Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Engineering

2021

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Engineering

Effects Of Configuration And Operating Conditions On Turbidity Removal Of Jet Clarifier, Ploypailin Romphophak Jan 2021

Effects Of Configuration And Operating Conditions On Turbidity Removal Of Jet Clarifier, Ploypailin Romphophak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In water treatment, flocculation creates large and weighty flocs enough to be removed by the downstream processes of sedimentation and filtration. Among the various existing technologies, the jet clarifier is considered as an effective and compact system as it couples flocculation and clarification in a single unit. For the design of jet mixing, much experimental work has been done and many correlations have been proposed. However, these correlations are case specifics, and, to date, there is no comprehensive view for the flocculation aspect. In order to evaluate the performance of the jet clarifier for turbidity removal and understand hydrodynamics to …


ผลของซิลิกาฟูมและแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์ต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย, กฤตภาส สุวรรณมณี Jan 2021

ผลของซิลิกาฟูมและแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์ต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย, กฤตภาส สุวรรณมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เถ้าลอยร่วมกับแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์และซิลิกาฟูมผสมทดแทนปูนซีเมนต์ โดยเถ้าลอยที่ใช้ในการศึกษานี้มาจากห้าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศญี่ปุ่น นำมาคัดขนาดอนุภาคคือ น้อยกว่า 45 µm ระหว่าง 45 – 75 µm และ 75 – 150 µm โดยงานวิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงการทดลองคือ การศึกษาผลของเถ้าลอยต่างแหล่งกำเนิดและขนาดอนุภาคต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย และการศึกษาปริมาณการใช้แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์และซิลิกาฟูมร่วมกับปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสม โดยการศึกษาสมบัติทางกายภาพเพื่อการนำมอร์ตาร์ผสมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ระยะเวลาก่อตัว การไหลแผ่ กำลังรับแรงอัด และกำลังรับแรงดัด จากการศึกษาพบว่าการใช้เถ้าลอยชนิด FA1 ขนาดอนุภาคน้อยกว่า 45 µm ทดแทนปูนซีเมนต์อัตราส่วนร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ทำให้มอร์ตาร์มีค่าการไหลแผ่ กำลังรับแรงอัด และกำลังรับแรงดัดที่ใกล้เคียงกับมอร์ตาร์ธรรมดาที่สุดในช่วงอายุ 28 วัน แต่มีความแข็งแรงที่ช่วงอายุต้นต่ำกว่ามอร์ตาร์ธรรมดา นอกจากนี้การใช้แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ผสมร่วมกับปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย ทำให้มอร์ตาร์มีค่าความแข็งแรงช่วงต้นใกล้เคียงมอร์ตาร์ธรรมดามากที่สุด และการใช้ซิลิกาฟูมปริมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก พบว่าส่งผลให้มอร์ตาร์มีค่ากำลังรับแรงอัดและแรงดัดในช่วงต้นที่เพิ่มขึ้นจนมีค่าใกล้เคียงกับมอร์ตาร์ธรรมดา และในช่วงอายุปลายพบว่ามอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยและซิลิกาฟูมมีค่ากำลังรับแรงอัดอยู่ที่ 66.02 MPa ดังนั้นทั้งแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์และซิลิกาฟูมมีความเหมาะสมที่สามารถเพิ่มกำลังรับแรงอัดช่วงต้นและพัฒนาสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยให้มีสมบัติที่ใกล้เคียงกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาได้เพื่อให้สามารถนำปูนซีเมนต์ผสมไปใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปได้


การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาโครงการอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง นิติบุคคล 1 จังหวัดสมุทรปราการ, ปกรณ์เกียรติ หมื่นสิทธิโรจน์ Jan 2021

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาโครงการอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง นิติบุคคล 1 จังหวัดสมุทรปราการ, ปกรณ์เกียรติ หมื่นสิทธิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับชุมชนศึกษาและชุมชนอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยการศึกษานี้ประยุกต์ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและการแทรกแซงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีกทั้ง ยังศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมโดยใช้การวิเคราะห์การไหลของวัสดุและการประเมินวัฏจักรชีวิตของขยะพลาสติก PET และ PE ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีปริมาณมาก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความรู้เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือการคล้อยตามบุคคลอ้างอิง จึงเลือกใช้โปสเตอร์ให้ความรู้และโปสเตอร์ที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นการแทรกแซง ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างที่มีอย่างสำคัญของการใช้โปสเตอร์ทั้ง 2 ลักษณะ และผลการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนพบว่า สถานการณ์ปัจจุบัน (S0) ชุมชนมีสัดส่วนการรีไซเคิล PET และ PE เท่ากับ 15.81 และ 2.54% ตามลำดับ และมีสัดส่วนการฝังกลบ PET และ PE เท่ากับ 84.19 และ 97.46% ตามลำดับ นอกจากนี้ สถานการณ์จำลองที่เป็นตั้งโรงงานคัดแยกขยะ (S4) สามารถลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจาก S0 โดยรวมได้ โดยเฉพาะด้านศักยภาพในการเกิดภาวะโลกร้อนที่ลดลงถึง 1.4 เท่าของ S0 แสดงให้เห็นว่าการคัดแยกขยะเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะ 5 ประการ ได้แก่ (1) การส่งเสริมกิจกรรมที่มีชุมชนเป็นฐาน (2) การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน รวมถึงมีการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ (3) สร้างบุคคลต้นแบบและบรรยากาศที่เป็นส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน (4) จัดหาหรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอ และ (5) สร้างแรงจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ


การใช้ของเสียกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนในการผลิตมอร์ตาร์, ครองขวัญ ข่วงบุญ Jan 2021

การใช้ของเสียกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนในการผลิตมอร์ตาร์, ครองขวัญ ข่วงบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปริมาณของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 20-30 ปีจากการติดตั้งในช่วงพ.ศ. 2545-2558 อาจจะเป็นน้ำหนักได้ถึง 235,954 ตัน โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยนิยมใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอน ซึ่งแผงประเภทนี้มีปริมาณกระจกมากถึงร้อยละ 70-80 โดยน้ำหนักขององค์ประกอบแผง การจัดการของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยในขณะนี้มีการกำจัดด้วยการนำไปทิ้งที่หลุมฝังกลบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืนเพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างไร้ประโยชน์ ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นในการนำกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอนนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยทำการศึกษาผลกระทบต่อสมบัติต่างๆของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์ด้วยกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์บดละเอียดขนาด d50 ที่ 4.97 ไมโครเมตร ที่ร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณผงกระจกจะทำให้ ค่าการขยายตัวของซีเมนต์เพสต์มีค่าเพิ่มขึ้น ค่าการก่อตัวระยะต้นและระยะปลายของซีเมนต์เพสต์สั้นลง ค่าการไหลแผ่ของมอร์ตาร์มีค่าลดลง การซึมผ่านของคลอไรด์ในมอร์ตาร์ลดลง สำหรับกำลังรับแรงอัดมอร์ตาร์ช่วงอายุต้น พบว่ามอร์ตาร์ที่มีปูนซีเมนต์ที่มีการแทนที่ด้วยผงกระจกร้อยละ 0 ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุด แต่ที่อายุ 90 วัน มอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยผงกระจกร้อยละ 10 ให้กำลังรับแรงอัดที่สูงที่สุด เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาปอซโซลานิกใช้เวลานานกว่าจะเกิดปฏิกิริยา