Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 1650

Full-Text Articles in Engineering

การสื่อสารภายนอกระหว่างรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติกับคนเดินข้ามถนน ในสถานการณ์การข้ามถนนตรงทางม้าลาย, ณัฐชนน กิจประมงศรี Jan 2022

การสื่อสารภายนอกระหว่างรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติกับคนเดินข้ามถนน ในสถานการณ์การข้ามถนนตรงทางม้าลาย, ณัฐชนน กิจประมงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์ปกติ การข้ามถนนของคนเดินเท้ามักจะใช้สัญญาณมือหรือการสบตากับผู้ขับขี่เพื่อช่วยให้เข้าใจตรงกันว่าผู้ขับขี่จะหยุดให้คนเดินเท้าข้ามถนน แต่หากในอนาคตเมื่อรถอัตโนมัติมีบทบาทบนท้องถนนมากขึ้น ทำให้การสื่อสารระหว่างคนเดินเท้ากับรถอัตโนมัตินั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากไม่สามารถใช้การสื่อสารรูปแบบเดิมได้ จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า eHMI (External human machine interfaces) เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนเดินเท้าสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของรถอัตโนมัติได้ โดย eHMI มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายผ่านการแสดงผลรูปแบบต่างๆ เช่นการใช้สีในการบ่งบอกสถานะของรถอัตโนมัติ การใช้ข้อความในการสื่อสาร แต่ยังคงไม่มีมารตราฐานใดที่ยืนยันว่าควรใช้รูปแบบใดในการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันยังคงต้องการการพัฒนาเพื่อหารูปแบบที่ดีที่สุด ในงานวิจัยนี้พัฒนารูปแบบของ eHMI ที่ช่วยให้คนเดินเท้าเข้าใจเจตนาของรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติ ผ่านทาง รูปแบบข้อความ (WALK, CROSS), รูปแบบสัญลักษณ์ (คนเดินข้ามถนน, ลูกศร), รูปแบบสี (สีขาว, สีเขียว) และการผสมรูปแบบ ผ่านการดูวิดีโอทั้งหมด 20 เหตุการณ์(ที่แสดง eHMI 16 เหตุการณ์, ไม่แสดง eHMI 1 เหตุการณ์ และ เหตุการณ์ที่รถไม่หยุด 3 เหตุการณ์) ที่ใช้ CARLA (open-source simulator for autonomous driving research) ในการสร้างวิดีโอ โดยให้ผู้ทดสอบจำลองสถานการณ์ที่กำลังจะข้ามถนนตรงทางม้าลาย และมีรถโดยสารรับ-ส่งอัตโนมัติขับตรงมาพร้อมแสดง eHMI เมื่อผู้ทดสอบเข้าใจเจตนาของรถให้กดปุ่ม และนำค่ามาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลลัพธ์พบว่าสีเขียวใช้เวลาในการเข้าใจเร็วกว่าสีขาว แต่ไม่มีความแตกต่างกันที่มีความสำคัญทางสถิติ และรูปแบบข้อความ “WALK” ผู้ทดสอบเข้าใจเร็วกว่า “CROSS” ในขณะที่สัญลักษณ์คนเดินข้ามถนนใช้เวลาในการเข้าใจเร็วกว่าลูกศร และการผสมของสัญลักษณ์คนข้ามถนน กับ ข้อความ “WALK” ใช้เวลาในการเข้าใจน้อยที่สุดจากทุกเหตุการณ์


สมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว, ณัฐธีร์ ยศพลจิรกิตต์ Jan 2022

สมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว, ณัฐธีร์ ยศพลจิรกิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาสมรรถนะของอาคารโครงสร้างเหล็กที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองในการต้านทานแผ่นดินไหว ซึ่งในมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ. 1301/1302-61 ได้มีการปรับปรุงวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง (Response Spectrum Analysis, RSA) เป็นวิธี Modified Response Spectrum Analysis (MRSA) ซึ่งเป็นการปรับวิธีคำนวณแรงเฉือนที่ต้องต้านทานให้มีความปลอดภัย ซึ่งได้มาจากการศึกษาวิจัยจากอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นอาคารสูง แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธี MRSA กับอาคารโครงสร้างเหล็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเพียงพอของค่าแรงที่ต้องต้านทานสำหรับการออกแบบด้วยวิธี RSA ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่ต้องต้านแผ่นดินไหว โดยพิจารณาอาคารโครงต้านแรงดัดเหล็กที่มีความเหนียวปานกลาง ที่มีความสูง 3, 6 และ 9 ชั้น, อาคารโครงต้านแรงดัดเหล็กที่มีความเหนียวพิเศษ มีความสูง 3, 6, 9 และ 15 ชั้น และอาคารโครงแกงแนงเหล็กแบบตรงศูนย์แบบพิเศษ ที่มีความสูง 3, 6, 9, 15, 20 และ 25 ชั้น โดยสมมติที่ตั้งของอาคารตัวอย่างอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอาคารที่นำมาศึกษาจะถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง อ้างอิงตามมาตรฐาน มยผ. 1301/1302-61, มยผ. 1304-61 และ AISC 360-16 และทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีประวัติเวลาไม่เชิงเส้น (Nonlinear Response History Analysis) เพื่อประเมินสมรรถนะของโครงสร้างในการต้านทานแผ่นดินไหว โดยพิจารณาความเสียหายของอาคารจากการหมุนพลาสติก และการเสียรูปในแนวแกน, การเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้น, การโก่งเดาะของเสาเหล็ก, การโก่งเดาะเฉพาะที่ของเสา และแรงที่ต้องต้านทานสำหรับการออกแบบจุดต่อ จากผลการวิเคราะห์พบว่าอาคารโครงสร้างเหล็กที่ศึกษาที่ถูกออกแบบด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนองแบบเดิมสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้


การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี Jan 2022

การศึกษาการเบรกดาวน์ทางไฟฟ้าของเม็ดเลือดแดงสําหรับการตรวจจับมาลาเรีย, วีรดา หมัดสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะลดลงทุกปี. การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อการควบคุมโรคเป็นอย่างมาก. ดังนั้น การวินิจฉัยของมาลาเรียจำเป็นต้องมีความรวดเร็วและแม่นยำ. ปัจจุบันการตรวจหามาลาเรียมีหลายวิธี เช่น การตรวจหาด้วยกล้องจุลทรรศน์, การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ RDTs, การตรวจด้วยวิธีการพีซีอาร์. ขีดจำกัดและความสามารถในการตรวจแต่ละวิธีนั้นมีความแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการคัดแยกเซลล์เลือดเพาะปกติและเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย และการตรวจหาดีเอ็นเอของมาลาเรีย โดยใช้แรงไดอิเล็กโตรโฟเรติก. การสลายเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียด้วยหลักการอิเล็กโตรพอเร-ชัน. ตัวอย่างที่ใช้สำหรับการทดลอง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ และเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรีย. การทดลองคัดแยกเซลล์เลือดปกติออกจากเซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียถูกทำที่อัตราส่วนจำนวนเซลล์ 1:10,000. เซลล์เลือดเพาะเชื้อมาลาเรียหลังผ่านกระบวนการคัดแยกจะถูกสลายที่แรงดัน 9 Vp, 100 kHz เพื่อสกัดสารพันธุกรรม. ตัวอย่างที่ได้จากการสลายเซลล์ถูกนำไปขยายปริมาณดีเอ็น-เอด้วยวิธีการพีซีอาร์. ผลิตผลที่ได้จากการทำพีซีอาร์จะถูกนำมาตรวจหาดีเอ็นของมาลาเรียด้วยวิธีการวัดอิมพีแดนซ์เชิงไดอิเล็กโตรโฟเรติก.


การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทิวานันท์ มณีรัตน์ Jan 2022

การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด, ทิวานันท์ มณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนแผงเสียของบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมฟอยล์ ในรูปแบบแผงสตริพที่เป็นแผงยาเสียจากการซีลไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พร้อมทั้งคัดกรองปัจจัยโดยใช้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผล (Cause and Effect Matrix) และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA : Failure Mode and Effect Analysis) โดยการประเมินตัวเลขแสดงความเสี่ยง (RPN : Risk Priority Number) ซึ่งจากการคัดกรองปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ด้านพิมพ์และด้านไม่พิมพ์ เริ่มด้วยการทดลองแบบทีละปัจจัย (OFAT : One Factor at a Time) เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าความแตกต่างของความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านไม่มีผลต่อสัดส่วนแผงยาเสีย พบว่าการปรับระดับความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านให้เท่ากัน ทำให้เกิดแผงยาเสียน้อยกว่าการปรับความตึงต่างระดับกัน จึงคัดกรองเหลือเพียง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน และได้ทำการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูป (General Full Factorial Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม จากการทดลองพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller เท่ากับ 130 0C, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller เท่ากับ 14 rpm, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน คือ ระดับ 7 โดยเมื่อนำระดับปัจจัยที่ได้มาปรับใช้ในกระบวนการบรรจุยาเม็ดในรูปแบบแผง Strip พบว่าสัดส่วนแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์เฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 4.82% เหลือเพียง 1.38%


Whitening Of Calcium Carbonate Tailings Using Attrition Process: A Case Study Of Khar Toum Deposit, Lopburi Province, Thailand, Bancha Wongkaewphothong Jan 2022

Whitening Of Calcium Carbonate Tailings Using Attrition Process: A Case Study Of Khar Toum Deposit, Lopburi Province, Thailand, Bancha Wongkaewphothong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Calcium carbonate (CaCO3) is one of the industrial minerals that usually use in various applications in many industries (e.g., plastic, rubber, paint, paper). However, salable CaCO3 products need to meet the requirement for each application. Whiteness is one of property that really important especially the application that concern about the color like paint and paper industries. In this study, to recover and utilize out of spec ores, the effects of attrition scrubbing process (i.e., retention time and solid in pulp) on the whiteness of the CaCO3 tailings were investigated. The CaCO3 samples were screened to obtain –300, +300–600, +600–1000, +1000–2360, …


Deep Consecutive Attention Network For Video Super-Resolution, Talha Saleem Jan 2022

Deep Consecutive Attention Network For Video Super-Resolution, Talha Saleem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In the video application, slow motion is visually attractive and gets more attention in video super resolution. To generate the high-resolution (HR) slow motion video frames from the low-resolution (LR) frames, two sub-tasks are required, including video super-resolution (VSR) and video frame interpolation (VFI). However, the interpolation approach is not successful to extract low level feature attention to get the maximum advantage from the property of space-time relation. To this extent, we propose a deep consecutive attention network-based method. The multi-head attention and an attentive temporal feature module are designed to achieve better prediction of interpolation feature frame. Bi-directional deformable …


Functional Split In 5g Cloud Radio Access Network Using Particle Swarm Optimization, Wai Phyo Jan 2022

Functional Split In 5g Cloud Radio Access Network Using Particle Swarm Optimization, Wai Phyo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Cloud Radio Access Network (C-RAN) is an innovative approach that has the potential to significantly reduce the expenses of setting up and operating wireless networks. C-RAN's placement of RAN functions, which strives to reduce bandwidth utilization and computation costs, is a critical component. In this study, our main goal is to reduce the costs associated with functionally placing the RAN while accounting for the computational expense and the front-haul bandwidth usage among various users. To achieve this, we propose to apply Particle Swarm Optimization (PSO) to achieve effective allocation of computational resources and the front-haul bandwidth, ensuring an efficient …


Physical Property Measurement Of Surfactant Coupled With Nanoparticles For Enhanced Oil Recovery, Phoo Pwint Nandar Jan 2022

Physical Property Measurement Of Surfactant Coupled With Nanoparticles For Enhanced Oil Recovery, Phoo Pwint Nandar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The residual oil remained in the reservoir after the primary recovery and water flooding can either be produced by increasing the mobility of the oil or by altering the reservoir rock wetting behavior and diminishing the oil water interfacial tension. The surfactant flooding is one of the chemical enhanced oil recovery methods. At the optimal concentration, the surfactant flooding can provide the low interfacial tension favoring to the enhanced oil recovery. In contrast, the loss of the surfactant at the solid-liquid interface due to an adsorption lessens the amount of the surfactant required for oil displacement during the flooding. Therefore, …


Optimizing Energy Efficiency Projects In Bangkok Large Commercial Buildings, Angelica Arisa Morgan Jan 2022

Optimizing Energy Efficiency Projects In Bangkok Large Commercial Buildings, Angelica Arisa Morgan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As a significant contributor to greenhouse gas emissions in the Asia Pacific region, Thailand has pledged to lower its GHG emissions by 555 million tCO2e by the year 2030. In Bangkok, energy efficiency projects in the large commercial buildings sector are an integral method by which to reduce emissions and to support a lower carbon future. Besides carbon dioxide emissions, energy efficiency projects also have the potential for other benefits including electricity and cost savings. This study develops a methodology to quantify the emissions reduction, electricity savings, and cost savings potential of various energy efficiency methods in this sector, and …


Analyzing Impact Of Economic Indicators On Vietnam Stock Market With Machine Learning Techniques, Nuttawan Sangsawai Jan 2022

Analyzing Impact Of Economic Indicators On Vietnam Stock Market With Machine Learning Techniques, Nuttawan Sangsawai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study provides an analysis of the Vietnamese stock market using statistical and machine learning models. The dataset shows that all features have a positive linear relationship with the VN Index, but exhibit different scales and degrees of skewness. The Augmented Dickey-Fuller (ADF) unit root test was conducted to identify whether the variables were stationary or non-stationary, and most variables were transformed into stationary data through first differencing. The OLS method was used to construct a short run model, and the results indicated that only three variables, namely CPI, exchange rate, and S&P500 index, exhibited statistical significance. The ARDL Bound …


Impacts Of The Thai Canal On Liner Shipping Container Network, Krittitee Yanpisitkul Jan 2022

Impacts Of The Thai Canal On Liner Shipping Container Network, Krittitee Yanpisitkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis proposes a mathematical model that imitates the flow of containers in the container liner shipping network — particularly, in the Indo-Pacific region, where the Strait of Malacca is located — in order to assess the potential impact of the proposed Thai Canal on such a network. This model is constructed based on a combination of two network problems, namely (i) the Multi-commodity Minimum Cost Network Flow Problem (MCNFP) and (ii) the Liner Shipping Fleet Deployment Problem (LSFDP), which allows a more realistic representation of international trade, while taking to account congestion at container ports at the same time. …


Improving Quality Of Cvd Graphene Grown On The Copper Foil By Physical Polishing Electropolishing And Thermal Annealing Pretreatment Processes, Methawut Sirisom Jan 2022

Improving Quality Of Cvd Graphene Grown On The Copper Foil By Physical Polishing Electropolishing And Thermal Annealing Pretreatment Processes, Methawut Sirisom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study optimized the pretreatment processes (physical polishing (PP), electropolishing (EP), and thermal annealing) for high-quality graphene growth on thin copper (Cu) foils. PP using Brasso solvent was applied to smoothen the substrate surface, followed by EP with H3PO4 to reduce rolling lines and surface contamination. The EP process involved different H3PO4 concentrations (30-60%) and etching times (60-120 seconds). After thermal annealing at 860-940 ºC, graphene growth was performed using direct-liquid-injection chemical-vapor deposition with cyclohexane (C6H12) as the carbon precursor and nitrogen as the carrier gas. The optimized conditions involved PP and EP with 45% H3PO4 concentration and 90 seconds …


Development Of Bioplastic Composite Films With Improved Antimicrobial Properties: A Comparative Study Between Blown Film Extrusion, Doctor Blading And Spray Coating, Atiwit Singhapan Jan 2022

Development Of Bioplastic Composite Films With Improved Antimicrobial Properties: A Comparative Study Between Blown Film Extrusion, Doctor Blading And Spray Coating, Atiwit Singhapan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Poly(3-hydroxybutyrate-co-4-hydroxybutyrate) (P3HB4HB) is a bioplastic that has gained attention as a potential alternative to petroleum-based plastics in film packaging due to its good barrier properties and thermal stability. However, poly(3-hydroxybutyrate-co-4-hydroxybutyrate) has no outstanding properties. Therefore, the researcher added lignin powder to improve its antimicrobial properties, another essential property of the packaging film. This work successfully prepared a composite bioplastic film between poly(3-hydroxybutyrate-co-4-hydroxybutyrate) and lignin powder by forming through a blown film extrusion, doctor blading, and spray coating. In order to give the film a high surface energy and enable it to adhere to the lignin solution on the surface, the …


Ethylene Polymerization With Zirconocene Catalyston Zeolite A Support Derived From Fly Ash, Natthapat Warintha Jan 2022

Ethylene Polymerization With Zirconocene Catalyston Zeolite A Support Derived From Fly Ash, Natthapat Warintha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Zeolite A (LTA) synthesis from fly ash has many applications, in which metallocene catalytic support is uncommon. This research study has three parts. Firstly, investigation of the effects of immobilized MAO cocatalyst and zirconocene catalyst techniques on silica support. Immobilized MAO, followed by metallocene catalyst method had the highest catalytic activity, which was used in the next parts. The second part examined the optimal temperature and [Al]MAO/[Zr]cat ratio with ethylene polymerization in a semi-batch autoclave reactor utilizing LTA-supported metallocene catalysts. The optimal conditions were found at 80°C and [Al]MAO/[Zr]cat ratios equal to 2000 that were used in the next section. …


Dual-Ligand Zinc Metal Organic Frameworks-Derived Solid-Electrolyte Interphase For Stable Zinc Anode In Aqueous Electrolytes, Penwuanna Arin Jan 2022

Dual-Ligand Zinc Metal Organic Frameworks-Derived Solid-Electrolyte Interphase For Stable Zinc Anode In Aqueous Electrolytes, Penwuanna Arin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Rechargeable aqueous zinc-ion batteries (ZIBs) have attracted attention for energy storage systems because of their high specific capacity, low cost, and safety. However, in mildly acidic aqueous electrolytes, several issues of zinc anodes such as dendrite formation, and corrosion, limit the practical deployment and performance of ZIBs. Metal-organic frameworks (MOFs) is ultrahigh porosity and high internal surface areas. MOFs layer as the solid-electrolyte interphase layer to prevent the zinc anode from attaching directly to the separator. MOFs is used in batteries as the SEI layer because the pores of MOFs efficiently facilitate the diffusion and transport of zinc-ions. In this …


Mediastinal Lymph Node Detection And Segmentation Using Deep Learning, Al-Akhir Nayan Jan 2022

Mediastinal Lymph Node Detection And Segmentation Using Deep Learning, Al-Akhir Nayan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Automatic lymph node (LN) segmentation and detection for cancer staging are critical. In clinical practice, computed tomography (CT) and positron emission tomography (PET) imaging detect abnormal LNs. Despite its low contrast and variety in nodal size and form, LN segmentation remains a challenging task. Deep convolutional neural networks frequently segment items in medical photographs. Most state-of-the-art techniques destroy image's resolution through pooling and convolution. As a result, the models provide unsatisfactory results. Keeping the issues in mind, a well-established deep learning technique UNet++ was modified using bilinear interpolation and total generalized variation (TGV) based upsampling strategy to segment and detect …


Recasnet: Reducing Mismatch Within The Two-Stage Mitosis Detection Framework, Chawan Piansaddhayanon Jan 2022

Recasnet: Reducing Mismatch Within The Two-Stage Mitosis Detection Framework, Chawan Piansaddhayanon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mitotic count (MC) is an important histological parameter for cancer diagnosis and grading, but the manual process to obtain this metric is tedious and not fully reproducible across different pathologists. To mitigate this problem, several deep learning models have been utilized to speed up the process. Typically, the problem is formulated as a two-stage deep learning pipeline: the detection stage for proposing the potential candidates for mitotic cells and the classification stage for refining prediction confidences from the former stage. However, this paradigm can lead to inconsistencies in the classification stage due to the poor prediction quality of the detection …


การประเมินโมดูลัสของชั้นทางจาก Light Weight Deflectometer ที่มีเซนเซอร์เพิ่มเติมในแนวรัศมี, ฐิติพัฒน์ รุ่งพัฒนาชัยกุล Jan 2022

การประเมินโมดูลัสของชั้นทางจาก Light Weight Deflectometer ที่มีเซนเซอร์เพิ่มเติมในแนวรัศมี, ฐิติพัฒน์ รุ่งพัฒนาชัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ค่าโมดูลัสยืดหยุ่น (Elastic Modulus) เป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการออกแบบและควบคุมคุณภาพการบดอัดของโครงสร้างชั้นทาง ในอดีตที่ผ่านมาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นจะได้จากการทดสอบกับแท่งตัวอย่างที่เจาะเก็บจากโครงสร้างชั้นทางในสนาม ความเสียหายจากการเจาะเก็บตัวอย่างนี้อาจหลีกเลี่ยงได้โดยการใช้วิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย เช่น การทดสอบด้วยเครื่องมือ Light Weight Deflectometer (LWD) ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน อุปกรณ์ LWD ในการศึกษานี้จะมีเซนเซอร์วัดความเร็วคลื่น (Geophone) เพิ่มเติมจำนวน 2 ตัว ติดตั้งในแนวรัศมีจากจุดทดสอบ ซึ่งทำให้สามารถประเมินค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุโครงสร้างชั้นทางที่ไม่เป็นเนื้อเดียวได้ดีขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบบนโครงสร้างชั้นทางด้วยเครื่องมือ LWD และสอบเทียบผลกับการตรวจวัดด้วยคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดิน (Microtremor) และเครื่องมือตอกหยั่งแบบเบา (DPL) จากผลการศึกษาพบว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นในแต่ละชั้นโครงสร้างทางที่ได้จากการทดสอบด้วยเครื่องมือ LWD มีความสอดคล้องกับผลที่ได้จากเครื่องมือ Microtremor แต่มีการแกว่งตัวมากขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องมือ DPL ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่ดีในการนำเครื่องมือ LWD ที่มีเซนเซอร์วัดความเร็วคลื่นไปใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างชั้นทางในประเทศไทย


การพัฒนาคอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูงด้วยหินบะซอลต์และตะกรันเหล็กสำหรับโครงสร้างแข็งเกร็งพิเศษ, ณรงค์ชัย ปักษา Jan 2022

การพัฒนาคอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูงด้วยหินบะซอลต์และตะกรันเหล็กสำหรับโครงสร้างแข็งเกร็งพิเศษ, ณรงค์ชัย ปักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณสมบัติโมดูลัสยืดหยุ่น (Elastic modulus) ของคอนกรีต เพื่อประยุกต์ใช้ในโครงสร้างที่ต้องการความแข็งเกร็ง (Rigidity) เป็นพิเศษ เพื่อลดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างภายใต้แรงกระทำ โดยปรับเปลี่ยนวัสดุมวลรวมหยาบเป็นหินบะซอลต์และตะกรันเหล็กจากเตาอาร์คไฟฟ้า (EAF slag) ซึ่งมีคุณสมบัติเชิงกลดีกว่าหินปูน และออกแบบส่วนผสมโดยการปรับขนาดคละของมวลรวมหยาบ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และอัตราส่วนมวลรวมละเอียดต่อมวลรวม แล้วทำการทดสอบหาค่ากําลังรับแรงอัดและค่าโมดูลัสยืดหยุ่น จากนั้นจึงประยุกต์ใช้คอนกรีตที่ถูกปรับปรุงคุณสมบัติกับโครงสร้างเสาตอม่อโครงการรถไฟความเร็วสูงและผนังรับแรงเฉือนในอาคารสูงโดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโครงสร้างกับคอนกรีตปกติด้วยโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง ETABS ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า (1) ตะกรันเหล็กจากเตาอาร์คไฟฟ้าเป็นวัสดุมวลรวมหยาบที่ให้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นสูงที่สุด การคละขนาดของมวลรวมหยาบให้อัดแน่น การลดอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และการเพิ่มอัตราส่วนมวลรวมละเอียดต่อมวลรวมสามารถช่วยเพิ่มค่าโมดูลัสยืดหยุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถเพิ่มค่าโมดูลัสยืดหยุ่นได้ถึง 55.3 GPa คิดเป็น 47% เมื่อเทียบกับค่าจากสมการของมาตรฐาน ACI (2) เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับโครงสร้างเสาตอม่อโครงการรถไฟความเร็วสูงพบว่าสามารถลดระยะการเคลื่อนตัวของโครงสร้างได้ 23% และลดขนาดหน้าตัดโครงสร้างได้ 28% เมื่อประยุกต์ใช้กับโครงสร้างผนังรับแรงเฉือนในอาคารสูงสามารถลดระยะการเคลื่อนตัวได้ 32% และลดความหนาได้ 49% ดังนั้นการประยุกต์ใช้คอนกรีตโมดูลัสยืดหยุ่นสูงจึงเป็นอีกทางเลือกในการลดระยะการเคลื่อนตัวของโครงสร้างที่อาจมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากว่าการเพิ่มขนาดหน้าตัดโครงสร้างหรือใช้คอนกรีตกำลังสูง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาในการเลือกใช้บริการ Mobility As A Service (Maas) ในกรุงเทพมหานคร, รัชกร ภัคพิสุทธิ์กุล Jan 2022

ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตนาในการเลือกใช้บริการ Mobility As A Service (Maas) ในกรุงเทพมหานคร, รัชกร ภัคพิสุทธิ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน มีการนำแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกขึ้น จึงทำให้เกิดแนวคิดบูรณาการบริการเดินทางซึ่งเรียกแนวความคิดนี้ว่า บริการเดินทางรวมครบวงจร (Mobility as a Service หรือ MaaS) ที่มีการบูรณาการการวางแผน การจอง และการชำระค่าบริการการเดินทางทั้งหมดในแพลตฟอร์มเดียว แนวคิดนี้ยังไม่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย การวิจัยนี้จึงศึกษาทัศนคติในการเดินทางและเจตนาหรือความตั้งใจของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานครว่าปัจจัยใดส่งผลต่อเจตนาที่จะใช้ MaaS และ แต่ละปัจจัยมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใด งานวิจัยนี้ได้ใช้แบบจำลองทั้งหมด 4 แบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลองจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior; TPB) แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model; TAM) ทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (Unified Theory of Acceptance of Technology; UTAUT) และ ทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี 2 ฉบับปรับปรุง (Modified UTAUT2) เครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในงานนี้คือแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการใช้แอปพลิเคชันที่มีอยู่ในปัจจุบันของผู้เดินทาง รวมไปถึงความตั้งใจใช้ MaaS การวิเคราะห์ทำโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling; SEM) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและเจตนาเชิงพฤติกรรมภายในแบบจำลอง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 402 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีความถี่ในการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า ยกเว้นแอปพลิเคชันการเงิน และจากการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ MaaS คือ ทัศนคติต่อพฤติกรรม, ความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ, อิทธิพลทางสังคม, มูลค่าราคา, และความยืดหยุ่นในการเดินทาง ในขณะที่ความคาดหวังด้านความพยายามและคุณภาพของสารสนเทศ มีผลต่อเจตนาในทางอ้อม โดยผ่านความคาดหวังด้านประสิทธิภาพ


การประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงทางหลวงอันเนื่องมาจากการจราจรรถบรรทุกหนัก, ภาณุพงศ์ เย็นฉ่ำ Jan 2022

การประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงทางหลวงอันเนื่องมาจากการจราจรรถบรรทุกหนัก, ภาณุพงศ์ เย็นฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองการคาดการณ์ความเสียหายของผิวทางลาดยางที่เหมาะสมกับทางหลวงในประเทศไทย โดยมีผลลัพธ์ความเสียหายที่เพียงพอต่อการคิดค่าบำรุงรักษาทางในระยะยาว และวิเคราะห์หาค่าความเสียหายที่ครอบคลุมค่าซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างทางเพื่อเป็นแนวทางในการคิดอัตราค่าธรรมเนียมรถบรรทุกในอนาคต ผู้ศึกษาได้ทำการสร้างแบบจำลองโครงสร้างถนนลาดยางด้วยโปรแกรม Highway Development and management (HDM-4) โดยใช้ข้อมูลของทางหลวงเส้น 344 ระยอง-บ้านบึง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานีชั่งน้ำหนักรถบรรทุกในการสร้างแบบจำลอง โดยที่แบบจำลองที่สร้างมีความยาว 1 กิโลเมตร และมีจำนวนช่องจราจร 4 ช่องจราจร ทำการทดสอบโดยการใช้แบบจำลองรถบรรทุกหนักทั้งหมด 4 ประเภท ทำการจำลองความเสียหายที่เกิดจากรถบรรทุกหนักเป็นระยะเวลา 20 ปี คือ การแตกร้าว, การหลุดร่อน, หลุมบ่อ และร่องล้อ จากผลการศึกษาแบบจำลองพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงโครงสร้างทาง ปริมาณรถบรรทุก และหน้าตัดถนน มีแนวโน้มที่จะบ่งบอกถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยค่าซ่อมบำรุงจะถูกคิดในรูปแบบต่อเพลามาตรฐาน


การวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในช่วงรอยต่อโครงสร้างทางรถไฟโดยใช้แผ่นวัสดุยืนหยุ่น, สุรพันธุ์ นพรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในช่วงรอยต่อโครงสร้างทางรถไฟโดยใช้แผ่นวัสดุยืนหยุ่น, สุรพันธุ์ นพรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานระบบราง มีแนวโน้มในการพัฒนาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากข้อดีของการใช้งานที่มีความสะดวก การรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง สามารถกำหนดเวลาได้แม่นยำ ประเทศที่มีสถิติความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางอันดับต้นได้แก่ ประเทศจีน ที่ได้มีการวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมด้านระบบรางมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) หนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบคือ ปัญหาช่วงรอยต่อ (Track Transition) สาเหตุมาจากการเปลี่ยนรูปแบบทำให้ค่า Track Stiffness เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิดความเร่ง และแรงเชิงพลศาสตร์มากกว่าปกติ โครงสร้างจะเกิดความเสียหาย และในระยะยาวส่งผลให้เกิดการทรุดตัวบริเวณรอยต่อที่ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องดูแลรักษาซ่อมบำรุงมากกว่าปกติ ปัจจุบันโครงสร้างทางรถไฟในประเทศไทยจะมีการพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงด้วยโครงสร้างทางแบบ Slab Track ด้วยเทคโนโลยี Chinese Railway Track System (CRTS Type III) จากประเทศจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน พบว่ามีส่วนของเส้นทางที่เป็น Transition ระหว่าง Ballasted Track และ Slab Track ซึ่งในงานวิจัยนี้จะนำเอาโครงสร้างลดการสั่นสะเทือนประเภท Under Sleeper Pads (USPs) และ Under Slab Mat (USMs) มาใช้งานร่วมกัน เพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น และปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงค่า Track Stiffness ให้เหมาะสม จากการศึกษางานวิจัยในอดีต พบว่ามีการปัญหา Track Transition ด้วยวิธีการหลากหลาย แต่ยังไม่ได้มีการศึกษาในแง่ของการใช้งานร่วมกันในโครงสร้างช่วยลดการสั่นสะเทือนแบบผสมผสานที่มากเพียงพอ เป็นเหตุสมควรให้ต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดการสั่นสะเทือน แรงกระแทก (Impact Load) และการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติม ในหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้อง ต่อไป


เทคนิคการเพิ่มความแม่นยำสำหรับการจำแนกสายพันธุ์ของยุงด้วยวิธีการเรียนรู้แบบถ่ายโอน การเพิ่มปริมาณข้อมูลภาพ และสัญญาณตกหายเชิงพื้นที่, กตัญญู ธาราวัชรศาสตร์ Jan 2022

เทคนิคการเพิ่มความแม่นยำสำหรับการจำแนกสายพันธุ์ของยุงด้วยวิธีการเรียนรู้แบบถ่ายโอน การเพิ่มปริมาณข้อมูลภาพ และสัญญาณตกหายเชิงพื้นที่, กตัญญู ธาราวัชรศาสตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการจำแนกยุงโดยใช้การเรียนรู้แบบถ่ายโอน การเพิ่มข้อมูล และเทคนิคสัญญาณตกหายเชิงพื้นที่ ยุง 7 ชนิดรวบรวมจากหลายจังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ Aedes aegypti, Aedes albopictus, Aedes vexans, Anopheles tessellatus, Culex quinquefasciatus, Culex vishnui และยุงชนิดอื่นๆ รวมถึง Aedes aegypti, Aedes albopictus และ Culex quinquefasciatus ที่เลี้ยงในภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ภาพยุงถูกถ่าย 3 ถึง 5 ครั้งต่อตัวอย่าง และครอบตัดรอบๆ ยุง จากนั้นปรับขนาดเป็น 512 x 512 พิกเซล หลังจากนั้นจึงนำภาพไปใช้โดยใช้เทคนิคการเพิ่มข้อมูล ได้แก่ การซูม การหมุน การครอบตัดแบบสุ่ม ความสว่างแบบสุ่ม สีสุ่ม และการฉีดสัญญาณรบกวนแบบเกาส์เซียน แบบจำลอง VGG-16 ประยุกต์เทคนิคการเรียนรู้การถ่ายโอนโดยใช้น้ำหนัก ImageNet เป็นน้ำหนักเริ่มต้น และดัดแปลงเป็นแบบจำลอง VGG-16 แบบสองอินพุต นอกจากนี้ แบบจำลองยังใช้เลเยอร์ดรอปเอาต์เชิงพื้นที่หลังจากบล็อกคอนโวลูชั่น โมเดล VGG-16 สองอินพุตสามแบบได้รับการพัฒนา ได้แก่ VGG-16 แบบรวมในช่วงต้น, VGG-16 แบบรวมตรงกลาง และ VGG-16 แบบรวมในภายหลัง และแบบจำลองทั้งชุดได้รับการพัฒนาโดยใช้ผลลัพธ์ของแบบจำลอง 3 แบบเป็นอินพุตสำหรับการจำแนกยุง โมเดลเหล่านี้มีความแม่นยำในการจำแนกโดยเฉลี่ยที่ 95.76%, 97.08%, 96.76% และ 99.44% จากการฝึกและทดสอบ 10 ครั้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังนำแบบจำลองเหล่านี้ ไปใช้ในการบริการจำแนกยุงผ่านแอปพลิเคชัน LINE และอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญขอภาพยุงและส่งข้อมูลผลการจำแนกยุงไปยังระบบผ่านแอปพลิเคชัน LINE ไปยังฐานข้อมูลได้


การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธีทางกลศาสตร์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานของไหลจุลภาค, กิติภพ วิจิตรนุกูลประดิษฐ์ Jan 2022

การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธีทางกลศาสตร์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานของไหลจุลภาค, กิติภพ วิจิตรนุกูลประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมาลาเรียรวมทั้งสิ้น 241 ล้านราย. โรคมาลาเรียเป็นโรคเขตร้อนที่เกิดจากปรสิตในตระกูล Plasmodium และมีผู้เสียชีวิตเกือบ 627,000 รายในช่วงปี 2020. วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาลักษณะไดอิเล็กโทรโฟเรซิสของเซลล์เม็ดเลือดแดงในอุปกรณ์ของไหลจุลภาค ซึ่งประกอบด้วยช่องทางไหลจุลภาคและอิเล็กโตรด. จุดประสงค์คือการใช้คุณลักษณะไดอิเล็กโทรโฟเรซิสเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ และเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย. ตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย(1) เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติจากอาหารเลี้ยงเซลล์ จากเลือดของอาสาสมัคร และ(2) เซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อมาลาเรีย. ช่องทางไหลจุลภาคมีเสาขนาดเล็กรูปร่างที่แตกต่างกันเพื่อสร้างเกรเดียนต์ที่เหมาะสมของสนามไฟฟ้าภายใน. ช่องทางไหลที่มีเสารูปทรงข้าวหลามตัดถูกใช้ในการสังเกตความถี่ตัดข้ามไดอิเล็กโทรโฟเรติก. ช่องทางไหลที่มีเสารูปทรงโค้งถูกใช้ในการหาความเร็วของเซลล์ที่เกิดจากแรงไดอิเล็กโทรโฟเรติกแบบลบที่ความถี่ต่ำ. การศึกษาพบว่า ความถี่ตัดข้ามที่ความถี่ต่ำของเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อมีค่าสูงกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ. ความถี่ตัดข้ามที่ความถี่สูงของเซลล์ทุกชนิดมีค่าใกล้เคียงกัน. เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียมีความเร็วเนื่องจากแรงไดอิเล็กโทรโฟเรติกที่ความถี่ต่ำน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ. ผลลัพธ์นี้บ่งชี้ว่า การติดเชื้อมาลาเรียทำให้ความจุไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์ลดลงอย่างมาก แต่ทำให้ความนำไฟฟ้าของเยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้น. การเปลี่ยนแปลงของสภาพนำไฟฟ้าของไซโตพลาสซึม ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้จากการศึกษานี้ อาจเกิดขึ้นในระยะหลังของการติดเชื้อ.


การตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, เสฎฐวุฒิ ยิ้วเหี้ยง Jan 2022

การตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง, เสฎฐวุฒิ ยิ้วเหี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์มีความผันผวนค่อนข้างสูงและเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพร่อง ทำให้มีความท้าทายในการรวมเข้ากับระบบไฟฟ้าที่ใช้พลังงานแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าหลัก การเกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ระบบไฟฟ้า วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอแนวทางการตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฝั่งกระแสตรงด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) โดยเปรียบเทียบความแม่นยำระหว่างอัลกอริทึม AdaBoost กับ Gradient Boosting ในการตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่อง 5 ประเภท ได้แก่ การลัดวงจรระหว่างสายภายในสตริง การเปิดวงจร การบังเงาบางส่วน การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ และการลัดวงจรระหว่างสายข้ามสตริง โดยการฝึกและทดสอบอัลกอริทึมมี 4 พารามิเตอร์ที่เป็นอินพุต ได้แก่ กระแสไฟฟ้าแต่ละสตริง แรงดันไฟฟ้าของระบบ กำลังไฟฟ้าของระบบ และความเข้มแสงอาทิตย์ ซึ่งได้มาจากการจำลองความผิดพร่องบนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 180 W ที่ติดตั้งแบบ 2 สตริง สตริงละ 3 แผง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลแบบไร้สาย โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย LoRa เพื่อประหยัดและลดความยุ่งยากในการใช้สายไฟต่อจากอาเรย์เซลล์แสงอาทิตย์มายังศูนย์ควบคุม อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาความผิดเพี้ยนของข้อมูลเนื่องจากสายไฟแกว่งจากกระแสลม ผลการทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องแสดงให้เห็นว่าโมเดลที่สร้างจาก Gradient Boosting มีความแม่นยำในการจำแนกประเภทความผิดพร่องภายใต้ชุดข้อมูลความผิดพร่องที่ได้จากการจำลองดังกล่าวมากกว่า AdaBoost อีกทั้งโมเดลที่สร้างจาก Gradient Boosting สามารถตรวจจับและระบุประเภทความผิดพร่องได้อย่างแม่นยำและทำงานได้แบบเรียลไทม์


การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน, รักดี บรรดาตั้ง Jan 2022

การหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน, รักดี บรรดาตั้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการหาลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยอิเล็กโทรโรเทชัน. ลักษณะทางไฟฟ้าของเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นอยู่กับค่าพารามิเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่ ค่าความเก็บประจุไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์ และค่าสภาพนำไฟฟ้าภายในเซลล์. การประมวลผลภาพถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอัตราเร็วการหมุนของเซลล์เม็ดเลือดแดงเนื่องจากมีความรวดเร็วและความแม่นยำ. โปรแกรมสำหรับการประมวลผลภาพกระทำบนซอฟต์แวร์ MATLAB. งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองอิเล็กโทรโรเทชันกับเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติจำนวน 50 เซลล์ และเซลล์เม็ดเลือดแดงเพาะติดเชื้อมาลาเรียจำนวน 100 เซลล์. อิเล็กโทรดที่ใช้เป็นอิเล็กโทรดแบบ 4 ขั้ว. สัญญาณแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทดลองมีขนาด 1.5 – 3 Vp ความถี่ 10 kHz – 5 MHz. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ขนาดของแรงดันไฟฟ้ามีผลต่ออัตราการหมุนของเซลล์ โดยที่อัตราเร็วการหมุนของเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติมากกว่าเซลล์ติดเชื้อมาลาเรีย. ความถี่การหมุนสูงสุดและความถี่ตัดข้ามที่ได้จากอัตราเร็วการหมุน ถูกนำไปใช้วิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า. ผลการวิเคราะห์แสดงว่า เซลล์ปกติมีค่าความเก็บประจุไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์สูงกว่าเซลล์ติดเชื้อ แต่ค่าสภาพนำไฟฟ้าภายในเซลล์ของเซลล์ปกติต่ำกว่าเซลล์ติดเชื้อ. นอกจากนี้ อิเล็กโทรดขั้วสลับ 2 ชุด ถูกนำมาใช้ทดลองเพื่อเพิ่มปริมาณงานในการทดลอง. ผลการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณงานการทดลองได้ด้วยอิเล็กโทรดขั้วสลับ. อย่างไรก็ตาม การประกอบชิ้นงานทำได้ยากและใช้เวลานานกว่าอิเล็กโทรดแบบ 4 ขั้ว.


เทคนิคการเพิ่มกระแสผิดพร่องสำหรับอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อกริด, ปรีณาพรรณ ปัญญา Jan 2022

เทคนิคการเพิ่มกระแสผิดพร่องสำหรับอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อกริด, ปรีณาพรรณ ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแบบไมโคร กริด ทำให้เกิดผลกระทบกับระบบไฟฟ้าดั้งเดิมหลายประการ ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงในวิทยานิพนธ์นี้คือ การเปลี่ยนแปลงของระดับกระแสผิดพร่องในระบบไฟฟ้า เมื่อโครงสร้างของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์ไม่สามารถจ่ายกระแสผิดพร่องในปริมาณเช่นเดียวกับเครื่องจักรกลซิงโครนัส ทำให้กระแสผิดพร่องมีขนาดน้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อระบบที่เป็นไมโคร กริดเกิดการแยกโดดออกจากระบบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการจ่ายกระแสผิดพร่องของอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อกริด โดยการควบคุมให้อินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสผิดพร่องที่มีขนาดมากกว่า 2 เท่าของกระแสพิกัดในขณะที่ยังเชื่อมต่อกับระบบเมื่อเกิดสภาวะแรงดันตก ภายใต้พิกัดกระแสและพิกัดแรงดันของอินเวอร์เตอร์ แนวคิดที่ใช้ในการเพิ่มขนาดกระแสคือ การใช้ความถี่เรโซแนนซ์ของตัวกรองแบบ LCL ที่เป็นวงจรกรองทั่วไปที่ใช้ในอินเวอร์เตอร์ โดยที่อินเวอร์เตอร์สามารถทำงานได้ทั้งสองโหมดและสามารถเปลี่ยนโหมดระหว่างการทำงานแบบปกติ ไปยังโหมดการทำงานเมื่อเกิดความผิดพร่องในระบบ และสามารถกลับมาทำงานได้ในโหมดการทำงานปกติเมื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ โดยทดสอบด้วยผลการจำลองผ่านโปรแกรม Matlab Simulink และอินเวอร์เตอร์ในห้องปฏิบัติการ จากผลการทดสอบทั้งในการจำลองและการทดสอบจริงเมื่อเกิดแรงดันตกหรือความผิดพร่องที่แรงดันที่จุดเชื่อมต่อ อินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสรีแอคทีฟความถี่ปกติได้ตามข้อกำหนดของระบบไฟฟ้าได้และสามารถเชื่อมต่อระบบกลับมาในโหมดปกติเมื่อแรงดันกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ อัลกอริทึมที่นำเสนอสามารถจ่ายกระแสความถี่สูงขณะเกิดแรงดันตกที่มีขนาดมากถึง 2.4 เท่าของกระแสพิกัดได้ โดยที่ขนาดกระแสและแรงดันด้านออกของอินเวอร์เตอร์มีขนาดไม่เกินพิกัด ทำให้อินเวอร์เตอร์เชื่อมต่อกับระบบได้โดยไม่ปลดตัวเองออกจากวงจร และกลับคืนสู่การควบคุมในโหมดปกติได้เมื่อแรงดันที่จุดเชื่อมต่อกลับเข้าสู่ค่าปกติ


การศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำในฉนวนเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า, วิกานดา นันทนาวุฒิ Jan 2022

การศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำในฉนวนเหลวภายใต้สนามไฟฟ้า, วิกานดา นันทนาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำที่อยู่ในฉนวนเหลว ได้แก่ การเสียรูปร่าง การเคลื่อนที่ การรวมตัว และการแยกตัว ด้วยการทดลองและการจำลองเชิงตัวเลขเพื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อจลนศาสตร์ไฟฟ้าของหยดน้ำ. รูปแบบแรกที่ศึกษา คือ หยดน้ำอยู่บนอิเล็กโทรดโดยมีตัวกลางเป็นน้ำมันแร่และน้ำมันทานตะวัน. ผลการทดลองพบว่าการเสียรูปของหยดน้ำเพิ่มขึ้นตามสนามไฟฟ้า. การเสียรูปของหยดน้ำในน้ำมันทานตะวันมีค่าสูงกว่าเนื่องจากคุณสมบัติสภาพยอมสัมพัทธ์ที่สูงและความตึงผิวที่ต่ำของน้ำมัน. เมื่อสนามไฟฟ้าสูงถึงค่าวิกฤต การแยกตัวเกิดขึ้นที่บริเวณปลายแหลมของหยด. การจำลองสามารถแสดงการเสียรูปของหยดน้ำได้แม่นยำและทำนายค่าสนามไฟฟ้าวิกฤตได้. รูปแบบที่สอง คือ การรวมตัวของหยดในน้ำมันแร่และน้ำมันซิลิโคนกับผิวน้ำด้านล่าง. ผลการทดลองพบว่าประจุเพิ่มแรงไฟฟ้าที่กระทำกับหยดน้ำ ช่วยให้ประสิทธิภาพของกระบวนการเชื่อมรวมเพิ่มขึ้นในแง่ของเวลา. อย่างไรก็ตาม หยดน้ำที่มีประจุรวมตัวเพียงบางส่วนที่สนามไฟฟ้าต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีประจุ. เมื่อสนามไฟฟ้าสูง หยดน้ำที่มีประจุในน้ำมันแร่ไม่รวมตัวกับผิวน้ำ หรือแตกตัวในระหว่างการเคลื่อนที่. พฤติกรรมดังกล่าวไม่เกิดขึ้นในน้ำมันซิลิโคน เนื่องจากความตึงผิวของน้ำมันมีค่าสูง ช่วยให้หยดน้ำรวมตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ. การจำลองสามารถแสดงการเสียรูปของหยดน้ำที่มีและไม่มีประจุก่อนการรวมตัวได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง รวมทั้งแสดงการรวมตัวรูปแบบสมบูรณ์ของหยดน้ำได้. แม้ว่าการจำลองไม่สามารถแสดงพฤติกรรมอื่นเมื่อสนามไฟฟ้ามีค่าสูง เช่น การแยกตัวของหยดน้ำทุติยภูมิ การไม่รวมตัว หรือ การแตกตัว แต่ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่าหยดน้ำในน้ำมันซิลิโคนมีเสถียรภาพดีกว่า ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการทดลอง.


การใช้รถโดยสารประจำทางเป็นโหนดที่ขอบในเครือข่ายยานพาหนะ, ณัฐนนท์ มานพ Jan 2022

การใช้รถโดยสารประจำทางเป็นโหนดที่ขอบในเครือข่ายยานพาหนะ, ณัฐนนท์ มานพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตของเครือข่ายไร้สายแบบแอดฮอกบนยานพาหนะได้ทำให้เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชันบนยานพาหนะต่าง ๆ มากมาย เพื่อตอบรับสนองต่อการเติบโตนี้โครงร่างระบบการคำนวณแบบขอบบนยานพาหนะจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นไปที่การติดตั้งโหนดที่ขอบที่มักติดตั้งที่สถานีรับส่งสัญญาณข้างทาง อย่างไรก็ตามการติดตั้งสถานีในพื้นที่ขนาดใหญ่ต้องพิจารณาให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการมากที่สุด งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอโครงร่างระบบใหม่ชื่อว่า Buses as an Infrastructure ซึ่งได้มีการใช้งานให้รถโดยสารประจำทางเป็นโหนดที่ขอบในการให้บริการทรัพยากรในการคำนวณและบริการอื่น ๆ แก่ผู้ใช้งาน โดยงานวิจัยนี้ได้มีการใช้ข้อได้เปรียบของระบบขนส่งสาธารณะที่มีอยู่แล้วเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโหนดที่ขอบแบบดั้งเดิม อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังได้เสนอฮิวริสติกอัลกอรึทึมสำหรับการคำนวณหาการติดตั้งโหนดที่ขอบบนรถโดยสารประจำทางโดยให้ลำดับความสำคัญแก่จำนวนงานที่เกิดขึ้นคู่กับการใช้เทคนิคการเลือก N ลำดับสูงสุด โดยได้ทำการทดลองบนสภาพแวดล้อมจำลองและบนชุดข้อมูลจริง ผลการทดลองเมื่อเทียบกับรูปแบบที่โหนดที่ขอบติดตั้งอยู่กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทางแสดงให้เห็นว่าฮิวริสติกอัลกอรึทึมที่นำเสนอสามารถให้จำนวนยานพาหนะที่โหนดที่ขอบสามารถให้บริการได้สูงขึ้นกว่า 6.08% - 52.20% และสามารถให้จำนวนยานพาหนะที่โหนดที่ขอบสามารถให้บริการได้สูงขึ้น 15.23% เมื่อเทียบกับรูปแบบที่โหนดที่ขอบติดตั้งอยู่กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทางบนสภาพแวดล้อมจำลองและให้ผลรวมของระยะเวลาที่ติดต่อสื่อสารกันได้สูงขึ้น 54.24% เมื่อเทียบกับรูปแบบที่โหนดที่ขอบติดตั้งอยู่กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทางบนชุดข้อมูลจริง


การแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาไปเป็นไทมด์ออโตมาตา, ณรงค์กร วงศ์สิทธิไพฑูรย์ Jan 2022

การแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาไปเป็นไทมด์ออโตมาตา, ณรงค์กร วงศ์สิทธิไพฑูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสงานยอว์ลเป็นหนึ่งในกระแสงานทางธุรกิจที่ทันสมัย กระแสงานยอว์ลให้การแสดงเป็นภาพขั้นตอนกระแสงานของงานทางธุรกิจที่เข้าใจง่าย สามารถกำหนดเวลาการทำงานของงานภายในกระแสงานยอว์ลได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเน้นให้นำกระแสงานยอว์ลทั่วไปมาเพิ่มขีดความสามารถโดยการเพิ่มข้อจำกัดแบบช่วงเวลาให้กับแต่ละสัญลักษณ์งานในกระแสงานยอว์ล ผ่านค่าเฉลี่ยของข้อจำกัดของช่วงเวลาในรูปของขอบเขตล่าง และขอบเขตบนของเวลาที่สามารถเสร็จสิ้นการทำงานถูกกำหนดให้กับงานทางธุรกิจแต่ละงานในกระแสงานเพื่อรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นของประสิทธิภาพด้านเวลาในกระแสงานกระบวนการทางธุรกิจ ในการจำลองพฤติกรรมของกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาจะถูกแปลงเป็นออโตมาตาที่กำหนดเวลาไว้ที่สอดคล้องกัน และจำลองโดยใช้เครื่องมือ UPPAAL วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีการเสนอชุดของกฎการแปลงเพื่อเป็นแนวทางในการแปลงของสัญลักษณ์ยอว์ลข้อจำกัดของช่วงเวลาให้อยู่ในรูปแบบของไทมด์ออโตมาตา และเสนอเว็บแอปพลิเคชันในการแปลงกระแสงานยอว์ลที่มีข้อจำกัดช่วงเวลาเป็นออโตมาตา โดยผลลัพธ์ที่เป็นไทมด์ออโตมาตาจะถูกแปลงอย่างถูกต้อง และจำลองโดยใช้เครื่องมือจำลอง UPPAAL