Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations Research, Systems Engineering and Industrial Engineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 55

Full-Text Articles in Engineering

Transport Capacity Utilisation Improvement For Consumer Product Distribution, Krongmal Wichianbanjerd Jan 2017

Transport Capacity Utilisation Improvement For Consumer Product Distribution, Krongmal Wichianbanjerd

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, Thailand's economic is growing. Several companies study strategies that advice the firms to gain competitive advantages. One of widely used strategies, that aids the firms to reduce cost and utilises their resources to focus on the firms' core competencies, is outsourcing non-core activities (e.g. a transportation process). A transportation process is one of the non-core activities that requires to be managed appropriately. Therefore, a third-party logistics (3PL) provider that has expertise in the logistics process has been established, and provides service in the logistics management. In this research, a 3PL company is considered as a case study company. A …


การพยากรณ์การสึกหรอของเม็ดมีดในกระบวนการกลึงซีเอ็นซีโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต, ภทร ไชยวงค์ Jan 2017

การพยากรณ์การสึกหรอของเม็ดมีดในกระบวนการกลึงซีเอ็นซีโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต, ภทร ไชยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดการสึกหรอด้านข้างของเม็ดมีดกับอัตราส่วนแรงตัดพลวัตในกระบวนการกลึงเหล็กกล้าเกรด S45C โดยใช้เม็ดมีดคาร์ไบด์เคลือบผิวด้วยด้วยไททาเนียมคาร์บอนไนไตรด์กับอะลูมิเนียมออกไซด์ไทเทเนียมไนไตรด์ (TiCN+Al2O3TiN) การแปลงเวฟเล็ตถูกใช้สำหรับวิเคราะห์แรงตัดพลวัตเพื่อให้ได้สัญญาณแรงตัดอันเนื่องจากสึกหรอโดยคัดแยกสัญญาณรบกวนออก วิธีออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์เคนถูกเลือกสำหรับการออกแบบการทดลอง 4 ปัจจัย 3 ระดับ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ความเร็วตัด 150, 200 และ 250 m/min, อัตราการป้อนตัด 0.1, 0.2 และ 0.15 mm/rev ความลึกตัด 1, 1.2 และ 1.4 mm และรัศมีจมูกมีด 0.4, 0.8 และ 1.2 mm จากผลการทดลองพบว่า เงื่อนไขการตัดที่ทำให้อัตราการสึกหรอไวที่สุด ได้แก่ ความเร็วตัด 250 m/min อัตราการป้อนตัด 0.2 mm/rev ความลึกตัด 1.2 mm และรัศมีจมูกมีด 0.8 mm อัตราส่วนแรงตัดพลวัตมีความสัมพันธ์กับขนาดการสึกหรอด้านข้าง (Flank wear) ของเม็ดมีดอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนแรงตัดพลวัตลดลงเมื่อขนาดการสึกหรอเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าเงื่อนไขการตัดจะเปลี่ยนไปอย่างไร อัตราส่วนแรงตัดพลวัตยังคงมีแนวโน้มเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้เองอัตราส่วนแรงตัดพลวัตจึงถูกนำเสนอเพื่อใช้สำหรับพัฒนาสมการพยากรณ์ขนาดการสึกหรอของเม็ดมีดในรูปแบบฟังก์ชั่นเอกซ์โพเนนเชียลที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณถูกนำมาใช้เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด สมการพยากรณ์ขนาดการสึกหรอของเม็ดมีดที่ได้ให้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 86.45% และจากสัมประสิทธิ์ของปัจจัยแต่ละตัวทำให้ทราบว่า อัตราส่วนแรงตัดพลวัตมีอิทธิพลต่อขนาดการสึกหรอมากที่สุด รองลงมาคือ ความเร็วตัด อัตราการป้อนตัด ความลึกตัด และรัศมีจมูกมีดตามลำดับ นอกจากนี้สมการพยากรณ์ถูกตรวจสอบความแม่นยำพบว่า ให้ค่าความแม่นยำเท่ากับ 93.85%


ผลกระทบลักษณะกระเป๋าสะพายหลังและการจัดเรียงสิ่งของต่ออัตราการเต้นของหัวใจและท่าทางของร่างกายท่อนบน, อรรุจี แจ่มปฐม Jan 2017

ผลกระทบลักษณะกระเป๋าสะพายหลังและการจัดเรียงสิ่งของต่ออัตราการเต้นของหัวใจและท่าทางของร่างกายท่อนบน, อรรุจี แจ่มปฐม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาจากการเลือกใช้กระเป๋าสะพายหลัง นอกจากเรื่องของน้ำหนักที่บรรจุแล้ว ยังมีประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกและวิธีการใช้ เช่น ลักษณะของกระเป๋าสะพายหลังที่มีความหลากหลายเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน และการจัดเรียงสิ่งของที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาปัจจัยของกระเป๋าสะพายหลัง ได้แก่ ลักษณะของกระเป๋าและวิธีการจัดเรียงสิ่งของที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและท่าทาง โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 8 คน สะพายกระเป๋า 3 รูปแบบ ได้แก่ กระเป๋าสะพายหลังแบบทั่วไปที่ใช้วัสดุเป็นผ้า กระเป๋าแบบที่มีสายรัดอกและเอวและมีแผ่นรองหลัง กระเป๋าสะพายหลังแบบมีโครงสร้างที่แข็ง ที่บรรจุน้ำหนักร้อยละ 10 ของน้ำหนักผู้เข้าร่วมทดลอง และจัดเรียงสิ่งของให้จุดศูนย์ถ่วงของกระเป๋าอยู่ตำแหน่งที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ ด้านบน และด้านล่าง ศึกษากิจกรรม 2 รูปแบบ คือ เดินด้วยความเร็วปกติ และวิ่งช้าๆ บนสายพานปรับความเร็ว (Treadmill) ในห้องปฏิบัติการ โดยอัตราการเต้นของหัวใจของผู้เข้าร่วมการทดลองได้ถูกบันทึกตลอดเวลา พร้อมกับข้อมูลพิกัดการเคลื่อนที่ 3 มิติ ของร่างกายท่อนบนด้วยระบบบันทึกการเคลื่อนไหวด้วยภาพ OptiTrack™ ที่อัตรา 30 ภาพต่อวินาที เพื่อดูผลกระทบต่ออัตราการใช้พลังงาน อัตราการเปลี่ยนแปลงองศาของการโน้มตัวไปด้านหน้าในระนาบ Sagittal และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวในระนาบ Frontal จากการศึกษาพบว่าการสะพายกระเป๋าแบบที่มีสายรัดอกและเอวและมีแผ่นรองหลังส่งผลให้มีอัตราการใช้พลังงาน และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวต่ำที่สุดทั้งในขณะเดินและวิ่ง สำหรับการจัดเรียงสิ่งของนั้นพบว่าการจัดเรียงสิ่งของโดยให้จุดศูนย์ถ่วงของกระเป๋าอยู่ตำแหน่งด้านล่างของกระเป๋าส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการใช้พลังงาน และพื้นที่การแกว่งของกระเป๋าเทียบกับลำตัวต่ำที่สุดทั้งในขณะเดินและวิ่ง แต่ในขณะเดียวกันจัดเรียงสิ่งของโดยให้จุดศูนย์ถ่วงอยู่ตำแหน่งด้านล่างทำให้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงองศาการโน้มตัวไปด้านหน้าที่ต่ำกว่าในกรณีของการวิ่ง ซึ่งแตกต่างจากการเดินที่อัตราการเปลี่ยนแปลงองศาการโน้มตัวไปด้านหน้าที่จะสูงกว่า


การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค, ปฐมา จันตะคุณ Jan 2017

การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค, ปฐมา จันตะคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฉลากโภชนาการเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคมีความยากลำบากในการใช้งานฉลากโภชนาการ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค การศึกษานี้ได้ทำการทดสอบการใช้งานเชิงปริมาณพร้อมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึก โดยจะแบ่งผู้เข้าร่วมทดสอบในแต่ละระยะการทดสอบจำนวน 40 คน คือ การทดสอบก่อนการปรับปรุง และการทดสอบหลังการปรับปรุง ผู้เข้าร่วมทดสอบจะเป็นคนละกลุ่มกัน ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีระดับความฉลาดด้านสุขภาพสูง 10 คนและผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีระดับความฉลาดด้านสุขภาพต่ำ 30 คน เพื่อพิจารณาการเข้าถึงข้อมูลโภชนาการในแต่ละกลุ่มและแนวทางในการออกแบบฉลากโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้บริโภค โดยปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่าปัญหาหลักของผู้บริโภค คือ ไม่เข้าใจความหมายของหน่วยบริโภค และความสัมพันธ์ของข้อมูลโภชนาการรวมทั้งคำศัพท์เฉพาะ จึงทำการปรับปรุงฉลากโภชนาการโดยใช้ทฤษฎีหลักการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ทฤษฎีเกสตอลท์กับการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ในส่วนของ ความใกล้ชิด และความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน หลักการออกแบบส่วนติดต่อเชิงนิเวศ ทฤษฎีกลิ่นของข้อมูล การออกแบบรูปสัญลักษณ์และหลักการความสามารถในการใช้งานเพื่อช่วยในการจำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อเข้าใจรายละเอียดบนฉลากโภชนาการดีขึ้นและจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า (1) ด้านประสิทธิผล ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีสัดส่วนผลสำเร็จของงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 120.36 (2) ด้านประสิทธิภาพ ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีระยะเวลาในการพิจาณาลดลงร้อยละ 95.38 3) ด้านความพึงพอใจ สำหรับระดับความพึงพอใจหลังงานทดสอบ ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีความพึงพอใจหลังงานทดสอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.25 ส่วนความพึงพอใจหลังการทดสอบในด้านภาพรวมผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.96


การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร, อนุสิทธิ์ สายสมาน Jan 2017

การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร, อนุสิทธิ์ สายสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนภายในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต และหากมีการจัดการกระบวนการขนส่งที่ไม่ดีพอจะส่งผลต่อความสามารถในการส่งมอบชิ้นส่วน ต้นทุนจม ปัญหาคุณภาพ รวมถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลาที่ต้องการ และจากการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับ ปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนแต่มาจากความสูญเปล่าในกระบวนการ ในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนของโรงงานกรณีศึกษา พบว่ามีประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนจากสายการประ กอบย่อยไปสายการประกอบหลัก 83 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการใช้เครื่องมือกำจัดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS และนำระบบการผลิตแบบ Pull มาประยุกต์ใช้ โดยเปลี่ยนวิธีการขนส่งให้เป็น Milk run เพื่อให้การขนส่งชิ้นส่วน Synchronize กับความต้องการชิ้นส่วนของสายการประกอบหลัก และหลังการปรับปรุงทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนจากสายการประกอบย่อยไปสายการประกอบหลักสูงขึ้นเป็น 98 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการขนส่งได้ 540,000 บาทต่อปี


Conceptual Design Process Improvement For Drainage Systemusing Project Management, Wantanee Kongpanya Jan 2017

Conceptual Design Process Improvement For Drainage Systemusing Project Management, Wantanee Kongpanya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The major concern in the architecture, engineering, and construction (AEC) industry is time, cost, and quality. The design for industrial building project usually complex, particularly in a field of mechanical and piping process due to the large involvement of project stakeholders. The case company, which is the specialist supplier of industrial piping solution in Thailand, reported the issue of redesigns regarding to their poor project management of conceptual design process in construction project that effect to their work performance and customer satisfaction. Thus, the purpose of this study was to improve the process of conceptual design using project management concept …


Plastic Lump Defect Reduction In Recycled Plastic Pellets Manufacturing, Raroopthip Paiboonkasemsut Jan 2017

Plastic Lump Defect Reduction In Recycled Plastic Pellets Manufacturing, Raroopthip Paiboonkasemsut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Based on the current situation, the case study company has been confronted with a large number of plastic lump defects within the process resulting in a higher production cost. Therefore, the purpose of carrying out this research project is to minimise the percentage defect rate of plastic lumps in the pelletising process by implementing Six Sigma DMAIC methodology along with quality control tools and Design of Experiment. In define phase, the process improvement team are formed and the purpose and scope of the research are set. For measure phase, Cause and Effect Diagram, Cause and Effect Matrix, Failure Mode Effects …


การพัฒนาตัวแบบการส่งน้ำประปาเพื่อลดค่าไฟฟ้า, เฉลิมรัช นิรมาน Jan 2017

การพัฒนาตัวแบบการส่งน้ำประปาเพื่อลดค่าไฟฟ้า, เฉลิมรัช นิรมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการผลิตและส่งน้ำประปาให้ผู้ใช้น้ำของการประปานครหลวงแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการผลิตน้ำ และขั้นตอนการสูบส่งและจ่ายน้ำ โดยมีร้อยละ 70 ของค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในการผลิตและส่งน้ำเกิดจากขั้นตอนการสูบส่งและจ่ายน้ำ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อค่าไฟฟ้ามี 2 ปัจจัย แบ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้คือรูปแบบการคิดค่าไฟฟ้า ปริมาณความต้องการใช้น้ำ และแรงดันน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับการไฟฟ้านครหลวงและผู้ใช้น้ำ ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้คือระดับน้ำในถังเก็บน้ำของสถานีสูบจ่ายน้ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาค่าระดับน้ำในถังเก็บน้ำของแต่ละสถานีสูบจ่ายน้ำประปาและหาแนวทางการควบคุมระดับน้ำเพื่อลดค่าไฟฟ้าในกระบวนการสูบส่งและสูบจ่ายน้ำ โดยการประยุกต์ใช้วิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างร่วมกับแบบจำลองทางชลศาสตร์ EPANET 2.0 จากโครงข่ายอุโมงค์ส่งน้ำของการประปานครหลวง โดยมีขั้นตอนการหาคำตอบค่าระดับน้ำ 2 ขั้นตอนคือ หาคำตอบระดับน้ำที่สามารถลดค่าไฟฟ้าได้เบื้องต้นซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นค่าระดับน้ำเป้าหมายในแต่ละชั่วโมงเป็นเวลา 10 วัน จากนั้นจึงนำผลลัพธ์นี้ไปใช้ในขั้นตอนที่สองเพื่อปรับค่าระดับน้ำโดยรวมของสถานีสูบจ่ายน้ำให้สูงขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมมีค่าลดลง จากผลการศึกษาพบว่าสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 17,000 บาทต่อวัน หรือประมาณ 6,000,000 บาทต่อปี


การจัดตารางการทำงานของพนักงานศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้เทคนิคการแยกส่วนปัญหา, เนตรนาวี อ่ำอินทร์ Jan 2017

การจัดตารางการทำงานของพนักงานศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้เทคนิคการแยกส่วนปัญหา, เนตรนาวี อ่ำอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดตารางการทำงานของพนักงานโดยการมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างานเพื่อให้มีต้นทุนในการจ้างพนักงานต่ำที่สุด การมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างานนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการทำงานต่างๆ เช่น ระยะเวลาในการทำงาน เวลาในการหยุดพัก เป็นต้น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ถูกนำมาใช้ในการหาคำตอบของปัญหา แต่เนื่องจากความซับซ้อนของปัญหาส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการหาคำตอบเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อขนาดของปัญหาใหญ่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการแบ่งปัญหาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การหาจำนวนพนักงานที่ต้องการในแต่ละรูปแบบการเข้างานให้เพียงพอต่อความต้องการใน 1 เดือนโดยความต้องการพนักงานนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานที่ต้องการในแต่ละช่วงเวลา ปัญหาส่วนที่ 2 คือการมอบหมายพนักงานลงรอบการเข้างาน และปัญหาส่วนที่ 3 คือการมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างาน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการที่นำเสนอให้ค่าวัตถุประสงค์ซึ่งได้แก่ต้นทุนการทำงานล่วงเวลาและค่าเดินทางของพนักงานที่น้อยกว่าวิธีการปัจจุบันของธนาคารในทุกตัวอย่างปัญหา โดยค่าวัตถุประสงค์รวมของทุกปัญหาลดลง 176,783 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างค่าวัตถุประสงค์ของทุกปัญหาที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวิธีการปัจจุบันของธนาคารต่างกันร้อยละ 25.97 การเพิ่มจำนวนกะการทำงานจาก 18 กะงานเป็น 25 กะงานส่งผลให้ค่าวัตถุประสงค์รวมของทุกปัญหาลดลง 50,295 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างค่าวัตถุประสงค์ของก่อนและหลังการเพิ่มจำนวนกะการทำงานของพนักงานต่างกันร้อยละ 9.93 การเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้สามารถบริการลูกค้าได้มากกว่าหนึ่งงานหรือมีหลายทักษะงานส่งผลให้ต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการจ้างพนักงานลดลงและสามารถลดจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานลงด้วยเนื่องจากพนักงานหลายทักษะสามารถให้บริการงานแก่ลูกค้าได้หลายงานในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้การเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้ค่าวัตถุประสงค์ที่ดีกว่าการแยกงานของพนักงานร้อยละ 63.71 หรือ 581,363 บาทต่อเดือน


การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, กฤษฎา โพธิ์นิ่มแดง Jan 2017

การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, กฤษฎา โพธิ์นิ่มแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) เป็นการดูแลผู้ป่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยอาศัยการทำงานระหว่างเครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อกระจายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์ไปยังหน่วยเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ โดยจากการศึกษาเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชลบุรี พบว่าการส่งข้อมูลในระบบทั้งในแง่การไหลของข้อมูลและระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานยังไม่สามารถทำให้เครือข่ายสถานพยาบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพบปัญหาได้จากการส่งข้อมูลล่าช้าจากบุคลากรเครือข่ายอันส่งผลให้การออกเยี่ยมบ้านครั้งแรกหลังจำหน่ายของผู้ป่วยมีความล่าช้าเกินกว่ามาตรฐานที่สถานพยาบาลกำหนด รวมไปถึงขาดความสามารถในการติดตามการออกเยี่ยมผู้ป่วยที่ส่งตัวในระบบ และยังมีระบบการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้านที่ชื่อว่า ChonburiCare เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาข้างต้นได้ ผลจากการพัฒนาพบว่า ChonburiCare สามารถทำให้การส่งข้อมูลผู้ป่วยในระบบรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสามารถทำให้บุคลากรในเครือข่ายสามารถติดตามการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น และบันทึกข้อมูลภายในระบบได้อย่างสะดวกและครบถ้วนยิ่งขึ้น


ผลกระทบของระยะเวลาในการนอนหลับต่อความสามารถในการทรงตัวของเพศชายในวัยทำงาน, คณิน คล้ายทับทิม Jan 2017

ผลกระทบของระยะเวลาในการนอนหลับต่อความสามารถในการทรงตัวของเพศชายในวัยทำงาน, คณิน คล้ายทับทิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สาเหตุหนึ่งของปัญหาด้านความปลอดภัยและคุณภาพในการทำงานของมนุษย์นั้น คือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจจับความพร้อมของพนักงาน (บุคคล) ก่อนเริ่มต้นการทำงานนั้น ยังไม่สามารถตรวจจับความไม่พร้อมอันเนื่องมาจากการนอนน้อยได้ แต่เนื่องจากระยะเวลาในการนอนหลับจะส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวของมนุษย์ จึงได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทรงตัวในท่ายืนตรงกับระยะเวลาของการนอนหลับ โดยอาศัยวีอ์บาลานซ์บอร์ด (Wii Balance Board) เพื่อตรวจวัดตำแหน่งของจุดศูนย์กลางความดัน (COP) ในท่ายืน ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นอาสาสมัคร 6 คนจากพนักงานในฝ่ายผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เข้าร่วมการทดสอบสมรรถนะในการทรงตัว 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดสอบเชิงคลินิกดัดแปลงเพื่อทดสอบปฏิสัมพันธ์ของการรับรู้ความรู้สึกในการทรงตัว (mCTSIB) และวิธีการประเมินสมรรถนะแบบฟิตส์ (Fitts' Performance Test) ระยะเวลาในการนอนหลับของผู้เข้าร่วมถูกบันทึกด้วยแบบสอบถามการนอนหลับร่วมกับการวัดด้วยเครื่องติดตามกิจกรรมแบบสายรัดข้อมือ (Activity tracker) เพื่อบันทึกระยะเวลาในการนอนหลับ ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาในการนอนหลับมีผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัวที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับทั้ง 2 วิธีการทดสอบ โดยพบว่าตัวชี้วัดพื้นที่สนับสนุนการทรงตัว (SS) และค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางความดัน (SL) จากวิธีทดสอบแบบ mCTSIB มีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองมีระยะเวลาในการนอนหลับที่ลดลง โดยตรวจพบความเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการนอนหลับ 6 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับวิธีทดสอบสมรรถนะแบบ Fitts พบว่าตัวชี้วัดดัชนีสมรรถนะ (IP) ของผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีการนอนหลับที่ 6 ชั่วโมงต่อวัน จะมีค่าลดลงจนตรวจพบความเปลี่ยนแปลงได้ สรุปได้ว่าระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ( 6 ชั่วโมงต่อวันหรือน้อยกว่า) จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการวัดความสามารถในการทรงตัวสามารถนำมาใช้ทดสอบความพร้อมของบุคคลก่อนการเริ่มทำงาน เพื่อตรวจจับความผิดปกติของการทรงตัวอันเนื่องมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออันอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน


การลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, กุศลิน กิจพงษ์นิกร Jan 2017

การลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, กุศลิน กิจพงษ์นิกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อลดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยมุ่งเน้นลดของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบางในแนวขวางเครื่องจักร งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดซิกซ์ ซิกมา เริ่มจาก 1) ระยะนิยามปัญหา ซึ่งพบว่าของเสียจากการผลิตในกระบวนการเป่าฟิล์มประเภทเจล ยับ และหนาบางมีสัดส่วนที่สูง สำหรับการผลิตถุงพลาสติกขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร และ 40 x 24 นิ้ว มีสัดส่วนของเสียประเภทเจล ยับ และหนาบาง ร้อยละ 11.03 1.26 และ 3.60 ของปริมาณการผลิต ตามลำดับ 2) ระยะการวัด ทำการประเมินระบบการตรวจสอบพบว่ามีความแม่นและเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ 3) ระยะการหาสาเหตุของปัญหา ในขั้นแรกทำการระดมสมองโดยใช้แผนผังก้างปลาพบว่ามี 22 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบาง จากนั้นนำไปคัดกรองด้วยแผนผังแสดงสาเหตุและผล ทำให้เหลือเพียง 9 ปัจจัย ที่นำไปศึกษาต่อ 4) ระยะการปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินการปรับปรุง 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 4.1) การออกแบบการทดลองโดยใช้วิธีพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลาง เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยด้วยวิธีการทางสถิติ และหาค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ได้แก่ อุณหภูมิกระบอกสูบส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนกลาง 212 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนท้าย 217 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 220 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 °C และความเร็วมอเตอร์ขับสกรู 50 kW สำหรับขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร ได้แก่ อุณหภมิกระบอกส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 224 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 …


การปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินสำหรับทำไส้แบบกลวง, จักรพันธ์ จริยาจิรวัฒนา Jan 2017

การปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินสำหรับทำไส้แบบกลวง, จักรพันธ์ จริยาจิรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินที่ใช้ในกระบวนการผลิตไส้แบบกลวง โดยวิธีการหาค่าการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมของปัจจัยที่อยู่ภายในกระบวนการผสม ซึ่งคุณสมบัติที่ตรวจสอบจะประกอบไปด้วยคุณสมบัติทั้งแปดดังนี้คือ ความทนแรงดัดโค้ง ปริมาณการสูญเสียหลังการเผา อุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเริ่มเซตตัว แก๊ส การขยายตัวทางความร้อน ความโก่งงอของชิ้นงาน พีลแบค และความหนาของผนัง งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์หาปัจจัยนำเข้าโดยอาศัยเมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย จากนั้นจึงใช้การออกแบบพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลางชนิด Face-Centered (CCF) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยที่ศึกษา ที่ส่งผลกระทบต่อค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินทั้งแปดคุณสมบัติ จากนั้นสร้างสมการความพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญกับตัวแปรตอบสนองโดยอาศัยเทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอนชนิดวิธีลดตัวแปรอิสระ จากนั้นจึงหาค่าการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสม ซึ่งได้สภาวะที่เหมาะสมของปัจจัยในขั้นตอนการผสมคือ อุณหภูมิของวัตถุดิบตั้งต้นเท่ากับ 120 ºC เวลาในการปล่อยตัวประสานเท่ากับ 4 วินาที เวลาในการปล่อยสารละลายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงเท่ากับ 45 วินาที เวลาในการเริ่มเปิดระบบระบายความร้อนด้วยอากาศเท่ากับ 8 วินาที ระยะเวลาในการระบายความร้อนด้วยอากาศเท่ากับ 100 วินาที และเวลาในการปล่อยสารที่ช่วยให้ทรายไหลตัวเท่ากับ 9 วินาที หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลที่ได้จากค่าการปรับตั้งเครื่องจักรใหม่ พร้อมทั้งจัดทำแผนควบคุม วิธีการปฏิบัติงาน และใบตรวจสอบ เพื่อใช้ในการควบคุมปัจจัยในกระบวนการผสมและค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินให้อยู่ในเกณฑ์การยอมรับที่ทางโรงงานกำหนดไว้ ผลการปรับปรุงที่ได้จะใช้ค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการ (Cpk) เป็นตัวเปรียบเทียบค่าคุณสมบัติก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง โดยพบว่าค่า Cpk ของความทนแรงดัดโค้งมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.69 เป็น 0.54 ค่า Cpk ของปริมาณการสูญเสียหลังการเผามีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.01 เป็น 1.12 ค่า Cpk ของอุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเริ่มเซตตัวมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.78 เป็น 1.18 ค่า Cpk ของแก๊สมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.38 เป็น 1.29 ค่า Cpk ของการขยายตัวทางความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.53 เป็น 0.54 ค่า Cpk ของความโก่งงอของชิ้นงานมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.28 เป็น 0.01 ค่า Cpk ของพีลแบคมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.06 เป็น 0.26 และค่า Cpk ของความหนาของผนังมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.07 เป็น 0.75 นอกจากนี้ยังช่วยให้ทางโรงงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เท่ากับ 236,058.91 บาทต่อปี


การออกแบบจำนวนคัมบังที่ใช้ในกระบวนการประกอบลิ้นชักหน้า, ชลธิชา ลิ้มพยานาค Jan 2017

การออกแบบจำนวนคัมบังที่ใช้ในกระบวนการประกอบลิ้นชักหน้า, ชลธิชา ลิ้มพยานาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลายทศวรรษแล้วที่การผลิตแบบ JIT (Justin Time) ได้นำระบบคัมบังมาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมสินค้าคงคลังและการผลิต ในเงื่อนไขที่เหมาะสมกระบวนการผลิตควรมีปริมาณผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอ ขนาดการผลิตเล็กๆ และใช้เวลาปรับตั้งเครื่องน้อย เงื่อนไขที่กล่าวข้างต้นเป็นไปได้ยากแม้แต่ในการสายการประกอบรถยนต์ดังกรณีศึกษา กรณีศึกษานี้เป็นสายการประกอบลิ้นชักหน้ารถยนต์ซึ่งเป็นการประกอบชิ้นส่วนพลาสติก 2 ชิ้นส่วนเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมแบบสั่นสะเทือนหลังจากวางชิ้นงานลงในแม่พิมพ์ เนื่องจากอุปกรณ์จัดเก็บลิ้นชักหน้าในปัจจุบัน ทำให้ใบคัมบังแต่ละใบหมายถึงชิ้นงานจำนวน 60 อย่างไรก็ดีหัวหน้าแผนกผลิตไม่สนใจลำดับของคัมบังที่ได้รับมาและพยายามปรับลำดับการผลิตใหม่เพื่อลดจำนวนครั้งการเปลี่ยนแม่พิมพ์โดยพิจารณา 3 ปัจจัยได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับคัมบัง ส่วนต่างของจำนวนคัมบัง และแม่พิมพ์ที่ใช้งานอยู่ การจัดลำดับการผลิตด้วยตนเองทำให้เกิดการตามงานและผลิตเร่งด่วนซึ่งรบกวนการผลิต ดังนั้นเป้าหมายของงานวิจัยนี้คือออกแบบจำนวนคัมบังที่เหมาะสมระหว่างหน่วยงานประกอบลิ้นชักหน้าและแผนกคลังสินค้าและนำเสนอกระบวนการปรับลำดับการผลิตโดยอาศัยปัจจัยที่กล่าวมาร่วมกับขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ หลังจากที่ได้วิเคราะห์และประยุกต์ข้อมูลในอดีตลงในแบบจำลองแล้ว ผลของแบบจำลองสถานการณ์แสดงว่า ส่วนต่างของจำนวนคัมบัง ไม่มีผลต่อรอบเวลาการผลิตและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่รับคัมบังและขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บมีผลต่อดัชนีชี้วัดทั้งสองคือเวลาเฉลี่ยที่คัมบังอยู่ในระบบและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ ผลดังกล่าวนำไปสู่ข้อแนะนำให้ปรับขนาดการผลิตถ้าโรงงงานกรณีศึกษาตัดสินใจเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บ


การลดของเสียในการพิมพ์ธนบัตร, ประคอง คำนวนดี Jan 2017

การลดของเสียในการพิมพ์ธนบัตร, ประคอง คำนวนดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตธนบัตรโดยการลดของเสียหลัก 2 ชนิดคือ หมึกส่วนเกิน และการเกิดซับหลัง โดยเริ่มศึกษาจากกระบวนการผลิตหมึกพิมพ์ และกระบวนการพิมพ์เส้นนูนในสภาพปัจจุบันแล้วทำการค้นหาสาเหตุที่สำคัญที่จะทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้น สำหรับการวิเคราะห์นี้ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบด้านกระบวนการ (Failure Mode and Effect Analysis : FMEA) ในการหาสาเหตุของข้อบกพร่อง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญของแต่ละแผนกทำการวิเคราะห์และประเมินเพื่อคำนวณค่าลำดับคะแนนความเสี่ยง (Risk Priority Number : RPN) เพื่อจัดอันดับความสำคัญสำหรับการคัดเลือกกระบวนการผลิตที่ต้องปรับปรุง ในการวิจัยจะเลือกการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่มีค่าลำดับคะแนนความเสี่ยงมากว่า 60 ขึ้นไป โดยภายหลังจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยนำเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการมาใช้ พบว่าสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ดีขึ้นหมึกส่วนเกินของเสียลดลงจากเดิม 77% และการเกิดซับหลังลดลงจากเดิม 59%


การลดของเสียในกระบวนการเคลือบสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์, ปิยะวรรณ สิงหะภูกาม Jan 2017

การลดของเสียในกระบวนการเคลือบสำหรับการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์, ปิยะวรรณ สิงหะภูกาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียและระยะเวลาการทำงานในกระบวนการเคลือบผิวแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานกรณีศึกษา โดยศึกษาลักษณะผลิตภัณฑ์และกระบวนการเคลือบผิว ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพผิวเคลือบ ได้แก่ ความดันในหัวพ่น (P) ที 1.5 และ 2.5 KPa ระยะห่างระหว่างหัวพ่นถึงพื้นผิวของแผงวงจร (H) ที่ 2 4 6 และ 8 ซม. และความเร็วในการเคลื่อนที่ของหัวพ่น (V) ที่ 0 10 15 20 และ 25 ซม./วินาที ตามลำดับ ตรวจวัดความหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง และสภาพผิวเคลือบ เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการศึกษา ได้แก่ (1) ร้อยละของของดีในครั้งแรก (First Time Yield; FTY) ที่ผ่านกระบวนการเคลือบผิว (2) เวลาที่ใช้ในการพ่นเคลือบผิวเฉลี่ยต่อแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) เวลารวมในกระบวนการเคลือบผิว ผลการศึกษาพบว่า (1) ความดัน (P) ที่ 2.5 KPa ความสูง (H) 2 ซม. และความเร็ว (V) 15 ซม./วินาที จะให้คุณภาพผิวเคลือบสม่ำเสมอมากที่สุด และให้ความหนาผิวเคลือบเท่ากับ 54.06 ไมโครเมตร แต่จะให้รอบเวลาในการพ่นช้าที่สุดเท่ากับ 64.33 วินาที/แผงวงจร (2) การเพิ่มความสูง (H) ที่ 4 ซม. และความเร็ว (V) ที่ 15 ซม./วินาที ขณะที่ความดัน (P) คงเดิมที่ 2.5 KPa จะให้ความหนาผิวเคลือบเท่ากับ 47.84 ไมโครเมตรซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เพราะมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆซึ่งมีค่าระหว่าง 0.2 ถึง 2.5 ซม. และอยู่ในข้อกำหนดความหนาผิว 50 ±20 ไมโครเมตร โดยให้รอบเวลาในการพ่นลดลงเป็น 57.33 …


อิทธิพลของสัดส่วนอลูมิเนียมหลอมซ้ำที่มีต่อการเกิดของเสียประเภทสิ่งปลอมปนในกระบวนการฉีดหล่อแรงดันสูง, พหล วรดิลกกุล Jan 2017

อิทธิพลของสัดส่วนอลูมิเนียมหลอมซ้ำที่มีต่อการเกิดของเสียประเภทสิ่งปลอมปนในกระบวนการฉีดหล่อแรงดันสูง, พหล วรดิลกกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสัดส่วนผสมของวัตถุดิบอลูมิเนียมใหม่ วัตถุดิบอลูมิเนียมหลอมซ้ำที่ผ่านกระบวนการภายนอก (R1) กับ วัตถุดิบอลูมิเนียมหลอมซ้ำที่ผ่านกระบวนการฉีดหล่อภายใน (R2) ที่มีต่อคุณภาพน้ำอลูมิเนียม และชิ้นงานฉีดหล่อ โดยดำเนินการดังนี้ 1) ศึกษาสัดส่วนผสมที่ R1 เท่ากับ 0, 100 และ 200 ส่วนต่อร้อยส่วนอลูมิเนียมใหม่ (Per hundred ingot ; phi) และ R2 เท่ากับ 100, 150 และ 200 phi 2) ทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพของน้ำอลูมิเนียม ได้แก่ การตรวจสอบค่าเคโมลด์ (K) องค์ประกอบธาตุแมกนีเซียม (Mg) แก๊สไฮโดรเจน (H2) 3) นำน้ำอลูมิเนียมมาขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีดหล่อแรงดันสูง และ 4) ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ของเสียประเภทสิ่งปลอมปนที่เกท (%IC) จำนวนจุดของสิ่งปลอมปนที่เกท (IC) เปอร์เซ็นต์ของเสียประเภทโพรงอากาศที่เกท (%BH) และจำนวนจุดโพรงอากาศที่เกท (BH) ผลจากการศึกษาพบว่า 1) อิทธิพลของปัจจัยหลัก R1 และ R2 ที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อค่าเคโมลด์ (K) เปอร์เซ็นต์ของเสียประเภทสิ่งปลอมปนที่เกท (%IC) เปอร์เซ็นต์ของเสียประเภทโพรงอากาศที่เกท (%BH) จำนวนจุดสิ่งปลอมปนที่เกท (IC) จำนวนจุดโพรงอากาศที่เกท (BH) เพิ่มขึ้น แต่มีเพียงแก๊สไฮโดรเจน (H2) ที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของปัจจัยหลัก R1 ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น 2) ค่าเคโมลด์ (K) มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์ของเสียประเภทสิ่งปลอมปนที่เกท (%IC) และจำนวนจุดสิ่งปลอมปนที่เกท (IC) 3) แก๊สไฮโดรเจนมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์ของเสียประเภทโพรงอากาศที่เกท (%BH) และจำนวนจุดโพรงอากาศที่เกท (BH) และ 4) เงื่อนไขการผสมที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือ R1=0 phi, R2=100 phi ให้ค่าเคโมลด์ (K) 0.45 คะแนน, แก๊สไฮโดรเจน (H2) 0.11 …


การจัดลำดับการผลิตรถยนต์แบบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้าน, ตรัยรัตน์ เกิดโภคทรัพย์ Jan 2017

การจัดลำดับการผลิตรถยนต์แบบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้าน, ตรัยรัตน์ เกิดโภคทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดลำดับการผลิตรถยนต์แบบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้าน เป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมาก โดยปัญหานี้ จัดเป็นปัญหาแบบมากวัตถุประสงค์ (Many-Objective Optimization Problems: MaOPs) ที่มีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน และมีรูปแบบของคำตอบที่เป็นไปได้จำนวนมาก เรียกว่าปัญหาลักษณะนี้ว่า ปัญหาประเภทเอ็นพียาก (Non-deterministic Polynomial Hard: NP-Hard) วิธีการวิวัฒนาการแบบปรับตัวโดยใช้ผลต่างสำหรับปัญหาหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (An Adaptive Multi-Objective Evolutionary Algorithm based on Decomposition hybridised with Differential Evolution: AMOEA/D-DE) เป็นเมตาฮิวริสติกเชิงวิวัฒนาการแบบปรับตัว ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนามาเพื่อแก้ปัญหาแบบมากวัตถุประสงค์ โดยมีแนวคิดในการค้นหาคำตอบด้วยการจำแนกปัญหาออกเป็นปัญหาย่อยเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดของปัญหาย่อยนั้น ๆ และสามารถเรียนรู้ทิศทางของคำตอบที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีและไม่ดีได้ งานวิจัยนี้ จึงเสนอ AMOEA/D-DE มาเปรียบเทียบกับอัลกอริทึม MODE, MODE/D และ MOEA/D ในการแก้ปัญหาการจัดลำดับการผลิตรถยนต์แบบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบสองด้าน โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์ที่ถูกประเมินพร้อมกัน 6 ฟังก์ชัน ได้แก่ จำนวนครั้งการเปลี่ยนแปลงสีน้อยที่สุด ปริมาณงานที่ทำไม่เสร็จในการผลิตน้อยที่สุด เวลารอคอยงานรวมในการผลิตน้อยที่สุด จำนวนรถยนต์ที่ละเมิดรวมน้อยที่สุด ความแปรผันรวมของสัดส่วนการผลิตน้อยที่สุด และความแปรผันรวมของการใช้ชิ้นส่วนในการประกอบน้อยที่สุด ผลจากการทดลองพบว่า AMOEA/D-DE มีสมรรถนะด้านการลู่เข้าของคำตอบ ด้านการลู่เข้าและความหลากหลายของคำตอบ และด้านปริมาณคำตอบดีกว่าอัลกอริทึมอื่น ๆ อย่างชัดเจนในปัญหาขนาดกลางขึ้นไป ส่วนด้านเวลาการดำเนินงานของ AMOEA/D-DE มีสมรรถนะที่ไม่แตกต่างจากอัลกอริทึมอื่น ๆ มาก โดยมีเวลาดำเนินงานมากเป็นอันดับที่ 2 จาก 4 อัลกอริทึม รองจาก MODE


การประเมินสมรรถนะในการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้เขียนของนักเรียนรอบเหมืองแร่ทองคำโดยใช้หลักการของฟิตส์และสเตียริง, ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์ Jan 2017

การประเมินสมรรถนะในการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้เขียนของนักเรียนรอบเหมืองแร่ทองคำโดยใช้หลักการของฟิตส์และสเตียริง, ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กระดับประถมศึกษา เมื่อเด็กนักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อมส่งผลให้พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กหยุดชะงักลงได้ จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียสมรรถนะกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้ในการเขียนด้วยปากกาดิจิตอลบนแท็บเล็ตของนักเรียนอายุ 9-12 ปี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบเหมืองทองคำ จำนวน 116 คน และที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 68 คน ตามแนวทางมาตรฐาน ISO 9241-9 ทำการวิจัยการทำงานตามกฎของฟิตส์สำหรับงานแตะและสเตียริงสำหรับงานลาก จากผลการวิจัยพบว่าค่าสมรรถนะเฉลี่ยของงานลากของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครสอดคล้องตามพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันค่าสมรรถนะเฉลี่ยของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบเหมืองทองคำการทำงานแตะและลากไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก จากค่าสถิติยังพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของดัชนีความยากของงานทั้ง 3 ดัชนี ของนักเรียนทั้งการทำงานแตะและลากสามารถแสดงถึงความผิดปกติของสมรรถนะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการเขียนเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ทำการแบ่งกลุ่มนักเรียนจากระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของดัชนีความยากของงานต่ำกับค่าสมรรถนะของนักเรียน พบว่าเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของระดับดัชนีความยากของงานสูงและค่าสมรรถนะสำหรับการทำงานลากของนักเรียนบางกลุ่มสามารถใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ของปริมาณสารเคมีที่สะสมในร่างกายได้


การปรับปรุงกระบวนการอัดรีดท่อพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบ, ศรัณย์พัชร สุวรรณโชติ Jan 2017

การปรับปรุงกระบวนการอัดรีดท่อพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบ, ศรัณย์พัชร สุวรรณโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีปรับปรุงกระบวนการอัดรีดท่อพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกซ์ม่าเพื่อค้นหาต้นตอของปัญหา ซึ่งทำการทดลองที่ผลิตภัณฑ์ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร ที่ชั้นคุณภาพ 8.5 โดยปัจจุบันพบว่ามีน้ำหนักเกินจากมาตรฐาน มากถึง 25% จากค่าน้ำหนักมาตรฐาน 10.496 กิโลกรัม คิดเป็นความสูญเสีย 0.28 ล้านบาทต่อปี จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่มีผลต่อน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ คือปัจจัยการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์ของกระบวนการอัดรีด ที่ไม่เหมาะสม จึงทำการทดลองเพื่อหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสม โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ บ็อกซ์-เบห์นเคน ร่วมกับหลักการพื้นผิวผลตอบสนอง โดยมีปัจจัยที่ส่งผล 5 ปัจจัย คือ อุณหภูมิหัวแม่พิมพ์ อุณหภูมิท้ายแม่พิมพ์ ความเร็วรอบสกรู ความดันสุญญากาศ และความเร็วเครื่องลาก โดยค่าเหมาะสมที่ได้จากการทดลองคือ อุณหภูมิหัวแม่พิมพ์ 165 องศาเซลเซียส อุณหภูมิท้ายแม่พิมพ์ 180 องศาเซลเซียส ความเร็วรอบสกรู 22 รอบต่อนาที ความดันสุญญากาศ 450 มิลลิบาร์ และความเร็วเครื่องลาก 3,100 มิลลิเมตรต่อนาที น้ำหนักหลังการปรับปรุงลดลงเหลือ 10.26 กิโลกรัมต่อท่อน และอยู่ในช่วงยอมรับได้ ทำให้ต้นทุนลดลง 0.94 ล้านบาทต่อปี


การเปรียบเทียบประสิทธิผลของผู้เรียนในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมที่แตกต่างกันตามกลยุทธ์มิติสัมพันธ์, สกุลพร พรพนม Jan 2017

การเปรียบเทียบประสิทธิผลของผู้เรียนในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมที่แตกต่างกันตามกลยุทธ์มิติสัมพันธ์, สกุลพร พรพนม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถในการรับรู้ และจัดการการรับรู้ภายในใจได้อย่างแม่นยำ ซึ่งนักวิจัยหลายท่านให้ความสนใจในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการสอนเพื่อช่วยในการพัฒนาแต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ให้ความสนใจกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวิจัยนี้คือ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนที่มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ที่แตกต่างกันผ่านรูปแบบการอบรมตามกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการค้นหากลยุทธ์ในการแก้ปัญหาของผู้เรียน (กลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบองค์รวม กลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบวิเคราะห์ และกลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบระหว่างกลาง) พร้อมทั้งทำการแบ่งระดับความสามารถ (ต่ำและสูง) ก่อนการอบรม จากนั้นทำการอบรมตามรูปแบบการสอนที่พิจารณาถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา และประเมินผลหลังการอบรม ผลการทดสอบของหลังการอบรม มีความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านของกลยุทธ์การแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ซึ่งส่งผลต่อการความสามารถในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ (PSVT และ MRT) ซึ่งผู้เรียนที่มีระดับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงที่ใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาแบบระหว่างกลางในห้องอบรมแบบวิเคราะห์มีคะแนนจากแบบทดสอบ MRT สูงกว่าผู้เรียนในห้องอบรมแบบองค์รวม จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้เรียนที่มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาแบบระหว่างกลางสามารถสลับกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Gluck and Fitting (2003) อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี หรือใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้ออกแบบข้อมูลตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านของกระบวนการคิด และผลการทดลองจึงสรุปได้ว่าเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ควรออกแบบเครื่องมือ หรือรูปแบบการสอนโดยคำนึงถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงสิ่งนั้นๆได้อย่างลึกซึ้ง


การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยใช้เครื่องติดตามการมองเห็น, สันติ ฤทธิรอน Jan 2017

การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยใช้เครื่องติดตามการมองเห็น, สันติ ฤทธิรอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นสารสนเทศผ่านระบบห้องสมุด จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า เว็บไซต์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันใช้งานยาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยใช้เครื่องติดตามการมองเห็น ทำการทดสอบความสามารถในการใช้งานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยงานทดสอบ 7 งาน โดยการปรับปรุงและวัดผลการปรับปรุงส่วนติดต่อผู้ใช้งาน การวิจัยนี้ใช้พื้นฐานของกระบวนการรับรู้ของมนุษย์ สำหรับการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้งานเว็บไซต์ ปัญหาที่พบจากการทดสอบจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า มีการใช้คำเฉพาะที่ผู้ใช้งานไม่เข้าใจ ฟังก์ชั่นมีการใช้งานที่ซ้ำซ้อน และการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บไม่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้เข้าร่วมการทดสอบเกิดความสับสนในขณะทำงานทดสอบ หลังจากทำการปรับปรุงเว็บไซต์ และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่า (1) ด้านประสิทธิผล มีสัดส่วนผลสำเร็จของงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.38 (2) ด้านประสิทธิภาพ มีการหลงขณะใช้งานเว็บไซต์ ลดน้อยลงถึงร้อยละ 82.04 และมีร้อยละของประสิทธิภาพ มากขึ้นร้อยละ 26.52 และ (3) ด้านความพึงพอใจ สำหรับระดับความพึงพอใจหลังงานทดสอบ ในด้านความง่าย ด้านระยะเวลา และด้านข้อมูลและข้อเสนอแนะในการใช้งาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.22, 33.38, และ 87.54 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจหลังการทดสอบ ในด้านภาพรวม ด้านประโยชน์ของระบบ ด้านคุณภาพของสารสนเทศ และด้านคุณภาพส่วนติดต่อผู้ใช้งาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.56, 75.38, 102.91, และ 84.69 ตามลำดับ


Product Design Process Improvement For A Jewellery Manufacturer, Panporn Lertkachonsuk Jan 2017

Product Design Process Improvement For A Jewellery Manufacturer, Panporn Lertkachonsuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The major purpose of this thesis is to improve the product design process for a jewellery manufacturer by utilisation of Lean Six Sigma DMAIC Methodology. The case is the operations of a jewellery manufacturer in Thailand. In Define phase, a product design process improvement team was formed and current problem which is delay in delivery and product not as per customer specifications were identified. During Measure phase, Cause and Effect Analysis was performed in order to determine root causes, RPNs were defined and prioritised by utilisation of FMEA, and the root causes were graphically summarised using Pareto Chart. In Analyse …


Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo Jan 2017

Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ridership of Thailand underground station continuously increases every year. On the other hand, space management of terminal of underground station does not success as expected. The main reason is space does not have strategy to handle. majority of renter rarely stay until the completion of the rental contract, and they prefer to break the contract, pay the fine and move business elsewhere. According to research, there is no research study about this for Thailand underground station. In order to create appreciate plan for Thailand underground station in 2022. The strategy is core to integrate plan. Passengers would be attracted …


Increasing Profit By Rice Export Reduction Among Union Members, Narabhatra Sangmanacharoen Jan 2017

Increasing Profit By Rice Export Reduction Among Union Members, Narabhatra Sangmanacharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the past decades, OPEC which coordinates petroleum policies among members has agreed to cut supply to raise oil price. With a consensus elasticity of -0.13, oil is an inelastic commodity, a reduction in production results in a huge increase in price. It is noticeable that OPEC can increase oil price because they altogether possess a large amount of global oil supply. It is interesting whether this strategy can be used with rice to increase its price by reducing its supply. Because rice elasticity ranges between -0.51 and -0.13, rice is also an inelastic commodity. Although rice and oil have …


Determination Of Waste Treatment Fee Pricing Mechanism For Municipal Solid Waste By Mechanical Biological Treatment Method Utilising The Public Private Partnership Model In Thailand, Adrian Paul Raj Jan 2017

Determination Of Waste Treatment Fee Pricing Mechanism For Municipal Solid Waste By Mechanical Biological Treatment Method Utilising The Public Private Partnership Model In Thailand, Adrian Paul Raj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Private participation in the development of municipal solid waste treatment projects through public-private partnership models accelerate the implementation of sustainable treatment technologies such as Mechanical Biological Treatment (MBT) facilities within developing countries without creating excessive burden to government infrastructure investment. The introduction of preset pricing mechanism to regulate potential waste treatment fee structure based on pre-determined project internal rate-of-return mitigates multi-party risks, such as the potential developer project losses or the opportunity to profiteer. Research encompasses technical assessment of project requirements for implementation of required technologies, commercial analysis of project capital expenditure (CAPEX), operational expenditure (OPEX) and assessment of revenue …


Establishing A Luggage Handling Service Company, Anan Prasertrungreung Jan 2017

Establishing A Luggage Handling Service Company, Anan Prasertrungreung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Luggage delivery service has never existed in Thailand officially but already established in another country such as Japan. However, this service has a potential to be a very good service as it could benefit to traveler which Thailand has welcomed more than 30m of them per annum but the model from another country could not be implement directly to Thailand. By developing the model, this service will fit to Thai's market. There are many risks that researcher has to consider before starting the business to avoid or prevent risks into the business. Moreover, this study will not limit only the …


Purchasing Strategy For Refurbished Gas Chromatography Instruments, Chamaiporn Panleng Jan 2017

Purchasing Strategy For Refurbished Gas Chromatography Instruments, Chamaiporn Panleng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study is to develop purchasing strategy for procurement of used Gas Chromatography (GC) instrument for refurbishing in order to enhance company's competitive advantages. The purchasing strategy study is developed by 5 steps, which are (1) analysis of spending data, (2) determining customer requirements, (3) assessing supply market, (4) formulating purchasing strategy, and (5) executing and refining strategy. The purchasing strategy consists of (1) vision, (2) mission, (3) objectives, (4) action plans, and (5) key performance indicators. Implementation on the case study company was done by applying Leagile purchasing portfolio model and assemble-to-order systems, as well as …


Logistics Business Process Improvement In A Sport Gear Company, Azadeh Kamyabi Jan 2017

Logistics Business Process Improvement In A Sport Gear Company, Azadeh Kamyabi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A small sports gear company, specialising in boxing and muaythai, is receiving complaints from customers due to incorrect shipments. The consequences of incorrect shipments are: customer dissatisfaction, higher costs due to returns and reshipments, and waste of time and resources. As a result, the objective of this thesis is to reduce incorrect shipments improving the internal logistics processes using framework of SCOR model and information technology management. Having investigated the record of each incorrect shipment, a working group of employees was formed to analyse and determine possible causes using quality improving tools such as fishbone diagram and why-why analysis. Each …


Plastics Injection Molding Process Improvement, Poom Popattanachai Jan 2017

Plastics Injection Molding Process Improvement, Poom Popattanachai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this thesis is to investigate, analyze the strategies that a small plastic injection molding factory uses. It emphasizes process improvement which is aligned with and support the factory's main strategies. The result from this thesis helps factory analyze, improve and monitor changes in business strategy that the company chooses to use as well as the manufacturing strategy. The aim of this framework is to ensure that the long term objectives of the company can be achieved under the trends that the company is evolving into. The principal tools and techniques that have been used in this thesis …