Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Banking and Finance Law

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Law

ปัญหาการตัดรายจ่ายทางธุรกิจกับรายจ่ายส่วนตัวที่มีลักษณะผสมของผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา, จักรพันธ์ ตันทะรา Jan 2018

ปัญหาการตัดรายจ่ายทางธุรกิจกับรายจ่ายส่วนตัวที่มีลักษณะผสมของผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา, จักรพันธ์ ตันทะรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมีผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาจำนวนมากที่มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (6) (7) และ (8) โดยในการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้เสียภาษีสามารถเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา กล่าวคือ หักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้หรือเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้ ซึ่งถ้าผู้เสียภาษีเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีนำมาตรา 65 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่บุคคลธรรมดาประกอบการค้าหรือธุรกิจมักจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะผสมระหว่างค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายทางธุรกิจขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บ้านทำเป็นสำนักงาน ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินทางไปประกอบการค้าหรือธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการนำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามาใช้ประกอบการค้าหรือธุรกิจ ค่าความบันเทิงทางธุรกิจ และค่าใช้จ่ายของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น แต่บทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี เป็นบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการคำนวณกำไรสุทธิของผู้เสียภาษีที่เป็นนิติบุคคลและรายจ่ายต้องห้ามที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถที่จะนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติที่รองรับการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะผสมระหว่างค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายทางธุรกิจไว้แต่อย่างใด จึงก่อให้เกิดปัญหาการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะผสมดังกล่าวขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาหลักเกณฑ์การปันส่วนค่าใช้จ่ายตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง และหลักเกณฑ์การปันส่วนรายจ่ายที่มีลักษณะผสมระหว่างรายจ่ายส่วนตัวกับราจ่ายทางธุรกิจของต่างประเทศ เพื่อให้ได้มีการกำหนดบทบัญญัติที่รองรับการปันส่วนรายจ่ายที่มีลักษณะผสมดังกล่าว