Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 306

Full-Text Articles in Engineering

Analyzing Impact Of Changing Fuel-Mix Composition Of Thailand Power Generation, Chanaipong Srichai Jan 2019

Analyzing Impact Of Changing Fuel-Mix Composition Of Thailand Power Generation, Chanaipong Srichai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The energy industry is considered one of the important sectors for national economic development—especially the electricity generation industry then Thailand has developed a power development plan as the nation roadmap to ensure power security and reliability of the electricity system. In this study, we focus on the electricity generation industry and examine the impacts resulting from the changing composition of power generation type compare between Thailand’s Power Development Plan year 2015 and the year 2018. The scenario case 1 assuming that the electricity generation is generated from 37% of Natural Gas, 23% of Coal, and 50% other. When the changing …


การปรับปรุงอาคารสำนักงานเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาอาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม, ยชนา เชาวนะกมล Jan 2019

การปรับปรุงอาคารสำนักงานเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาอาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม, ยชนา เชาวนะกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรอบอาคารของอาคารสำนักงาน อาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม ให้กรอบอาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนเป็นไปตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับที่ 2 (ปี พ.ศ.2550) รวมทั้งวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนของมาตรการทางการเงินและความคุ้มทุน วิธีการศึกษาการใช้วิธีการจำลองอาคารด้วยโปรแกรม Building Energy Code Software version 1.0.6 (BEC v.1.0.6) โดยรวบรวมข้อมูลกรอบอาคาร อุปกรณ์ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ จากการจำลองอาคารพบว่า ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมทั้งผนังด้านนอกอาคาร (OTTV) เท่ากับ 34.102 W/m² ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 50 W/m² ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาอาคาร (RTTV) เท่ากับ 19.433 W/m² ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 15 W/m² มีค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) เท่ากับ 14.461 W/m² ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 14 W/m² ค่าการประเมินศักยภาพด้านพลังงานของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (EER) ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 3.22 W/W และค่าการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคารเท่ากับ 813,300 kWh/Year ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคือสูงกว่าอาคารอ้างอิง พลังงานที่ใช้ในอาคารส่วนใหญ่มาจากระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ คิดเป็นร้อยละ 76.75 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ทั้งนี้ถ้าต้องการลดการใช้พลังงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของอาคาร จำเป็นต้องปรับปรุงโดยการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแอลอีดี การติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดโพลิสไตรีนโฟมที่หลังคา และการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเฉพาะเครื่องที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจะได้ค่า RTTV 13.605 W/m² ค่า LPD 6.627 W/m² ค่า EER มากกว่า 3.22 W/W มาตรการนี้ทำให้ค่า RTTV ลดลงร้อยละ 30 ซึ่งทำให้อาคารมีการใช้พลังงานรวมลดลงร้อยละ 29.66 โดยมีผลประหยัด 964,972 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 5 เดือน


การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโรงงานระเหยน้ำกากส่า, สิริรัตน์ เนติพัติ Jan 2019

การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโรงงานระเหยน้ำกากส่า, สิริรัตน์ เนติพัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานระเหยน้ำกากส่า โดยใช้ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (Specific Energy Consumption, SEC) และเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ แผนภูมิการกระจาย, การวิเคราะห์การถดถอย และการสร้างกราฟผลต่างของค่าจริงกับค่าอ้างอิงหรือค่าฐาน (Difference, DIFF) และค่าผลรวมสะสมของผลต่าง (Cumulative Summation of Difference, CUSUM) ในการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานที่ผ่านมา เพื่อใช้กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อไป ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและปริมาณผลผลิตในช่วงปี 2560-2561 พบว่าปี 2561 มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำกว่าปี 2560 เนื่องจากมีค่า SEC ที่สูงกว่า โดยปี 2560 มีค่า SEC เท่ากับ 250.37 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตร ส่วนปี 2561 มีค่า SEC เท่ากับ 269.04 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ลูกบาศก์เมตร และการใช้กราฟ CUSUM พบว่าปี 2560 มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานร้อยละ 21.82-31.14 ในขณะที่ปี 2561 มีศักยภาพในการประหยัดพลังงานสูงถึงร้อยละ 68.86-78.17 เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานจึงประเมินจากศักยภาพของการประหยัดพลังงานรวมปี 2560-2561 มีร้อยละผลประหยัดเฉลี่ย 8.64 โดยมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เลือกมานำเสนอ ได้แก่ มาตรการลดความเร็วรอบของปั๊ม Effect 1-4, Finisher A และ B และพัดลม MVR 1 และ MVR 2 ด้วย VSD และมาตรการลดขนาดปั๊มน้ำหอหล่อเย็น (Cooling Tower Pump) A และ B


การวิเคราะห์ต้นทุนไฟฟ้าของการผลิตสมุนไพรด้วยวิธีการจัดสรรต้นทุน, รัชญา ฤาชัยตระกูล Jan 2019

การวิเคราะห์ต้นทุนไฟฟ้าของการผลิตสมุนไพรด้วยวิธีการจัดสรรต้นทุน, รัชญา ฤาชัยตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ต้นทุนค่าไฟฟ้าส่วนกลางที่มีการใช้ร่วมกันของผลิตภัณฑ์ 7 ประเภท ที่ผลิตจากแผนกผลิตสมุนไพร ในรอบ 1 ปี ของโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง ทางภาคเหนือ เป็นมูลค่า 881,139.50 บาท โดยวิเคราะห์และกำหนดการจัดสรรปันส่วน (Allocation Base Analysis) ของต้นทุนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะอาศัยหลักเกณฑ์ที่ใช้จัดสรรปันส่วน (Cost Allocation Criteria) คือ 1) Naive 2) Causal Relation และ 3) Benefit Received และอาศัยฐานที่ใช้จัดสรรปันส่วน (Cost Allocation Base) คือ 1) ชั่วโมงเครื่องจักร (Machine-Hours 2) ชั่วโมงแรงงานทางตรง (Direct Labor-Hours) และ 3) ต้นทุนการใช้วัตถุดิบ (Direct Material Usage) จากผลการวิจัยพบว่า ในการจะเลือกใช้หลักเกณฑ์และฐานเพื่อนำมาจัดสรรปันส่วนพลังงานไฟฟ้าในการผลิตจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม โดยพบว่าโรงพยาบาลไม่ได้มุ้งเน้นแสวงหากำไรเป็นหลัก แต่มุ่งเน้นช่วยเหลือชุมชน ดังนั้นการเลือก Causal Relation เป็นหลักเกณฑ์ (Criteria) จึงเหมาะสมมากที่สุด ส่วนด้านกระบวนการและวัตถุดิบในการผลิตของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน การเลือก ชั่วโมงเครื่องจักร จึงเหมาะสมมากที่สุดในการวิเคราะห์ต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยนำชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมาวิเคราะห์


การศึกษาปัจจัยและประเมินการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, ภัทรลดา สินทรัพย์ Jan 2019

การศึกษาปัจจัยและประเมินการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, ภัทรลดา สินทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ รวมทั้ง ได้ประเมินการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งนำแบบจำลองการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคของศูนย์วิจัยพลังงานแห่งเอเชียแปซิฟิกมาประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์การเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยปัจจัยที่มีความสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวทางของ Likert Scale และผลจากการคาดการณ์การเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าประเภท รย.1 ในปี ค.ศ. 2050 ของประเทศไทย ได้คาดการณ์เป็น 2 ภาพเหตุการณ์คือ ภาพเหตุการณ์พื้นฐาน และภาพเหตุการณ์ที่มีนโยบายส่งเสริมอย่างเข้มข้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอ้างอิงจากรถยนต์ไฟฟ้า 3 ชนิด ได้แก่ รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งภาครัฐและเอกชนในการกำหนดนโยบายและพัฒนาคุณลักษณะของรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง


ศึกษาเปรียบเทียบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ, อภิวัฒน์ สุขาภิรมย์ Jan 2019

ศึกษาเปรียบเทียบระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ, อภิวัฒน์ สุขาภิรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ระหว่างแบบแผ่นเรียบและแบบหลอดแก้วสุญญากาศ จากการเก็บข้อมูลจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน โดยวิเคราะห์จากปัจจัยที่อาจจะมีผลต่ออุณหภูมิของน้ำ เช่น ความเข้มแสงอาทิตย์ ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิอากาศ น้ำเข้า-ออกแผงรับความร้อน พบว่าสภาพอากาศมีผลต่อการผลิตน้ำร้อนมากที่สุด โดยในวันที่แสงแดดดีจะทำความร้อนได้สูงแต่ในวันที่ฝนตกจะไม่สามารถทำความร้อนได้ และแผงทำความร้อนทั้งสองแบบมีช่วงการทำความร้อนที่ไม่เท่ากัน โดยที่แผงทำความร้อนแบบแผ่นเรียบจะมีช่วงเวลาที่สามารถเพิ่มอุณหภูมิของน้ำได้แคบกว่าแบบหลอดแก้วประมาณ 1.5-2 ชั่วโมงต่อวัน แต่ช่วงเวลา09.00-15.00 แผงแบบแผ่นเรียบสามารถทำความร้อนได้สูงกว่าแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ทั้งนี้ประสิทธิภาพรวมตลอดวันของแผงทั้งสองชนิดมันจะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดแต่ละช่วงเวลาของวันนั้นๆ โดยปริมาณแสงแดดมากน้อยไม่เท่ากันแต่ละช่วงเวลา จะส่งผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของแผงทำน้ำร้อนทั้งสองขนิด นอกจากนี้ยังพบว่าแผงแบบแผ่นเรียบมีอัตราการสูญเสียความร้อนที่สูงกว่าแบบหลอดแก้วสุญญากาศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอณุหภูมิบริเวณที่ทำการทดลองโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้แผงทั้งสองชนิดได้มีผลได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป ทางด้านจุดคุ้มทุนพบว่า ทั้งสองระบบมีจุดคืนทุนไม่ต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับราคาขายในท้องตลาด


การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงน้ำแข็งในประเทศไทย, สุจิตรา จำนงบุตร Jan 2019

การศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงน้ำแข็งในประเทศไทย, สุจิตรา จำนงบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกลุ่มโรงงานน้ำแข็งที่เป็นโรงงานควบคุม โดยศึกษาข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานน้ำแข็งจำนวน 80 แห่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2561 ซึ่งมีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมมากกว่า 500 ล้านหน่วย (GWh) ต่อปี เฉลี่ยต่อแห่ง 6.25 ล้านหน่วยต่อปี และคัดเลือกกลุ่มโรงงานตัวอย่างจำนวน 20 แห่ง มาวิเคราะห์ค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) โดยละเอียด พบว่าค่า SEC หรือประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานน้ำแข็งมีค่าตั้งแต่ 59 -133 kWh/ตัน และมีค่าเฉลี่ยที่ 98 kWh/ตัน เมื่อวิเคราะห์รายประเภทโรงงานน้ำแข็งพบว่า โรงงานผลิตน้ำแข็งหลอดและโรงงานผลิตน้ำแข็งซองมีค่า SEC เฉลี่ยเท่ากันที่ 94 kWh/ตัน ในขณะที่โรงงานที่ผลิตทั้งน้ำแข็งซองและน้ำแข็งหลอดมีค่า SEC เฉลี่ยที่ 104 kWh/ตัน การศึกษายังพบว่าโรงงานน้ำแข็งที่ผลิตน้ำแข็งประเภทเดียวกัน มีปริมาณการผลิตใกล้เคียงกัน แต่มีค่า SEC ต่างกันมากถึง 31% โดยข้อมูลจากรายงานการจัดการพลังงานแสดงให้เห็นว่า โรงงานที่มีค่า SEC สูงกว่ามีชั่วโมงการทำงานต่อปีมากกว่าถึง 65% ส่งผลให้การใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าในขณะที่ผลิตน้ำแข็งได้ปริมาณใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิตที่ต่ำกว่าและศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงานที่สูงกว่า โรงงานน้ำแข็งมีค่า SEC เฉลี่ยต่ำที่สุด 59 kWh/ตัน เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอย การใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิตและเป็นไปตามความสัมพันธ์เชิงเส้น ส่วนค่า SEC ลดลงเมื่อการผลิตน้ำแข็งมากขึ้น โดยพลังงานที่ใช้สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่คงที่ไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิตและส่วนที่แปรผันตามปริมาณการผลิต โดยส่วนแรกคิดเป็น 11.86% ของพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งในแต่ละเดือน การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและการบำรุงรักษาทำความสะอาด เป็นมาตรการที่นิยมใช้ในโรงงานน้ำแข็ง ทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน


การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพหลังการติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา : กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้า, เขมณัฏฐ์ พรหมมินทร์ Jan 2019

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์และประสิทธิภาพหลังการติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา : กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้า, เขมณัฏฐ์ พรหมมินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประเมินความคุ้มค่าของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยทั่วไปประเมินจากข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบโดยโปรแกรม PVsyst ซึ่งใช้คำนวนและประมาณปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตได้ก่อนการติดตั้งระบบ งานวิจัยนี้ทำการประเมินความคุ้มค่าจากข้อมูลการใช้งานเป็นเวลา 1 ปีของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบ on grid ที่ติดตั้งจริงบนหลังคา และใช้งานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 998.4kWp จากการศึกษาข้อมูลการชี้ให้เห็นว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคานั้นสามารถใช้ทดแทนความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่ห้างสรรสินค้าต้องการได้บางส่วน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงมากกว่าผลผลิตที่คำนวนได้จากการจำลองระบบโดยโปรแกรม PVsyst เนื่องจากมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมร่วมกับค่ารังสีอาทิตย์ที่ตรวจวัดได้ตลอดปีมากกว่าการคาดการณ์ พลังงานที่มากกว่าการคำนวนดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์จากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงนั้นดีกว่าการประเมินก่อนการลงทุน และต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยพลังงานเท่ากับ 1.29 บาทต่อ 1kWh อย่างไรก็ตามระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ยังไม่สามารถผลิตไฟฟ้าที่พร้อมจ่ายได้ตลอดเวลา เนื่องจากพลังงานที่ผลิตได้จะแปรผันตามค่ารังสีอาทิตย์ ณ เวลานั้น จึงเหมาะเป็นระบบที่ใช้เสริมเพื่อช่วยประหยัดรายจ่ายด้านพลังงานเท่านั้น


Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van Jan 2019

Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Because of the rapid growth of population and fast economic development in the Vietnamese Mekong Delta (VMD), the surface water resources are unable to meet these demands and groundwater is also over-abstracted. Groundwater depletion and saline water intrusion become the main problems that threaten drinking water supplies, farming systems, and livelihoods in the delta, especially coastal areas. It is necessary to provide a fully comprehensive picture of groundwater use (GWU) and its impact issues In Tra Vinh Province, a coastal province of VMD, dependency on GW increases from north to south which has a strong relation with availability of freshwater …


การขจัดพอลิไซคลิกแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันไพโรไลซิสจากยางรถยนต์เหลือทิ้ง, สุรีกาญจน์ กิ่งพุทธพงษ์ Jan 2019

การขจัดพอลิไซคลิกแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันไพโรไลซิสจากยางรถยนต์เหลือทิ้ง, สุรีกาญจน์ กิ่งพุทธพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำมันที่ได้จากการไพโรไลซิสยางรถยนต์เหลือทิ้ง (waste tire pyrolysis oil, WTPO) ประกอบไปด้วยสารประกอบพอลิไซคลิกแอโรมาติกส์ไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbon, PAHs) ประมาณ 10% โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับปริมาณ WTPO โดย PAHs ที่พบมากที่สุด คือ แนฟทาลีน ซึ่งมีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นี่จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถนำ WTPO ไปใช้ในเครื่องยนต์ได้ ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาการกำจัดแนฟทาลีนซึ่งเป็นแบบจำลองของ PAHs ผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนชัน โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับแกมมาอะลูมินา (Ni/γ-Al2O3) ที่มีและไม่มีตัวสนับสนุนโมลิบดินัม (Mo) ทังเสตน (W) หรือ แพลตินัม (Pt) สำหรับภาวะที่ศึกษาในการไฮโดรจิเนชัน ได้แก่ ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น (10-40 บาร์) อุณหภูมิ (250-400 องศาเซลเซียส) และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (2-8 ชม.) ก่อนทำปฏิกิริยาตัวเร่งปฏิกิริยาถูกรีดักชัน (reduction) แบบอิน-ซิทู (in-situ) ที่ความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 30 บาร์ อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชม. ในกรณีที่ไม่มีตัวสนับสนุน Ni ปริมาณ 1-30% โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับตัวรองรับถูกเตรียมลงบน γ-Al2O3 ที่ถูกเตรียมด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัล และค่าการเปลี่ยนแปลงแนฟทาลีนถูกวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโทกราฟี ตัวตรวจวัดชนิดเฟลมไอออไนเซชัน (GC-FID) พบว่าเมื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีปริมาณ Ni 20% โดยน้ำหนักเมื่อเทียบกับตัวรองรับให้ค่าการเปลี่ยนแปลงแนฟทาลีนสูงสุดที่ 29.5% โดยภาวะที่ใช้ คือความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 30 บาร์ อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส นาน 4 ชั่วโมง ในกรณีมีตัวสนับสนุน ตัวเร่งปฏิกิริยา NiMo NiW และ NiPt ให้ค่าการเปลี่ยนแปลงแนฟทาลีนสูงสุดที่ 44.7 46.4 และ 55.8% เมื่ออัตราส่วนเชิงอะตอมของตัวสนับสนุนเป็น 0.27 0.05 และ …


การควบคุมพฤติกรรมการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์(Ii)ไอออน/ซิลิกา โดยการปรับเปลี่ยนค่าพีเอช, ชนะชล แก้วลิ่น Jan 2019

การควบคุมพฤติกรรมการเปลี่ยนสีของวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์(Ii)ไอออน/ซิลิกา โดยการปรับเปลี่ยนค่าพีเอช, ชนะชล แก้วลิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการเตรียมวัสดุเชิงประกอบชนิดใหม่ของพอลิไดแอเซทิลีนเวสิเคิลกับอนุภาคนาโนซิลกาโดยมีการเติมซิงก์(II)ไอออนร่วมด้วย และทำการปรับเปลี่ยนค่าพีเอชในการเตรียม สำหรับประยุกต์ในเทคโนโลยีด้านการตรวจวัด โดยใช้ปริมาณอนุภาคนาโนซิลิการ้อยละ 10 โดยน้ำหนักของไดแอเซทิลีนมอนอเมอร์ 10,12-เพนตะโคซะไดอิโนอิกแอซิด อนุภาคนาโนซิลิกาและซิงก์(II)ไอออนในวัสดุเชิงประกอบจะทำหน้าที่เป็นซับสเตรตให้ไดแอเซทิลีนมอนอเมอร์ยึดเกาะและจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เมื่อทำการฉายแสงยูวีเพื่อให้เกิดกระบวนการพอลิเมอไรเซชันจะเกิดเป็นวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอ เซทิลีน/ซิงก์(II)ไอออน/ซิลิกา ที่มีสีน้ำเงินได้และเมื่อศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีเมื่อได้รับการกระตุ้นจากอุณหภูมิ ความเป็นกรด – เบส กรดและเบสอินทรีย์ พบว่าวัสดุเชิงประกอบมีพฤติกรรมการเปลี่ยนสีที่แตกต่างไปจากพอลิไดแอเซทิลีน/ซิลิกา อย่างมาก ในขณะที่ฟิล์มพอลิไดแอเซทิลีน/ซิลิกา เกิดการเปลี่ยนสีแบบผันกลับไม่ได้ โดยเปลี่ยนเป็นสีแดงที่อุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ฟิล์มวัสดุเชิงประกอบพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์(II)ไอออน/ซิลิกาจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็น 2 ระดับเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น คือกระบวนการผันกลับได้ในช่วงอุณหภูมิห้องถึง 170 องศาเซลเซียส และเกิดกระบวนการผันกลับไม่ได้ที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียสขึ้นไป สำหรับการศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนสีเมื่อได้รับการกระตุ้นจากความเป็นกรด - เบส พบว่าวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์(II)ไอออน/ซิลิกา เปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีม่วงที่ค่าพีเอชประมาณ 3.04 และ 11.98 ตามลำดับ และเมื่อทำการศึกษาการตอบสนองต่อกรดและเบสอินทรีย์พบว่าวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์(II)ไอออน/ซิลิกา สามารถตอบสนองโดยการเปลี่ยนสีกับกรดซาลิซิลิกและออกทิลเอมีนได้


การย้อมสีและการเพิ่มสมบัติต้านแบคทีเรียแก่เส้นด้ายไหมโดยการเคลือบด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์และไททาเนีย, ชนิกานต์ มูลรัตน์ Jan 2019

การย้อมสีและการเพิ่มสมบัติต้านแบคทีเรียแก่เส้นด้ายไหมโดยการเคลือบด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์และไททาเนีย, ชนิกานต์ มูลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเตรียมอนุภาคนาโนซิลเวอร์ในรูปแบบคอลลอยด์หลากสีและหาสภาวะที่เหมาะสมในการนำไปย้อมสีและเพิ่มสมบัติต้านแบคทีเรียแก่เส้นด้ายไหม จากนั้นศึกษาผลของการเติมไททาเนียต่อสมบัติต่างๆของเส้นไหม โดยอนุภาคนาโนซิลเวอร์สังเคราะห์ได้จากกระบวนการเคมีรีดักชัน ที่มีโซเดียมบอโรไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นตัวออกซิไดซ์ และไตรโซเดียมซิเตรตเป็นตัวป้องกันหน้าผลึก {111} ของอนุภาค ซึ่งการเติมปริมาณโซเดียมบอโรไฮไดรด์ที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ซิลเวอร์คอลลอยด์สีสันหลากหลาย เนื่องจากอนุภาคนาโนซิลเวอร์ที่ได้มีขนาดหรือรูปร่างที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการเคลือบเส้นด้ายไหมด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์และไททาเนีย คือที่ซิลเวอร์คอลลอยด์ทมีค่าความเป็นกรด - ด่างเท่ากับ 5 อัตราส่วนระหว่างปริมาณคอลลอยด์ต่อน้ำหนักเส้นด้ายไหมต่อน้ำหนักไททาเนีย (P25) คือ 200:1:0.05 โดยเส้นด้ายไหมถูกแช่ในซิลเวอร์คอลลอยด์ที่มีการเติมไททาเนียเป็นเวลา 45 นาที ณ อุณหภูมิห้อง นำเส้นด้ายไหมที่เคลือบด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์และไททาเนียไปผ่านน้ำปราศไอออนเพื่อกำจัดอนุภาคส่วนเกิน แล้วนำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นเคลือบผิวด้วยกรดพอลิอะคริลิกปริมาณร้อยละ 5 ของน้ำหนักเส้นด้ายไหม โดยการแช่เส้นด้ายไหมเป็นเวลา 20 นาทีที่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30 – 40 องศาเซลเซียส แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 นาที จากผลการทดลอง พบว่าสามารถย้อมสีเส้นด้ายไหมโดยการเคลือบด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์และไททาเนียได้ ซึ่งเส้นด้ายไหมที่เตรียมได้ดังกล่าวมีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียชนิด E. coli. และ S. aureus. ได้ดีเยี่ยม ทั้งนี้ไททาเนียช่วยส่งเสริมสมบัติการต้านแบคทีเรียและความสามารถในการป้องกันรังสียูวีแก่เส้นด้ายไหมได้ดี นอกจากนี้การเคลือบด้วยกรดพอลิอะคริลิกจะช่วยเพิ่มความคงทนของสีต่อการซักล้างด้วยน้ำและด้วยน้ำสบู่ให้แก่เส้นด้ายไหมที่เคลือบด้วยอนุภาคนาโนซิลเวอร์และไททาเนีย


การขึ้นรูปครึ่งเซลล์นิกเกิลออกไซด์-อิตเทรียสเตบิไลซ์เซอร์โคเนียด้วยเทคนิคการฉีดขึ้นรูปวัสดุผงและการตกสะสมอิเล็กโทรโฟรีติกเพื่อการประยุกต์เซลล์เชื้อเพลิงออกไซด์ของแข็ง, ศิริมา เชื้ออ่อน Jan 2019

การขึ้นรูปครึ่งเซลล์นิกเกิลออกไซด์-อิตเทรียสเตบิไลซ์เซอร์โคเนียด้วยเทคนิคการฉีดขึ้นรูปวัสดุผงและการตกสะสมอิเล็กโทรโฟรีติกเพื่อการประยุกต์เซลล์เชื้อเพลิงออกไซด์ของแข็ง, ศิริมา เชื้ออ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการขึ้นรูปครึ่งเซลล์ของเซลล์เชื้อเพลิงออกไซด์ของแข็งที่ประกอบด้วย (i) แผ่นรองแอโนดชนิดนิกเกิลออกไซด์ (NiO)-อิตเทรียสเตบิไลซ์เซอร์โคเนีย (YSZ) และ (ii) ฟิล์มบางอิเล็กโทรไลต์ของ YSZ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาผลของปัจจัยการขึ้นรูปแผ่นรองแอโนดด้วยเทคนิคการฉีดขึ้นรูปวัสดุผงต่อความสามารถในการขึ้นรูป สัดส่วนรูพรุน และโครงสร้างจุลภาคของแผ่นรองแอโนดที่เตรียมได้ โดยปัจจัยที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย (i) อัตราส่วนระหว่างผง NiO/YSZ กับตัวประสานผสม (ii) ระยะเวลาการบดผสม (iii) อุณหภูมิการฉีดขึ้นรูป และ (iv) อัตราส่วนของ NiO:YSZ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าการใช้อัตราส่วนระหว่างผง NiO/YSZ กับตัวประสานผสมชนิดพอลิเอทิลีนไกลคอล (PEG) และพอลิไวนิลบิวทีรอล (PVB) ในอัตราส่วน 34:66 โดยปริมาตร โดยใช้ระยะเวลาการบดผสมผง NiO/YSZ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และอุณหภูมิฉีด 190ºC ทำให้ได้แผ่นรองแอโนดที่มีความแข็งแรงและมีรูพรุนเหมาะสมต่อการเตรียมชั้นอิเล็กโทรไลต์ในขั้นต่อไป จากนั้นจึงทำการขึ้นรูปชั้นอิเล็กโทรไลต์ด้วยเทคนิคการตกสะสมอิเล็กโทรโฟรีติกลงบนแผ่นรองแอโนดที่เตรียมได้ ซึ่งพบว่าความหนาของชั้นอิเล็กโทรไลต์ขึ้นอยู่กับความต่างศักย์ ระยะเวลาการตกสะสม โครงสร้างจุลภาคของแผ่นรองแอโนดและอุณหภูมิการเผาผนึกร่วม ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกครึ่งเซลล์ที่เตรียมโดยใช้ความต่างศักย์ 30 โวลต์ ระยะเวลาการตกสะสม 2 นาที ที่อุณหภูมิเผาผนึกร่วม 1250 และ 1350ºC ในการทดสอบประสิทธิภาพทางเคมีไฟฟ้าที่อุณหภูมิการทำงาน 800ºC ผลการทดลองที่ได้พบว่าค่าความต่างศักย์วงจรเปิดของเซลล์อยู่ในช่วง 0.99 - 1.03 โวลต์ และค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของเซลล์คือ 12.84 2.63 และ 40.08 mW/cm2 เมื่อใช้แผ่นรองแอโนดที่มีอัตราส่วน NiO:YSZ ที่ 50:50 60:40 และ 70:30 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชั้นอิเล็กโทรไลต์ที่เตรียมได้มีความหนาแน่นสูง แต่แผ่นรองแอโนดยังมีรูพรุนต่อเนื่องต่ำ ทำให้ค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดของเซลล์มีค่าต่ำกว่างานวิจัยที่ผ่านมา


การประเมินความคุ้มค่าภายใต้ความเสี่ยงของกระบวนการทอร์รีแฟกชัน กรณีศึกษาเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพารา, กุลนันท์ แซ่หลี่ Jan 2019

การประเมินความคุ้มค่าภายใต้ความเสี่ยงของกระบวนการทอร์รีแฟกชัน กรณีศึกษาเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพารา, กุลนันท์ แซ่หลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเศษไม้ยางพาราที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ กระบวนการทอร์รีแฟกชันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเศษไม้ยางพาราให้เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติคล้ายถ่านหิน ผู้วิจัยจึงทำการประเมินความคุ้มค่าของกระบวนการทอร์รีแฟกชันด้วยเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์โรตารีดรัม โดยใช้วัตถุดิบเศษไม้ยางพาราในการประเมิน ทางการเงินภายใต้ความเสี่ยงของความไม่แน่นอนของราคาวัตถุดิบ และราคาผลิตภัณฑ์ เป็นการประเมินเพื่อการตัดสินใจเลือกลงทุน โดยมีทางเลือกในการลงทุน 4 ทางเลือกได้แก่ 1.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราเกรดธรรมดาขายในประเทศ 2.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราเกรดพรีเมี่ยมส่งออก 3.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราทอร์ริไฟด์แบบอัดเม็ดหลังการทอร์รีแฟกชันส่งออก และ 4.โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราทอร์ริไฟด์แบบอัดเม็ดก่อนการทอร์รีแฟกชันส่งออก ทุกทางเลือกมีกำลังผลิต 20,000 ตันต่อปี โดยทางเลือกที่1 และ2 ประเมินเป็นทางเลือกเปรียบเทียบ โดยทำการวิเคราะห์ทางการเงินของแต่ละทางเลือกด้วยแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลดเพื่อหามูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราผลตอบแทนภายในที่ปรับค่าแล้วของแต่ละโครงการ ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของตัวแปรที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนของโครงการ ทำการจัดกลุ่มตามการกระจายตัวเพื่อหาความน่าจะเป็นของ แต่ละกลุ่ม เพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยแขนงการตัดสินใจ และทำการคำนวณค่าคาดหวังของผลตอบแทนใน แต่ละทางเลือก ผลการวิเคราะห์พบว่าทางเลือกในการลงทุนทั้ง 4 ทางเลือกให้มูลค่าปัจจุบันเป็นบวกและมีผลตอบแทนภายในที่ปรับค่าแล้วมากกว่าต้นทุนทางการลงทุนเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักที่ร้อยละ 10.15 โดยทางเลือกที่4 โครงการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงไม้ยางพาราทอร์ริไฟด์แบบอัดเม็ดก่อนการทอร์รีแฟกชันส่งออก ซึ่งมีค่าคาดหวังของผลตอบแทนสูงสุด เท่ากับ 630.07 ล้านบาท


การประเมินประสิทธิภาพพลังงานหลังการเข้าใช้งานของอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์ Leed 2009, ยศยา ภัทรภูมีมิตร Jan 2019

การประเมินประสิทธิภาพพลังงานหลังการเข้าใช้งานของอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์ Leed 2009, ยศยา ภัทรภูมีมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการขอการรับรองการเป็นอาคารประหยัดพลังงานจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มีตั้งแต่การทำตามข้อกำหนดขององค์กรในขั้นตอนการออกแบบ มีการประเมินว่าอาคารที่ออกแบบมีค่าการประหยัดพลังงานเท่าไหร่ รวมถึงการตรวจสอบวัสดุและทดสอบระบบในช่วงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ว่าอาคารยังสามารถประหยัดพลังงานได้ตามที่องค์กรรับรองไว้หรือไม่ แต่ยังไม่มีการตรวจสอบไปถึงการประเมินค่าการประหยัดพลังงานของอาคารจากโปรแกรมคำนวณตั้งต้นว่ามีความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับค่าการใช้พลังงานที่เกิดขึ้นจริงของอาคารหลังการเข้าอยู่อาศัย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหาตัวแปรความแตกต่างและเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารระหว่างการประเมินค่าการใช้พลังงานของอาคารโดย LEED ซึ่งใช้โปแกรม Energy Plus ในการคำนวณ เปรียบเทียบกับการคำนวณโดยโปรแกรม BEC และค่าการใช้พลังงานจริงของอาคารจากใบเสร็จชำระเงินค่าไฟฟ้า พบว่าตัวแปรที่มีผลต่อการคำนวณค่าการใช้พลังงานของอาคารระหว่างโปรแกรม Energy Plus และโปรแกรม BEC คือการระบุพื้นที่ใช้งานของอาคารที่ไม่เท่ากันและตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ของโปรแกรม BEC ที่ถูกกำหนดไว้ตามการเลือกประเภทของอาคารคือ ชั่วโมงการใช้งาน จำนวนผู้ใช้อาคาร อัตราการระบายอากาศ และค่าความต้านทานความร้อนของฟิล์มอากาศด้านนอก ทั้งยังมีส่วนที่โปรแกรม BEC ไม่สามารถระบุค่าได้เทียบเท่ากับโปแกรม Energy Plus คือการกำหนดสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและสภาพภูมิอากาศ ต่อมาเมื่อทำการพิจารณาค่าการใช้พลังงานรวมของอาคาร พบว่าการทำนายค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารจาก LEED มีค่าความแตกต่างจากค่าการใช้พลังงานจริงมากกว่าการคำนวณจากโปรแกรม BEC อาจเกิดจากค่าตัวเลขของตัวแปรที่ใช้ในการป้อนเข้ามีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าการใช้งานจริง


การตั้งเป้าหมายพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรการผลิตในโรงงานเคมีภัณฑ์, อังคนา สังข์ทองจีน Jan 2019

การตั้งเป้าหมายพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรการผลิตในโรงงานเคมีภัณฑ์, อังคนา สังข์ทองจีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาถึงการใช้พลังงานของโรงงานเคมีภัณฑ์ตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา11เดือนของการใช้พลังงานจากระบบการติดตามการใช้พลังงาน (Energy Monitoring System) และ ข้อมูลของปริมาณผลผลิตต่อวันมาวิเคราะห์เพื่อเป้าหมายการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานของโรงงานตัวอย่าง โดยแยกย่อยศึกษาแต่ละระบบในพื้นที่นั้นซึ่งประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรการผลิต ระบบอากาศอัด ระบบไฟส่องสว่าง ระบบระบายอากาศ และ ระบบทำความเย็น เพื่อกำหนดพลังงานฐาน (Energy Baseline) และ กำหนดเป้าหมายพลังงาน (Energy Target) ของพื้นที่การผลิตรายอาทิตย์และรายเดือนด้วยสมการเชิงเส้นแบบง่าย ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้พลังงานของระบบที่ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต และใช้ค่าที่ดีที่สุดกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานของระบบที่ปริมาณการใช้พลังงานไม่ขึ้นกับปริมาณการผลิต รวมทั้งนำข้อมูลการใช้พลังงานที่ความละเอียดทุก 30 วินาทีเปรียบเทียบกับโปรไฟล์อุณหภูมิของเครื่องจักร CMMP ซึ่งเป็นเครื่องจักรสำหรับสร้างรูปทรงของชิ้นงาน จากการศึกษาพบว่าถ้าไม่มีแผนการผลิตนานกว่า 3 ชั่วโมงควรเปลี่ยนจากสแตนด์บายโหมด (Standby Mode) เป็นการปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งานจะลดปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้เฉลี่ย 390 kWh/day และเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้อง งานวิจัยฉบับนี้ได้มีการสร้างกระดานสรุปข้อมูลการใช้พลังงาน (Energy Dashboard) ด้วย Microsoft Power Bi เพื่อติดตามการใช้พลังงานรายวันของแต่ละพื้นที่การผลิต และมีกิจกรรม Green day เพื่อเพิ่มความตระหนักต่อการใช้พลังงานของพนักงานในโรงงาน


ผลกระทบของยานยนต์อัตโนมัติต่อการใช้พลังงานในภาคการขนส่งไทย, สราวุฒิ มูลสุข Jan 2019

ผลกระทบของยานยนต์อัตโนมัติต่อการใช้พลังงานในภาคการขนส่งไทย, สราวุฒิ มูลสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการพยากรณ์การใช้พลังงานในภาคการขนส่งของประเทศไทย และพิจารณาว่าหากยานยนต์อัตโนมัติเข้ามาในตลาดจะมีผลต่อการใช้พลังงานอย่างไร ด้วยวิธีการพยากรณ์จากการใช้ปลายทาง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่ามีปัจจัยหลักสองด้านที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงาน คือปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการเดินทาง และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในยานยนต์ จากผลการวิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario Analysis) จากอิทธิพลของทั้งสองปัจจัยดังกล่าวพบว่า กรณีที่คาดว่าเป็นไปได้สูงสุด (Probable Case) การเข้ามาของยานยนต์อัตโนมัติจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานจากที่พยากรณ์ไว้ระหว่าง -3.01% ถึง -14.74% และกรณีขั้นสุด (Extreme Case) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานได้ตั้งแต่ -50.00% ถึง +40.66% ทั้งนี้ ยังได้วิเคราะห์กรณีเปรียบเทียบ หากการใช้ยานยนต์อัตโนมัตินั้นมีการโดยสารร่วมกัน (Sharing) และ ไม่มีการโดยสารร่วมกัน (Non- Sharing) พบว่า ทั้งสองกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้พลังงานในอนาคตแต่อย่างใด ในส่วนการประเมินดัชนีความพร้อมของยานยนต์อัตโนมัติในประเทศไทย พบว่าประเทศไทยได้คะแนนเพียง 6.29 ซึ่งต่ำกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีคะแนนเท่ากับ 24.75 อย่างไรก็ดี คาดว่าแนวโน้มความพร้อมของประเทศไทยจะมีมากขึ้นในอนาคต โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ การยอมรับทางสังคมซึ่งมีความอ่อนไหวต่อดัชนีมากที่สุด ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการวางแผนเพื่อให้เกิดสมดุลของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงในมิติด้านการขนส่งจากการเข้ามาของยานยนต์อัตโนมัติในประเทศไทย


อิเล็กโทรดสังกะสีโครงสร้างสามมิติสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศทุติยภูมิ, จีราภรณ์ จักรโนวรรณ Jan 2019

อิเล็กโทรดสังกะสีโครงสร้างสามมิติสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศทุติยภูมิ, จีราภรณ์ จักรโนวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศได้รับความสนใจจากงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศมีความหนาแน่นของพลังงานสูง มีความปลอดภัย และราคาถูก อย่างไรก็ตามปัญหาหลักที่เกิดขึ้นของแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศซึ่งพบในแบตเตอรี่ทุติยภูมิ พบว่าโครงสร้างและรูปร่างของขั้วไฟฟ้าสังกะสีมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการอัดประจุและคายประจุ ในระหว่างการอัดประจุไฟฟ้าพบว่าอนุภาคของสังกะสีก่อตัวเป็นรูปร่างแบบกิ่งก้าน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการลัดวงจรของแบตเตอรี่ ในงานวิจัยนี้มุ้งเน้นที่จะใช้คาร์บอนสักหลาดเป็นตัวรองรับกระแส เพื่อสังเคราะห์ขั้วไฟฟ้าสังกะสีที่มีโครงสร้างสามมิติสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศแบบทุติยภูมิ ขั้วไฟฟ้าสังกะสีถูกเตรียมโดยการติดคาร์บอนสักหลาดลงบนแผ่นทองแดงด้วยสารยึกเกาะ โดยมีส่วนผสมคือ กราไฟต์ พอลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์ และผงคาร์บอน ในอัตราส่วน 87 : 10 : 3 โดยน้ำหนัก สมบัติทางไฟฟ้าเคมีของขั้วไฟฟ้าสังกะสีถูกศึกษาด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตทรี เทคนิคทาเฟลพาไรเซชัน และเทคนิคโครโนแอมเพอร์โรเมตทรี จากผลการทดสอบพบว่าการละลายและการชุบสังกะสีบนคาร์บอนสังหลาดถูกควบคุมด้วยการแพร่ สัญฐานวิทยาของสังกะสีบนคาร์บอนสักหลาดจากสารละลายอิเล็กโทรไลต์ซิงค์เคทพบว่ามีลักษณะคล้ายฟองน้ำเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายทำให้มีพื้นที่ผิวของสังกะสีสูง และไม่ปรากฎสัญฐานวิทยาแบบกิ่งก้าน จากการศึกษาในระบบแบตเตอรี่สังกะสีอากาศพบว่าขั้วไฟฟ้าสังกะสีที่ใช้คาร์บอนสักหลาดหนา 3 มิลลิเมตร และคาร์บอนสักหลาดหนา 1 มิลลิเมตร เป็นตัวรองรับกระแส จะให้ค่าประสิทธิภาพการอัด-คายประจุร้อยละ 85 และ 83 ตามลำดับ มีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานต่อรอบการชารจ์ร้อยละ 37 และ 32 ตามลำดับ และมีค่าความจุกระแสไฟฟ้า 2.23 มิลลิแอมป์ชั่วโมง และ 2.22 มิลลิแอมป์ชั่วโมง ตามลำดับ ที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 10 มิลลิแอมป์ต่อตารางเซนติเมตร โดยรวมแล้วพบว่าคาร์บอนสักหลาดหนา 3 มิลลิเมตร จะให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าคาร์บอนสักหลาดหนา 1 มิลลิเมตรเนื่องจากมีพื้นที่ผิวสัมผัสในการใช้งานที่มากกว่า และคาร์บอนสักหลาดเป็นวัสดุที่ให้ผลดีในการใช้งานสำหรับเป็นตัวรองรับกระแสสำหรับแบตเตอรี่สังกะสี-อากาศ


ฟิล์มผสมไฟโบรอินไหมไทย เจลาติน กลีเซอรอลที่ดัดแปรพื้นผิวด้วยกรดอะมิโนอาร์จินิลไกลซิลแอสปาติกบนไวรัสใบยาสูบ, จุฑาทิพย์ ปัญจมณี Jan 2019

ฟิล์มผสมไฟโบรอินไหมไทย เจลาติน กลีเซอรอลที่ดัดแปรพื้นผิวด้วยกรดอะมิโนอาร์จินิลไกลซิลแอสปาติกบนไวรัสใบยาสูบ, จุฑาทิพย์ ปัญจมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาฟิล์มไฟโบรอินไหมไทยให้มีความยืดหยุ่น โดยการเติมเจลาติน และกลีเซอรอลที่สัดส่วนต่าง ๆ ในฟิล์มไฟโบรอินไหมไทย จากนั้นนำฟิล์มที่ได้ไปผ่านกระบวนการอบนิ่มด้วยไอน้ำเพื่อเพิ่มความคงตัว ผลการวิเคราะห์พบว่าฟิล์มผสมไฟโบรอินไหมไทยและกลีเซอรอล (SF/GA) และฟิล์มผสมไฟโบรอินไหมไทย เจลาติน และกลีเซอรอล (SF/GA/Gly) ที่มีปริมาณกลีเซอรอลร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก มีค่าร้อยละการดึงยืด ณ จุดขาด สูงถึงร้อยละ 70 ค่าอุณหภูมิเปลี่ยนสภาพแก้วมีค่าลดลงตามปริมาณกลีเซอรอลที่เพิ่มขึ้น เนื่องด้วยโมเลกุลของกลีเซอรอลรบกวนการจัดเรียงตัวของสายโซ่ ส่งผลให้สายโซ่โปรตีนเคลื่อนที่เป็นอิสระมากขึ้น ฟิล์มผสมจึงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะที่กระบวนการอบนิ่มด้วยไอน้ำเหนี่ยวนำให้โครงสร้างทุติยภูมิของโปรตีนไฟโบรอินไหมจากโครงสร้างแบบเกลียวสุ่มไปเป็นแผ่นพลีทเบต้าที่มีความเป็นระเบียบ ส่งผลให้ฟิล์มมีความคงตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ได้มีการดัดแปรพื้นผิวฟิล์มผสมด้วยไวรัสใบยาสูบที่ดัดแปลงพันธุกรรมด้วยลำดับกรดอะมิโนอาร์จินิลไกลซิลแอสปาติก (TMV-RGD) เพื่อเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะและเจริญเติบโตของเซลล์ จากการทดสอบการเพาะเลี้ยงเซลล์ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าเซลล์ผิวหนังหนู L929 ที่เพาะเลี้ยงบนแผ่นฟิล์มที่ดัดแปรพื้นผิวโดยการเชื่อมขวางไวรัส TMV-RGD มีการยึดเกาะและการเจริญเติบโตสูงกว่าฟิล์มที่ไม่ได้เชื่อมขวางด้วยไวรัส TMV-RGD ดังนั้นฟิล์มผสม SF/GA/Gly ที่มีปริมาณกลีเซอรอลร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก และผ่านการอบนิ่มด้วยไอน้ำรวมถึงดัดแปรพื้นผิวฟิล์มด้วยไวรัส TMV-RGD จึงเป็นฟิล์มชีววัสดุทางเลือกที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านชีวเวช


การสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อราบิก้าและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ, ชินธันย์ สิริวุฒิพันธ์ Jan 2019

การสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อราบิก้าและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ, ชินธันย์ สิริวุฒิพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ เป็นของเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ในงานวิจัยนี้เยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟถูกนำมาทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด ทำการศึกษาตัวแปร 3 ตัว ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย อุณหภูมิ และเวลาที่ใช้ในการสกัด โดยใช้ น้ำ 50% เอทานอล และ 100% เอทานอล ศึกษาอุณหภูมิในช่วง 35 40 50 และ 60 ◦C เป็นเวลา 30 และ 60 นาที ในอัตราส่วนของแข็งต่อของเหลวที่ 1:25 g/ml โดยสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณสารสกัดแห้ง ปริมาณของสารประกอบฟีนอลิก อัตลักษณ์ของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟด้วยเทคนิค TLC การวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีน และกรดคลอโรจีนิกด้วยเครื่อง HPLC นอกจากนี้ยังทำการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus จากการทดลองพบว่า การสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟด้วยตัวทำละลาย 100% เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60 ◦C เป็นเวลา 30 นาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดมากที่สุด ได้ปริมาณสารสกัดแห้ง 6-7% ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (29.93 mg GAE/g สารสกัดแห้ง) ปริมาณคาเฟอีน (59.38 mg/g สารสกัดแห้ง) พบสารที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย S. aureus และยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH (IC50 = 0.28 mg/ml) ด้วยเหตุนี้สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีสีเขียวในการสกัด ทั้งนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่สะอาด ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ และทำให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระสูง


ผลของสัดส่วนโดยมวลของโพแทสเซียมไอโอไดด์/ไอโอดีนต่อสมรรถนะของแบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีนแบบอัดประจุซ้ำได้, ณัฐวุฒิ เหลืองทรงชัย Jan 2019

ผลของสัดส่วนโดยมวลของโพแทสเซียมไอโอไดด์/ไอโอดีนต่อสมรรถนะของแบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีนแบบอัดประจุซ้ำได้, ณัฐวุฒิ เหลืองทรงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีนแบบอัดประจุซ้ำได้รับความสนใจอย่างมากในการนำมาใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับกักเก็บพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากไอโอดีนที่ใช้เป็นขั้วแคโทดมีความจุจำเพาะสูง ราคาถูก สามารถหาได้ง่าย และมีความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างไรก็ตามแคโทดไอโอดีนยังคงมีปัญหาบางประการเช่น การนำไฟฟ้าต่ำ ระเหิดได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง และมีความสามารถในการละลายในน้ำต่ำ อีกทั้งไตรไอโอไดด์ไอออนที่เกิดขึ้นระหว่างการอัด-คายประจุยังสามารถทำให้แผ่นสังกะสีที่ใช้เป็นขั้วแอโนดเกิดการผุกร่อนได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เองทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีนลดลง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงนำคาร์บอนกัมมันต์มาใช้ในการเป็นวัสดุดูดซับไอโอดีนเพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อนของขั้วสังกะสี และนำโพแทสเซียมไอโอไดด์มาใช้เพิ่มความสามารถในการละลายของไอโอดีนในน้ำ โดยในงานวิจัยนี้จะทำการเปรียบเทียบสัดส่วนของโพแทสเซียมไอโอไดด์ต่อไอโอดีนที่สัดส่วน 1:1, 1:2 และ 2:1 เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานแบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีนและศึกษากลไกการดูดซับไอโอดีนบนคาร์บอนกัมมันต์ วัสดุแคโทดถูกเตรียมโดยการผสมสารละลายไอโอดีน 40% คาร์บอนกัมมันต์ 40% คาร์บอนนำไฟฟ้า 10% และสารยึดเกาะ 10% โดยน้ำหนัก และประยุกต์ใช้ในเซลล์แบตเตอรี่ CR2025 จากนั้นทำการตรวจสอบทั้งในด้านของคุณลักษณะและคุณสมบัติทางไฟฟ้า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ไตรไอโอไดด์ไออนเป็นตัวถูกดูดซับลงบนคาร์บอนกัมมันต์และไม่เกิดพันธะระหว่างคาร์บอนกับไอโอดีน สัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดของโพแทสเซียมไอโอไดด์ต่อไอโอดีนในการใช้งานแบตเตอรี่สังกะสี-ไอโอดีนคือสัดส่วน 1:1 โดยจะมีค่าความจุที่กระแส 1C สูงถึง 184 mAh/ g มีประสิทธิภาพในการกักเก็บความจุเท่ากับ 99.37% และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานเท่ากับ 86.79% อีกทั้งยังสามารถใช้งานที่กระแสสูงถึง 6Cและมีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 1000 รอบ


การประเมินค่าพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์สำหรับการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Moo3/Tio2 ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริกและออกแบบมาเพื่อใช้ในปฏิกิริยา Scr ในการรีดิวซ์ Nox ด้วย Nh3, นภสร นารอด Jan 2019

การประเมินค่าพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์สำหรับการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา Moo3/Tio2 ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริกและออกแบบมาเพื่อใช้ในปฏิกิริยา Scr ในการรีดิวซ์ Nox ด้วย Nh3, นภสร นารอด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยา MoO3/TiO2 บนตัวรองรับ TiO2 ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยสารละลาย H2SO4 เข้มข้น 0, 0.2 และ 0.5 M ในการทำปฏิกิริยาโทลูอีนออกซิเดชัน เตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีการเคลือบฝังแบบเปียก ทำการการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค Nitrogen Physisorption, XRD, NH3-TPD และ SEM-EDX การทดสอบความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยาทำในช่วงอุณหภูมิ 120 ถึง 400oC โดยใช้แก๊สผสมที่ประกอบด้วยโทลูอีนเข้มข้น 300 ถึง 400 ppm, O2 เข้มข้น 3, 12 และ 21 %vol ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งอุณหภูมิคงที่ จากการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาผลของ O2 พบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นจาก 3 ถึง 12 % ค่า %Toluene conversion เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเพิ่ม O2 ความเข้มข้น 12 ถึง 21 % กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงแรกที่ความเข้มข้นของ O2 ต่ำ พฤติกรรมนี้อาจบ่งชี้ได้ว่า เกิดปฏิกิริยาผ่านกลไกของแบบจำลอง REDOX และแม้ว่า %Toluene conversion จะสูง แต่กลับพบ CO2 ในปริมาณที่ต่ำจนไม่สามารถคำนวณหาปริมาณพื้นที่ที่แน่นอนได้ แสดงว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการออกซิไดซ์โทลูอีนนั้น อาจกลายเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีจุดเดือดสูง เมื่อพิจารณาผลของค่าทางจลศาสตร์ ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ได้รับการปรับสภาพด้วยกรด H2SO4 ในทุกความเข้มข้นของ O2 ปฏิกิริยาเกิดขึ้นด้วยกัน 2 ปฏิกิริยา คือปฏิกิริยาแรกมีค่า Ea ต่ำที่อยู่ในช่วง 21 ถึง 27 kJ/mol ซึ่งตรวจพบได้ในช่วงอุณหภูมิ 150 ถึง 275oC และปฏิกิริยาที่ 2 มีค่า Ea ที่สูงที่อยู่ในช่วง 56 ถึง 68 kJ/mol ซึ่งเห็นได้ในช่วงอุณหภูมิ …


การศึกษาพารามิเตอร์ในการสังเคราะห์นิกเกิลนาโนเชนสำหรับตัวดูดซับแสงอาทิตย์แบบเซอร์เมทโดยวิธีเคมิคอลรีดักชัน, ปิญาราชย์ ศรีมาลา Jan 2019

การศึกษาพารามิเตอร์ในการสังเคราะห์นิกเกิลนาโนเชนสำหรับตัวดูดซับแสงอาทิตย์แบบเซอร์เมทโดยวิธีเคมิคอลรีดักชัน, ปิญาราชย์ ศรีมาลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ และเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิเช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปแบบอื่นๆได้ เช่น พลังงานความร้อน ซึ่งต้องอาศัยตัวดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ (SSA) ในระบบรวมแสง (CSP) โดยตัวดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีจะต้องพิจารณาจากค่าการดูดกลืนแสงอาทิตย์ ค่าการแผ่รังสีความร้อน และค่าการนำความร้อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาและโครงสร้างของอนุภาคนาโนภายในตัวดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้นในงานนี้จึงเป็นการศึกษาปัจจัยดังกล่าว โดยสังเคราะห์อนุภาคนาโนนิเกิลจากปฏิกิริยารีดักชันของนิกเกิลคลอไรด์ (NiCl2) ในตัวทำละลายเอทิลีนไกลคอล (EG) ซึ่งใช้ไฮดราซีนเป็นตัวรีดิวซ์ (N2H4) และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นตัวปรับ pH โดยปรับอัตราส่วนของ [NaOH]/[NiCl2] ตั้งแต่ 4-20 จากนั้นจึงนำมาผสมกับสารละลายอะลูมินา และขึ้นรูปเป็นฟิล์มนิกเกิลนาโนเชน–อะลูมินา (Ni nanochain-Al2O3) โดยอาศัยเทคนิค Convective deposition สำหรับการศึกษาโครงสร้างและสัณฐานวิทยาของอนุภาคนาโนนิกเกิลและฟิล์มนิกเกิลนาโนเชน–อะลูมินา ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD) ตามลำดับ ความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนของฟิล์มศึกษาโดยใช้เครื่องวัดค่าการเปล่งรังสี (Emissometer) และการสะท้อนแสงของฟิล์มศึกษาโดยใช้เทคนิค UV-Vis-NIR spectrophotometer นอกจากนี้ยังทดสอบการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของฟิล์มเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะการจำลองของแสงอาทิตย์จากการใช้เทอร์โมคัปเปิลวัดที่พื้นผิวด้านบนของฟิล์มที่เวลาต่างๆ จากผลการทดลอง พบว่าเมื่ออัตราส่วนการเตรียม [NaOH]/[NiCl2] เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อนุภาคนิกเกิลต่อกันเป็นสายโซ่ที่ยาวมากขึ้น และที่อัตราส่วนเท่ากับ 8 เกิดการก่อตัวของโซ่ยาวที่สุด แต่เมื่อเพิ่มอัตราส่วนที่มากกว่านั้น ลักษณะสายโซ่กลับรวมตัวกันเป็นก้อนคล้ายทรงกลม ดังนั้นที่อัตราส่วนเท่ากับ 8 จึงมีประสิทธิภาพสูงสุดที่มีค่าการดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ 0.816 ± 0.019 ค่าการแผ่รังสีความร้อน 0.746 ± 0.004 และค่าการนำความร้อน 0.0061 W/(m·K) ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นการดูดซับด้วยพลังงานแสงอาทิตย์


การประเมินค่าพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2 มาใช้ออกแบบสำหรับปฏิกิริยา Scr, วราภรณ์ คิดการ Jan 2019

การประเมินค่าพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนบนตัวเร่งปฏิกิริยา V2o5/Tio2 มาใช้ออกแบบสำหรับปฏิกิริยา Scr, วราภรณ์ คิดการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางจลศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีน ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ที่ปรับสภาพด้วยสารละลายกรดกำมะถันในการกำจัด โทลูอีน โดยตัวรองรับไทเทเนียได้รับการปรับสภาพด้วยสารละลายกรดกำมะถันที่มีความเข้มข้น 0, 0.2 และ 0.5 M ตัวเร่งปฏิกิริยาเตรียมด้วยวิธีเคลือบฝังแบบเปียก ทำการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ SEM-EDX, Nitrogen Physisorption, XRD และ NH3-TPD ทำการทดสอบความสามารถในการออกซิไดซ์โทลูอีนที่ความเข้มข้นของโทลูอีน 300 - 400 ppm และความเข้มข้นของ O2 3, 12 และ 21 %vol ในช่วงอุณหภูมิ 150-350 °C จากการศึกษาพบว่าที่ตัวเร่งปฏิกิริยาเดียวกัน เมื่อความเข้มข้นของ O2 เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า Conversion ของการออกซิไดซ์โทลูอีนดีขึ้นเล็กน้อย และตรวจพบ CO2 ในปริมาณที่ต่ำแสดงว่าโทลูอีนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารอินทรีย์ที่มีจุดเดือดสูง จากการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางจลศาสตร์ของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 พบว่าในปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีน เมื่อความเข้มข้นของ O2 เพิ่มขึ้นค่าพลังงานกระตุ้นมีค่าลดลง โดยค่าพลังงานกระตุ้นที่ความเข้มข้น O2 3 %vol อยู่ในช่วง 44-49 kJ/mol ที่ความเข้มข้น O2 12 %vol อยู่ในช่วง 45-49 kJ/mol และที่ความเข้มข้น O2 21 %vol อยู่ในช่วง 39-45 kJ/mol เมื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนในสภาวะที่มี NO ร่วมด้วยนั้น พบว่ามีปฏิกิริยาอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย โดยจะเห็นปฏิกิริยาเกิดขึ้นสองช่วงอย่างเด่นชัด คือ ช่วงอุณหภูมิ 150-200 °C มีพลังงานกระตุ้นที่ต่ำและช่วงอุณหภูมิ 250 °C ขึ้นไป ที่มีพลังงานกระตุ้น 45-50 kJ/mol และตรวจพบ CO2 อย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นว่า NO มีบทบาทในการเปลี่ยนสารมัธยันต์ที่เกิดจากการสลายตัวของโทลูอีนให้เปลี่ยนไปเป็น CO2


การวิเคราะห์การผลิตไฟฟ้าจากกระบวนการเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดที่เกิดการหมุนเวียนร่วมกับเครื่องกังหันไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลผสม, พิชชาพร นิละนนท์ Jan 2019

การวิเคราะห์การผลิตไฟฟ้าจากกระบวนการเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดที่เกิดการหมุนเวียนร่วมกับเครื่องกังหันไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลผสม, พิชชาพร นิละนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันสถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และด้วยกับการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เชื้อเพลิงชีวมวลได้รับความสนใจและการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า แต่พบว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลส่วนใหญ่มีการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเพียงชนิดเดียว ทำให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนวัตถุดิบตั้งต้นและยังพบว่ามีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในปริมาณที่สูง โดยงานวิจัยนี้ศึกษาแบบจำลองกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบการเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดหมุนเวียนร่วมกับเครื่องกังหันไอน้ำ โดยใช้ชีวมวลผสมจาก 5 ภูมิภาคของประเทศไทย และพัฒนาร่วมกับการดูดซึมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการดูดซึมทางเคมี โดยมีศึกษาตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 2 ชนิดคือ โมโนเอทาโนลามีน และ 2-อะมิโน-2-เมทิล-1-โพรพานอล แบบจำลองทั้งสองถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรมจำลองกระบวนการ แอสเพน พลัส จากการวิจัยพบว่าชีวมวลผสมจากภาคกลาง ได้แก่ ชิ้นไม้สับ แกลบ และชานอ้อย มีศักยภาพและเหมาะสมต่อการใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น โดยส่งผลกระทบในระดับต่ำต่อหม้อกำเนิดไอน้ำ และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ตามที่โรงไฟฟ้าชีวมวลกำหนดที่ 103.43 เมกะวัตต์ โดยที่ใช้ปริมาณเชื้อเพลิง 107.89 ตัน/ชั่วโมง และพบว่าชีวมวลผสมจากภาคกลางมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศสูงสุดที่ 12.5% โดยการศึกษาการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พบว่า การใช้สารละลาย 2-อะมิโน-2-เมทิล-1-โพรพานอล ที่อัตราส่วนตัวทำละลายต่อก๊าซเท่ากับ 4.03 สามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงสุด 90.82% เมื่อใช้พลังงานในการรีเจนเนอเรชั่นเท่ากับ 13.75 เมกกะจูล/กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ในการใช้สารละลายโมโนเอทาโนลามีนจะใช้อัตราส่วนตัวทำละลายต่อก๊าซเท่ากับ 4.24 และพลังงานในการรีเจนเนอเรชั่นที่สูงกว่าเท่ากับ 21.91 เมกกะจูล/กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์


การจำลองกระบวนการการปรับปรุงแก๊สซิฟิเคชันชีวมวลร่วมกับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ แบบแคลเซียมลูปปิงสำหรับการผลิตไฮโดรเจน, อรัญกร สัมภวะผล Jan 2019

การจำลองกระบวนการการปรับปรุงแก๊สซิฟิเคชันชีวมวลร่วมกับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ แบบแคลเซียมลูปปิงสำหรับการผลิตไฮโดรเจน, อรัญกร สัมภวะผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์สมรรถนะของการปรับปรุงกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันชีวมวลร่วมกับการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีแคลเซียมลูปปิงสำหรับการผลิตไฮโดรเจนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยใช้ทางปาล์มเป็นวัตถุดิบและใช้แคลเซียมออกไซด์เป็นตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ การจำลองกระบวนการจะถูกพัฒนาโดยใช้แบบจำลองแอสเพนพลัส (Aspen Plus simulator) และใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรดำเนินการที่ศึกษา เช่น อุณหภูมิแก๊สซิฟิเคชัน อัตราส่วนไอน้ำต่อชีวมวล (S/B) อัตราส่วนแคลเซียมออกไซด์ต่อชีวมวล (CaO/B) และอุณหภูมิไรเซอร์ ต่อประสิทธิภาพของกระบวนการ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิแก๊สซิฟิเคชันส่งผลดีตต่อการผลิตไฮโดรเจน ปริมาณไอน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตไฮโดรจน การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมออกไซด์ที่ใช้เป็นตัวดูดซับมีบทบาทอย่างสูงต่อการลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และสนันสนุนการผลิตไฮโดรเจนให้เพิ่มสูงขึ้น อุณหภูมิไรเซอร์ที่อุณหภูมิต่ำส่งเสริมการผลิตไฮโดรเจน ความเข้มข้นของไฮโดรเจนที่สูงที่สุดคือ 99 % สามารถทำได้ภายใต้สภาวะอุณหภูมิของแก๊สซิฟิเคชันที่ 650 °C อัตราส่วนไอน้ำต่อชีวมวล เท่ากับ 1 อัตราส่วนแคลเซียมออกไซด์ต่อชีวมวล เท่ากับ 1.6 และอุณหภูมิไรเซอร์ เท่ากับ 550 °C ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของกระบวนการได้ถูกปรับปรุงโดยการออกแบบเครือข่ายแลกเปลี่ยนความร้อนตามหลักการการวิเคราะห์จุดพินช์ เพื่อนำพลังงานความร้อนที่เหลือจากกระบวนการกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พบว่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนรวมของระบบเพิ่มขึ้นจากเดิม 60.20 % ไปเป็น 75.30 %


การสังเคราะห์อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่ใช้เป็นชั้นขนส่งโฮลสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์เพอร์รอฟสไกท์ที่มีเสถียรภาพสูง, อุรัสยา ศิลป์เจริญ Jan 2019

การสังเคราะห์อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่ใช้เป็นชั้นขนส่งโฮลสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์เพอร์รอฟสไกท์ที่มีเสถียรภาพสูง, อุรัสยา ศิลป์เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการสังเคราะห์อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ เพื่อนำมาใช้เป็นชั้นขนส่งโฮลในเซลล์แสงอาทิตย์เพอร์รอฟสไกท์ สมบัติของชั้นขนส่งโฮลจำเป็นต้องอยู่ในรูปของฟิล์มบางคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่ประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีขนาดใกล้เคียงกัน มีความบริสุทธิ์สูงและอยู่ในเฟสเคสเตอไรท์ (kesterite phase) เนื่องจากคุณลักษณะเหล่านี้ส่งผลต่อสมบัติทางแสงและไฟฟ้า และประสิทธิภาพการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยงานวิจัยนี้ศึกษาการสังเคราะห์อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลที่อุณหภูมิ 220 170 และ 120 องศาเซลเซียส และวิธีโซล-เจลที่อุณหภูมิ 300 250 และ 200 องศาเซลเซียส ซึ่งการสังเคราะห์ด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อขนาด ความเป็นผลึกและความบริสุทธิ์ของผลึก การสังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลที่อุณหภูมิ 220 องศาเซลเซียส ผลึกของคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่ได้มีขนาดใกล้เคียงกันโดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 23 นาโนเมตรจากการคำนวณด้วยสมการเชอร์เรอร์ นอกจากนี้ยังมีคุณภาพในด้านความเป็นผลึกและความบริสุทธิ์ของผลึกคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่สูงที่สุด และสูงกว่าการสังเคราะห์ด้วยวิธีโซล-เจล ในขณะที่อนุภาคคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีโซล-เจลที่อุณหภูมิต่างๆไม่ส่งผลต่อขนาดและความบริสุทธิ์ของผลึกอย่างเด่นชัด อีกทั้งพบว่ามีค่าช่องว่างระหว่างแถบพลังงานประมาณ 1.48 อิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นชั้นขนส่งโฮล เมื่อนำอนุภาคคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์มาเคลือบเป็นฟิล์มบางด้วยวิธีหมุนเหวี่ยง (spin coating) ด้วยอัตราหมุน 4,000 รอบต่อนาที เพื่อใช้เป็นชั้นขนส่งโฮลด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการกระจายตัวของอนุภาคคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์คือไอโซโพรพิลซัลไฟด์ เมื่อประกอบเป็นเซลล์แสงอาทิตย์เพอร์รอฟสไกท์ที่สมบูรณ์พบว่าสามารถคงไว้ซึ่งความเสถียรภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ได้เป็นระยะเวลาประมาณ 1,344 ชั่วโมง


การศึกษาอิงพารามิเตอร์ของการควบคุมอุณหภูมิเชิงคาบในช่องปิดสองช่องที่ติดกันด้วยการจำลองเชิงเลข, เทิดพงศ์ ช่วยแก้ว Jan 2019

การศึกษาอิงพารามิเตอร์ของการควบคุมอุณหภูมิเชิงคาบในช่องปิดสองช่องที่ติดกันด้วยการจำลองเชิงเลข, เทิดพงศ์ ช่วยแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิเชิงคาบในช่องปิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองช่องที่ติดกันแยกจากกันด้วยผนังร่วม โดยทีแต่ละช่องปิดมีการควบคุมอุณหภูมิด้วยเครื่องทำความร้อนแบบเปิดปิดแยกกันอย่างอิสระ การศึกษาใช้โปรแกรม ANSYS FLUENT 2019 จำลองการถ่ายเทความร้อนแบบการพาความร้อนตามธรรมชาติของอากาศที่มีการไหลแบบราบเรียบในช่องปิดและการนำความร้อนของผนังร่วมเมื่อเรย์เลห์นัมเบอร์มีค่าประมาณ 105 โดยกำหนดให้เครื่องทำความร้อนเปิดเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยในช่องปิดต่ำกว่า 299 K และปิดเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยในช่องปิดสูงกว่า 301 K ผลการจำลองแสดงว่าไม่ว่าจะเริ่มการควบคุมอุณหภูมิเมื่อใดก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป คาบของการควบคุมจะเข้าสู่สภาวะคงตัวโดยที่การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเชิงคาบของทั้งสองช่องจะปรับจนมีค่าสอดคล้องใกล้เคียงกัน นอกจากนี้จากการศึกษาผลของสมบัติของผนังร่วมต่อการควบคุมอุณหภูมิเชิงคาบ 3 ชนิด ได้แก่ ทองแดง อลูมิเนียม และนิกเกิล พบว่าผนังร่วมที่ทำด้วยอลูมิเนียม ซึ่งมีค่า Thermal storage ต่ำที่สุด จะทำให้ของการควบคุมอุณหภูมิเชิงคาบเข้าสู่สภาวะคงตัวและการสอดคล้องของอุณหภูมิของสองช่องได้เร็วที่สุด และในการศึกษาผลของอุณหภูมิภายนอกพบว่าอุณหภูมิภายนอกมีผลต่อคาบของการควบคุมอุณหภูมิเชิงคาบอย่างมาก โดยเมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นจะทำให้ระยะเวลาเปิดเครื่องทำความร้อนสั้นลงในขณะที่ระยะเวลาปิดยาวขึ้น และใช้เวลาเข้าสู่สภาวะคงตัวของการควบคุมเชิงคาบและการสอดคล้องกันของอุณหภูมิของสองช่องนานขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลโดยรวมให้คาบการควบคุมยาวขึ้น เมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงเกินกว่า 298.15 K พบว่าอุณหภูมิของช่องปิดทั้งสองช่องไม่มีการปรับตัวเข้าหากัน


ระบบควบคุมแบบปรับตัวได้พร้อมการควบคุมแรงฉุดลากสำหรับหุ่นยนต์ขับเคลื่อนสองล้อ, ไม้ไฑ ดะห์ลัน Jan 2019

ระบบควบคุมแบบปรับตัวได้พร้อมการควบคุมแรงฉุดลากสำหรับหุ่นยนต์ขับเคลื่อนสองล้อ, ไม้ไฑ ดะห์ลัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์สองล้อเพื่อให้การลื่นไถลที่ล้อให้น้อยที่สุดถือเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับหุ่นยนต์ที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคน ปกติแล้วการควบคุมแรงฉุดลากนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพลศาสตร์ของการเคลื่อนที่เช่น ค่าความเฉื่อยและแรงเสียดทาน รวมถึงการประมาณค่าสัดส่วนของการลื่นไถลที่ล้อกับพื้น ซึ่งมักจะต้องใช้การคำนวณที่มีความสลับซับซ้อน ในงานวิจัยนี้เราจะใช้ตัวควบคุมแรงฉุดลากที่ปรับตัวได้ หรือ Model following control (MFC) โดยจะแปลงในอยู่ในรูปของเวลาแบบไม่ต่อเนื่อง (discrete time model) การทดลองจะใช้หุ่นยนต์แบบสองล้อที่ควบคุมแรงฉุดลากแบบจำลองการไถล เทียบกับการควบคุมโดยใช้ตัวควบคุมแบบพีดี ตามเส้นวิถีการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง รวมถึงการทดสอบการประมาณค่าแรงฉุดลากสูงสุดของหุ่นยนต์ และทดสอบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ขึ้นและลงบนทางลาดชัน


การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์สมดุลพลังงานในเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า, ณัฐภัทร ปรีชากุล Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์สมดุลพลังงานในเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า, ณัฐภัทร ปรีชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยวิเคราะห์สมดุลพลังงานในเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า เพื่อทราบรายละเอียดการใช้พลังงานในเตาหลอมของโรงงาน และนำผลที่ได้ไปวางแผนและพัฒนาการประหยัดพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานในลำดับต่อไป โดยการพัฒนาโปรแกรมจะอาศัยข้อมูลจากโรงงานตัวอย่าง จำนวน 4 โรงงาน โดยใช้ข้อมูลของสารตั้งต้น ได้แก่ ปริมาณของ Scrap, ชนิดและปริมาณของเชื้อเพลิงที่ใช้, แก๊สออกซิเจนขาเข้า และสารตั้งต้นอื่น ๆ รวมถึงพลังงานไฟฟ้า สารผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำเหล็ก, ไอเสีย, Slag และองค์ประกอบของ Slag พบว่า ไอเสีย สารปรับคุณภาพของเหล็ก และปริมาณอากาศที่ไหลซึมเข้าสู่เตาหลอมระหว่างกระบวนการหลอม เป็นตัวแปรไม่ทราบที่ไม่สามารถตรวจวัดได้ โปรแกรมคำนวนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือส่วนวิเคราะห์สมดุลมวลโดยจะใช้การคำนวนย้อนกลับจากสารผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรไม่ทราบค่า และส่วนที่สอง คือ ส่วนวิเคราะห์สมดุลพลังงาน ซึ่งจะนำผลการวิเคราะห์สมดุลมวลที่ได้จากส่วนแรกมาวิเคราะห์การใช้พลังงานภายในเตาหลอม ผลการวิเคราะห์สมดุลพลังงานของโรงงานตัวอย่างทั้ง 4 โรงงาน พบว่ามีร้อยละของการใช้พลังงานใกล้เคียงกันโดยมีรายละเอียดดังนี้ พลังงานขาเข้าได้แก่ เอนทัลปีของสารขาเข้า 4-6 % พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 40-55% พลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง 8-15 % พลังงานจากปฏิกิริยา Oxidation ในการเกิด Slag 30-45 % พลังงานขาออกได้แก่ เอนทัลปีขาออกของเหล็ก 35-50% เอนทัลปีของ slag 3-7 % เอนทัลปีขาออกของไอเสีย 15-25 % การสูญเสียความร้อนจากน้ำระบายความร้อน 10-20% การสูญเสียพลังงานอื่น ๆ 10-25 % ผลการวิเคราะห์นี้ สามารถนำไปเป็นค่าอ้างอิงเพื่อคำนวณและประมาณการใช้พลังงานของโรงงานที่ใช้เตาหลอมอาร์คไฟฟ้าอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีตัวแปรไม่ทราบค่าได้