กําไรสุทธิในกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากรนั้นไม่เท่ากัน นั้นเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่แตกต่างกัน ความสอดคล้องกันเป็นเรื่องง่ายในการปรับใช้กฎหมายสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ความคล้ายคลึงกันนั้นเป็นเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายภาษีอากรสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีซึ่งบางครั้งก็เคร่งครัดกับผู้เสียภาษีมากเกินไปจนสร้างภาระหนัก และความไม่สอดคล้องกันนั้นย่อมส่งผลกระทบในการปรับใช้กฎหมายของผู้เสียภาษีอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกความไม่สอดคล้องจะต้องถูกขจัดเพราะวัตถุประสงค์บางอย่างของกฎหมายจึงจําเป็นที่ยังจะคงไว้ซึ่งความแตกต่าง เพราะไม่เพียงแต่ความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันเท่านั้นที่เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษี แม้ความสอดคล้องเองนั้นยังไม่เหมาะสมกับกฎหมายภาษีอากรในบางกรณี ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรและกฎหมายลําดับรอง ทั้งความสอดคล้องกันความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันส่วนที่สร้างความไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี และสร้างปัญหาในการปรับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีโดยไม่มีความจําเป็นใช้บังคับอย่างมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเป็นแนวทางในการใช้มาตรการทางภาษีอากรและมาตรการอื่นในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ


แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ : มาตรการสนับสนุนการจัดเก็บภาษี, อรวรรยา สิทธิราช Jan 2019

แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ : มาตรการสนับสนุนการจัดเก็บภาษี, อรวรรยา สิทธิราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์ Jan 2019

มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 - มาตรา 116 ที่ถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลหรือการให้เปรียบเจ้าหนี้เป็นจำนวนมากทำให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 จึงได้ศึกษาไปถึงแนวคิด หลักการ รูปแบบการก่อตั้งสิทธิ ตลอดจนผลผูกพันทางกฎหมายที่เกิดขึ้นของทรัพย์อิงสิทธิ แต่เนื่องจากลักษณะและหลักการของสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายต่างประเทศ จึงไม่สามารถนำตัวอย่างของแนวปฏิบัติของเรื่องดังกล่าว ในต่างประเทศมาเปรียบเทียบได้ จึงศึกษาเทียบเคียงเคียงกับสิทธิที่อ้างอิงในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากทรัพย์อิงสิทธิภายใต้กฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่า เมื่อบัญญัติตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 ได้ให้สิทธิการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นพิเศษมากกว่าผู้ที่ทรงสิทธิครอบครองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงควรกำหนดมาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่สุจริตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการรับรองสิทธิและป้องกันมิให้ถูกเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิที่รับโอนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิในลำดับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนจึงได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการกับทรัพย์อิงสิทธิเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังนี้ 1. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และมาตรา 114 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกโดยไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 12 (1) แต่พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14 ได้ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่สุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตซึ่งไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น หากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ และหากเห็นว่านิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำมีลักษณะเป็นการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการให้โดยเสน่หาทำให้ทรัพย์สินลดน้อยถอยลงไม่มีพอชำระหนี้ให้แก่เจาหนี้ หรือก่อตั้งภาระผูกพันเกินสมควรหรือหากทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีเจตนาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมได้ 2. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 และมาตรา 116 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอก ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือ 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกมีภาระกรพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าได้รับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียน ซึ่งคำว่า"สุจริต" กรณีนี้หมายถึง ไม่รู้ว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีหนี้สินล้นพ้นตัว และได้กระทำลงโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ ซึ่งมีความหมายแคบกว่าสุจริตตมพระราชบัญญัติรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14


แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย Jan 2019

แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ Jan 2019

การอุดช่องว่างกฎหมายภาษีอากร, ธีรพัฒน์ สงละออ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา Jan 2019

การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกําไร หรือ Base Erosion and Profit Shifting – BEPS ที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co – Operation and Development) ได้ให้ความสําคัญ โดยมีการประกาศแผนปฎิบัติการที่ 6 เรื่อง Preventing the Granting of TreatyBenefits in Inappropriate Circumstances อีกทั้งมีการกําหนดมาตรการขั้นต่ํา (Minimum Standard) ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกต้องทําการปฎิบัติตาม ได้แก่การบัญญัติเจตนารมณ์ (The Express Statement) ไว้ในคํานําแห่งอนุสัญญาภาษีซ้อน (Preamable) และให้ประเทศสมาชิกเลือก 1 ใน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 การบัญญัติหลักการทดสอบวัตถุประสงค์สําคัญ (Principle Purposes Test – PPT Rule) และหลักการจํากัดสิทธิของบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อน (Limitations of Benefits –LOB Rule) ไม่ว่าจะเป็นฉบับย่อ (Simplied Version) หรือฉบับละเอียด (Detailed Version) หรือ มาตรการที่ 2 การบัญญัติเพียง PPT Rule หรือ มาตรการที่ 3 การบัญญัติ LOB Rule ฉบับละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว โดยควบคู่กับกฎหมายภายในประเทศที่ใช้เพื่อป้องกันปัญหา Conduit Arrangement ทั้งนี้ OECD ได้มีแผนปฎิบัติการที่ 15 เรื่อง Multilateral Instrument โดยพัฒนาสนธิสัญญาพหุภาคี Multilateral Convention to Implement Tax Treaty Related …


การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต Jan 2019

การนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม, ปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม (ผู้ประกอบธุรกิจ) โดยจะศึกษาถึงข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF) และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกอบกับการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่และรายเล็ก รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติในการกำหนดนโยบายตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ จากการศึกษา FATF และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สถาบันการเงิน ตาม FATF นั้น รวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดก็ตามที่ดำเนินธุรกิจให้กู้เงิน โดยหากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการทางการเงินผู้ประกอบธุรกิจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม FATF ณ เวลาที่เอกัตศึกษานี้ถูกจัดทำขึ้น ประเทศไทยมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเพียงให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแสดงตัวตนของผู้ใช้บริการและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ใช้บริการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีความชัดเจน ประกอบกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยังไม่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการออกแนวทางการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย จึงส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงศึกษา FAT และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยนำมาวิเคราะห์กับแนวทางและขั้นตอนการทำงานของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอซึ่งแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและกฎหมายป้องกันเละปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ Jan 2019

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย


ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง Jan 2019

ปัญหาการตีความคำว่าขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ศึกษากรณีการฝากขาย, เกรียงศักดิ์ ฝาจอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการประกอบกิจการค้าขายในปัจจุบัน วิธีการทางการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญในการจำหน่ายสินค้า หนึ่งในวิธีทางการตลาดที่สำคัญก็คือ การฝากขายสินค้าของตนให้กับตัวแทนจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า จะสามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถกระจายสินค้าของตนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย การฝากขายจึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินกิจการค้าขายและเป็นแหล่งในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่สำคัญของรัฐกฎหมายภาษีได้กำหนดให้การฝากขายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของการตั้งตัวแทนเพื่อขาย โดยต้องมีสัญญาตั้งตัวแทนตามที่ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 8)กำหนด หากไม่มีการตั้งตัวแทนตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องถูกเก็บภาษีในลักษณะของการขายทั่วไปซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีจะเกิดขึ้นทันที เมื่อผู้ฝากขายส่งมอบสินค้าให้ผู้รับฝากขาย ทำให้ผู้ฝากขายต้องรับภาระทางภาษีขึ้นทั้งที่ยังไม่ได้มีการขายจริง และการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามตามที่กฎหมายกำหนดนั้นยังเกิดปัญหาในการออกใบกำกับภาษีที่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ นอกจากนั้น ยังเกิดปัญหาความแตกต่างในการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากปัญหาในการตีความคำว่าขาย ตามคำนิยามของมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นการให้คำนิยามที่กว้างเกินไปจนก่อให้เกิดภาระทางภาษีแก่กรณีการฝากขายโดยไม่จำเป็น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการเกี่ยวกับการฝากขาย และการจัดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความคำว่าขายตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร โดยศึกษากฎหมายของไทยเป็นหลักและศึกษากฎหมายของสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการตีความของกฎหมายไทย โดยควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการตั้งตัวแทนเพื่อขายที่ ไม่เป็นไปตามประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาของความรับผิดที่เกิดขึ้น เพิ่มนิยามหรือข้อยกเว้นสำหรับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการฝากขาย และปรับปรุงการรับรู้รายได้ทางภาษีให้ตรงกับความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการฝากขาย


การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ Jan 2019

การกร่อนอำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรไทยในมิติกฎหมาย ภาษีอากรระหว่างประเทศ, เอกนรินทร์ นุกูลสุขศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงลักษณะของการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีอากรที่มี อยู่จริงของมาตรการทางภาษีที่ออกโดยประเทศต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นศึกษาในกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรณีมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) โดยจำแนกออกตามรูปแบบที่มาของภาษีระหว่างประเทศ ทั้งในระดับของมาตรการฝ่ายเดียว การทำข้อตกลงระดับทวิภาคี การทำข้อตกลงระดับพหุภาคี และกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากองค์การเหนือรัฐ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบที่ตามมาภายหลังหรือหากมีการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ต่อประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ประเทศไทยควรจะต้องคำนึงถึงและพิจารณาหากจะได้มีการตกลงหรือรับเอามาตรการที่มีลักษณะเป็นการกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีดังกล่าวมาใช้ จากการศึกษาพบว่าลักษณะของการกัดกร่อนอำนาจอธิปไตยทางภาษีปรากฏมีอยู่ในมาตรการต่างๆที่ออกโดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการทำความตกลงหรือกำลังจะทำความตกลงเพื่อนำเอามาตรการทางภาษีระหว่างประเทศเหล่านี้มาบังคับใช้บ้างแล้วในบางกรณี ซึ่งก็ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบ และเนื่องจากมาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน หากประเทศไทยจำที่จะต้องรับหรือนำเอามาตรการและข้อตกลงระหว่างประเทศที่กัดกร่อนไปซึ่ง อำนาจในการจัดเก็บภาษีของประเทศมาใช้ ก็ควรจะต้องพิจารณาว่าประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการดังกล่าวนั้นคุ้มค่ากับผลกระทบที่จะตามมา


มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม Jan 2019

มาตรการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบตามหลักจำกัดสิทธิประโยชน์ (Limitation On Benefits) ของประเทศสหรัฐอเมริกา, อัญชิสา คงงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจึงพยายามหาวิธีการเพื่อให้กิจการของตนเสียภาษีอากรน้อยที่สุดหรือไม่จําต้องเสียภาษีอากรเลยการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบ เป็นวิธีการที่ถูกใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางภาษีส่งผลให้นานาประเทศสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่รัฐควรจะได้รับมหาศาล โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เริ่มสนใจปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบ และหามาตรการเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นมาตรการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเชื่อว่าสามารถจัดการกับปัญหาการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีโดยมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัตถุประสงค์ของหลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีขึ้นเพื่อรับมือกับธุรกรรมบางประเภท อันเป็นมาตรการเฉพาะว่าด้วยการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ทําให้หลักจํากัดสิทธิประโยชน์มีความชัดเจน แน่นอน จัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการวางแผนภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาพบว่าหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์เป็นหลักการที่ประเทศไทยสมควรรับมาเป็นบทบัญญัติหนึ่งในอนุสัญญาภาษีซ้อน ด้วยเหตุนี้จึงจําเป็นต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการบังคับใช้รวมถึงความมีประสิทธิภาพจากการบังคับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการนําหลักการจํากัดสิทธิประโยชน์มาปรับใช้ในประเทศไทยต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี Jan 2019

ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง


แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์ Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ เกิดโอกาส ปัจจัยเสี่ยงภัยและโรคภัยคุกคามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างได้ว่าในขณะที่ผู้ทําวิจัยเล่มนี้นั้นเกือบทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับการแพร่ระบาด (pandemic) อย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus disease) หรือมีชื่อย่อว่า โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรรวมถึงเสรีภาพ การปรับวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งสังคมแบบทั่วไป และสังคมออนไลน์รวมถึงระบบการศึกษา ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อที่นําประเทศเข้าสูประเทศที่พัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการศึกษาที่ผ่านมามีความซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงทําให้ความเสี่ยงของการศึกษาไม่ได้มีแต่มีอยู่ในแต่ห้องเรียน แต่หมายถึงอาจจะไม่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุนทางปัญญาถดถอย ส่งผลให้ไม่มีความมั่นคงในระดับตนเองและครอบครัวซึ่งตรงข้ามกับคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างสิ้นเชิง เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษามาตรการภาษีด้านการส่งเสริมการศึกษาทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเปรียบเทียกับมาตรการภาษีของต่างประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาครัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการด้านภาษีในการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม จึงสมควรที่ภาครัฐจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และมีการบัญญัติกฎหมายในด้านการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางภาษี


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำร้องหรือคำสั่งขอเข้าถึงขอข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลาย ประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลตามคำร้องขอหรือ คำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งหรือคำร้องขอเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลจากธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ยังมีความไม่ถูกต้องชัดเจนในการใช้อำนาจ ส่งผลให้สถาบัน การเงินไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมี มาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกฎหมายถูกแก้ไขและเกิดความชัดเจนมากขึ้น


ปัญหาทางกฎหมายของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เสาวนีย์ เหมฤดี Jan 2019

ปัญหาทางกฎหมายของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เสาวนีย์ เหมฤดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่มักเรียกว่า e-Payment เช่น บัตรเครดิต การโอนเงิน การชำระด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) การให้หักเงินจากบัญชี การชำระเงินผ่านระบบของโทรศัพท์มือถือหรือระบบอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันเป็นที่นิยมและมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นทุกปีตามสถิติที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสะดวกสบายและปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสดในปริมาณมาก เมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ย่อมเกิดปัญหามากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงนิติสัมพันธ์ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ สิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร จึงเกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมาย ดังนี้ (1) ปัญหาด้านข้อสัญญาสำเร็จรูป ที่ผู้ให้บริการกำหนดข้อสัญญาแต่ฝ่ายเดียว และข้อสัญญามักสร้างภาระหน้าที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเกินสมควร (2) ในทางปฏิบัติผู้ใช้บริการต้องรับภาระความเสียหายจากการถูกทุจริต แม้ว่าผู้ใช้บริการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต และผู้ใช้บริการไม่อาจเข้าแก้ไขหรือระมัดระวังต่อปัญหาดังกล่าวได้ (3) การเรียกร้องดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย ต้องใช้กำลังทรัพย์และระยะเวลาในการฟ้องร้องต่อสู้คดีเพื่อให้ได้มาซึ่งดอกเบี้ยและค่าเสียหายที่อาจไม่คุ้มค่าที่จะดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดี (4) หน่วยงานที่รับข้อร้องเรียนกลับทำหน้าที่เพียงส่งต่อเรื่องให้กับผู้ให้บริการแก้ไข ทั้งที่ปัญหามีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และ (5) ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าถึง และอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจที่จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงจะศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจและเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเหล่านั้นให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล และกฎหมายของต่างประเทศ ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาโดย (1) เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อระบุสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (2) ออกมาตรการเกี่ยวข้อกำหนดในสัญญาบริการเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค (3) จัดทำประมวลแบบแผนการปฏิบัติ (Code of Practice) ว่าด้วยวิธีการขั้นตอน มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ให้บริการพึงมีต่อผู้ใช้บริการ (4) ผลักภาระความเสียหายจากผู้ใช้บริการไปยังผู้ให้บริการแทน และจำกัดวงเงินการรับผิดของผู้ใช้บริการ (5) ตั้งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคผู้เป็นกลางมาช่วยตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน และ (6) ให้หน่วยรับข้อร้องเรียนตรวจสอบและแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้บริการควรได้รับ


ความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ศึกษากรณีคู่สมรสยื่นภาษีเงินได้ร่วมกัน, นาตยา เนตรแก้ว Jan 2019

ความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม ศึกษากรณีคู่สมรสยื่นภาษีเงินได้ร่วมกัน, นาตยา เนตรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 57 ฉ ได้กำหนดให้คู่สมรสมีสิทธิที่จะเลือกยื่นภาษีแยกต่างหากจากกันหรือยื่นภาษีร่วมกันได้ เพื่อให้คู่สมรสเลือกวิธีการยื่นในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตนมากที่สุดแต่หากเป็นกรณีที่คู่สมรสเลือกยื่นภาษีร่วมกัน คู่สมรสจะต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นจากการยื่นภาษีร่วมกันโดยสิ้นเชิง (Strict Liability) ทั้งนี้ เมื่อคู่สมรสต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วมทำให้เกิด ความไม่เป็นธรรมต่อคู่สมรสที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดภาษีค้างชำระนั้นและส่งผลให้คู่สมรสต้องร่วมรับผิดในเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มที่เกิดขึ้น อีกทั้ง การร่วมยื่นภาษีเงินได้ร่วมกันยังทำให้คู่สมรสอาจตกเป็นผู้กระทำความผิดร่วมกันในความผิดอาญาในทางภาษีได้ สร้างความไม่ชัดเจนว่าคู่สมรสจะถือว่ามีการกระทำความผิดร่วมกันหรือไม่ เนื่องจากมีการลงลายมือชื่อร่วมกันซึ่งอาจถือได้ว่ามีการกระทำร่วมกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรให้เปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถขอบรรเทาความรับผิดทางแพ่งได้ในกรณีที่ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดภาษีค้างชำระ และบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของคู่สมรสว่าจะต้องถือว่าคู่สมรสที่ยื่นภาษีร่วมกันไม่มีส่วน


ปัญหาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้า ตามประเภท 5 และประเภท 12 ของภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, ธิติมา ธรรมาชีวะ Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้า ตามประเภท 5 และประเภท 12 ของภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530, ธิติมา ธรรมาชีวะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่มิใช่นำเข้าเพื่อทางการค้าตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของส่วนตัวหรือของใช้ในวิชาชีพตามประเภท 5 และการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้าของที่แต่ละรายมีราคาไม่เกิน 1,500 บาทตามประเภท 12 อันเป็นการยกเนสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อบริโภคเป็นการส่วนตัวมิได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้า ซึ่งเป็นการยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและเป็นหลักปฏิบัติในทางสากลระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้นำเข้ากลับใช้ประโยชน์จากการยกเว้นอากรดังกล่าวเพื่อเลี่ยงภาษีกันอย่างแพร่หลายและมีการนำเข้าเกินกว่าปริมาณการบริโภคหรือใช้สอยตามปกติวิสัย ดังนั้น เมื่อบทบัญญัติยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากรอันมีผลเป็นการยกเว้นรวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตที่เกิดจากการนำเข้ายังคงมีช่องว่างทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีอันพึงเก็บได้และไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีสำหรับของประเภทเดียวกันซึ่งจำหน่ายภายในประเทศไทย เพื่อให้มาตรการการจัดเก็บภาษีและยกเว้นภาษีมีความสอดคล้องกับอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ และเอื้อประโยชน์ต่อการจัดเก็บ จึงควรแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนและมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติยกเว้นดังกล่าว เพื่อขจัดช่องว่าง ทำให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย นำไปสู่การใช้บังคับอย่าบมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น


ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี Jan 2019

ความรับผิดในคดีภาษี : กรณีองค์ประกอบภายใน, จุฑามาศ บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรับผิดในคดีภาษีเกิดจากการที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร อันประกอบไปด้วยความผิดทางแพ่งและอาญา ซึ่งล้วนแล้วแต่กระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ และทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการพิจารณาคดีภาษีอากร จึงต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบความรับผิด โดยยึดตามหลักกฎหมายที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีอย่างไรก็ดี ในการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งภายใต้ประมวรัษฎากร มิได้มีการพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการนำหลักทฤษฎีความรับผิดโดยเด็ดขาดมาใช้ จึงไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในของผู้เสียภาษี ในส่วนของความรับผิดทางอาญา มีการบัญญัติถ้อยคำเพื่อใช้ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในที่แตกต่างกัน และผู้กระทำความผิดไม่สามารถยกความไม่รู้กฎหมายขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ แม้ในความเป็นจริงประชาชนอาจไม่รู้ถึงกฎหมายเช่นว่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร โดยให้มีการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดโทษให้สอดคล้องกับองค์ประกอบภายในในความรับผิดทางแพ่ง และใช้เพียงถ้อยคำเดียว คือ "เจตนา" ในการพิจารณาองค์ประกอบภายในและกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถยก


แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง Jan 2019

แนวทางการกำหนดมาตรการภาษีอากรเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในประเทศไทย, ชิษณุพงศ์ ธำรงหวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอยหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันจนองค์กรสหประชาชาติให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอันเกิดจากขยะพลาสติก (Plastic Waste) ที่ประชากรมีการอุปโภคพลาสติกมานานกว่าครึ่งศตวรรษ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมอย่างถุงพลาสติก จนทำให้องค์กรสหประชาชาติกล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีขยะพลาสติกมากกว่าสัตว์ทะเล ส่งผลให้นานาประเทศต้องออกมาตรการทางภาษีอากรหรือมาตรการอื่นเพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอุปโภคถุงพลาสติกตลอดจนพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastics) รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัยถึงมาตรการทางภาษีอากรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการบังคับใช้เพื่อลดการอุปโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตลอดจนมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำมากำหนด


มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู Jan 2019

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย, ธนนันท์ พืชฟู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ Jan 2019

ปัญหาการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ: ศึกษากรณีการให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือ, อภิชญา ชยวัฑโฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น Jan 2019

ปัญหาการยกเว้นภาษีเงินได้ : กรณีค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณอายุ, ปิยะธร ทองปิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการระงับข้อพิพาททางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, นัฐพล ตรีโชติ Jan 2019

ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในการระงับข้อพิพาททางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, นัฐพล ตรีโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ Jan 2019

ปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, โชติวรรณ นฤเทพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงิน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ (financial asset) แต่มีราคามูลค่า โดยทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากทรัพย์สินที่อาจจับต้องได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องประดับหรือเงินสด นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามระดับความเสี่ยงและระดับของผลตอบแทนที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีฟอกเงินนั้น ได้กำหนดไว้ใช้กับทรัพย์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการ หรือทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงินได้ แต่สำหรับทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์นั้นซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวกลับไม่มีการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในกรณีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่อาจนำทรัพย์สินดังกล่าวออกบริหารโดยให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ เช่น นำออกให้เช่า หรือในกรณีทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่หากเก็บไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็อาจนำออกขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้ตัวเงินมาเก็บไว้ในกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อรอคำสั่งศาลได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายหรือสามารถส่งคืนให้แก่รัฐได้อย่างสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะให้แยกต่างหากจากหลักทรัพย์ประเภทอื่น รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละชนิดเพื่อกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภท


การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง Jan 2019

การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน, ฤษณะ ขาวเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีส่วนสําคัญในธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และสอบเทียบมาตรฐาน ทั้งนี้คนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจเสียก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมไปถึงการยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ลงทุนบางกลุ่มเลือกจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทยเพื่อขจัดข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจแทนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ลงทุน ตลอดจนเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ และพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อการเลือกรูปแบบการลงทุน ทั้งนี้ผู้ศึกษาพบรูปแบบที่สําคัญสองรูปแบบ คือ การเข้ามาในฐานะต่างด้าวโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนจากประเทศใด ในขณะที่อีกรูปแบบคือ การเข้ามาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยผ่านการร่วมทุนหรือจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทย แต่ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม ทั้งนี้การเลือกรูปแบบที่สองผู้ลงทุนรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากรในภาพรวมดีกว่ารูปแบบแรก นอกจากนี้ไม่ปรากฎว่าขนาดของกิจการของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะที่มีข้อจํากัดด้านกฎหมายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนน้อยที่สุด ผู้ลงทุนก็มีแนวโน้มจะเลือกใช้รูปแบบที่สองมากกว่ารูปแบบแรก แสดงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นไม่ใช่ปัจจัยสําคัญที่สุดในการพิจารณาเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยทางภาษีส่งผลต่อการวางแผนรูปแบบองค์กรเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีภายหลังตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนแล้ว ซึ่งชี้ว่าการส่งเสริมการลงทุนนั้นเปราะบางต่อการวางแผนภาษีในเชิงรุก อย่างไรก็ตามเอกัตศึกษานี้ไม่ได้ประเมินความคุ้มค่าของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนแต่อย่างใด


ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535, ณฐพร ถนอมทรัพย์ Jan 2019

ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535, ณฐพร ถนอมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จากการศึกษาในเรื่องของการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตาม มาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้น พบว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดไว้ รวมถึงไม่ได้มีการเปีดเผยวิธีการในการกำหนดจำนวนค่าปรับของคณะกรรมการดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการกระทำความผิดขึ้น จึงเป็นช่องทางให้คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดใช้ดุลพินิจโดยปราศจากกรอบหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทำให้กระบวนพิจารณาขาดความโปร่งใสและไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด ปรากฏฎว่าในการแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดนั้นเป็นการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ในประกาศดังกล่าวนั้นไม่มีการระบุถึงคุณสมบัติและข้อห้ามของบุคคลที่พึงได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด เป็นการแต่งตั้งไปตามตำแหน่งเพียงเท่านั้น ทำให้ไม่มีการตรวจสอบถึงความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งกับบุคคลที่กระทำความผิด และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาแล้วในการกำหนดค่าปรับก็ไม่มีการเปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าปรับของคณะกรมการเปรียบความผิดให้กับผู้กระทำความผิดและประชาชนได้รับทราบ ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์รวมถึงนักลงทุนที่เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบความผิด ไม่มั่นใจว่าจะได้รับความยุติธรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดอันเนื่องจาการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 317 อันไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย