Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Power and Energy

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 69

Full-Text Articles in Engineering

ผลกระทบด้านความต้องการพลังงานของอาคารที่ออกแบบตามเกณฑ์เป็นสุข, จีรุฏฐ์ ตั้งมานะกิจ Jan 2022

ผลกระทบด้านความต้องการพลังงานของอาคารที่ออกแบบตามเกณฑ์เป็นสุข, จีรุฏฐ์ ตั้งมานะกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลกระทบด้านความต้องการพลังงานของอาคารที่ออกแบบตามเกณฑ์อาคารที่มีสุขภาวะที่ดีโดยสถาบันอาคารเขียวไทยมีชื่อเกณฑ์”เป็นสุข” โดยการวิจัยนี้นำข้อมูลการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั้งอาคารกรณีศึกษาแบบปกติและอาคารกรณีศึกษาที่ปรับแบบให้สอดคล้องตามเกณฑ์เป็นสุข นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยการใช้โปรแกรม Building Energy Code (BEC) Web-based ผลการศึกษาพบว่า อาคารกรณีศึกษาแบบปกติที่ใช้เป็นแบบอ้างอิงมีผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ ทั้งแบบการประเมินรายระบบและการใช้พลังงานโดยรวม ส่วนกรณีอาคารเป็นสุขแบบที่ 1 ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯเฉพาะการใช้พลังงานโดยรวม แต่ระบบกรอบอาคารไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินรายระบบ โดยที่ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังในส่วนที่มีการปรับอากาศ (OTTV) เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 13.86% เนื่องจากความต้องการของอาคารตามเกณฑ์เป็นสุข คือ การมีช่องเปิดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีกระจกหน้าต่างที่สว่างมากขึ้นเพื่อให้ได้รับแสงสว่างธรรมชาติที่มากขึ้น จึงนำความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารผ่านกระจกหน้าต่างด้านนอกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้ใช้กระจกกรอบอาคารประสิทธิภาพสูง แต่สำหรับค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารพบว่าอาคารเป็นสุขแบบที่ 1 ยังสามารถผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ เนื่องจากการประหยัดพลังงานจากการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง สำหรับอาคารเป็นสุขแบบที่ 2 ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ ทั้งแบบการประเมินรายระบบและการใช้พลังงานโดยรวม


การวิเคราะห์ฉากทัศน์สำหรับศักยภาพชีวมวลของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในประเทศไทย, ธัญชนก เชิดชู Jan 2022

การวิเคราะห์ฉากทัศน์สำหรับศักยภาพชีวมวลของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในประเทศไทย, ธัญชนก เชิดชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ฉากทัศน์ศักยภาพชีวมวลของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในประเทศไทย ภายใต้การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลกระทบและปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลง โดยการวิเคราะห์ได้ใช้เครื่องมือในการประเมินปัจจัยภายนอกต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์ STEEP Analysis และทำการจัดลำดับปัจจัยเพื่อพิจารณาเลือกสถานการณ์ ที่ถูกกำหนดด้วยปัจจัยที่ทำให้เกิดผลกระทบและปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบ (Impact) และมีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง (Uncertainty) ต่อฉากทัศนศักยภาพชีวมวลของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนนโยบายจากภาครัฐ เช่น อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวลในรูปแบบ Feed-in Tariff และปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เช่น ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงชีวมวล ต้นทุนค่าการสร้างและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทั้งนี้ ได้กำหนดตัวชี้วัดสำหรับการติดตามและตรวจสอบสถานการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การวิเคราะห์ศักยภาพชีวมวลของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และการวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดก๊าซเรือนกระจก (Marginal Abatement Cost : MAC) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงปริมาณในแต่ละสถานการณ์ภายใต้เงื่อนไขของปัจจัยขับคลื่อน โดยได้แบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์ ซึ่งพบว่า ศักยภาพชีวมวลของการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร มากที่สุด 38,376 เมกะวัตต์ รองลงมา ได้แก่ 24,940 เมกะวัตต์ และ 10,596 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ในส่วนของการวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดก๊าซเรือนกระจก อยู่ระหว่าง -980 ถึง 131 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า


การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ติดตั้งเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี : กรณีศึกษา, ศุภธัช อินทะวัง Jan 2022

การอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ติดตั้งเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี : กรณีศึกษา, ศุภธัช อินทะวัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่หน่วยวิจัยใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารพิษในตัวอย่างดิน น้ำและพืชในพื้นที่การเกษตร ซึ่งห้องปฏิบัติการที่ติดตั้งเครื่องมือจะมีการควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 25±5 ๐C ตามมาตรฐานที่หน่วยวิจัยได้ทำการประเมินไว้ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลต่อความถูกต้องของการวิเคราะห์ตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีจะมีการปล่อยความร้อนออกสู่บรรยากาศภายในห้องปรับอากาศทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นการวิเคราะห์ในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นภาระต่อเครื่องปรับอากาศ งานวิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษาหามาตรการประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศที่ติดตั้งเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี และตู้แช่เย็นที่ใช้เก็บตัวอย่าง โดยการตรวจวัดประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศและการใช้พลังงานไฟฟ้าและการระบายความร้อนของเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟี และตู้แช่เย็นภายในห้องปฏิบัติ ข้อมูลได้ถูกบันทึกแบบต่อเนื่องตลอดทั้งวันเพื่อหามาตรการประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ จาก การวิเคราะห์พบมาตรการประหยัดพลังงานหลักๆ 3 มาตรการคือ 1) มาตรการล้างเครื่องปรับอากาศ 2) มาตรการปรับตั้งอุณหภูมิ set point ของเครื่องปรับอากาศ ให้สูงขึ้น และ 3) มาตรการลดพลังงานของตู้แช่แข็ง โดยสามารถลดพลังงานไฟฟ้าได้ 963.6 kWh, 1,660.0 kWh และ 49.9 kWh ต่อปี ตามลำดับ มาตรการที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุน 0.83 ปี จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนมาตรการที่ 2 และ 3 ไม่มีเงินลงทุนแต่สามารถลดค่าไฟฟ้า ได้ 6,640 บาท และ 200 บาทต่อปีตามลำดับ


การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการป้องกันอัคคีภัยกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, อัยลดา วาปีทำ Jan 2022

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการป้องกันอัคคีภัยกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, อัยลดา วาปีทำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บ้านอยู่อาศัยในประเทศไทยเริ่มมีความสนใจในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าฯ ในหลายประเทศได้เกิดปัญหาการเกิดอัคคีภัยสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ในพื้นที่เกิดอัคคีภัยนักดับเพลิงจะมีความเสี่ยงอันตรายจากแรงดันกระแสไฟฟ้าที่สูงจึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ โดยศึกษาความคุ้มค่าของการติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉินและไมโครอินเวอร์เตอร์ ขนาด 5 kWp 1 Phase ในพื้นที่ภาคกลาง โดยจำลองการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าฯ 3 กรณี ได้แก่กรณีที่ 1 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา แบบทั่วไป กรณีที่ 2 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน และกรณีที่ 3 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์ จากนั้นทำการสำรวจข้อมูล ราคาบ้านที่ติดตั้งไม่รวมทรัพย์สินภายในบ้านและราคาที่ดิน ราคาหลังคาบ้านที่ติดตั้ง ราคาระบบที่ติดตั้ง พื้นที่บ้านที่ติดตั้ง และนำข้อมูลที่ได้มาทำการหาราคาเฉลี่ย เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วนำแต่ละระบบมาเปรียบเทียบค่าพลังงานที่ผลิตได้ โดยโปรแกรม PVSyst ค่าพลังงานที่ผลิตได้ตลอดระยะเวลาโครงการ 25 ปี เท่ากับ 160,380, 165,481 และ 168,961 kWh ตามลำดับ นำข้อมูลที่ได้ทำการคำนวณทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อหาความคุ้มค่าของโครงการ มูลล่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 55,434.83, 42,531.10 และ -44,171.64 ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 17.96%, 16.46% และ 10.67% ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5.27, 5.79 และ8.52 ปี ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยไฟฟ้าตลอดอายุโครงการ (LCOE) 1.53, 1.61 และ 2.03 บาทต่อหน่วย จำลองเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยใน 3 เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ 1 เกิดอัคคีภัยความเสียหายเพียงแค่ระบบผลิตไฟฟ้าฯ บนหลังคา เหตุการณ์ที่ 2 เกิดอัคคีภัยความเสียหายในบริเวณหลังคาบ้านอยู่อาศัยทั้งหมด และเหตุการณ์ที่ 3 เกิดอัคคีภัยความเสียหายทั้งอาคารบ้านอยู่อาศัย สืบค้นข้อมูลการเกิดอัคคีภัยในประเทศไทยพบว่ามีการเกิดอัคคีภัยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นทุกๆปี จึงทำการสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญถึงมาตรฐานที่ใช้นิยมใช้ มาตรฐานวสท. และข้อกำหนดของการไฟฟ้า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอัคคีภัยที่พบมากที่สุดคือ อุปกรณ์เชื่อมต่อ (MC4) และอุณหภูมิแวดล้อมพื้นที่ติดตั้ง ผลการวิจัยพบว่าหากพิจารณาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการติดตั้งกรณีที่ …


การประยุกต์ฮีทไปป์แบบแบนเพื่อใช้ระบายความร้อนจากแผงโซล่าร์เซลล์, ยศพล เกื้อชาติ Jan 2022

การประยุกต์ฮีทไปป์แบบแบนเพื่อใช้ระบายความร้อนจากแผงโซล่าร์เซลล์, ยศพล เกื้อชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ฮีทไปป์แบบแบนเพื่อใช้ระบายความร้อนจากแผงโซล่าร์เซลล์ โดยแผงโซล่าร์เซลล์ที่ใช้เป็นแบบอะมอฟัส (ฟิล์มบาง) ขนาดยาว 1.25 เมตร และกว้าง 1 เมตร พิกัดกำลังไฟฟ้า 140 วัตต์ ทดสอบที่อุณหภูมิมาตรฐาน 25 องศาเซลเซียส จนกระทั่งเมื่อนำแผงโซล่าร์เซลล์ไปใช้งานจริงจะเกิดความร้อนสะสมทำให้แผงโซล่าร์เซลล์มีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้กำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ลดลง จึงเป็นเหตุให้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในครั้งนี้เพื่อต้องการลดอุณหภูมิแผง และเพิ่มการผลิตกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้น โดยได้ทำการทดลองเปรียบเทียบ แผงโซล่าร์เซลล์แบบปกติกับแผงโซล่าร์เซลล์ที่ติดตั้งฮีทไปป์แบบแบน ซึ่งท่อฮีทไปป์เป็นท่อทองแดงภายในท่อบรรจุวิกแบบเกลียวทำหน้าที่ดูดของเหลวทำงานจากส่วนควบแน่นกลับไปยังส่วนระเหย โดยติดตั้งทั้งหมดจำนวน 7 ท่อ แต่ละท่อประกอบด้วยท่อแบนส่วนระเหย ต่อเชื่อมกับ ท่อกลมส่วนควบแน่น มีน้ำกลั่นบรรจุอยู่ภายในท่อ ท่อแบนส่วนระเหยจะยึดติดกับด้านหลังของแผงโซล่าร์เซลล์ และมีซิลิโคนอยู่ระหว่างกลางเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน ในการทดสอบได้วางแผงโซล่าร์เซลล์ทั้งสองแผงให้ได้รับแสงอาทิตย์เท่ากันตลอดเวลา และได้บันทึกค่าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังไฟฟ้าและอุณหภูมิแผงโซล่าร์เซลล์ของทั้ง 2 แผง และอุณหภูมิแวดล้อม การบันทึกค่าทำทุกเวลา 15 นาทีระหว่าง 11:30 น. ถึง 15:30 น. เป็นระยะเวลา 11 วัน ผลการทดสอบพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยแผงโซล่าร์เซลล์ปกติเท่ากับ 59.7 องศาเซลเซียส และผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 2,090 วัตต์-ชม. ตามลำดับ อุณหภูมิเฉลี่ยแผงโซล่าร์เซลล์ติดตั้งท่อฮีทไปป์เท่ากับ 57.3 องศาเซลเซียส และผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 2,340 วัตต์-ชม.ตามลำดับ โดยมีอุณหภูมิแวดล้อมเฉลี่ย 37.4 องศาเซลเซียส โดยสรุป แผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งท่อฮีทไปป์สามารถลดอุณหภูมิหลังแผงโซล่าร์เซลล์ลงได้ 2.4 องศาเซลเซียส และผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น 250 วัตต์-ชม. หรือ 12 % จากแผงโซล่าร์เซลล์ปกติ


การวิเคราะห์การใช้พลังงานของการตัดแผ่นหินอ่อนและหินแกรนิต : กรณีศึกษา, ทิชากร โพธิ์นรินทร์ Jan 2022

การวิเคราะห์การใช้พลังงานของการตัดแผ่นหินอ่อนและหินแกรนิต : กรณีศึกษา, ทิชากร โพธิ์นรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หินอ่อนและหินแกรนิต เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เพราะมีความสวยงาม คงทนและสะดวกต่อการดูแลรักษา ซึ่งการจะได้มาซึ่งแผ่นหินที่ใช้ตกแต่งได้นั้น จะต้องนำแผ่นหินขนาดใหญ่ (Slabs) มาตัดตามขนาดที่ต้องการเสียก่อน เนื่องจากหินทั้งสองชนิดมีความแข็งที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องใช้ความเร็วในการตัด ความเร็วรอบของใบเลื่อย รวมทั้งขนาดของใบเลื่อยที่ต่างกัน สำหรับโรงงานที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ การตัดหินแต่ละชนิดจะใช้พารามิเตอร์ต่างกัน สำหรับหินอ่อน จะใช้ความเร็วรอบของใบเลื่อยอยู่ที่ 2,700 rpm ความเร็วในการตัดอยู่ที่ 1, 2 และ 3 เมตรต่อนาที ใบเลื่อยที่ใช้ตัดจะอยู่ที่ 12 นิ้ว และใช้หินอ่อน Rosso Levanto ในการทดสอบ สำหรับหินแกรนิต ใช้รอบการหมุนของใบเลื่อยอยู่ที่ 1,700 rpm ความเร็วในการตัดอยู่ที่ 1, 2 และ 2.5 เมตรต่อนาที และใช้หินแกรนิตดำอินเดียในการทดสอบ จากการทดลองวัดกระแสไฟฟ้าขณะตัดแผ่นหินเพื่อนำมาคำนวณหาค่ากำลังไฟฟ้า พบว่าใช้กำลังไฟฟ้าขณะที่ตัดอยู่ที่ 21.13, 21.34 และ 24.36 กิโลวัตต์ (kW) ตามลำดับความเร็วที่ใช้ตัด และสามารถคำนวณหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ต่อการตัดแผ่นหินอ่อน 1 สแลบ อยู่ที่ 8.25, 4.19 และ 3.30 หน่วย ตามลำดับ และเมื่อทดสอบกับหินแกรนิตดำอินเดีย พบว่าใช้กำลังไฟฟ้าขณะที่ตัด อยู่ที่ 19.48, 20.29 และ 20.95 กิโลวัตต์ (kW) และหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ต่อการตัดแผ่นหินแกรนิต 1 สแลบ อยู่ที่ 7.50, 3.95 และ 3.32 ตามลำดับ เมื่อนำค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของโรงงานมาคำนวณคาดการณ์ในการตัดแผ่นหินใน 1 ปี พบว่า หากตัดแผ่นหินอ่อนด้วยความเร็ว 3 เมตรต่อนาที จะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดด้วยความเร็ว 1 เมตรต่อนาที ถึง 65,488.74 บาท หรือประมาณ 60.01% และหากตัดแผ่นหินแกรนิตด้วยความเร็ว 2.5 เมตรต่อนาที สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการตัดด้วยความเร็ว 1 เมตรต่อนาที …


การผลิตน้ำร้อนด้วยแผงโซล่าฮีทไปป์ร่วมกับฮีทปั๊ม, ปิยะ ณ ลำพูน Jan 2022

การผลิตน้ำร้อนด้วยแผงโซล่าฮีทไปป์ร่วมกับฮีทปั๊ม, ปิยะ ณ ลำพูน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารโรงแรมในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมผลิตน้ำร้อนโดยใช้ระบบฮีทปั๊มเนื่องจากเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้พลังงานต่ำส่งผลให้การลดพลังงานในส่วนนี้ทำได้ยาก การเพิ่มอุณหภูมิน้ำก่อนเติมเข้าระบบของฮีทปั๊มโดยฮีทไปป์จึงเป็นที่มาของงานวิจัยครั้งนี้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตน้ำร้อนร่วมกับฮีทปั๊มเฉพาะชั้นHigh zoneจากชั้นที่ 30 ถึง ชั้นที่ 34 เท่านั้น โดยมีปริมาณการใช้น้ำร้อนเฉลี่ยเท่ากับ 2,000 ลิตรต่อวัน ในงานวิจัยใช้แผงโซล่าฮีทไปป์ซึ่งมีพื้นที่รับแสง = 1.89 m2/แผง จำนวนทั้งหมด 8 แผง ฮีทไปป์ผลิตน้ำร้อนเฉลี่ย10 ชั่วโมงต่อวัน เริ่มตั้งแต่ 7.00 น. -17.00 น. ในช่วงเวลากลางวัน น้ำร้อนได้ถูกนำไปเก็บไว้ในถังเก็บน้ำร้อนขนาด 2000 ลิตร และในช่วงเวลากลางคืนได้นำน้ำร้อนไปป้อนให้กับระบบฮีทปั๊ม ผลการวิจัยพบว่า น้ำร้อนที่ผลิตได้มีพลังงาน 18,554 kWhต่อปี และเมื่อนำน้ำร้อนไปใช้เป็นน้ำเติมในระบบฮีทปั๊มจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ป้อนให้กับฮีทปั๊ม ได้ 5,256kWh คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ 19,764 บาทต่อปี และเมื่อให้อายุการใช้งานของระบบทำน้ำร้อนเป็น 20 ปี จึงได้ประเมินโครงการด้านการเงินได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ระยะคืนทุน(PB) เท่ากับ 242,968 บาท 7.61% และ13 ปีตามลำดับ จึงสามารถสรุปได้ว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน.


การศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย, ปภาวรินทร์ กะริอุณะ Jan 2021

การศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย, ปภาวรินทร์ กะริอุณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ชนิด NMC และ LMO โดยเปรียบเทียบโรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่ผลิตเซลล์แบตเตอรี่เอง และโรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น พบว่าโรงงานแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น แบตเตอรี่ชนิด NMC มีราคาต้นทุน 131 $/kWh หรือ 11,439 USD/Battery pack และ LMO มีราคาต้นทุน 124 $/kWh หรือ 10,566 USD/Battery pack ส่วนโรงงานที่สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่ได้เอง แบตเตอรี่ชนิด NMC มีราคาต้นทุน 124$/kWh หรือ 8,904.43 USD/battery pack และ LMO มีราคาต้นทุน 118$/kWh หรือ 8,433.6 USD/Battery Pack จากการศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุน ด้วยดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ โรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น โรงงานแบตเตอรี่ชนิด NMC มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 389.10 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 17.78% มีระยะเวลาในการคืนทุน (Payback period) 4.5 ปี โรงงานแบตเตอรี่ชนิด LMO มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 170.20 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 14.38% มีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 5.1ปี ส่วนโรงงานที่สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่เอง โรงงานแบตเตอรี่ชนิด NMC มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -878.68 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 5.29% มีระยะเวลาในการคืนทุน (Payback period) 7.4 ปี และโรงงานแบตเตอรี่ชนิด LMO มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -243.65 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 9.97% มีระยะเวลาคืนทุน …


ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา, ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์ Jan 2021

ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา, ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประสิทธิภาพของปั๊มอุตสาหกรรม เช่น ปั๊มน้ำหม้อน้ำ และ ปั๊มน้ำหล่อเย็น ที่มีค่ากำลังในช่วง 90 – 315 กิโลวัตต์ จะถูกทำการสุ่มทดสอบก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทางโรงงานผลิตปั๊มอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องปิดระบบปรับอากาศทั้งโรงงานขณะทำการทดสอบปั๊มให้ลูกค้าชม ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง 4 ครั้ง/เดือน อนึ่งบริษัทผู้เชียวชาญด้านการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ออกแบบติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จากพื้นที่บนหลังคา สามารถผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับใช้ในกิจกรรมการทดสอบปั๊มตามการร้องขอของลูกค้า 100 กิโลวัตต์สูงสุด งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอ 3 ฉากทัศน์ในการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100%, 75%, 50% จากการออกแบบของบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 3 ฉากทัศน์นี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 152,810 109,190 และ 73,287 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี ตามลำดับ โดยคำนวณผ่านโปรแกรม PVSyst ระยะเวลาโครงการ 25 ปี ประเมินมูลค่าการลงทุนผ่านแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลด ได้ผลของมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 1,212,849.40 491,599.73 และ 127,585.1 บาท ตามลำดับ มูลค่าผลตอบแทนภายในเท่ากับ 18.33% 15.79% และ 14.09% ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5.32 6.13 และ 6.79 ปี ตามลำดับ และ มูลค่าต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยตลอดอายุโครงการเท่ากับ 1.708 1.908 2.182 บาท/หน่วย ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์แรกเป็นแนวทางที่น่าสนใจลงทุนที่สุด และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยนำเข้าด้านราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของการไฟฟ้านครหลวงและประสิทธิภาพของแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามลำดับ


การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องส่งลมเย็นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติก, ณัฐกานต์ จันพรมมิน Jan 2021

การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องส่งลมเย็นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติก, ณัฐกานต์ จันพรมมิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการแพร่ของเชื้อไวรัสทางอากาศเข้าไปในห้องปรับอากาศโดยพัดลมหมุนเวียนของเครื่องส่งลมเย็น เพื่อรักษาคุณภาพอากาศให้ปลอดเชื้อโรคและฝุ่นละอองขนาดเล็กจึงมีการนำแสง อัลตราไวโอเลต (UV-C) ร่วมกับแผ่นกรองประสิทธิภาพสูงมาใช้ในเครื่องส่งลมเย็น เมื่อแผ่นกรองดักจับฝุ่นจะมีความดันตกคล่อมสูงขึ้นทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการใช้พลังงานเครื่องส่งลมเย็นที่มีอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพอากาศที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติกร่วมกับแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง ในการเลือกชนิดพัดลมและขนาดใบพัดรวมทั้งชนิดมอเตอร์ต้องทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดให้ใช้อัตราการไหลของอากาศ 24,500 cfm ที่ความดันสถิต 3.25 in.wg. เพื่อสามารถใช้กับระบบท่อลมที่มีอยู่เดิมได้ วิธีการเลือกขนาดและชนิดพัดลมได้เลือกขนาดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดบนกราฟสมรรถนะของพัดลมซึ่งหาได้จากโปรแกรม Kruger selection จากการศึกษาพบว่าอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพอากาศในเครื่องส่งลมเย็นได้ใช้แสง UV-C มีความยาวคลื่น 253.7 nm และความเข้มแสง 270 µW/m2 เพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ และใช้แผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง 99.999% ในการกรองฝุ่นขนาด 0.3 ~ 1 µm สำหรับการเลือกพัดลมและมอเตอร์ที่ใช้แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือกรณีที่ 1 อัตราการไหลลดลงตามความดันสถิตที่เพิ่มขึ้น และกรณีที่ 2 อัตราการไหลคงที่แม้ว่าความดันสถิตจะเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ 1 โครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหลังรุ่น BDB 710 ที่ขับด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำใช้พลังงานน้อยกว่าโครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหน้ารุ่น FAD 710 ที่ขับด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำและVSD ส่วนกรณีที่2 โครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหลังรุ่น BDB 710 ที่ขับด้วย Electronically controlled motor หรือ EC motor ใช้พลังงานน้อยกว่าโครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหน้ารุ่น FAD 800 ที่ขับด้วย EC motor ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 โครงการมีค่า NPV 608,440 บาท และ 588,670 บาท ตามลำดับ จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน


การพัฒนาเมืองเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาพฤติกรรมของผู้โดยสารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน, ณัฏฐริยาภัทร์ ไตรยวงษ์ Jan 2021

การพัฒนาเมืองเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาพฤติกรรมของผู้โดยสารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน, ณัฏฐริยาภัทร์ ไตรยวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถไฟฟ้าเส้นทางบางนา-สยาม และเปรียบเทียบการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคลกับระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้เพื่อวิเคราะห์การใช้ประโยชนน์ของที่ดินตามเส้นทางโดยรอบ การศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ทดสอบการเดินรถ 3 รูปแบบ จากย่านที่พักอาศัยที่อยู่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังสถานที่ทำงานบริเวณย่านใจกลางเมืองในเส้นทางบางนา-สยาม และ 2. การทำการสัมภาษณ์ผ่านแบบสอบถามของผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จากผลการทดสอบเดินรถ 3 รูปแบบ พบว่ายังไม่มีแรงจูงใจมากนักในการเปลี่ยนจากการใช้รถส่วนบุคคลไปใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เนื่องจากปัจจัยในด้านราคาและเวลาซึ่งอยู่ในระดับกลาง จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างแรงจูงใจ เช่น ลดราคาค่าบริการ และจัดหาสถานที่จอดรถยนต์เพิ่ม และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มาใช้บริการรถไฟฟ้าพบว่าผู้โดยสารมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการเดินทาง ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์ของการเดินทาง ระยะเวลาในการเดินทาง และที่ตั้งจุดเริ่มต้นการเดินทาง-จุดหมายปลายทาง รูปแบบในการเดินทางส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากบ้านไปที่ทำงาน สุดท้ายจากการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานและอาคารพาณิชย์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ย่านใจกลางเมือง จึงเป็นการสนับสนุนการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ


การศึกษาการจำลองเปรียบเทียบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงประเภทรับแสงสองด้านด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์, พิมพ์พร โกพล Jan 2021

การศึกษาการจำลองเปรียบเทียบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงประเภทรับแสงสองด้านด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์, พิมพ์พร โกพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน คือแผงที่สามารถรับแสงที่ตกกระทบต่อพื้นผิวหน้าแผงโดยตรง และยังสามารถรับแสงที่สะท้อนมาจากพื้นใต้แผง ทำให้แผงประเภทนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแผงทั่วไปที่รับแสงได้เพียงด้านเดียว ทั้งนี้ค่าการสะท้อนพื้นหญ้าปกติของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 0.2 ซึ่งค่าการสะท้อนจากพื้นดินมีผลโดยตรงต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน ซึ่งถ้าหากสามารถเพิ่มค่าการสะท้อนใต้แผงให้มากขึ้น ย่อมส่งผลให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น การศึกษานี้ทำการเปรียบเทียบผลการสะท้อนจากวัสดุปูพื้นที่มีค่าการสะท้อนแตกต่างกัน โดยจำลองผลผลิตไฟจากโปรแกรม PVsyst และเปรียบเทียบต้นทุนในการลงทุนด้วยวิธีประเมินต้นทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน ที่ทำงานด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์แบบตั้งเวลา 3 กรณี ได้แก่ พื้นหญ้า พื้นทราย และหินกรวด โดยเปรียบเทียบกับโครงการที่ใช้แผงแบบทั่วไปที่รับแสงเพียงด้านเดียว การศึกษาพบว่าโครงการที่ใช้แผงแบบรับแสงสองด้าน และทำการปูพื้นด้วยหินกรวดมีค่าการสะท้อน 0.4 ส่งผลให้แผงสามารถผลิตไฟได้มากที่สุด ทำให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนภายในสูงสุด 16.91% แม้จะมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 135.93 ล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดก็ตาม และเมื่อเปรียบเทียบหาอัตราผลตอบแทนภายในส่วนเพิ่ม (Incremental internal rate of return) กับโครงการที่ใช้แผงทั่วไป ทำให้โครงการมีผลตอบแทนที่มากขึ้นถึง 43.31%


การเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง, ธนกฤต ลาภวุฒิพจน์ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง, ธนกฤต ลาภวุฒิพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง ในการทดลอง ใช้แผงโซล่าเซลล์ 2 แผง คือ แผงโซล่าเซลล์แบบปกติ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และ แผงโซล่าเซลล์แบบติดตั้งฮีทไปป์เพื่อใช้ลดอุณหภูมิแผง ตัวแปรติดตามในการศึกษา ประกอบด้วย ความเข้มแสงอาทิตย์ กำลังไฟฟ้าที่แผงผลิตได้ อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์ อุณหภูมิท่อฮีทไปป์ และ อุณหภูมิอากาศภายนอก ในการศึกษาทดลองครั้งนี้จะเก็บข้อมูลทุกๆ 15 นาที ตั้งแต่เวลา 8.00 ถึง 16.15 นาฬิกา เป็นเวลา 14 วัน ท่อฮีทไปป์ที่ใช้เป็นท่อทองแดงกลมมีเกลียวภายในทำหน้าที่เป็นวิก ท่อฮีทไปป์ใช้น้ำกลั่นเป็นของไหลใช้งาน และฮีทไปป์ทั้งหมด 7 ท่อถูกติดตั้งที่บริเวณด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ จากการวิเคราะห์พบว่า แผงโซล่าเซลล์แบบปกติมีอุณหภูมิเฉลี่ย 52.5 องศาเซลเซียส และมีพลังงานต่อปี 199.7 kWh ส่วนแผงแบบติดตั้งระบบฮีทไปป์ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 51.1 องศาเซลเซียส และมีพลังงานต่อปี 222.3 kWh ดังนั้นแผงโซล่าเซลล์แบบติดตั้งฮีทไปป์ ช่วยลดอุณหภูมิได้ 1.44 องศาเซลเซียส หรือร้อยละ 2.7 และ มีค่าพลังงานต่อปีมากกว่าแผงแบบปกติ 22.6 kWh หรือร้อยละ 11.3


Development Of A Preliminary Energy Assessment Tool For Alternative Cooling System, Pinsuda Netphasom Jan 2021

Development Of A Preliminary Energy Assessment Tool For Alternative Cooling System, Pinsuda Netphasom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In recent years, an absorption chiller coupled with solar technologies has been presented as a solution to decrease the amount of electricity consumption. The absorption chiller technology primarily consumes thermal energy instead of electricity to generate the chilled water. In addition, this technology can take advantage of waste energy and renewable resources like solar power. Solar photovoltaic and thermal collectors produce electrical and thermal energy to assist the alternative cooling system as a renewable resource. These solar and absorption technologies are promising solutions to reduce energy consumption and reduce the environmental impact caused by greenhouse gases. This study aims to …


การผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลและเอทานอล, พิชชาภา จันทร์อ้น Jan 2021

การผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลและเอทานอล, พิชชาภา จันทร์อ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลจากชานอ้อยและเอทานอลในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งที่ความดันบรรยากาศ โดยทำการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ผลของปริมาณเอทานอลในสารร่วมแกซิฟาย และผลของตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/MgO/Al2O3 ที่มีผลต่อองค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์ จากการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส สามารถให้ผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์มากที่สุดในกรณีที่ไม่มีสารเติมแต่ง และตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อเพิ่มปริมาณเอทานอลในสารร่วมแกซิฟายจะพบว่าส่งผลเชิงบวกต่อผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์ โดยมีไฮโดรเจน คาร์บอนมอนอออกไซด์ และมีเทน เป็นองค์ประกอบหลักและส่งผลให้คุณภาพของแก๊สสังเคราะห์ดีขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนในการผลิตพบว่าปริมาณเอทานอลร้อยละ 10 โดยปริมาตร เหมาะสมที่สุด ดังนั้นเอทานอลจากกระบวนการหมักชีวมวลที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นให้บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้ร่วมในกระบวนการได้ นอกจากนี้พบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/MgO/Al2O3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสลายตัวของทาร์และเพิ่มผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์มากขึ้น


Site Selection For Feasibility Study Of Pump-Storage Hydropower Project In The Philippines, Sornsawan Utthakrue Jan 2021

Site Selection For Feasibility Study Of Pump-Storage Hydropower Project In The Philippines, Sornsawan Utthakrue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pumped-storage hydropower projects (PSP) are a technology for hydroelectric energy storage. It is a design of two water reservoirs at different elevations that can create electricity as water flows from one to the other via a turbine. The PSP system is similar to a huge battery in that it can store and then release energy as needed. The Philippines is a country with a wide range of elevations due to its island composition. Natural disasters occur frequently, making it challenging to establish any structure. But the PSP is a large building that is also capable of generating a great amount …


การประเมินรูปแบบธุรกิจสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, นันทพงศ์ นิรมลนุรักษ์ Jan 2021

การประเมินรูปแบบธุรกิจสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, นันทพงศ์ นิรมลนุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping) จะมาส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะกลุ่มจักรยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Motorcycles) เนื่องจากจักรยานยนต์ไฟฟ้าต้องใช้เวลาในการเติมพลังงานนานกว่าจักรยานยนต์ (Motorcycles) การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่จึงเป็นสิ่งที่จะมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่เนื่องจากรูปแบบธุรกิจนี้ยังอยู่ในช่วงส่งเสริมและผลักดัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อนำองค์ประกอบต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจด้วย โมเดลสำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business model canvas) และ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินด้วยการคิดลดกระแสเงินสด (Discount Cash Flow) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนธุรกิจนี้ 4 รูปแบบกรณีศึกษา คือ รูปแบบปกติ, รูปแบบที่มีอัตราการใช้บริการสูง, รูปแบบที่ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุน และ รูปแบบที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยผลจากการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ มีองค์ประกอบต่างๆ ที่เหมาะสมในประเทศไทย ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้ใช้บริการ อาทิเช่น การจัดโปรโมชั่นต่างๆ การพัฒนาระบบซอฟแวร์ หรือ การมีตัวเลือกในการใช้บริการ เป็นต้น และผลจากการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในรูปแบบที่มีการปรับอัตราการใช้บริการ (Utilization rate) ที่ 21%, การได้รับเงินสนับสนุน อย่างน้อย 25% ของต้นทุนดำเนินงาน และ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่ส่งผลให้ต้นทุนดำเนินงานลดลง 37% ทำให้โครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ, อัตราผลตอบแทนภายใน และระยะเวลาคืนทุนที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยต้นทุนและผลประโยชน์ของแต่ละรูปแบบกรณีศึกษาที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป ข้อเสนอแนะบางประการได้รับการเสนอให้พิจารณาปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ และสามารถนำไปใช้อ้างอิงสำหรับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและนักลงทุน


การประเมินกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน : กรณีศึกษา, ชญาพัฒน์ คัจฉสุวรรณมณี Jan 2021

การประเมินกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน : กรณีศึกษา, ชญาพัฒน์ คัจฉสุวรรณมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (ระบบโซล่าเซลล์) ที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน กรณีศึกษา เพื่อประเมินหากำลังผลิตติดตั้งที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด ซึ่งโรงงานที่นำมาศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีการใช้ไฟฟ้าในช่วง On-Peak สูงกว่า Off-Peak จึงเหมาะสมกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ และด้วยวิธีการออกแบบโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลักในการพิจารณาจะมีอยู่ 2 ส่วนที่ คือ 1.) พฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเดิมของโรงงาน 2.) พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง ซึ่งทั้ง 2 ซึ่งสำหรับงานวิจัยนี้จะพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเดิมของโรงงานเพียงอย่างเดียวโดยไม่นำปัจจัยด้านข้อจำกัดของพื้นที่มาเกี่ยวข้อง และด้วยระบบโซล่าเซลล์จะมีข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ จึงนำระบบกักเก็บพลังงานมาร่วมศึกษาด้วยโดยกำหนดไว้ 3 แนวทาง คือ (1) กำหนดให้กำลังติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ มากกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน (2) กำหนดให้กำลังติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ น้อยกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน และ (3) กำหนดให้กำลังติดตั้งความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน มากกว่า และเสริมระบบกักเก็บพลังงานเพื่อสำรองไฟฟ้าส่วนที่ไม่ได้ใช้ (Unused) มาใช้ในช่วงอื่นที่มีความต้องการ โดยมีตัวชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์คืออัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return: IRR) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของการศึกษา (Sensitivity Analysis) โดยสรุปผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าแนวทาง (2) มีอัตราผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด และมีระยะเวลาคืนทุนสั้นที่สุดและหากมูลค่าของระบบกักเก็บพลังงานในอนาคตลดลง แนวทาง (3) ก็เป็นอีกวิธีที่หนึ่งที่น่าสนใจ


การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครพนม, ขวัญชนก อภิวัฒนานนท์ Jan 2021

การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครพนม, ขวัญชนก อภิวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครพนม ผลการศึกษาศักยภาพชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ย้อนหลัง 10 ปีแสดงให้เห็นว่า ฟางข้าวที่เกิดจากข้าวนาปี มีศักยภาพด้านพลังงานสูงสุด และมีความสม่ำเสมอของปริมาณมากที่สุด เมื่อเทียบกับชีวมวลชนิดอื่นๆในพื้นที่ จึงใช้ชีวมวลดังกล่าว เป็นเชื้อเพลิงหลักในการศึกษาครั้งนี้ ผลการประเมินตำแหน่งที่ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เหมาะสมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าอยู่ที่อำเภอปลาปาก ผลการศึกษาคิดลดกระแสเงินสดแสดงให้เห็นว่าโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งนี้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 269 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 17.83 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.33 เท่า และระยะเวลาคืนทุน 4.49 ปี จากผลสรุปได้ว่า สามารถสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรขนาด 9.9 เมกะวัตต์ในพื้นที่จังหวัดนครพนมได้


ศักยภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการบิน ภายใต้โครงการชดเชยและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคการบินระหว่างประเทศ (Corsia), ทัตพงศ์ รัตนะโสภณชัย Jan 2021

ศักยภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการบิน ภายใต้โครงการชดเชยและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคการบินระหว่างประเทศ (Corsia), ทัตพงศ์ รัตนะโสภณชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือการประเมินศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงเทคนิคของเอทานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวอากาศยานจากเทคโนโลยี Ethanol-to-jet (ETJ) ในช่วงตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปี 2035 โดยพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน พัฒนาเทคโนโลยี Ethanol-to-jet รวมถึงความพอเพียงเพื่อใช้ในการชดเชยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ตามกรอบการดำเนินงาน CORSIA โดยข้อมูลการบินระหว่างประเทศถูกนำมาใช้เพื่อประเมินความต้องการของเอทานอลทั้งหมดของปริมาณเชื้อเพลิง ข้อมูลสัดส่วนการผสมเอทานอลสูงสุดที่ทาง ICAO ยอมรับในเทคโนโลยี Ethanol-to-jet และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในภาคการบินระหว่างประเทศโดยนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ความอ่อนไหว ปริมาณความต้องการเอทานอลทั้งหมด ที่ไม่รวมปริมาณจากเชื้อเพลิงชีวอากาศยาน และปริมาณเอทานอลในประเทศไทยที่สามารถผลิตได้ โดยในส่วนของสต็อกของผู้ผลิตเอทานอลจะถูกนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลด้านอุปทาน จากผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะปกติมีความคุ้มค่าและน่าลงทุนที่ต้นทุนทางเทคโนโลยี Ethanol-to-jet มีราคาต่ำ และภายใต้ฉากทัศน์สภาวะ COVID-19 มีความคุ้มค่าและน่าลงทุนเทคโนโลยี Ethanol-to-jet ในส่วนของศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะปกติ พบว่าปริมาณเอทานอลมีแนวโน้มไม่เพียงพอจนถึงช่วงปลายกรอบเวลาของ CORSIA ในขณะที่ศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะ COVID-19 แสดงว่าประเทศไทยสามารถผลิตเอทานอลได้เพียงพอจนถึงช่วงกลางของ CORSIA (หลังผ่าน 2025-2027) อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2025-2027 ได้แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเอทานอลอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ


การประเมินการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, จิราวรรณ ฤกษ์ประกอบ Jan 2020

การประเมินการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, จิราวรรณ ฤกษ์ประกอบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านปี พ.ศ. 2562 โดยมีแหล่งที่มาจากการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยรูปแบบการประเมินการใช้พลังงานใช้วิธีการประเมินค่าดัชนีชี้วัดค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (Specific Energy Consumption: SEC) และการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2562 เท่ากับ 99.53±6 MJ/หน่วย และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เท่ากับ 39,079.59 tCO2eq /ปี โดยขอบเขตที่ 2 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเท่ากับ 34,384.12 tCO2eq/ปี คิดเป็นร้อยละ 88 รองลงมาคือ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง มีปริมาณเท่ากับ 4,430.19 tCO2eq/ปี และขอบเขตที่ 3 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 256.28 tCO2eq/ปี คิดเป็นร้อยละ 11 และร้อยละ 1 ตามลำดับ ดังนั้น แนวทางการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพคือมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ 1) มาตรการเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 36w เป็นหลอดไฟ LED 18w และเปลี่ยนหลอด Hi-bay 400w เป็น High Bay LED 110w 2) การควบคุมระบบปรับอากาศภายในโรงงานโดยโปรแกรม SCADA และ3) มาตรการการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำแทนการใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่ง ซึ่งทั้งสามมาตรการสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 1,949,262.25 kWh/ปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรลงได้ 7,136.88 tCO2eq/ปี คิดเป็นร้อยละ 18.98 ของปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด


การประเมินผลระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่แบบวีอาร์เอฟภายหลังการติดตั้งสำหรับการรักษาเสถียรภาพและลดค่าไฟฟ้า : กรณีศึกษาโรงพยาบาลทั่วไป, ธีระศักดิ์ วาทโยธา Jan 2020

การประเมินผลระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่แบบวีอาร์เอฟภายหลังการติดตั้งสำหรับการรักษาเสถียรภาพและลดค่าไฟฟ้า : กรณีศึกษาโรงพยาบาลทั่วไป, ธีระศักดิ์ วาทโยธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟฟ้านั้น มักจะมีการประเมินโครงการก่อนการติดตั้งเสมอ ในส่วนของงานศึกษานี้จะเป็นการประเมินผลการทำงานที่เกิดขึ้นภายหลังการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาของโรงพยาบาล เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าและการนำแบตเตอรี่ Vanadium Redox Flow (VRF) มาใช้ในการรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ซึ่งโรงพยาบาลที่ศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง อยู่ในพื้นที่ปลายระบบสายส่งจึงมีเหตุการณ์ไฟตกไฟดับบ่อย รวมทั้งมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าที่สูง โรงพยาบาลจึงได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าและนำแบตเตอรี่มาใช้กักเก็บพลังงานเพื่อสำรองในยามฉุกเฉินกรณีการเกิดไฟตกไฟดับ โดยแบตเตอรี่จะจ่ายไฟในส่วนที่สำคัญคือ ห้องฉุกเฉิน ห้อง Lab ห้องคลอด ห้องผ่าตัด ในการศึกษาจะทำการจัดเก็บข้อมูลจากระบบตรวจวัดและบริหารจัดการพลังงานภายในอาคารของโรงพยาบาลผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ ข้อมูลผลการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ความเข้มแสงอาทิตย์ สถานะการทำงานของแบตเตอรี่ และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโรงพยาบาล ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2561 ถึงเดือน เมษายน 2562 จากการศึกษาพบว่า ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 175,255.1 kWh/ปี สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่อัตราค่าไฟเฉลี่ยที่ 4.04 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 708,030 บาท คิดเป็นผลประหยัดพลังงานเทียบเท่าพันตันน้ำมันดิบได้เท่ากับ 0.0151 (ktoe/ปี) ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของโรงพยาบาลได้ประมาณ 56.2% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าว และระบบกักเก็บพลังงานของแบตเตอรี่มีวงรอบการชาร์จและดิสชาร์จทั้งหมด 115 ครั้ง ซึ่งหมายถึงมีเหตุการณ์ไฟตกไฟดับจำนวน 115 ครั้ง โดยแบตเตอรี่จะทำงานอย่างต่อเนื่องทันทีโดยไม่รู้สึกว่าเกิดไฟตกหรือไฟดับ สามารถช่วยรักษาเสถียรภาพทางไฟฟ้าให้เกิดความมั่นคงทางไฟฟ้า ในห้องที่มีความสำคัญ ในกรณีไฟตกไฟดับ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาหรือวัคซีน รวมทั้งการรักษาในกรณีฉุกเฉินได้อย่างต่อเนื่อง


การประเมินการใช้ใบอ้อยเป็นแหล่งพลังงานทดแทน, วรภพ เทพบุตร Jan 2020

การประเมินการใช้ใบอ้อยเป็นแหล่งพลังงานทดแทน, วรภพ เทพบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการนำใบอ้อยสดไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหรือจะแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ด วิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเปรียบเทียบความคุ้มค่าจากการลงทุนในเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากใบอ้อย ของโรงไฟฟ้าชีวมวล ระหว่างเทคโนโลยีเผาไหม้ใบอ้อยโดยตรงและแปรรูปใบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดเปรียบเทียบกับการใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิง จากการศึกษาพบว่าทั้ง 2 ระบบมีการใช้ต้นทุนเชื้อเพลิงและการขนส่งที่แตกต่างกัน โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนและผลวิเคราะห์จากการลงทุนทั้ง 2 ระบบ พบว่าการลงทุนเทคโนโลยีผลิตพลังงานไฟฟ้ารูปแบบการนำใบอ้อยไปเผาไหม้โดยตรงร่วมกับชานอ้อยที่อัตราส่วน 1:1 จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าและคืนทุนได้เร็วกว่ารูปแบบการแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดร่วมกับชานอ้อยที่อัตราส่วน 1:1 โดยระบบการเผาไหม้ใบอ้อยโดยตรงมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 184.01 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 6.07 ปี ซึ่งใกล้เคียงดับการใช้ชานอ้อยอย่างเดียวที่มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 126.28 ล้านบาท และระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 6.3 ปี ส่วนระบบแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ดพบว่าไม่คุ้มค่าการลงทุน แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าแบบเผาไหม้โดยตรง ทั้งปริมาณฝุ่นและขี้เถ้าที่ลดลง อีกทั้งความหนาแน่นที่สูงขึ้นทำให้ง่ายต่อการขนส่งและเก็บรักษา


การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดกระบี่, กานต์ จันทร์น้อย Jan 2020

การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดกระบี่, กานต์ จันทร์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันพลังงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต เนื่องจากเป็นพื้นฐานในทุกด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ทั้งนี้ แหล่งพลังงานมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยเป็นแหล่งที่ต้องอาศัย เทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น เช่น จากน้ำมันปิโตรเลียมไปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เป็นต้น และในพื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงต่อการใช้พลังงาน เนื่องจากมีการต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เป็นโอกาสในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าในพื้นที่ภาคใต้จะมีฝนตกบ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดความน่าสนใจในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคใต้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคใต้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการออกนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ เนื่องจากมีการต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเป็นจำนวนมาก โดยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เปิดการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้นทุนการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5.00 เมกะวัตต์ แล้วนำมาวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (NPV, IRR) เพื่อหาความคุ้มค่าและปัจจัยความสำเร็จต่อโครงการดังกล่าว ซึ่งปัจจัยที่ได้นำมาวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านราคา (เครื่องจักร,ค่าก่อสร้าง) ประสิทธิภาพของเครื่องจักร ความเข้มข้นของแสง (PVsyst) รวมถึงจำนวนวันต่อปีและชั่วโมงต่อวันที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ภัยธรรมชาติ) ที่อาจจะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ผลปรากฏว่า ปัจจัยที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้างต้นมิได้เป็นปัจจัยวิกฤตต่อโครงการแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ คือ นโยบายการรับซื้อของรัฐบาล (ราคาการรับซื้อไฟฟ้า) ทั้งนี้ ผู้วิจัยไม่นำปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยทางด้านสังคมมาวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้


Optimal Sizing Of Battery Energy Storage System With Rooftop Pv Generation System, Chawin Prapanukool Jan 2020

Optimal Sizing Of Battery Energy Storage System With Rooftop Pv Generation System, Chawin Prapanukool

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

With a significant growth of the rooftop photovoltaic systems (PVs) under the behind-the-meter scheme (BTMS), the battery energy storage systems (BESS) have been developed to enhance the performance of rooftop PVs in many aspects, especially the electricity charge savings. The BTMS can be typically classified into three schemes of self-consumption scheme, net-metering scheme, and net-billing scheme. Other than these schemes, the solar power purchase agreement (SPPA) has been developed to be one the most attractive business models. The SPPA is the scheme where the investors propose to directly sell an electricity from rooftop PVs with BESS to the customers without …


การประเมินประสิทธิภาพของการผลิตไอน้ำจากการลดความชื้นของชานอ้อย กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล, กมล เฟื่องเจริญ Jan 2020

การประเมินประสิทธิภาพของการผลิตไอน้ำจากการลดความชื้นของชานอ้อย กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวล, กมล เฟื่องเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในโรงงานผลิตน้ำตาลจะมีของเสียเป็นชานอ้อยหลังจากการผลิตน้ำตาล ชานอ้อยสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ และเป็นที่ทราบกันดีว่าชานอ้อยที่ได้มาจากการผลิตน้ำตาลนั้นมีความชื้นสะสมไว้มาก ทำให้ประสิทธิภาพในการให้ความร้อนลดลง จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำหลังจากลดความชื้นของชานอ้อย โดยใช้เครื่องอบชานอ้อยแบบสายพาน ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำคำนวณโดยใช้วิธีแบบทางอ้อม เมื่อลดความชื้นของเชื้อเพลิงชานอ้อยลงจากร้อยละ 51.3 เหลือร้อยละ 37.2 ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7


การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นการลงทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยใช้วัตถุดิบจากเศษไม้, รัฐศาสตร์ วรรณเศวต Jan 2020

การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นการลงทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยใช้วัตถุดิบจากเศษไม้, รัฐศาสตร์ วรรณเศวต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการแปรรูปวัตถุดิบไม้ยูคาลิปตัสส่งขายให้กับการผลิตแผ่นกระดาษในพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบันมีกำลังการผลิตการแปรรูปอยู่ในปริมาณ 500 ถึง 600 ตันต่อวัน โดยในแต่ละวันจะมีเกษตรกรนำวัตถุดิบมาขายให้ในปริมาณ 400 ถึง 500 ตันต่อวัน โดยที่ปริมาณของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตมีอยู่ในปริมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ซึ่งทางโรงงานได้มีการบริหารจัดการปริมาณวัตถุดิบสะสมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ถึง 50 ตันต่อวัน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาและต้องการสร้างมูลค่าโดยการแปรรูปของเสียจากการผลิต โดยที่วัตถุดิบนั้นได้จากของเสียทางกระบวนการผลิตมาต่อยอดทางธุรกิจลงทุนในด้านพลังงาน แต่มูลค่าการลงทุนในโครงการดังกล่าว มีเงินลงทุนที่สูง ดังนั้น งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นศึกษาในด้านเศรษฐศาสตร์การลงทุนในโครงการดังกล่าว จากปัญหาดังกล่าวเป็นที่มาของมูลเหตุจูงใจการศึกษาในสารนิพนธ์ฉบับนี้ ในการศึกษาปัญหาประเภทเศษของเสียจากอุตสาหกรรมเพื่อดำเนินการลดมวลอุตสาหกรรม ผลพลอยได้คือนำพลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเผามาผลิตกระแสไฟฟ้า สารนิพนธ์นี้ เลือกศึกษาเทคโนโลยีระบบกังหันไอน้ำที่มีความสามารถเผาใหม่ได้สมบูรณ์มาเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าการลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งมีเงินลงทุนที่สูง ดังนั้น สารนิพนธ์นี้ มุ่งเน้นศึกษาปัจจัยของความเสี่ยงในการลงทุนในโครงการที่เหมาะสมกับระบบเทคโนโลยีดังกล่าวต่อไป จากผลการศึกษาจากการประมาณต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการโดยงบกระแสเงินสดนั้น สามารถประเมินความคุ้มค่าของโครงการ และทุกหลักเกณฑ์ได้ทำการคิดลดให้กระแสเงินสดเป็นมูลค่าปัจจุบัน โดยกำหนดอัตราส่วนลดที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความเสี่ยงของการลงทุนด้วยต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ร้อยละ 10.38 ซึ่งสามารถคำนวณเกณฑ์การตัดสินใจทางด้านการเงินได้คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (NPV) มีค่าเท่ากับ 204,687,625 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) มีค่าเท่ากับร้อยละ 16.71% และสำหรับการวิเคราะห์ความไว ถ้าราคาวัตถุดิบมีการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 15 โดยพิจารณาจากราคาซื้อวัตถุดิบในราคา 800 บาทต่อตัน โดยมีผลการตัดสินใจเมื่อนำมาพิจารณาในการตัดสินใจลงทุน พบว่า ค่า NPV ที่ได้มีค่ามากกว่าศูนย์ค่า และ IRR มีค่ามากกว่า WACC เพราะฉะนั้นการลงทุนในโครงการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์โดยใช้ไม้จากต้นยูคาลิปตัส เป็นเชื้อเพลิงหลักจึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน


การใช้พลังงานและแนวคิดการออกแบบอาคารที่พักฉุกเฉินแบบถอดประกอบได้, สรรชัย แสงตัน Jan 2020

การใช้พลังงานและแนวคิดการออกแบบอาคารที่พักฉุกเฉินแบบถอดประกอบได้, สรรชัย แสงตัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการการใช้พลังงานในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการการใช้พลังงานเฉลี่ย/คน/วัน ของผู้ประสบภัยพิบัติ โดยทำการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและออกแบบอาคารที่พักอาศัยสำเร็จรูปซึ่งติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์โดยสามารถผลิตพลังงานเพื่อรองรับผู้ประสบภัยพิบัติ 60 คน วัสดุที่ใช้ในระบบประกอบอาคารเป็นวัสดุที่มีค่าการนำความร้อนต่ำและใช้พัดลมในการระบายอากาศ ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณการใช้พลังงานต่อวันประมาณ 150 kWh เฉลี่ยการใช้พลังงาน 2.5 kWh/คน/วัน วัสดุประกอบอาคารใช้โฟมโพลียูรีเทนซึ่งมีค่าการนำความร้อนต่ำที่สุด คือ 0.024 W/m.K เมื่อเทียบกับวัสดุฉนวนชนิดอื่นๆ ใช้พัดลมขนาด 22 นิ้วในการระบายอากาศซึ่งมีอัตราการระบายอากาศในพื้นที่พักอาศัยชั่วคราว หรือ ห้องนอน 38,382 cfm และอัตราการระบายอากาศในห้องรับประทานอาหาร 102,353 cfm ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ASHRAE 62.1


ระยะเวลาบำรุงรักษาที่เหมาะสมสำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน, เชาวลิต คำสุข Jan 2020

ระยะเวลาบำรุงรักษาที่เหมาะสมสำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน, เชาวลิต คำสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน เนื่องจากประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศที่ลดลงส่วนใหญ่มาจากสิ่งสกปรกที่เกาะติดที่แผงคอยล์เย็น และแผงคอยล์ร้อน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศโดยรวมลดลง ดังนั้นการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศจะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มกลับคืนมาได้ในระดับหนึ่ง โดยประสิทธิภาพที่เพิ่มจะขึ้นอยู่กับความถี่ในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ได้มีการศึกษาและจัดเก็บข้อมูลจากการเดินเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนขนาดทำความเย็น 3.6 kW จำนวน 2 เครื่อง โดยมีการจัดเก็บข้อมูลในระยะเวลา 6 เดือน แยกประเภทการจัดเก็บข้อมูล เป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องปรับอากาศเครื่องที่ 1 ล้างทำความสะอาดแล้วทำการเก็บข้อมูลทุกๆ 1 เดือน เป็นระยะเวลา 6 ครั้งโดยไม่ทำความสะอาดเพื่อหาการเสื่อมประสิทธิภาพเนื่องจากความสกปรก และ 2) เครื่องปรับอากาศเครื่องที่ 2 ล้างทำความสะอาดทุกเดือนทำให้เครื่องสะอาดอยู่เสมอเพื่อใช้ปรับแก้พลังไฟฟ้าเนื่องจากอุณหภูมิภายนอกที่เปลี่ยนไป และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ ซึ่งขึ้นกับตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษาคือ อุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศ อุณหภูมิภายนอกห้อง ภาระทำความเย็น และความสกปรก การหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนนั้น คิดจากราคาค่าใช้จ่ายต่ำสุดซึ่งประกอบด้วยค่าทำความสะอาดและค่าพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความสกปรก จากการวิเคราะห์พบว่า อัตราการลดลงของประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คือ ร้อยละ 3.01 ต่อเดือน และระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คือ ทุกๆ ระยะเวลา 3 เดือน


แบบจำลองโครงสร้างต้นทุนโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลวกรณีศึกษาอำเภอทับสะแก, เศฏฐศิษฎ์ มุสิพรม Jan 2020

แบบจำลองโครงสร้างต้นทุนโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลวกรณีศึกษาอำเภอทับสะแก, เศฏฐศิษฎ์ มุสิพรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน ประเทศไทยทำกำลังจะประสบปัญหาความมั่นคงทางพลังงานในบริเวณภาคใต้ อ้างอิงตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 (PDP 2015) กระทรวงพลังงานจึงมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่เนื่องจากเกิดปัญหาด้านการยอมรับด้านมวลชนด้วยเหตุผลเรื่องภาพลักษณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเชื้อเพลิงถ่านหิน จึงทำให้โครงการต้องถูกเลื่อนและมีแนวโน้มยกเลิกในที่สุด โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลวนำเข้า โครงการประกอบด้วยโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ท่าเทียบเรือและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวในภาคใต้ การศึกษานี้สร้างแบบจำลองโครงสร้างต้นทุนโครงการ เพื่อสามารถนำไปใช้วิเคราะห์หาต้นทุนวงจรชีวิต และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนโครงการ แบบจำลองโครงสร้างต้นทุนของโครงการประกอบด้วย ต้นทุนการลงทุน ต้นทุนการดำเนินงานแบบคงที่และแบบผันแปรของโรงไฟฟ้า ท่าเทียบเรือและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว และต้นทุนการดำเนินงานการนำเข้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลว ผลการศึกษาจากการนำข้อมูลต่างๆ ทดสอบในแบบจำลองโครงสร้างต้นทุน ได้ว่าต้นทุนผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยเท่ากับ 2.99 บาท อายุทางเศรษฐกิจของโครงการมากกว่าอายุโครงการที่ 30 ปีจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยมากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว