Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Electrical and Computer Engineering

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 30 of 36

Full-Text Articles in Engineering

Deployment Of Rfid, Gps And Iot Technology For Medical Specimen Logistic System, Mya Myet Thwe Chit Jan 2021

Deployment Of Rfid, Gps And Iot Technology For Medical Specimen Logistic System, Mya Myet Thwe Chit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to implement a specimen logistic system using RFID technology combined with modern IoT technology in Chulalongkorn hospital. The specimen is a sample collected from the human body. Samples can be urine, saliva, sputum, feces, semen, and other bodily fluids and tissues. Samples are usually collected from the patient and stored in a test tube. Then test tubes are delivered to the corresponding laboratory for examination. Normally, barcodes are tagged over the test tubes for the purpose of recording patient information. In this work, RFID is deployed on the test tube instead for patient data logging. This solution …


ศักยภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการบิน ภายใต้โครงการชดเชยและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคการบินระหว่างประเทศ (Corsia), ทัตพงศ์ รัตนะโสภณชัย Jan 2021

ศักยภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการบิน ภายใต้โครงการชดเชยและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคการบินระหว่างประเทศ (Corsia), ทัตพงศ์ รัตนะโสภณชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือการประเมินศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงเทคนิคของเอทานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวอากาศยานจากเทคโนโลยี Ethanol-to-jet (ETJ) ในช่วงตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปี 2035 โดยพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน พัฒนาเทคโนโลยี Ethanol-to-jet รวมถึงความพอเพียงเพื่อใช้ในการชดเชยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ตามกรอบการดำเนินงาน CORSIA โดยข้อมูลการบินระหว่างประเทศถูกนำมาใช้เพื่อประเมินความต้องการของเอทานอลทั้งหมดของปริมาณเชื้อเพลิง ข้อมูลสัดส่วนการผสมเอทานอลสูงสุดที่ทาง ICAO ยอมรับในเทคโนโลยี Ethanol-to-jet และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในภาคการบินระหว่างประเทศโดยนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ความอ่อนไหว ปริมาณความต้องการเอทานอลทั้งหมด ที่ไม่รวมปริมาณจากเชื้อเพลิงชีวอากาศยาน และปริมาณเอทานอลในประเทศไทยที่สามารถผลิตได้ โดยในส่วนของสต็อกของผู้ผลิตเอทานอลจะถูกนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลด้านอุปทาน จากผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะปกติมีความคุ้มค่าและน่าลงทุนที่ต้นทุนทางเทคโนโลยี Ethanol-to-jet มีราคาต่ำ และภายใต้ฉากทัศน์สภาวะ COVID-19 มีความคุ้มค่าและน่าลงทุนเทคโนโลยี Ethanol-to-jet ในส่วนของศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะปกติ พบว่าปริมาณเอทานอลมีแนวโน้มไม่เพียงพอจนถึงช่วงปลายกรอบเวลาของ CORSIA ในขณะที่ศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะ COVID-19 แสดงว่าประเทศไทยสามารถผลิตเอทานอลได้เพียงพอจนถึงช่วงกลางของ CORSIA (หลังผ่าน 2025-2027) อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2025-2027 ได้แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเอทานอลอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ


Deep Learning With Attention Mechanism For Iterative Face Super-Resolution, Krit Duangprom Jan 2021

Deep Learning With Attention Mechanism For Iterative Face Super-Resolution, Krit Duangprom

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Face images are widely used in many applications, such as face recognition and face identification. Regarding security, face identification is used to track the crimes. However, the camera's low resolution and environmental degradation problem hinders the face application's performance. In this thesis, we study face image super-resolution to restore the image from low-resolution to high-resolution. We proposed deep learning with an attention mechanism for iterative face super-resolution that included an image super-resolution network and face alignment network combined. The input low-resolution image is enlarged into a super-resolution face image. Then, the image has repeatedly estimated the alignment to enhance the …


ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา, ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์ Jan 2021

ความคุ้มค่าทางการเงินของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงงานผลิตปั๊มน้ำอุตสาหกรรม : กรณีศึกษา, ประพนธ์ เตชะพิเชฐวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประสิทธิภาพของปั๊มอุตสาหกรรม เช่น ปั๊มน้ำหม้อน้ำ และ ปั๊มน้ำหล่อเย็น ที่มีค่ากำลังในช่วง 90 – 315 กิโลวัตต์ จะถูกทำการสุ่มทดสอบก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทางโรงงานผลิตปั๊มอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องปิดระบบปรับอากาศทั้งโรงงานขณะทำการทดสอบปั๊มให้ลูกค้าชม ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง 4 ครั้ง/เดือน อนึ่งบริษัทผู้เชียวชาญด้านการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ออกแบบติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จากพื้นที่บนหลังคา สามารถผลิตไฟฟ้าเพียงพอสำหรับใช้ในกิจกรรมการทดสอบปั๊มตามการร้องขอของลูกค้า 100 กิโลวัตต์สูงสุด งานวิจัยฉบับนี้ได้นำเสนอ 3 ฉากทัศน์ในการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100%, 75%, 50% จากการออกแบบของบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 3 ฉากทัศน์นี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 152,810 109,190 และ 73,287 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี ตามลำดับ โดยคำนวณผ่านโปรแกรม PVSyst ระยะเวลาโครงการ 25 ปี ประเมินมูลค่าการลงทุนผ่านแบบจำลองกระแสเงินสดคิดลด ได้ผลของมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 1,212,849.40 491,599.73 และ 127,585.1 บาท ตามลำดับ มูลค่าผลตอบแทนภายในเท่ากับ 18.33% 15.79% และ 14.09% ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 5.32 6.13 และ 6.79 ปี ตามลำดับ และ มูลค่าต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยตลอดอายุโครงการเท่ากับ 1.708 1.908 2.182 บาท/หน่วย ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ฉากทัศน์แรกเป็นแนวทางที่น่าสนใจลงทุนที่สุด และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยนำเข้าด้านราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของการไฟฟ้านครหลวงและประสิทธิภาพของแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามลำดับ


การประเมินกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน : กรณีศึกษา, ชญาพัฒน์ คัจฉสุวรรณมณี Jan 2021

การประเมินกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน : กรณีศึกษา, ชญาพัฒน์ คัจฉสุวรรณมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินกำลังผลิตติดตั้งของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (ระบบโซล่าเซลล์) ที่เหมาะสมสำหรับโรงงาน กรณีศึกษา เพื่อประเมินหากำลังผลิตติดตั้งที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด ซึ่งโรงงานที่นำมาศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีการใช้ไฟฟ้าในช่วง On-Peak สูงกว่า Off-Peak จึงเหมาะสมกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ และด้วยวิธีการออกแบบโดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลักในการพิจารณาจะมีอยู่ 2 ส่วนที่ คือ 1.) พฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเดิมของโรงงาน 2.) พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง ซึ่งทั้ง 2 ซึ่งสำหรับงานวิจัยนี้จะพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเดิมของโรงงานเพียงอย่างเดียวโดยไม่นำปัจจัยด้านข้อจำกัดของพื้นที่มาเกี่ยวข้อง และด้วยระบบโซล่าเซลล์จะมีข้อจำกัดในการผลิตไฟฟ้าเฉพาะในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์ จึงนำระบบกักเก็บพลังงานมาร่วมศึกษาด้วยโดยกำหนดไว้ 3 แนวทาง คือ (1) กำหนดให้กำลังติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ มากกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน (2) กำหนดให้กำลังติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ น้อยกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน และ (3) กำหนดให้กำลังติดตั้งความต้องการใช้ไฟฟ้าของโรงงาน มากกว่า และเสริมระบบกักเก็บพลังงานเพื่อสำรองไฟฟ้าส่วนที่ไม่ได้ใช้ (Unused) มาใช้ในช่วงอื่นที่มีความต้องการ โดยมีตัวชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์คืออัตราผลตอบแทนภายใน (Internal rate of return: IRR) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของการศึกษา (Sensitivity Analysis) โดยสรุปผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าแนวทาง (2) มีอัตราผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด และมีระยะเวลาคืนทุนสั้นที่สุดและหากมูลค่าของระบบกักเก็บพลังงานในอนาคตลดลง แนวทาง (3) ก็เป็นอีกวิธีที่หนึ่งที่น่าสนใจ


การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครพนม, ขวัญชนก อภิวัฒนานนท์ Jan 2021

การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครพนม, ขวัญชนก อภิวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครพนม ผลการศึกษาศักยภาพชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ย้อนหลัง 10 ปีแสดงให้เห็นว่า ฟางข้าวที่เกิดจากข้าวนาปี มีศักยภาพด้านพลังงานสูงสุด และมีความสม่ำเสมอของปริมาณมากที่สุด เมื่อเทียบกับชีวมวลชนิดอื่นๆในพื้นที่ จึงใช้ชีวมวลดังกล่าว เป็นเชื้อเพลิงหลักในการศึกษาครั้งนี้ ผลการประเมินตำแหน่งที่ตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เหมาะสมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าอยู่ที่อำเภอปลาปาก ผลการศึกษาคิดลดกระแสเงินสดแสดงให้เห็นว่าโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งนี้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 269 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 17.83 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน 1.33 เท่า และระยะเวลาคืนทุน 4.49 ปี จากผลสรุปได้ว่า สามารถสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรขนาด 9.9 เมกะวัตต์ในพื้นที่จังหวัดนครพนมได้


การศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย, ปภาวรินทร์ กะริอุณะ Jan 2021

การศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย, ปภาวรินทร์ กะริอุณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ในประเทศไทย สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ชนิด NMC และ LMO โดยเปรียบเทียบโรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่ผลิตเซลล์แบตเตอรี่เอง และโรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น พบว่าโรงงานแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น แบตเตอรี่ชนิด NMC มีราคาต้นทุน 131 $/kWh หรือ 11,439 USD/Battery pack และ LMO มีราคาต้นทุน 124 $/kWh หรือ 10,566 USD/Battery pack ส่วนโรงงานที่สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่ได้เอง แบตเตอรี่ชนิด NMC มีราคาต้นทุน 124$/kWh หรือ 8,904.43 USD/battery pack และ LMO มีราคาต้นทุน 118$/kWh หรือ 8,433.6 USD/Battery Pack จากการศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการลงทุน ด้วยดัชนีชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ โรงงานประกอบแบตเตอรี่ที่นำเข้าเซลล์แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายอื่น โรงงานแบตเตอรี่ชนิด NMC มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 389.10 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 17.78% มีระยะเวลาในการคืนทุน (Payback period) 4.5 ปี โรงงานแบตเตอรี่ชนิด LMO มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 170.20 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 14.38% มีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 5.1ปี ส่วนโรงงานที่สามารถผลิตเซลล์แบตเตอรี่เอง โรงงานแบตเตอรี่ชนิด NMC มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -878.68 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 5.29% มีระยะเวลาในการคืนทุน (Payback period) 7.4 ปี และโรงงานแบตเตอรี่ชนิด LMO มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -243.65 MMUSD อัตตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 9.97% มีระยะเวลาคืนทุน …


Mitigating Sinkhole Attack On Low-Power And Lossy Networks With Traffic Aware Scheduling Algorithm Using Dual Parent Mechanism, Tay Zar Bhone Maung Jan 2021

Mitigating Sinkhole Attack On Low-Power And Lossy Networks With Traffic Aware Scheduling Algorithm Using Dual Parent Mechanism, Tay Zar Bhone Maung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low-Power and Lossy Networks (LLN) are networks where all the routers and IoT devices are working on a limited power, memory, and computational energy. Due to the constrained structures of LLN networks such as limited resources, lossy connection and lack of physical security, security attacks can occur when routing in an LLN network. The Routing Protocol for Low-Power and Lossy Networks (RPL) was developed to meet the needs of multiple applications in the fields of Wireless Sensor Networks (WSN) and Internet of Things (IoT). Some sensor nodes in a RPL network are not strong enough to withstand a variety of …


การผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลและเอทานอล, พิชชาภา จันทร์อ้น Jan 2021

การผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลและเอทานอล, พิชชาภา จันทร์อ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลจากชานอ้อยและเอทานอลในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งที่ความดันบรรยากาศ โดยทำการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ผลของปริมาณเอทานอลในสารร่วมแกซิฟาย และผลของตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/MgO/Al2O3 ที่มีผลต่อองค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์ จากการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส สามารถให้ผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์มากที่สุดในกรณีที่ไม่มีสารเติมแต่ง และตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อเพิ่มปริมาณเอทานอลในสารร่วมแกซิฟายจะพบว่าส่งผลเชิงบวกต่อผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์ โดยมีไฮโดรเจน คาร์บอนมอนอออกไซด์ และมีเทน เป็นองค์ประกอบหลักและส่งผลให้คุณภาพของแก๊สสังเคราะห์ดีขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนในการผลิตพบว่าปริมาณเอทานอลร้อยละ 10 โดยปริมาตร เหมาะสมที่สุด ดังนั้นเอทานอลจากกระบวนการหมักชีวมวลที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นให้บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้ร่วมในกระบวนการได้ นอกจากนี้พบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/MgO/Al2O3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสลายตัวของทาร์และเพิ่มผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์มากขึ้น


การจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตำแหน่งในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบเรเดียลโดยพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า, กฤตภาส เพียรวิบูลย์ Jan 2021

การจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตำแหน่งในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบเรเดียลโดยพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า, กฤตภาส เพียรวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาการหาขนาดที่เหมาะสมของแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตัวในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแบบเรเดียล และ ศึกษาผลกระทบของการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตัว นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ได้ศึกษาผลกระทบของการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายหลายตัวร่วมกับเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน กรณีศึกษาถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ กรณีศึกษาที่ 1 การเปรียบเทียบวิธีการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้า กรณีศึกษาที่ 2 ผลกระทบของวิธีการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าเมื่อมีจำนวนแหล่งผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และ กรณีศึกษาที่ 3 ผลการจำลองเวลาจริงของการหาค่าขนาดที่เหมาะสมของการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้า วิทยานิพนธ์ใช้ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าของแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ข้อมูลความต้องการโหลดแบบผู้อยู่อาศัยและแบบเชิงอุตสาหกรรมจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ระบบทดสอบ IEEE-33 บัส การจำลองหาขนาดที่เหมาะสมของแหล่งผลิตไฟฟ้า ใช้โปรแกรม Power Factory – DIgSILENT และ MATLAB ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีที่นำเสนอของวิทยานิพนธ์สามารถใช้แก้ปัญหาของการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อพิจารณาดรรชนีความอ่อนไหวที่มีค่ามากที่สุดในระบบ ผลการทดลองของกรณีศึกษาที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ระบบไฟฟ้ามีจุดอิ่มตัวของค่าการลดลงของกำลังไฟฟ้าเมื่อมีการเพิ่มจำนวนการติดตั้งแหล่งผลิตไฟฟ้า โดยค่าการลดลงของกำลังไฟฟ้าไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญที่จุดอิ่มตัว ผลการทดลองสำหรับกรณีศึกษาที่ 3 แสดงให้เห็นว่าการจัดสรรขนาดแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อมีการพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า สามารถลดปริมาณเฉลี่ยการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยที่มีพลังงานไฟฟ้าสูญเสียไม่แตกต่างกันระหว่างการพิจารณาการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้ากับไม่พิจารณาการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า สำหรับการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมี่อมีการใช้แหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวและระบบกักเก็บพลังงาน ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าการจัดสรรขนาดแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อมีการพิจารณาการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าและการจำกัดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า สามารถลดปริมาณเฉลี่ยการจำกัดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าของระบบได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่สามารถทำให้ระบบมีพลังงานไฟฟ้าสูญเสียต่ำกว่ากรณีการจัดสรรแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวเมื่อพิจารณาเฉพาะการลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าได้


สถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายในคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์, กิตติพัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร์ Jan 2021

สถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายในคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์, กิตติพัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอสถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายและใช้เทคโนโลยีการร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์ เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์จะช่วยในการย้ายแอพลิเคชันและการปรับปรุงรุ่นแอพลิเคชันได้สะดวก โดยทั่วไปข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีต่าง ๆ จะรวมศูนย์การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลอยู่ที่ส่วนกลาง งานวิจัยนี้ได้นำสถาปัตยกรรมระบบการประมวลผลเชิงกระจาย ที่สามารถเร่งความเร็วการประมวลผลให้เร็วกว่าแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์นี้เสนอสถาปัตยกรรมระบบอื่น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์เชิงการศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์ในทางปฏิบัติสำหรับการใช้เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ คิวเบอร์เนเทส และการร่วมสมาพันธ์คิวเบอร์เนเทส โดยได้นำเสนอการทดสอบสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ และใช้ระบบทดสอบในโครงการความร่วมมือในการพัฒนาแพลทฟอร์มรองรับศูนย์กลางข้อมูลไอโอทีคลาวด์ หรือ IoTcloudServe@TEIN นอกจากนี้ได้ต่อยอดสถาปัตยกรรมระบบในโครงการ OF@TEIN++ ในการทดสอบการร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์ระหว่างคลัสเตอร์ในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย และ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ จากนั้นได้ต่อยอดสถาปัตยกรรมระบบต่อเนื่องในโครงการ OF@TEIN+++ เพื่อนำเสนอการจัดลำดับชั้นของการแบ่งทรัพยากรในการแยกกลุ่มภาระของคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์ และท้ายสุดได้นำเสนอแนวทางประยุกต์สถาปัตยกรรมในบริบทของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


การวิเคราะห์สมรรถนะของโพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางแบบฟูลดูเพลกซ์อสมมาตรในกรณีที่มีสถานีซ่อนเร้น, ธีศิษฎ์ ศรีประเสริฐ Jan 2021

การวิเคราะห์สมรรถนะของโพรโทคอลการควบคุมการเข้าถึงตัวกลางแบบฟูลดูเพลกซ์อสมมาตรในกรณีที่มีสถานีซ่อนเร้น, ธีศิษฎ์ ศรีประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการจำลองทำงานของโพรโทคอลการเข้าถึงตัวกลางแบบฟูลดูเพลกซ์แบบอสมมาตรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของระบบทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีสถานีซ่อนเร้น ในงานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษามาตรฐานโพรโทคอล IEEE802.11 และประเมินค่าทรูพุตของระบบโดยพิจารณาถึงผลกระทบของการมีอยู่ของสถานีซ่อนเร้น ผลการทดสอบพบว่าสถานีซ่อนเร้นเป็นปัญหาหลักของโพรโทคอลการเข้าถึงตัวกลางที่อาศัยกลไกการจับมือสองทาง กล่าวคือ ค่าทรูพุตของระบบลดลงจากกรณีที่ไม่มีสถานีซ่อนเร้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทางปฏิบัติ การใช้กลไกการจับมือแบบสี่ทางเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้งานเพื่อแก้ปัญหาของสถานีซ้อนเร้น ผลการทดสอบด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นกับตัวอย่างโครงข่ายกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มกระบวนการการขอการส่งแพ็กเก็ตอาร์ทีเอสและการตอบรับด้วยแพ็กเก็ตซีทีเอสเป็นกลไกที่ช่วยลดผลกระทบของสถานีซ้อนเร้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตรงกับงานวิจัยที่มีอยู่เดิม ผู้เขียนได้ทำการพัฒนาโปรแกรมต่อยอดให้สามารถจำลองการทำงานของระบบการสื่อสารแบบฟูลดูเพลกซ์แบบอสมมาตร เพื่อใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสรรถนะ ในการใช้งานโปรแกรมสามารถกำหนดให้สถานีอยู่ ณ ตำแหน่งใด ๆ ก็ได้ เพื่อให้สามารถจำลองสถานการณ์ที่มีสถานีซ้อนเร้นในรูปแบบต่างกันได้ตามต้องการ โดยได้ทำการจำลองในหลาย ๆ สถานการณ์ ในขนาดหน้าต่างช่วงชิง 16 และ 32 ผลการทดสอบพบว่าการที่สถานีไม่มีการซ่อนเร้นกันเลยทำให้ไม่สามารถสร้างฟูลดูเพลกซ์ได้ เนื่องจากสัญญารบกวนกันของสถานีที่อยู่ใกล้กัน เมื่อนำวิธีผลกระทบจากการยึดได้ มาใช้งาน ผลการทดสอบทำให้สามารถสร้างสร้างฟูลดูเพลกซ์ได้ และได้ค่าทรูพุตที่ดีขึ้น ในการทดลองต่อไปคือการทำในรูปแบบที่มีสถานีซ่อนเร้นกัน ผลการทดลองพบว่าสามารถสร้างสร้างฟูลดูเพลกซ์ได้ และเมื่อนำวิธีผลกระทบจากการยึดได้ มาใช้งานทำให้ค่าทรูพุตดีขึ้นประมาณ 5-10 % โดยประมาณ การทดลองต่อไปเป็นการทดลองเพิ่มสถานีส่งให้มากขึ้น ผลการทดลองพบว่าค่าทรูพุตจะลดลงตามลำดับจำนวนสถานีทั้งในกรณีที่ใช้ผลกระทบจากการยึดได้ และไม่ใช้เพราะสถานีที่มากขึ้นจะทำการแย่งกันส่งสัญญาณชนกัน และสิ่งที่สังเกตที่ได้จากการทดลองของการใช้ผลกระทบจากการยึดได้ ก็คือสถานีปลายทางจะรับข้อมูลได้อย่างยุติธรรมมากขึ้น


กลยุทธ์การจัดสรรแบบเหมาะที่สุดของการผลิตพลังงานร่วมที่มีตัวกักเก็บพลังงานความร้อนและแบตเตอรี่สำหรับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลดไฟฟ้า, ปะริชาดา ไตรรัตน์ Jan 2021

กลยุทธ์การจัดสรรแบบเหมาะที่สุดของการผลิตพลังงานร่วมที่มีตัวกักเก็บพลังงานความร้อนและแบตเตอรี่สำหรับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลดไฟฟ้า, ปะริชาดา ไตรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอกลยุทธ์การจัดสรรพลังงานแบบเหมาะที่สุดของระบบจัดการพลังงานภายในอาคาร ที่มีกำลังสำรองพร้อมจ่าย ตัวกักเก็บพลังงานความร้อน และตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ภายใต้ความไม่แน่นอนของความต้องการโหลด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการรวม และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม ซึ่งกำหนดเป็นรูปแบบการดำเนินงานเชิงเศรษฐศาสตร์แบบเหมาะที่สุด และการดำเนินงานเชิงสิ่งแวดล้อมแบบเหมาะที่สุด ตามลำดับ การจัดสรรพลังงานอาศัยการทำนายความต้องการโหลดไฟฟ้าในการวางแผนเพื่อปรับกลยุทธ์ การทำนายความการโหลดไฟฟ้าใช้แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งประกอบด้วย 2 แบบ ได้แก่ แบบจำลองสำหรับวันทำการ และแบบจำลองสำหรับวันสุดสัปดาห์ หลังจากนั้น เรานำเสนอแนวทางการออกแบบขนาดตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่เหมาะสม เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบจัดการพลังงานภายในอาคาร การทดลองเชิงตัวเลขอาศัยข้อมูลห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีขนาดความต้องการโหลดไฟฟ้าสูงสุด 24 เมกะวัตต์ พบว่า ขนาดตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ 4.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง จะให้ต้นทุนการดำเนินการรวมมีค่าต่ำสุด เมื่อทดลองกับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารที่เสนอใหม่ และเปรียบเทียบกับระบบจัดการพลังงานภายในอาคารก่อนหน้า ซึ่งไม่มีกำลังสำรองพร้อมจ่าย และตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ พบว่า ระบบที่เสนอใหม่มีต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 9.68 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมลดลงร้อยละ 0.25 สำหรับกรณีที่มีความไม่แน่นอน และต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 1.26 สำหรับกรณีที่ระบุ จะสังเกตว่า ตัวกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการลดการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ เราพิจารณาการดำเนินงานอเนกประสงค์แบบเหมาะที่สุด เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการดำเนินรวม กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม เรานำเสนอการทำให้เป็นบรรทัดฐานของฟังก์ชันวัตถุประสงค์ และกำหนดฟังก์ชันอเนกประสงค์ เป็นผลรวมเชิงเส้นของฟังก์ชันวัตถุประสงค์ทั้งสอง เมื่อทดลองเชิงตัวเลข พบว่าความสัมพันธ์มีรูปแบบเป็นสมรรถนะการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ เมื่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมมีค่าต่ำที่สุด ต้นทุนการดำเนินการรวมจะมีค่าสูงที่สุด ในขณะที่เมื่อต้นทุนการดำเนินการรวมมีค่าต่ำที่สุด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมจะมีค่าสูงที่สุด ผลลัพธ์นี้ช่วยให้เลือกจุดทำงานของระบบจัดการพลังงานภายในอาคารได้ รวมไปถึงวิเคราะห์การไหลของพลังงานสำหรับการดำเนินงานอเนกประสงค์แบบเหมาะที่สุด ผลการทดลองเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่า เมื่อกำหนดให้ตัวถ่วงน้ำหนักมีค่าเท่ากับ 0.9 ระบบที่เสนอใหม่มีต้นทุนการดำเนินการรวมลดลงร้อยละ 7.33 แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.27


การประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์กับการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์, พัชรพล กังวาลโชคชัย Jan 2021

การประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์กับการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์, พัชรพล กังวาลโชคชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ที่เกิดจากอิเล็กโตรพอเรชัน ด้วยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อิมพีแดนซ์. วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทดลองวัดอิมพีแดนซ์ของเซลล์โดยอาศัยระบบของไหลจุลภาคเพื่อควบคุมทิศทางของสนามไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในการวัด และเพื่อประยุกต์ใช้การวัดอิมพีแดนซ์เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมอิเล็กโตรพอเรชันของเซลล์. เซลล์ทั้งหมด 3 ชนิด ถูกใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ เซลล์ดอกอัญชัน, เซลล์มาโครฟาจ J774 และเซลล์มะเร็งสุนัขชนิดมาสต์เซลล์. การวัดค่าอิมพีแดนซ์ใช้ความถี่อยู่ในช่วง 10 kHz ถึง 100 kHz. การประยุกต์ใช้ระบบของไหลจุลภาค ทำให้สามารถกระตุ้นให้เกิดอิเล็กโตรพอเรชัน ได้ด้วยแรงดันต่ำในช่วงตั้งแต่ 2 Vp ถึง 4 Vp. Corrected total cell fluorescence (CTCF) ถูกพิจารณาประกอบในการตรวจสอบสภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์ร่วมกับการวัดอิมพีแดนซ์. เงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการทำอิเล็กโตรพอเรชันแบบชั่วคราวกับเซลล์มะเร็งสุนัขชนิดมาสต์เซลล์ คือ 2.5 Vp, ความถี่ 20 kHz และจำนวนลูกคลื่น 50 cycles (ทั้งหมด 15 ครั้ง) ซึ่งให้ประสิทธิภาพ 50%. การแยกความแตกต่างเซลล์ที่เกิดอิเล็กโตรพอเรชันแบบชั่วคราวและแบบถาวร กระทำโดยใช้สีย้อมฟลูออเรสเซนต์ Yo-Pro-1 และ Propidium iodide (PI) ร่วมกัน. สภาพให้ซึมผ่านได้ของเยื่อหุ้มเซลล์สามารถตรวจสอบได้ผ่านการวัดค่าความนำไฟฟ้า. ขนาดของการเปิดช่องของเยื่อหุ้มเซลล์สามารถตรวจสอบได้ในเชิงปริมาณ จากความแตกต่างระหว่างค่าความนำไฟฟ้ากรณีไม่มีเซลล์ถูกจับยึด และกรณีหลังป้อนพัลส์ไฟฟ้าสำหรับกระตุ้นการเปิดช่องของเยื่อหุ้มเซลล์ (∆GC). การคืนสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์ตามเวลาไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการวัดค่าความนำไฟฟ้าในงานวิจัยนี้ เนื่องจากความนำไฟฟ้าของสารละลายมีค่าสูงขึ้นตามเวลา ซึ่งสวนทางกับค่าการเปลี่ยนแปลงความนำไฟฟ้าที่เกิดจากการคืนสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์. นอกจากนี้ แรงดันของพัลส์ที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เสียสภาพโดยถาวรได้. ทว่า เมื่อลดขนาดแรงดันไฟฟ้าหรือจำนวนลูกคลื่นลง การเกิดอิเล็กโตรพอเรชันจะไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน.


ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยโดยใช้ขอบข่ายงานการเรียนรู้ของเครื่องบนคลาวด์, อรรถวุฒิ อิสระวิริยะกุล Jan 2021

ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัยโดยใช้ขอบข่ายงานการเรียนรู้ของเครื่องบนคลาวด์, อรรถวุฒิ อิสระวิริยะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำนายพฤติกรรมผู้อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญสำหรับอาคารอัจฉริยะ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เน้นการพัฒนาระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศอัจฉริยะ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคารที่กินพลังงานไฟฟ้าสูง และมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสบายของผู้อยู่อาศัยโดยตรง จากการศึกษางานวิจัยก่อนหน้า แบบจำลองทำนายความรู้สึกสบายเชิงความร้อนถูกสร้างจากข้อมูลที่เก็บโดยการตอบแบบสอบถาม จากนั้นผลลัพธ์ของแบบจำลองจะถูกใช้ในการควบคุมเครื่องปรับอากาศ การเปิดปิดเครื่องปรับอากาศใช้วิธีกำหนดระยะกระจัด ระหว่างที่อยู่อาศัยกับผู้อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อผู้อยู่อาศัยเข้าใกล้ที่อยู่อาศัยมากกว่ารัศมีที่กำหนด ระบบจะสั่งเปิดการทำงาน วิธีการที่กล่าวไปข้างต้นทั้งหมดมีปัญหาคือ หากผู้อยู่อาศัยไม่ป้อนข้อมูล แบบจำลองจะให้ผลลัพธ์ไม่ตรงกับความรู้สึกสบายเชิงความร้อนจริง และการกำหนดระยะรัศมี ไม่สามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศด้วยขอบข่ายงานการเรียนรู้ของเครื่องแบบปรับตัวได้ โดยใช้ข้อมูลสภาวะแวดล้อมที่เก็บค่าได้ ข้อมูลสภาพอากาศ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่เป็นกิจวัตร ในการสร้างแบบจำลองการทำนายการมาถึงของผู้อยู่อาศัย ซึ่งใช้ในการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศโดยอัตโนมัติ และแบบจำลองการจำแนกความรู้สึกสบายเชิงความร้อน ซึ่งใช้ในการปรับอุณหภูมิให้สอดคล้องกับความรู้สึกสบายผู้อยู่อาศัย ระบบที่พัฒนาขึ้นถูกประยุกต์ใช้บนคลาวด์ ทำให้สามารถลดภาระในการประมวลผลของอุปกรณ์ปลายทาง และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมโดยปราศจากขีดจำกัดของอุปกรณ์ ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมเครื่องปรับอากาศแบบเรียลไทม์ โดยการฝึกสอนแบบจำลองใหม่โดยอัตโนมัติทำให้การทำนายการมาถึงของผู้อยู่อาศัยล่วงหน้า 10 นาทีมีความแม่นยำมากกว่า 90% และการจำแนกความรู้สึกสบายเชิงความร้อน มีค่าเรียกกลับของความรู้สึกสบายมากกว่า 80% ถึงแม้พฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป


การกำหนดขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่โดยคำนึงถึงการจัดสรรกำลังผลิตและพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, อัจฉรา ยิ้มประไพ Jan 2021

การกำหนดขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่โดยคำนึงถึงการจัดสรรกำลังผลิตและพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, อัจฉรา ยิ้มประไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้นำพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้งานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่มีค่าเชื้อเพลิง เป็นพลังงานสะอาด ซึ่งแหล่งเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ซี่งแนวโน้มจะขาดแคลนและมีราคาสูงในอนาคต ดังนั้นพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม จึงกลายมาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า แต่การเพิ่มขึ้นของพลังงานนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากไม่สามารถควบคุมและไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแน่นอน และส่งผลต่อการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงเสนอให้นำระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เข้ามาใช้งานในระบบไฟฟ้า เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และราคาการติดตั้งยังมีแนวโน้มที่ลดลงอีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการหาขนาดของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่เหมาะสม เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน และทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในแผนการเดินเครื่องแบบเดิม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ต้นทุนในระบบไฟฟ้านั้นต่ำที่สุด ซึ่งทำการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และพิจารณาราคาการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมด้วย ในงานนี้พิจารณาการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนในแต่ละการทดสอบ โดยใช้ข้อมูลความต้องการใช้ไฟฟ้าและแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากผลการวิเคราะห์พบว่าสามารถหาขนาดที่เหมาะสมของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ได้ เมื่อมีพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น 90% โดยทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและได้ผลของต้นทุนของระบบที่ต่ำที่สุดเมื่อพิจารณาราคาในการติดตั้งของระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมด้วย


Site Selection For Feasibility Study Of Pump-Storage Hydropower Project In The Philippines, Sornsawan Utthakrue Jan 2021

Site Selection For Feasibility Study Of Pump-Storage Hydropower Project In The Philippines, Sornsawan Utthakrue

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pumped-storage hydropower projects (PSP) are a technology for hydroelectric energy storage. It is a design of two water reservoirs at different elevations that can create electricity as water flows from one to the other via a turbine. The PSP system is similar to a huge battery in that it can store and then release energy as needed. The Philippines is a country with a wide range of elevations due to its island composition. Natural disasters occur frequently, making it challenging to establish any structure. But the PSP is a large building that is also capable of generating a great amount …


การประเมินรูปแบบธุรกิจสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, นันทพงศ์ นิรมลนุรักษ์ Jan 2021

การประเมินรูปแบบธุรกิจสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย, นันทพงศ์ นิรมลนุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping) จะมาส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะกลุ่มจักรยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Motorcycles) เนื่องจากจักรยานยนต์ไฟฟ้าต้องใช้เวลาในการเติมพลังงานนานกว่าจักรยานยนต์ (Motorcycles) การสับเปลี่ยนแบตเตอรี่จึงเป็นสิ่งที่จะมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่เนื่องจากรูปแบบธุรกิจนี้ยังอยู่ในช่วงส่งเสริมและผลักดัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อนำองค์ประกอบต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจด้วย โมเดลสำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business model canvas) และ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินด้วยการคิดลดกระแสเงินสด (Discount Cash Flow) เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนธุรกิจนี้ 4 รูปแบบกรณีศึกษา คือ รูปแบบปกติ, รูปแบบที่มีอัตราการใช้บริการสูง, รูปแบบที่ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุน และ รูปแบบที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยผลจากการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ มีองค์ประกอบต่างๆ ที่เหมาะสมในประเทศไทย ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้ใช้บริการ อาทิเช่น การจัดโปรโมชั่นต่างๆ การพัฒนาระบบซอฟแวร์ หรือ การมีตัวเลือกในการใช้บริการ เป็นต้น และผลจากการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในรูปแบบที่มีการปรับอัตราการใช้บริการ (Utilization rate) ที่ 21%, การได้รับเงินสนับสนุน อย่างน้อย 25% ของต้นทุนดำเนินงาน และ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่ส่งผลให้ต้นทุนดำเนินงานลดลง 37% ทำให้โครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ, อัตราผลตอบแทนภายใน และระยะเวลาคืนทุนที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยต้นทุนและผลประโยชน์ของแต่ละรูปแบบกรณีศึกษาที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป ข้อเสนอแนะบางประการได้รับการเสนอให้พิจารณาปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ และสามารถนำไปใช้อ้างอิงสำหรับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและนักลงทุน


การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องส่งลมเย็นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติก, ณัฐกานต์ จันพรมมิน Jan 2021

การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องส่งลมเย็นเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติก, ณัฐกานต์ จันพรมมิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการแพร่ของเชื้อไวรัสทางอากาศเข้าไปในห้องปรับอากาศโดยพัดลมหมุนเวียนของเครื่องส่งลมเย็น เพื่อรักษาคุณภาพอากาศให้ปลอดเชื้อโรคและฝุ่นละอองขนาดเล็กจึงมีการนำแสง อัลตราไวโอเลต (UV-C) ร่วมกับแผ่นกรองประสิทธิภาพสูงมาใช้ในเครื่องส่งลมเย็น เมื่อแผ่นกรองดักจับฝุ่นจะมีความดันตกคล่อมสูงขึ้นทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการใช้พลังงานเครื่องส่งลมเย็นที่มีอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพอากาศที่ใช้ปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลติกร่วมกับแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง ในการเลือกชนิดพัดลมและขนาดใบพัดรวมทั้งชนิดมอเตอร์ต้องทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยกำหนดให้ใช้อัตราการไหลของอากาศ 24,500 cfm ที่ความดันสถิต 3.25 in.wg. เพื่อสามารถใช้กับระบบท่อลมที่มีอยู่เดิมได้ วิธีการเลือกขนาดและชนิดพัดลมได้เลือกขนาดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดบนกราฟสมรรถนะของพัดลมซึ่งหาได้จากโปรแกรม Kruger selection จากการศึกษาพบว่าอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพอากาศในเครื่องส่งลมเย็นได้ใช้แสง UV-C มีความยาวคลื่น 253.7 nm และความเข้มแสง 270 µW/m2 เพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ และใช้แผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง 99.999% ในการกรองฝุ่นขนาด 0.3 ~ 1 µm สำหรับการเลือกพัดลมและมอเตอร์ที่ใช้แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือกรณีที่ 1 อัตราการไหลลดลงตามความดันสถิตที่เพิ่มขึ้น และกรณีที่ 2 อัตราการไหลคงที่แม้ว่าความดันสถิตจะเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ 1 โครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหลังรุ่น BDB 710 ที่ขับด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำใช้พลังงานน้อยกว่าโครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหน้ารุ่น FAD 710 ที่ขับด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำและVSD ส่วนกรณีที่2 โครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหลังรุ่น BDB 710 ที่ขับด้วย Electronically controlled motor หรือ EC motor ใช้พลังงานน้อยกว่าโครงการพัดลมหนีศูนย์กลางชนิดใบพัดโค้งหน้ารุ่น FAD 800 ที่ขับด้วย EC motor ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 โครงการมีค่า NPV 608,440 บาท และ 588,670 บาท ตามลำดับ จึงมีความคุ้มค่าในการลงทุน


การพัฒนาเมืองเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาพฤติกรรมของผู้โดยสารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน, ณัฏฐริยาภัทร์ ไตรยวงษ์ Jan 2021

การพัฒนาเมืองเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีศึกษาพฤติกรรมของผู้โดยสารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน, ณัฏฐริยาภัทร์ ไตรยวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถไฟฟ้าเส้นทางบางนา-สยาม และเปรียบเทียบการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างรถยนต์ส่วนบุคคลกับระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้เพื่อวิเคราะห์การใช้ประโยชนน์ของที่ดินตามเส้นทางโดยรอบ การศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ทดสอบการเดินรถ 3 รูปแบบ จากย่านที่พักอาศัยที่อยู่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังสถานที่ทำงานบริเวณย่านใจกลางเมืองในเส้นทางบางนา-สยาม และ 2. การทำการสัมภาษณ์ผ่านแบบสอบถามของผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จากผลการทดสอบเดินรถ 3 รูปแบบ พบว่ายังไม่มีแรงจูงใจมากนักในการเปลี่ยนจากการใช้รถส่วนบุคคลไปใช้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เนื่องจากปัจจัยในด้านราคาและเวลาซึ่งอยู่ในระดับกลาง จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างแรงจูงใจ เช่น ลดราคาค่าบริการ และจัดหาสถานที่จอดรถยนต์เพิ่ม และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มาใช้บริการรถไฟฟ้าพบว่าผู้โดยสารมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการเดินทาง ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์ของการเดินทาง ระยะเวลาในการเดินทาง และที่ตั้งจุดเริ่มต้นการเดินทาง-จุดหมายปลายทาง รูปแบบในการเดินทางส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากบ้านไปที่ทำงาน สุดท้ายจากการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานและอาคารพาณิชย์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ย่านใจกลางเมือง จึงเป็นการสนับสนุนการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ


การศึกษาการจำลองเปรียบเทียบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงประเภทรับแสงสองด้านด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์, พิมพ์พร โกพล Jan 2021

การศึกษาการจำลองเปรียบเทียบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงประเภทรับแสงสองด้านด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์, พิมพ์พร โกพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน คือแผงที่สามารถรับแสงที่ตกกระทบต่อพื้นผิวหน้าแผงโดยตรง และยังสามารถรับแสงที่สะท้อนมาจากพื้นใต้แผง ทำให้แผงประเภทนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแผงทั่วไปที่รับแสงได้เพียงด้านเดียว ทั้งนี้ค่าการสะท้อนพื้นหญ้าปกติของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 0.2 ซึ่งค่าการสะท้อนจากพื้นดินมีผลโดยตรงต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน ซึ่งถ้าหากสามารถเพิ่มค่าการสะท้อนใต้แผงให้มากขึ้น ย่อมส่งผลให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น การศึกษานี้ทำการเปรียบเทียบผลการสะท้อนจากวัสดุปูพื้นที่มีค่าการสะท้อนแตกต่างกัน โดยจำลองผลผลิตไฟจากโปรแกรม PVsyst และเปรียบเทียบต้นทุนในการลงทุนด้วยวิธีประเมินต้นทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน ที่ทำงานด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์แบบตั้งเวลา 3 กรณี ได้แก่ พื้นหญ้า พื้นทราย และหินกรวด โดยเปรียบเทียบกับโครงการที่ใช้แผงแบบทั่วไปที่รับแสงเพียงด้านเดียว การศึกษาพบว่าโครงการที่ใช้แผงแบบรับแสงสองด้าน และทำการปูพื้นด้วยหินกรวดมีค่าการสะท้อน 0.4 ส่งผลให้แผงสามารถผลิตไฟได้มากที่สุด ทำให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนภายในสูงสุด 16.91% แม้จะมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 135.93 ล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดก็ตาม และเมื่อเปรียบเทียบหาอัตราผลตอบแทนภายในส่วนเพิ่ม (Incremental internal rate of return) กับโครงการที่ใช้แผงทั่วไป ทำให้โครงการมีผลตอบแทนที่มากขึ้นถึง 43.31%


Simplified Tone Reservation-Based Techniques For Peak-To-Average Power Ratio Reduction Of Orthogonal Frequency Division Multiplexing Signals, Rafee Al Ahsan Jan 2021

Simplified Tone Reservation-Based Techniques For Peak-To-Average Power Ratio Reduction Of Orthogonal Frequency Division Multiplexing Signals, Rafee Al Ahsan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Orthogonal Frequency Division Multiplexing (OFDM) is one of the preferred modulation techniques for modern wireless communications networks, due to its high spectral efficiency and immunity to frequency selective channels. However, OFDM signals are known to suffer from a large peak-to-average power ratio (PAPR). OFDM signals with high PAPR values will inevitably be clipped by the power amplifiers (PA), causing signal distortion and out-of-band radiation, that would lead to the deterioration of bit error rate performance. This thesis focuses on a class of PAPR reduction techniques called tone reservation (TR) techniques, which possesses three desirable features, namely high PAPR reduction gain, …


การวิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย, นภัทร ภักดีสุวรรณ์ Jan 2021

การวิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย, นภัทร ภักดีสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่ดีจะสะท้อนถึงต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งในส่วนของผู้ผลิตไฟฟ้าและจัดจำหน่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้จัดเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าอาจยังมีความไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถระบุที่มาของอัตราค่าไฟฟ้าและสะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ เช่น ต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และ ค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้จึงได้วิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าให้สามารถสะท้อนถึงต้นทุนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการพิจารณาถึงอัตราค่าพลังงานไฟฟ้าแยกตามเขตพื้นที่เพื่อทำให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง สามารถปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุนของการไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น


การเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง, ธนกฤต ลาภวุฒิพจน์ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง, ธนกฤต ลาภวุฒิพจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ ด้วยระบบฮีทไปป์คูลลิ่ง ในการทดลอง ใช้แผงโซล่าเซลล์ 2 แผง คือ แผงโซล่าเซลล์แบบปกติ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และ แผงโซล่าเซลล์แบบติดตั้งฮีทไปป์เพื่อใช้ลดอุณหภูมิแผง ตัวแปรติดตามในการศึกษา ประกอบด้วย ความเข้มแสงอาทิตย์ กำลังไฟฟ้าที่แผงผลิตได้ อุณหภูมิของแผงโซล่าเซลล์ อุณหภูมิท่อฮีทไปป์ และ อุณหภูมิอากาศภายนอก ในการศึกษาทดลองครั้งนี้จะเก็บข้อมูลทุกๆ 15 นาที ตั้งแต่เวลา 8.00 ถึง 16.15 นาฬิกา เป็นเวลา 14 วัน ท่อฮีทไปป์ที่ใช้เป็นท่อทองแดงกลมมีเกลียวภายในทำหน้าที่เป็นวิก ท่อฮีทไปป์ใช้น้ำกลั่นเป็นของไหลใช้งาน และฮีทไปป์ทั้งหมด 7 ท่อถูกติดตั้งที่บริเวณด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ จากการวิเคราะห์พบว่า แผงโซล่าเซลล์แบบปกติมีอุณหภูมิเฉลี่ย 52.5 องศาเซลเซียส และมีพลังงานต่อปี 199.7 kWh ส่วนแผงแบบติดตั้งระบบฮีทไปป์ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 51.1 องศาเซลเซียส และมีพลังงานต่อปี 222.3 kWh ดังนั้นแผงโซล่าเซลล์แบบติดตั้งฮีทไปป์ ช่วยลดอุณหภูมิได้ 1.44 องศาเซลเซียส หรือร้อยละ 2.7 และ มีค่าพลังงานต่อปีมากกว่าแผงแบบปกติ 22.6 kWh หรือร้อยละ 11.3


การพัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับจำแนกโรคอ้อยที่พบมากในประเทศไทย, ณัฏฐ์ภัค ลาวัลย์วงศ์ Jan 2021

การพัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับจำแนกโรคอ้อยที่พบมากในประเทศไทย, ณัฏฐ์ภัค ลาวัลย์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำหรับการจำแนกโรคอ้อยที่พบมากบนพันธุ์ขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย จะให้ความสำคัญในการวิเคราะห์โรคที่ส่งผลรุนแรงต่อใบอ้อย เช่น โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา และแมลง จากการตรวจหาและระบุโรคที่เกิดขึ้นในอ้อยซึ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และเวลา จึงมีแนวคิดในการสร้างระบบที่ช่วยในการจำแนกโรคอ้อยที่มีความแม่นยำอย่างอัตโนมัติ ซึ่งส่งผลให้การวินิจฉัยโรคทำได้รวดเร็วมากขึ้น เป็นระบบอัจฉริยะสำหรับจำแนกประเภทและลักษณะอาการของโรคอ้อย (Intelligent System Diagnosis Sugarcane Diseases with Deep Convolutional Neural Network) เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูปภาพใบอ้อย สามารถบ่งบอกโรคอ้อยและระบุสาเหตุพร้อมวิธีการป้องกันหรือควบคุม โดยระบบมีความสามารถในการจำแนกชนิดของโรคอ้อย 5 คลาส ได้แก่ โรคเส้นกลางใบแดง (Red Rot) โรคราสนิม (Rust) โรคใบจุดวงแหวน (Ring Spot) โรคใบขาว (White Leaf) และใบสมบูรณ์ (Normal) ที่มีค่า Mean Average Precision (mAP) สูงถึง 0.8681 หรือร้อยละ 86.81


การพยากรณ์โหลดไฟฟ้าของเกาะพะงันและการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้า, ภาคภูมิ น้อยวรรณะ Jan 2021

การพยากรณ์โหลดไฟฟ้าของเกาะพะงันและการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้า, ภาคภูมิ น้อยวรรณะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นําเสนอการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้าเพื่อให้โหลดไฟฟ้ารวมสูงสุดรายปีของเกาะพะงันมีค่าไม่เกินพิกัดการรับโหลดกำลังไฟฟ้าของสายเคเบิลใต้น้ำ การประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่กับการตัดยอดโหลดไฟฟ้าต้องอาศัยการพยากรณ์โหลดไฟฟ้ารวมสูงสุดและเวลาที่เกิดโหลดไฟฟ้ารวมสูงสุด เราพัฒนาแบบจําลองวิธีปรับให้เรียบด้วยเอ็กซ์โปเนนเชียลของโฮลท์-วินเทอร์ร่วมกับแบบจําลองโครงข่ายประสาทเทียม (Integrated Holt-Winters Exponential Smoothing and Artificial Neural Networks; IHWANN) เพื่อพยากรณ์โหลดไฟฟ้ารายชั่วโมงล่วงหน้า 1 วัน ผลการทดลองเชิงตัวเลขแสดงให้เห็นว่าแบบจำลอง IHWANN มีความแม่นยํามากกว่าแบบจําลองวิธีปรับให้เรียบด้วยเอ็กซ์โปเนนเชียลของโฮลท์-วินเทอร์ (Holt-Winters Exponential Smoothing) และแบบจําลองโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks) หลังจากนั้น เราประยุกต์ใช้งานแบบจำลอง IHWANN ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่เพื่อตัดยอดโหลดไฟฟ้าโดยกำหนดให้โหลดไฟฟ้ารวมสูงสุดรายปีของเกาะพะงันมีค่าไม่เกินพิกัดการรับโหลดของสายเคเบิลใต้น้ำ อีกทั้ง เรานําเสนอการออกแบบขนาดของระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ และเวลาเหมาะที่สุดสำหรับการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 2 ขั้น โดยขั้นตอนวิธีอย่างง่ายของการหาค่าเหมาะที่สุดเชิงการจัด (Combinatorial Optimization) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 1 ขั้น กับการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 2 ขั้น พบว่าการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 1 ขั้น มีอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return; IRR) -30.079% และการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่แบบ 2 ขั้นมีอัตราผลตอบแทนภายใน -11.296% ดังนั้น การออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 2 ขั้นมีความเหมาะสมในการลงทุนมากว่าการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ 1 ขั้น


การวิเคราะห์ประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวสำหรับการให้บริการเสริมด้านกำลังไฟฟ้าเสมือนในประเทศไทย, ภูวศรัณย์ พิสุทธไทรงาม Jan 2021

การวิเคราะห์ประโยชน์ด้านเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวสำหรับการให้บริการเสริมด้านกำลังไฟฟ้าเสมือนในประเทศไทย, ภูวศรัณย์ พิสุทธไทรงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของความจุกำลังการผลิตติดตั้งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวในประเทศไทยอาจลดการพึ่งพาระบบผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการหลักในการบริการเสริมของระบบไฟฟ้า เมื่อปริมาณบริการเสริมลดจำนวนลง ระบบไฟฟ้าอาจพบกับปัญหาในหลายด้าน เช่น ไฟฟ้าดับ และ คุณภาพไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ได้มีการเสนอแนวคิดของการนำระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวมาเป็นผู้ให้บริการเสริม สำหรับการศึกษาครั้งนี้เน้นที่การศึกษาการนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวมาให้บริการกำลังไฟฟ้าเสมือน และศึกษาความคุ้มค่าในด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวมาช่วยเหลือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดั้งเดิมในการจายกำลังไฟฟ้าเสมือน โดยอาจส่งผลต่อปริมาณกำลังไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าที่สั่งเดินเครื่อง โปรแกรม DIgSILENT และวิธีการแบ่งต้นทุนกำลังไฟฟ้าสำรองถูกใช้ในการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้บริการกำลังไฟฟ้าเสมือนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระจายตัวทำให้เกิดความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณกำลังไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดั้งเดิม


ระบบส่องสว่างอัจฉริยะสำหรับการเลียนแบบแสงในรอบวันและแสงจ้า, สมยศ สันติมาลัย Jan 2021

ระบบส่องสว่างอัจฉริยะสำหรับการเลียนแบบแสงในรอบวันและแสงจ้า, สมยศ สันติมาลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านแสงประดิษฐ์ได้รับการพัฒนามากขึ้นให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะพัฒนาระบบส่องสว่างอัจฉริยะสำหรับการเลียนแบบแสงในรอบวันและแสงจ้า โดยผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ การศึกษาลักษณะการกระจายพลังงานของสเปกตรัม (SPD) แสงในรอบวัน ณ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิสัมพันธ์ของสี (CCT) และค่าความเข้มของแสงแตกต่างกันในฤดูร้อนและฤดูหนาวเนื่องจากปัจจัยหลักเกี่ยวกับระยะห่างและองศาในการได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ระบบส่องสว่างถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม RGB–Input software สำหรับคัดเลือกหลอด RGB–LED 2 แบบ ได้แก่ LED–A และ LED–B ซึ่งให้ CCT ในช่วง 3,500 – 10,000 เคลวิน และกำหนดค่าพิกัด x – y บนแผนภาพสี (Chromaticity diagram) ของทั้งสองฤดู โดยพิจารณาจากค่าทางเรดิโอเมทตรี โฟโตแมตรี และค่าความผิดพลาดของ CCT ผลการวิเคราะห์พบว่า LED–A มีประสิทธิภาพในการควบคุมการให้แสงตามกำหนดที่ดีกว่า LED–B การพัฒนาระบบส่องสว่างอัจฉริยะเพื่อเลียนแบบแสงในรอบวันโดยใช้หลอด LED–A และหลอด white–LED สามารถปรับปรุงการให้สีของแสงที่มีพิกัด x – y ของแสงใกล้เคียงกับแสงในรอบวันมากขึ้น โดยมีความสว่างสูงสุดที่ 339 ลักซ์ ค่า CS สูงสุดที่ 0.40 ซึ่งจะเป็นแสงที่เลียนแบบแสงในช่วงบ่ายของทั้งสองฤดู จากผลการทดลองยังพบว่าในระดับความสว่างที่เท่ากัน แสงที่มีองค์ประกอบของคลื่นแสงสีน้ำเงินสูงกว่าจะให้การกระตุ้นที่สูงกว่าอย่างชัดเจน จากการทดสอบโดยใช้ผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 32 คน พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความพึงพอใจ การออกแบบรูปลักษณ์ที่ทันสมัย และความสะดวกในการใช้งานของระบบไฟแสงประดิษฐ์อัจฉริยะมีค่าคะแนนมากกว่าโคมไฟทางการค้า


Multi-Modal Biometric-Based Human Identification Using Deep Convolutional Siamese Neural Network, Hsu Mon Lei Aung Jan 2021

Multi-Modal Biometric-Based Human Identification Using Deep Convolutional Siamese Neural Network, Hsu Mon Lei Aung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Biometric recognition is a critical task in security control systems. Although face biometric has long been granted the most accepted and practical biometric for human recognition, it can be easily stolen and imitated. It also has challenges getting reliable facial information from the low-resolution camera. In contrast, a gait physical biometric has been recently used for recognition. It can be more complicated to replicate and can also be taken from reliable information from the poor-quality camera. However, human body recognition has remained a problem since the lack of full-body detail within a short distance. Moreover, the unimodal biometric system still …


Hybrid Gns3 And Mininet-Wifi Emulator For Survivable Sdn Backbone Network Supporting Wireless Iot Traffic, May Pyone Han Jan 2021

Hybrid Gns3 And Mininet-Wifi Emulator For Survivable Sdn Backbone Network Supporting Wireless Iot Traffic, May Pyone Han

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis has designed and implemented an emulated testbed for fault-tolerant delay awareness routing for wireless sensor traffic by using software-defined networking (SDN) at the backbone network. In this work, the hybrid form of GNS3 and Mininet-WiFi emulation network testbed is proposed to build an emulated SDN-based backbone network in GNS3 and an emulated IPv6 over Low Power Personal Area Network (6LoWPAN) in Mininet-WiFi. Three virtual machines are used to set up the hybrid emulated SDN-based network testbed. The Mininet-WiFi platform which is used to build the emulated 6LoWPAN sensor network is installed in two virtual machines separately and the …