Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Engineering

การขยายเส้นทางรถไฟเข้าจังหวัดสตูลโดยไม่แก้ไขตารางการเดินรถเดิม, ธีระ รุ่งโรจน์สุวรรณ Jan 2008

การขยายเส้นทางรถไฟเข้าจังหวัดสตูลโดยไม่แก้ไขตารางการเดินรถเดิม, ธีระ รุ่งโรจน์สุวรรณ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

เนื่องจากมีการเรียกร้องให้เชื่อมจังหวัดสตูลด้วยทางรถไฟเป็นระยะเวลานาน หลายสืบปี และการขยายทางรถไฟไปจังหวัดสตูลก็ได้รับการระบุในแผนงานของการ รถไฟแห่งประเทศไทย ผู้เขียนจึงได้นำความต้องการนี้มาศึกษาความเป็นไปได้ในการ ขยายการเดินรถไฟไปยังสตูล โดยการนำขบวนรถไฟปัจจุบันที่สินสุดที่สถานีหาดใหญ่, ปาดังเบซาร์ และกันตังมาขยายต่อให้สินสุดที่สตูลแทน หรือใช้เป็นขบวนรถไฟห้องถิ่น ไปกลับสตูล เพี่อให้การเชื่อมรถไฟไปสตูลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และประหยัด, การ กำหนดเส้นทางจะนำหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์และข้อกำหนดต่างๆ ของการรถไฟฯ มาใช้การศึกษาได้ใช้โปรแกรมฐานข้อมูล Access 2003 มาช่วยจัดเก็บข้อมูลระยะทาง และเวลา และใช้โปรแกรม Delphi 7 มาเขียนจัดตารางเวลาเดินรถ หลักการจัดตาราง เดินรถนี้อาศัยปัจจัยตู้ขบวนรถไฟที่มีอยู่ตารางรถไฟปัจจุบัน ระยะทางระหว่างสถานี ความเร็วในการเดินรถ อัตราการเร่ง อัตราการชะลอรถ เวลาที่จอดรับส่งผู้โดยสาร ที่สถานีเป็นตัวกำหนดความเป็นไปได้ของขบวนรถไฟใหม่ ไม่ให้เกิดการสวนกัน ระหว่างสถานี และการต่อเชื่อมให้ทันที่สถานีต้นทางขยาย
ปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้มีรถไฟเดินอยู่จำนวน 96 ขบวนผ่าน 9 จังหวัด ยกเว้นจังหวัด ภูเก็ต, สตูล, ระนอง, กระบี่ และพังงาที่ไม่มีรถไฟผ่านขบวนที่ผ่านหรือสินสุดที่สถานี กันตัง, ปาดังเบซาร์ และหาดใหญ่ มี 4, 2 และ 24 ขบวนตามลำดับ รวมแล้ว 30 ขบวน (15 ขบวนไป - 15 ขบวนกลับ) เป็นรถด่วนพิเศษ 8 ขบวน, รถด่วน 2 ขบวน, รถเร็ว 8 ขบวน และรถท้องถิ่น 12 ขบวน เส้นทางใหม่ที่กำหนดขึ้น 3 เส้นทางได้แก่ สตูล-ปาดัง เบซาร์, สตูล-กันตัง และสตูล-หาดใหญ่ การวิเคราะห์พบว่าเส้นทางสตูล-ปาดังเบซาร์ มี 7 สถานี ระยะทาง 36.37 กม. มีขบวนรถเชื่อมได้ 10 ขบวน (5 ขบวนไป - 5 ขบวนกลับ) เป็นรถด่วนพิเศษใช้เวลา 54 …


ความต้องการบริการขนส่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ณัฏพร บัวผุด, สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ Jan 2008

ความต้องการบริการขนส่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ณัฏพร บัวผุด, สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาความต้องการบริการขนส่งทางบกภายในประเทศของ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดกลางและขนาดย่อม โดยแบ่งเนื้องานออกเป็น 2 ส่วน สำคัญ คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษารูปแบบการกระจายสินค้า ซึ่งพบว่าในบ่ 2546 มีบริการ ขนส่งที่ใช้กันอยู่ 7 รูปแบบหลัก คือ 1) การส่งโดยใช้บริการของ ร.ส.พ. 2) การส่งผ่าน ไปรษณีย์ 3) การส่งผ่านรถทัวร์ 4) การส่งทางรถไฟ 5) การส่งโดยใช้ผู้ประกอบการ ขนส่ง 6) การส่งด้วยวิธีอื่นๆ เช่น รถตู้ และ 7) การจัดส่งเอง ส่วนที่สองเป็นการศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เลือกบริการกระจายสินค้าด้วยวิธีการวิเคราะห์ 2 วิธี คือ การวิเคราะห์พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกรูปแบบบริการด้วยแบบจำลอง Binary Logit และข้อมูลประเภท Stated Preferences (SP) ซึ่งพบว่าผู้ผลิตให้ความสำคัญกับ อัตราค่าส่งสินค้ามากที่สุด รองลงมา คือ อัตราการเกิดความเสียหาย/สูญหายของสินค้า ความสามารถในการส่งสินค้าภายในกำหนดเวลาและระยะเวลาที่ใช้ในการส่งสินค้า ตามลำดับ ในขณะที่การวัดความคิดเห็นของลูกค้าต่อคุณภาพบริการขนส่งด้วยวิธี SERVQUAL พบว่าผู้ผลิตให้ความสำคัญกับกลุ่มปัจจัยที่ประกอบด้วยอัตราการเกิด ความเสียหาย/สูญหาย และความสามารถในการติดตามแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่ กำหนดมากกว่ากลุ่มปัจจัยที่ประกอบด้วยการจัดส่งถึงที่หมายภายในเวลาที่กำหนด และ ด้วยความรวดเร็ว


ระบบประเมินการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก, นิภาพร หวังวัชรกุล, สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ Jan 2008

ระบบประเมินการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก, นิภาพร หวังวัชรกุล, สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบประเมินผลการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการขนส่ง ด้วยรถบรรทุกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ระบบประเมินผลที่เกิดประโยชน์ต่อการปรับปรุง งานอย่างแท้จริง การศึกษาครั้งนี้จะใช้ตัวอย่างการทำงานของศูนย์กระจายสินค้าแห่งหนึ่ง ที่มีรูปแบบการให้บริการด้วยการรวบรวมสินค้าจากแต่ละบริษัทลูกค้า เพื่อไปส่งยังร้านค้า ปลายทางทั่วประเทศ การวิจัยได้แบ่งแนวทางในการประเมินผลงานได้ 2 แนวทาง คือ 1) การประเมิน ประสิทธิผลต่อความต้องการจากภายนอก เพื่อดูผลในภาพรวมว่าศูนย์งานสามารถดำเนิน งานให้สอดคล้องกับความต้องการภายนอกจากลูกค้าผู้มีส่วนได้เสีย และเจ้าของบริษัทได้ หรือไม่ โดยตัวชี้วัดผลงานได้พัฒนาจากผลการสัมภาษณ์เป้าหมายทางธุรกิจของเจ้าของ บริษัท และการสัมภาษณ์ปัจจัยที่ลูกค้าให้ความสำคัญและ 2) การประเมินประสิทธิภาพ การทำงานภายในเป็นการประเมินผลในรายกิจกรรม เพื่อทราบลักษณะและตำแหน่ง ของข้อบกพร่องจากการดำเนินงานภายใน ซึ่งการกำหนดตัวชีวัดประสิทธิภาพการทำงาน ภายในจะพิจารณาจากการส่งผลเชื่อมโยงโดยตรงต่อประสิทธิผลส่อความต้องการภายนอก โดยอาศัยแผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram)


การยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง, ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ Jan 2008

การยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง, ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

ท่าเรือจัดว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีบทบาทที่สำคัญสำหรับธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก และการค้าระหว่างประเทศ และเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ขณะที่ความสำคัญในการพัฒนาท่าเรือ ของไทยให้เป็นท่าเรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการ แข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการดำเนินการตาม นโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้ที่ เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะท่าเรือจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ผู้ใช้ บริการในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสำรวจคุณภาพในการให้บริการจึงเป็นสิ่ง สำคัญยิ่งในอันที่จะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ การศึกษาคุณภาพในการให้บริการครั้งนี้เริ่มสำรวจในปี 2548 ได้มีการทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการพฤติกรรมผู้บริโภคและทฤษฏีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยได้มีการประยุกต์ใช้ทฤษฏี GAP Analysis และโมเดล Performance-Importance Analysis เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง โดยสำรวจผู้ใช้บริการด้านเรือ (บริษัทสายการเดินเรือและบริษัทตัวแทนเรือ) จำนวน 84 บริษัท และผู้ใช้บริการด้านสินค้า (บริษัทผู้นำเข้า-ส่งออก และบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้า) จำนวน 180 บริษัท มีอัตราการตอบ กลับคิดเป็น 84.0 เปอร์เซ็นต์ ผลการสำรวจได้ถูกนำมาประมวลผลและการวิเคราะห์ โดยใช้ โปรแกรม SPSS ควบคู่กับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้บริการด้านเรือมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ ท่าเรือกรณีศึกษาเท่ากับ 3.58 ขณะที่ผู้ใช้บริการด้านสินค้ารู้สึกพึงพอใจบริการที่ได้รับจากท่าเรือกรณีศึกษาเท่ากับ 3.29 และเมื่อนำเอาระดับความพึงพอใจที่ได้รับมาทำการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้การถ่วงน้ำหนักของจำนวนแบบสอบถามที่ตอบกลับในแต่ละกลุ่มตัวอย่างพบว่าผู้ใช้บริการทั้งด้านเรือและผู้ใช้บริการด้านสินค้ามีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบังเท่ากับ 3.36 การศึกษาครั้งนี้ยังได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อกิจกรรมการให้บริการด้านต่างๆ รวมทั้งยังได้จัดข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้บริหาร และผู้เกี่ยว ข้องสามารถนำผลการศึกษาดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ให้กลายเป็นท่าเรือระดับโลกในอนาคต


บทบรรณาธิการ, ประมวล สุธีจารุวัฒน Jan 2008

บทบรรณาธิการ, ประมวล สุธีจารุวัฒน

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.


ประวัติผลงาน สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง, วรรณภา บุญนิ่ม Jan 2008

ประวัติผลงาน สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง, วรรณภา บุญนิ่ม

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.


Improving Supply Chain Performance By Adopting Performance Measument Models, Taweesak Theppitak Jan 2008

Improving Supply Chain Performance By Adopting Performance Measument Models, Taweesak Theppitak

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

Nowadays, dynamic changes arc significantly driving forces to companies to re-focusing on utilizing of people and research based on organizational objectives. Organisations need to provide a performance measurement system (PMS) to evaluate the resource utilisation so that they can strategically manage and properly control to achieve their objectives and goals. PM's role is dominantly increasing and it is growing in its scope and importance. However, the literature on performance measurement (PM) has changed over the past few decades. Due to limitation of traditional PMS that focusing on financial measures (ROI. cash flow), modern PMS focusing on non-financial measures such as …


Csi ผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์ของประเทศไทย, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง Jan 2008

Csi ผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์ของประเทศไทย, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.