Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 234

Full-Text Articles in Engineering

การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการป้องกันการลุกลามไฟป่าในพื้นที่อยู่อาศัย, จิรภาส บุญทับ Jan 2021

การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการป้องกันการลุกลามไฟป่าในพื้นที่อยู่อาศัย, จิรภาส บุญทับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการป้องกันไฟป่าสำหรับประเทศไทย (ThaiWDSS) เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ในการวางแผนป้องกันการลุกลามของไฟป่า เมื่อเจ้าหน้าที่เผชิญกับภัยจากไฟป่า ความท้าทายหลักได้แก่ การทำนายแนวโน้มการลุกลามของไฟป่า การประเมินความเสียหาย และการวางแผนการป้องกันพื้นที่ชุมชน ระบบช่วยรับมือกับปัญหาเหล่านี้โดยการจำลองการลุกลามของไฟป่า และระบุพื้นที่ชุมชน เพื่อการประเมินผลกระทบ โดยผู้ใช้งานสามารถจำลองการวางแผนการสร้างแนวป้องกันไฟที่สามารถควบคุมพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้ได้ โดยผู้ใช้งานสามารถประเมินพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ ร่วมกับสิ่งปลูกสร้าง โดยการจำลองแนวป้องกันไฟในการวางแผน ระบบได้รับการทดสอบการใช้งาน และแบบจำลองการลุกลามของไฟป่าได้รับการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยกรณีศึกษาในประเทศไทยที่เคยเกิดไฟป่าขึ้นจริงสองแห่ง จากผลการวิจัยพบว่าระบบสามารถสนับสนุนการจำลองการสร้างแนวป้องกันไฟรูปแบบต่าง ๆ โดยการจำลองพื้นที่เผาไหม้ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจระหว่างการวางแผนเผชิญเหตุ เนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูล การระบุพื้นที่ชุมชน และการจำลองการลุกลามของไฟ มีความถูกต้อง 80% โดยประมาณ ในการระบุพื้นที่ชุมชน และการทำนายพื้นที่เผาไหม้ แบบจำลองสามารถพัฒนาได้อีกมากถ้าหากมีข้อมูลที่มากขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถบริหารทรัพยากร และดำเนินมาตรการป้องกันสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


การแก้ปัญหาการปรับสมดุลจักรยานแบบสถิตด้วยโครงข่ายที่เรียนรู้แบบเสริมกำลังและการค้นหาแบบทาบู, ธีร์ธัฐ พรหมประดิษฐ์ Jan 2021

การแก้ปัญหาการปรับสมดุลจักรยานแบบสถิตด้วยโครงข่ายที่เรียนรู้แบบเสริมกำลังและการค้นหาแบบทาบู, ธีร์ธัฐ พรหมประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบบริการจักรยานให้เช่าเป็นโหมดการเดินทางที่ไม่มีการปล่อยก๊าซหรือของเสีย ปัจจุบันบริการให้เช่าจักรยานเปิดให้ใช้บริการอย่างแพร่หลายเนื่องจากความตื่นตัวต่อภาวะโลกรวน บริการจักรยานให้เช่าเป็นบริการที่ให้ผู้ที่ต้องการใช้ปั่นจักรยานเข้ามาเช่าจักรยานและคืนจักรยานด้วยตนเอง ณ จุดให้บริการ การดำเนินการของบริการจักรยานให้เช่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์ผู้เช่าอย่างมาก สำหรับปัญหาการดำเนินการของบริการจักรยานให้เช่า ยกตัวอย่างเช่น กรณี ณ สถานีให้เช่าจักรยานไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับคืนจักรยานหรือมีจำนวนจักรยานไม่เพียงพอให้เช่า ซึ่งในตัวอย่างนี้จะส่งผลให้ผู้เช่ารู้สึกไม่พึงพอใจต่อระบบให้เช่าจักรยาน การปรับสมดุลจักรยาน คือ การวางแผนการขนส่งเพื่อที่จะหาเส้นทางที่ดีที่สุด มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้ดูแลบริการจักรยานให้เช่าสามารถปรับจักรยานตามลำดับของแผนการขนส่งเพื่อเคลื่อนย้ายจำนวนจักรยานจากจำนวน ณ ขณะปัจจุบัน เป็นจำนวนจักรยาน ณ ที่กำหนดไว้ตามความเหมาะสม โดยปัญหาการปรับสมดุลจักรยานสามารถถูกกำหนดให้อยู่ในรูปของปัญหาเชิงการจัด เพื่อที่สามารถแก้ปัญหาเพื่อหาคำตอบจากการกำหนดโจทย์ทางคณิตศาสตร์ จากอดีตถึงปัจจุบันงานวิจัยที่ศึกษาการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเพื่อแก้ปัญหาเชิงการจัด สำหรับวิทยานิพนธ์เล่มนี้ผู้เขียนต้องการที่จะเสนอวิธีภาพรวมการเรียนรู้แบบเสริมกำลังและการค้นหาแบบทาบูเพื่อแก้ปัญหาการปรับสมดุลจักรยานแบบสถิตและทดสอบคุณภาพของคำตอบและเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาการปรับสมดุลจักรยานให้เช่าแบบสถิต


Mitigating Sinkhole Attack On Low-Power And Lossy Networks With Traffic Aware Scheduling Algorithm Using Dual Parent Mechanism, Tay Zar Bhone Maung Jan 2021

Mitigating Sinkhole Attack On Low-Power And Lossy Networks With Traffic Aware Scheduling Algorithm Using Dual Parent Mechanism, Tay Zar Bhone Maung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low-Power and Lossy Networks (LLN) are networks where all the routers and IoT devices are working on a limited power, memory, and computational energy. Due to the constrained structures of LLN networks such as limited resources, lossy connection and lack of physical security, security attacks can occur when routing in an LLN network. The Routing Protocol for Low-Power and Lossy Networks (RPL) was developed to meet the needs of multiple applications in the fields of Wireless Sensor Networks (WSN) and Internet of Things (IoT). Some sensor nodes in a RPL network are not strong enough to withstand a variety of …


การศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย, ปภาวรินทร์ กะริอุณะ Jan 2021

การศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย, ปภาวรินทร์ กะริอุณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ชนิด NMC และ LMO โดยเปรียบเทียบโรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่ผลิตเซลล์แบตเตอรี่เอง และโรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น พบว่าโรงงานแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น แบตเตอรี่ชนิด NMC มีราคาต้นทุน 131 $/kWh หรือ 11,439 USD/Battery pack และ LMO มีราคาต้นทุน 124 $/kWh หรือ 10,566 USD/Battery pack ส่วนโรงงานที่สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่ได้เอง แบตเตอรี่ชนิด NMC มีราคาต้นทุน 124$/kWh หรือ 8,904.43 USD/battery pack และ LMO มีราคาต้นทุน 118$/kWh หรือ 8,433.6 USD/Battery Pack จากการศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุน ด้วยดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ โรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น โรงงานแบตเตอรี่ชนิด NMC มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 389.10 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 17.78% มีระยะเวลาในการคืนทุน (Payback period) 4.5 ปี โรงงานแบตเตอรี่ชนิด LMO มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 170.20 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 14.38% มีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 5.1ปี ส่วนโรงงานที่สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่เอง โรงงานแบตเตอรี่ชนิด NMC มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -878.68 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 5.29% มีระยะเวลาในการคืนทุน (Payback period) 7.4 ปี และโรงงานแบตเตอรี่ชนิด LMO มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -243.65 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 9.97% มีระยะเวลาคืนทุน …


Synthesis Of Molybdenum-Based Catalysts On Carbon Support For Partial Hydrogenation Reaction Of Biodiesel, Dolrudee Jaruwat Jan 2021

Synthesis Of Molybdenum-Based Catalysts On Carbon Support For Partial Hydrogenation Reaction Of Biodiesel, Dolrudee Jaruwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, biodiesel is a renewable energy, which can decrease fossil fuel. It helped reducing air pollution. Partial Hydrogenation is one process which improves the biodiesel quality. In this research, activated carbon was produced from cattail leave via hydrothermal carbonization and chemical activation. The activated carbon was treated with 4 M of potassium hydroxide at 900oC, which exhibits 1323.38 m2g-1 of SBET. Several type of catalysts (Mo, Ni, Ci, Fe, MoNi, MoCu, and MoFe) were studied in this research, which were prepared using a rotary evaporation technique. The experiments reveal that MoNi/C catalyst indicate the highest dispersion of metal particle. The …


Use Of Polyacrylonitrile As Anodic Artificial Solid Electrolyte Interphase For Aqueous-Based Zinc-Ion Batteries, Nutchaya Muangplod Jan 2021

Use Of Polyacrylonitrile As Anodic Artificial Solid Electrolyte Interphase For Aqueous-Based Zinc-Ion Batteries, Nutchaya Muangplod

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Rechargeable aqueous zinc-ion batteries (ZIBs) have attracted attention for energy storage systems because of their high specific capacity, low cost, and safety. However, practical application of the zinc anode in mild acidic electrolytes is limited by several issues such as dendrite formation, corrosion, hydrogen evolution reaction, passivation and relatively low cycling performance. Coating the zinc anode with graphite (GP) (GP@Zn) can partially solve these issues and improves the cycling performance of ZIB. However, after long-term charge/discharge cycles, zinc tends to migrate and redeposit over the surface of GP owing to the electronic conductivity of GP particles. Thus, after long-term cycling, …


Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon Jan 2021

Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tetracycline (TC) antibiotic is one of emerging contaminants in water reservoirs that causes undesirable effects on environment and human health. Magnetic biochar (MBC) is considered a promising sorbent in adsorption process for removal of contaminants with highly efficient and facile operation. In this work, MBC was synthesized by pyrolysis of watermelon rind impregnated with FeCl3 at different pyrolysis temperatures in a range of 600-900 °C prior to applying for TC adsorption. Characteristics of MBC were analyzed by scanning electron microscopy, elemental analyzer, N2 adsorption/desorption, Fourier-transform infrared spectroscopy, Raman spectroscopy, vibrating sample magnetometry, and X-ray diffractometry. The adsorption kinetics, isotherm, effect …


Effect Of Bismuth (Bi) Concentration On Bi/Sn Electrodes Prepared By Electrodeposition In Electrochemical Reduction Of Co2 To Toward Solid Carbon Products, Sarita Phupaichitkun Jan 2021

Effect Of Bismuth (Bi) Concentration On Bi/Sn Electrodes Prepared By Electrodeposition In Electrochemical Reduction Of Co2 To Toward Solid Carbon Products, Sarita Phupaichitkun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbon dioxide (CO2) is the main greenhouse gas that contributes to climate change. The electrochemical carbon dioxide reduction (CO2RR) is an interesting and low-cost CO2 conversion technology using renewable electricity as an energy source. Herein, CO2RR to solid carbon products was studied on bismuth/tin (Bi/Sn) electrodes synthesized by electrodeposition method. Different Bi concentration (0.01 M,0.03 M, 0.05 M,0.07 M and 0.1 M) were used to prepare the electrodes by electrodeposition method. The SEM-EDX and EIS results which reveal that the Bi/Sn electrode prepared in 0.05 M Bi 3+ had the lowest charge transfer resistance and was indicated as a CO2RR …


Development Of Nonaqueous Zinc-Ion Battery Based On Manganese Dioxide Cathode, Wathanyu Kao-Ian Jan 2021

Development Of Nonaqueous Zinc-Ion Battery Based On Manganese Dioxide Cathode, Wathanyu Kao-Ian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Zinc-ion batteries (ZIBs) are considered promising candidates for large-scale applications replacing lithium-ion batteries (LIBs). ZIBs having aqueous electrolytes have many advantages being low-cost, safe, and eco-friendly. However, a number of shortcomings hinder their application e.g. self-corrosion, hydrogen evolution, and Zn dendrite-formation. To mitigate these issues, nonaqueous electrolytes i.e. organic-based and room temperature ionic liquid electrolytes have been proposed. Nevertheless, nonaqueous electrolytes are yet to be elucidated. Herein, this work identifies nonaqueous electrolytes' state of the art and develops a new nonaqueous electrolyte system for ZIBs based on a manganese dioxide (MnO2) cathode. For this purpose, Zn chemistry in nonaqueous electrolytes …


Incorporating Context Into Non-Autoregressive Model Using Contextualized Ctc For Sequence Labelling, Burin Naowarat Jan 2021

Incorporating Context Into Non-Autoregressive Model Using Contextualized Ctc For Sequence Labelling, Burin Naowarat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Connectionist Temporal Classification (CTC) loss has become widely used in sequence modeling tasks such as Automatic Speech Recognition (ASR) and Handwritten Text Recognition (HTR) due to its ease of use. CTC itself has no architecture constraints, but it is commonly used with recurrent models that predict letters based on histories in order to relax the conditional independent assumption. However, recent sequence models that incorporate CTC loss have been focusing on speed by removing recurrent structures, hence losing important context information. This thesis presents Contextualized Connectionist Temporal Classification (CCTC) loss, which induces prediction dependencies in non-recurrent and non-autoregressive neural networks for …


Deep Learning Approach On Symptom Questionnaire And Abdominal Radiography For Diagnosis Of Dyssynergic Defecation, Sornsiri Poovongsaroj Jan 2021

Deep Learning Approach On Symptom Questionnaire And Abdominal Radiography For Diagnosis Of Dyssynergic Defecation, Sornsiri Poovongsaroj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dyssynergic defecation is one of the most common causes of chronic constipation. It is a behavioral problem in which the pelvic floor muscles are unable to coordinate with the surrounding muscles and nerves to evacuate stool. Patients are required to undergo specialized tests only available at tertiary healthcare centers for diagnosis. The aim of this thesis is to develop deep learning-based models to prescreen potential patients from primary and secondary healthcare centers for further diagnostic tests by using easily obtainable data such as symptom questionnaire and abdominal radiography. First, we developed a model which uses symptom questionnaire as an input …


Deep Learning With Attention Mechanism For Iterative Face Super-Resolution, Krit Duangprom Jan 2021

Deep Learning With Attention Mechanism For Iterative Face Super-Resolution, Krit Duangprom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Face images are widely used in many applications, such as face recognition and face identification. Regarding security, face identification is used to track the crimes. However, the camera's low resolution and environmental degradation problem hinders the face application's performance. In this thesis, we study face image super-resolution to restore the image from low-resolution to high-resolution. We proposed deep learning with an attention mechanism for iterative face super-resolution that included an image super-resolution network and face alignment network combined. The input low-resolution image is enlarged into a super-resolution face image. Then, the image has repeatedly estimated the alignment to enhance the …


Identification And Counting White Blood Cell Subtypes With Convolutional Neural Network, Singgih Bekti Worsito Jan 2021

Identification And Counting White Blood Cell Subtypes With Convolutional Neural Network, Singgih Bekti Worsito

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

White blood cell (WBC) has five subtypes namely neutrophil, eosinophil, basophil, lymphocyte, and monocyte which play specific roles in the immune system and against diseases. The object detection model applied to microscopic objects is introduced to assist experts in performing tasks in blood analysis. Unbalanced cell composition of WBC subtypes to be detected is a challenge in building a model in Convolutional Neural Network (CNN). This research aims to build models in recognizing and counting WBC subtypes with neural networks constructed from augmented data enrichment. CNN is demonstrated in this study with the YOLOv5s, YOLOv5l, and YOLOv5x models to detect …


Real-Time Image Super-Resolution Reconstruction For System On Chip Fpga, Watchara Ruangsang Jan 2021

Real-Time Image Super-Resolution Reconstruction For System On Chip Fpga, Watchara Ruangsang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, image super-resolution (SR) techniques based on Convolutional Neural Network (CNN) have achieved impressive attention from computer vision scholars and artificial intelligence (AI) companies. Due to the necessity of using the SR algorithms in real-world applications, designing an efficient and lightweight SR algorithm that improves the sharpness and visual quality of the SR results is a critical issue in real-time hardware implementation. To address these issues, we proposed the Multi-FusNet of Cross Channel Network (MFCC) network by constructing the groups of Residual-in-Residual architecture under the multi-path cascading framework. Additionally, a residual connection is used to transfer the low-level …


Key Success Factors Identification For Logistics Outsourcing In Myanmar, Pyae Sone Htoon Jan 2021

Key Success Factors Identification For Logistics Outsourcing In Myanmar, Pyae Sone Htoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this paper is to identify the key success factors that have a profound effect on the service quality of outsourced logistics functions in the import/export sector of trade business in Myanmar and rank them accordingly to their importance when outsourcing logistics functions. The paper states the critical elements required for logistics service providers to compete for high customer satisfaction in Yangon, Myanmar. Fuzzy TOPSIS methodology with triangular fuzzy numbers is used to identify the key success factors and rank them in order of their relative closeness to the ideal solution. The findings suggest that soft factors such …


Quality Control Of Chemical Grade Calcium Carbonate From Lopburi Limestone Deposit In Thailand, Pimpichcha Teawpanich Jan 2021

Quality Control Of Chemical Grade Calcium Carbonate From Lopburi Limestone Deposit In Thailand, Pimpichcha Teawpanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Calcium carbonate (CaCO3) is naturally produced from calcite, limestone, chalk, and marble. It is being used as raw material in various industries (e.g., cement, plastic, paint, paper, and pharmaceutical industries). The low-grade CaCO3 samples obtained from a calcite plant at Khoktum Sub-district, Muang Lopburi District, Lopburi Province, Thailand were used in this study. These samples contain more than 98% of CaCO3 while Fe2O3 contents are higher than 0.1% and increased after finished the process. Because of this problem, the products could not be sold since lower Fe2O3 contents are required (e.g., ≤0.05% for filler grade and ≤ 0.1% for animal …


Assessments Of Chromium Pollution In Surface Sediment Of The Inner Gulf Of Thailand, Patcha Leelakun Jan 2021

Assessments Of Chromium Pollution In Surface Sediment Of The Inner Gulf Of Thailand, Patcha Leelakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The inner Gulf of Thailand is an important marine resource for economic and social developments of Thailand. Moreover, the inner Gulf of Thailand is a diverse of biological coastal ecosystem, which is make an equilibrium marine environment. On the other hand, this area is due mainly to a variety of pollutant sources from the surface runoff, particularly major large rivers including the Mae Klong, the Tha Chin, the Chao Phraya and the Bangpakong Rivers. As a result, chromium contamination can occur in the inner Gulf of Thailand and ultimately become a serious environmental issue in Thailand. Therefore, the surface sediments …


Evaluation Of Cadmium Bioaccumulations In Pak Choi Grown By Hydroponics System, Piyachet Jinsart Jan 2021

Evaluation Of Cadmium Bioaccumulations In Pak Choi Grown By Hydroponics System, Piyachet Jinsart

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cadmium is one of the most harmful heavy metals reported to contaminate the food chain and pose a high risk for health, including non-carcinogenic and carcinogenic effects. High levels of cadmium contamination due to industrial effluent discharge have been reported to affect plant growth and productivity, which could be used as a bio-indicator for cadmium bioaccumulation in plants. The utilization of cadmium-contaminated water for vegetable production has been known to increase the health risk for human consumption. Moreover, pH level was known as a factor affecting cadmium solubility and cadmium uptake by plants. However, there is still unknown about critical …


Sustainable Two-Step Minlp Heat Exchanger Network Synthesis With Practical Detailed Design, Thanawat Boonvaerojkul Jan 2021

Sustainable Two-Step Minlp Heat Exchanger Network Synthesis With Practical Detailed Design, Thanawat Boonvaerojkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to sustainable development that focuses on energy conservation, decreasing emissions and environmental effect, the research of heat exchanger network synthesis (HENS) is still necessary and challenging. Most academic studies in the subject of HENS aim on reducing total annual cost (TAC) through optimal topology design without the detailed design costs of each heat exchanger in the network, resulting in conceptual HEN designs. Hence, the detailed design of shell and tube heat exchangers is recalculated for TAC and corrected area costs, including the pumping costs from overall pressure drop of heat exchangers. For a shell and tube heat exchanger, its …


ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา, ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์ Jan 2021

ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา, ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประสิทธิภาพของปั๊มอุตสาหกรรม เช่น ปั๊มน้ำหม้อน้ำ และ ปั๊มน้ำหล่อเย็น ที่มีค่ากำลังในช่วง 90 – 315 กิโลวัตต์ จะถูกทำการสุ่มทดสอบก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทางโรงงานผลิตปั๊มอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องปิดระบบปรับอากาศทั้งโรงงานขณะทำการทดสอบปั๊มให้ลูกค้าชม ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง 4 ครั้ง/เดือน อนึ่งบริษัทผู้เชียวชาญด้านการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ออกแบบติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จากพื้นที่บนหลังคา สามารถผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับใช้ในกิจกรรมการทดสอบปั๊มตามการร้องขอของลูกค้า 100 กิโลวัตต์สูงสุด งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอ 3 ฉากทัศน์ในการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100%, 75%, 50% จากการออกแบบของบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 3 ฉากทัศน์นี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 152,810 109,190 และ 73,287 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี ตามลำดับ โดยคำนวณผ่านโปรแกรม PVSyst ระยะเวลาโครงการ 25 ปี ประเมินมูลค่าการลงทุนผ่านแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลด ได้ผลของมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 1,212,849.40 491,599.73 และ 127,585.1 บาท ตามลำดับ มูลค่าผลตอบแทนภายในเท่ากับ 18.33% 15.79% และ 14.09% ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5.32 6.13 และ 6.79 ปี ตามลำดับ และ มูลค่าต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยตลอดอายุโครงการเท่ากับ 1.708 1.908 2.182 บาท/หน่วย ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์แรกเป็นแนวทางที่น่าสนใจลงทุนที่สุด และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยนำเข้าด้านราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของการไฟฟ้านครหลวงและประสิทธิภาพของแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามลำดับ


การเตรียมเซรามิกแคลเซียมซิลิเกตความหนาแน่นต่ำสำหรับงานฉนวนความร้อนทนไฟโดยใช้เถ้าแกลบ, ชญานิน นิสัยมั่น Jan 2021

การเตรียมเซรามิกแคลเซียมซิลิเกตความหนาแน่นต่ำสำหรับงานฉนวนความร้อนทนไฟโดยใช้เถ้าแกลบ, ชญานิน นิสัยมั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้สนใจการนำของเสียจากอุตสาหกรรมมาใช้เป็นวัสดุทดแทนวัตถุดิบดั้งเดิมในการเตรียมผลิตภัณฑ์แคลเซียมซิลิเกต ได้แก่ เถ้าแกลบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบทางเลือกที่ให้ซิลิกาอสัญฐาน เปรียบเทียบกับการใช้ทรายบดที่เป็นวัตถุดิบดั้งเดิม และยิปซัมจากแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ใช้แล้ว การเตรียมผลิตภัณฑ์แคลเซียมซิลิเกตโดยทั่วไปจะเตรียมโดยการทำปฏิกิริยาระหว่างซิลิกาและแคลเซียมออกไซด์ภายใต้สภาวะไฮโดรเทอมัลที่มีแรงดันสูง งานวิจัยนี้จะศึกษาผลของการเติมยิปซัมต่อการเกิดเฟสในชิ้นงานแคลเซียมซิลิเกต โดยใช้เถ้าแกลบและทรายบดเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่ให้ซิลิกา นอกจากนี้ยังศึกษาผลของเวลาในการนึ่งอัดไอและผลการเติมปูนซีเมนต์ขาวเพิ่มเติมด้วย การเตรียมชิ้นงานเตรียมโดยการผสมวัตถุดิบตั้งต้นในอัตราส่วนแคลเซียมออกไซด์ต่อซิลิกาเท่ากับ 1:1 โดยโมล ใส่เส้นใยเซรามิก ร้อยละ 2.5 และเส้นใยกระดาษยูคาลิปตัส ร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมแรงผสมกับน้ำ จากนั้นนำไปหล่อและบ่มเป็นเวลา 2 วัน และนำไปบ่มในหม้อนึ่งอัดไอที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 10 และ 20 ชั่วโมง อบแห้งชิ้นงานที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นงานไปทดสอบสมบัติทางกายภาพ วิเคราะห์องค์ประกอบเฟส และวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค พบว่า การเติมยิปซัมสามารถช่วยในการเกิดเฟสโทเบอร์โมไรต์ได้ แต่ทำให้โครงสร้างจุลภาคของโทเบอร์โมไรต์เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับผลของการเติมปูนซีเมนต์ อีกทั้งเถ้าแกลบสามารถใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกที่ให้ซิลิกาได้ โดยในงานวิจัยนี้สูตรที่ดีที่สุดคือสูตร RHA0 อุณหภูมิการนึ่งอัดไอ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ชั่วโมง มีค่าความหนาแน่น 0.19 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าความแข็งแรงต่อการดัดโค้ง 737 กิโลพาสคัล ค่าการหดตัวหลังเผาของชิ้นงานที่ 649 องศาเซลเซียส ร้อยละ 0.65 ค่าการนำความร้อน 0.063 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน


การเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง, ธนกฤต ลาภวุฒิพจน์ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง, ธนกฤต ลาภวุฒิพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง ในการทดลอง ใช้แผงโซล่าเซลล์ 2 แผง คือ แผงโซล่าเซลล์แบบปกติ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และ แผงโซล่าเซลล์แบบติดตั้งฮีทไปป์เพื่อใช้ลดอุณหภูมิแผง ตัวแปรติดตามในการศึกษา ประกอบด้วย ความเข้มแสงอาทิตย์ กำลังไฟฟ้าที่แผงผลิตได้ อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์ อุณหภูมิท่อฮีทไปป์ และ อุณหภูมิอากาศภายนอก ในการศึกษาทดลองครั้งนี้จะเก็บข้อมูลทุกๆ 15 นาที ตั้งแต่เวลา 8.00 ถึง 16.15 นาฬิกา เป็นเวลา 14 วัน ท่อฮีทไปป์ที่ใช้เป็นท่อทองแดงกลมมีเกลียวภายในทำหน้าที่เป็นวิก ท่อฮีทไปป์ใช้น้ำกลั่นเป็นของไหลใช้งาน และฮีทไปป์ทั้งหมด 7 ท่อถูกติดตั้งที่บริเวณด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ จากการวิเคราะห์พบว่า แผงโซล่าเซลล์แบบปกติมีอุณหภูมิเฉลี่ย 52.5 องศาเซลเซียส และมีพลังงานต่อปี 199.7 kWh ส่วนแผงแบบติดตั้งระบบฮีทไปป์ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 51.1 องศาเซลเซียส และมีพลังงานต่อปี 222.3 kWh ดังนั้นแผงโซล่าเซลล์แบบติดตั้งฮีทไปป์ ช่วยลดอุณหภูมิได้ 1.44 องศาเซลเซียส หรือร้อยละ 2.7 และ มีค่าพลังงานต่อปีมากกว่าแผงแบบปกติ 22.6 kWh หรือร้อยละ 11.3


แบบจำลองเทียบเท่าวงจรไฟฟ้าของแบตเตอรี่ไอออนสังกะสี, พนิดา พูลพิพัฒน์ Jan 2021

แบบจำลองเทียบเท่าวงจรไฟฟ้าของแบตเตอรี่ไอออนสังกะสี, พนิดา พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีต้องการระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (Battery management system; BMS) เพื่อควบคุมการดำเนินงานของแบตเตอรี่ให้มีสมรรถนะสูงและมีความปลอดภัยในการทำงาน ในปัจจุบันนี้การศึกษาเกี่ยวกับแบบจำลองของแบตเตอรี่ไอออนสังกะสียังไม่แพร่หลายมากนัก ซึ่งระบบการจัดการแบตเตอรี่ต้องอาศัยแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการทำนายตัวแปรสภาวะ เช่น แรงดันไฟฟ้า (Voltage), กระแส (Current) และสถานะประจุ (State of charge) เป็นต้น ซึ่งตัวแปรสภาวะเหล่านี้เป็นตัวที่บ่งบอกถึงสภาวะการทำงานของแบตเตอรี่และยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ยาวนานขึ้นได้ ในงานวิจัยนี้เราได้ศึกษาการทำแบบจำลองโดยอาศัยแบบจำลองบนพื้นฐานของแบบจำลองเทียบเท่าวงจรไฟฟ้า (Equivalent Circuit Models; ECMs) สำหรับการระบุค่าพารามิเตอร์จะใช้วิธี Recursive least squares (RLS) และใช้ข้อมูลผลตอบสนองพฤติกรรมทางไดนามิคของแบตเตอรี่จากการทดสอบ HPPC (Hybrid pulse power characterization) โดยการจำลองแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีมาใช้เป็นอินพุตท์ของการทำแบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลอง Thevenin, แบบจำลอง RC และแบบจำลอง PNGV ผลการทำแบบจำลองพบว่าแบบจำลอง Thevenin มีความแม่นยำที่สุดในการทำนายความต่างศักย์ของระบบโดยมีการใช้ค่าพารามิเตอร์แบบออนไลน์มากที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบจำลองที่ทำการศึกษา นอกจากนี้วิธีระบุค่าพารามิเตอร์แบบ RLS ยังสามารถช่วยลดค่าความผิดพลาดและมีความแม่นยำในการทำนายแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่แบบออนไลน์ได้


ความแม่นยำของการประมาณสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกจากข้อมูลโพรบ, กันฑ์อเนก มกรพงศ์ Jan 2021

ความแม่นยำของการประมาณสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกจากข้อมูลโพรบ, กันฑ์อเนก มกรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยก คือ การนับปริมาณการจราจรของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ณ ทางแยก โดยข้อมูลจราจรเหล่านี้ได้จากการเก็บข้อมูล ซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ การเก็บข้อมูลโดยมนุษย์ ซึ่งมีความแม่นยำในระดับที่มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง แต่จะสามารถเก็บได้เพียงแค่ 1 วัน ใน 1 ปี ในแต่ละทางแยก นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลอีกประเภท คือ การเก็บข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งตามยานพาหนะ หรือเรียกว่า โพรบ ข้อมูลที่ได้จากโพรบจะเป็นข้อมูลจำนวนนับรถซึ่งเป็นข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากจำนวนรถที่ของข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก อาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบความแม่นยำได้ ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจในงานวิจัยนี้ คือ เมื่อแปลงปริมาณรถที่ได้จากการนับรถจริงและข้อมูลจำนวนนับรถที่ได้จากโพรบ สัดส่วนข้อมูลจำนวนนับรถที่ได้จากโพรบจะสามารถเป็นตัวแทนสัดส่วนที่ได้จากการนับรถจริงหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางในแต่ละช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเร่งด่วนเช้า นอกเวลาเร่งด่วน และช่วงเร่งด่วนเย็น ซึ่งมีทั้งหมด 11 ทางแยก นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกโดยใช้ข้อมูลสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกใน 1 ชั่วโมง และข้อมูลสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกที่สะสมเป็นจำนวน 2 ชั่วโมง จากผลการศึกษา พบว่า ความแม่นยำจากการเปรียบเทียบสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกโดยการประมาณการ จะมีความแม่นยำสูงในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน และ เร่งด่วนเย็น โดยข้อมูลที่เหมาะสมจะใช้งานในด้านวิศวกรรมจราจร คือ ข้อมูลจราจรที่มีการสะสมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เมื่อนำสัดส่วนปริมาณการจราจรตามทิศทางของทางแยกที่ได้จากข้อมูลโพรบไปใช้ในการตั้งสัญญาณไฟจราจรในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่ามีความแม่นยำประมาณร้อยละ 70 ถึงร้อยละ 80 เป็นส่วนใหญ่


สมบัติของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากขยะพลาสติกชนิดโพลีโพรไพลีน, ธิติ กางโหลน Jan 2021

สมบัติของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากขยะพลาสติกชนิดโพลีโพรไพลีน, ธิติ กางโหลน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่เป็นมวลรวมหยาบสำหรับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และจีโอโพลิเมอร์คอนกรีต โดยแทนที่ในปริมาณร้อยละ 10, 30 และ 50 โดยปริมาตร โดยมีแผนการทดสอบสมบัติทางวิศวกรรมของคอนกรีตครอบคลุมการทดสอบค่าการไหลแผ่, เวลาการก่อตัว, กำลังอัด, กำลังดัด, กำลังรับแรงดึงแยกของคอนกรีต และความทนทานต่อการกัดกร่อนจากกรดซัลฟิวริก ผลการทดสอบคอนกรีตที่ถูกแทนที่ด้วยพลาสติกถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบของคอนกรีตควบคุมที่ผสมมวลรวมหยาบจากวัสดุธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการรับกำลังอัดของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีตและจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตมีค่าลดลงตามปริมาณพลาสติกที่เพิ่มขึ้นทั้งของอายุบ่ม 7 และ 28 วัน การใช้มวลรวมพลาสติกไม่ส่งผลต่อกำลังดัดและกำลังดึงแยกของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์คอนกรีตอย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงกันข้ามกำลังดัดและกำลังดึงแยกของจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณมวลรวมพลาสติก ส่วนในด้านความสามารถในการทนกรดซัลฟิวริกนั้นตัวอย่างที่เป็นจีโอโพลิเมอร์คอนกรีตจะมีการทนกรดซัลฟิวริกดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อมีการผสมพลาสติกเข้าไปแทนที่ในมวลรวมหยาบ


กลยุทธ์การจัดสรรแบบเหมาะที่สุดของการผลิตพลังงานร่วมที่มีตัวกักเก็บพลังงานความร้อนและแบตเตอรี่สำหรับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลดไฟฟ้า, ปะริชาดา ไตรรัตน์ Jan 2021

กลยุทธ์การจัดสรรแบบเหมาะที่สุดของการผลิตพลังงานร่วมที่มีตัวกักเก็บพลังงานความร้อนและแบตเตอรี่สำหรับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลดไฟฟ้า, ปะริชาดา ไตรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอกลยุทธ์การจัดสรรพลังงานแบบเหมาะที่สุดของระบบจัดการพลังงานภายในอาคาร ที่มีกำลังสำรองพร้อมจ่าย ตัวกักเก็บพลังงานความร้อน และตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการรวม และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม ซึ่งกำหนดเป็นรูปแบบการดำเนินงานเชิงเศรษฐศาสตร์แบบเหมาะที่สุด และการดำเนินงานเชิงสิ่งแวดล้อมแบบเหมาะที่สุด ตามลำดับ การจัดสรรพลังงานอาศัยการทำนายความต้องการโหลดไฟฟ้าในการวางแผนเพื่อปรับกลยุทธ์ การทำนายความการโหลดไฟฟ้าใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งประกอบด้วย 2 แบบ ได้แก่ แบบจำลองสำหรับวันทำการ และแบบจำลองสำหรับวันสุดสัปดาห์ หลังจากนั้น เรานำเสนอแนวทางการออกแบบขนาดตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่เหมาะสม เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบจัดการพลังงานภายในอาคาร การทดลองเชิงตัวเลขอาศัยข้อมูลห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีขนาดความต้องการโหลดไฟฟ้าสูงสุด 24 เมกะวัตต์ พบว่า ขนาดตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ 4.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง จะให้ต้นทุนการดำเนินการรวมมีค่าต่ำสุด เมื่อทดลองกับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารที่เสนอใหม่ และเปรียบเทียบกับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารก่อนหน้า ซึ่งไม่มีกำลังสำรองพร้อมจ่าย และตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ พบว่า ระบบที่เสนอใหม่มีต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 9.68 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมลดลงร้อยละ 0.25 สำหรับกรณีที่มีความไม่แน่นอน และต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 1.26 สำหรับกรณีที่ระบุ จะสังเกตว่า ตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการลดการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ เราพิจารณาการดำเนินงานอเนกประสงค์แบบเหมาะที่สุด เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการดำเนินรวม กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม เรานำเสนอการทำให้เป็นบรรทัดฐานของฟังก์ชันวัตถุประสงค์ และกำหนดฟังก์ชันอเนกประสงค์ เป็นผลรวมเชิงเส้นของฟังก์ชันวัตถุประสงค์ทั้งสอง เมื่อทดลองเชิงตัวเลข พบว่าความสัมพันธ์มีรูปแบบเป็นสมรรถนะการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ เมื่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมมีค่าต่ำที่สุด ต้นทุนการดำเนินการรวมจะมีค่าสูงที่สุด ในขณะที่เมื่อต้นทุนการดำเนินการรวมมีค่าต่ำที่สุด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมจะมีค่าสูงที่สุด ผลลัพธ์นี้ช่วยให้เลือกจุดทำงานของระบบจัดการพลังงานภายในอาคารได้ รวมไปถึงวิเคราะห์การไหลของพลังงานสำหรับการดำเนินงานอเนกประสงค์แบบเหมาะที่สุด ผลการทดลองเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่า เมื่อกำหนดให้ตัวถ่วงน้ำหนักมีค่าเท่ากับ 0.9 ระบบที่เสนอใหม่มีต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 7.33 แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27


การประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์กับการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์, พัชรพล กังวาลโชคชัย Jan 2021

การประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์กับการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์, พัชรพล กังวาลโชคชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ที่เกิดจากอิเล็กโตรพอเรชัน ด้วยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อิมพีแดนซ์. วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทดลองวัดอิมพีแดนซ์ของเซลล์โดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคเพื่อควบคุมทิศทางของสนามไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในการวัด และเพื่อประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอิเล็กโตรพอเรชันของเซลล์. เซลล์ทั้งหมด 3 ชนิด ถูกใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ เซลล์ดอกอัญชัน, เซลล์มาโครฟาจ J774 และเซลล์มะเร็งสุนัขชนิดมาสต์เซลล์. การวัดค่าอิมพีแดนซ์ใช้ความถี่อยู่ในช่วง 10 kHz ถึง 100 kHz. การประยุกต์ใช้ระบบของไหลจุลภาค ทำให้สามารถกระตุ้นให้เกิดอิเล็กโตรพอเรชัน ได้ด้วยแรงดันต่ำในช่วงตั้งแต่ 2 Vp ถึง 4 Vp. Corrected total cell fluorescence (CTCF) ถูกพิจารณาประกอบในการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ร่วมกับการวัดอิมพีแดนซ์. เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการทำอิเล็กโตรพอเรชันแบบชั่วคราวกับเซลล์มะเร็งสุนัขชนิดมาสต์เซลล์ คือ 2.5 Vp, ความถี่ 20 kHz และจำนวนลูกคลื่น 50 cycles (ทั้งหมด 15 ครั้ง) ซึ่งให้ประสิทธิภาพ 50%. การแยกความแตกต่างเซลล์ที่เกิดอิเล็กโตรพอเรชันแบบชั่วคราวและแบบถาวร กระทำโดยใช้สีย้อมฟลูออเรสเซนต์ Yo-Pro-1 และ Propidium iodide (PI) ร่วมกัน. สภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์สามารถตรวจสอบได้ผ่านการวัดค่าความนำไฟฟ้า. ขนาดของการเปิดช่องของเยื่อหุ้มเซลล์สามารถตรวจสอบได้ในเชิงปริมาณ จากความแตกต่างระหว่างค่าความนำไฟฟ้ากรณีไม่มีเซลล์ถูกจับยึด และกรณีหลังป้อนพัลส์ไฟฟ้าสำหรับกระตุ้นการเปิดช่องของเยื่อหุ้มเซลล์ (∆GC). การคืนสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์ตามเวลาไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการวัดค่าความนำไฟฟ้าในงานวิจัยนี้ เนื่องจากความนำไฟฟ้าของสารละลายมีค่าสูงขึ้นตามเวลา ซึ่งสวนทางกับค่าการเปลี่ยนแปลงความนำไฟฟ้าที่เกิดจากการคืนสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์. นอกจากนี้ แรงดันของพัลส์ที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพโดยถาวรได้. ทว่า เมื่อลดขนาดแรงดันไฟฟ้าหรือจำนวนลูกคลื่นลง การเกิดอิเล็กโตรพอเรชันจะไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน.


แบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการจำแนกประเภทภาพแบบละเอียด, สรนันท์ พยัตศุภร Jan 2021

แบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการจำแนกประเภทภาพแบบละเอียด, สรนันท์ พยัตศุภร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจำแนกประเภทภาพแบบละเอียดเป็นปัญหาการจำแนกประเภทภาพที่อยู่ในหมวดหมู่หลักเดียวกัน เช่น ชนิดของนก, รุ่นของรถยนต์และรุ่นของเครื่องบิน โดยปัญหาหลักของการจำแนกประเภทภาพแบบละเอียดคือมีความผันผวนภายในประเภทและความเหมือนระหว่างประเภทสูง ทำให้งานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การระบุตำแหน่งของวัตถุหรือชิ้นส่วนสำคัญของภาพด้วยการออกแบบโครงสร้างแบบจำลองที่มีความซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของความแม่นยำในการจำแนกประเภทซึ่งประกอบด้วยแบบจำลองสองระดับที่ทำหน้าที่แยกกันในการระบุตำแหน่งและจำแนกประเภท โดยการระบุตำแหน่งวัตถุทำหน้าที่หาพื้นที่ในรูปภาพที่มีวัตถุอยู่ด้วยสมมติฐานพื้นที่ต่อเนื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนการรวมของผังฟีเจอร์ ซึ่งสกัดมาจากหลังจากคอนโวลูชันนิวรอลเน็ตเวิร์ค หลังจากนั้นในขั้นตอนการจำแนกประเภท ได้ปรับปรุงฟังก์ชันสูญเสียค่าสูงสุดอย่างอ่อนด้วยการเพิ่มมาจินเชิงมุมปรับค่าได้ในค่ามุมระหว่างฟีเจอร์เวกเตอร์และเวกเตอร์ศูนย์กลางประจำแต่ละประเภทในระหว่างการฝึกสอนแบบจำลอง วิธีการในงานวิจัยนี้สามารถฝึกสอนแบบจำลองได้แบบเอ็นทูเอ็นโดยไม่ต้องใช้กล่องขอบเขตในการฝึกสอนเพิ่มเติม ทั้งนี้ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เทคนิคที่งานวิจัยนี้นำมาใช้มีประสิทธฺภาพที่ดีบนชุดข้อมูลสามชุดที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในการทดลองเกี่ยวกับการจำประแนกประเภทภาพแบบละเอียด


การพยากรณ์ปริมาณและความเข้มข้นสารฟลอกคูแลต์ในกระบวนการพักใสสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลจากอ้อย, สิงหดิศร์ จันทรักษ์ Jan 2021

การพยากรณ์ปริมาณและความเข้มข้นสารฟลอกคูแลต์ในกระบวนการพักใสสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลจากอ้อย, สิงหดิศร์ จันทรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการพักใสเป็นกระบวนการที่สำคัญในกระบวนการผลิตน้ำตาล ซึ่งกระบวนการมีการทำงานเพื่อแยกระหว่างตะกอนกับน้ำอ้อยออกจากกันโดยใช้สารฟลอกคูแลนต์ โดยในการใส่ปริมาณและความเข้มข้นสารฟลอกคูแลนต์ลงไปในน้ำอ้อยทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเร็วการตกตะกอนและค่าความขุ่นของน้ำอ้อย วิทยานิพนธ์เล่มนี้เสนอวิธีการพยากรณ์ปริมาณและความเข้มข้นสารฟลอกคูแลต์ในกระบวนการพักใสสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลจากอ้อย โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบวนซ้ำชนิดพิเศษ Long Short-Term Memory โดยข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลขาเข้าสำหรับการสร้างโมเดลได้แก่ ปริมาณอ้อยสด, ปริมาณอ้อยเผา, ความขุ่นของน้ำอ้อย และปริมาณน้ำฝน และข้อมูลขาออกได้แก่ ปริมาณและความเข้มข้นของสารฟลอกคูแลนต์ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้นำมาจากโรงงานผลิตน้ำตาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโมเดลที่ได้นำเสนอ LSTM โดยการเปรียบเทียบกับโมเดลอื่นๆ ได้แก่ Autoregressive Integrated Moving Average (ARIMA), Recurrent Neural Network (RNN) และ Gated Recurrent Unit (GRU) โดยใช้ตัวแปร RMSE และ MAPE เป็นตัววัดประสิทธิภาพของโมเดล พบว่าโมเดลที่นำเสนอมีประสิทธิภาพที่สุดในการพยากรณ์ปริมาณและความเข้มข้นของสารฟลอกคูแลนต์


โมเดลควอนตัมโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับปัญหาการถดถอย, สุรพันธุ์ เหล่าคนดี Jan 2021

โมเดลควอนตัมโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับปัญหาการถดถอย, สุรพันธุ์ เหล่าคนดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่เหนือกว่าคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิคในการแก้ไขปัญหาบางประเภทด้วยการใช้กฎของกลศาสตร์ควอนตัมและด้วยการรวมเอาความรู้ทางด้านการเรียนรู้ของเครื่องและควอนตัมคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่เรียกว่าการเรียนรู้ของเครื่องแบบควอนตัม ควอนตัมโครงข่ายประสาทเทียมเป็นหนึ่งในรูปแบบของการใช้ความรู้ของการเรียนรู้ของเครื่องและคอมพิวเตอร์ควอนตัมด้วยการดัดแปลงความคิดจากการทำโครงข่ายประสาทเทียมแบบคลาสสิคและการใช้ควอนตัมเกทแบบปรับค่าได้มาเป็นค่าน้ำหนักของโครงข่ายประสาทเทียม ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้ควอนตัมโครงข่ายประสาทเทียมด้วยข้อมูลจากโลกจริงเพื่อแก้ไขปัญหาการถดถอยเพื่อทำนายจำนวนโทเคนที่ใช้ในระบบประมูลรายวิชา โดยการทดลองจะถูกทำบนเครื่องจำลองคอมพิวเตอร์ควอนตัมของไอบีเอ็ม(Qiskit) ผลลัพธ์ของการทดลองได้แสดงให้เห็นว่าควอนตัมโครงข่ายประสาทเทียมสามารถบรรลุผลที่ดีในการทำนายเมื่อเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบคลาสสิคโดยโมเดลที่ดีที่สุดมีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง(RMSE) ที่ 6.38% วิธีการนี้ทำให้เกิดการเปิดกว้างสำหรับโอกาสที่จะสำรวจผลประโยชน์ของการเรียนรู้ของเครื่องแบบควอนตัมในการทำวิจัยในอนาคต