Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 11 of 11

Full-Text Articles in Engineering

การบริหารระบบขนส่งมวลชนแบบบูรณาการกรณีของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น, นคร จันทศร, อรรถพล เก่าประเสริฐ Jan 2024

การบริหารระบบขนส่งมวลชนแบบบูรณาการกรณีของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น, นคร จันทศร, อรรถพล เก่าประเสริฐ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

In order to succeed in resolving troublesome urban transport problems, one should understand how transport demand occurs. The transport demand, which is derived demand, like the demand for a sewing machine derives from the demand for handmade clothes and the demand for marmalade derives from the demand for toast, is a result from people's need of participation in various social activities rather than the need of experiencing transportation system itself. Furthermore, travel pattern is intimately related to land use pattern, therefore instead of considering transportation and land use separately, both should be managed in parallel with each other to achieve …


การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน, สุมาลี สุขดานนท์ Jan 2024

การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน, สุมาลี สุขดานนท์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านแม้จะมีปริมาณไม่มากนักเมื่อ เทียบกับปริมาณการค้าระหว่างประเทศของไทย แต่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ ที่ อยู่ตามแนวชายแดน และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน บทความนี้มีวัตถุ-ประสงค์ที่จะเสนอสภาพการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในจังหวัดชาย แดนที่สำคัญ ได้แก่ เชียงราย ตาก หนองคาย สระแก้ว และสงขลา การค้าชายแดนที่กล่าวถึงเป็น การค้าในระบบที่ผ่านพิธีการศุลกากร เนื้อหาของบทความแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การค้าระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และ ปัญหาอุปสรรคของการค้าชายแดน


การขนส่งทางถนนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน, เกษม ชูจารุกุล Jan 2024

การขนส่งทางถนนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน, เกษม ชูจารุกุล

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

ปัจจุบันการขนส่งทางถนนได้พัฒนารุดหน้าไปมาก ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงจำเป็นทีจะ ต้องพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งให้เท่าเทียมกับมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถ เชื่อมโยงเส้นทางการค้าและขนส่งในภูมิภาคเข้าด้วยกัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึง สถานะปัจจุบันของการขนส่งทางถนนของประเทศไทย ให้ทราบถึงเส้นทางโครงข่ายต่างๆ ทั้งที่เป็น เส้นทางภายในประเทศ เส้นทางที่มีการตกลงทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมไปถึงสถานการณ์ การขนส่ง ณ ด่านชายแดนที่สำคัญของประเทศ ที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งทางถนนกับประเทศ เพื่อนบ้าน การตระหนักถึงโครงสร้างพื้นฐานทางถนนเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการตัดสินใจวางแผน งานในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลที่จำเป็นประกอบกับการพิจารณากฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ประเทศ ไทยจะนำมาใช้จัดทำแผนการดำเนินการตามความตกลงด้านการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน


ท่าเรือบนริมฝั่งแม่นํ้าโขงกับการใช้เส้นทางแม่นํ้าโขงในการขนส่งสินค้า, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง Jan 2024

ท่าเรือบนริมฝั่งแม่นํ้าโขงกับการใช้เส้นทางแม่นํ้าโขงในการขนส่งสินค้า, สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

แม่นํ้าโขงนับเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอนุภูมิ-ภาค ด้วยเป็นแม่นํ้าที่ไหลผ่าน 6 ประเทศได้แก่ จีน เมียนม่าร์ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามก่อน ออกสู่ทะเลจีนใต้ การสำรวจแม่นํ้าโขงมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ประกอบกับนโยบายทางการเมืองใน การเปิดตลาดของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาร่วมกันเพื่อใช้เส้นทางแม่น้ำโขงเป็น เส้นทางในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ได้แก่ จีน เมียนม่าร์ ไทย และลาว ในการเดินเรือพาณิชย์เสรีในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง การเปิดท่าเรือตาม แนวแม่น้ำโขง 14 แห่งเพื่อรองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคต แต่ด้วยการขนส่งทาง แม่น้ำโขงประสบกับปัญหาการเดินเรือที่ต้องเสี่ยงภัยอันตรายจากเกาะ แก่ง โขดหินใต้น้ำ และกระแส น้ำที่เชี่ยวกราก และข้อจำกัดปริมาณนํ้าในฤดูแล้งที่เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก อันนำมาสู่การ เสนอแนวคิดจากประเทศจีนที่ต้องการให้มีการระเบิดเกาะแก่งหินใต้น้ำเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ เกิน 200 ตันขึ้นไปสามารถเดินเรือได้ตลอดทั้งปี และการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่หลายเขื่อนกั้นแม่น้ำ โขงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นในฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักที่ควรเกิดขึ้นจากความ ร่วมมือในการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำโขงคือ การได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในการ ใช้เส้นทางแม่น้ำโขงอย่างเท่าเทียมกัน


ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย : กรณีศึกษา ท่าเรือแหลมฉบัง, วาสนา แพทยานนท์ Jan 2024

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย : กรณีศึกษา ท่าเรือแหลมฉบัง, วาสนา แพทยานนท์

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ทราบถึงระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้าน ความถูกต้องรวดเร็วในการให้บริการ ความสะดวกในการติดต่อ ความสะอาด และความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของสถานที่ การรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ความเอาใจใส่ในการให้บริการของ พนักงาน และสภาพความพร้อมของพนักงาน สถานที่และเครื่องมือการให้บริการ 2) เพื่อเปรียบ เทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการตามประเภทของผู้ใช้บริการและลักษณะส่วนบุคคลทั้ง 6 ด้าน 3) เพื่อให้ทราบถึงปัญหาในการให้บริการในทั้ง6ด้านพร้อมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจต่อการให้ บริการทั้ง 6 ด้าน ในระดับปานกลางเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของสถานที่ที่ผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจมาก ส่วนประเภทธุรกิจของผู้ใช้บริการที่แตกต่างกันจะมีระดับความพึงพอใจทีแตกต่างกันในด้านการรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงด้านเดียว กล่าวคือผู้ใช้บริการด้านเรือจะคำนึงถึงความปลอดภัยใน การเดินเรือ, การเทียบท่าและออกจากท่า ส่วนผู้ใช้บริการด้านสินค้าจะคำนึงถึงความปลอดภัยใน การเก็บรักษาสินค้าทั่วไป สินค้าอันตราย การป้องกันการสูญหายและเสียหายของสินค้า/ตู้สินค้า เป็นต้น


การตัดสินใจเลือกใช้บริการในอู่ซ่อมเรือ : กรณีศึกษาโครงการนิคมอุตสาหกรรมอู่เรือแหลมฉบัง, กิตติพงษ์ วิสมิตะนันทน์, อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา Jan 2024

การตัดสินใจเลือกใช้บริการในอู่ซ่อมเรือ : กรณีศึกษาโครงการนิคมอุตสาหกรรมอู่เรือแหลมฉบัง, กิตติพงษ์ วิสมิตะนันทน์, อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาปัจจัยและค่าระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ บริการอู่เรือของผู้ประกอบการเดินเรือ และพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับใช้ทำนาย ความคิดการเลือกใช้อู่เรือในนิคมอุตสาหกรรมอู่เรือแหลมฉบัง การวิเคราะห์และคัดเลือกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการอู่เรือของผู้ ประกอบการเดินเรืออาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ 2 วิธีคือ วิธีการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความสำคัญของ ปัจจัย และวิธีวิเคราะห์ค่าคู่อันดับ ในส่วนของการพัฒนาแบบจำลองการเลือกใช้อู่เรือในนิคมฯ จะ สำรวจข้อมูลโดยอาศัยเทคนิค Stated Preference (SP) ซึ่งเป็นเทคนิคการศึกษาการตัดสินใจเลือก ใช้บริการอู่เรือภายใต้สถานการณ์สมมติ ข้อมูลที่ได้จะนำมาพัฒนาเป็นแบบจำลองประเภทโลจิต สำหรับวิเคราะห์สถานการณ์ทางเลือกที่มีเพียง 2 ทางเลือก (Binary Logit Model) คือทางเลือกอู่เรือ ในนิคมฯ กับอู่เรือที่ผู้ประกอบการเดินเรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน ผลที่ได้จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการอู่เรือควรให้ความสนใจเพื่อนำไป ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ ได้แก่ ความถูกต้องของการคิดราคาค่าซ่อม การใช้วัสดุถูกต้อง ตามมาตรฐานกำหนด การซ่อมเสร็จตามเวลาที่กำหนด ความเหมาะสมของอัตราค่าซ่อม ระยะเวลา ที่ใช้ในการซ่อม ความสะดวกของสถานที่ตั้ง ความชำนาญของช่าง และ ระยะเวลาที่ใช้แก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นหน้างาน และจากการตรวจสอบแบบจำลองพบว่าผู้ประกอบการเดินเรือไม่ได้ให้ความสำคัญ กับตัวแปรระยะทางระหว่างท่าเทียบเรือสุดท้ายก่อนการนำเรือเข้าซ่อมกับอู่เรือเนื่องจากมีค่าไม่แตก ต่างจากอู่เรือที่ใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมากนัก และจากการวิเคราะห์ค่าความยืดหยุ่นพบว่าผู้ ประกอบการเดินเรือในประเทศไทยมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงตัวแปรราคาค่าซ่อมมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรระยะเวลาในการซ่อมเรือที่ลดลง


การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการวางแผนและบริหารจัดการความต้องการหลุมจอดอากาศยาน, ณัฐภรณ์ เจริญธรรม, อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา Jan 2024

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการวางแผนและบริหารจัดการความต้องการหลุมจอดอากาศยาน, ณัฐภรณ์ เจริญธรรม, อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวางแผนและบริหารจัดการหลุมจอดอากาศยาน โดยใช้ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ (ดอนเมือง) เป็นสถานที่ตัวอย่างในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะทางกายภาพ การให้บริการลานจอดอากาศยานและพฤติกรรมการเข้ามาใช้บริการหลุม จอดของอากาศยาน เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเป็นเครื่อง มือช่วยในการวิเคราะห์หาความต้องการหลุมจอดและช่วยในการวางแผนและบริหารจัดการใช้หลุม จอดที่มีอยู่ตามข้อจำกัดให้เพียงพอกับความต้องการ โดยโปรแกรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โปรแกรมการหาความต้องการหลุมจอดซึ่งขึ้นกับตารางการบินและกลยุทธ์การใช้หลุมจอดของท่า อากาศยาน และโปรแกรมการกำหนดอากาศยานเข้าใช้หลุมจอดตามข้อจำกัดที่มีอยู่โดยจำกัดเวลา ในการใช้หลุมจอดที่มีสะพานเทียบในช่วงเวลาที่มีความต้องการหลุมจอดสูง ผลลัพธ์ของโปรแกรม ประกอบไปด้วย Gantt Chart ซึ่งแสดงการครอบครองหลุมจอดของอากาศยานในแต่ละวัน สัดส่วน เป็นร้อยละของเวลาที่หลุมจอดถูกครอบครองและจำนวนครั้งที่หลุมจอดถูกใช้ใน 1 วัน ซึ่งการหา ความต้องการหลุมจอดโดยใช้โปรแกรมแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการจำนวนหลุมจอดประเภทที่มี สะพานเทียบมากกว่าที่มีอยู่จริงภายใต้สมมติฐานที่กำหนด และผลการตรวจสอบความสมเหตุสม ผลของโปรแกรมการกำหนดอากาศยานเข้าใช้หลุมจอดเมื่อเทียบกับการปฏิบัติงานจริงของเจ้าหน้า ผู้ปฏิบัติงาน พบว่าโปรแกรมให้ผลที่สอดคล้องกับการดำเนินงานจริงได้ในระตับหนึ่ง แต่ไม่สามารถ กำหนดอากาศยานเข้าใช้หลุมจอดให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงได้ทุกกรณี


การวางแผนระบบโลจิสติกส์, กสิณ์รินทน์ ชาญศิริศักดิ์สกุล จิวัจฉรานุกูล Jan 2024

การวางแผนระบบโลจิสติกส์, กสิณ์รินทน์ ชาญศิริศักดิ์สกุล จิวัจฉรานุกูล

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

บทความนี้เขียนถึงแนวทางในการวางแผนงานระบบ Logistics และสรุปใจความสำคัญใน การบริหารงานระบบ Logistics โดยนำเสนอแนวทางและขั้นตอนในการจัดตั้งวางแผนงานต่างๆที่ เป็นองค์ประกอบหลักของระบบ Logistics


การทบทวนฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนการขนส่งในประเทศไทย, วรรณภา วัดบุญเลี้ยง Jan 2024

การทบทวนฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนการขนส่งในประเทศไทย, วรรณภา วัดบุญเลี้ยง

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

ข้อมูลด้านการขนส่งที่ถูกต้องและครบถ้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะเป็นเครื่องมือ ช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อการวางแผนการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ได้ทำ การศึกษาการเก็บและรวบรวมข้อมูลด้านการขนส่งจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและได้ทำการแบ่ง ประเภทของข้อมูลออกเป็น 10 ประเภท ตามลักษณะเนื้อหาของข้อมูลดังนี้ 1. อุปสงค์การขนส่งสินค้าและการเดินทาง 2. ข้อมูลผู้ประกอบการขนส่งสินค้าและบริการเกี่ยวกับการเดินทาง 3. เส้นทาง (ทางบก ทางรถไฟ ทางอากาศ ทางน้ำ ทางท่อ) 4. ยานพาหนะ (ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งทางถนน รถไฟ อากาศยาน เรือ ท่อ) 5. ท่าขนส่งหรือสถานีขนส่ง (ท่ารถโดยสาร สถานีขนส่งรถบรรทุก ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ) 6. พลังงาน (เบนซิน ดีเซล น้ำมันเครื่องบิน แก๊สธรรมชาติ ไฟฟ้า เชื้อเพลิงคุณภาพตํ่า) 7. ข้อมูลด้านราคา 8. ผลกระทบและอุบัติเหตุจากการขนส่ง 9. ข้อมูลประชากร สังคม และเศรษฐกิจ ภูมิภาค และโลก 10. การจัดระเบียบการขนส่งและข้อมูลแผนคมนาคมขนส่ง จากการศึกษาทำให้พบว่าหน่วยงานต่างๆ ที่มีการรวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลด้านการ ขนส่ง มีปัญหาในการเก็บและรวบรวมข้อมูล ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทและลักษณะของข้อมูล


การศึกษา : ก่อน --- ความเป็นไปได้ ของโครงการโดยย่อ : เรือเฟอร์รี่ บริการในอ่าวไทย, ตระกูล พุ่มเสนาะ Jan 2024

การศึกษา : ก่อน --- ความเป็นไปได้ ของโครงการโดยย่อ : เรือเฟอร์รี่ บริการในอ่าวไทย, ตระกูล พุ่มเสนาะ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.


บทบรรณาธิการ Jan 2024

บทบรรณาธิการ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

No abstract provided.